iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
International Logistics Performance Index (LPI) 2012-2016 / เทียบดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศของไทย ระหว่างปี 2555-2559
ดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ (International Logistics Performance Index: LPI) คือ ค่าที่ใช้ประเมินความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ของในแต่ละประเทศ การเปรียบเทียบดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศของไทย ระหว่างปี 2555-2559 พบว่าข้อมูลการจัดอันดับ LPI ของธนาคารโลกในปี 2559 พบว่าประเทศไทยอยู่อันดับที่ 45 จาก 160 ประเทศทั่วโลก ลดลงจากอันดับที่ 35 ในปี 2557 ทั้งนี้หากพิจารณาเปรียบเทียบองค์ประกอบของเกณฑ์ชี้วัดทั้ง 6 ตัว พบว่าอันดับลดลงเกือบทุกด้าน โดยเฉพาะ ด้านความตรงต่อเวลาของการบริการ ระบบการติดตามและตรวจสอบสินค้า ยกเว้นการเตรียมการขนส่งระหว่างประเทศที่มีลำดับปรับดีขึ้นเล็กน้อย
อย่างไรก็ตามดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ อาจมิใช่เครื่องมือเพียงอย่างเดียวสำหรับประเมินประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยได้อย่างแท้จริง เนื่องจากมีข้อจำกัดของวิธีการและการเลือกใช้รูปแบบการจัดเก็บข้อมูลของธนาคารโลก ที่เลือกใช้วิธีการสอบถามความพึงพอใจของประเทศคู่ค้าเป็นหลัก ดังนั้นเพื่อลดความเบี่ยงเบนของข้อมูลการสอบถาม จึงจำเป็นต้องใช้ตัวชี้วัดเฉพาะอื่นๆ (Specific tool) ควบคู่ไปด้วย
ที่มา http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6923&filename=logistic
-------------------------------------------------
LPI ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index: LPI) รวมข้อมูล
-------------------------------------------------
การวิเคราะห์ผลการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ ปี 2551
ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
การประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์จะวัดคะแนนออกเป็น 5 ด้าน ตามจำนวนของดัชนี โดยการพิจารณาศักยภาพในแต่ละด้านแยกออกจากกัน เพื่อให้ผู้ทำการประเมินทราบศักยภาพการแข่งขันและสามารถมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพในแต่ละด้านได้อย่างชัดเจน เหตุผลที่ไม่มีการประเมินคะแนนในภาพรวม เพราะดัชนีในแต่ละด้านมีความสำคัญต่อการแข่งขันเป็นเอกเทศกัน การนำคะแนนรวมของดัชนีทั้ง 5 ด้าน มาพิจารณาจะทำให้ปัญหาหรือข้อด้อยขององค์กรถูกซ่อนเร้นและไม่ได้รับการนำมาพิจารณาปรับปรุง ซึ่งจะเกิดผลเสียต่อองค์กร ตัวอย่างเช่น องค์กรมีคะแนนในดัชนีด้านที่ 1 2 3 และ 5 สูงมาก ขณะที่ดัชนีด้านที่ 4 ได้คะแนนต่ำมาก คะแนนรวมขององค์กรจะออกมาค่อนข้างสูง ทำให้ผู้บริหารเข้าใจผิดว่าองค์กรมีศักยภาพทางการแข่งขันสูง ในขณะที่ความเป็นจริงดัชนีด้านที่ 4 ซึ่งได้แก่ดัชนีชี้วัดด้านระบบบริหารข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศต่ำมาก อาจส่งผลต่อความสามารถทางการแข่งขันในอนาคตตามกระแสโลกาภิวัตน์ ในที่สุดองค์กรไม่สามารถแข่งขันอยู่ในตลาดได้
ในการประเมิน คะแนนของแต่ละดัชนีหาได้จากการหาค่าเฉลี่ยของตัวชี้วัดแต่ละข้อ เช่น ในดัชนีด้านที่ 1 การกำหนดกลยุทธ์สถานประกอบการ มีตัวชี้วัด 5 ข้อ และในแต่ละข้อทำการประเมินองค์กรตนเอง ได้ดังนี้
การให้ความสำคัญต่อกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ ได้คะแนน 4
การทำข้อตกลงกับผู้ส่งมอบหลักและมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ได้คะแนน 4
การทำข้อตกลงกับลูกค้าหลักและมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ได้คะแนน 4
การจัดทำระบบในการประเมินและพัฒนาความพึงพอใจของลูกค้า ได้คะแนน 5
การจัดทำระบบในการพัฒนาและประเมินพนักงาน ได้คะแนน 5
ดังนั้น ในดัชนีด้านที่ 1 องค์กรของท่านจะได้ระดับคะแนนเฉลี่ย = 4.4 คะแนน
นอกจากนี้ สำหรับอุตสาหกรรมพื้นฐานประเภทอื่น สามารถนำแบบประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานไปประยุกต์ใช้กับองค์กรของตน โดยกำหนดเกณฑ์มาตรฐานโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน เป็นแนวทางในการพัฒนา
คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นรายละเอียดวิธีการใช้แบบประเมินดังกล่าว
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ / กรกฎาคม 2551
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
E-Book คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ปี 2551เอกสารเผยแพร่เรื่อง “คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ปี 2551” เป็นการเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ความเข้าใจเบื้องต้นสำหรับการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ ปี 2551
ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
เกณฑ์และดัชนีในการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ขององค์กรนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ขององค์กรตนเองเปรียบเทียบกับองค์กรประเภทเดียวกัน หรือแม้แต่เปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล องค์กรสามารถวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็ง ตลอดจนนำข้อมูลที่ได้ไปใช้สำหรับการพัฒนาองค์กรให้มีศักยภาพสูงขึ้น ซึ่งมีระดับศักยภาพด้านโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ดำเนินการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และสรุปเป็นค่าเฉลี่ยไว้เพื่อเปรียบเทียบ (Benchmark) กับผลการประเมินขององค์กรท่าน
การประเมินและการให้ระดับคะแนน
เพื่อให้การประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ขององค์กรถูกต้อง แม่นยำ และสามารถวิเคราะห์แปลผลได้อย่างสมบูรณ์ ขอให้ผู้ทำการประเมินทำความเข้าใจวิธีการดังนี้
ในการวัดศักยภาพแต่ละด้าน จะมีตัวชี้วัดแยกย่อยลงในรายละเอียด และในแต่ละตัวชี้วัดจะแบ่งระดับการให้คะแนนออกเป็น 5 ระดับ คือ ระดับที่ 1 ถึง ระดับที่ 5 เรียงจากระดับศักยภาพต่ำที่สุดไประดับศักยภาพสูงที่สุด ตามลำดับ
ตัวชี้วัดที่ 1.1 กำหนดระดับการให้คะแนน
ระดับ 1 |
ระดับ 2 |
· ผู้บริหารระดับสูงไม่ได้กำหนดนโยบายหรือกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ · ไม่มีหน่วยงาน หรือ คณะทำงานที่รับผิดชอบกิจกรรมด้านโลจิสติกส์โดยรวมขององค์กร |
· ผู้บริหารระดับสูงมีการกำหนดนโยบายหรือกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ · ไม่มีหน่วยงาน หรือ คณะทำงานที่รับผิดชอบกิจกรรมด้านโลจิสติกส์โดยรวมขององค์กร |
ตัวชี้วัดที่ 5.1 กำหนดระดับการให้คะแนน
ระดับ 1 |
ระดับ 2 |
· องค์กรไม่เห็นถึงความสำคัญของการร่วมมือ ด้านโลจิสติกส์ระหว่างธุรกิจที่เป็นพันธมิตร และระหว่างธุรกิจประเภทเดียวกัน |
· องค์กรเห็นถึงความสำคัญของการร่วมมือ ด้านโลจิสติกส์ระหว่างธุรกิจที่เป็นพันธมิตร และระหว่างธุรกิจประเภทเดียวกัน · มีแผนดำเนินการเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างกัน |
ทั้งนี้ รายละเอียดศักยภาพด้านโลจิสติกส์รายตัวชี้วัดจะแสดงในส่วนที่ 4 ซึ่งมีคำอธิบายและตัวอย่างประกอบ
คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นรายละเอียดวิธีการใช้แบบประเมินดังกล่าว
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ / กรกฎาคม 2551
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
E-Book คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ปี 2551” เป็นการเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
คำอธิบายรายละเอียดศักยภาพด้านโลจิสติกส์รายตัวชี้วัดการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ ปี 2551
ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ดัชนีด้านที่ 1 การกำหนดกลยุทธ์สถานประกอบการ
ตัวชี้วัดที่ 1.1 การให้ความสำคัญต่อกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์
วัตถุประสงค์และประเด็นชี้วัด
ปัจจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวัดว่าองค์กรให้ความสำคัญต่อกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ และมีการจัดตั้งคณะทำงานหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลกิจกรรมด้านโลจิสติกส์โดยเฉพาะ หรือไม่ อยู่ในระดับใด
ความหมาย
องค์กรตระหนักถึงความสำคัญของกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ โดยผู้บริหารให้การสนับสนุน และจัดตั้งคณะทำงานหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลกิจกรรมด้านโลจิสติกส์โดยเฉพาะ
ระดับคะแนน
ผู้ประกอบการสามารถประเมินระดับคะแนนของตัวชี้วัดที่ 1.1 ให้กับองค์กรของตนได้ตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ระดับคะแนน |
คุณสมบัติ |
ระดับ 1 |
ผู้บริหารระดับสูงไม่ได้กำหนดนโยบายหรือกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ องค์กรไม่มีหน่วยงานหรือคณะทำงานที่รับผิดชอบกิจกรรมด้านโลจิสติกส์โดยรวมขององค์กร |
ระดับ 2 |
ผู้บริหารระดับสูงมีการกำหนดนโยบายหรือกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ องค์กรไม่มีหน่วยงานหรือคณะทำงานที่รับผิดชอบกิจกรรมด้านโลจิสติกส์โดยรวมขององค์กร |
ระดับ 3 |
ผู้บริหารระดับสูงมีการกำหนดนโยบายหรือกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ องค์กรมีหน่วยงานหรือคณะทำงานรับผิดชอบกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ (ซึ่งเป็นบุคลากรจากหลายฝ่ายมารวมตัวกัน หรือประชุมกันเป็นครั้งคราว) |
ระดับ 4 |
องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 3 และ มีการตั้งดัชนีชี้วัดด้านโลจิสติกส์ (Logistics Key Performance Index) มีการประเมินผลกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ภายในองค์กร |
ระดับ 5 |
องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 4 และ มีการทบทวนและพัฒนาแผนกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์อย่างต่อเนื่อง |
คำอธิบายเพิ่มเติม
กิจกรรมด้านโลจิสติกส์ หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่อยู่ในขอบข่ายกระบวนการด้านโลจิสติกส์ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม 13 กิจกรรม ดังนี้
- การติดต่อสื่อสารด้านโลจิสติกส์ (Logistics Communication)
- การบริการลูกค้า (Customer Service)
- กระบวนการสั่งซื้อ (Order Processing)
- การคาดการณ์ความต้องการ (Demand Forecasting)
- การจัดซื้อ (Procurement)
- การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management)
- การขนส่ง (Transportation)
- การบริหารคลังสินค้าและการจัดเก็บ (Warehousing and Storage)
- โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics)
- การจัดเตรียมอะไหล่และชิ้นส่วนต่างๆ (Part and Service Support)
- การเลือกที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้า (Plant and Warehousing Site Selection)
- อุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายสินค้า (Material Handling)
- บรรจุภัณฑ์และหีบห่อ (Packaging and Packing)
ตัวชี้วัดที่ 1.2 การทำข้อตกลงกับผู้ส่งมอบหลัก1.1 และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
วัตถุประสงค์และประเด็นชี้วัด
ปัจจัยนี้เพื่อวัดว่าองค์กรมีการทำข้อตกลงกับผู้ส่งมอบหลักและมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้องค์กรและผู้ส่งมอบหลักได้รับประโยชน์ร่วมกัน หรือไม่ และอยู่ในระดับใด
ความหมาย
องค์กรมีการทำข้อตกลงกับผู้ส่งมอบหลักอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อพัฒนากิจกรรมด้านโลจิสติกส์โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ได้ประโยชน์ร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย (Win-Win Solution)
ระดับคะแนน
ผู้ประกอบการสามารถประเมินระดับคะแนนของตัวชี้วัดที่ 1.2 ให้กับองค์กรของตนได้ตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ระดับคะแนน |
คุณสมบัติ |
ระดับ 1 |
§ องค์กรไม่มีการทำสัญญาหรือข้อตกลงกับผู้ส่งมอบหลักอย่างเป็นทางการ |
ระดับ 2 |
§ องค์กรมีการทำสัญญาหรือข้อตกลงกับผู้ส่งมอบหลักในรูปแบบต่างๆ เช่น ใบสั่งซื้อ (PO) ข้อกำหนด e-mail หรือการสื่อสารอื่นๆ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร |
ระดับ 3 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 2 และ § มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญระหว่างองค์กรกับผู้ส่งมอบหลัก นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญา/ข้อตกลง เช่น ประสิทธิภาพของผู้ส่งมอบด้านต่างๆ เป็นต้น |
ระดับ 4 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 3 และ § มีการระบุข้อตกลงที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่เอื้อประโยชน์กับทั้งองค์กรและผู้ส่งมอบหลัก |
ระดับ 5 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 4 และ § มีแผนในการพัฒนาผู้ส่งมอบหลักอย่างเป็นทางการ เช่น มีแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาผู้ส่งมอบด้านประสิทธิภาพในการจัดส่งวัตถุดิบ เป็นต้น |
คำอธิบายเพิ่มเติม
ตัวอย่าง การระบุข้อตกลงที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่เอื้อประโยชน์กับทั้งองค์กรและผู้ส่งมอบหลัก (ตัวชี้วัดในระดับคะแนน 4) เช่น องค์กรที่เป็นผู้ผลิตมีข้อตกลงให้ผู้ส่งมอบวัตถุดิบใดๆ เป็นผู้บริหารสินค้าคงคลังในส่วนของวัตถุดิบนั้นๆ ซึ่งประโยชน์ที่องค์กรได้รับคือ ไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการบริหารสินค้าคงคลังของตน ส่วนประโยชน์ที่ผู้ส่งมอบได้รับคือ สามารถวางแผนการผลิตหรือการจัดส่งวัตถุดิบให้ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น
คำนิยาม
ตัวชี้วัดที่ 1.3 การทำข้อตกลงกับลูกค้าหลักและมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
วัตถุประสงค์และประเด็นชี้วัด
ปัจจัยนี้เพื่อวัดว่าองค์กรมีการทำข้อตกลงกับลูกค้าหลักและมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้องค์กร และลูกค้าหลักได้รับประโยชน์ร่วมกัน หรือไม่ และอยู่ในระดับใด
ความหมาย
องค์กรมีการทำข้อตกลงกับลูกค้าหลักอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อพัฒนากิจกรรม โลจิสติกส์โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ได้ประโยชน์ร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย (Win-Win Solution)
ระดับคะแนน
ผู้ประกอบการสามารถประเมินระดับคะแนนของตัวชี้วัดที่ 1.3 ให้กับองค์กรของตนได้ตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ระดับคะแนน |
คุณสมบัติ |
ระดับ 1 |
§ องค์กรไม่มีการทำสัญญาหรือข้อตกลงกับลูกค้าหลักอย่างเป็นทางการ |
ระดับ 2 |
§ องค์กรมีการทำสัญญาหรือข้อตกลงกับลูกค้าหลักในรูปแบบต่างๆ เช่น ใบสั่งซื้อ (PO) ข้อกำหนด e-mail หรือการสื่อสารอื่นๆ ที่เป็นลายลักษณ์อักษร |
ระดับ 3 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 2 และ § มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญระหว่างองค์กรกับลูกค้าหลัก นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในสัญญา/ข้อตกลง |
ระดับ 4 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 3 และ § มีการระบุข้อตกลงที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่เอื้อประโยชน์กับทั้งองค์กรและลูกค้าหลัก |
ระดับ 5 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 4 และ § มีแผนในการพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กรร่วมกับลูกค้าหลักอย่างเป็นทางการ เช่น มีแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาเครือข่ายการจัดส่งสินค้าร่วมกับลูกค้า เป็นต้น |
คำอธิบายเพิ่มเติม
ตัวอย่าง การระบุข้อตกลงที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่เอื้อประโยชน์กับทั้งองค์กรและลูกค้าหลัก (ตัวชี้วัดในระดับคะแนน 4) เช่น องค์กรที่ทำการผลิตสินค้าใดๆ ทำข้อตกลงกับลูกค้า ซึ่งเป็นศูนย์กระจายสินค้า ว่าจะเป็นผู้บริหารสินค้าคงคลังในส่วนของสินค้านั้นๆ ซึ่งประโยชน์ที่องค์กรได้รับคือ สามารถวางแผนการผลิตหรือการจัดส่งสินค้าให้ลูกค้าได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ส่วนประโยชน์ที่ลูกค้าได้รับคือ ไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการบริหารสินค้าคงคลังของตน
ตัวชี้วัดที่ 1.4 การจัดทำระบบในการประเมินและพัฒนาความพึงพอใจของลูกค้า
วัตถุประสงค์และประเด็นชี้วัด
ปัจจัยนี้เพื่อวัดว่าองค์กรมีระบบในการประเมินความพึงพอใจของลูกค้า ดำเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียน รวมทั้งร่วมมือกันภายในองค์กร ตลอดจนร่วมมือกับลูกค้าในการพัฒนาระดับความพึงพอใจของลูกค้า หรือไม่ และอยู่ในระดับใด
ความหมาย
องค์กรมีระบบในการประเมินความพึงพอใจของลูกค้า ดำเนินการเกี่ยวกับข้อร้องเรียน รวมทั้งร่วมมือกับลูกค้าในการพัฒนาระดับความพึงพอใจ
ระดับคะแนน
ผู้ประกอบการสามารถประเมินระดับคะแนนของตัวชี้วัดที่ 1.4 ให้กับองค์กรของตนได้ตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ระดับคะแนน |
คุณสมบัติ |
ระดับ 1 |
§ องค์กรไม่มีการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า § การแก้ไขข้อร้องเรียนของลูกค้าเป็นการแก้ไขปัญหาแบบเฉพาะหน้าหรือเป็นครั้งคราวเท่านั้น |
ระดับ 2 |
§ องค์กรมีการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า § มีการแก้ไขข้อร้องเรียนของลูกค้า โดยแผนก/ฝ่ายขายเป็นผู้รับผิดชอบเท่านั้น § ไม่มีการบันทึกข้อร้องเรียนของลูกค้าที่เกิดขึ้น |
ระดับ 3 |
§ องค์กรมีการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า § มีการแก้ไขข้อร้องเรียนของลูกค้า โดยแผนก/ฝ่ายขายเป็นผู้รับผิดชอบเท่านั้น § มีระบบในการจัดการและจัดเก็บข้อร้องเรียนของลูกค้าที่เกิดขึ้น |
ระดับ 4 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 3 และ § มีการแก้ไขข้อร้องเรียนของลูกค้า โดยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เฉพาะภายในองค์กร § มีการนำผลสำรวจความพึงพอใจของลูกค้ามาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาวิธีการทำงาน ผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่ดีขึ้น |
ระดับ 5 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 4 และ § มีการแก้ไขข้อร้องเรียนของลูกค้า โดยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในองค์กร ผู้ส่งมอบ และลูกค้า § มีมาตรการในการป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้า (มาตรการกำหนดจากการวิเคราะห์ความพึงพอใจของลูกค้า) |
คำอธิบายเพิ่มเติม
ตัวอย่าง มาตรการในการป้องกันปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต (ตัวชี้วัดในระดับคะแนน 5) เช่น ลูกค้าร้องเรียนเรื่องถ่านหินที่ส่งให้มีค่าความชื้นเกินกว่าที่กำหนดไว้บ่อยครั้ง จึงมีการวิเคราะห์สาเหตุและดำเนินการแก้ไขเบื้องต้น โดยจัดส่งถ่านหินจากเหมืองโดยตรง และมีมาตรการป้องกันโดยการลดปริมาณจัดเก็บถ่านหินเท่าที่จำเป็น อีกทั้งจะนำถ่านหินเฉพาะที่กองอยู่ด้านบนจัดส่งให้ลูกค้าก่อน เป็นต้น
ตัวชี้วัดที่ 1.5 การจัดทำระบบในการพัฒนาและประเมินพนักงาน
วัตถุประสงค์และประเด็นชี้วัด
ปัจจัยนี้เพื่อวัดว่าองค์กรมีระบบในการพัฒนาและประเมินผลงานของพนักงานด้านโลจิสติกส์ รวมทั้งมีการนำหลักการและการจัดการองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ในองค์กร เพื่อพัฒนาสมรรถนะของพนักงานด้านโลจิสติกส์ หรือไม่ และอยู่ในระดับใด
ความหมาย
องค์กรมีระบบในการพัฒนาและประเมินผลงานของพนักงาน รวมทั้งมีการนำหลักการและการจัดการองค์ความรู้ มาประยุกต์ใช้ในองค์กร
ระดับคะแนน
ผู้ประกอบการสามารถประเมินระดับคะแนนของตัวชี้วัดที่ 1.5 ให้กับองค์กรของตนได้ตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ระดับคะแนน |
คุณสมบัติ |
ระดับ 1 |
§ องค์กรไม่มีการกำหนดถ้อยแถลง (Commitment Statement) และประกาศให้ทราบทั่วกัน § ไม่มีการฝึกอบรมพนักงานด้านโลจิสติกส์ |
ระดับ 2 |
§ องค์กรมีการกำหนดถ้อยแถลง (Commitment Statement) และประกาศให้ทราบทั่วกัน § ไม่มีการฝึกอบรมพนักงานด้านโลจิสติกส์ |
ระดับ 3 |
§ องค์กรมีการกำหนดถ้อยแถลง (Commitment Statement) และประกาศให้ทราบทั่วกัน § มีโครงการฝึกอบรมเพื่อยกระดับสมรรถนะของพนักงานให้เป็นไปตามถ้อยแถลงขององค์กร |
ระดับ 4 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 3 และ § มีระบบการวัดผลการทำงานและประเมินการทำงานของพนักงานให้เป็นไปตามถ้อยแถลงขององค์กร |
ระดับ 5 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 4 และ § มีระบบการจัดการองค์ความรู้ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม และพนักงานแต่ละระดับขององค์กร |
คำอธิบายเพิ่มเติม
ดัชนีด้านที่ 2 การวางแผนและความสามารถในการปฏิบัติงาน
ตัวชี้วัดที่ 2.1 การกำหนดแผนงานด้านโลจิสติกส์
วัตถุประสงค์และประเด็นชี้วัด
ปัจจัยนี้เพื่อวัดว่า เมื่อมีการกำหนดกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์แล้ว หน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบงานด้านโลจิสติกส์ นำมาวางแผนการทำงานของตนอย่างเหมาะสมภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ มีความร่วมมือกันในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในองค์กรเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายองค์กรร่วมกัน และกำหนดแผนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ตลอดจนก้าวไปสู่ความร่วมมือกับลูกค้าและผู้ส่งมอบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า รวมทั้งพัฒนาไปสู่การวางแผนแก้ปัญหาหรือการพัฒนาในระยะยาวร่วมกัน หรือไม่ และอยู่ในระดับใด โดยพิจารณาจาก
ความหมาย
องค์กรมีการกำหนดแผนงานด้านโลจิสติกส์ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ และคำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่ในองค์กรและโซ่อุปทาน
ระดับคะแนน
ผู้ประกอบการสามารถประเมินระดับคะแนนของตัวชี้วัดที่ 2.1 ให้กับองค์กรของตนได้ตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ระดับคะแนน |
คุณสมบัติ |
ระดับ 1 |
§ องค์กรไม่มีแผนงานด้านโลจิสติกส์เป็นลายลักษณ์อักษร |
ระดับ 2 |
§ แต่ละส่วนงานด้านโลจิสติกส์มีแผนงานด้านโลจิสติกส์อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร |
ระดับ 3 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 2 และ § มีการนำแผนกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ระดับองค์กรมาใช้ในการวางแผนร่วมกันในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแผนงานของหน่วยงานต่างๆ |
ระดับ 4 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 3 และ § มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ร่วมกันระหว่างองค์กร ลูกค้า และผู้ส่งมอบ เป็นครั้งคราว หรือประสานความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า |
ระดับ 5 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 4 และ § มีแผนงานการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ร่วมกันระหว่างองค์กร ลูกค้า และผู้ส่งมอบ โดยวางแผนร่วมกันพัฒนาอย่างเป็นระบบ หรือเป็นโครงการต่อเนื่องระยะยาว เช่น มีการออกแบบหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้เหมาะสมกับการขนถ่ายวัสดุ/สินค้า (Design for Logistics) เป็นต้น |
คำอธิบายเพิ่มเติม
ตัวชี้วัดที่ 2.2 การพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าและแนวโน้มทางการตลาด
วัตถุประสงค์และประเด็นชี้วัด
ปัจจัยนี้เพื่อวัดว่าองค์กรตระหนักถึงความสำคัญของการพยากรณ์แนวโน้มของตลาดสินค้าและการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าจากข้อมูลในอดีต ตลอดจนใช้วิธีการทางสถิติมาช่วยในการพยากรณ์ และนำผลของการพยากรณ์มาใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น การวางแผนการตลาด การวางแผนการขาย การวางแผนการทำงานสำหรับรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคต ตลอดจนความร่วมมือในองค์กรเพื่อให้การพยากรณ์มีความแม่นยำขึ้น และก้าวไปสู่ความร่วมมือด้านข้อมูลกับลูกค้า หรือไม่ และอยู่ในระดับใด
ความหมาย
องค์กรมีความเข้าใจแนวโน้มของตลาดสินค้า และใช้วิธีการทางสถิติในการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า
ระดับคะแนน
ผู้ประกอบการสามารถประเมินระดับคะแนนของตัวชี้วัดที่ 2.2 ให้กับองค์กรของตนได้ตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ระดับคะแนน |
คุณสมบัติ |
ระดับ 1 |
§ องค์กรไม่มีการพยากรณ์การขายและความต้องการของลูกค้า |
ระดับ 2 |
§ องค์กรมีการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า (ในผลิตภัณฑ์หลัก) โดยอาศัยประสบการณ์ของฝ่ายขาย § บันทึกความต้องการของลูกค้าที่พยากรณ์เป็นลายลักษณ์อักษร |
ระดับ 3 |
§ องค์กรมีการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า (ในผลิตภัณฑ์หลัก) โดยอาศัยข้อมูลในอดีต และวิธีการทางสถิติ § บันทึกความต้องการของลูกค้าที่พยากรณ์เป็นลายลักษณ์อักษร § มีการนำผลจากการพยากรณ์ไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น การวางแผนการตลาด การวางแผนยอดขาย เป็นต้น |
ระดับ 4 |
§ องค์กรมีการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า และ แนวโน้มทางการตลาด (ในผลิตภัณฑ์หลัก) โดยอาศัยข้อมูลในอดีตและวิธีการทางสถิติ § บันทึกความต้องการของลูกค้าที่พยากรณ์เป็นลายลักษณ์อักษร § มีการนำผลจากการพยากรณ์ไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น การวางแผนการตลาด การวางแผนยอดขาย เป็นต้น |
ระดับ 5 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 4 และ § มีความร่วมมือกับลูกค้าในการพยากรณ์แนวโน้มทางการตลาดร่วมกัน เช่น ลูกค้าส่งผ่านข้อมูลการขายสินค้าที่แท้จริงมาให้ เป็นต้น |
ตัวชี้วัดที่ 2.3 การวางแผนและการปรับแผนการทำงานด้านโลจิสติกส์ของสถานประกอบการ
วัตถุประสงค์และประเด็นชี้วัด
ปัจจัยนี้เพื่อวัดว่าองค์กรมีการวางแผนการทำงานด้านโลจิสติกส์ จากการพยากรณ์แนวโน้มการตลาดและยอดขาย เช่น แผนการจัดซื้อวัตถุดิบ แผนการส่งมอบสินค้า และการจัดการด้านสินค้าคงคลัง โดยอาศัยข้อมูลที่มีความถูกต้องแม่นยำ และมีความเชื่อมโยงข้อมูลในแต่ละส่วนงานที่เกี่ยวข้องบนฐานข้อมูลเดียวกัน ตลอดจนมีความร่วมมือภายในองค์กร (ซึ่งบางแห่งมีการประชุมร่วมกันแต่มีข้อมูลแตกต่างกันในแผนกต่างๆ เนื่องจากไม่ได้ใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน) รวมทั้งถ่ายทอดข้อมูลกับผู้ส่งมอบเพื่อนำมาวางแผนการผลิตในองค์กร หรือไม่ และอยู่ในระดับใดโดยพิจารณาจาก
ความหมาย
แผนงานและการดำเนินกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ต่างๆ ขององค์กรมีความสอดคล้องกัน เช่น มีการวางแผนการขาย การสั่งซื้อวัตถุดิบ และการจัดส่งสินค้าร่วมกัน รวมถึงการพิจารณาปริมาณสินค้าคงคลังและการประสานงานเพื่อการตอบสนองลูกค้าอย่างรวดเร็ว (Quick Response)2.1
ระดับคะแนน
ผู้ประกอบการสามารถประเมินระดับคะแนนของตัวชี้วัดที่ 2.3 ให้กับองค์กรของตนได้ตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ระดับคะแนน |
คุณสมบัติ |
ระดับ 1 |
§ องค์กรไม่มีการวางแผนการขาย การสั่งซื้อวัตถุดิบ หรือการจัดส่งสินค้า |
ระดับ 2 |
§ องค์กรมีการวางแผนการขาย และ แผนการสั่งซื้อวัตถุดิบ และ แผนการจัดส่งสินค้า § มีการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ เช่น การขาย การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดส่ง และการสั่งซื้อ ที่เป็นอิสระ ไม่มีการใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน |
ระดับ 3 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 2 และ § มีความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในองค์กร ในการวางแผนต่างๆ เช่น แผนการขาย การสั่งซื้อวัตถุดิบ และการจัดส่งสินค้าร่วมกัน โดยพิจารณาวัตถุดิบและสินค้าคงคลัง เพื่อ การตอบสนองลูกค้าอย่างรวดเร็ว |
ระดับ 4 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 3 และ § มีการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ เช่น การขาย การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดส่ง การสั่งซื้อ และอื่นๆ โดยใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน ณ เวลาเดียวกัน เพื่อวางแผนต่างๆ เช่น แผนการผลิต การจัดส่ง และการส่งมอบของผู้ส่งมอบ |
ระดับ 5 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 4 และ § มีการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ เช่น การขาย การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดส่ง การสั่งซื้อ และอื่นๆ โดยใช้ฐานข้อมูลร่วมกันครบถ้วนทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง § มีการพัฒนาไปสู่การติดต่อสื่อสารข้อมูลกับภายนอกในด้านต่างๆ เช่น แผนการขายของลูกค้า สถานภาพของผู้ส่งมอบ เป็นต้น |
คำนิยาม
2.1 ความสามารถในการตอบสนองอย่างรวดเร็ว (Quick Response) คือ การผลิตเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เช่น การจัดหาวัตถุดิบโดยอาศัยหลักการด้านโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ การจัดส่งที่ต้องรู้ข้อมูลอย่างรวดเร็วโดยใช้ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพช่วยในการบริหารจัดการ เป็นต้น
ตัวชี้วัดที่ 2.4 ระบบการจัดการและติดตามสถานะของสินค้า วัสดุคงคลัง และกิจกรรมด้านโลจิสติกส์
วัตถุประสงค์และประเด็นชี้วัด
ปัจจัยนี้เพื่อวัดว่าองค์กรมีระบบการติดตาม ตรวจสอบสถานะและปริมาณของสินค้าคงคลัง และการจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้ส่งมอบเพื่อประกอบการตัดสินใจ หรือไม่ และอยู่ในระดับใด โดยพิจารณาจาก
ความหมาย
องค์กรมีระบบในการจัดการ ติดตาม ตรวจสอบสถานะและปริมาณของสินค้าและวัสดุคงคลัง รวมทั้งสามารถติดตามกิจกรรมการจัดซื้อหรือจัดหาในองค์กรและผู้ส่งมอบได้ถูกต้องแม่นยำ
ระดับคะแนน
ผู้ประกอบการสามารถประเมินระดับคะแนนของตัวชี้วัดที่ 2.4 ให้กับองค์กรของตนได้ตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ระดับคะแนน |
คุณสมบัติ |
ระดับ 1 |
§ องค์กรไม่มีการติดตามหรือตรวจสอบสถานะและปริมาณของสินค้าและวัสดุคงคลังแต่ละประเภท |
ระดับ 2 |
§ องค์กรมีการติดตามหรือตรวจสอบสถานะและปริมาณของสินค้าและวัสดุคงคลัง § มีการวางแผนการจัดหาวัสดุและวัตถุดิบคงคลังให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้า |
ระดับ 3 |
§ องค์กรมีระบบในการจัดการและติดตามสถานะและปริมาณของสินค้าและวัสดุคงคลัง § สามารถติดตามและตรวจสอบสถานะของกิจกรรมด้านการจัดซื้อวัตถุดิบและการจัดส่งสินค้า เมื่อต้องการทราบ |
ระดับ 4 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 3 และ § มีระบบการติดตามและตรวจสอบสถานะของการจัดซื้อหรือจัดหาในองค์กรแบบทันทีทันใด (Real Time) |
ระดับ 5 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 4 และ § มีระบบการติดตาม ตรวจสอบ และสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกับลูกค้าและผู้ส่งมอบในด้านต่างๆ เช่น ระดับสินค้าคงคลัง การจัดซื้อจัดหาร่วมกัน เป็นต้น เพื่อประกอบการตัดสินใจ |
คำอธิบายเพิ่มเติม
ระบบ (ตัวชี้วัดในระดับคะแนน 3) หมายถึง การมีขั้นตอนการทำงาน การบันทึกข้อมูล ตลอดจนการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ตัวชี้วัดที่ 2.5 การพัฒนาขั้นตอนการทำงานและกระบวนการทำงานที่เป็นมาตรฐาน
วัตถุประสงค์และประเด็นชี้วัด
ปัจจัยนี้เพื่อวัดว่าองค์กรมีระบบและมาตรฐานในการทำงาน และมีแนวโน้มการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการประกันกระบวนการทำงานต่างๆ ด้านโลจิสติกส์ หรือไม่ และอยู่ในระดับใด
ความหมาย
องค์กรมีการกำหนดและนำมาตรฐานมาใช้สำหรับวิธีการทำงานในองค์กร รวมทั้งกิจกรรมที่มีการติดต่อกับผู้ส่งมอบและลูกค้าขององค์กร และมีการพัฒนาการทำงานภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง
ระดับคะแนน
ผู้ประกอบการสามารถประเมินระดับคะแนนของตัวชี้วัดที่ 2.5 ให้กับองค์กรของตนได้ตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ระดับคะแนน |
คุณสมบัติ |
ระดับ 1 |
§ กิจกรรมต่างๆ ไม่มีการกำหนดวิธีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน |
ระดับ 2 |
§ กิจกรรมที่สำคัญต่างๆ มีการกำหนดวิธีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน § ปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดยังไม่ครบถ้วนและต่อเนื่อง |
ระดับ 3 |
§ กิจกรรมที่สำคัญต่างๆ มีการกำหนดวิธีการทำงานที่เป็นมาตรฐาน § มีการปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดอย่างครบถ้วนและต่อเนื่อง |
ระดับ 4 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 3 และ § มีการกำหนดมาตรฐานวิธีการทำงานและขั้นตอนการทำงานที่มีการติดต่อกับผู้ส่งมอบและลูกค้า § มีการนำมาตรฐานเหล่านั้นมาปฏิบัติอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และต่อเนื่อง |
ระดับ 5 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 4 และ § มีการพัฒนาวิธีการทำงานหรือขั้นตอนการทำงานอย่างต่อเนื่อง |
ตัวชี้วัดที่ 2.6 การพัฒนาหน่วยงานรับผิดชอบด้านโลจิสติกส์
วัตถุประสงค์และประเด็นชี้วัด
ปัจจัยนี้เพื่อวัดว่าองค์กรมีการกำหนดหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ กำหนดอำนาจหน้าที่และจำนวนบุคลากรที่เหมาะสมกับปริมาณงานและแผนงาน กำหนดสมรรถนะ (Competency) ของบุคลากรในตำแหน่งต่างๆ และมีการพัฒนาตามผลการประเมินความสามารถ รวมทั้งเตรียมความพร้อมของบุคลากรทดแทนของตำแหน่งต่างๆ (เนื่องจากบุคลากรเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร) หรือไม่ และอยู่ในระดับใด
ความหมาย
องค์กรมีการวางแผนกำลังคนและพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์
ระดับคะแนน
ผู้ประกอบการสามารถประเมินระดับคะแนนของตัวชี้วัดที่ 2.6 ให้กับองค์กรของตนได้ตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ระดับคะแนน |
คุณสมบัติ |
ระดับ 1 |
§ องค์กรไม่มีการกำหนดผู้รับผิดชอบด้านโลจิสติกส์ |
ระดับ 2 |
§ องค์กรมีการประกาศขอบเขต อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบของตำแหน่งงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ § มีการวิเคราะห์หาจำนวนบุคลากรที่เหมาะสมในแต่ละตำแหน่งงาน |
ระดับ 3 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 2 และ § มีการมอบหมายตำแหน่งงานด้านโลจิสติกส์อย่างครบถ้วน ถูกต้อง และเหมาะสมกับความสามารถของบุคลากรตามแผนงานที่วางไว้ |
ระดับ 4 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 3 และ § มีการวิเคราะห์และประเมินความสามารถ (Competency)2.2 ของบุคลากรด้านโลจิสติกส์ในตำแหน่งต่างๆ § มีแผนการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ตามผลการประเมินความสามารถของบุคลากร |
ระดับ 5 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 4 และ § มีแผนกำลังคนทดแทนขององค์กร § มีแผนการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ที่มีความพร้อมและต่อเนื่อง |
คำอธิบายเพิ่มเติม
แผนกำลังคนทดแทน (ตัวชี้วัดในระดับคะแนน 5) เป็นแผนที่ผู้บริหารระดับสูงวางกลยุทธ์เชิงบุคลากรเพื่อพัฒนาบุคลากรที่จะนำมาทดแทนบุคลากรในตำแหน่งเดิมที่อาจเสียไปเนื่องจากสาเหตุใดๆ หรือการขยายงานใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
คำนิยาม
2.2 สมรรถนะ (Competency) คือ ความรู้ (Knowledges) ความสามารถ (Ability) ทักษะ (Skills) และคุณลักษณะ (Attributes) ของบุคคลที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับงานที่ปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลงานที่มีประสิทธิภาพ
ดัชนีด้านที่ 3 ประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านโลจิสติกส์
ตัวชี้วัดที่ 3.1 การพัฒนากิจกรรมด้านโลจิสติกส์
วัตถุประสงค์และประเด็นชี้วัด
ปัจจัยนี้เพื่อวัดว่าองค์กรมีแผนในการพัฒนากิจกรรมด้านโลจิสติกส์ในทุกกิจกรรมให้สามารถเชื่อมโยงถึงกันอย่างมีระบบหรือ ไม่ และอยู่ในระดับใด
ความหมาย
องค์กรปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมโลจิสติกส์ด้านต่างๆ ภายในองค์กรให้สามารถเชื่อมโยงถึงกัน และสามารถประสานกับลูกค้าและผู้ส่งมอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การลดเวลาในการเตรียมการผลิต การลดขนาดของจำนวนการสั่งซื้อหรือสั่งผลิต การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ การพัฒนาคลังสินค้า การพัฒนาวิธีการหยิบที่ลดระยะเวลาและหยิบได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เป็นต้น
ระดับคะแนน
ผู้ประกอบการสามารถประเมินระดับคะแนนของตัวชี้วัดที่ 3.1 ให้กับองค์กรของตนได้ตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ระดับคะแนน |
คุณสมบัติ |
ระดับ 1 |
§ องค์กรไม่มีการวางแผนพัฒนาและปรับปรุงกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ |
ระดับ 2 |
§ องค์กรมีแผนพัฒนาและปรับปรุงกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ในบางกิจกรรมเท่านั้น โดยมีการกำหนดเป้าหมายเป็นลายลักษณ์อักษร |
ระดับ 3 |
§ องค์กรมีแผนพัฒนาและปรับปรุงกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ในทุกกิจกรรม โดยมีการกำหนดเป้าหมายเป็นลายลักษณ์อักษร |
ระดับ 4 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 3 และ § ประสบความสำเร็จในการพัฒนากิจกรรมด้านโลจิสติกส์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในบางกิจกรรม § มีแผนการพัฒนากิจกรรมด้านโลจิสติกส์ให้มีการเชื่อมโยงถึงกันภายในองค์กร |
ระดับ 5 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 4 และ § ประสบความสำเร็จในการพัฒนากิจกรรมด้านโลจิสติกส์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในทุกกิจกรรม § มีแผนการพัฒนาและปรับปรุงกิจกรรมด้านโลจิสติกส์อย่างต่อเนื่อง § มีการพัฒนากิจกรรมด้านโลจิสติกส์ของทั้งองค์กร ผู้ส่งมอบ และลูกค้า ให้สามารถสอดประสานถึงกันได้ |
คำอธิบายเพิ่มเติม
ตัวชี้วัดที่ 3.2 อัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง (Inventory Turnover)3.1 และช่วงระยะเวลารอบหมุนเวียน
วัฏจักรเงินสด (Cash to Cash Cycle Time)3.2
วัตถุประสงค์และประเด็นชี้วัด
ปัจจัยนี้เพื่อวัดว่าองค์กรมีระบบในการวัดอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลังและช่วงระยะเวลารอบหมุนเวียน วัฏจักรเงินสด และมีระบบในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับกระแสเงินสดขององค์กรได้ หรือไม่ และอยู่ในระดับใด
ความหมาย
องค์กรวัดอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลังและช่วงระยะเวลารอบหมุนเวียนวัฏจักรเงินสดอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลังมีการเก็บข้อมูลแยกกันระหว่างผู้ส่งมอบแต่ละราย และชิ้นส่วนประกอบแต่ละประเภท รวมทั้งมีการบริหารสินค้าคงคลังที่สามารถเชื่อมโยงกับการจัดการกระแสเงินสดขององค์กร
ระดับคะแนน
ผู้ประกอบการสามารถประเมินระดับคะแนนของตัวชี้วัดที่ 3.2 ให้กับองค์กรของตนได้ตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ระดับคะแนน |
คุณสมบัติ |
ระดับ 1 |
§ องค์กรไม่ทราบอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลังและช่วงระยะเวลารอบหมุนเวียนวัฏจักรเงินสด |
ระดับ 2 |
§ องค์กรทราบอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลังของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์บางประเภท หรือ ทราบเฉพาะช่วงระยะเวลารอบหมุนเวียนวัฏจักรเงินสด |
ระดับ 3 |
§ องค์กรทราบอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลังของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์บางประเภท § ทราบช่วงระยะเวลารอบหมุนเวียนวัฏจักรเงินสด |
ระดับ 4 |
§ องค์กรทราบอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลังของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ทุกประเภท § ทราบช่วงระยะเวลารอบหมุนเวียนวัฏจักรเงินสด § มีแผนงานเพื่อเพิ่มอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง หรือ ลดช่วงระยะเวลารอบหมุนเวียน วัฏจักรเงินสด โดยมีการกำหนดเป้าหมายเป็นลายลักษณ์อักษร § มีแนวทางในการบริหารสินค้าคงคลังให้สอดคล้องกับงบกระแสเงินสดขององค์กร |
ระดับ 5 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 4 และ § ประสบความสำเร็จในการเพิ่มอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง และ ลดช่วงระยะเวลารอบหมุนเวียนวัฏจักรเงินสดได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ § มีการวางแผนงานในการเพิ่มอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง และ ลดช่วงระยะเวลารอบหมุนเวียนวัฏจักรเงินสดอย่างต่อเนื่อง |
คำอธิบายเพิ่มเติม
อัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลัง หมายถึง จำนวนรอบในการเปลี่ยนสินค้าคงคลังให้กลายเป็นยอดขายขององค์กร สามารถคำนวณได้จาก
สูตรคำนวณแบบที่ 1 เหมาะสมกับการคำนวณที่แยกสินค้าเป็นรายการ (Stock Keeping Unit – SKU) หรือมีเพียงรายการเดียว เพราะถ้าองค์กรมีสินค้าหลายรายการแล้วใช้จำนวนหน่วยที่ขายได้เทียบกับจำนวนหน่วยเฉลี่ยที่มีอยู่ในคลังมาใช้คำนวณ จะทำให้การแปลความหมายเบี่ยงเบนจากความเป็นจริง เช่น การขายแร่ทองคำ 1 ตัน ย่อมสร้างรายได้ให้กับกิจการไม่เท่ากับการขายแร่สังกะสี 1 ตัน
สูตรคำนวณแบบที่ 2 เหมาะสมกับองค์กรที่มีการซื้อสินค้ามาแล้วขายไป เนื่องจากสามารถหาข้อมูลมาใช้ในการคำนวณได้ง่าย และเห็นภาพชัดเจนว่าสินค้าคงคลังเฉลี่ยสามารถถูกนำไปหมุนเวียนทำให้เกิดยอดขายได้กี่รอบในแต่ละปี
สูตรคำนวณแบบที่ 3 ต้องอาศัยข้อมูลทางบัญชีในเรื่องต้นทุนสินค้าขาย แต่ผลลัพธ์จากการคำนวณด้วยวิธีนี้เป็นคำตอบที่แสดงให้เห็นถึงภาพการหมุนเวียนของสินค้าคงคลังได้ชัดเจนที่สุด เพราะได้แยกส่วนที่เป็นกำไรออกไปจากยอดรวมแล้ว ในขณะที่วิธีคำนวณแบบที่ 2 ยังคงมีส่วนที่เป็นกำไรแฝงอยู่ในยอดขายรวม
องค์กรสามารถเลือกวิธีในการคำนวณที่เหมาะสมกับองค์กรหรือข้อมูลที่มีอยู่ได้ ทั้งนี้ประเด็นหลักในการชี้วัดคือต้องมีการแบ่งสินค้าหรือวัตถุดิบเป็นกลุ่มหรือหน่วยย่อย และคำนวณหาอัตราหมุนเวียนสินค้าคงคลังของแต่ละกลุ่ม
คำนิยาม
ตัวชี้วัดที่ 3.3 ช่วงเวลานำในการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า (Customer Lead Time)3.3 และประสิทธิภาพใน
การจัดซื้อ
วัตถุประสงค์และประเด็นชี้วัด
ปัจจัยนี้เพื่อวัดว่าองค์กรมีแนวทางในการกำหนดช่วงเวลานำในการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าได้อย่างเป็นระบบ และสามารถนำข้อมูลช่วงเวลานำของลูกค้าแต่ละรายไปบริหารจัดการร่วมกับแผนการจัดส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่ และอยู่ในระดับใด
ความหมาย
องค์กรทราบช่วงเวลานำในการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้าแต่ละราย และมีแนวทางในการกำหนดระยะเวลานำของลูกค้าที่ชัดเจน (แบ่งตามประเภทของลูกค้าหรือประเภทของผลิตภัณฑ์) ซึ่งมีการนำมาใช้ในการบริหารจัดการและเชื่อมโยงกับแผนการจัดส่งเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดส่งสินค้า (การบรรทุกของพาหนะแต่ละคัน เส้นทางที่ใช้วิ่ง และความสามารถในการใช้ยานพาหนะ)
ระดับคะแนน
ผู้ประกอบการสามารถประเมินระดับคะแนนของตัวชี้วัดที่ 3.3 ให้กับองค์กรของตนได้ตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ระดับคะแนน |
คุณสมบัติ |
ระดับ 1 |
§ องค์กรไม่สามารถกำหนดช่วงเวลานำมาตรฐาน (Standard Lead Time) ให้กับลูกค้าแต่ละราย หรือผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทได้ |
ระดับ 2 |
§ องค์กรมีการกำหนดช่วงเวลานำมาตรฐานของลูกค้า หรือผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท |
ระดับ 3 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 2 และ § มีการนำข้อมูลเกี่ยวกับช่วงเวลานำในการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าแต่ละรายมาใช้ในการวางแผนการจัดส่งสินค้า (ประกอบด้วย 1. การบรรทุกสินค้าในพาหนะแต่ละคัน 2. เส้นทางที่ใช้วิ่ง และ 3. ลำดับในการส่งสินค้า) |
ระดับ 4 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 3 และ § มีแผนงานเพื่อลดช่วงเวลานำมาตรฐานของลูกค้าหรือผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท และ เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดส่ง โดยมีการกำหนดเป้าหมายเป็นลายลักษณ์อักษร |
ระดับ 5 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 4 และ § ประสบความสำเร็จในการลดช่วงเวลานำมาตรฐานในการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า และ เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดส่งตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ § มีการวางแผนงานในการลดช่วงเวลานำมาตรฐาน หรือ เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดส่งอย่างต่อเนื่อง |
คำอธิบายเพิ่มเติม
คำนิยาม
ตัวชี้วัดที่ 3.4 ประสิทธิภาพและคุณภาพในการส่งมอบสินค้า
วัตถุประสงค์และประเด็นชี้วัด
ปัจจัยนี้เพื่อวัดว่าองค์กรมีประสิทธิภาพและคุณภาพในการส่งมอบ (โดยวัดจากอัตราการส่งมอบที่ทันเวลา (On Time Delivery) และความถูกต้องในการเติมเต็มคำสั่งซื้อของลูกค้า (Order Fulfillment Accuracy) ตามลำดับ) และมีความพยายามในการเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการส่งมอบร่วมกับลูกค้าและผู้ส่งมอบอย่างเป็นระบบ หรือไม่ และอยู่ในระดับใด
ความหมาย
องค์กรทราบประสิทธิภาพและคุณภาพในการจัดส่งสินค้า รวมทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสิทธิภาพด้านนี้อย่างต่อเนื่อง โดยให้ลูกค้าและผู้ส่งมอบมีส่วนร่วมในการปรับปรุงระบบโลจิสติกส์ขององค์กร เพื่อให้ประสิทธิภาพในการส่งมอบสินค้าดีขึ้น
ระดับคะแนน
ผู้ประกอบการสามารถประเมินระดับคะแนนของตัวชี้วัดที่ 3.4 ให้กับองค์กรของตนได้ตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ระดับคะแนน |
คุณสมบัติ |
ระดับ 1 |
§ องค์กรไม่มีการวัดอัตราการส่งมอบที่ทันเวลา (On Time Delivery) และความถูกต้องในการเติมเต็มคำสั่งซื้อของลูกค้า (Order Fulfillment Accuracy) |
ระดับ 2 |
§ องค์กรมีการวัดอัตราการส่งมอบที่ทันเวลาและความถูกต้องในการเติมเต็มคำสั่งซื้อของลูกค้า แต่ทั้งสองตัวมีประสิทธิภาพต่ำกว่า 95% |
ระดับ 3 |
§ องค์กรมีการวัดอัตราการส่งมอบที่ทันเวลาและความถูกต้องในการเติมเต็มคำสั่งซื้อของลูกค้า § อัตราการส่งมอบที่ทันเวลา หรือความถูกต้องในการเติมเต็มคำสั่งซื้อของลูกค้า ตัวใดตัวหนึ่ง มีประสิทธิภาพสูงกว่า 95% § มีการเก็บข้อมูลสาเหตุหลักของการส่งมอบที่ล่าช้าหรือผิดพลาด |
ระดับ 4 |
§ องค์กรมีการวัดอัตราการส่งมอบที่ทันเวลาและความถูกต้องในการเติมเต็มคำสั่งซื้อของลูกค้า § อัตราการส่งมอบที่ทันเวลาและความถูกต้องในการเติมเต็มคำสั่งซื้อของลูกค้ามีประสิทธิภาพสูงกว่า 95% § มีแผนงานเพื่อเพิ่มอัตราการส่งมอบที่ทันเวลาและความถูกต้องในการเติมเต็มคำสั่งซื้อของลูกค้า โดยมีการกำหนดเป้าหมายเป็นลายลักษณ์อักษร § มีมาตรการป้องกันการส่งมอบที่ล่าช้าหรือผิดพลาดอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร |
ระดับ 5 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 4 และ § ประสบความสำเร็จในการเพิ่มอัตราการส่งมอบที่ทันเวลาและความถูกต้องในการเติมเต็ม คำสั่งซื้อของลูกค้าตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ § ให้ผู้ส่งมอบและลูกค้ามีส่วนร่วมในการปรับปรุงและรักษาประสิทธิภาพในการส่งมอบสินค้าและการเติมเต็มคำสั่งซื้อของลูกค้า |
คำอธิบายเพิ่มเติม
ตัวชี้วัดที่ 3.5 สินค้าคงคลังและต้นทุนค่าเสียโอกาส
วัตถุประสงค์และประเด็นชี้วัด
ปัจจัยนี้เพื่อวัดว่าองค์กรมีระบบในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง และมีแผนพัฒนาเพื่อลดความเบี่ยงเบนของสินค้าคงคลังที่เก็บไว้จริงกับระดับสินค้าคงคลังที่กำหนดไว้ หรือไม่ และอยู่ในระดับใด
ความหมาย
องค์กรต้องมีการบริหารจัดการสินค้าคงคลังอย่างเป็นระบบ มีการแบ่งกลุ่มของผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบเพื่อการบริหารจัดการควบคุมระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม และมีแผนพัฒนาที่ชัดเจนเพื่อลดความเบี่ยงเบนของสินค้าคงคลังที่เก็บไว้จริงกับที่กำหนดไว้ อีกทั้งสามารถประเมินต้นทุนการเสียโอกาสในการขายสินค้าอันเนื่องมาจากการขาดแคลนวัตถุดิบในกระบวนการผลิตได้
ระดับคะแนน
ผู้ประกอบการสามารถประเมินระดับคะแนนของตัวชี้วัดที่ 3.5 ให้กับองค์กรของตนได้ตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ระดับคะแนน |
คุณสมบัติ |
ระดับ 1 |
§ องค์กรไม่มีการกำหนดระดับสินค้าคงคลังเป้าหมาย (Target Stock Level) § ไม่มีการประมาณค่าเสียโอกาสที่เกิดขึ้นจากการที่ไม่ได้ขายสินค้า |
ระดับ 2 |
§ องค์กรมีการกำหนดระดับสินค้าคงคลังเป้าหมาย (Target Stock Level) § ไม่มีการแบ่งกลุ่มของสินค้าคงคลังเพื่อการบริหารจัดการ เช่น Category Management หรือ การจัดลำดับความสำคัญในการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (ABC Analysis) เป็นต้น § มีการประมาณค่าเสียโอกาสที่เกิดขึ้นจากการที่ไม่ได้ขายสินค้า เฉพาะในส่วนขององค์กรเท่านั้น |
ระดับ 3 |
§ องค์กรมีการแบ่งกลุ่มของสินค้าคงคลังเพื่อการบริหารจัดการ § มีการกำหนดระดับสินค้าคงคลังเป้าหมาย (Target Stock Level) ตามกลุ่มของสินค้าคงคลังที่แบ่งไว้ § มีการประมาณค่าเสียโอกาสที่เกิดขึ้นจากการที่ไม่ได้ขายสินค้า เฉพาะในส่วนขององค์กรเท่านั้น |
ระดับ 4 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 3 และ § มีแผนพัฒนาเพื่อลดความเบี่ยงเบนระหว่างระดับสินค้าคงคลังเป้าหมาย กับระดับสินค้าคงคลังที่มีการเก็บไว้จริง (Actual Stock Level) โดยมีการกำหนดเป้าหมายเป็นลายลักษณ์อักษร |
ระดับ 5 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 4 และ § ประสบความสำเร็จในการลดความเบี่ยงเบนระหว่างระดับสินค้าคงคลังเป้าหมายกับระดับสินค้าคงคลังที่มีการเก็บไว้จริง § มีการวางแผนงานในการลดความเบี่ยงเบนระหว่างระดับสินค้าคงคลังเป้าหมายกับระดับสินค้าคงคลังที่มีการเก็บไว้จริงอย่างต่อเนื่อง § มีการประมาณค่าเสียโอกาสที่เกิดขึ้นจากการที่ไม่ได้ขายสินค้าของทั้งองค์กร ลูกค้า และผู้ส่งมอบ |
คำอธิบายเพิ่มเติม
การประมาณค่าเสียโอกาส หมายถึง องค์กรจะต้องประมาณค่าในการเสียโอกาสในการขาย โดยคำนึงถึงความต้องการของตลาดที่มีต่อสินค้าขององค์กร ถ้าองค์กรไม่มีสินค้ารองรับความต้องการนั้น ถือว่าองค์กรเสียโอกาสในการขาย รวมถึงในกรณีที่ลูกค้าสั่งซื้อสินค้ากับองค์กร แต่องค์กรไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ทำให้ลูกค้าเปลี่ยนไปสั่งซื้อสินค้ากับผู้ผลิตรายอื่น ตัวอย่างเช่น ลูกค้าสั่งซื้อเหล็กเส้นกลม 1,000 ตัน กับองค์กร แต่องค์กรไม่มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าภายในระยะเวลาที่ลูกค้าต้องการได้ ทำให้ลูกค้าไม่ทำการสั่งซื้อกับองค์กร ให้ถือว่าองค์กรเสียโอกาสในการขายเท่ากับมูลค่าของเหล็กเส้นกลม 1,000 ตัน เป็นต้น
ตัวชี้วัดที่ 3.6 กิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่สถานประกอบการมีส่วนร่วม
วัตถุประสงค์และประเด็นชี้วัด
ปัจจัยนี้เพื่อวัดว่าองค์กรมีระบบหรือนโยบายสนับสนุนการลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม โดยยังคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพทางด้านโลจิสติกส์ หรือไม่ และอยู่ในระดับใด
ความหมาย
องค์กรเข้าใจถึงความสำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อม และสร้างสภาพการทำงานที่ปลอดภัย โดยการลดขั้นตอน หรือปรับเปลี่ยนกระบวนการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
ระดับคะแนน
ผู้ประกอบการสามารถประเมินระดับคะแนนของตัวชี้วัดที่ 3.6 ให้กับองค์กรของตนได้ตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ระดับคะแนน |
คุณสมบัติ |
ระดับ 1 |
§ องค์กรไม่มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม § องค์กรไม่มีนโยบายด้านความปลอดภัย |
ระดับ 2 |
§ องค์กรมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย § กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพราะข้อบังคับด้านกฎหมายเท่านั้น § กิจกรรมด้านความปลอดภัย เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นเพราะข้อบังคับด้านกฎหมายเท่านั้น |
ระดับ 3 |
§ องค์กรมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย § มีการประเมินและวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากกระบวนการดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์ขององค์กร § มีการประเมินและวิเคราะห์ผลกระทบด้านความปลอดภัย ที่เกิดจากกระบวนการดำเนินกิจกรรมโลจิสติกส์ขององค์กร |
ระดับ 4 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 3 และ § มีแผนในการปรับเปลี่ยนระบบโลจิสติกส์ขององค์กรเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยมีการกำหนดเป้าหมายเป็นลายลักษณ์อักษร § มีแผนในการปรับเปลี่ยนระบบโลจิสติกส์ขององค์กรเพื่อลดผลกระทบด้านความปลอดภัยในทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยมีการกำหนดเป้าหมายเป็นลายลักษณ์อักษร |
ระดับ 5 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 4 และ § ประสบความสำเร็จในการพัฒนาตามเป้าหมายของแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่กำหนด § ให้ผู้ส่งมอบ ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยอย่างจริงจังและต่อเนื่อง |
คำอธิบายเพิ่มเติม
แผนในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กรต้องคำนึงถึงกิจกรรมหรือประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ เช่น การออกแบบหีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์โดยใช้วัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ รวมทั้งออกแบบให้สามารถรองรับกับกิจกรรมโลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics) อย่างมีประสิทธิภาพ หรือการไม่ใช้วัตถุดิบหรือชิ้นส่วนประกอบที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเลือกผู้ส่งมอบที่ใช้เทคโนโลยีสะอาด (Green Purchasing) เป็นต้น
ตัวชี้วัดที่ 3.7 การบริหารจัดการต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ (ต้นทุนการจัดส่ง การบริหารสินค้าคงคลัง
และการบริหารคำสั่งซื้อ3.4 เป็นต้น)
วัตถุประสงค์และประเด็นชี้วัด
ปัจจัยนี้เพื่อวัดว่าองค์กรมีระบบในการบริหารจัดการต้นทุนด้านโลจิสติกส์ขององค์กร และมีความพยายามในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ร่วมกับลูกค้าและผู้ส่งมอบอย่างเป็นระบบ หรือไม่ และอยู่ในระดับใด
ความหมาย
องค์กรทราบต้นทุนในการผลิตและต้นทุนการบริหารคำสั่งซื้อ ซึ่งสามารถระบุต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับงานด้านโลจิสติกส์ได้ทั้งขององค์กร ผู้ส่งมอบ และลูกค้า และทราบต้นทุนโลจิสติกส์ตลอดโซ่อุปทาน รวมถึงมีการนำมาใช้เป็นแนวทางในการลดต้นทุนเพื่อผลประโยชน์โดยรวมของสมาชิกในโซ่อุปทานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระดับคะแนน
ผู้ประกอบการสามารถประเมินระดับคะแนนของตัวชี้วัดที่ 3.7 ให้กับองค์กรของตนได้ตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ระดับคะแนน |
คุณสมบัติ |
ระดับ 1 |
§ องค์กรไม่ทราบต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ |
ระดับ 2 |
§ องค์กรทราบต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์บางตัวที่สำคัญ |
ระดับ 3 |
§ องค์กรทราบต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ครบทุกตัว § มีการนำข้อมูลด้านต้นทุนมาวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการบริหารจัดการ |
ระดับ 4 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 3 และ § มีแผนงานเพื่อลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ โดยมีการกำหนดเป้าหมายเป็นลายลักษณ์อักษร § มีการนำหลักการบริหารต้นทุนฐานกิจกรรม (Activity Based Costing: ABC)3.5 มาใช้วิเคราะห์กิจกรรมด้านโลจิสติกส์ เพื่อปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น |
ระดับ 5 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 4 และ § สามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์รวมตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ § มีการพัฒนากลยุทธ์ในการลดต้นทุนโลจิสติกส์ร่วมกับผู้ส่งมอบและลูกค้าขององค์กร เช่น มีการใช้ช่องทางในการกระจายสินค้าร่วมกัน ซึ่งจะทำให้องค์กรสมาชิกได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน (Win-Win Scenario) |
คำนิยาม
ดัชนีด้านที่ 4 ระบบการบริหารข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตัวชี้วัดที่ 4.1 การกำหนดรหัสมาตรฐานสำหรับสินค้าและกระบวนการ
วัตถุประสงค์และประเด็นชี้วัด
ปัจจัยนี้เพื่อวัดว่าองค์กรมีการกำหนดรหัสที่เป็นมาตรฐานให้กับสินค้า หรือกระบวนการต่างๆ ภายในองค์กร รวมทั้งมีการประยุกต์ใช้งานรหัสมาตรฐานดังกล่าวเข้ากับเทคโนโลยีสารสนเทศด้านโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ หรือไม่ และอยู่ในระดับใด
ความหมาย
องค์กรมีการกำหนดรหัสที่เป็นมาตรฐานสำหรับระบุให้กับสินค้า หรือกระบวนการต่างๆ เช่น รหัสสินค้า รหัสลูกค้า รหัสผู้ส่งมอบ รหัสคลังสินค้า รหัสใบสั่งซื้อ รหัสใบสั่งผลิต เพื่อ
ระดับคะแนน
ผู้ประกอบการสามารถประเมินระดับคะแนนของตัวชี้วัดที่ 4.1 ให้กับองค์กรของตนได้ตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ระดับคะแนน |
คุณสมบัติ |
ระดับ 1 |
§ องค์กรไม่มีการกำหนดรหัสมาตรฐานให้กับสินค้าและกระบวนการ |
ระดับ 2 |
§ องค์กรมีการกำหนดรหัสมาตรฐานให้กับสินค้าบางรายการ หรือ กระบวนการบางส่วน |
ระดับ 3 |
§ องค์กรมีการกำหนดรหัสมาตรฐานให้กับสินค้าทุกรายการ และ กระบวนการทั้งระบบ |
ระดับ 4 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 3 และ § มีการประยุกต์ใช้รหัสมาตรฐานที่กำหนดเข้ากับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านโซ่อุปทานและ โลจิสติกส์ต่างๆ (เช่น ระบบ ERP ระบบ CRM ระบบ TMS ระบบ Barcode ฯลฯ) ภายในองค์กร |
ระดับ 5 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 4 และ § ขยายขอบเขตการประยุกต์ใช้รหัสมาตรฐานที่กำหนดเข้ากับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้าน โซ่อุปทานและโลจิสติกส์ต่างๆ ไปถึงระดับโซ่อุปทาน (ระหว่างองค์กร) เช่น ใช้ระบบ EDI หรือ XML/EDI ทำการจัดซื้อหรือโอนเงินระหว่างองค์กร เป็นต้น |
คำอธิบายเพิ่มเติม
คำนิยาม
ตัวชี้วัดที่ 4.2 การจัดการข้อมูลด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
วัตถุประสงค์และประเด็นชี้วัด
ปัจจัยนี้เพื่อวัดว่าองค์กรมีการนำคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการข้อมูลด้าน โลจิสติกส์และโซ่อุปทานหรือไม่ และนำมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจภายในองค์กรและระหว่างคู่ค้า (ผู้ส่งมอบ หรือ ลูกค้า) ในโซ่อุปทาน หรือไม่ และอยู่ในระดับใด
ความหมาย
องค์กรมีการนำคอมพิวเตอร์ (ฮาร์ดแวร์) และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ซอฟท์แวร์) มาช่วยในการจัดการข้อมูลด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานมาใช้ในองค์กร ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวอาจพัฒนาขึ้นเองภายในองค์กร หรือซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปจากตัวแทนจำหน่ายต่างๆ มาติดตั้ง เพื่อช่วยในการเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล หรือการแสดงผลข้อมูลในกระบวนการต่างๆ เช่น การทำรายการสินค้าคงคลัง การวางแผนการผลิต การทำบัญชี เพื่อ
ระดับคะแนน
ผู้ประกอบการสามารถประเมินระดับคะแนนของตัวชี้วัดที่ 4.2 ให้กับองค์กรของตนได้ตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ระดับคะแนน |
คุณสมบัติ |
ระดับ 1 |
§ องค์กรไม่มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการข้อมูลในกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ |
ระดับ 2 |
§ องค์กรมีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการข้อมูลในกิจกรรมด้านโลจิสติกส์บางกิจกรรมเท่านั้น |
ระดับ 3 |
§ องค์กรมีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการข้อมูลในกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ทุกกิจกรรม แต่ ไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลถึงกัน |
ระดับ 4 |
§ องค์กรมีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการข้อมูลในกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ทุกกิจกรรม § มีการประยุกต์ใช้โปรแกรมด้านโซ่อุปทานและโลจิสติกส์เพื่อการจัดการข้อมูล และมีการเชื่อมโยงข้อมูลถึงกัน |
ระดับ 5 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 4 และ § มีการเชื่อมโยงข้อมูลจากโปรแกรมดังกล่าว เข้ากับโปรแกรมของผู้ส่งมอบและลูกค้า § สามารถใช้โปรแกรมดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการวางแผนการใช้ทรัพยากรในโซ่อุปทานให้เกิดประโยชน์สูงสุด |
คำอธิบายเพิ่มเติม
ตัวชี้วัดที่ 4.3 การพัฒนาบุคลากรด้านการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวกับโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
วัตถุประสงค์และประเด็นชี้วัด
ปัจจัยนี้เพื่อวัดว่าองค์กรมีการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีความรู้ด้านการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวกับโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หรือไม่ และอยู่ในระดับใด
ความหมาย
องค์กรมีการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวกับโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เช่น ซอฟท์แวร์ด้านโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ (เช่น ระบบ ERP ระบบ CRM ระบบ TMS เป็นต้น) ระบบตรวจติดตามอัตโนมัติ (เช่น ระบบบาร์โค้ด ระบบ GPS เป็นต้น) ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI, XML/EDI) เพื่อให้บุคลากรในองค์กรสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้กับกระบวนการหรือกิจกรรมต่างๆ ให้เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในการทำงานได้
ระดับคะแนน
ผู้ประกอบการสามารถประเมินระดับคะแนนของตัวชี้วัดที่ 4.3 ให้กับองค์กรของตนได้ตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ระดับคะแนน |
คุณสมบัติ |
ระดับ 1 |
§ องค์กรไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรด้านการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ |
ระดับ 2 |
§ องค์กรตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรด้านการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ § มีบุคลากรด้านโลจิสติกส์อย่างเพียงพอ |
ระดับ 3 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 2 และ § มีแผนส่งเสริมการฝึกอบรมด้านการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ |
ระดับ 4 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 3 และ § มีการปฏิบัติตามแผนบางส่วน |
ระดับ 5 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 3 และ § มีการปฏิบัติตามแผนทั้งหมด § มีการประเมินผลงานของบุคลากรผู้รับผิดชอบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านโซ่อุปทานและ โลจิสติกส์อย่างต่อเนื่อง |
คำอธิบายเพิ่มเติม
บุคลากรด้านโลจิสติกส์อย่างเพียงพอ (ตัวชี้วัดในระดับคะแนน 2) หมายถึง องค์กรมีบุคลากรผู้รับผิดชอบระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้านโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ตามจำนวนที่เหมาะสมซึ่งกำหนดในตัวชี้วัดที่ 2.6
ดัชนีด้านที่ 5 ความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการ
ตัวชี้วัดที่ 5.1 ความร่วมมือด้านโลจิสติกส์ระหว่างธุรกิจที่เป็นพันธมิตร5.1 และธุรกิจประเภทเดียวกัน5.2
วัตถุประสงค์และประเด็นชี้วัด
ปัจจัยนี้เพื่อวัดว่าองค์กรมีความร่วมมือด้านโลจิสติกส์ระหว่างธุรกิจที่เป็นพันธมิตรและธุรกิจประเภทเดียวกัน โดยอยู่บนพื้นฐานของการได้ประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย หรือไม่ และอยู่ในระดับใด
ความหมาย
องค์กรตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมมือด้านโลจิสติกส์ระหว่างธุรกิจที่เป็นพันธมิตรและธุรกิจประเภทเดียวกัน โดยอยู่บนพื้นฐานของการได้ประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย
ระดับคะแนน
ผู้ประกอบการสามารถประเมินระดับคะแนนของตัวชี้วัดที่ 5.1 ให้กับองค์กรของตนได้ตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ระดับคะแนน |
คุณสมบัติ |
ระดับ 1 |
§ องค์กรไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมมือด้านโลจิสติกส์ระหว่างธุรกิจที่เป็นพันธมิตร และธุรกิจประเภทเดียวกัน |
ระดับ 2 |
§ องค์กรตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมมือด้านโลจิสติกส์ระหว่างธุรกิจที่เป็นพันธมิตรและธุรกิจประเภทเดียวกัน § มีแผนดำเนินการเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างกัน |
ระดับ 3 |
§ องค์กรตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมมือด้านโลจิสติกส์ระหว่างธุรกิจที่เป็นพันธมิตรและธุรกิจประเภทเดียวกัน § มีโครงการร่วมกันแต่ยังไม่มีข้อตกลงอย่างเป็นทางการ |
ระดับ 4 |
§ องค์กรตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมมือด้านโลจิสติกส์ระหว่างธุรกิจที่เป็นพันธมิตรและธุรกิจประเภทเดียวกัน § มีโครงการร่วมกันและมีข้อตกลงอย่างเป็นทางการ |
ระดับ 5 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 4 และ § มีกระบวนการพัฒนาโครงการที่ร่วมมือกันตามข้อตกลงให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ |
คำนิยาม
5.1 พันธมิตร: องค์กรธุรกิจที่อยู่คนละโซ่อุปทาน แต่มีความสัมพันธ์ส่วนบุคคลที่ดีต่อกัน ซึ่งอาจร่วมมือกันในการพัฒนากิจกรรมด้านโลจิสติกส์ได้ เช่น องค์กรหนึ่งอยู่ที่กรุงเทพ อีกองค์กรหนึ่งอยู่ที่เชียงใหม่ อาจมีการตกลงใช้พาหนะบรรทุกสินค้าร่วมกันในการไปกลับ ทำให้ไม่ต้องมีการวิ่งรถเปล่า เป็นต้น
5.2 ธุรกิจประเภทเดียวกัน: องค์กรที่ผลิตหรือบริการสินค้าประเภทเดียวกัน ซึ่งสามารถร่วมมือกันบนพื้นฐานที่ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย เช่น ร่วมกันสั่งซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศ ทำให้มีปริมาณการสั่งซื้อสูง สามารถต่อรองกับผู้ค้าวัตถุดิบได้ เป็นต้น
ตัวชี้วัดที่ 5.2 การให้ความสำคัญด้านความร่วมมือด้านโลจิสติกส์ระหว่างสถานประกอบการและหน่วยงานวิจัยหรือพัฒนา5.3
วัตถุประสงค์และประเด็นชี้วัด
ปัจจัยนี้เพื่อวัดว่าองค์กรมีความร่วมมือด้านโลจิสติกส์ระหว่างองค์กรและหน่วยงานวิจัยหรือพัฒนา โดยอยู่บนพื้นฐานของการได้ประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย หรือไม่ และอยู่ในระดับใด
ความหมายตระหนัก
องค์กรถึงความสำคัญของการร่วมมือด้านโลจิสติกส์ระหว่างองค์กรและหน่วยงานวิจัยหรือพัฒนา โดยอยู่บนพื้นฐานของการได้ประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย
ระดับคะแนน
ผู้ประกอบการสามารถประเมินระดับคะแนนของตัวชี้วัดที่ 5.2 ให้กับองค์กรของตนได้ตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ระดับคะแนน |
คุณสมบัติ |
ระดับ 1 |
§ องค์กรไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมมือด้านโลจิสติกส์ระหว่างองค์กรและหน่วยงานวิจัยหรือพัฒนา |
ระดับ 2 |
§ องค์กรตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมมือด้านโลจิสติกส์ระหว่างองค์กรและหน่วยงานวิจัยหรือพัฒนา § มีแผนดำเนินการเพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างกัน |
ระดับ 3 |
§ องค์กรตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมมือด้านโลจิสติกส์ระหว่างองค์กรและหน่วยงานวิจัยหรือพัฒนา § มีโครงการร่วมกันแต่ยังไม่มีข้อตกลงอย่างเป็นทางการ |
ระดับ 4 |
§ องค์กรตระหนักถึงความสำคัญของการร่วมมือด้านโลจิสติกส์ระหว่างองค์กรและหน่วยงานวิจัยหรือพัฒนา § มีโครงการร่วมกันและมีข้อตกลงอย่างเป็นทางการ |
ระดับ 5 |
§ องค์กรมีคุณสมบัติตามระดับ 4 และ § มีกระบวนการพัฒนาโครงการที่ร่วมมือกันตามข้อตกลงให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ |
คำนิยาม
5.3 หน่วยงานวิจัยหรือพัฒนา: หน่วยงาน / สถาบัน / มหาวิทยาลัย ที่มีการดำเนินการวิจัยและพัฒนา ซึ่งองค์กรสามารถให้เงินทุนในการสนับสนุนงานวิจัยหรือพัฒนากิจกรรมด้านโลจิสติกส์ เพื่อผลประโยชน์ขององค์กร หรือเป็นการทำวิจัยร่วมกัน เพื่อยกระดับองค์ความรู้ด้านโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน
คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นรายละเอียดวิธีการใช้แบบประเมินดังกล่าว
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ / กรกฎาคม 2551
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
E-Book คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ปี 2551เอกสารเผยแพร่เรื่อง “คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ปี 2551” เป็นการเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษา หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ปี 2551
ที่มา
เอกสารโครงการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน ปี 2551
สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ซึ่งมีภารกิจด้านการส่งเสริมและพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรม ได้กำหนดแผนส่งเสริมการสร้างมาตรฐานโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรม เพื่อมุ่งยกระดับสถานประกอบการ ให้มีการจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน กิจกรรมที่ได้ดำเนินการส่วนหนึ่งคือการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับบุคลากรด้านโลจิสติกส์ของสถานประกอบการในกำกับดูแลที่ได้รับรางวัลสถานประกอบการชั้นดี ประจำปี 2548–2550 จำนวน 74 ราย 4 ประเภท ได้แก่ 1) เหมืองแร่ 2) โรงงานโม่ บด หรือย่อยหิน 3) โรงแต่งแร่ และ 4) โรงงานประกอบโลหกรรม โดยอบรมหลักสูตร 3 วัน เมื่อวันที่ 4 เมษายน 25 เมษายน และ 8 พฤษภาคม 2551 เพื่อให้บุคลากรในสถานประกอบการมีองค์ความรู้ด้านโลจิสติกส์ และสามารถประเมินศักยภาพการจัดการกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ของตนเอง เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ซึ่งจะได้นำร่องประกาศเกียรติคุณแก่สถานประกอบการทั้ง 4 ประเภท ที่มีการจัดการโลจิสติกส์ที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐานโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน เพื่อเป็นแรงจูงใจให้สถานประกอบการอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานมีการจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ
เกณฑ์มาตรฐานโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 5 ด้าน ได้แก่
1) การกำหนดกลยุทธ์สถานประกอบการ
2) การวางแผนและความสามารถในการปฏิบัติงาน
3) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านโลจิสติกส์
4) ระบบบริหารข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ
5) ความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการ
ซึ่งกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ได้พัฒนาเป็นแบบประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน สำหรับผู้ประกอบการใช้ประเมินสมรรถนะหรือศักยภาพด้านโลจิสติกส์ขององค์กรตนเองเปรียบเทียบกับองค์กรประเภทเดียวกันหรือเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล โดยใช้คู่มือการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานประกอบความเข้าใจโดยละเอียด ทั้งนี้ผู้ประกอบการสามารถ Download คู่มือและแบบประเมินได้ทางเว็บไซต์ www.industry4u.com อีกช่องทางหนึ่ง
ความเข้าใจเบื้องต้นสำหรับการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์
เกณฑ์และดัชนีในการประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ขององค์กรนี้ จัดทำขึ้นเพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์ขององค์กรตนเองเปรียบเทียบกับองค์กรประเภทเดียวกัน หรือแม้แต่เปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล องค์กรสามารถวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็ง ตลอดจนนำข้อมูลที่ได้ไปใช้สำหรับการพัฒนาองค์กรให้มีศักยภาพสูงขึ้น
ผู้ทำการประเมินสามารถใช้แบบประเมินศักยภาพด้านโลจิสติกส์สำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานจากแผ่นซีดีที่ได้รับพร้อมกับคู่มือนี้ หรือ Download จากเว็บไซต์ www.industry4u.com หรือใช้เอกสารในภาคผนวกท้ายคู่มือ ซึ่งมีระดับศักยภาพด้านโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐานที่กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ดำเนินการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และสรุปเป็นค่าเฉลี่ยไว้เพื่อเปรียบเทียบ (Benchmark) กับผลการประเมินขององค์กรท่าน
สนใจคู่มือ ดาวน์โหลดได้ที่เอกสารแนบด้านล่าง
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward