iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle, PLC) คือ แนวคิดที่จะแสดงวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์โดยเทียบกับวงจรชีวิตของคนเรา มีการแบ่งช่วงให้เห็นได้ถึงการเจริญเติบโตของสินค้าหรือะผลิตภัณฑ์ เมื่อถูกนำออกสู่ตลาด วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ในแต่ละระยะเวลาจะมียอดปริมาณในการจำหน่ายมากน้อยแตกต่างกัน แสดงถึงการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์หากได้รับการยอมรับจากตลาดยอดขายก็จะเพิ่มขึ้น และถ้าหากลูกค้าผู้ซื้อไม่ต้องการผลิตภัณฑ์ยอดขายก็จะตกต่ำลง จนในที่สุดผลิตภัณฑ์นั้นก็จะหายไปจากตลาด และในขณะเดียวกันก็จะมีผลิตภัณฑ์ใหม่เข้ามาสู่ตลาดทดแทนผลิตภัณฑ์เก่าที่เริ่มล้าสมัย ผลิตภัณฑ์ใหม่บางส่วนอาจได้รับการต้อนรับจากตลาด และอีกหลายชนิดอาจไม่สามารถเข้าสู่ตลาดจนลูกค้ายอมรับได้ ทำให้ระยะเวลาของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดที่มีอยู่ในตลาดจึงมีระยะเวลาที่ไม่เท่ากัน และจะเกิดวงจรชีวิตใหม่ เข้ามาแทนที่วงจรเดิมอย่างนี้ตลอดไปเรื่อยๆ วงจรใหม่ที่เกิดขึ้นอาจจะมาจากผลิตภัณฑ์ใหม่มีเทคโนโลยีสูงกว่า มีประสิทธิภาพดีกว่า หรือตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป PLC แบ่งออกเป็น 4 ช่วงดังนี้
1. ช่วงแนะนำสินค้า (Introduction Stage) เป็นช่วงแรกในการผลิตสินค้าก่อนออกจำหน่าย เป็นสินค้าหน้าใหม่ยอดขายมีน้อย ระยะนี้ต้องทำการประชาสัมพันธและแนะนำโปรโมทผลิตภัณฑ์ ประชาสัมพันธ์ให้คนได้รู้จักเช่น การทำโฆษณา ,การจัดโปรโมชั่น ,การแจกสินค้าทดลอง หรือแม้แต่การรีวิวให้เห็นถึงความหน้าใช้ หน้าซื้อ
2. ช่วงเจริญเติบโต (Growth Stage) เป็นช่วงที่เริ่มมียอดขายเพิ่มขึ้นเนื่องจากเริ่มเป็นที่รู้จัก บางสินค้าขายดีเพราะสินค้าเริ่มเป็นที่ติดตลาดและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค แต่ก่อนที่จะเกิดช่วงนี้ได้จะต้องผ่าน ช่วงแนะนำสินค้าในช่วงแรกก่อน การที่จะผ่านไปได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับการประชาสัมพันธ์ งบประมาณการตลาด และช่องทางการโปรโมท สิ่งสำคัญในช่วงนี้คือ การบริการ รวมถึงการสื่อสารพูดคุยกับลูกค้า สอบถามความคิดเห็นทั้งก่อนซื้อและหลังซื้อสินค้าหรือแม้แต่หลังใช้สินค้า โดยอาจสอบถามพูดคุยเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้าและทำการสอบถามผลการใช้สินค้า หาข้อบกพร่องที่อาจจะมีผลกระทบต่อแบรนด์ บริการที่ดีจะช่วยให้เกิดผลลัพธ์คือ เกิดความประทับใจของลูกค้าที่มีต่อสินค้าและแบรนด์ เกิดการช่วยประชาสัมพันธ์บอกต่อ เกิดการกลับมาซื้อซ้ำ และเกิดสมาชิกที่จงรักภักดีต่อสินค้าเป็นลูกค้าประจำ
3.ช่วงอิ่มตัว (Maturity Stage)เป็นจุดที่ยอดขายอยู่ในระดับสูงที่สุด เรียกได้ว่าเป็นจุดที่อยู่ในยุคสูงสุดและกำลังจะเริ่มมียอดขายลดต่ำลง หรืออาจคงที่ไม่สามารถเพิ่มยอดให้สูงไปได้อีกแล้ว ผู้ผลิตจะต้องเริ่มคิดและวางแผนมองหากลยุทธ์เพื่อให้ยอดขายมีการลดน้อยลงมากที่สุด หรือพยายามรักษาระดับของยอดขายไม่ให้ลดลงหรือให้คงที่นานที่สุด ในระหว่างนี้ควรเริ่มมองหาความต้องการของลูกค้ากลุ่มใหม่หรือสินค้าสิ่งใหม่เพิ่มเติม อาจเพิ่มสินค้าใหม่เพื่อออกมาตอบโจทย์และความต้องการของลูกค้าเพิ่มเช่น จัดโปรโมชั่น
4. ช่วงยอดขายลดลง (Decline Stage) เป็นช่วงที่กราฟยอดขายเริ่มลดระดับต่ำลง ไม่สามารถรักษาระดับยอดขายให้คงที่ในจุดอิ่มตัวในระยะที่ผ่านมาไว้ไม่ได้ ช่วงยอดขายลดลงหรือช่วงที่ตกต่ำที่สุดจะเกิดขึ้นกับทุกสินค้า จึงควรจะต้องมีวิธีการจัดการและแก้ปัญหาในระยะนี้
การศึกษารายละเอียดของวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ การเติบโตของยอดขายผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่งเมื่อเวลาผ่านไปจะมีลักษณะเป็นวงจรต่อไปเรื่อยๆ การศึกษาวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์จะมีประโยชน์ต่อนักการตลาดและนักธุรกิจ การเรียนรู้ความต้องการของลูกค้าหรือผู้ซื้อที่มีต่อผลิตภัณฑ์ จากการวิเคราะห์ลักษณะที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนของวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ ช่วยให้สามารถวางแผนการตลาด กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด กำหนดส่วนประสมการตลาด (Marketing Mix) ได้ถูกต้องและเหมาะสม
---------------------------------------------------------------------------
ดูเรื่องราวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม
วงจรชีวิตของผู้ประกอบการ (Entrepreneur Lifecycle) และหุบเหวแห่งความตาย (Valley of Death)
วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle, PLC)
ระบบนิเวศอุตสาหกรรม & Ecosystem Industry) กับวงจรชีวิตของผู้ประกอบการ (Entrepreneur Lifecycle)
.
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------
Marketing สร้างจุดขายที่โดดเด่นและแตกต่างจากการเข้าใจลูกค้า (Value Proposition Canvas)
สร้างจุดขายที่โดดเด่นและแตกต่างจากการเข้าใจลูกค้า (Value Proposition Canvas) เป็นการวิเคราะห์มูลค่าเพื่อเพิ่มความสามารถให้แก่องค์การ โดยทำการเชื่อมโยงระหว่าง แผนภาพคุณค่า (Value Map) และ ข้อมูลลูกค้า (CS Profile) ซึ่งการที่เราจัดเตรียมสินค้าหรือบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้พอดี จะเป็นการสร้างโอกาสและความสามารถในการแข่งขันด้านการตลาดได้ดียิ่งขึ้น โดยการวิเคราะห์จะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักคือ
1. แผนภาพคุณค่า (Value Map) ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1.1 สินด้าหรือบริการ (Product & Service) ที่เราต้องการนำเสนอให้ลูกค้า
1.2 สินค้าหรือบริการ (Pain Reliever) ที่จะมาช่วยลดปัญหาหรือความทุกข์ให้ลูกค้า
1.3 สินค้าหรือบริการ (Gain Creator) ที่จะมาช่วยเพิ่มความสุขหรือให้ประโยชน์ให้ลูกค้า
2. ข้อมูลลูกค้า (CS Profile) เป็นข้อมูลที่สำคัญของลูกค้า เพื่อให้เราใช้เป็นข้อมูลในการมาวิเคราะห์หาปัญหาความต้องการหรือประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
2.1 ความต้องการหรืองานที่ลูกค้าต้องการ (Job) ซึ่งหมายถึง เหตุผลภายในใจของลูกค้าที่จะใช้ในการตัดสินใจเลือกใช้สินค้าและบริการต่าง ๆ ของเรา ซึ่งจะส่งผลต่อความรู้สึกที่จะเกิดขึ้นในสองส่วนคือ ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ (Gain) และความเจ็บปวดที่ลูกค้ามี (Pain)
2.2 ความเจ็บปวดที่ลูกค้ามี (Pain) เช่น ความกังวลของลูกค้า ความต้องการที่มี อุปสรรคที่มีในการทำงาน และความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้
2.3 ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ (Gain) ความพึงพอใจในการทำงาน ความต้องการเพื่อให้สำเร็จ ความคาดหวังที่มี ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น สิ่งที่จะช่วยการทำงานให้สำเร็จได้ง่ายขึ้น
3. การเชื่อมโยง (FIT) ระหว่างแผนภาพคุณค่า (Value Map) และข้อมูลลูกค้า (CS Profile) หมายถึง การที่เรามีสินค้าและบริการ ที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้พอดี หลังจากที่เราทำการสอบถามลูกค้าและเลือกส่วนของมูลค่าที่มีที่จะไปตอบโจทย์ลูกค้าต่อไป
.
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------
สิ่งที่ควรต้องมีหากคิดจะทำธุรกิจออนไลน์ให้ก้าวไกล
ปัจุจบันการทำธุรกิจออนไลน์มีการทำกันเพิ่มมากข้นต่อเนื่อง บางครั้งเราอาจสงสัยว่าหากต้องการทำให้เกิดความสำเร็จ หรือคิดจะทำธุรกิจออนไลน์ให้ก้าวไกล ควรต้องเตรียมตัวในส่วนใดบ้าง จากการรวบรวมแนวคิดที่มีจากผู้ที่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจด้านออนไลน พบว่าควรมีองค์ประกอบใน 6 ด้านดังต่อไปนี้
1 PRODUCT สินค้าดีมีคุณภาพ อันนี้น่าจะเป็นหัวใจหลักที่สำคัญในการทำการตลาด หากต้องการที่จะดึงดูดลูกค้าให้มาใช้สินค้าของเรา ต้องทำให้สินค้าเป้นสิ่งที่ลูกค้าพึงพอใจ เกิดความภักดีในสินค้าของเรา ควรที่จะต้องทำการพัฒนาสินค้าให้มีความทันสมัยและมีคุณภาพที่ดียิ่งๆ ขึ้นตลอดไปและอยู่สม่ำเสมอ การพัฒนาสินค้าที่ดีควรมีแนวคิดที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลักสำคัญ
2 CHANNEL ช่องทางในการติดต่อสื่อสาร ทั้งที่เป็นแบบออฟไลนและแบบออนไลน์เช่น social media, website ซึ่งทุกช่องทางต้องมีความสามารถที่จะดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการด้วย เนื้อหา เรื่องราว สร้างความน่าเชื่อถือ ซึ่งการเพิ่มช่องทางให้มีเยอะขึ้นก็จะช่วยให้มีโอกาสในการที่จะขายของได้เยอะตามไปด้วย
3 CONTENT เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสินค้า วิธีในการนำเสนอ การมีความคิดสร้างสรรค์ที่สร้างมูลค่าให้กับสินค้า เพื่อที่จะทำให้เกิดการรับรู้ ความเชื่อถือ หรือความประทับใจในสินค้าอย่างต่อเนื่อง
4 PAYMENT การอำนวยความสะดวกในช่องทางการที่เกี่ยวกับการชำระเงิน ควรเพิ่มให้มีความสามารถชำระเงินครอบคลุมได้หลากหลายประเภท หรืออาจมีบริการเก็บเงินปลายทางได้จะยิ่งสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าได้จริง
5 PACKAGING กล่องหรือบรรจุภัณฑ์ เป้นส่วนเสริมคุณภาพสินค้าได้ดี เพราะนอกจากจะต้องมีความสวยงามชวนให้ใช้แล้ว ควรที่จะออกแบบให้มีความแข็งแรงทนทานสามารถขนส่งได้ดี เหมาะกับสินค้าที่มีความโดดเด่น เอกลักษณ์ของแบรนด์
6 SERVICE การดูแลลูกค้าด้วยความจริงใจ การตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ผู้ขายต้องมีจิตใจที่รักในการบริการ (Service Mind) หาวิธีทำให้ลูกค้ารักและประทับใจในสินค้า การตอบคำถามการแก้ปัญหาให้ลูกค้าหรือการให้คำแนะนำต่างๆ ด้วยความรวดเร็วจะช่วยให้การขายออนไลนไปได้ด้วยดีมาก
.
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------
Mass Customization การผลิตสินค้าปริมาณมากเฉพาะกลุ่ม
“Mass Customization” คือ การผลิตสินค้าที่ยังมีปริมาณมาก แต่สามารถจัดกลุ่มเฉพาะ โดยผู้บริโภคจะยังคงเข้าถึงได้สินค้าง่าย ในราคาถูกเนื่องจากผลิตในปริมาณที่มาก แต่ยังจะตอบสนองต่อรสนิยมและความต้องการเฉพาะบุคคลได้ดีกว่าเดิมมากขึ้น
โรงงานผลิตในอนาคต จะย้อนกลับไปสู่ลักษณะขนาดเล็กไปอยู่ตามครัวเรือนมากขึ้น สายการผลิตจะมีขนาดเล็กลง ผลิตกันได้ตามบ้านตามแต่ละชุมชน ซึ่งวิถีเช่นนี้กำลังจะเข้าแทนที่การผลิตแบบโรงงานขนาดใหญ่ และทำให้สายพานการผลิตขนาดมหึมาต้องยุติบทบาทลงในที่สุด การผลิตในแบบนี้จะยังทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลงเหมือนเดิมได้ แต่จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีความต้องการที่หลากหลายเฉพาะรายได้ดียิ่งขึ้น การปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 จะมีอิทธิพลสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้แรงงานในอนาคตไม่จำเป็นต้องโยกย้ายถิ่นฐานเพื่อหางานทำกันอีกต่อไป งานจะเริ่มกลับคืนสู่บ้าน และบ้านก็จะกลายเป็นที่ทำงานจริงๆ ได้อีกครั้ง
money แผนกู้เงินให้ดีควรต้องกู้ไปใช้ในเรื่องอะไร
1. การกู้เพื่อนำไปสร้างรายได้ เพื่อสร้างประโยชน์ เพื่อสร้างโอกาสให้ได้ผลตอบแทนที่ดี สามารถนำมาซื้อสินทรัพย์ไว้ครอบครองได้ หรือแสดงให้เห็นว่าจะมีผลกำไร โดยใช้ค่า Leverage เป็นเครื่องมือเพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจจากเงินลงทุน การที่ผู้ประกอบการมองเห็นโอกาสในการสร้างรายได้จากการลงทุน เช่น โอกาสในการขยายธุรกิจ หรือโอกาสในการลงทุนในการผลิตโดยการนำวิธีการใหม่มาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการ และมากไปกว่านั้นรายได้ที่คาดว่าจะสามารถทำได้นั้นต้องมากกว่าต้นทุนหรือดอกเบี้ยที่ต้องเสียไป
2. การกู้เพื่อนำมาลงทุนในด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human resource) ปัจจุบันทรัพยากรมนุษย์เป็นกำลังสำคัญในการทำธุรกิจ เพราะเทคโนโลยีนวัตกรรมที่มีความล้ำสมัย สามารถถูกพัฒนามาจากมนุษย์ได้ ความเชี่ยวชาญ ความรู้ความสามารถเป็นสิ่งที่กิจการควรพิจารณาเพื่อการลงทุน แม้จะไม่ได้สร้างเม็ดเงินให้เห็นเป็นรูปธรรมได้รวดเร็วเหมือนการลงทุนในอุปกรณ์ หรือเครื่องจักรแต่ความรู้ความสามารถก็สามารถต่อยอด และช่วยเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และบริการได้เป็นอย่างดีอย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญคือการคัดเลือกบุคลากร โดยเลือกบุคลากรที่จงรักภักดี นำความรู้ ความสามารถมาใช้เพื่อประโยชน์ในกิจการ หรือดีที่สุดอาจจะเป็นการลงทุนเพื่อสร้าง องค์ความรู้ (knowledge) ให้กับเจ้าของกิจการเอง และมีแนวทาง
3. การกู้เงินมาเพื่อสร้างความมั่นคงระยะยาว เป็นการขอกู้เงินเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างความมั่นคงให้แก่กิจการได้ในระยะยาวเช่น การกู้เงินเพื่อการลงทุนในเครื่องจักร การกู้เงินเพื่อการลงทุนในที่ดินหรือการกู้เงินเพื่อการลงทุนในอาคารสำหรับจัดเก็บสินค้า เป็นต้น โดยการลงทุนในทรัพย์สินดังกล่าว นอกจากเป็นทรัพย์สินที่คงทนถาวรแล้ว ยังสามารถต่อยอดเพื่อสร้างรายได้ให้กับกิจการได้ในอนาคต เช่น เพิ่มกำลังการผลิต หรือการปล่อยเช่าที่ดินหรืออาคาร เป็นต้น
โดยสรุปจะเห็นว่าการที่จะกู้เงินนั้นควรที่จะต้องคิดไตรตรองให้รอบคอบ ควรทำเมื่อมีความจำเป็นในการขอกู้เงินเพื่อมาลงทุนหรือสร้างประโยชน์ ผู้ขอกู้ไม่ควรละเลยกับการตั้งประเด็นเกี่ยวกับประโยชน์ที่จะได้รับ หรือผลกระทบที่จะต้องมีในการกู้เงินมาใช้จ่ายหรือลงทุนในการประกอบการ โดยควรต้องพิสูจน์ได้แน่ชัดว่าสามารถหาผลกำไรหรือมีประโยชน์ที่มากกว่าดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายแน่นอน จะเห็นว่าการเขียนเอกสารแผนธุรกิจที่ดีมีความสมบูรณ์ครอบคลุมในการทำธุรกิจ จะสร้างความมั่นใจให้กับธนาคารว่าผู้กู้มีความรู้ความเข้าใจในการทำธุรกิจจริง จะสามารถดำเนินงานโดยใช้เงินที่กู้ไปได้อย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ และจะสามารถนำเงินที่กู้ไปจากธนาคารมาใช้คืนได้ตามที่ทำสัญญา จึงจะมีโอกาสปล่อยให้กู้ได้ง่าย
-------------------------------------------------
ที่มาข้อมูล
-
ภาพและรวบรวมข้อมูล
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องการตลาดเพิ่มเติมคลิกที่นี่
-------------------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward