-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
lm การพยากรณ์ความต้องการ กระบวนการจัดซื้อจัดหา (source)
กิจกรรมการจัดซื้อจัดหาเพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบหรือสินค้าดังกล่าว จึงนับเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญของกระบวนการธุรกิจ มีจุดมุ่งหมายหลักที่สำคัญคือ การแสวงหาผลกำไรจากกิจกรรมซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า การขายสินค้าที่ผลิตขึ้นเอง หรือการให้บริการแก่ลูกค้าในรูปแบบต่าง ๆ ในด้านการผลิต ผู้ผลิตพยายามที่จะสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้กับวัตถุดิบที่จัดหาเข้ามาเพื่อทำการแปลงสภาพปัจจัยการผลิตให้เกิดคุณค่าทางเศรษฐกิจในรูปของสินค้าสำเร็จรูป สำหรับผู้จำหน่ายสินค้าในลักษณะพ่อค้าขายส่ง พ่อค้าขายปลีก ที่ถูกเรียกว่าเป็นพ่อค้าคนกลาง ก็จะทำการซื้อสินค้าด้วยต้นทุนต่ำ เพื่อการจำหน่ายและตอบสนองความต้องการหรือความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคคนสุดท้ายในราคาที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มหรือกำไร ซึ่งเป็นการสร้างความแตกต่างระหว่างมูลค่าของสินค้าที่ขาย
รูปกระบวนการจัดซื้อจัดหา
อุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องอาศัยระบบการผลิตที่มีความซับซ้อน และต้องอาศัยอะไหล่หรือชิ้นส่วนจำนวนมากเพื่อนำมาประกอบเป็นสินค้าสำเร็จรูปจำหน่ายให้กับผู้บริโภค เช่น อุตสาหกรรมการประกอบรถยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า การสร้างอาคารที่พักอาศัยขนาดใหญ่ หรือธุรกิจการจำหน่ายสินค้าจำนวนครั้งละมาก ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้าที่มีรายการสินค้ามากมายและต้องติดต่อกับผู้ผลิตหรือผู้ขายหลายราย การจัดหาและการจัดซื้อจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ โดยมีจุดมุ่งหมายให้ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ มีราคาเหมาะสม เพื่อที่จะทำการผลิตหรือขายสินค้าด้วยต้นทุนต่ำและสร้างผลกำไรให้กับกิจการ รวมทั้งการสนับสนุนเพื่อให้กระบวนการผลิตหรือการขายเป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่ขาดตอน
เนื่องจากวัตถุดิบหรือสินค้าที่ได้รับการจัดหาหรือจัดซื้อมาใช้จำแนกออกได้เป็นหลายประเภท ได้แก่ วัตถุดิบ วัสดุสิ้นเปลือง วัสดุสำนักงาน อะไหล่ชิ้นส่วน เครื่องมืออุปกรณ์ วัสดุโฆษณา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีปริมาณการใช้และต้นทุนในการจัดซื้อมาใช้แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อสินค้าหรือวัตถุดิบประเภทใดก็ตาม ฝ่ายจัดซื้อจะมีบทบาทสำคัญในอันที่จะจัดซื้อเพื่อให้ได้มาซึ่งราคาต่อหน่วยต่ำที่สุด อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่งการจัดซื้อเป็นกิจกรรมก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกิดขึ้นติดตามมา เช่น ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาวัสดุคงคลัง ค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ค่าใช้จ่ายคลังสินค้า ค่าจ้าง ค่าสาธารณูปโภค ซึ่งจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและอาศัยเทคนิควิธีการที่จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานสูงสุด ดังนั้น การจัดหาและการจัดซื้อมีขอบเขตการดำเนินงานกว้างขวาง ได้แก่ การจัดหาแหล่งวัตถุดิบ การเลือกผู้จำหน่ายวัตถุดิบ การศึกษาตลาดและความเคลื่อนไหวของราคาวัตถุดิบ การวิจัยและพัฒนาวัตถุดิบ การตรวจสอบคุณภาพของวัตถุดิบ เป็นต้น
การจัดหาและการจัดซื้อเป็นกิจกรรมที่เชื่อมโยงการปฏิบัติงานระหว่างการจัดหาและจัดส่งวัตถุดิบจากผู้จำหน่ายวัตถุดิบกับการดำเนินงานของระบบการผลิต ดังนั้น จึงเป็นส่วนสำคัญที่ต้องอาศัยความสัมพันธ์และการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร นอกจากนั้นยังเป็นช่องทางที่องค์กรจะได้รับทราบข้อมูลและความเคลื่อนไหวของการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี แหล่งวัตถุดิบใหม่ ผู้จัดส่งหรือผู้จำหน่ายวัตถุดิบรายใหม่ แนวโน้มของตลาด สภาพแวดล้อมและรูปแบบของการแข่งขันทางธุรกิจ ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นความสัมพันธ์กับพันธมิตรทางธุรกิจ (Business Alliance) นอกจากนี้ยังถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างผลกระทบต่อกำไรและอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ของกิจการที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานขององค์กรอีกด้วย
.
ที่มา
-
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
lm การพยากรณ์ความต้องการ การจัดตารางการผลิตหลัก (Master Production Scheduling; MPS)
การจัดตารางการผลิตหลัก (MPS) เป็นการวางแผนสำหรับสินค้าสำเร็จรูป (Finished Products) โดยนำข้อมูลการสั่งซื้อจากลูกค้าและการประมาณการขาย การจัดทำแผนเพื่อให้ทราบจำนวน วันที่ที่ลูกค้าต้องการ และยอดคงเหลือของคลังสินค้าที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากผลิตตามแผนที่วางไว้ โดยระบบดูจากนโยบายในการผลิต นำมาประกอบการพิจารณาในการกำหนดวันที่ และจำนวนที่จะนำไปผลิตด้วย สามารถแสดงดังภาพต่อไปนี้
รูปความสัมพันธ์ของการจัดตารางการผลิตหลัก (MPS)
วิธีการคำนวณของการจัดตารางการผลิตหลัก สามารถแบ่งตามนโยบายการสั่งผลิตได้ 3 วิธีดังต่อไปนี้
1) นโยบายแบบตามความต้องการ (Lot for Lot) เป็นการสั่งผลิตเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการสุทธิค่าสูงสุดที่สามารถผลิตได้ โดยสามารถคำนวณได้
การคำนวณแผนการผลิต
แผนการผลิต = (ยอดขายหรือประมาณการขาย) + (Safety Stock – จำนวนคงเหลือ)
ยอดคงเหลือ = (แผนผลิต – (ยอดขายหรือประมาณการขาย) + ยอดขายคงเหลือก่อนหน้านี้
2) นโยบายแบบจำนวนคงที่ (Fixed) เป็นการสั่งผลิตแบบกำหนดจำนวนที่แน่นอนในการผลิต สามารถกำหนดค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดและค่า EOQ (Lot Size) โดยระบบเปรียบเทียบระหว่างค่าต่ำสุดกับค่า EOQ ที่จะนำมาคำนวณ
ค่าต่ำสุด > ค่า EOQ จะนำค่าต่ำสุดมาใช้ในการจัดทำแผนการผลิต
ค่าสูงสุด < ค่า EOQ จะนำค่า EOQ มาใช้ในการจัดทำแผนการผลิต
ขั้นตอนและวิธีการคำนวณของแผน
ขั้นตอนและวิธีการคำนวณของนโยบายแบบจำนวนคงที่ มีวิธีการคำนวณเหมือนกับนโยบายตามความต้องการแตกต่างกัน คือ นโยบายแบบจำนวนคงที่จะเปรียบเทียบระหว่าง ค่าต่ำสุดกับค่า EOQ ถ้าค่าใดมีค่ามากกว่า จะนำมาใช้ในการคำนวณแผนการผลิต
3) นโยบายตามแบบคาบเวลา (Period of Supply) เป็นการสั่งผลิตโดยคำนวณจำนวนที่ลูกค้าต้องการล่วงหน้าตามระยะเวลาที่กำหนดสามารถกำหนดจำนวนวันที่ต้องการให้ระบบวางแผนล่วงหน้า โดยมีขั้นตอนและวิธีการคำนวณดังนี้
แผนการผลิต = (ผลรวมยอดขายหรือประมาณการขายตามจำนวนวันที่กำหนดใน Supply Days) + (Safety Stock – จำนวนคงเหลือ)
ยอดคงเหลือ = (แผนผลิต – (ยอดขายหรือปริมาณการขาย) + ยอดคงเหลือก่อนหน้านี้)
.
ที่มา
-
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
lm การพยากรณ์ความต้องการ การวางแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirements Planning; MRP)
การวางแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirements Planning; MRP) เป็นวิธีการคำนวณเพื่อจัดการวัตถุดิบและวัสดุในการผลิตต่าง ๆ ให้เพียงพอกับช่วงเวลาที่มีความต้องการ หรือเป็นการจัดหาวัตถุดิบให้เพียงพอและทันเวลากับความต้องากรในทุก ๆ ขั้นตอนการผลิตจนกระทั่งเป็นสินค้าสำเร็จรูป
1) ข้อมูลการทำงานของการวางแผนความต้องการวัสดุ เมื่อพิจารณาการทำงานของระบบ MRP จะพบว่า MRP จะนำข้อมูล 2 ส่วนมาใช้ในการพิจารณาความต้องการวัตถุดิบ คือ อุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply)
อุปสงค์ (Demand) ได้มาจาก
1. คำสั่งขาย (Customer Order)
2. ค่าพยากรณ์ยอดขาย (Sales Forecast)
3. ตารางการผลิตหลัก (Mater Production Schedule; MPS)
4. คำสั่งผลิต (Manufacturing Order)
อุปทาน (Supply) ได้มาจาก
1. แผนการสั่งซื้อ (Plan Purchase)
2. คำสั่งซื้อ (Purchasing Order)
3. คำสั่งผลิต (Manufacturing Order)
2) การทำงานของระบบ MRP ประกอบด้วยข้อมูลหลัก ดังนี้
1. ข้อมูลภาวะของคงคลัง (Inventory Master File) รายการของคลังแต่ละรายการที่บรรจุอยู่ในแฟ้มข้อมูลชุดภาวะของคงคลังจะประกอบด้วยรายละเอียดที่แสดงภาระของวัสดุแต่ละรายการ เช่น หมายเลขชิ้นส่วน (Part Number) รายละเอียดของชิ้นส่วน (Part Description) ปริมาณที่มีอยู่ในขณะนั้น (Quantity on Hand) ปริมาณการสั่ง (Quantity or Order) สถานที่เก็บชิ้นส่วน (Part Location) หมายเลข Lot เพื่อแยกการรับเข้าของสินค้าแต่ละครั้ง (Lot Number) ฯลฯ
2. ชุดภาระการสั่ง (Order Master File) เป็นข้อมูลที่บรรจุอยู่ในแฟ้มข้อมูลการสั่งประกอบด้วยข้อมูลของลูกค้าทั้งหมด ปริมาณการสั่งซื้อและสั่งผลิตจะประกอบด้วย หมายเลขชิ้นส่วน (Part Number) หมายเลขใบสั่ง (Order Number) ปริมาณการสั่ง (Order Quantity) วันกำหนดส่ง (Due Date) หมายเลขของผู้ขาย (Vendor Number) ฯลฯ
3. ข้อมูลชุดโครงสร้างผลิตภัณฑ์ (Product Structure File) แฟ้มข้อมูลชุดโครงสร้างของผลิตภัณฑ์เป็นข้อมูลที่เชื่อมไปยังรายการผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปกับชิ้นส่วนและส่วนประกอบทั้งหมดที่นำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ซึ่งประกอบด้วยหมายเลขของชิ้นส่วนหลัก (Parent Part Number) วัสดุที่เป็นส่วนประกอบในการผลิตชิ้นส่วน (Component) จำนวนที่ต้องการใช้ในการผลิตชิ้นส่วนต่อ 1 หน่วย (Quantity Per Unit) ขั้นตอนการผลิต (Operation) เวลาเตรียมงาน (Setup Time) และเวลาที่ใช้ในการผลิต (Run Time)
4. ข้อมูลชุดอุปสงค์และอุปทานของวัสดุ (Materials Demand File and Material Supply File) ข้อมูลที่บันทึกเกี่ยวกับความต้องการวัสดุ ในการผลิตและการได้รับวัสดุเพิ่มขึ้นในคลังสินค้า
การประมวลผล MRP จะประกอบด้วยระบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1) ระบบการประมวลผล MRP (MRP Control System) ทำหน้าที่ควบคุมและประมวลผลโดยอาศัยข้อมูลต่าง ๆ มาทำการประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ออกมาในรูปของรายงานต่าง ๆ
2) ระบบตารางการผลิตหลักของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (Finished Goods Under Schedule System) เป็นการแสดงรายการให้ทราบว่า มีสินค้าชนิดใดบ้างที่ต้องทำการผลิต ผลิตด้วยจำนวนเท่าใด และจะพร้อมส่งเมื่อไร แสดงดังรูปแสดงตารางการผลิต
3) ระบบการกระจายโครงสร้างผลิตภัณฑ์และนำเวลามาตรฐานมาใช้ (Product Structure Explosion and Lead Time System) หลังจากได้รับข้อมูลความต้องการผลิตภัณฑ์จากตารางการผลิตหลัก นำข้อมูลมาคำนวณหาความต้องการวัตถุดิบ โดยสามารถทราบวัตถุดิบและชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ได้จากโครงสร้างของผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีลักษณะเหมือนต้นไม้โดยจะแสดงรายการวัสดุ จำนวนและขั้นตอนกระบวนการผลิตซึ่งประกอบด้วยเวลาในการผลิตของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ แสดงดังรูปโครงสร้างผลิตภัณฑ์
รูปโครงสร้างผลิตภัณฑ์ (Product Structure)
4) ระบบการรับ – จ่ายของคลัง (Inventory Transaction System) ในการทำ MRP ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง (Inventory) ที่ถูกต้องและทันสมัยมีความสำคัญมากซึ่งทำให้การวางแผนเกี่ยวกับวัสดุเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนที่สำคัญที่จะให้ทราบภาวะคงคลังได้อย่างถูกต้อง และทันสมัยอยู่เสมอ คือ ระบบการจัดการของคงคลังมีการรับและการจ่ายของคงคลังได้อย่างถูกต้อง เช่น เมื่อวัสดุที่สั่งซื้อเข้ามาในคงคลัง ซึ่งผ่านระบบการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ระบบการรับ – จ่าย จะบันทึกรับวัสดุเข้าคงคลังและปรับจำนวนยอดคงเหลือในคลังให้ถูกต้อง ในทำนองเดียวกัน ถ้ามีการเบิกวัสดุไปใช้ในการผลิต ระบบการรับ – จ่าย ก็จะบันทึกจ่ายวัสดุออกจากคลังแล้วปรับยอดคงเหลือให้เช่นกัน
5) ระบบการปรับปรุงข้อมูลของคงคลังและตารางการผลิต (Schedule and Inventory Adjustment System) การปรับปรุงข้อมูลของคงคลังและตารางการผลิตเป็นการปรับปรุงข้อมูลคงคลังให้อยู่ในสภาพที่เป็นจริงอยู่ตลอด (Real Time) ไม่ว่าจะเกิดสภาพการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ของระบบในช่วงเวลาใดหรือขณะใดก็ตาม เพื่อทำการตรวจสอบข้อมูลของคงคลังที่ได้วางแผนไว้กับข้อมูลจริงให้ถูกต้องเนื่องจากสภาพทั่วๆ ไป ของการผลิต เหตุการณ์ต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น ลูกค้าต้องการเร่งทำให้ต้องมีการเลื่อนแผนกำหนดวันส่งสินค้า รายการวัสดุที่ถูกผลิตหรือประกอบในระดับต่าง ๆ อาจมีข้อบกพร่อง จะต้องนำมาแก้ไขช่วงเวลาให้ถูกต้อง เป็นต้น เหตุการณ์เหล่านี้ไม่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า ระบบการปรับปรุงต้องมีการเปลี่ยนแปลง ป้อนเข้าสู่ระบบ MRP อย่างทันเวลา เพื่อให้ภาวะของคงคลังทุกรายการ และสภาพของการผลิตดำเนินไปอย่างถูกต้องและสอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด
.
ที่มา
-
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
lm การพยากรณ์ความต้องการ เทคนิคที่เกี่ยวข้อง
เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการพยากรณ์ มีด้วยกันหลายวิธีการ เช่น
1. ส่วนประกอบของอนุกรมเวลา แนวโน้มของข้อมูลความต้องการจะมีลักษณะแบบใดนั้น การพิจารณาขั้นต้นจะพิจารณาได้จากกราฟ (t, Yt) เมื่อ t เป็นเวลาอยู่บนแกนแนวนอน และ Yt เป็นค่าสังเกต ณ เวลา T อยู่บนแกนตั้ง
- แนวโน้ม (Trend) หมายถึง การเคลื่อนไหวของข้อมูลความต้องการสินค้าในระยะยาวซึ่งอาจจะเป็นแนวโน้มขึ้น หรือแนวโน้มลง แนวโน้มจะสะท้อนให้เห็นถึงความเจริญ และความเสื่อมของเหตุการณ์ต่าง ๆ
- ฤดูกาล (Seasonal) หมายถึง การเคลื่อนไหวของข้อมูลความต้องการสินค้ามีผลเนื่องมาจากฤดูกาล การเคลื่อนไหวจะเกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง ปัจจัยที่ก่อให้เกิดอิทธิพลของฤดูกาลมีได้หลายปัจจัย เช่น สภาพอากาศ อุณหภูมิ เทศกาล ตัวอย่างของอนุกรมเวลาที่มีอิทธิพลของฤดูกาลเกี่ยวข้อง เช่น ยอดขายของถังน้ำพลาสติกที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝนและมีน้ำท่วมขัง ลูกค้าต้องการกักเก็บน้ำสะอาดในถังน้ำพลาสติกไว้สำหรับบริโภค เป็นต้น
- อิทธิพลของวัฎจักร (Cycle) เป็นข้อมูลความต้องการสินค้าที่เก็บรวบรวมในระยะยาวหลายปี การเคลื่อนไหวอาจจะแสดงอิทธิพลของวัฏจักรที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับอิทธิพลของฤดูกาล โดยวัฏจักรหนึ่งจะครอบคลุมระยะเวลาหลายปี วัฏจักรที่พบเสมอ ได้แก่ วัฏจักรธุรกิจ ที่มีทั้งรุ่งเรืองคงที่และตกต่ำ วัฏจักรของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ส่งผลต่อราคาเม็ดพลาสติก เป็นต้น
- เหตุการณ์ที่ผิดปกติ (Irregular) เป็นการเคลื่อนไหวของข้อมูลความต้องการสินค้าเฉพาะส่วนที่ไม่มีแบบแผนที่แน่นอน ส่วนใหญ่จะเป็นเหตุการณ์ที่ไมได้คาดคิดมาก่อน หรือไม่เกิดขึ้นบ่อยนัก เช่น อุบัติเหตุ น้ำท่วม ไฟไหม้ สงคราม เป็นต้น
2. การวัดความถูกต้องของการพยากรณ์ ความถูกต้องของการพยากรณ์เป็นสิ่งที่ใช้ค่าพยากรณ์ต้องการ ความถูกต้องมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับค่าความคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ (Forecasting Error. et) ซึ่งเป็นผลต่างของค่าจริงและค่าพยากรณ์ ค่าความคลาดเคลื่อนมีค่ามากถ้าค่าจริงห่างจากค่าพยากรณ์มาก และค่าความคลาดเคลื่อนมีค่าน้อยถ้าค่าพยากรณ์ใกล้เคียงกับค่าจริง ค่าวัดความถูกต้องของการพยากรณ์ที่ใช้กันมาก ได้แก่
ตารางที่ 2.1 สูตรการวัดความถูกต้องของการพยากรณ์
3) เทคนิคการพยากรณ์เชิงปริมาณ เมื่อต้องการการพยากรณ์อนุกรมเวลาเริ่มแรกต้องทำการพล๊อตกราฟเวลา ซึ่งเป็นแกนนอนและค่าสังเกตเป็นแกนตั้งเพื่อดูความสัมพันธ์ของข้อมูลว่าเป็นลักษณะใด เมื่อพิจารณาแล้วพบว่า
1) ข้อมูลความต้องการสินค้าไม่มีแนวโน้ม และไม่มีฤดูกาล วิธีการที่นิยมใช้ในการพยากรณ์ยอดขาย คือ
- วิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (Simple Moving Average) เป็นวิธีการหาค่าพยากรณ์จากค่าสังเกตล่าสุดจำนวนหนึ่ง เช่น 3 ค่า หรือ 5 ค่า เป็นต้น แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยซึ่งเป็นการเฉลี่ยที่ให้น้ำหนักกับค่าสังเกตแต่ละค่าเท่ากัน กรณีใช้ k ค่าสังเกต จะใช้ค่าพยากรณ์ ณ เวลา t + 1 เป็นสมการพยากรณ์
- วิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนัก (Weighted Moving Average) วิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนักเหมือนกับวิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย ต่างกันเพียงน้ำหนักที่ให้กับค่าสังเกตต่างกันให้น้ำหนักสำหรับข้อมูลล่าสุดมีความสำคัญ หรือน้ำหนักมากกว่าข้อมูลที่เก่ากว่า กรณีใช้ k ค่าสังเกตจะใช้ค่าพยากรณ์ ณ เวลา t+1 เป็นสมการพยากรณ์
- วิธีปรับเรียบเอ็กโปเนนเชียลเชิงเดี่ยว (Simple Exponential Smoothing) วิธีปรับเรียบเอ็กโปเนนเชียลเชิงเสดี่ยว ค่าพยากรณ์จะได้มาจากค่าสังเกตที่ผ่านมาทั้งหมด น้ำหนักที่ให้กับค่าสังเกตแต่ละค่าไม่เท่ากัน น้ำหนักที่ให้ขึ้นอยู่กับค่าคงที่ในการปรับเรียบ (Smoothing Constant)
2) ข้อมูลความต้องการสินค้ามีแนวโน้ม วิธีการที่นิยมใช้ในการพยากรณ์ยอดขาย คือ วิธีปรับเรียบเอ็กโปเนนเชียลเชิงคู่ (Double Exponential Smoothing) เป็นวิธีที่ใช้กับอนุกรมเวลาที่มีแนวโน้มเป็นเส้นตรง โดยกำหนดให้
3) ข้อมูลความต้องการสินค้า มีวัฏจักรหรือฤดูกาล วิธีการที่นิยมใช้ในการพยากรณ์ยอดขาย คือ วิธีปรับเรียบเอ็กโปเนนเชียลแบบฤดูกาล (Simple Seasonal Exponential Smoothing) สมการพยากรณ์จะอยู่ในรูป
.
ที่มา
-
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
การเลือกช่องทางเพื่อใช้ในการขนส่งสินค้า (Transport Mode)
การเลือกช่องทางเพื่อใช้ในการขนส่งสินค้า (Transport Mode) เราอาจทำการเลือกช่องทางในการขนส่งไ
1. การขนส่งทางรถไฟ (rail)
2. การขนส่งรถยนต์หรือรถบรรทุก
3. การขนส่งทางน้ำ (water)
4. การขนส่งทางอากาศ (air)
5. การขนส่งทางท่อ (pipeline)
ในการเลือกใช้ประเภทการขนส่
- ประเภทสินค้า ประเภทไหน มีข้อจำกัดอย่างไร ความสะดวกในการขนส่ง
- ราคา ที่ใช้ในการขนส่ง
- เวลา ที่สามารถใช้ในการขนส่งมีระยะเวลาเท่าไรจะเหมาะสม
- ประสิทธbภาพ ความต้องการของลูกค้า
ความพร้อมในการใช้เลือกง
.
ที่มา
-
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward