iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
sc การจัดการสินค้าคงคลัง โดยการใช้ระบบ ABC (ABC Inventory Control)
การควบคุมสินค้าคงคลังโดยการใช้ระบบ ABC (ABC Inventory Control)
ABC Analysis มาจากกฎของ Parelo (Parelo’s Law) จากการศึกษาการกระจายความมั่งคั่งในเมือง Milan สังเกตพบว่ามีสินค้าไม่กี่รายการของบริษัทที่จำหน่ายได้มากและสินค้าจำนวนมากจำหน่ายได้น้อย บริษัทสามารถนำหลักการดังกล่าวมาใช้บริหารสินค้าคงคลัง โดยจำแนกสินค้าตามปริมาณการขายเป็นระดับ A B และ C
เมื่อกล่าวถึงการบริหารและการควบคุมสินค้าคงคลังอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารต้องทำความเข้าใจว่าสินค้าคงคลังแต่ละรายการไม่สามารถใช้วิธีบริหารจัดการแบบเดียวกันได้ เมื่อสินค้าคงคลังบางรายการที่ถูกจำหน่ายออกไปได้เร็วสามารถนำรายได้เข้าบริษัทได้มากกว่ารายการอื่นที่มียอดจำหน่ายต่ำ ฉะนั้นรายการสินค้าคงคลังที่มียอดขายมากต้องถูกดูแลอย่างใกล้ชิด และช่วยให้ผู้วางแผนสินค้าคงคลังพิจารณาลงทุนได้ง่ายขึ้นโดยสังเกตจากรายการสินค้าที่มียอดจำหน่ายสูง
หลักของ Perato ช่วยให้ผู้วางแผนสินค้าคงคลังตอบโจทย์สำคัญ ต่อไปนี้
1. สามารถพิจารณาได้ว่าสินค้าคงคลังรายการใดสำคัญกว่ารายการอื่น
2. สามารถพิจารณาได้ว่าสินค้าคงคลังใดที่ต้องมีการควบคุมในระดับที่สูงกว่ารายการอื่นเพื่อป้องกันสินค้าขาดสต็อก
การแบ่งระดับของสินค้าคงคลังที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่นมูลค่า หรือยอดการใช้การแบ่งสินค้าคงคลังออกเป็นระดับ ดังนี้
- ระดับ A ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าที่มีราคาแพงหรือมีปริมาณการเคลื่อนไหวสูง ผู้บริหารสินค้าคงคลังจึงต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ เช่น กำหนดระดับบริการลูกค้าที่ 95% และมีสินค้าคงคลังไว้มากเพื่อป้องกันสินค้าหมดสต็อก และเก็บสินค้าคงคลังและสินค้าคงคลังสำรองไว้ในทุกคลังสินค้า ได้แก่ คลังสินค้ากลาง คลังสินค้าภูมิภาค และคลังสินค้าท้องถิ่น โดยให้มีการตรวจสอบสถานะสินค้าคงคลังทุกวัน เป็นต้น
- ระดับ B เป็นสินค้าคงคลังที่มีความสำคัญรองลงมาจากระดับ A จัดอยู่ในกลุ่มของสินค้าที่มียอดขายหรือใช้ในระดับปานกลางถึงต่ำ ต้องมีการตรวจสอบเป็นระยะๆ เช่น ตรวจสอบทุกสัปดาห์ ระดับบริการอยู่ที่ 90% เก็บสต็อกไว้ที่คลังสินค้าภูมิภาคทั่วไปมีการควบคุมอัตโนมัติโดยระบบคอมพิวเตอร์
- ระดับ C เป็นสินค้าที่มีปริมาณมากแต่การเคลื่อนไหวช้าหรือยอดจำหน่ายต่ำ บริษัทอาจจะกำหนดระดับบริการไว้ที่ 85% และเก็บสต็อกไว้ที่คลังสินค้ากลางของบริษัทเท่านั้นเพื่อลดต้นทุนคลังสินค้า และควบคุมโดยการใช้หลักระบบ 2 กระบะ หรือใช้ระบบการตรวจสอบเป็นระยะ
รูปการจำแนกสินค้าคงคลังแบบ ABC
--------------------------------------------------------
ลักษณะสินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว (Dead Stock)
ลักษณะสินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว (Dead Stock) เป็นปัญหาการจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง เนื่องจากสินค้าที่ไม่ เคลื่อนไหวทำให้การจัดเก็บสินค้าที่เคลื่อนไหวได้ดีมีปัญหา ส่งผลต่อการจัดการพื้นที่ในคลังทำให้การนำสินค้าเข้าจัดเก็บหรือ การจ่ายกอกมีปัญหา เนื่องจากสินค้าไม่เคลื่อนไหวกีดขวาง ตัวอย่าง ประเภทของสินค้าไม่เคลื่อนไหว มีดังนี้
- สินค้าคืนจากลูกค้าและขายไม่ได้ (Reject Cargoes)
- สินค้าเสียหาย (Damage Cargoes)
- สินค้าล้าสมัยขายไม่ได้ (Out of Date Goods)
- สินค้าซื้อมากแต่ใช้น้อยหรือไม่ได้ใช้ (Slow Move Cargoes)
- สินค้าไม่เคลื่อนไหว (Sleepy Cargoes)
- เศษซาก/ของเสีย (Scrap & Waste Cargoes)
- สินค้ามีแต่ในบัญชีแต่สินค้าจริงไม่มี (Cargoes on Paper)
- สินค้าไม่มีราคาแต่ทางบัญชียังคงมีมูลค่า (Non Value Cargoes)
- ระยะเวลาที่จำแนกสินค้าไม่เคลื่อนไหว
การจำแนกระยะเวลาสินค้าที่เข้าสู่คลังเก็บสินค้าจะเป็นตัวชี้วัดความเคลื่อนไหวของสินค้าโดยผู้เกี่ยวข้องเป็นผู้กำหนดระยะเวลาของสินค้าที่อยู่ในคลังว่า ระยะเวลาที่จัดเก็บนานเท่าใดถึงจะเรียกว่าเป็นสินค้าไม่เคลื่อนไหว และแบ่งประเภทสินค้าตามระยะเวลาของการจัดเก็บสินค้าในคลังตัวอย่างเช่น โรงงานอาหารกระป๋อง ได้กำหนดประเภทสินค้าตามระยะเวลาเอาไว้ ดังนี้
- สินค้าเคลื่อนไหวเร็ว (Fast Moving) คือสินค้าที่เก็บไว้ในคลังสินค้า ไม่เกิน 7 วัน
- สินค้าปกติ (Normal Moving) คือสินค้าที่เก็บไว้ในคลังสินค้า 7 – 14 วัน
- สินค้าเคลื่อนไหวช้า (Slow Moving) คือสินค้าที่เก็บไว้ในคลังสินค้านานกว่า 14 วัน
- เคลื่อนไหวช้ามาก (Very Slow Moving) คือสินค้าที่เก็บไว้ในคลังสินค้านานกว่า 30 วัน
- ไม่เคลื่อนไหว (Dead Moving) คือสินค้าที่เก็บไว้ในคลังสินค้านานกว่า 45 วัน
เมื่อกำหนดประเภทสินค้าตามระยะเวลาที่อยู่ในคลังสินค้าได้แล้ว เจ้าหน้าที่คลังสินค้าจะกำหนดพื้นที่การจัดเก็บสินค้าตามระยะเวลาสินค้าที่อยู่ในคลัง โดยกำหนดให้สินค้าที่เคลื่อนไหวได้ดี อยู่ในพื้นที่ที่จัดเก็บและนำออกได้ง่าย ส่วนสินค้าที่เคลื่อนไหวได้ช้าจะเก็บไว้ในพื้นที่ที่เข้าถึงได้ยาก การเก็บสินค้าในคลังสินค้าตามระยะเวลาที่จัดเก็บสามารถเห็นถึงแนวโน้มการผลิตและการขายได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งจำเป็นต้องใช้ระบบการควบคุมด้วยสายตา (Visual Control) เข้ามาประยุกต์ใช้ร่วมกัน โดยกำหนดพื้นที่ จัดเก็บตามสีหรือระดับการเคลื่อนไหว เช่นสินค้าเคลื่อนไหวเร็ว จัดเก็บหรือมีป้ายชี้บ่งสีเขียว สินค้าเคลื่อนไหวของสินค้าได้โดยง่าย
วิธีการลดปริมาณสินค้าไม่เคลื่อนไหว โดยหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการจัดการสินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว ไม่สามารถผลักภาระความรับผิดชอบให้กับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งโดยเฉพาะ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย อาทิ
ฝ่ายขายและฝ่ายการตลาด
- ผลักดันยอดขายผ่านฝ่ายขายหรือตัวแทนจำหน่าย โดยให้ผลตอบแทน (Incentives) ที่สูงสำหรับการขายสินค้าไม่เคลื่อนไหว โดยกำหนดให้สูงกว่าการขายสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวปกติหรือสินค้าที่ขายดีอยู่แล้ว
- กำหนดสัดส่วนการขายสินค้าที่เคลื่อนไหวช้าต่อเดือนเป็นสัดส่วนต่อการขายสินค้าทั้งหมดในรอบเดือน
- จัดกลุ่มสินค้าบางประเภท ให้เป็นสินค้าฝากขาย ( Consignment) โดยการกระจายสินค้าฝากขายไปยังลูกค้าให้มากที่สุด เพื่อลดภาระการจัดเก็บและปริมาณสินค้าในคลังสินค้า
- ส่งเสริมการตลาดในสินค้าไม่เคลื่อนไหว เช่น ลด แลก แจก แถม เป็นต้น
ฝ่ายจัดซื้อ
- ในกรณีซื้อวัตถุดิบต้องมีการคำนวณการสั่งซื้อ โดยจำเป็นต้องรู้ข้อมูลปริมาณการใช้หรือแผนการผลิต ต้นทุนการสั่งซื้อแต่ละครั้ง ต้นทุนการเก็บรักษา ปริมาณการสั่งซื้อขั้นต่ำ แล้วจึงคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมต่อไป (Economics Order Quantity : EOQ)
- จำเป็นต้องจัดหาซัพพลายเออร์สำรอง หรือรายใหม่ ในกรณีที่การสั่งซื้อจากซัพพลายเออร์ปัจจุบันมีปริมาณการสั่งซื้อสินค้าขั้นต่ำในประมาณมาก
ฝ่ายคลังสินค้า
- แสดงให้เห็นถึงจำนวนสินค้าที่ไม่เคลื่อนไหวในคลังสินค้าให้ชัดเจน ดูง่าย โดยจัดพื้นที่ในการเก็บสินค้าไม่เคลื่อนไหวให้อยู่ในที่เดียวกัน และมีป้ายบ่งชี้ประกอบ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตระหนังถึงปัญหาของสินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว โดยหวังว่าทุกหน่วยงานจะเข้ามาร่วมแก้ปัญหาด้วยกัน
ฝ่ายผลิต
- นำส่วนประกอบของสินค้าที่ไม่เคลื่อนไหว มาใช้ใหม่ (Re-use) หรือรีไซเคิล ตามแต่กรณีโดยเฉพาะสินค้าที่เป็นชินส่วนประกอบ เช่น ผลิตภัณฑ์จากยางบางประเภท เฟอร์นิเจอร์ หรือชิ้นส่วนประกอบยานยนต์ เป็นต้น
ฝ่ายบุคคล
- จัดขายสินค้าราคาประหยัดเพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่พนักงาน
ฝ่ายบัญชี
- ตัดตัวเลขทางบัญชีและทำลายสินค้าที่ไม่เคลื่อนไหวและหมดอายุหากจำเป็น
- บริจาคเป็นสาธารณกุศล ซึ่งสามารถนำมาลดหย่อนภาษีปลายปีได้
ขั้นตอนในการลดปริมาณสินค้าไม่เคลื่อนไหว สามารถจัดลำดับจากขั้นตอนที่ง่ายที่สุดไปยังขั้นตอนที่ยากที่สุด หรือขั้นตอนที่ใช้ต้นทุนน้อยที่สุดไปยังต้นทุนสูงที่สุด ดังนั้นผู้ประกอบการจำเป็นต้องเลือกวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมกับธุรกิจและประเภทสินค้าของตนเอง
การจัดซื้อและวางแผนการจัดซื้อ (Purchasing and Purchasing Planning)
ที่มา https://www.dip.go.th/th/category/2020-05-23-10-39-13/2020-05-23-11-42-22
การจัดส่งและกระจายสินค้า (Shipping and distribution)
การจัดส่งและกระจายสินค้าเป็นส่วนสำคัญในองค์ประกอบของกาจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และเป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างผลกำไรโดยส่วนรวมให้กับธุรกิจ เนื่องจากมีผลกระทบโดยตรงกับต้นุการจัดการโซ่อุปทานและสิ่งที่ผู้บริโภคจะได้รับ ในระบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกามูลค่าของการกระจายสินค้าเป็นร้อยละ 10.5 และมีมูลค่าถึงร้อยละ 20 ของต้นทุนในการผลิตสินค้า สำหรับสินค้าประเภทซึ่งมาขายไปจะมีสั่นต้นทุนที่สูงกว่าต้นทุนสินค้า เช่น ประเทศอินเดีย การกระจายสินค้าประเภทปูนซีเมนต์ที่ใช้ในการก่อสร้างขาออก (Outbound) จากโรงงานไปยังลูกค้าคิดเป็นร้อยละ 30 ของต้นทุนการผลิตและขาย การออกแบบระบบการกระจายสินค้าจะขึ้นอยู่กับลักษณะและนโยบายของธุรกิจ ในธุรกิจประเภทเดียวกันอาจใช้ระบบเครือข่ายจัดส่งสินค้าที่แตกต่างกัน
รูปแบบของการกระจายสินค้า
1) บทบาทของการจัดส่งและกระจายสินค้า บทบาทของการจัดส่งและกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะจัดส่งสินค้าตามที่ลูกค้าต้องการภายในระยะเวลาที่รวดเร็ว ด้วยต้นทุนต่ำที่สุด ดังนั้นจึงต้องมีการออกแบบวิธีการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพและผสมผสานเข้าด้วยกัน ลักษณะระบบงานย่อยที่มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่
1. การขนส่ง (Transportation) มีความเกี่ยวข้องกับวิธีการนำสินค้าออกจากโรงงานไปส่งให้กับลูกค้า โดยปกติค่าใช้จ่ายในการขนถ่ายสินค้าของธุรกิจเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายรวมของระบบการจัดจำหน่ายแล้วจะมีระดับสูง โดยปกติประมาณ 1 ใน 2 หรือ 2 ใน 3 เท่าของต้นทุนการจัดจำหน่าย
2. ระดับสินค้าคงคลังที่จัดจำหน่าย (Distribution Inventory) เป็นสินค้าสำเร็จรูปที่อยู่ในคลังสินค้าเพื่อรอการจำหน่ายแก่ลูกค้า เมื่อเปรียบเทียบในด้านของต้นทุนแล้วอยู่ในระดับรองลงมาจากต้นทุนการขนส่ง กล่าวคือคิดเป็นร้อยละ 25-30 ของต้นทุนการจัดจำหน่าย
3. คลังสินค้า (Warehousing) ใช้ในการจัดเก็บและจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการคลังสินค้าเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาทำเลที่ตั้ง จำนวนคลังสินค้าในระบบ การวาแผงผังวิธีภาคปฏิบัติงานในด้านการรับ การจัดเก็บ และการเรียกสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้า
4. การขนถ่ายวัสดุ (Materials Handling) มีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บสินค้าภายในคลังสินค้า รูปแบบของเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการขนถ่ายวัสดุจะมีผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งต้นทุนในการดำเนินงานของคลังสินค้า ซึ่งได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเบื้องต้นและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของคลังสินค้า
5. การบรรจุหีบห่อป้องกันสินค้า (Protective Packaging) ในการเคลื่อนย้ายวัสดุดิบหรือสินค้าในคลังสินค้าจำเป็นที่จะต้องมีการบรรจุภาชนะหรือหีบห่อ การป้องกัน และการจำแนกสินค้าลักษณะการเคลื่อนย้ายสินค้าจะต้องมีความสัมพันธ์กับขนาดพื้นที่ในการจัดเก็บและอุปกรณ์ในการเคลื่อนย้าย
6. การประมวลผลคำสั่งซื้อ (Order Processing) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการใบสั่งซื้อของลูกค้า ระยะเวลาในการส่งมอบสินค้า ซึ่งนับเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในส่วนของการให้บริการแก่ลูกค้า
หน้าที่จัดส่งและกระจายสินค้า มีข้อพิจารณาที่สำคัญ ได้แก่
1. การหมุนเวียนของสินค้า
2. ลักษณะของการกระจายสินค้า
3. การจัดตารางการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า
4. ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดส่ง
5. ระยะเวลาในการจัดส่ง
6. ปริมาณการจัดส่งสินค้าแต่ละครั้ง
7. ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการจัดส่งสินค้า
รูประบบและหน้าที่ของคลังสินค้าและการกระจายสอนค้า
บทบาทหน้าที่สำคัญของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกระจายสินค้าจำแนกออกได้ดังนี้
1. การติดต่อ หาลูกค้า การแลกเปลี่ยนข้อมูลกับลูกค้า
2. การรับใบสั่งซื้อ จัดทำเอกสารประกอบการติดต่อสั่งซื้อและขายสินค้า
3. การส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าผ่านกระบวนการโลจิสติกส์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ตามที่ตกลงไว้กับลูกค้าโดยให้มีค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนในการขนส่งต่ำสุด
4. การจัดเก็บสินค้าเพื่อรอการส่งมอบให้กับลูกค้าในเวลาที่ต้องการหรือเมื่อถึงกำหนด เป็นการลดภาระหน้าที่ความรับผิดชอบและสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าจะได้รับสินค้าโดยไม่เสี่ยงต่อการเสียโอกาสในการขายหรือการขาดแคลนสินค้าจากความผันผวนทางเศรษฐกิจ
5. การจัดแยกประเภทของสินค้าที่จะส่งมอบให้แก่ลูกค้า การจัดลำดับความสำคัญในการส่งมอบตลอดจนการกำหนดวิธีการส่งมอบให้กับลูกค้า ด้วยการจัดกาอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
6. พิจารณาตัวแทนส่งมอบหรือกระจายสินค้า ตรวจสอบและควบคุมความสามารถของตัวแทนหรือคนกลาง เพื่อลดภาระหรือต้นทุนในการจัดส่งสินค้าด้วยตนเอง
7.การสร้างหลักประกันความมั่นใจให้กับลูกค้าในด้านการขนส่งสินค้าในกรณีที่สินค้าเกิดการสูญหายหรือการชำรุดเสียหายอันเกิดจากกระบวนการกระจายสินค้า
8.เปรียบเทียบต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากตัวแทนหรือคนกลางที่รับผิดชอบในการกระจายสินค้า เพื่อพิจารณาหาทางเลือกที่ดีที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
Supply Chain Management / การบริหารจัดการโซ่อุปทาน
การบริหารจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) เนื่องด้วยบริบทการเปิดเสรีทางการค้าและกระจายกิจกรรมการผลิตของธุรกิจต่างๆ ทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาคซึ่งธุรกิจไทยกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ต้องอาศัยความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจไม่เพียงมาจากการเพิ่มผลิตภาพภายในบริษัทของตนเอง แต่ยังรวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ในรูปแบบความร่วมมือภายในโซ่อุปทานด้วย จึงเป็นที่มาของการขยายขอบเขตความสำคัญของแนวคิดเรื่องการบริหารจัดการโลจิสติกส์ไปยังการบริหารจัดการโซ่อุปทานโดย การบริหารจัดการโซ่อุปทาน หมายถึงการบริหารแบบเชิงกลยุทธ์ที่คำนึงถึงความเกี่ยวเนื่องหรือความสัมพันธ์กันแบบบูรณาการของหน่วยงาน หรือแผนกภายในองค์กรและคู่ค้าที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นลูกค้าหรือซัพพลายเออร์ในโซ่อุปทาน โดยมีจุดประสงค์ที่จะนำส่งสินค้าหรือบริการตามความต้องการของผู้บริโภคให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของเวลา ราคาหรือคุณภาพ โดยจะบริหารจัดการในเรื่องของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการขององค์กร และคู่ค้าอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขจัดความล่าช้าในการทำธุรกรรมต่างๆ รวมถึงการขจัดปัญหาในการส่งหรือรับมอบสินค้าและบริการ ที่มีผลมาจากระบบการจัดการด้านการเงินที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยอาจกล่าวได้ว่าเป็นการบริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำหรือแหล่งวัตถุดิบในการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ป้อนเข้าโรงงานจนถึงปลายน้ำหรือมือผู้บริโภค ทั้งนี้ ปัจจุบันถือว่าการบริหารจัดการโลจิสติกส์เป็นกระบวนการย่อยหนึ่งในการจัดการสินค้า และบริการตลอดสายของโซ่อุปทาน
-----------------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward