iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
การสร้างเครือข่ายและการทดสอบตลาด การติดต่อหน่วยงานหรือองค์กรในประเทศเป้าหมาย
ข้อมูลการสร้างเครือข่ายธุรกิจในประเทศเป้าหมาย (Business Networking) การติดต่อหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ในประเทศเป้าหมาย เป็นหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่สามารถให้คำปรึกษา และแนะนำข้อมูลในเรื่องการทำธุรกิจในเป้าหมาย ประกอบด้วย
1. ศูนย์พัฒนาการค้าและธุรกิจไทยในอาเซียน
เป็นศูนย์ที่อยู่ในความดูแลของสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ที่มีสำนักงานในประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งเป็นแหล่งถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากและทันสมัยอยู่ตลอด และนอกจากนี้ยังมีการจัดงานแสดงสินค้า และการจับคู่ธุรกิจตลอดทั้งปี รวมถึงสนับสนุนให้นักธุรกิจไทยได้มาทำการค้าการลงทุนในประเทศนั้น ๆ โดยเป็นหน่วยงานที่มีเครือข่ายกับหน่วยงานราชการและธุรกิจประเทศต่าง ๆ ผู้ประกอบการท่านใดสนใจในประเทศไหนในอาเซียนก็สามารถเข้าไปดูข้อมูล หรือติดต่อได้โดยตรง (Website: http://www.ditp.go.th, https://www.sme.go.th )
2. ธนาคารพาณิชย์ของไทยทั้งในและต่างประเทศในปัจจุบัน
ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ต่างก็มีหน่วยงานที่ดูแลลูกค้าเอสเอ็มอี โดยเฉพาะ และยิ่งไปกว่านี้ ก็มีการสนับสนันให้ลูกค้าไปทำธุรกิจหรือลงทุนในประเทศอาเซียน มีหลายธนาคารที่จัดตั้งศูนย์ข้อมูล AEC ไว้บริการลูกค้า และก็ให้บริการสำหรับประชาชนที่สนใจด้วย ดังนี้ผู้ประกอบการสามารถสอบถามไปที่ธนาคารที่ท่านใช้อยู่เพื่อดูว่ามีข้อมูลด้านการค้าในประเทศอาเซียนที่ท่านสนใจหรือไม่ และหากท่านต้องการข้อมูลเฉพาะของประเทศอาเซียนใด ก็สามารถขอคำ แนะนำโดยเฉพาะเรื่องการนำเงินเข้า-ออก การให้สินเชื่อ และการให้บริการทางการเงินการธนาคารต่าง ๆ นอกจากนี้ ทางธนาคารที่มีสาขาในประเทศอาเซียน ยังมีเครือข่ายกับนักธุรกิจท้องถิ่นที่อาจจะตรงกับธุรกิจของผู้ประกอบการไทยอีกด้วย
3. บริษัทที่ปรึกษากฎหมาย
การที่จะไปลงทุนหรือทำธุรกิจในต่างประเทศนั้น จะต้องมีความรู้ในเรื่องกฎหมายของประเทศที่เป็นประเทศเป้าหมาย ดังนี้ผู้ประกอบการจึงควรที่จะปรึกษา บริษัทที่ปรึกษากฎหมาย เพื่อทราบถึงข้อมูลทั้งด้านกฎหมาย กฎระเบียบ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านภาษี เรื่องการทำสัญญาประเภทต่าง ๆ การจัดตั้งบริษัท หรือแม้แต่เรื่องการจดทะเบียนเพื่อคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ที่เป็นประโยชน์สำหรับการลงทุน และทำธุรกิจในต่างประเทศ เพื่อที่จะให้ปฏิบัติได้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด และจะได้ไม่มีปัญหาด้านก็หมายภายหลัง และควรมีการปรึกษาก่อนที่จะลงมืออะไร เพราะหากทำผิดกฎหมายแล้วค่อยมาปรึกษานักกฎหมายก็จะทำให้แก้ไขยาก นอกจากจะเสียเงินแล้วยังเสียโอกาสทางธุรกิจ อีกด้วย
4. หอการค้า สภาอุตสาหกรรม และสมาคมผู้ประกอบธุรกิจประจำประเทศเป้าหมาย
สมาคมหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สมาภัณฑ์ หรือ สมาคมธุรกิจต่าง ๆ ของท้องถิ่น รวมไปถึงสมาคมผู้ประกอบธุรกิจไทยในประเทศอาเซียน จะมีส่วนช่วยผู้ประกอบการในการให้ข้อมูล และคำแนะนำในการทำธุรกิจการค้าและการลงทุนจากมุมมองของนักธุรกิจโดยตรง และเป็นแหล่งที่ท่านจะมองหานักธุรกิจที่น่าเชื่อถือเพื่อร่วมทำธุรกิจ การสร้างเครือข่ายและความสันพันธ์อันดี ที่กับนักธุรกิจเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ทั้งนักธุรกิจท้องถิ่น หรือนักธุรกิจไทย ก็จะเป็นการสร้างโอกาสที่ดีให้กับตัวท่านที่จะนำไปสู่การหาคู่ค้าและธุรกิจที่ดีในอนาคต
5. กฎหมายสำคัญที่ควรรู้
- กฎหมายการจัดตั้งหุ้นส่วนบริษัท
- กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนของต่างชาติ
- กฎหมายว่าด้วย การจ้างแรงงาน และกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างชาติ
- กฎหมายภาษีอากร
- กฎหมายที่ดิน และการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของคนต่างด้าว
- กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
- กฎหมายว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษ
- กฎหมายว่าด้วยการระงับข้อพิพาท
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราว การสร้างเครือข่าย (Networking) เพิ่มเติมคลิกที่นี่
Networking การสร้างเครือข่าย (Networking)
-------------------------------------------------
การสร้างเครือข่ายและการทดสอบตลาด การเตรียมตัวไปเปิดตลาดในต่างประเทศ
ข้อมูลการสร้างเครือข่ายธุรกิจในประเทศเป้าหมาย (Business Networking) สำหรับการเตรียมตัวไปสร้างเครือข่ายเพื่อเปิดตลาดและโอกาสในประเทศอาเซียน ประกอบด้วย
1. การเตรียมตัวเมื่อไปออกงานแสดงสินค้า เตรียมความพร้อมในการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับประเทศเป้าหมายอย่างละเอียด
- ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของประเทศ
- ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐกิจ อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งแนวโน้มและทิศทางเศรษฐกิจ และนโยบายทางเศรษฐกิจ
- ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเมือง ว่าการเมืองมีเสถียรภาพหรือไม่
- ศึกษาข้อมูลด้านการเงิน โดยเฉพาะเรื่องโอนเงินเข้าออก
- ศึกษาความเป็นไปได้ของตลาด รวมทั้งโอกาสสำหรับธุรกิจท่าน
2. ศึกษาและทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ ของการเดินทางไปยังประเทศเป้าหมายอย่างละเอียด
- วัตถุประสงค์การเดินทางไป เช่น ไปทดสอบตลาด หาคู่ค้า หรือไปขายของ
- กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่ต้องการ
- ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
3. นามบัตรและเอกสารแนะนำตัว เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับแนะนำตัวและให้ข้อมูลในการติดต่อในภายหลัง
- เตรียมนามบัตรเป็นภาษาอังกฤษและเตรียมให้เพียงพอ
- นามบัตรต้องมีข้อมูลครบถ้วน และมีตัวอักษรขนาดพอดีชัดเจน ชื่อ และตำแหน่งควรมีขนาดใหญ่ ควรมีหมายเลขโทรศัพท์สายตรง และโทรศัพท์มือถือ อีเมล์ และต้องเป็นที่อยู่ที่แน่นอน
- มารยาทสากลในการแลกเปลี่ยนนามบัตรจะต้องใช้มือทั้งสองข้างจับนามบัตรที่หันด้านชื่อเข้าผู้รับ โดยผู้น้อยควรเป็นผู้เริ่มยื่นก่อนและหลังจากรับนามบัตรแล้วห้ามเก็บทันที ควรอ่านรายละเอียดก่อนและหากพบว่าในนามบัตรไม่มีข้อมูลบางส่วนควรรีบถามทันที ไม่ถือว่าเสียมารยาท
4. เอกสารประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสินค้า และสินค้า
- แผ่นพับแนะนำสินค้า, ใบปลิว (ใช้ในการแนะนำสินค้าและบริษัท)
- สำหรับสินค้าที่มีความหลากหลายควรจัดทำแคตาลอกผลิตภัณฑ์
- ควรเป็นเอกสารที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ หรือเป็นภาษาท้องถิ่นของประเทศที่จะไป
- ควรจัดเตรียมเอกสารเพื่อประชาสัมพันธ์ในปริมาณที่มากเพียงพอให้เหมาะสมสำหรับระยะเวลาการใช้งาน
5. สถานที่ทำการทดสอบตลาด Market Test
- การเตรียมความพร้อมด้านสถานที่มีอุปกรณ์ต่าง ๆ
- การออกแบบบูธ รวมไปถึงรูปแบบการจัดวางที่สามารถดึงดูดผู้ที่สนใจให้เข้ามาเยี่ยมชม และเข้ามาสอบถามข้อมูลมากที่สุด
- พื้นที่ใช้งานควรใช้พื้นที่ใช้งานให้เหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด
- มีการจัดวางตำแหน่งการโชว์สินค้าอย่างชัดเจน เพื่อสร้างความน่าสนใจ
6. ทีมงาน / เจ้าหน้าที่
- พนักงานที่ดีต้องมีอัธยาศัยดี เชิญชวน และพูดจาดี
- มีภาษากายที่ดีและเป็นมิตร (เปิดเผย / ยิ้มแย้ม / มีการสบตา)
- แต่งกายสุภาพ
- กำหนดเวลาที่จะพูดคุยอย่างมีประสิทธิภาพและให้ข้อมูลอย่างครบถ้วน
- ช่างสังเกต และสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ หรือภาษาท้องถิ่นของประเทศที่ไปได้ หากไม่ได้ก็จะต้องจัดเตรียมล่ามไปช่วย
7. ด้านเวลา
- ใช้เวลาทุกนาทีให้มีค่า เมื่อมีผู้สนใจเข้ามาสอบถามข้อมูลหรือทดลองสินค้า ควรอธิบายให้กระชับได้ใจความและเข้าใจง่าย
- หากสังเกตว่ามีผู้ที่สนใจเข้ามาสอบถามข้อมูล ควรรีบแจกเอกสารประชาสัมพันธ์ทันที
- เก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้รับ และจดบันทึกเพื่อไว้ประเมินและปรับปรุงสินค้า และบริการให้เข้ากับตลาดนั้น
- บริหารจัดการเวลา โดยมีพนักงานที่ได้รับการฝึกฝนอย่างดี พร้อมทั้งข้อมูลที่จะนำเสนอไปยังกลุ่มเป้าหมายและเก็บข้อมูลพื้นฐานจาก
กลุ่มเป้าหมายได้ครบถ้วน
8. เทคนิคในการอธิบายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์
- ต้องมีความเข้าใจในสินค้าอย่างละเอียด
- ควรทำความเข้าใจในแง่มุมของผู้ซื้อที่จะมีคำถามเกี่ยวกับสินค้าอย่างไร เพื่อเตรียมความพร้อมในการตอบคำถาม
- เมื่อเริ่มทำความรู้จักกับผู้ที่เข้ามาสอบถาม ควรใช้โอกาสในการสนทนาสำหรับการเสาะหาข้อมูลความต้องการของตลาดและความต้องการของผู้บริโภคท้องถิ่นได้ด้วย
- การเชิญชวนเชิงรุก คือการสร้างจุดสนใจเชิงรุกด้วยการนำเสนอสินค้าในรูปแบบที่น่าสนใจ เพื่อดึงดูดให้ผู้ที่เดินผ่านหันมาสนใจที่บูธ หรืออาจจะมีกลยุทธ์ในการแจกของชำร่วยเล็ก ๆ น้อย หรือ มีการสาธิตและทดลองสินค้า เป็นต้น
- ควรคำนวนราคา พร้อมค่าขนส่งเตรียมไว้ก่อน เป็นการประมาณการเพราะคนมักจะถามราคาสินค้า ซึ่งเราต้องมีตัวเลขค่าขนส่งไว้ตอบด้วย
9. สินค้า / ผลิตภัณฑ์ / บริการ
- จัดเตรียมสินค้าตัวจริงเพื่อสำหรับโชว์
- จัดเตรียมสินค้าตัวอย่างสำหรับทดลอง หรือแจกจ่ายเพื่อการทดลองใช้ อย่างเพียงพอ อย่าโถมแจกในวันแรกๆ ต้องเผื่อปริมาณไว้ให้ครบตลอดงาน
- ถ้าเป็นสินค้าชิ้นใหญ่ ก็สามารถใช้แท๊ปเล็ตหรือคอมพิวเตอร์ในการโชว์รูปหรือวิดิโอคลิป เพื่อแนะนำบริษัท หรือสินค้า และบริการ
-
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราว การสร้างเครือข่าย (Networking) เพิ่มเติมคลิกที่นี่
Networking การสร้างเครือข่าย (Networking)
-------------------------------------------------
การสร้างเครือข่ายและการทดสอบตลาด การสร้างและการรักษาความสัมพันธ์กับเครือข่ายพันธมิตร
ข้อมูลการสร้างเครือข่ายธุรกิจในประเทศเป้าหมาย (Business Networking) การสร้างและการรักษาความสัมพันธ์กับเครือข่ายพันธมิตร ประกอบด้วย
1. คำแนะนำทั่วไป
- ควรมีอีเมล์ที่เหมาะสม และแยกออกจากอีเมล์ที่ใช้ส่วนตัว และควรใช้เป็นอีเมล์ของบริษัท หากไม่มีก็ควรใช้เป็น google mail (G-mail) เพราะมีระบบป้องกันการจารกรรมข้อมูลได้ดีกว่าเมล์ของบริษัทอื่น และเป็นที่ยอมรับในวงธุรกิจ
- นำนามบัตรติดตัวไปเสมอ และมีนามบัตรที่เป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วย
- ฝึกการแนะนำตัวและธุรกิจภายในเวลา 30 วินาที เพื่อให้คนที่เราพบรู้จัก และประทับใจ
- สร้างมิตรใหม่ๆเมื่อไปงานต่าง ๆ
- หลังจากพบคนในงาน ก็จะต้องมีการติดต่อสม่ำเสมอ
- ควรเข้าร่วมเครือข่ายธุรกิจและวิชาชีพ เช่น สภาหอการค้าไทย หอการค้าต่างชาติ และสมาคมธุรกิจต่าง ๆ
2. คำถามที่ต้องถามตัวเอง และตอบให้ได้
- จุดแข็งที่เป็นลักษณะเฉพาะของธุรกิจของท่าน
- ส่วนใดที่ธุรกิจของคุณต้องการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการตรงส่วนนั้น
- บริษัทหรือธุรกิจประเภทใดที่ท่านต้องจากจะได้มาเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ
- หากท่านต้องการที่จะร่วมเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจกับบริษัทอื่น ๆ ความเชี่ยวชาญทางธุรกิจอะไรที่ท่านจะนำมาให้กับลูกค้าของท่าน
3. การสร้างเครือข่าย (networking)
3.1 สร้างเครือข่าย
- กำหนดเป้าหมาย
- แบ่งเวลาไว้สำหรับการสร้างเครือข่าย
- เป็นผู้ให้ก่อน Give and Take คือ การช่วยเหลือผู้อื่นเสียก่อน แล้วธุรกิจก็จะตามมา
- สร้างคลังข้อมูลเครือข่ายของตัวเอง
3.2 ขยายเครือข่าย
- เชื่อมต่อกับคนที่เหมาะสมกับธุรกิจ
- สร้างความหลากหลายในเครือข่ายของเรา
- กลับไปเชื่อมต่อกับคนที่เคยรู้จักในอดีต
- เข้ารวมกลุ่มธุรกิจและวิชาชีพ เช่น เป็นสมาชิกสภาหอการค้า
3.3 ลงมือทำ
- ติดตามผลในทันที
- ทำตัวให้คนอื่นรู้จักด้วยการอาสาทำงานการกุศล
- จัดงานที่เป็นประโยชน์
- เป็นผู้สนับสนุนการจัดงาน
3.4 เมื่อได้พบคนใหม่ ๆ
- มีการติดต่อที่สม่ำเสมอ เช่น ส่งอีเมล์ เพื่อแนะนำตัวอีกครั้งว่าพบกันที่ไหน และเราเป็นใคร
- หากมีการเสนออะไรในขณะที่พบกัน เช่น บอกจะส่งรายการสินค้าให้ หรือ จะแนะนำอะไรให้ ก็จัดการให้เรียบร้อยตามที่รับปากไว้
- นัดพบกันเพื่อสานต่อความสัมพันธ์
-------------------------------------------------
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดตามได้ที่ลิงค์ด้านล่าง
การสร้างเครือข่ายและการทดสอบตลาด (Business Networking and Market Test)
E-book คู่มือการสร้างเครือข่ายและการทดสอบตลาด (Business Networking and Market Test)
-------------------------------------------------
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราว การสร้างเครือข่าย (Networking) เพิ่มเติมคลิกที่นี่
Networking การสร้างเครือข่าย (Networking)
-------------------------------------------------
Networking การสร้างเครือข่ายและการทดสอบตลาด เทคนิคการเจรจาต่อรองธุรกิจ
ข้อมูลการสร้างเครือข่ายธุรกิจในประเทศเป้าหมาย (Business Networking) เทคนิคการเจรจาต่อรองธุรกิจ ประกอบด้วย
1. เตรียมความพร้อมก่อนไปเจรจา
- กำหนดเป้าหมายว่าเราต้องการสิ่งใดจากการเจรจาเขียนเป็นแผนและกลยุทธ์ไว้
- คาดการณ์ความต้องการของคู่เจรจา ว่าอีกฝ่ายน่าจะต้องการอะไร เช่น การประกันสินค้า ราคา
- เตรียมข้อมูลของเราไปให้พร้อม
2. การเริ่มต้น และดำเนินการเจรจา
- เตรียมคำพูดเปิดการเจรจาไว้ล่วงหน้า อย่าเจอหน้าก็เจรจาธุรกิจกันเลย ต้องกล่าวทักทายและถามสารทุกข์สุกดิบกันก่อน
- เริ่มการเจรจาอย่างนุ่มนวล ค่อยเป็นค่อยไป และด้วยอัธยาศัยที่ดี
- การเจรจาที่ดีนั้นผู้เจรจาต้องแสดงความเป็นมิตรตลอดอย่าใส่อารมณ์ แม้การเจรจาจะเริ่มไปในทิศทางที่เราไม่พอใจ
3. ค้นหาสิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งให้ความสนใจ และเห็นว่ามีคุณค่า
- การเป็นผู้ฟังที่ดี ก็จะมีความได้เปรียบในการเจรจาเพราะการรับฟังความต้องการ และความสนใจของฝ่ายตรงข้ามจะทำให้เรามีโอกาสที่จะนำเสนอสิ่งที่ถูกใจเขาและเราเองก็รับได้
- รู้จักถามคำถาม เพื่อที่จะได้ทราบว่าอีกฝ่ายต้องการอะไร จะได้เข้าใจและสามารถปรับให้ตรงกันเพื่อที่การเจรจาจะได้สำเร็จแบบที่เรียกว่า WIN-WIN คือ ชนะทั้งคู่เป็นการเจรจาที่ทั้งสองฝ่ายพอใจ
4. • สื่อสารคุณค่าของสิ่งที่ท่านเสนอได้อย่างชัดเจนตรงประเด็น
- ต้องแสดงให้เห็นคุณค่า ของสิ่งที่ท่านเสนอให้อีกฝ่ายว่ามีประโยชน์กับเขาอย่างไร
- จำไว้ว่าต้องพูดให้เห็นว่าเค้าจะได้อะไร พูดให้ครบถ้วนไม่ใช่ว่าเราจะได้อะไร อย่างเช่น เราจะดูแลเรื่องการส่งของให้ตรงเวลา
5. ค้นหา และเตรียมการสำหรับความกังวล
- หากอีกฝ่ายกังวลเรื่องเวลาในการขนส่ง หรือ การผลิตของเรา ก็ทำให้เค้ามั่นใจ จะได้ไม่กังวลและดูเป็นมืออาชีพ ซึ่งจะส่งผลบวกให้กับการเจรจา
6. ปิดฉากอย่างมืออาชีพ
- เตรียมการไว้ล่วงหน้าสำหรับผลการเจรจาที่จะปิดลงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ไม่ตกลงกัน หรือ มีการนัดเจรจารอบหน้า ท่านควรลองคิดออกมาว่าผลอยากจะออกมาในรูปแบบไหนได้บ้างทั้งแนวลบและบวก และท่านจะรับมือกับผลทั้งบวงและลบอย่างไร
- หากการเจรจาเริ่มไปในทางที่เป็นทำนอง เอาชนะกันต่างฝ่าย ๆ ต่างไม่ยอมกัน ขอให้ท่านหายใจลึกๆและขอหยุดการเจรจาแบบประนีประนอม เช่น บอกว่าวันนี้เราคงจะเหนื่อย พักทานน้ำก่อนค่อยมาคุยกันต่อ ซึ่งจะดีกว่าจะเถียงกันไปมาหาข้อยุติไม่ได้
- ไม่ว่าผลการเจรจาจะออกมาอย่างไร จะต้องรักษาความสัมพันธ์ไว้ เผื่อโอกาสหน้าหรือในอนาคตนั้นจะได้มีโอกาสทำธุรกิจร่วมกันอีก
7. สรุปผลการเจรจา
- เมื่อเจรจาเสร็จแล้ว ควรสรุปผลการเจรจาย่อ แล้วส่งให้อีกฝ่ายรับทราบว่าได้ตกลงกันเช่นนี้
-
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราว การสร้างเครือข่าย (Networking) เพิ่มเติมคลิกที่นี่
Networking การสร้างเครือข่าย (Networking)
-------------------------------------------------
OTOP ประเภทผลิตภัณฑ์
ที่มา https://otop.cdd.go.th/
การจัดประเภทผลิตภัณฑ์ OTOP เมื่อปี พ.ศ. 2544 – 2548 จัดกลุ่มประเภทผลิตภัณฑ์ OTOP ออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) ประเภทอาหาร 2) ประเภทเครื่องดื่ม 3) ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย 4) ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก 5) ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ต่อมาปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา สรุปจัดกลุ่มประเภทผลิตภัณฑ์ OTOP ออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
1 อาหาร หมายถึง ผลผลิตทางการเกษตรและอาหารแปรรูป ซึ่งได้รับมาตรฐาน อย., GAP,GMP, HACCP, Qmark, มผช., มอก., มาตรฐานเกษตรอินทรีย์, ฮาลาล และมีบรรจุภัณฑ์ เพื่อการจำหน่ายทั่วไป แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1.1 ผลิตผลทางการเกษตรที่ใช้บริโภคสด เช่น พืชผัก ผลไม้ เช่น มะม่วง สับปะรด ส้มเขียวหวาน มังคุด ส้มโอ กล้วย เป็นต้น กรณีพันธุ์ไม้ เช่น กิ่งพันธุ์มะม่วง กิ่งพันธุ์มะปราง ไม้ประดับ ฯลฯ ไม่ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ลงทะเบียนได้
1.2 ผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบและผ่านกระบวนการแปรรูปเบื้องต้น เช่น นํ้าผึ้ง ข้าวสาร ข้าวกล้อง ข้าวฮาง เป็นต้น เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น เนื้อโคขุน เนื้อนกกระจอกเทศแช่แข็ง หมูแดดเดียว หมูยอ แหนม ไส้อั่ว ไส้กรอก ปลาอบรมควัน หอยจ้อ เป็นต้น อาหารประมงแปรรูป เช่น ไส้กรอกปลา ปลาช่อนแดดเดียว ปลาสลิดแดดเดียว ส้มปลาตัว น้ำบูดู กะปิ กุ้งแห้ง น้ำปลา ปลาร้า เป็นต้น กรณีสัตว์ที่มีชีวิต เช่น ไก่ชน ปลากัด ไม่ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ลงทะเบียนได้ เพราะไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปเบื้องต้น
1.3 อาหารแปรรูปกึ่งสำเร็จรูป/สำเร็จรูป เช่น ขนมเค้ก เฉาก๊วย ขนมโมจิ เต้าส้อ กระยาสารท กล้วยฉาบ กล้วยอบ มะขามปรุงรส ทุเรียนทอด กาละแม กะหรี่ปั๊บ ขนมทองม้วน ข้าวเกรียบ ข้าวแต๋น น้ำพริกเผาและน้ำพริกต่างๆ แจ่วบอง น้ำจิ้มสุกี้ น้ำปลาหวาน ผักกาดดอง พริกไทย แคบหมู ไข่เค็ม กุนเชียง หมูทุบ หมูแผ่น เป็นต้น
– อาหารสำเร็จรูป หมายถึง อาหารที่ผ่านขั้นตอนการหุงต้ม หรือกระบวนการ แปรรูปผลิตผลการเกษตร โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อให้อาหารนั้นสามารถเก็บได้เป็นเวลานานพอสมควร โดยไม่เน่าเสีย และสามารถรับประทานได้ทันทีเมื่อต้องการ เช่น หมูแผ่น หมูหยอง น้ำพริกเผา น้ำจิ้มไก่ ซอสพริก น้ำจิ้มปลาซาบะ ปลาหมึก ปลาอบกรอบ ขนมอบกรอบ น้ำกะทิ ข้าวสุกบรรจุกระป๋อง ปลากระป๋อง
– อาหารกึ่งสำเร็จรูป ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ ๒๑๐ พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนดให้อาหารกึ่งสำเร็จรูป หมายถึง อาหารที่ผ่านกรรมวิธีและปรุงแต่งมาบ้างแล้ว เพียงแค่ผ่านกรรมวิธีอย่างง่ายๆ ใช้ระยะเวลาสั้นๆ เช่น โดยการเติมน้ำร้อน หรือการต้มเพียงไม่กี่นาที ก็สามารถนำมารับประทานได้แล้ว อาหารกึ่งสำเร็จรูปสามารถแบ่งออกได้ ๔ ชนิด ดังนี้
“ต้องผ่านการแปรรูปมาแล้วเท่านั้น ไม่ใช่อาหารปรุงสด”
2 เครื่องดื่ม หมายถึง ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ได้แก่ สุราแช่ สุรากลั่น สาโท อุ ไวน์ เหล้าขาว ๓๕-๔๐ ดีกรี เป็นต้น และเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประเภทพร้อมดื่ม ผลิตภัณฑ์ประเภทชงละลาย และผลิตภัณฑ์ประเภทชง เช่น น้ำผลไม้ น้ำสมุนไพร เครื่องดื่มรังนก กาแฟคั่ว กาแฟปรุงสำเร็จ ขิงผงสำเร็จรูป มะตูมผง ชาใบหม่อน ชาจีน ชาสมุนไพร ชาชัก น้ำเฉาก๊วย น้ำเต้าหู้นมสดนมข้าวกล้อง เป็นต้น
3 ผ้า เครื่องแต่งกาย หมายถึง ผ้าทอและผ้าถักจากเส้นใยธรรมชาติหรือเส้นใยสังเคราะห์ รวมทั้งเสื้อผ้า/เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องแต่งกายที่ใช้ประดับตกแต่งประกอบการแต่งกาย ทั้งเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยและเพื่อความสวยงาม โดยจำแนกเป็น ๒ ลักษณะ คือ
3.1 ผ้า หมายถึง ผลิตภัณฑ์ผ้าผืนที่ทำจากเส้นใย เส้นด้าย นำมาทอถักเป็นผืนมีลวดลายเกิดจากโครงสร้างการทอหรือตกแต่งสำเร็จบนผืนผ้า ทำด้วยมือ หรือเครื่องจักร รวมถึงผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มซึ่งเป็นเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้าเป็นหลักและมีวัสดุอื่นๆ เป็นองค์ประกอบผสม เช่น ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้า ผ้าคลุมไหล่ ผ้าบาติก ผ้าถุง ผ้าปักชาวเขา ผ้าคลุมผม หมวกกะปิเยาะ ผ้าพันคอ เสื้อผ้า สำเร็จรูปบุรุษ – สตรี เป็นต้น
3.2 เครื่องแต่งกาย หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประดับตกแต่งประกอบการแต่งกาย ที่ทำจากวัสดุทุกประเภทเพื่อประโยชน์ในการใช้สอย เช่น รองเท้า เข็มขัด กระเป๋าถือ เป็นต้น และเพื่อความสวยงาม เช่น สร้อย แหวน ต่างหู เข็มกลัด กำไล นาฬิกาข้อมือ เนกไท หมวกแฟชั่น เป็นต้น
4 ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มีไว้ใช้หรือตกแต่งประดับ ในบ้าน สถานที่ต่างๆ เช่น เครื่องใช้ในบ้าน เครื่องครัว เครื่องเรือน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้สอย หรือประดับตกแต่ง หรือให้เป็นของขวัญ เพื่อให้ผู้รับนำไปใช้สอยในบ้าน ตกแต่งบ้าน รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตภูมิปัญญา และวัฒนธรรมท้องถิ่น และสินค้านั้นต้องไม่ผลิตโดยใช้เครื่องจักรเป็นหลักหรือใช้แรงคนเป็นส่วนเสริมหรือไม่ใช้แรงงานคน ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก แบ่งออกเป็น ๗ กลุ่ม
4.1 ไม้ หมายถึง ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก ที่มีวัสดุที่ทำจากไม้เป็นหลัก เช่น ไม้แกะสลัก เฟอร์นิเจอร์ กล่องไม้ นาฬิกาไม้ตั้งโต๊ะ โคมไฟกะลามะพร้าว ของเล่นเด็ก เครื่องดนตรี ตู้พระธรรม เรือจำลอง แจกันไม้ กรงนก ไม้แขวนเสื้อ เป็นต้น
4.2 จักสานถักสาน หมายถึง ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก ที่มีวัสดุที่เป็นเส้นใยธรรมชาติ หรือวัสดุสังเคราะห์ใดๆ เช่น พลาสติก นำมาจักสาน หรือถักสาน ถักทอ เป็นรูปร่าง เช่น ตะกร้า กระจูดสาน เสื่อกก ที่รองจานทำจากเสื่อกก ที่ใส่ของทำจากพลาสติกสาน กระจาด กระบุง กระด้ง กระติบข้าว เชือกมัด เปลยวน โคมไฟผักตบชวา ไม้กวาด กระเช้าเถาวัลย์ พรมเช็ดเท้า ฝาชี หมวกสานไม้ไผ่ เป็นต้น
4.3 ดอกไม้ประดิษฐ์/วัสดุจากเส้นใยธรรมชาติ หมายถึง ดอกไม้ ต้นไม้ กล้วยไม้ ผลไม้ ที่ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ แต่ทำจากวัสดุต่างๆ เพื่อเลียนแบบธรรมชาติ หรือ/และผลิตภัณฑ์ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก ที่มีวัสดุที่ทำจากกระดาษสาเป็นหลัก เช่น ถุงกระดาษ กล่องกระดาษสา ต้นไม้ประดิษฐ์ ผลไม้ประดิษฐ์ เป็นต้น
4.4 โลหะ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ประเภทของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึกที่ทำจากโลหะต่างๆ เช่น เงิน ทองเหลือง ดีบุก แสตนเลศ ทอง สังกะสี เป็นต้น เป็นส่วนประกอบหลัก เช่น ช้อนส้อม มีด ผลิตภัณฑ์ภาชนะที่ใช้โลหะ ภาชนะที่ทำจากแสตนเลสทุบ ทองเหลืองทุบ พิวเตอร์ บรอนซ์ แกะสลักที่ใช้ตกแต่งสถานที่ต่างๆ เป็นต้น
4.5 เซรามิค/เครื่องปั้นดินเผา หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำวัสดุประเภทดิน สินแร่ ไปขึ้นรูปและนำไปเผาด้วยความร้อนสูง เพื่อเป็นภาชนะ ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก เช่น เบญจรงค์ ถ้วยชาม ภาชนะกระเบื้อง เซรามิค โอ่ง อ่าง กระถางต่างๆ เป็นต้น
4.6เคหะสิ่งทอ หมายถึง ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก ที่มีวัสดุทำจากผ้า มีการตัดเย็บ เช่น ชุดเครื่องนอน พรมเช็ดเท้า ผ้าปูโต๊ะ ถุงมือถักสำหรับทำการเกษตร เป็นต้น
4.7 อื่นๆ ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ใช้วัสดุอื่นใดนอกเหนือจาก ข้อ ๑-๖ เช่น ทำจากพลาสติก เรซิน แก้ว เทียน รูปวาด เปเปอร์มาเช่ กระจก ซีเมนต์ ต้นไม้มงคล ตุ๊กตาจากดินไทย ผลไม้เผาดูดกลิ่น พระพุทธรูป เป็นต้น
5 สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร หมายถึง ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร หรือมีสมุนไพร เป็นส่วนประกอบอาจใช้ประโยชน์และอาจส่งผลต่อสุขภาพ ได้แก่ ยาจากสมุนไพร เครื่องสำอางสมุนไพร วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนเช่น น้ำยาล้างจานสมุนไพร สมุนไพรไล่ยุงหรือกำจัดแมลง และรวมถึงผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรที่ใช้ทางการเกษตร เช่น น้ำหมักชีวภาพ น้ำส้มควันไม้ เป็นต้น แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม
5.1 ยาจากสมุนไพร
5.2 เครื่องสำอางสมุนไพร
5.3 วัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน
-----------------------------------------
ที่มาข้อมูล
ที่มา https://otop.cdd.go.th/
รวบรวมรูปภาพ
-----------------------------------------
-----------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward