------------------------------------------
iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
การพัฒนาโซ่อุปทานสำหรับ SMEs ผ่านวิธีคิดแบบ SCOR Model (SME Supply Chain Management via SCOR Model)
เพราะ SMEs ไทย คือ เครื่องจักรและฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เจริญก้าวหน้า SMEร จำเป็นต้องเรียนรู้ปรับตัว เพื่อให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้สภาพทางการแข่งขัน และความต้องการของลูกค้าที่มีความผันแปร ตลอดเวลา ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีเครื่องมือในการดำเนินงานด้านต่างๆ ของโลกได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ยุค Digital อย่างเต็มรูปแบบ
หลาย SMEs ไทยเริ่มซึมซับถึงความจำเป็นที่ต้องบริหาร และควบคุมกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันตลอดโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain ทั้งผู้ขาย ผู้ผลิต ผู้ส่งมอบ ลูกค้า โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการสร้างประสิทธิภาพและความสมดุลร่วมกัน (Optimization) ตลอดโซ่อุปทาน
ตัวแบบสำคัญที่ใช้ในการพัฒนาการจัดการโซ่อุปทานที่สากลนิยมนำมาประยุกต์ใช้ และ SMEs ไทยจำเป็นต้องเรียนรู้ก็คือ SCOR Model ซึ่งให้ความสำคัญกับกระบนสร้างความเป็นเลิศอย่างเป็นระบบทั้ง 6 กระบวนหลักภายในโซ่อุปทาน คือ Plan Source Make Deliver Return และ Enable โดยมีเป้าหมายให้เกิดประสิทธิผล 5 ด้าน คือ Reliability, Responsiveness, Agility, Cost และAsset Management Efficiency
ส่วนแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการจัดการโซ่อุปทานอย่างไร ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับ SMEs นั้น ภายใต้โครงการ "สร้างความร่วมมือและการเชื่อมโยงกลุ่มอุตสาหกรรม SMEs" โดยการสนับสนุนงบประมาณจากกองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้กำหนดกรอบแนวคิดและวิธีการโดยใช้วิธีคิดตามแบบ SCOR Model มาเป็นแนวทางไว้ดังภาพ
โดยสามารถแบ่งขั้นตอนออกเป็น 4 ส่วน คือ
1. การวิเคราะห์และจัดทำกลยุทธ์ คือ การดำเนินการวิเคราะห์และกำหนดว่ากลยุทธ์ใดสำคัญ โดยจะพิจารณาจากเป้าหมาย 5 ด้านหลัก โดยกลยุทธ์ 3 ด้านแรกมุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อลูกค้า คือ Reliability, Responsiveness และ Agility ส่วนกลยุทธ์ที่ 4 และ 5 เป็นกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นด้านประสิทธิภาพการดำเนินการขององค์กร
2. การคัดเลือกผลิตภัณฑ์แศึกษาทำความเข้าใจโครงสร้างโซ่อุปทาน คือ การศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อเชื่อมโยงให้เห็นถึงกระบวนการ ผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับโซ่อุปทานของสินค้า ที่ได้รับการคัดเลือกมาพัฒนาโซ่อุปทาน โดยจะมีกิจกรรมสำคัญๆ 4 อย่าง คือ 1) การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ 2) การจัดทำโครงสร้าง Chain 3) การจัดทำแผนภาพทางภูมิศาสตร์ 4) การจัดทำรูปแบบความเชื่อมโยงของแต่ละกระบวนการภายใต้ผลิตภัณฑ์ที่ได้คัดเสือก
3. การวิเคราะห์และประเมินผลกระบวนการ/ขั้นตอนการทำงาน คือ การประยุกต์แนวคิดตัวแบบSCORผ่านกลไกการบริหารจัดการ 4P (Performance Process Practice People) โดยการวิเคราะห์ประสิทธิผลจะนำเป้าหมาย 5 ด้าน (Reliability, Responsiveness, Agility, Cost และ Asset Management Efficiency) กระบวนการ 6 อย่าง (Plan Source Make Deliver Return และ Enable) มาทำการวิเคราะห์ปัญหาและโอกาสพัฒนาปรับปรุงภายใต้โซ่อุปทานของ Product นั้น
4. การดำเนินการพัฒนาปรับปรุง คือ การนำประเด็นการพัฒนาปรับปรุงที่ได้วิเคราะห์ มากำหนดมาตรการ โดยใช้หลักการปฏิบัติ (Practice) มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร (People) เพื่อให้มีศักยภาพในการใช้หลักปฏิบัติ และพัฒนาวิธีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรูปแบบของการปรับปรุงสามารถดำเนินการได้ 4 ลักษณะ คือ
1. การปรับปรุงเฉพาะตัวองค์กร (Company)
2. การปรับปรุงร่วมกันกับผู้ส่งมอบ (Supplier)
3. การปรับปรุงร่วมกันกับลูกค้า (Customer)
4. การปรับปรุงร่วมกันทั้งโซ่อุปทาน (Supply chain)
ที่มา www.dip.go.th
ขั้นตอนการออกแบบและวางแผนสู่การพัฒนา SCOR 4P (SCOR4 P Core Implement)
ขั้นตอนการออกแบบและวางแผนสู่การพัฒนา SCOR 4P (SCOR4 P Core Implement) มี 4 เรื่องที่ดำเนินการคือ
1 การพัฒนาโดยใช้ประสิทธิผล (Performance) มาเป็นตัวชี้วัด เริ่มต้นจากการวัดประสิทธิผลการดำเนินงานของตัวเองในปัจจุบัน (As Is) จากนั้นก็จะหาตัวชี้วัดตลอดโช่อุปทานเพื่อใช้ประเมินและวางแผน เที่ยบว่าจะมีผลการทำงานที่ดีหรือไม่ดี หรือไม่เป็นผลที่น่าพอใจ หาวิธีการในการจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาปรับปรุงเรื่องนั้นให้ดีขึ้น
2 การพัฒนาโดยใช้กระบวนการดำเนินงาน (Process) มากำหนดการทำงานการขับเคลื่อนองค์กร จะมีการศึกษากระบวนการกำหนดขั้นตอนในแต่ละกิจกรรม ในแต่ละ Process โดยใช้ SCOR Framework ที่ดีและมีมาตรฐาน มาเทียบสอบกับงานที่ทำว่ากระบวนการที่ทำงานในแต่ละขั้นตอนนั้นเป็นอย่างไร มี การนำเข้าและส่งออกอะไร มีความสมบูรณ์และเชื่อมโยงกันทุกระดับและทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้องหรือไม่ หาปัญหาที่มีว่าอยูที่จุดใดที่ยังไม่ดีไม่เชื่อมโยง จากนั้นจะนำไปสู่การวางแผนการพัฒนาขั้นตอนงงานปรัปปรุงต่อไป
3 การพัฒนาโดยนำหลักปฏิบัติที่ดีมาปรับปรุง (Practice) โดยการนำเอาแนวการปฎิบัติที่ดีในงานโช่อุปทานมาใช้ในการปรับปรุงงานที่มี ตาม SCOR ระบุไว้ในแต่ละส่วนงานที่ต้องการปรับปรุงงานนั้น
4 การพัฒนาคนและทักษะในการปฏิบัติงาน (People) ให้มีความเข้าใจและสามารถทำการเพิ่มประสิทธิภาพ เป็นการสร้างคนที่มีความสำคัญที่สุดให้มีความพร้อมก่อน เมื่อคนมีความเข้าใจสามารถพัฒนาทักษะที่ดีพอ ก็จะช่วยให้การปรับปรุงพัฒนากระบวนการ (Process) ให้ดีขึ้นได้ และยังสามารถไปนำหลักปฏิบัติ (Practice) ที่ดีมาเลือกใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยในการติดตามตรวจสอบประเมินประสิทธภาพ Performance ได้ถูกต้องชัดเจน
----------------------------------------
ตัวชี้วัดสมรรถนะของโซ่อุปทาน ตามหลักการของ SCOR Model
แบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานในโซ่อุปทาน (SCOR Model) ถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 1996 จากความมือระหว่าง Supply Chain Council (SCC) มีการกำหนดกระบวนการทำงานต่างๆ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและมีโครงสร้างแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการ นอกจากนี้ในแบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานยังมีการกำหนดตัวชี้วัด (Metric) สำหรับวัดประสิทธิภาพในแต่ละกระบวนการเพื่อกำหนดให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และยังมีการเสนอวิธีการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด (Best Practice) ในแต่ละกระบวนการเพื่อที่จะให้บริษัทหรือองค์กรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ (Supply-Chain Council, 2004) SCOR Model
ตัวชี้วัดสมรรถนะของโซ่อุปทาน ตามหลักการของ SCOR Model จะมีการวัดผลประสิทธิภาพด้วยตัวชี้วัดสมรรถนะของโซ่อุปทานไว้ 5 ด้านคือ
1. ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านความน่าเชื่อถือ (Supply Chain Reliability: RL) เป็นความสามารถในด้านการส่งมอบผลิตภัณฑ์/บริการที่ถูกต้อง ถูกสถานที่ ถูกตัวผู้รับบริการ (ลูกค้า) ทันเวลา ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม สภาพบรรจุภัณฑ์เรียบร้อ, ปริมาณครบถ้วน ตลอดจนเอกสารการส่งมอบที่เกี่ยวข้องถูกต้องสมบูรณ์ โดยวัดผลจากการเติมเต็มคำสั่งซื้อที่สมบูรณ์
2 ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านการตอบสนอง (Supply Chain Responsiveness: RS) เป็นระยะเวลา ความรวดเร็วในจัดหา จัดเตรียมสินค้าและบริการให้กับลูกค้าโดยวัดผลจากรอบเวลาของกิจกรรมในการเติมเต็มคำสั่งซื้อ
3 ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านความยืดหยุ่น (Supply Chain Agility or Flexibility: AG) เป็นความสามารถรองรับต่อความผันแปรของความต้องการตลาด ทั้งการเพิ่ม หรือการลดปริมาณความต้องการภายในเวลาอันสั้นเป็นผลการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอกที่อยู่เหนือการควบคุม เช่น ภัยธรรมชาติ ผู้ร่วมธุรกิจยกเลิกถอนตัวจากธุรกิจ เป็นต้น โดยวัดผลจากการปรับตัว และความยืดหยุ่นของซัพพลายเชนต้นน้ำและปลายน้ำ
4 ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านต้นทุน (Supply Chain Cost: CO) เป็นต้นทุนการดำเนินการของระบบโซ่อุปทานวัดผลจากต้นทุนรวมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ
5 ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านการจัดการสินทรัพย์ (Supply Chain Asset Management: AM) แสดงถึงประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลของการบริหารสินทรัพย์ขององค์กรเพื่อให้บริการกับลูกค้าวัดผลจาก รอบเวลาในการหมุนเวียนเงินสด อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพยถาวร และเงินลงทุน
เป้าหมายในการทำอาจแบ่งเป็น
- เพื่อสร้างประโยชน์ให้ลูกค้า (External Focus) มี 3 เรื่องคือ ความน่าเชื่อถือ ความสามารถในการตอบสนอง และความยึดหยุ่น จะมุ่งให้ความสำคัญไปที่ภายนอกหรือเรียกว่ามุ่งตอบความต้องการลูกค้า
- เพื่อสร้างประโยชน์ให้องค์กร (Internal Focus) มี 2 เรื่องคือ เงิน และทรัพสิน จะเน้นไปที่การจัดการภายในองค์กรเป็นสำคัญ
การแข่งขันที่รุนแรงทางธุรกิจในปัจจุบันได้ส่งผลให้บริษัทต่างๆ โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและเติบโตได้อย่างมั่นคงด้วยกลยุทธ์ต่างๆ เช่น การลดต้นทุนในการประกอบการ การผลิตสินค้าตัวใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด อีกแนวทางหนึ่ง คือ การเสริมสร้างความร่วมมือและการเชื่อมโยง SMEs เข้าสู่โซ่อุปทาน โดยพัฒนากระบวนการทางธุรกิจและการผลิตในโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สร้างคุณค่า และยกระดับมาตรฐานกระบวนงานและผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการ SMEs ในโซ่อุปทาน ตั้งแต่วัตถุดิบต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำที่เป็นผู้ผลิตขั้นสุดท้ายหรือสินค้าสำเร็จรูป เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันสู่ระดับโซ่อุปทาน
------------------------------------------
แบบจำลองการวัดผลประสิทธิภาพของโซ่อุปทาน (Performance SCOR Model)
แบบจำลองการวัดผลประสิทธิภาพของโซ่อุปทาน (Performance SCOR Model) จะมีระบบตัวชี้วัดแบ่งออกตามกลุ่มที่สนใจ 2 เป้าหมาย มีตัวชี้วัดหลัก 5 ด้าน และตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์อีก 10 ตัว โดยประกอบด้วย
- เป้าหมาย ในการวัดผลประสิทธิภาพของโซ่อุปทานในเชิงกลยุทธ์มี 2 เป้าหมายคือ
1 กลุ่มลูกค้
2 กลุ่มลูกค้
- ตัวชี้วัดหลัก การวัดผลประสิทธิภาพของโซ่อุปทาน กำหนดตัวชี้วัดหลักไว้ 5 ด้าน ดังนี้
1 ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านความน่าเชื่อถือ (Supply Chain Reliability: RL) เป็นความสามารถในด้านการส่งมอบผลิตภัณฑ์/บริการที่ ถูกต้อง ถูกสถานที่ ถูกตัวผู้รับ ทันเวลา ภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม สภาพบรรจุภัณฑ์เรียบร้อย ปริมาณครบถ้วน ตลอดจนเอกสารการส่งมอบที่เกี่ยวข้องถูกต้องสมบูรณ์ โดยวัดผลจากการเติมเต็มคำสั่งซื้อที่สมบูรณ์
2 ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านการตอบสนอง (Supply Chain Responsiveness: RS) เป็นระยะเวลา ความรวดเร็วในจัดหา จัดเตรียมสินค้าและบริการให้กับลูกค้าโดยวัดผลจากรอบเวลาของกิจกรรมในการเติมเต็มคำสั่งซื้อ
3 ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านความยืดหยุ่น (Supply Chain Agility or Flexibility: AG) เป็นความสามารถรองรับต่อความผันแปรของความต้องการตลาด ทั้งการเพิ่ม หรือการลดปริมาณความต้องการภายในเวลาอันสั้นเป็นผลการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอกที่อยู่เหนือการควบคุม เช่น ภัยธรรมชาติ ผู้ร่วมธุรกิจยกเลิกถอนตัวจากธุรกิจ เป็นต้น โดยวัดผลจากการปรับตัว และความยืดหยุ่นของซัพพลายเชนต้นน้ำและปลายน้ำ
4 ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านต้นทุน (Supply Chain Cost: CO) เป็นต้นทุนการดำเนินการของระบบโซ่อุปทานวัดผลจากต้นทุนรวมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการ
5 ตัวชี้วัดในระบบโซ่อุปทานด้านการจัดการสินทรัพย์ (Supply Chain Asset Management : AM) แสดงถึงประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลของการบริหารสินทรัพย์ขององค์กรเพื่อให้บริการกับลูกค้าวัดผลจาก รอบเวลาในการหมุนเวียนเงินสด อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพยถาวร และเงินลงทุน
- ตัวชี้วัดระดับกลยุทธ์ มีทั้หมด 10 ตัวชี้วัดคือ
1. สมรรถนะในการจัดส่ง สามารถวัดได้ในรูปแบบของวันและเวลาที่จัดส่งจริง เปรียบเทียบกับ วันที่กำหนดถึงลูกค้า
2. สมรรถนะในการเติมเต็มคำสั่งซื้อ เป็นตัวชี้วัดที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสมรรถนะของการจัดส่ง ซึ่งเวลานำของการเติมเต็มคำสั่งซื้อจะนับจากวันเวลาเฉลี่ยของวันเวลาที่คำสั่งซื้อเกิดขึ้นจนถึงวันและเวลาที่ลูกค้าได้รับสินค้าครบตามคำสั่งซื้อในมุมมองของลูกค้านั้นลูกค้าไม่
3. ตัววัดสมรรถนะการเติมเต็มคำสั่งซื้อสมบูรณ์ มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสมรรถนะการจัดส่งเช่นกันแต่เป็นเกณฑ์การ
วัดที่เข้มข้นกล่าวคือ เป็นตัววัดซึ่งจะวัดการส่งเสริมและผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้อง ตรงตามเวลา สถานที่ และในจำนวนครบถ้วนตามคำสั่งซื้อ
4. ตัววัดสมรรถนะการตอบสนองของโซ่อุปทาน ความหมายของโซ่อุปทานที่จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
โซ่อุปทานจะต้องตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงภายในเวลารวดเร็ว เพื่อให้แน่ใจถึงความสามารถในการแข่งขัน
5. ตัววัดสมรรถนะการความยืดหยุ่นของการผลิต วัดการตอบสนองของโซ่อุปทานเกี่ยวกับความยืดหยุ่นในกระบวนการ
ผลิต แบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ ความยืดหยุ่นต่อความต้องการลดหรือเพิ่มการผลิตในเวลาหนึ่งๆ
6. ตัววัดสมรรถนะต้นทุนการจัดการโซ่อุปทาน เนื่องจากต้นทุนการจัดการโซ่อุปทานต่อรายได้ทั้งหมดขององค์กรถ้าสามารถควบคุมได้ดีจะมีผลต่อความสามารถในการทำกำไรขององค์กรนั้นๆ ตัววัดสมรรถนะนี้จึงมีความสำคัญต่อการบริหารโซ่อุปทานและองค์กรในเชิงกลยุทธ์
7. ตัววัดสมรรถนะรอบเวลาของวงจรปิดเงินสด เวลาที่ใช้โดยเฉลี่ยของเงินที่ใช้ในการสั่งซื้อวัตถุดิบจนกระทั่งเงินนั้นไหลกลับมาสู่บริษัทในรูปของรายได้ ตัวชี้วัดรอบเวลาของวงจรเงินสด ประกอบด้วยผลรวมของ 3 องค์ประกอบ คือ จำนวนวันของสินค้าคง คลังบวกจำนวนวันของการขาย ลบด้วยคาบเวลาของการจ่ายเงินสำหรับค่าวัตถุดิบ
8. ตัววัดสมรรถนะจำนวนวันของสินค้าคงคลัง ตัวชี้วัดที่ใช้วัดว่าจำนวนสินค้าคงคลังถูกผลิตขึ้นมาหรือซื้อเข้ามาแล้วสามารถขายไปให้กับลูกค้าได้เร็วเพียงไรการเพิ่มของจำนวนวันของสินค้าคงคลังชี้ให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลัง ซึ่งรวมถึงการขายที่ช้าลงและ/หรือคาบเวลาการผลิตที่ยาวนานขึ้น
9. ตัววัดสมรรถนะจำนวนรอบของสินทรัพย์ ตัวชี้วัดของกิจกรรมทางด้านการเงิน หมายถึงจำนวนรายได้หารด้วยจำนวนทรัพย์สินทั้งหมดจำนวนรอบของสินทรัพย์จะเป็นตัววัดประสิทธิผลของบริษัทในการดำเนินงานต่อสินทรัพย์ทั้งหมด
10.
-----------------------------------------------
แบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงา
แบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงา
นอกจากนี้ในแบบจำลองอ้างอิง
-----------------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward