iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
องค์ประกอบหลักในงานโลจิสติกส์ (Logistics Function)
โลจิสติกส์ (Logistics) คนทั่วไปส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าคือ การขนส่ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว กิจกรรมโลจิสติกส์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญครอบคลุมในหลายด้าน เพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของให้สามารถตอบสนองความต้องการในโซ่อุปทานชัพพลายเชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด องค์ประกอบที่สำคัญได้แก่
1. การบริหารจัดการสารสนเทศ (Information Management) เป็นกิจกรรมที่จะต้องพยายามดำเนินการให้รวดเร็วที่สุดเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ในปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่มักนำระบบคอมพิวเตอร์และการจัดการธุรกิจเชิงอิเล็คทรอนิคส์เข้ามาช่วย เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ส่วนสารสนเทศถือเป็นหัวใจหลักในงานโลจิสติกส์ เพื่อควบคุมกระบวนการทั้งหมด ตั้งแต่ การวางแผนคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า (Demand Forecasting ) คาดการณ์ความต้องการในตัวสินค้าหรือการบริการลูกค้า และเพื่อให้บริการลูกค้า (Customer Service) เป็นกิจกรรมที่องค์กรพยายามตอบสนองความต้องการของลูกค้า ซึ่งจะทำได้ดีเพียงใดต้องขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของสารสนเทศที่มี
2. การบริหารการจัดซื้อ (Procurement Management) เน้นการบริหารในการจัดซื้อ จัดหาวัตถุดิบ และบริการทั้งในส่วนของการเลือกผู้จำหน่ายวัตถุดิบ กำหนดช่วงเวลาและปริมาณในการสั่งซื้อ และสร้างความสัมพันธ์กับผู้จำหน่ายวัตถุดิบ
3. การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) รวมถึงการจัดการคลังสินค้า เนื่องจากปริมาณสินค้าคงคลังจะเป็นต้นทุนหลักที่ส่งผลต่อองค์กร การมีปริมาณสินค้าคงคลังที่มากจะส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูง ทั้งเสียโอกาสด้านการนำเงินทุนไปหมุนเวียน เสียค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้า
4. การบริหารการขนส่ง (Transportation Management) รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสินค้า โดยจะต้องจัดส่งสินค้าถูกต้องครบจำนวนในสภาพที่สมบูรณ์ และตรงเวลาที่กำหนด
------------------------------------------------------------------
VDO "พีรมิดสมรรถนะจากก้นบึ้งของ SCOR model สู่การควบคุมจัดการทั้ง Supply Chain"
วีดีโอเรื่อง "พีรมิดสมรรถนะ : จากก้นบึ้งของ SCOR model สู่การควบคุมจัดการทั้ง Supply Chain" โดย นายมงคล พัชรดำรงกุล ผู้จัดการ โครงการเชื่อมโยงโซ่อุปทานของกลุ่มอุตสาหกรรม SMEs และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการซัพพลายเชน
จากกิจกรรมสัมมนา Logistics Showcase 2560 ครั้งที่ 8 "Logistics Strategy และ SCOR Model เพื่อการจัดการซัพพลายเชน" วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม เวลา 08.30-12.30 น. ณ ห้องประชุมทองคำ ชั้น 1 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
VDO พีรมิดสมรรถนะจากก้นบึ้งของ SCOR model สู่การควบคุมจัดการทั้ง Supply Chain บรรยายโดย มงคล พัชรดำรงกุล 1/2
VDO พีรมิดสมรรถนะจากก้นบึ้งของ SCOR model สู่การควบคุมจัดการทั้ง Supply Chain บรรยายโดย มงคล พัชรดำรงกุล 2/2
ที่มา
- สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม www.logistics.go.th
? ติดตามข้อมูลข่าวสารได้จากช่องทางสื่อสาร iOK2u ได้ที่
scor ระดับของ SCOR Model 4 Level
ระดับของ SCOR Model (SCOR Model 4 Level) เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกันในการปฏิบัติงาน ซึ่งแบบจําลอง SCOR ได้กําหนดขั้นตอนการพัฒนาเป็น 4 ระดับ การดําเนินการพัฒนาดังกล่าวแตละองค์ประกอบจะถูกกําหนดกระบวนการและการจัดการ ที่ทําให้การปฏิบัติงานของธุรกิจสามารถบรรลุเป้าหมายที่กําหนดไว้
SCOR ระดับที่ 1 การวิเคราะห์การแข่งขันในธุรกิจที่ดําเนินอยู่ โดยวิเคราะห์ไปจนถึงองค์ประกอบที่สําคัญทั้งภายในและภายนอกองค์กร ใช้กําหนดความสามารถและความได้เปรียบในการแข่งขันที่ควรมีสําหรับธุรกิจ เช่น ความยืดหยุ่นและความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า, ความรวดเร็วในการจัดส่ง, การบริการลูกค้า, ต้นทุนที่ต่่ำ ฯลฯ อันเป็นผลจากการดําเนินงานในส่วนของการวางแผน, การจัดหาแหล่งวัตถุดิบ, การผลิตและการจัดที่เหมาะสมกับธุรกิจและอุตสาหกรรมนั้น
SCOR ระดับที่ 2 การกําหนดกระบวนการหลักของธุรกิจ หลังจากที่ได้กําหนดกระบวนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม และขอบข่ายการจัดการที่เกี่ยวข้องแล้วนํามาแปรเป็นกระบวนการปฏิบัติงานที่เหมาะสม และสอดคล้องกับกลยุทธ์ที่ได้กําหนดไว้โดยกําหนดเป็นโครงร่างของโซ่อุปทานของธุรกิจ การกําหนดโครงร่างของโซ่อุปทานนี้จะครอบคลุมการพิจารณาการกําหนดโครงร่างของกระบวนการปฏิบัติงานในส่วนการวางแผน การจัดหาแหล่งวัตถุดิบ, การผลิตและการจัดส่ง ที่มีขอบข่ายการปฏิบัติงานทั้งในส่วนการปฏิบัติงานภายในและระหว่างธุรกิจ
SCOR ระดับที่ 3 การกําหนดรายละเอียดของกระบวนการ เป็นการกําหนดรายละเอียดในแต่ละส่วน ของกระบวนการภายในและระหว่างธุรกิจที่ได้กําหนดไว้ในระดับที่ 2 การกําหนดรายละเอียดของกระบวนการนี้จะอาศัยข้อสรุปแนวทางจากการวิเคราะห์ในระดับที่ 1 และ 2 มาเป็นแนวทางในการกําหนดรายละเอียดอาจต้องอาศัยความร่วมมือในการกําหนดจากทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้จัดส่งวัตถุดิบ, ผู้รับผิดชอบการจัดส่ง, ผู้รับผิดชอบการกระจายสินค้าและลูกค้า เพื่อให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกําหนดแนวทางการปฏิบัติที่เป็นไปได้และสร้างความเข้าใจที่สอดคล้องกันในการนําไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผล
SCOR ระดับที่ 4 การนําไปปฏิบัติ เป็นการนําสิ่งที่ได้กําหนดไว้ไปปฏิบัติให้เกิดผลตามที่กําหนดไว้โดยมีการกําหนดแบบแผนการปฏิบัติงานในรูปแบบที่เหมาะ กับกระบวนการที่ได้กําหนดไว้ในโครงร่างโซ่อุปทานของธุรกิจ
----------------------------------------
SCOR Model ระดับที่ 1 ตัววัดประสิทธิภาพ (Performance Measures)
SCOR ระดับที่ 1 ชนิดของกระบวนการ การกำหนดขอบเขตการดำเนินงาน
กลุ่มที่ 1 ความน่าเชื่อถือของห่วงโซ่อ
กลุ่มที่ 2 การตอบสนองของโซ่อุปทาน (Supply Chain Responsiveness)
กลุ่มที่ 3 ความยืดหยุ่นโซ่อุปทาน (Supply Chain Flexibility)
กลุ่มที่ 4 ต้นทุนโซ่อุปทาน (Supply Chain Costs) ประกอบด้วย
กลุ่มที่ 5 ความมีประสิทธิภาพการจัดการ
-----------------------------------------------
scor การผลิต (Make)
การผลิต (Make) คือ การสร้างผลผลิต์และการให้บร
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward