iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
Tool เครื่องมือแผนภาพเต่า (Turtle Diagram)
แผนภาพเต่า (Turtle Diagram) เป็นเครื่องมือแบบแผนภาพอีกแบบที่นิยมนำมาใช้ ในแนวคิดของการบริหารจัดการกระบวนการแบบ ช่วยในการวางแผนและออกแบบกระบวนการทำงานในการผลิต ที่ให้ความสำคัญในการพิจารณาปัจจัยทรัพยากรในการผลิตหรือที่เรามักเรียก 4M ได้แก่ Man Machine Method Material (ดูประกอบ ปัจจัยในกระบวนการผลิต 4 ด้าน (4M in Production Process) และ ปัจจัยในการดำเนินธุรกิจ 4 ด้าน (4M in Business)) ซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตตามกระบวนการ Process โดยพิจารณาหาทรัพยากรที่นำเข้ามาทั้งหมด (Input) ที่ได้รับเข้ามา ว่าจะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ (Output) เพื่อส่งมอบออกไปทั้งในขบวนการผลิตสินค้าและบริการ และยังใช้ช่วยในการติดตามการทำงานโดยวิธีการทวนสอบ ซึ่งจะช่วยในการวางแผนติดตามตรวจสอบ (Audit) ได้ง่ายขึ้น การนำเอากระบวนการมาเรียงลำดับก่อนหลังและแสดงความเชื่อมโยงกันหรือที่เรียกว่า เป็นการนำเอากระบวนการทั้งหมดจากข้อ 1 มาเรียงลำดับก่อนหลัง และแสดงความเชื่อมโยงกันค่ะ หรือที่เราเรียกว่าผังกระบวนการ (Business process flow chart) แผนภาพจะแบ่งออกเป็น 7 ส่วนวางในตำแหน่งอวัยวะของเต่า ได้แก่
1. ลำตัวเต่า เป็นส่วนของขั้นตอนการทำงาน (Process) ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญ ใครคือผู้ควบคุมกระบวนการ มีการใช้เครื่องมืออะไรในการปรับปรุงกระบวนการ และควบคุมระบบให้มีคุณภาพ
2. หัวเต่า เป็นส่วนที่จะต้องนำเข้าทรัพยากร (Inputs Resources) ดูว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้างที่ต้องนำเข้ามา ใครเป็นผู้ส่งมอบวัตถุดิบ
3. ขาหน้าเต่าขวา เป็นส่วนที่จะพิจารณา With,What (Material Equipment) ท้ายที่สุดก็ต้องมาวัดว่าผลที่ได้เป็นอย่างไร ?ใช้อะไรเป็นตัวชี้วัด ?
4. ขาหน้าเต่าซ้าย เป็นส่วนที่จะพิจารณา How (Procedures & Methods) จะต้องทำอย่างไร
5. ขาหลังเต่าขวา เป็นส่วนที่จะพิจารณา With,Who (competence/Skill/Training) Man ใครบ้างที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง ใครคือผู้รับการส่งมอบกระบวนการนี้
6. ขาหลังเต่าซ่าย เป็นส่วนที่จะพิจารณา Key Performance Indicators (KPIs) กระบวนการดังกล่าวมีตัวชี้วัดอย่างไร มีเอกสารการควบคุมกระบวนการ Documented Information อย่างไรบ้าง
7. ก้นหรือหางเต่า เป็นส่วนที่จะพิจารณาผลลัพท์หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการ (Outputs) ผลที่คาดหวังที่จะได้ รวมถึงใครเป็นผู้ส่งมอบผลิตภัณฑ์
* ที่มา : www.iok2u.com
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพเพิ่มเติมคลิกที่นี่
Tool เครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพ (Tools for quality management) รวมข้อมูล
-------------------------------------------------
Tool แบบกราฟฮีสโตแกรม (Histogram)
เครื่องมือ แบบกราฟฮีสโตแกรม (Histogram) เป็นกราฟแท่งที่ใช้สรุปการอนุมาน (Inference) ข้อมูลเพื่อที่จะใช้สรุปสถานภาพของกลุ่มข้อมูลนั้น
ฮิสโตแกรม (Histogram) คือ กราฟแท่งชนิดหนึ่งซึ่งแสดงถึงการกระจายความถี่ของข้อมูล(แสดงข้อมูลเป็นหมวดหมู่) ที่เก็บรวบรวมเรื่องใดเรื่องหนึ่งการจัดการคุณภาพ แสดงความถี่ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตามตัวแปรตัวหนึ่งใช้เปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดไว้มีแนวโน้มสู่ศูนย์กลางที่เป็นค่าสูงสุดแล้วกระจายลดหลั่นลงตามลำดับ วิธีการดำเนินงาน
1.รวบรวมข้อมูลยิ่งเก็บได้มากยิ่งดี จำนวนข้อมูลทั้งหมด คือ N
2.หาค่ามากที่สุด (L) และค่าน้อยที่สุด (S) ของข้อมูลทั้งหมดแยกตามกลุ่ม
3.หาค่าพิสัย (Ramge : R) และค่าความกว้างของชั้น
การวิเคราะห์ฮิสโตแกรมจึงมีประโยชน์ต่อการพิจารณาความบกพร่องของกระบวนการช่วยให้วิเคราะห์และหาวทางปรับปรุงคุณภาพได้ถูกต้อง
* ที่มา : www.iok2u.com
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพเพิ่มเติมคลิกที่นี่
Tool เครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพ (Tools for quality management) รวมข้อมูล
-------------------------------------------------
Tool แผนผังกระบวนการ (Flow Charts)
แผนผังกระบวนการ (Flow Charts) คือ ภาพลายเส้นแท่งวงกลมหรือจุดเพื่อใช้แสดงค่าของข้อมูลว่าความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล หรือแสดงองค์ประกอบต่างๆ
3 แผ่นตรวจสอบ (Check sheet) คือแบบฟอร์มที่มีการออกแบบช่องว่างต่าง ๆ ไว้เพื่อใช้บันทึกข้อมูลได้ง่ายและสะดวก แผนภูมิแจงนับ (Tally Chart) หรือ ใบตรวจสอบ (Check Sheet) คือ ตาราง แผนผัง หรือ รายการที่มีการออกแบบไว้ล่วงหน้าเพื่อความสะดวกในการบันทึกข้อมูลหรือตัวเลข แต่เพื่อความสะดวก มักจะออกแบบเพื่อให้สามารถใช้การ “ขีด” (/) ลงในใบตรวจสอบ เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตที่มีต่อปัญหาใดปัญหาหนึ่ง เป็นพื้นฐานสำคัญของการควบคุมกระบวนการและการแก้ไขปัญหา ใบตรวจสอบที่สร้างขึ้น
วิธีการดำเนินงานการจดทำแผนภูมิแจงนับ
1.เลือกเหตุการณ์ที่จะตรวจสอบให้แน่ชัด
2.กำหนดช่วงเวลาการเก็บข้อมูล
3.ออกแบบรายการตรวจสอบให้ง่ายต่อการใช้ ถ้าแบ่งออกเป็นคอลัมน์ๆ แต้ละช่องจะต้องมีความหมายชัดเจนแยกจากกัน
4.เก็บข้อมูลและบันทึกลงในกระดาษ โดยหลักการแล้ว วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบแต่ละอย่างจะเป็นตัวกำหนดรายการตรวจสอบ
* ที่มา : www.iok2u.com
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพเพิ่มเติมคลิกที่นี่
Tool เครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพ (Tools for quality management) รวมข้อมูล
-------------------------------------------------
Tool แผนผังการกระจาย (Scatter Diagram)
* ที่มา : www.iok2u.com
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพเพิ่มเติมคลิกที่นี่
Tool เครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพ (Tools for quality management) รวมข้อมูล
-------------------------------------------------
ระบบการเปลี่ยนแปลง (Transformation System) หรือ (Manufacturing System)
ระบบการเปลี่ยนแปลง (Transformation System) หรือ ระบบการผลิต (Manufacturing System) หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เกิดการสิ่งหนึ่งสิ่งใดขึ้นมาจากการใช้ทรัพยากร หรือปัจจัยการผลิตดำเนินการผลิตไปตามลำดับขั้นตอนของการกระทำก่อนหลัง จึงจัดการอยู่ในรูปแบบการผลิต
จากรูประบบการเปลี่ยนแปลง (Transformation System) หรือ ระบบการผลิต (Manufacturing System) หมายถึง กระบวนการที่นำเอาสิ่งของหรือวัตถุดิบนำเข้า ไปสู่ขั้นตอนหรือกระบวนการเพื่อทำการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลง ซึ่งผลจากการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและเกิดเป็นการเพิ่มมูลค่า โดยจะเห็นว่าการนำเข้าแม้จะมีสิ่งเดียวกัน แต่หากไปเข้าสู่กระบวนการจัดการที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างกันก็จะทำให้ได้ผลลัพท์ที่แตกต่างกันได้หลากหลาย เนื่องจากจะมีปัจจัยภายนอกที่เราควบคุมไม่ได้เป็นสิ่งที่มาคอยกำหนดควบคุม และยังจะมีตัวกำหนดภายในที่เราสร้างคือขั้นตอนการทำงานแผนกระบวนการ ซึ่งทั้งสองปัจจัยนั้นจะเป็นตัวกำหนดผลลัพท์ที่ได้ออกมา สรุปปัจจัยที่มีผลต่อระบบการเปลี่ยนแปลง แบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ
1. ปัจจัยการผลิต (Input)
-วัสดุ (Material)
- ชิ้นส่วน (Spare Part)
- แรงงาน (Labor)
- ผู้ผลิต (Supplier)
- เงินทุน (Capital)
- ข้อมูล (Data)
2. ปัจจุัยภายนอกเงื่อนไขแวดล้อม (Condition)
- วัตถุประสงค์ (Object)
- สภาพเศรษฐกิจ (Economy)
- ลูกค้า (Customer)
- ซัพพลายเออร์ (Suppliers)
- เทคโนโลยี (Technology)
- การแข่งขัน (Competition)
3. วิธีการ (Method)
- กระบวนการ (Process)
- ความรู้ (Knowledge)
- การติดตามตรวจสอบ (Monitor)
- เครื่องมืออุปกรณ์ (Machine)
- การควบคุม (Control)
- กฎระเบียบ (Rule)
4. ระบบการเปลี่ยนแปลง (Transformation System) หรือระบบการผลิต (Manufacturing System)
- การเปลี่ยนแปลง (Alteration)
- การตรวจสอบและกำกับ (Inspector)
- การขนส่ง (Transportation)
- พื้นที่เก็บข้อมูล (Storage)
- การตลาด (Marketing)
- ระยะเวลา (Time)
5. ผลผลิต (Output)
- สินค้า (Good)
- ผลิตภัณฑ์ (Product)
- บริการ (services)
- การควบคุม (Control)
- สารสนเทศ (Information)
ยกตัวอย่างการผลิตในภาพ ปัจจัยการผลิตส่วนที่ 1 จะเห็นว่าประกอบด้วย ข้าว กุ้ง และเครื่องปรุง สามสิ่งเหมือนกัน แต่สามารถออกผลผลิตข้อ 5 ได้เป็นอาหารหลากหลายชนิด สิ่งเหล่านี้เกิดจากผลของการจัดการผลิตในข้อ 4 จะเห็นว่า ส่วน 1 สิ่งนำเข้าแม้จะเป็นสิ่งเดียวกัน แต่มาผ่านขั้นตอนที่ต่างกันในส่วน 4 ที่มีการจัดการในกระบวนการที่ 3 มาดำเนินการ ก็จะทำให้เห้เกิดผลลัพท์ข้อ 5 ที่แตกต่างกันมากมาย และทุกสิ่งที่จะเป็นตัวมากำหนดให้ใช้กระบวนการอะไรในส่วนที่ 3 มาจากปัจจัยประกอบในส่วนที่ 2 คือ จุดประสงค์ ลูกค้า ผู้ขาย เวลา สถานการณ์ ความต้องการ มูลค่าทางเศรษฐกิจ หรือเทคโนโลยี ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีมากมาเป็นตัวกำหนดให้ผู้ผลิต เลือกขั้นตอนกระบวนการในส่วนที่ 3 มาทำการผลิตส่วน 4 ยกตัวอย่าง จากรูปดังนี้
- รูปแบบในช่วงเช้า อากาศยังเย็น บางคนไม่อยากกินมาก นอนตื่นสดชื่น เร่งรีบไปทำงาน
1. ข้าว กุ้ง และเครื่องปรุง
2. เวลาช่วงเช้า
3. สูตรทำข้าวต้ม หม้อต้ม และเครื่องปรุงข้าวต้ม
4. ทำเป็นข้าวต้มกุ้ม
5. ได้สินค้าราคาประมาณ 35 - 70 บาท
- รูปแบบในช่วงเที่ยง อากาศร้อน บางคนอยากกินมาก หิวทำงานหนัก เร่งรีบไปทำงาน
1. ข้าว กุ้ง และเครื่องปรุง
2. เวลาช่วงเที่ยง
3. สูตรทำข้าวผัด กะทะ และเครื่องปรุงข้าวผัด
4. ทำเป็นข้าวผัดกุ้ง
5. ได้ข้าวผัดกุ้ง สินค้าราคาประมาณ 60 - 120 บาท
- รูปแบบในช่วงเย็น อากาศเริ่มเย็น คนเริ่มกินมากมีเวลานั่งคุยสังสรรค เรื่อยๆ ไม่เร่งไม่รู้จะกลับบ้านนอนกี่โมง
1. ข้าว กุ้ง และเครื่องปรุง
2. เวลาช่วงเย็นเลิกงาน
3. สูตรทำกับแกล้ม หม้อต้มกะทะ และเครื่องปรุงสารพัด
4. ทำเป็นกับแกล้ม
5. ได้กุ้งแช่น้ำปลา กุ้งอบวุ้นเส้น สินค้าราคาประมาณ 150 - 300 บาท
จากตัวอย่างจะเห็นว่า ส่วนที่ 1 เหมือนกันจะได้ผลลัพท์ที่มีมูลค่าแตกต่างกัน แต่แม้จะรู้ว่ากระบวนการ 3 ตัวไหนจะทำให้ได้ผลลัพท์ส่วน 5 ที่ต่างแต่ก็ใช่ว่าจะทำได้เช่น ถ้าเรามาทำกุ้งแช่น้ำปลาขายตอนเช้า แม้ราคาจะสูงแต่ก็อาจไม่ได้ขายเพราะปัจจัยในข้อ 2 ควบคุมอยู่
ดังนั้นการคิดจะทำอะไรต้องมองให้ครอบคลุมในทุกด้าน และที่สำคัญที่สุดคือสิ่งที่ใช้นำเข้า
ดูเพิ่มเติมที่ การนำขยะเข้าจะได้ผลลัพท์ขยะออก (Garbage In Garbage Out, GIGO) เพราะส่วนสำคัญในความสำเร็จ คือ สิ่งตั้งต้นนั่นเอง
-------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward