iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
การบริหารโซ่อุปทาน (Supply Chain) ร่วมกันแบบ Collaboration
ในระบบของโซ่อุปทานจะเกิดการไหลเวียนในกระบวนการของธุรกิจ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากการเชื่อมโยงของโซ่อุปทานทั้งภายในและภายนอกองค์กร มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Information Sharing) และร่วมมือกัน (Collaboration) ระหว่างแผนกต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เช่น ผู้ผลิตสินค้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับลูกค้ารวมถึง Supplier โดยอาศัยเทคโนโลยี IT ที่เชื่อมโยงข้อมูลกันในระบบ
การบริหารโซ่อุปทาน (Supply Chain) ร่วมกันแบบ Collaboration
การจัดการโซ่อุปทาน มีความจำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจในแทบทุกอุตสาหกรรม ทั้งนี้เนื่องจากสภาวะการแข่งขันในปัจจุบันที่ทำให้ทุกภาคธุรกิจใส่ใจกับเรื่องการลดต้นทุนในการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมากเป็นพิเศษ การพยายามลดต้นทุนเฉพาะภายในองค์กรเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอสำหรับภาวะในปัจจุบันที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง เพราะกว่าผลิตภัณฑ์จะถึงมือลูกค้า (End Users) ก็ต้องผ่านมือผู้ผลิตมาหลายทอด ดังนั้นการสร้างความได้เปรียบด้านต้นทุน (Cost Competitiveness) จึงจำเป็นต้องมาจากความร่วมมือในหมู่คู่ค้าที่ผลิตภัณฑ์หรือสินค้านั้นไหลผ่านกระบวนการหรือการเชื่อมโยงกันเป็นโซ่อุปทานเดียวกัน โดยจะต้องทำงานบนพื้นฐานของกระบวนการทำงานร่วมกัน มีแผนงานร่วมกัน มีข้อมูลร่วมกัน เป็นต้น จึงทำให้การทำงานในยุคปัจจุบันต้องมีการสร้างกระบวนการร่วมกันเพื่อการ Collaborate ร่วมกันได้จะต้องมีการใช้ข้อมูลสารสนเทศร่วมกัน (Information Sharing) โดยในการสร้างปัจจัยที่สามารถผลักดันให้เกิดการทำงานร่วมกันนั้นจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลัก ได้แก่
- ความไว้ใจซึ่งกันและกัน (Trust) เป็นปัจจัยหลักและสำคัญมากที่สุด จำเป็นจะต้องสร้างขึ้นมา ในอดีตผู้ที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกันนั้นมักมีความไว้วางใจกันสูง ความไว้วางใจในอดีตมักเกิดในรูปของคุณภาพสินค้าและเครดิต การแลกเปลี่ยนความคิด แผนงาน ตลอดจนข้อมูลการค้าที่สำคัญ และมีความเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน ความเสียหายหรือต้นทุนที่เกิดจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะส่งผลต่อคู่ค้าและผู้ที่อยู่ในโซ่อุปทานรายอื่นๆด้วย
- การร่วมใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน (Information Sharing) หากคู่ค้ายินยอมให้ใช้ข้อมูลการค้าร่วมกันหรือเป็นข้อมูลชุดเดียวกันแล้ว จะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทั้งในเรื่องของเวลา (Time) และต้นทุน (Costs) คือสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องของ Lead Time, Order Fulfillment ระดับของ Inventory ได้ นอกจากนี้ต้นทุนวัตถุดิบและสินค้าที่ผ่านมาในแต่ละขั้นตอนก็สามารถลดลงได้โดยอาศัยข้อมูลการพยากรณ์ ที่คู่ค้านำมาใช้ร่วมกันเพื่อการวางแผนการผลิตและการจัดส่ง
- คุณภาพของข้อมูลที่ใช้ร่วมกัน (Quality of Shared Information) คุณภาพของข้อมูล โดยทั่วไปหมายถึงความถูกต้อง (Accuracy) และความทันต่อเวลา (Timeliness) ข้อมูลนั้นจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆเลย หากเป็นข้อมูลที่ขาดความถูกต้องแม่นยำและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องเป็นข้อมูลที่ทันสมัยและสามารถเรียกใช้ได้ทันเวลา นอกจากความถูกต้องและทันเวลาแล้ว ประเภทและระดับของข้อมูลที่ใช้ก็สำคัญ เช่น หากต้องการปรับปรุงข้อมูลเรื่อง Inventory ข้อมูลสำคัญและเกี่ยวข้องคือ การพยากรณ์ (Forecast) แผนการตลาดและการส่งเสริมการตลาด, ข้อมูลสินค้าล้าสมัย, ข้อมูลสินค้าที่จะแนะนำเข้าสู่ตลาด, ข้อมูลสินค้าและบริการของคู่แข่ง เป็นต้น โดยข้อมูลเหล่านี้จะต้องอยู่ในระดับที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้
- เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร (Information and Communication Technologies) ระบบการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กรในระบบโซ่อุปทานจะช่วยทำให้เกิดประสิทธิภาพของการบริหารจัดการร่วมกัน Collaboration ซึ่งจะกลายเป็นเสมือนเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมองค์กรต่างๆเข้าด้วยกัน ทำให้การสร้างกระบวนการวางแผนร่วมกัน “Collaboration Planning”
การไหลของวัตถุดิบผ่านการผลิตจนถึงการกระจายสินค้าสำเร็จรูปผ่านไปยังผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ต่อเมื่อมีการนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ มาประยุกต์ใช้ในทุกกิจกรรมทั้งภายในบริษัทและภายนอกบริษัท เพื่อสร้างความถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งซอฟแวร์ที่ใช้คือระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Recourse Planning) เพื่อให้การไหลข้อมูลรวดเร็วที่เรียกว่า การจัดการโซ่อุปทาน
การบริหารโซ่อุปทานร่วมกันแบบ Collaboration
การจัดการโซ่อุปทาน มีความจำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจในแทบทุกอุตสาหกรรม ทั้งนี้เนื่องจากสภาวะการแข่งขันในปัจจุบัน ที่ทำให้ทุกภาคธุรกิจใส่ใจกับเรื่องการลดต้นทุนในการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมากเป็นพิเศษ การพยายามลดต้นทุนเฉพาะภายในองค์กรเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอสำหรับภาวะในปัจจุบันที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง เพราะกว่าผลิตภัณฑ์จะถึงมือลูกค้า (End Users) ก็ต้องผ่านมือผู้ผลิตมาหลายทอด ดังนั้นการสร้างความได้เปรียบด้านต้นทุน (Cost Competitiveness) จึงจำเป็นต้องมาจากความร่วมมือในหมู่คู่ค้าที่ผลิตภัณฑ์หรือสินค้านั้นไหลผ่านกระบวนการหรือการเชื่อมโยงกันเป็นโซ่อุปทานเดียวกัน โดยจะต้องทำงานบนพื้นฐานของกระบวนการทำงานร่วมกัน มีแผนงานร่วมกัน มีข้อมูลร่วมกัน เป็นต้น โดยจะต้องมีการสร้างกระบวนการร่วมกันเพื่อการ Collaborate ร่วมกันได้จะต้องมีการใช้ข้อมูลสารสนเทศร่วมกัน (Information Sharing) โดยในการสร้างปัจจัยที่สามารถผลักดันให้เกิดการทำงานร่วมกันนั้นจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลัก ได้แก่
1) ความไว้ใจซึ่งกันและกัน (Trust) เป็นปัจจัยหลักและสำคัญมากที่สุด จำเป็นจะต้องสร้างขึ้นมา ในอดีตผู้ที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกันนั้นมักมีความไว้วางใจกันสูง ความไว้วางใจในอดีตมักเกิดในรูปของคุณภาพสินค้าและเครดิต การแลกเปลี่ยนความคิด แผนงาน ตลอดจนข้อมูลการค้าที่สำคัญ และมีความเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน ความเสียหายหรือต้นทุนที่เกิดจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะส่งผลต่อคู่ค้าและผู้ที่อยู่ในโซ่อุปทานรายอื่นๆด้วย
2) การร่วมใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน (Information Sharing) หากคู่ค้ายินยอมให้ใช้ข้อมูลการค้าร่วมกันหรือเป็นข้อมูลชุดเดียวกันแล้ว จะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทั้งในเรื่องของเวลา (Time) และต้นทุน (Costs) คือสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องของ Lead Time, Order Fulfillment ระดับของ Inventory ได้ นอกจากนี้ต้นทุนวัตถุดิบและสินค้าที่ผ่านมาในแต่ละขั้นตอนก็สามารถลดลงได้โดยอาศัยข้อมูลการพยากรณ์ ที่คู่ค้านำมาใช้ร่วมกันเพื่อการวางแผนการผลิตและการจัดส่ง
3) คุณภาพของข้อมูลที่ใช้ร่วมกัน (Quality of Shared Information) คุณภาพของข้อมูล โดยทั่วไปหมายถึงความถูกต้อง (Accuracy) และความทันต่อเวลา (Timeliness) ข้อมูลนั้นจะไม่เกิดประโยชน์ใดๆเลย หากเป็นข้อมูลที่ขาดความถูกต้องแม่นยำและโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องเป็นข้อมูลที่ทันสมัยและสามารถเรียกใช้ได้ทันเวลา นอกจากความถูกต้องและทันเวลาแล้ว ประเภทและระดับของข้อมูลที่ใช้ก็สำคัญ เช่น หากต้องการปรับปรุงข้อมูลเรื่อง Inventory ข้อมูลสำคัญและเกี่ยวข้องคือ การพยากรณ์ (Forecast) แผนการตลาดและการส่งเสริมการตลาด, ข้อมูลสินค้าล้าสมัย, ข้อมูลสินค้าที่จะแนะนำเข้าสู่ตลาด, ข้อมูลสินค้าและบริการของคู่แข่ง เป็นต้น โดยข้อมูลเหล่านี้จะต้องอยู่ในระดับที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้
4) เทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร (Information and Communication Technologies) ระบบการสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กรในระบบโซ่อุปทานจะช่วยทำให้เกิดประสิทธิภาพของการบริหารจัดการร่วมกัน Collaboration ซึ่งจะกลายเป็นเสมือนเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมองค์กรต่างๆเข้าด้วยกัน ทำให้การสร้างกระบวนการวางแผนร่วมกัน “Collaboration Planning”
รูปความสัมพันธ์ของโซ่อุปทานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การไหลของวัตถุดิบผ่านการผลิตจนถึงการกระจายสินค้าสำเร็จรูป ผ่านไปยังผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ต่อเมื่อมีการนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ มาประยุกต์ใช้ในทุกกิจกรรมทั้งภายในบริษัทและภายนอกบริษัท เพื่อสร้างความถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งซอฟแวร์ที่ใช้คือระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Recourse Planning) เพื่อให้การไหลข้อมูลรวดเร็วที่เรียกว่า การจัดการโซ่อุปทาน
sc การประเมินคุณภาพการบริการ 5 มิติ (Five dimension of service quality)
การประเมินคุณภาพการบริการ ประเมินใน 5 ด้านได้แก่
ความเชื่อมั่นไว้วางใจได้ (Reliability) ความคงเส้นคงวาและความไว้วางใจได้ในการใช้งาน ความสามารถของการบริการที่จะปฏิบัติงานได้ตรงเวลาครบถ้วนและเป็นไปตามต้องการ ความสม่ำเสมอ (Consistency) สามารถใช้บริการได้ตลอด และพึงพาได้ (Dependability) เมื่อผู้ใช้ต้องการความช่วยเหลือ
ความเชื่อถือได้ (Assurance)ความรู้และความสามารถของผู้ให้บริการที่จะสื่อสารให้ลูกค้าเกิดความไว้วางใจและความเชื่อมั่นการที่ผู้ใช้บริการรู้สึกว่าคุ้มค่ากับเงินที่ใช้ไป และรู้สึกมั่นใจที่จะใช้บริการ ให้บริการผู้ใช้อย่างถูกต้องเช่น ปฏิบัติต่อผู้ใช้บริการโดยเท่าเทียมกัน และผู้ใช้บริการทราบว่า เราให้ความสำคัญต่อคำถามหรือข้อสงสัยของเขาเอาใจใส่ต่อผู้ใช้บริการ จำหรือระลึก ผู้ใช้บริการเป็นประจำได้
ความมีตัวตน (Tangibles) รูปร่างทางกายภาพที่สัมผัสได้ของการบริการเช่น รูปลักษณ์ทางกายภาพ อาคาร วัสดุอุปกรณ์ การบริการที่ดี การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมสำหรับให้บริการ เตรียมอุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวก และสวยงามและสะอาด
งานบริการเป็นงานที่ไม่สามารถกำหนดปริมาณงานล่วงหน้าได้ งานบริการเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน จับต้องไม่ได้ (Intangibles) จึงต้องสร้างความมีตัวตน บริการเป็นงานที่ต้องตอบสนองในทันที
ความเอาใจใส่ (Empathy)การดูแลและการตั้งอกตั้งใจบริการลูกค้า การหลีกเลี่ยง อคติ พยายามเข้าใจผู้ใช้บริการ การเข้าถึงง่าย ใส่ใจความรู้สึกของลูกค้า บริการโดยคำนึงถึงความรู้สึกของผู้รับบริการ เช่น การบริการเบ็ดเสร็จจุดเดียว (One stop service) เพื่อช่วยประหยัดเวลา จะแสดงให้เห็นว่า ผู้ให้บริการมีการแสดงความสุภาพต่อผู้ใช้บริการ การต้อนรับที่เหมาะสม บุคลิกภาพที่ดี ฉะนั้นการเข้าถึงบริการ (Access)
การตอบสนองทันที (Responsiveness) ความพร้อมของหน่วยงานบริการและผู้ปฏิบัติงานให้บริการ ที่จะตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการได้ทันทีที่ต้องการ โดยไม่ปล่อยให้ต้องรอนาน ควรเน้นในเรื่องของการส่งเสริมในเรื่อง ความเต็มใจที่จะให้บริการ ความพร้อมที่จะให้บริการและการอุทิศเวลา การติดต่ออย่างต่อเนื่อง และปฏิบัติต่อผู้ให้บริการเป็นอย่างดี
ความสำคัญของคุณภาพในการบริการ
ความสำคัญเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย
- การสร้างความพอใจและความจงรักภักดีของลูกค้า Brand Loyalty
- มีผลต่อการสร้างภาพลักษณ์ของธุรกิจ ทำให้ลูกค้าเกิดความชื่นชมและความชื่นชมนั้นสามารถนำไปถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่น แบบปากต่อปาก
- มีผลต่อขั้นตอนการตัดสินใจใช้บริการ ความคุ้มค่าในการใช้บริการ
ความสำคัญเชิงปริมาณประกอบด้วย
- ลดค่าใช้จ่ายในการแก้ไขข้อผิดพลาด
- เพิ่มรายได้และส่วนแบ่งในตลาดธุรกิจ เมื่อลูกค้าเกิดความมั่นใจว่าได้รับการบริการที่มีคุณภาพ และคุ้มค่า การเสนอขายสินค้าอย่างอื่นจะทำได้ง่ายจึงสามารถนำมาใช้ในการสร้างรายได้เพิ่มการบริการอื่นๆทั้งลูกค้าเก่า และใหม่
--------------------------------------------------------------
การพัฒนาระบบสืบค้นย้อนกลับ (Tractability) ในงานสินค้าประมงไทย
โครงการพัฒนาและยกระดับความ
ข้อมูลโครงการเพิ่มเติมที่ http://
ระบบสืบค้นย้อนกลับ (Tractability) คือ ระบบที่มีการจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการซื้อสินค้า โดยทำให้ผู้บริโภคสินค้าที่ซื้อมีความมั่นใจว่า สิ่งที่ผู้บริโภคได้รับไปนั้นจะไม่มีสิ่งปนเปื้อน มีความปลอดภัย สูง สามารถตรวจสอบติดตามเส้นทางของสินค้ากลับไปจนถึงแหล่งที่มาได้ นอกจากนั้นยังช่วยในการเรียกคืนสินค้าของบริษัทผู้ผลิต ให้นำสินค้าที่มีปัญหาหรือต้องการเรียกคืน ให้นำกลับคืนได้อย่างถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็ว
ระบบสืบค้นย้อนกลับ (Tractability) ประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ 2 กระบวนการคือ
- กระบวนการติดตาม
- กระบวนการสืบค้นย้อนกลับ
Business Process Outsourcing : BPO / การมอบหมายงานให้บุคคลภายนอกรับผิดชอบดูแลแทน
การมอบหมายงานให้บุคคลภายนอกรับผิดชอบดูแลแทน (Business Process Outsourcing : BPO) คือ การที่องค์กรได้มอบหมายงานบางส่วนภายใน ให้แก่บริษัทหรือบุคคลจากหน่วยงานภายนอกเป็นผู้มารับผิดชอบดูแลทำงานแทน โดยอาจมอบหมายกระบวนการทางธุรกิจตั้งแต่หนึ่งขั้นตอนหรือมากกว่าให้แก่ผู้ให้บริการภายนอก ซึ่งจะเป็นผู้บริหารและจัดการกระบวนการที่เลือกตามการวัดประสิทธิภาพที่กำหนดและวัดได้ การมอบหมายงานให้บุคคลภายนอกรับผิดชอบดูแลแทนในงานธุรกิจ มีมานานตั้งแต่ในอดีตเช่น บริษัทผู้ผลิตหลายรายได้รับจ้างผลิตสินค้าหรือ ชิ้นส่วนย่อยส่งบริษัทใหญ่ประกอบ, บริษัทขนาดใหญ่จำนวนมากได้ทำการจ้างคนภายนอกดำเนินการกิจกรรมแทนเช่น การจ้างผลิตสินค้า จ้างผลิตส่วนประกอบ การจ้างบำรุงรักษาด้านไอที การจ้างดูแลด้านทำความสะอาด ฯลฯ เหตุผลที่ควรมอบหมายงานให้บุคคลภายนอกรับผิดชอบดูแลแทน
- เพื่อลดต้นทุน
- มุ่งเน้นที่ความสามารถหลักขององค์กร
- ปรับปรุงคุณภาพการทำงานให้ง่ายขึ้น
- เพิ่มความเร็วในการแข่งขันในตลาด
- เกิดนวัตกรรมที่รวดเร็วยิ่งขึ้น
- รักษาต้นทุนให้มีความคงที่
กระบวนการ Outsource เพื่อให้บริษัทไปมุ่งเน้นในกิจกรรมหลักหรือกิจกรรมงานที่มีความสำคัญ โดยมอบหมายงานบางส่วนให้บุคคลภายนอกรับผิดชอบดูแลแทนในกิจกรรมที่ดำเนินการแทนได้ โดยไม่มีผลกระทบกับองค์กร อาจพิจารณาจาก กิจกรรมหลัก และกิจกรรมงานที่มีความสำคัญ แบ่งออกได้เป็น
- กิจกรรมหลัก คือ กิจกรรมการทำงานที่จำเป็นในการดำรงอยู่ของบริษัท เช่น การผลิตสินค้าหลัก การออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิตเฉพาะ การสร้างแบรนด์ เป็นต้น
- กิจกรรมงานที่มีความสำคัญ คือ งานที่มีความสำคัญอาจมีผลกระทบต่อการทำงานองค์กร เช่น จัดหาวัตถุดิบเพื่อการผลิต การดูแลลูกค้า เป็นต้น
ทางธุรกิจ สามารถแบ่งกิจกรรมที่จะดำเนินการว่าควรที่จะดำเนินการเองหรือให้ outsource ทำ โดยอาจแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ตามความสัมพันธ์ของกิจกรรม ต่อไปนี้
1. กิจกรรมหลัก (Core) และมีความสำคัญ (Critical) เช่น
- Product design
- Final manufacturing
- Main assembly
- Branding
2. ไม่ใช่กิจกรรมหลัก (Non-Core) แต่มีความสำคัญ (Critical) เช่น
- Customer care
- HR related administration
- Medical transcription
3. กิจกรรมหลัก (Core) และไม่มีความสำคัญ (Non-Critical) เช่น
- Marketing of credit cards
- Transaction processing
- Accounts, receivable management
4. กิจกรรมหลัก (Non-Core) และไม่มีความสำคัญ (Non-Critical) เช่น
- Security
- Cafeteria
- Housekeeping
- Helper/peon service
ประโยชน์ ของการมอบหมายงานให้บุคคลภายนอกรับผิดชอบดูแลแทน
- ช่วยให้บริษัทสามารถมุ่งเป้าในงานที่สนใจได้ดี โดยส่งออกกระบวนการที่ไม่ใช่งานหลักให้หน่วยงานภายนอก Outsource ช่วยดูแลและ ช่วยให้บริษัทมุ่งความสนใจไปที่ธุรกิจหลัก
- แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด เนื่องจาก Outsource มีความเชี่ยวชาญในกระบวนการเฉพาะที่พวกเขารับผิดชอบ เป็นผู้เชี่ยวชาญและนำแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อปรับปรุงคุณภาพ
- การลดต้นทุน Outsource ดำเนินการข้อมูลขนาดใหญ่จากสถานที่ต่างๆ
- ควบคุมราคาค่าใช้จ่ายบางส่วนที่ไม่สำคัญ (Fixed to Variable Cost) เพราะผู้ให้บริการ
การมอบหมายงานให้บุคคลภายนอกรับผิดชอบดูแลแทน อาจแบ่งงานออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) เป็นกิจกรรมด้านโลจิสติกส์เป็นส่วนใหญ่เช่น การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง การขนส่ง เป็นต้น องค์กรมักจ้างบริษัทผู้เชี่ยวชาญเข้ามารับช่วง Logistics ในลักษณะการจ้างช่วง หรือ Sub-Contract
2. การปฏิบัติการ (Operations) ส่วนมากจะเป็นการวิจัยและพัฒนา การผลิต การตรวจสอบคุณภาพ แต่ในองค์กรใหญ่มักไม่ค่อยมีบริษัทใดทำ หากจะทำก็จะเป็นลักษณะของการจ้างที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยในองค์กรมากกว่าการจ้าง Outsource เนื่องจากข้อมูลส่วนใหญ่เป็นความลับขององค์กร
3. การบริหารงานสนับสนุนภายในองค์กร (Business Administration) เป็นงานสนับสนุนงานหลักในองค์กร เช่น งานการเงินและบัญชี การพัฒนาบุคลากร การเบิกจ่ายต่าง ๆ เป็นส่วนที่มีการจ้างงาน Outsource มากที่สุดในบรรดา 4 ประเภท และมีการใช้ทั้งภายใน และลักษณะบริษัทข้ามชาติ
4. การบริการลูกค้า (Sales, Marketing and Customer Care) ในด้านนี้เป็นการดูแลในเรื่อง การขาย ลูกค้าสัมพันธ์ การตลาด การวิจัยการตลาด โดยส่วนมาก Outsource ประเภทนี้มักจะอยู่ในรูปแบบการบริหารในระบบ Call Center และ Contact Center สาเหตุของการ Outsourcing ก็เพื่อลดค่าใช้จ่ายจากการโอนงานให้ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าให้ดำเนินการแทน ทำให้สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไปพัฒนากิจกรรมหลักขององค์กร ไม่ต้องลงทุนในการจ้างบุคลากร ไม่ต้องฝึกอบรมหรือจัดหาอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการปฏิบัติงานสนับสนุนต่างๆ (Back Office Operations)
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward