ดัชนีชี้วัดความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 ของประเทศไทยและต่างประเทศ
ปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ มีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นมากขึ้น ส่งผลให้กระบวนการผลิตต้องปรับตัวให้การทำงานนั้นมีความยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ง่ายรวดเร็วเพื่อให้การผลิตที่มีของตันนั้นมีประสิทธิภาพสูงสู้คู้แข่งได้ เพราะระดับความสามารถในการทำงานโดยเฉพาะกระบวนการผลิต จะเป็นตัวแปรที่สำคัญและใช้ชี้วัดความสำเร็จขององค์กรในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันไปจนถึงอนาคต การนำระบบการผลิตในยุคดิจิทัลเข้ามาประยุกต้ใช้หรือที่เราเรียกว่าการพัฒนาองค์กรไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 จะเป็นกุญแจสำคัญของอุตสาหกรรม
ปัจจุบันในโลกมีหลายประเทศที่เริ่มตื่นตัวและให้ความสำคัญ ในการยกระดับองค์กรให้มีปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตเดิมสู่ อุตสาหกรรม 4.0 กันมากมายหลายประเทศโดยอาจมีการเรียกที่แตกต่างกันไป แต้ให้สังเกตเป้าหมายที่จะมุ่งเข้าสู่การนำดิจิทัลมาใช้นการบริหารจัดการผลิตและบริการ
ในส่วนของ อุตสาหกรรม 4.0 โดยมีการกล่าวถึงครั้งแรกที่ ประเทศเยอรมัน ซึ่งได้เริ่มประกาศ German standardization Roadmap Industrie 4.0 ในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2448 ต่อมาก็เริ่มมีหลายที่ทีได้กำหนดเป้าหมายและประกาศติดตามมา เช่น จีนได้ประกาศแผน Roadmap ที่เน้นการผลิตยุคใหม่ใช้ดิจทัลมาช่วยในชื่อ Made in China 2567 (2024) เพื่อเน้นการพัฒนากระบวนการผลิตของประเทศจีนโดยเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2448 เพื่อการปรับกระบวนการผลิตในยุคสมัยใหม่ ที่จะมุ่งความสามารถในการแข่งขันการลดต้นทุนทั้งกระบวนการเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ
ในกลุ่มประเทศอาเซียน มีหลายประเทศที่เริ่มกำหนดเป้าหมายสู่การเป็นอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยประเทศที่เป็นแนวหน้าในงานด้านอุตสาหกรรม 4.0 คือ ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย รัฐบาลคาดหวังไว้ว่าหากอุตสาหกรรมในประเทศไทยนั้น สามารถยกระดับอุตสาหกรรมไปเป็น 4.0 ได้ หรือสามารถพัฒนาก่อนหลายประเทศก็อาจจะช่วยยกระดับความสามารถในด้านการแข่งขันอุตสาหกรรมกับประเทศต่างๆ ได้โดยไม่ยากนัก
ดัชนีชี้วัดความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 ของประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่
การประเมินความพร้อมอุตสาหกรรมนี้ หลายประเทศใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการที่จะริเริ่มดำเนินการและหาจุดก้าวเดิน เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมภาคการผลิตของประเทศตนให้ไปสู่ Industry 4.0 จากตัวอย่าง 3 ประเทศที่ได้กล่าวไปข้างต้น ล้วนตระหนักดีว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมภาคการผลิตสู่ Industry 4.0 ไม่สามารถใช้เวลาเพียงชั่วข้ามคืนให้สำเร็จได้ หากต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ให้เข้าใจชัดเจนถึงแนวคิดของ Industry 4.0 สร้างความตระหนักถึงความท้าทาย และโอกาสที่จะได้รับจากการเข้าสู่ Industry 4.0 ให้เข้าใจร่วมกันใน ทุกภาคส่วนของประเทศ เพื่อจะได้สามารถเตรียมความพร้อมและก้าวไปได้อย่างสอดคล้องกัน.
ที่มาข้อมูล ดาวน์โหลดเอกสารประกอบคลิกที่นี่
---------------------------------
ที่มาข้อมูล
---------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูล