WIM เทคนิคการจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management Techniques)
เทคนิคการจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management Techniques) วิธีการบริหารจัดการสินค้าคงคลังเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยในการทำธุรกิจให้ประสบความสสำเร็จ เพราะการจัดการสินค้าคงคลังที่ดีจะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้มาก ในปัจจุบันอาจยังไม่มีวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการสินค้าคงคลัง เราควรมีการจัดแบ่งกลุ่มสินค้าเพื่อจัดการ อาจหลัก หลักการพาเรโต (Pareto: 80/20) มาช่วยในการจัดแบ่งกลุ่ม ก่อนที่จะเลือกวิธีในการวางแผนการจัดการ การจัดการจะมีวิธีการจัดการที่มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะปัญหาในงานของแต่ละบริษัท เทคนิคที่จะช่วยปรับปรุงการจัดการสินค้าคงคลังควรเลือกที่จะมานารถตอบโจทย์ความต้องการได้ดีที่สุด เทคนิคการจัดการสิงนค้าคงคลังมีหลายวิธีเช่น
- ตั้งระดับขั้นต่ำ (Set Par Levels) คือ การจัดการสินค้าคงคลังแบบง่ายที่สุด โดยตั้งค่าระดับขั้นต่ำสำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยกำหนดเป็นจำนวนเงินขั้นต่ำของผลิตภัณฑ์ที่ต้องอยู่ตลอดเวลา เมื่อสต็อกสินค้าคงคลังลดต่ำลงกว่าระดับที่กำหนดไว้ จะรู้ว่าถึงเวลาที่ต้องสั่งซื้อมาเติม
ดูเพิ่มเติม WIM การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามความถี่ในการใช้ (FSN Analysis)
- การจัดลำดับเข้าก่อนออกก่อน (First-In First-Out, FIFO) คือ การจัดการสินค้าคงคลัง แบบกำหนดตามอายุสินค้า โดยกำหนดให้สินค้าที่เก่าสุด (เข้ามาก่อน) ได้รับการส่งออกก่อน (ขายออกก่อน) สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เน่าเสียง่าย
ดูเพิ่มเติม
- จัดการความสัมพันธ์ (Manage Relationships) คือ ส่วนหนึ่งของการจัดการความสัมพันธ์ที่ดีกับซัพพลายเออร์ การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับซัพพลายเออร์ การสื่อสารที่ดี ให้ผู้จัดจำหน่ายรู้เมื่อคุณคาดหวังยอดขายจะเพิ่มขึ้นเพื่อให้สามารถปรับการผลิตได้ทัน หรือให้จ้งให้เราทราบเมื่องานช้ากว่ากำหนดการเพื่อให้สามารถจัดการแก้ไขได้
ดูเพิ่มเติม
- การวางแผนฉุกเฉิน (Contingency Planning) พิจารณาว่าความเสี่ยงอยู่ที่ใด และเตรียมแผนฉุกเฉินไว้อย่างไร จะตอบสนองอย่างไร จะทำอะไรในการแก้ปัญหา และจะมีผลกระทบต่อส่วนอื่นๆ ของธุรกิจอย่างไร
ดูเพิ่มเติม WIM การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามความสำคัญกับการผลิต (VED Analysis)
- การตรวจสอบเป็นประจำ (Regular Auditing) การตรวนับจัดทำรายงานจากคลังสินค้าเพื่อทราบสต็อกสินค้า มีหลายวิธีในการทำเช่น
* การตรวจนับสินค้าคงคลัง (Physical Inventory) การตรวจนับสินค้าคงคลัง เป็นการปฏิบัติคือการนับสินค้าคงคลังทั้งหมดของคุณพร้อมกัน ธุรกิจส่วนใหญ่จะทำแบบนี้ในช่วงสิ้นปี เพราะเกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีและการจัดการด้านภาษีรายได้ประจำปี
* ตรวจสอบจุด (Spot Checking) ในกรณีที่ทำการนับสินค้าคงคลังเต็มรูปแบบในช่วงสิ้นปี มักประสบปัญหามีสินค้าจำนวนมาก บางแห่งอาจใช้วิธีการตรวจสอบเป็นระยะตลอดทั้งปี โดยเลือกการนับสินค้าและเปรียบเทียบ กำหนดช่วงระยะเวลาที่จะทำการนับและเลือกสินค้าที่จะนับสลับเปลี่ยนหมุนเวียนกัน บางแห่งเลือกเฉพาะการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหาหรือสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวเร็ว
* การนับตามรอบ (Cycle Counting) บางแห่งใช้การนับรอบเพื่อตรวจสอบ การนับเป็นรอบโดยการแบ่งส่วนนับและกระทบยอดรวมตลอดปี การนับอาจเป็นแบบนับทุกวันนับทุกสัปดาห์หรือนับทุกเดือน การนับเพื่อตรวจสอบสินค้าตามกำหนดหมุนเวียน มีวิธีการกำหนดระยะเวลารอบในการนับแตกต่างกันไป ตามหลักที่ใช้พิจารณาว่าจะนับรายการใดเมื่อไร โดยทั่วไปรายการที่มีมูลค่าสูง สินค้าที่มีปัญหาหายง่าย จะถูกกำหนดให้นับบ่อยขึ้นเป็นพิเศษ
ดูเพิ่มเติม WIM การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามมูลค่าราคา (HML Analysis) และ WIM การวิเคราะห์โดยการใช้หลักการพาเรโต (Pareto 80/20)
- การจัดลำดับให้ความสำคัญ ABC (Prioritize ABC) การแบ่งกฏเกณท์ในการจัดกลุ่มสินค้าเพื่อใช้กำหนดระยะเวลาในการนับสินค้า เนื่องจากสินค้าบางอย่างต้องการความสนใจมากกว่าสินค้าอื่นๆ จึงมีการใช้การวิเคราะห์ ABC เพื่อจัดลำดับความสำคัญของสินค้าที่มีการเก็บ แยกออกเป็นสินค้าที่ต้องได้รับความสนใจมากถึงน้อยตามกลุ่มเช่น หมวด A ต้องการความสนใจเป็นประจำ เนื่องจากผลกระทบสูง หมวด C มีการกำกับดูแลน้อย เนื่องจากมีผลกระทบที่เล็กลง
ดูเพิ่มเติม WIM การวิเคราะห์จัดกลุ่มด้วยระบบ ABC (ABC Analysis) และ WIM การวิเคราะห์โดยการใช้แบบ ABC ร่วมกับแบบ XYZ (ABC & XYZ Analysis)
- การพยากรณ์ที่ถูกต้องแม่นยำ (Accurate Forecasting) การจัดการสินค้าคงคลังที่ดีจะต้องมาจากการคาดการณ์ความต้องการที่ถูกต้องของการวางแผน ต้องไปสร้างความสามารการคาดการณ์ที่ถูกต้องให้ดียิ่งขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ต้องมีการเก็บสต๊อคสินค้ามากเกินความจำเป็น
ดูเพิ่มเติม
- พิจารณาความสามารถในการจัดส่งสินค้า (Consider Dropshipping) คือ การพิจารณาว่าชัพพลายเออร์ของเรามีความสามารถในการจัดส่งสินค้าเพียงไร
ดูเพิ่มเติม WIM การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามระยะเวลาในการส่งมอบ (SDE Analysis)
- Materials Requirements Planning (MRP) เป็นระบบที่ใช้สำหรับบริหารจัดการวัตถุดิบเพื่อจัดการและวางแผนความต้องการวัตถุดิบต่างๆ ในองค์กร โดยมีการนำระบบ ERP มาช่วยในการควบคุมแผนการสั่งซื้อ, การส่งมอบสินค้า, การจัดการสินค้าคงคลัง และวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต และ ไปที่อุตสาหกรรมการผลิต และการรวมระบบงานหลักทุกอย่างในองค์กรเข้ามาเป็นระบบเดียวกัน
ดูเพิ่มเติม
- The EOQ (Economic order Quantity) เป็นการจัดการวัสดุเพื่อให้มีวัสดุและสินค้ารองรับงานผลิตและการตลาด ทั้งการบริการลูกค้าที่ดีและมีต้นทุนสินค้าคงคลังรวมที่อยู่ระดับต่ำสามารถทำได้หลายวิธีการ ขึ้นอยู่กับลักษณะของความต้องการสินค้า ทรัพย์ยาองค์กร ความพร้อมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องการจัดการชัพพลายเชน ตลอดจนลักษณะของกระบวนการผลิตสินค้าประกอบเข้าด้วยกัน นอกจากนั้นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หรือ ระบบ ERP ยังช่วยให้การสร้างระบบการจัดการสินค้าคงคลังมีความหลากหลายมากขึ้น ทำให้ผู้บริหารสามารถเลือกใช้ระบบที่เหมาะสมกับกิจการของตนได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน
ดูเพิ่มเติม
- Just -in-time (JIT) เป็นเทคนิคในการลดต้นทุนการบริหารคลังสินค้า ทำอย่างไรที่จะจัดการให้ต้นทุนการสต็อกสินค้าต่ำที่สุด ซึ่งก็มีการประยุกต์ใช้ ”ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี” ที่เรียกว่า Just in time(JIT) ผลิตในปริมาณและเวลาที่ต้องการด้วยความพอดีไม่ขาดไม่เกิน โดยมุ่งเน้นให้ผลิตเป็นสินค้าได้พอดีกับความต้องการทั้งปริมาณและเวลา โดยมีวัตถุประสงค์หลักก็คือลดความสูญเสีย และลดต้นทุนที่เกิดขึ้นจากสินค้าคงคลัง และลดงานระหว่างกระบวนการต่างๆที่เป็นข้อเสียของกระบวนการผลิตแบบคราวละมากๆ จนต้องสต็อกสินค้าส่วนเกินเอาไว้จนเกิดต้นทุนเพิ่มโดยไม่จำเป็น
ดูเพิ่มเติม
การควบคุมการจัดการสินค้าคงคลังที่ดี จะช่วยประหยัดรายจ่าย เพิ่มโอกาสทางการค้า และความสามารถในการบริการลูกค้าที่ดี
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-----------------------------------------------
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------