iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
sc ปัจจัยที่ทำให้มีความจำเป็นต้องมีสินค้าคงคลัง
รูประบบการดำเนินงานในคลังสินค้า (Warehouse Activities)
ปัจจัยที่ทำให้มีความจำเป็นต้องมีสินค้าคงคลัง
1. การประหยัดจากขาด (Achieving Economies of Scale) ใช้ประโยชน์จากการสั่งซื้อในปริมาณมาก
2. การจัดการความสมดุลของซัพพลายเออร์ (Suppliers Balancing) โดยการกระจายคำสั่งซื้อให้กับซัพพลายเออร์หลายราย เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น
3. สินค้าตามฤดูกาล (Seasonal Stock) โดยเฉพาะสินค้าการเกษตรและประมง จำเป็นต้องเก็บสินค้าระหว่างฤดูกาลเพื่อรองรับการผลิต
4. สินค้าที่เก็บเพื่อการเก็งกำไร (Speculative Stock) โดยคาดการณ์ระดับราคาสินค้าที่อาจจะสูงขึ้นในอนาคต อาทิ ยางพารา หรือสารเคมี เป็นต้น
5. สินค้าส่วนเกินเผื่อขาด (Buffer Stock) เพื่อป้องกันวัตถุดิบไม่พอกับการผลิต
6. การเก็บสินค้าเพื่อให้การผลิตไม่หยุดชะงัก (Stock for Stable Production) เพื่อให้กระบวนการผลิตไม่ชะงักเนื่องจากขาดวัตถุดิบ
การจัดการเพื่อลดปริมาณสินค้าคงคลัง
การประยุกต์ใช้ซัพพลายเชนในธุรกิจจำเป็นต้องกำหนดระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสมประเด็นสำคัญก็คือ จำนวนเท่าใดจึงจะเหมาะสม เป็นประเด็นสำคัญที่ผู้บริหารจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่าจะสั่งสินค้ามาเป็นจำนวนเท่าไหร่ เมื่อไหร่ เพื่อให้เพียงพอกับการความต้องการของฝ่ายผลิต และสินค้าเหล่านั้นจะต้องไม่มีปริมาณที่มากเกินไป อันจะส่งผลทำให้เกิดต้นทุนที่สูงขึ้นจากการสต็อกสินค้าจำนวนมาก และทำให้เกิดความยุ่งยากในการจัดเก็บของฝ่ายคลังสินค้า ดังนั้นจึงควรมีการจัดการวัสดุเพื่อทำให้มีวัสดุและสินค้ารองรับงานผลิตและการตลาด ทั้งการบริการลูกค้าที่ดีและมีต้นทุนสินค้าคงคลังรวมที่อยู่ระดับต่ำ สามารถทำได้หลายวิธีการขึ้นอยู่กับลักษณะของความต้องการสินค้า ทรัพยากรขององค์กร ความพร้อมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดการซัพพลายเชน ตลอดจนลักษณะของกระบวนการผลิตสินค้าประกอบเข้าด้วยกัน นอกจากนั้นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและคอมพิวเตอร์ยังช่วยให้การสร้างระบบจัดการสินค้าคงคลังมีความหลากหลายมากขึ้น ทำให้ผู้บริหารสามารถเลือกใช้ระบบที่เหมาะสมกับกิจการของตนได้มาขึ้นด้วยเช่นกัน ระบบการจัดการสินค้าคงคลังที่เป็นที่นิยมใช้กันแพร่หลายในธุรกิจอุตสาหกรรม มีดังต่อไปนี้
1. ระบบการขาดสั่งซื้อที่ประหยัด (EOQ)
2. ระบบการวางแผนความต้องการวัสดุ (MRP)
3. ระบบสินค้าคงคลังของการผลิตแบบทันเวลาพอดี (JIT)
--------------------------------------------------------
ผู้จัดการด้านชัพพลายเชน (Supply Chain Manager) เทียบกับ Conductor ในวงออเคสตร้า
ผู้จัดการด้านชัพพลายเชน (Supply Chain Manager) เทียบกับ Conductor ในวงออเคสตร้า
ผู้จัดการด้านชัพพลายเชน (Supply Chain Manager) หมายถึง ผู้มีหน้าที่บริหารและจัดการในส่วนของงานด้านชัพพลายเชน ซึ่งมีกระบวนการที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำได้แก่ ผู้ผลิต (ผู้ให้บริการ) ผู้ซื้อ (ผู้รับบริการ) และผู้ขายวัตถุดิบปัจจัยในการผลิต (ผู้ขาย) เพื่อช่วยลดต้นทุนในการผลิต อันนำไปสู่การเพิ่มผลกำไรของกิจการ โดยกระบวนการชัพพลายเชนเริ่มตั้งแต่ กระบวนการวางแผน (Plan) กระบวนการจัดซื้อ (Procurement) การผลิต (Manufacturing) การจัดเก็บ (Storage) การจัดจำหน่าย (Distribution) ตลอดจนการขนส่ง (Transportation) การรับคืน (Return) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ซึ่งมีผลสำคัญต่อห่วงโซ่อุปทานการผลิตการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
บทบาท ผู้จัดการด้านชัพพลายเชน (Supply Chain Manager)
1. จัดการวางแผนยกระดับความสามารถในการบริหารในชัพพลายเชนเช่น การลดสินค้าคงคลัง การเพิ่มผลิตภาพ หรือการลดความสูญเปล่าอย่างไร
2. จัดการส่งเสริมเพื่อสร้างความเติบโตของธุรกิจเช่น การเพิ่มโอกาสในการออกสินค้าใหม่เร็วขึ้น การเปิดตลาดใหม่ๆการสร้างความพอใจแก่ลูกค้ามากขึ้นอย่างไร
3. จัดการส่งเสริมให้มีความยั่งยืนของธุรกิจเช่น การลดต้นทุนธุรกิจ การบริหารเงินทุนหมุนเวียน ฯลฯ อย่างไร
เทียบผู้จัดการด้านชัพพลายเชน (Supply Chain Manager) กับคอนดัชเตอร์ในวงออเคสตร้า จะช่วยให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่าผู้จัดการด้านชัพพลายเชน จะต้องเป็นผู้ที่ส่งสัญญานและประสานการทำงานร่วมกันในองค์กร ให้เกิดเป็นรูปแบบที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกันไปได้อย่างสมบูรณ์ โดยแบ่งการมองออกเป็น
- ผู้นำ หากเทียบผู้จัดการด้านชัพพลายเชน (Supply Chain Manager) กับคอนดัชเตอร์ มีหน้าส่งสัญญานการทำหน้าที่ให้แก่กลุ่มเครื่องดนตรีแต่ละกลุ่มจะเล่นตามความเหมาะสม เพื่อให้ได้เสียงดนตรีที่ไพเราะ ผู้จัดการด้านชัพพลายเชน ก็จะประสานให้แต่ละกลุ่มงานในองค์กรดำเนินการงานประสานกันได้อย่างราบรื่นมีประสิทธิภาพดีที่สุด ในความเหมาะสมกลมกลืนกันตลอดโซ่อุปทาน
- หน้าที่ กลุ่มงานต่างๆ ในชัพพลายเชน เทียบได้กับกลุ่มเครื่องดนตรีที่มีการจัดรวมกันไว้ในแต่ละจุด ดนตรีแต่ละประเภทจะต้องเล่นตามสัญญษนที่คอนดัชเตอร์ ส่งสัญญานให้เล่น ดังเบา ช้าเร็ว หรือตามจังหวะเวลา ในส่วนงานชัพพลายเชนจะมีกลุ่มงานในชัพพลายเชนที่แยกการทำงานตามเป้าหมายในงานของตนเช่น ฝ่ายแผน ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่ง ฯลฯ แต่ละฝ่ายจะมีความสามารถและเป้าหมายในการทำงานที่แตกต่างกัน ซึ่งในส่วนนี้ผู้จัดดการชัพพลายเชนจะเป็นผู้ส่งสัญญานให้แต่ละหน่วยงานได้ทำทั้งเรื่อง จังหวะการทำ ระยะเวลา จำนวนมากน้อย หากแต่ละกลุ่มมีการจัดการที่ดีจะช่วยให้เกิดความสามารถขององค์กรที่ดี
- สัญญานที่ส่ง ในวงออเคสต้าผู้เล่นเครื่อวคนตรีแต่ละกลุ่มจะได้รับสัญญานจากคอนดัชเตอร์ โดยการมองสัญญานไม้ในมือคอนดัชเตอร์ ที่ส่งสัญญานให้ผู้เลนดนตรีแต่ละชนิดได้เล่นเพื่อให้เกิดการประสานเสียงดนตรีให้เกิดความไพเราะ ผู้จัดการชัพพลายเชนก็จะใช้การส่งข่าวสารถึงแต่ละฝ่ายให้มีการทำงานประสานร่วมกัน ปัจจุบันการส่งขาวสารได้มีการส่งผ่านข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วย ซึ่งทำให้สามารถเชื่อมโยงถึงผู้ทำงานในแต่ละกลุ่มงานได้รวดเร็วและถูกต้อง เกิดการทำงานร่าวกันได้ดีที่สุด
----------------------------------------
การประเมินชี้วัดประสิทธิภาพในงานด้านโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม (Industrial Logistics Performance Index; ILPI) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการประเมิน ประสิทธิภาพขององค์กรในงานภาคอุตสาหกรรม ให้สามารถรู้แนวคิดและหลักวิธีการประเมินตัวเอง เพื่อใช้ในการบริหารจัดการภายในองค์กร โดยนำประเมินใน 3 มิติได้แก่ ด้านต้นทุน เวลา และความพึงพอใจ โดยคนส่วนใหญ่มักจะกล่าวว่าทำได้ยาก หรือไม่สามารถทำได้จริง จะพบว่าหลายหน่วยงานบางครั้งอาจทำได้เพียงมิติด้านใดด้านหนึ่ง หรือเพียงสองมิติก็นับว่ายากแล้ว แต่หากสามารถทำได้จริง จะถือได้ว่าเป็นตัวอย่างที่ดีหรือมีความสามารถในงานด้านบริหารชัพพลายเชนที่แท้จริง
ผู้นำในการบริหารและจัดการด้านชัพพลายเชน (Best SCM) คือ หน่วยงานที่สามารถบริห
-----------------------------------------------
ภาระกิจงานของ ฝ่ายจัดซื้อ (Procurement mission)
ฝ่ายจัดซื้อ (Procurement) จัดว่าเป็นหน่วยงานหลักที่สำคัญทั้งในงานธุรกิจการผลิตและบริการ เพราะหากมีการบริหารงานฝ่ายจัดซื้อให้มีประสิทธิภาพดี จะทำให้บริษัทเกิดความสามารถทางการแข่งขันในทางธุรกิจได้ ในเรื่องของการลดต้นทุน การสร้างความแตกต่าง และการตอบสนองความต้องการลูกค้าหรือผู้บริโภค ดังนั้นในงานโลจิสติกส์และชัพพลายเชนจึงมองงานจัดซื้อว่ามีความสำคัญ โดยจะได้รับการจัดแบ่งให้เป็น 1 ใน 6 กลุ่มงานหลักในระบบ SCOR (คลิกดูข้อมูล SCOR เพิ่มเติม) เป็นส่วนหนึ่งภายใต้กลุ่มของทรัพยากร (Source)
จากตัวอย่างจะเห็นว่าในสถาณการณ์ธุรกิจเดิม ค่าใช้จ่ายด้านอื่นอาจลดได้ยากเพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกเช่น
- ผลกำไร (Propit) กำไรเกิดจากยอดขายสินค้ากับผลกำไรต่อสินค้า ซึ่งที่ยากจะเพิ่มยอดขายหรือราคาสินค้า ในยุคที่มีการแข่งขันสูง และมีสินค้าคู่แข่งที่มาก
- ต้นทุนค่าใช้จ่ายอื่นๆ (Cost ETC) ที่ส่วนใหญ่จะเป็นการจัดการที่ยากเพราะมีปัจจัยภายนอกที่กำหนดไว้เช่น ค่าแรงคนงาน ค่าบริหารจัดการ ค่าขนส่ง เป็นต้น
- ต้นทุนวัตถุในการผลิต (Input Supply) ในส่วนนี้จะทำได้ง่ายหากเริ่มจากการวางแผนจัดซื้อที่ดี เพียงสามารถปรับลดราคามูลค่าในการจัดซื้อลงได้ ก็สามารถเพิ่มยอดกำไรให้แก่องค์กรได้ในทันที
จากความสัมพันธ์ที่กล่าวมา ผู้บริหารควรที่จะต้องมีการดูแลให้ความสำคัญในงานจัดซื้อให้ดี เพราะสามารถช่วยในการทำกำไรให้แก้องค์กรได้ นอกจากนั้นการจัดซื้อช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินการต่อเนื่องได้สมบูรณ์ เพราะหากซัพพลายเออร์ที่มีปัญหาเพียงรายเดียว อาจสร้างปัญหากระทบทั้งระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนทั้งองค์กรได้ แนวคิดการดำเนินการของฝ่ายจัดซื้อในปัจจุบันควรมี10 เรื่องดังนี้
1. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องสามารถประสานสัมพันธ์ทั้งภายใน (หน่วยงานแผนกในองค์กร) และภายนอกบริษัท (คู่ค้า/ลูกค้า) เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของฝ่ายจัดซื้อจัดหาที่ดี พยายามให้เกิดขึ้นอย่างสมดุลและสามารถประสานงานได้ทุกส่วน ปรับลดบทบาทมาเป็นที่ปรึกษาและช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดหา มากกว่าการเป็นผู้ควบคุมกฎกติกาหรือบังคับใช้การจัดหาทรัพยากร
2. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องหาวิธีในการลดต้นทุนค่าใช้จ่าย โดยการเพิ่มประสิทธิภาพในด้านวัตถุดิบหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีในราคาที่เหมาะสม ไม่เน้นใช้วิธีกดลดต้นทุนจากซัพพลายเออร์อย่างเดียว ควรคำนึงถึงในด้านของซัพพลายเออร์โดยใช้ประสิทธิภาพในการจัดส่งมาประกอบเพิ่มเติม ไม่ควรเน้นการบีบลดราคากับชัพพลายเออร์จนเกิดความไม่เป็นธรรม
3. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องมีมุมมองและวิธีคิดในด้านประสิทธิภาพชัพพลายเออร์มากขึ้น โดยอาจใช้การประเมินในเรื่อง ต้องทำได้ดีกว่า (Better) ต้นทุนถูกกว่า (Cheaper) ซื้อได้เร็วกว่า (Faster) และมีความเชื่อถือไว้วางใจได้มากกว่า (More Reliability)
4. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องทราบถึงปัญหาจากพฤติกรรมการสั่งซื้อของตนที่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเช่น การสั่งซื้อแบบเร่งด่วน การไม่มีแผนงานระยะยาวในการสั่งซื้อ หรือการปรับเปลี่ยนเวลาในการจัดส่ง ซึ่งไม่ว่าจะเป็นให้ส่ง เร็วหรือช้าล้วนแล้วแต่เป็นต้นทุนทั้งสิ้น ซึ่งเมื่อซัพพลายเออร์เกิดค่าใช้จ่ายสุดท้ายค่าใช้จ่ายเหล่านั้นก็จะถูกผลักมาที่ผู้ซื้อ
4. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องกำหนดวิธีเลือกซัพพลายเออร์ อาจใช้หลัก Supply Positioning Model ซึ่งเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์แยกแยะสินค้าและบริการ เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ในการจัดซื้อเพื่อใช้วางแผนการทำงานทั้งภายในบริษัทและในซัพพลายเชนให้มีความต่อเนื่อง หาดูว่าการดำเนินงานของเราเอง เป็นต้นเหตุที่ทำให้ซัพพลายเออร์มีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหรือไม่
5. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องพิจารณาตนเองให้ได้ว่า ในมุมมองของซัพพลายเออร์มีมุมมองต่อเราอย่างไรอาจใช้หลัก Supplier Preferencing Model มามองกลับหาความสัมพันธ์ที่มีซึ่งทำให้ฝ่ายจัดซื้อรู้ว่าซัพพลายเออร์คิดหรือมองฝ่ายจัดซื้ออย่างไรเช่น เราเป็นบริษัทที่น่าสนใจหรือน่าคบเพียงไหนอย่างไร ควรพิจารณาในหลายด้านไม่ว่าจะเป็น ชื่อเสียง ขนาดของบริษัท ยอดการสั่งซื้อ ความถี่ในการติดต่อสม่ำเสมอเพียงใด การเงินมีระบบการชำระเงินอย่างไร อัธยาศัยไมตรีที่มีในติดต่อ เป็นต้น
6. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องนำแนวคิดทางการตลาดมาใช้ช่วยให้มากขึ้น เพื่อให้ฝ่ายจัดซื้อสามารถพิจารณาและบริหารจัดการทางการตลาดได้ดีกว่าคู่แข่งขัน อาจใช้เครื่องมือ Market Management Matrix ที่ช่วยจัดซื้อรู้ว่าควรต้องทำอะไรอย่างไรกับใครเช่น ต้องสร้างพันธมิตรธุรกิจกับซัพพลายเออร์รายใดในระดับใด จะต้องเพิ่มธุรกิจให้ชัพพลายเออรรายใดให้มีความสามารถอยู่ได้เพื่อเป็นทางเลือก ควรต้องเพิ่มความระมัดระวังในการสั่งสินค้าตัวใด ควรต้องเปลี่ยนซัพพลายเออร์รายใดเมื่อใด ควรประเมินประสิทธิภาพชัพพลายเออร์เพื่อจัดแบ่งกลุ่ม และหาวิธีจัดการซัพพลายเออร์แต่ละรายให้เหมาะสม
7. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องเข้าไปสังเกตการณ์และการให้ความช่วยเหลือซัพพลายเออร์ในบางเรื่องเช่น การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน ควรอธิบายให้ซัพพลายเออร์เข้าใจถึงปัญหาและความจำเป็นที่จะต้องมีการทำราคาให้ต่ำลง (Cost Down) โดยเข้าใจในหลักที่ว่าหากมีคู่แข่งขันที่สามารถทำต้นทุนได้ถูกกว่าซัพพลายเออร์เดิม ทางฝ่ายจัดซื้อบริษัทก็จะต้องปรับการสั่งซื้อจากแหล่งที่มีราคาถูกกว่า เพื่อให้ต้นทุนการผลิตของบริษัทฝ่ายจัดซื้อมีมูลค่าที่ต่ำและสามารถแข่งขันได้ในตลาดต่อไป อาจมีการเข้าไปสังเกตการณ์บริษัทซัพพลายเออร์ วิเคราะห์กระบวนการไปถึงวิธีการผลิต การใช้เทคโนโลยี วิธีการทำงาน เป็นต้น เพื่อช่วยหาวิธีที่จะลดต้นทุน บางครั้งในฐานะคนนอกเมื่อเข้าไปดูก็จะมองเห็นปัญหาของต้นทุนที่เกิดขึ้นดีกว่าฝ่ายที่ทำมาต่อเนื่องจนคุ้นชิน และทำการให้ข้อแนะนำและเสนอแนวทางปรับปรุงลดต้นทุนต่อไป
8. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องเริ่มนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) เข้ามาประยุกต์ใช้ในงานกระบวนการจัดซื้อเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีขึ้น การใช้ระบบดังกล่าวเช่น ระบบบริหารความต้องการทรัพยากร (MRP), ระบบบริหารความต้องการในการผลิต (MRP II) หรือระบบบริหารทรัพยากรในองค์กร (ERP) เป็นต้น เพื่อจะทำให้องค์กรมีข้อมูลในการประมวลผลที่ถูกต้อง รวดเร็ว และความน่าเชื่อถือ เพื่อให้การติดตามความต้องการขององค์กรทั้งในเรื่อง วัตถุดิบ เครื่องมือ อุปกรณ์ วัตถุสำเร็จรูป รวมถึงเรื่องการเงิน โดยนำข้อมูลที่เก็บไว้มาทำการวางกลยุทธ์ในการจัดซื้อในทุกระดับเช่น ระดับปฏิบัติการ ระดับบริหาร และระดับองค์กรธุรกิจ ใช้วิเคราะห์กระบวนการทำงานและประเมินผลในการทำงาน ใช้ประกอบการตัดสินใจปรับปรุงการทำงานในครั้งต่อไป
9. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องมีการทำวิจัยวัดประสิทธิภาพการจัดซื้ออย่างต่อเนื่อง ภายหลังจากที่มีการทำงานจัดซื้อไปสักระยะหนึ่ง แนวคิดและรูปแบบระบบการทำงานอาจไม่สามารถสนับสนุนหรือสอดคล้องกับสภาพปัจจุบันหรือสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นควรต้องมีการกำหนดแผนวิจัยในเรื่องการจัดซื้อเพื่อให้สามารถสะท้อนการทำงานในองค์กร ให้เห็นถึงสภาพปัญหาการจัดซื้อเพื่อสร้างแบบจำลองในการจัดซื้อที่เหมาะสมกับการทำงานต่อไป
10. ฝ่ายจัดซื้อ ต้องมีนโยบายที่เกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันกระแสสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่มักถูกนำมากล่าวถึง ดังนั้นฝ่ายจัดซื้อควรต้องนำเรื่องนี้มาประกอบการพิจารณา ควรให้ความสำคัญกับซัพพลายเออร์ที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility: CSR) ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ อาจดูจากมาตรฐานที่มีประกอบเช่น ISO เป็นต้น ซึ่งการเลือกซัพพลายเออร์ที่มี CSR ดี ก้จะเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมสร้างภาพต่อเนื่องที่ดีให้กับสินค้าและบริการของเรา
จะเห็นว่าจากการนำเอาภาระกิจงานทั้ง 10 เรื่อง จะช่วยให้เราสามารถทำการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรที่ดี มีความสามารถในการสร้างประสิทธิภาพในการแข่งขันขององค์กรได้
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward