iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย 4.0 มิติหลัก 6 มิติ
ในปัจจุบันประเทศไทยได้มีการจัดทำระบบวิเคราะห์และประเมินธุรกิจสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต โดยมีชื่ว่า ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 สำหรับประเทศไทย (Thailand i4.0 Index) การดำเนินการในเรื่องนี้จะมีผลดีอย่างมากต่อการขับเคลื่อนองค์กรในภาคอุตสหกรรม ให้มีสามารถประเมินตัวเองหาจุดอ่อนและช่องว่างในการพัฒนาตัวเองให้ก้าวสู่การเป็นอุตสาหกรรม 4.0 และเป็นการยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรมช่วยทำให้โรงงานอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการมีองค์ความรู้ดวามเข้าใจในเรื่องการปรับปรุงองค์กรให้เป็นมาตรฐานเพิ่มขึ้น ทราบจุดอ่นข้อบกพร่องหรือช่องว่างที่มีในการทำงานว่าจะต้องปรับปรุงองค์กรของตนในด้านใด และควรเริ่มปรับปรุงด้านใดก่อนควรใช้กลยุทธ์อย่างไร เพื่อให้ก้าวไปสู่องค์กรแห่งยุคอุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย (Framework of Thailand i4.0 Index) แบ่งเป็น 6 มิติหลัก (Dimensions) และ 17 มิติย่อย ได้แก่
ภาพ ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย (Thailand i4.0 Index)
มิติ 1 เทคโนโลยี (Technology) ความพร้อมของระบบการผลิต ระบบบริหารและธุรการ ขององค์กร และระบบการจัดการ Facilities ที่เป็นแบบ เทคโนโลยีอัตโนมัติ (Automation Technology) และ เทคโนโลยีเครือข่าย (network Technology) ที่เชื่อมต่อกันแบบไร้รอยต่อ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติ ตั้งแต่การควบคุมการผลิตการจัดการสถานที่และองค์กร และเชื่อมต่อทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย 6 มิติย่อย .
..
มิติ 2 ระบบอัจฉริยะในการทำงาน (Smart Operation) ความสามารถของระบบการผลิต ระบบบริหารและธุรการขององค์กร และระบบการจัดการ Facilities ที่เป็นแบบชาญฉลาดและบริหารจัดการและปรับเปลี่ยนในตัวระบบเอง การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างชาญฉลาดเพื่อใช้ในการบริหารการผลิต การดำเนินงานขององค์กรอุปกรณ์และสถานที่ผลิตที่ดำเนินแบบแผนไปในทางเดียวกันอย่างคล่องตัว ประกอบด้วย 3 มิติย่อย
.
มิติ 3 ระบบไอทีและธุรกรรมข้อมูล (IT System & Data Transaction) การบูรณาการระบบและการจัดการภายในองค์กรและระหว่างองค์กร การบูรณาการโครงสร้างภายในองค์กรโดยเชื่อมต่อกระบวนการต่างๆ แบบแนวตั้งหรือแบบปิรามิด และการเชื่อมต่อกันระหว่างห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ประกอบด้วย 2 มิติย่อย
.
มิติ 4 ตลาดและลูกค้า (Market & Customers) การบริหารและจัดการที่เกี่ยวข้องความต้องการของตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการจัดการตลอดช่วงอายุของผลิตภัณฑ์ การรวบรวมและจัดการข้อมูลเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายและสภาพตลาด เพื่อการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจการออกแบบและวางแผนวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย 2 มิติย่อย
.
มิติ 5 กลยุทธ์และองค์กร (Strategy & Organization) กระบวนการทำงานและการนำพาองค์กรจากผู้บริหารไปสู่พนักงาน การวางแผนและพัฒนาขององค์กรสู่ Industry 4.0 โดยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารและการร่วมมือกับพันธมิตรภายนอก การบริหารจัดการทางกลยุทธ์และโคร้างสร้างการบริหารงานขององค์กร ประกอบด้วย 3 มิติย่อย
.
มิติ 6 ทุนมนุษย์ (Human Capital) การบริหารและจัดการทางทรัพยากรบุคคลขององค์กร การพัฒนาความสามารถและศักยภาพของพนักงานด้วยกระบวนการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับทิศทางในปัจจุบันและอนาคต มู่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ ประกอบด้วย 1 มิติย่อย
.
ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย 4.0 มิติหลัก 6 มิติ |
มิติ 1 เทคโนโลยีอัตโนมัติ (Automation Technology) - ระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติ (Automation Technology) ส่งเสริมการนำระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติมาช่วยในการทำงาน ให้มีการส่งข้อมูลอัตโนมัติในองค์กร เช่น ระบบเซ็นเซอร์ (sensor) ตรวจวัดค่าในงานการผลิต ระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัดค่าในงานบริหารธุรการองค์กร และระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัดค่าระบบช่วยในการทำงานเสริม (Facilities) มุ่งผลสำเร็จให้มีระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัดค่าที่สามารถตรวจแสดงผลตอบสนองการทำงานทั้งระบบได้โดยอัตโนมัติและในเวลาทันที เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ เช่น ระบบ Sensor ระบบ IoT, ระบบ GPS, ระบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities), ระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรมและการผลิต (Industrial Automation and Manufacturing) และการดูแลและติดตามระยะไกล (Remote Monitoring) ระบบจัดการพลังงาน (Energy Management) ระบบตรวจสอบสิ่งแวดล้อม (Environmental Monitoring) และระบบจัดการค้าปลีกและสินค้าคงคลัง (Retail and Inventory Management) ระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติ (Automation Technology) ตัวอย่างโครงการ |
มิติ 1 เทคโนโลยีเครือข่าย (network Technology)
- ระบบเทคโนโลยีเครือข่าย (Network Technology) ส่งเสริมการนำระบบเครือข่ายมาใช้ช่วยในการทำงาน ทำการเชื่อมโยงการส่งข้อมูลในองค์กร เช่น เชื่อมโยงระบบการผลิต เชื่อมโยงระบบบริหารธุรการขององค์กร และเชื่อมโยงระบบช่วยในการทำงานเสริม (Facilities) มุ่งผลสำเร็จให้ระบบมีความสามารถเชื่อมโยงการทำงานเกิดเครือข่ายการส่งข้อมูลทั้งระบบแบบไร้รอยต่อ สามารถแสดงผลข้อมูลเพื่อตอบสนองการทำงานได้ทั้งระบบในเวลาทันที ตัวอย่างระบบเครือข่าย เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ เช่น การให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure as a Service: IaaS), การให้บริการแพลตฟอร์ม (Cloud Platform as a Service: PaaS), การให้บริการซอฟต์แวร์ (Software as a Service; SaaS), การให้บริการระบบจัดเก็บข้อมูล (data Storage as a Service; dSaaS) และการให้บริการร่วมรวมลำดับความเชื่อมโยง (Composite Service; CaaS) |
มิติ 2 ระบบอัจฉริยะในการทำงาน (Smart Operation)
ระบบควบคุมอัจฉริยะในการทำงาน (Smart Operation) ส่งเสริมการใช้ระบบควบคุมการทำงานแบบอัจฉริยะมาช่วยในการทำงาน ทำการสั่งการระบบให้เกิดการทำงานที่รวดเร็ว ยกระดับความสามารถในองค์กร เช่น ระบบการผลิตอัตโนมัติ ระบบอัจฉริยะในการจัดการบริหารงานธุรการขององค์กร (อุปกรณ์และสถานที่) และระบบอัจฉริยะช่วยในการทำงานเสริม (Facilities) มุ่งผลสำเร็จให้ระบบที่มีการทำงานแบบชาญฉลาด บริหารจัดการและปรับเปลี่ยนได้ในตัวระบบเอง มีการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างชาญฉลาด สามารถดำเนินการทำงานไปในทางเดียวกันอย่างคล่องตัวมีความสามารถเชื่อมโยงการทำงานเกิดเครือข่ายการส่งข้อมูลแบบไร้รอยต่อ สามารถสั่งการทำงานระบบได้โดยอัตโนมัตและในเวลาทันที เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ เช่น ระบบอุตสาหกรรมและการผลิตอัจฉริยะ (Smart Industrial and Manufacturing), ระบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities), ระบบควบคุมดูแลระยะไกล (Remote Monitoring) ระบบจัดการพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy Management) และระบบจัดการค้าปลีกและสินค้าคงคลังอัจฉริยะ (Smart Retail and Inventory) |
มิติ 3 ระบบไอทีและธุรกรรมข้อมูล (IT System & Data Transaction)
- ระบบไอทีและธุรกรรมข้อมูล (IT System & Data Transaction) ส่งเสริมการนำข้อมูลมาใช้ในการทำงานบูรณาการระบบ การบูรณาการโครงสร้างภายในองค์กรโดยเชื่อมต่อกระบวนการต่างๆ แบบแนวตั้งหรือแบบปิรามิด การจัดการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งแบบภายในองค์กร การเชื่อมโยงข้อมูลแบบระหว่างองค์กรเชื่อมต่อกันระหว่างห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ เช่น ระบบบริหารทรัพยากรในองค์กร (ERP), ระบบบริการคลังสินค้า (WMS), ระบบบริหารการขนส่ง (TMS), ระบบวางแผนทรัพยากรการผลิต (MRP), ระบบบริหารลูกค้าสัมพันท์ (CRM), ระบบบริหารชัพพลายเออร์ (SRM) ระบบไอทีและธุรกรรมข้อมูล (IT System & Data Transaction) ตัวอย่างโครงการ |
มิติ 4 ตลาดและลูกค้า (Market & Customers) - การบริหารและจัดการข้อมูลตลาดและลูกค้า (Market & Customers) ส่งเสริมการนำระบบข้อมูลสารสนเทศมาใช้ในงานบริหารและจัดการที่เกี่ยวข้องความต้องการของตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการจัดการตลอดช่วงอายุของผลิตภัณฑ์ การรวบรวมและจัดการข้อมูลเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายและสภาพตลาด เพื่อการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ การออกแบบ และวางแผนวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ เช่น โครงการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ระบบธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligent) และระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI) การบริหารและจัดการข้อมูลตลาดและลูกค้า (Market & Customers) ตัวอย่างโครงการ |
มิติ 5 กลยุทธ์และองค์กร (Strategy & Organization)
- การบริหารและจัดการกลยุทธ์และองค์กร (Strategy & Organization) ส่งเสริมการกำหนดเป้าหมาย การวางแผน การกำหนดแนวทาง กระบวนการทำงาน และการนำพาองค์กรไปสู่ อุตสาหกรรม 4.0 โดยมีทั้งในระดับผู้บริหารไปถึงพนักงานทุกระดับ จะเน้นการวางแผนและพัฒนาขององค์กรไปสู่ Industry 4.0 โดยวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร และการร่วมมือกับพันธมิตรภายนอก การบริหารจัดการทางกลยุทธ์และโครงสร้างการบริหารงานขององค์กร เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ เช่น โปรแกรมบริหารจัดการองค์กร โปรแกรม HR การบริหารและจัดการกลยุทธ์และองค์กร (Strategy & Organization) ตัวอย่างโครงการ |
มิติ 6 ทุนมนุษย์ (Human Capital) - การพัฒนาบุคลากร การบริหารและจัดการทางทรัพยากรบุคคลขององค์กร การพัฒนาความสามารถและศักยภาพของพนักงานด้วยกระบวนการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับทิศทางในปัจจุบันและอนาคต มู่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ เช่น โปรแกรม HR โปรแกรมบริหารจัดการองค์กร |
จาก 6 มิติหลัก การประเมินในระบบยังแบ่งย่อยมิติ (Subdimensions) ออกเป็น มิติย่อย 17 มิติย่อย เพื่อให้การวัดระดับความพร้อมขององค์กรมีความชัดเจนเพียงพอ ในการพิจารณาแต่ละมิติย่อยก็มีการกำหนด ระดับความพร้อม ย่อยลงได้อีกเป็น 6 ระดับ (Bands) ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้อีกต่อไป
---------------------------------------------
สนใจข้อมูลเรื่องราวเพิ่มเติม คลิกที่นี่
ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมอุตสาหกรรมไทย 4.0 (Thailand I 4.0 Index)
---------------------------------------------
ที่มาข้อมูล
---------------------------------------------
สนใจข้อมูลเรื่องราวอุตสาหกรรม 4.0 เพิ่มเติม คลิกที่นี่
อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูล---------------------------------------------
ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระดับ Band ความพร้อม
ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระดับความพร้อม แบ่งออกเป็น 6 ระดับ (ฺBand)
ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย 4.0 แบ่งออกเป็น 6 ระดับ (ฺBand) โดยใน 6 ระดับเทียบกับอุตสาหกรรม 4 ระดับ ได้แก่
Band 1 ระดับเริ่มต้นยังไม่มีการปรับปรุงพัฒนา เทียบได้กับ อุตสาหกรรม 1.0 เป็นระดับการทำงานที่ยังมุ่งเน้นใช้แรงงาน ยังไม่ได้เป็นระบบอัตโนมัติหรือระบบกึ่งอัตโนมัติในการทำงาน
Band 2 ระดับที่เริ่มมีการนำระบบอัตโนมัติมาช่วยในการทำงาน เทียบได้กับ อุตสาหกรรม 2.0 เป็นระดับการทำงานที่นำเอาเครื่องมือเครื่องจักรระบบอัตโนมัติหรือระบบกึ่งอัตโนมัติมาใช้ในการทำงานบางส่วน
Band 3 ระดับที่มีการนำระบบอัตโนมัติมาช่วยในการทำงานมากขึ้น เทียบได้กับ อุตสาหกรรม 3.0 เป็นระดับการทำงานที่นำเอาเครื่องมือเครื่องจักรระบบอัตโนมัติหรือระบบกึ่งอัตโนมัติมาใช้ในการทำงานที่มากขึ้นเกือบครบทั้งหมด
* สำหรับในส่วนที่เทียบได้กับ อุตสาหกรรม 4.0 จะมีการแบ่งย่อยออกมาอีก 3 Band ได้แก่
Band 4 ระดับที่มีการนำระบบอัตโนมัติมาช่วยในการทำงานเป็นสายการผลิตอัตโนมัติ เทียบได้กับ อุตสาหกรรม 4.0 เป็นระดับการทำงานที่นำเอาเครื่องมือเครื่องจักรระบบอัตโนมัติมาใช้ทำงานในไลนกระบวนการผลิตโดยมีมากกว่า 80%
Band 5 ระบบอัตโนมัติที่ยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ (Flexible automation) กระบวนการผลิต เป็นระดับการทำงานที่เป็นระบบอัตโนมัติมากกว่า 80% โดยเป็นระบบที่รองรับการผลิตแบบ Mass customization ที่สามารถปรับเปลี่ยนการทำงานได้ง่ายและรวดเร็ว ในส่วน กระบวนการสนับสนุนการผลิต มากกว่า 80% เป็นระบบอัตโนมัติ
Band 6 ระบบอัตโนมัติทั่วทั้งองค์กร (Company-wide automation) กระบวนการผลิตและกระบวนการสนับสนุนการผลิต เป็นระดับการทำงานที่เป็นระบบอัตโนมัติ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกับ Platforms ของระบบอัตโนมัติระดับองค์กรและระบบอัตโนมัติของส่วนเสริม (Facility) ได้ครอบคลุมทั้งหมด ทำให้เกิดเป็นโครงข่ายอัจฉริยะ (Autonomous Networks) อย่างสมบูรณ์
ตัวอย่างการประเมิน
- มิติย่อยที่ 01 ระบบอัตโนมัติในงานการผลิต (Production Automation)
-
-
-
---------------------------------------------
สนใจข้อมูลเรื่องราวเพิ่มเติม คลิกที่นี่
ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมอุตสาหกรรมไทย 4.0 (Thailand I 4.0 Index)
---------------------------------------------
ที่มาข้อมูล
---------------------------------------------
สนใจข้อมูลเรื่องราวอุตสาหกรรม 4.0 เพิ่มเติม คลิกที่นี่
อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูล---------------------------------------------
ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย 4.0 มิติ 1 เทคโนโลยี (Technology)
มิติย่อยที่ 01 ระบบอัตโนมัติในงานการผลิต (Production Automation)
ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่มีในงานองค์กร 10 หมวด |
|
ค่าใช้จ่ายการรับประกันและ การบริการหลังการขาย (Aftermarket/Services) |
ค่าใช้จ่ายจากการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสินค้าที่ขายไปแล้ว ที่เกิดขึ้นภายใน ระยะเวลาการรับประกันสินค้าของบริษัท |
ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) |
ค่าใช้จ่ายที่ตัดออกจากมูลค่าสินทรัพย์ถาวรที่กิจการใช้ประโยชน์ อย่างมี ระบบตลอดอายุ การใช้ประโยชน์ของสินทรัพย์นั้น |
ค่าแรงงาน (Labour) |
ค่าจ้างหรือผลตอบแทนทั้งหมดที่จ่ายให้กับพนักงาน ซึ่งรวมถึง 1) ค่าแรงทางตรง และ 2) ค่าแรงทางอ้อม เช่น ค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการและภาษีที่ออกให้พนักงาน |
ค่าบำรุงรักษาและซ่อมแซม (Maintenance & Repair) |
ค่าใช้จ่ายในการทำให้สินทรัพย์ เช่น อาคาร โครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์และเครื่องจักร กลับสู่สภาพที่ดีหรืออยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายในการซ่อม และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาตามแผนบำรุงรักษา |
ค่าวัตถุดิบและวัสดุสิ้นเปลือง (Raw Materials & Consumables) |
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับวัตถุดิบทางตรง ซึ่งเป็นวัตถุที่รวมอยู่ในผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย และวัตถุดิบทางอ้อมที่ถูกใช้ไปในระหว่างกระบวนการผลิต แต่ไม่รวมอยู่ในผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย |
ค่าเช่าและค่าเช่าใช้ (Rental & Operating Lease) |
ค่าใช้จ่ายจากการใช้สินทรัพย์ที่บริษัทไม่ได้เป็นเจ้าของ เช่น ที่ดิน โรงงานสำนักงาน คลัง อาคาร เครื่องจักร อุปกรณ์ ยานพาหนะ เป็นต้น |
ค่าการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) |
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการค้นคว้า วิจัย พัฒนาหรือปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการ |
ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารจัดการ (SG&A) |
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์หรือการให้บริการ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายขององค์กร ค่าใช้จ่ายด้านกฎหมาย ค่าประกันภัย ค่าใช้จ่ายในการขาย เงินเดือนผู้บริหาร และค่าใช้จ่ายด้านการตลาดและโฆษณา |
ค่าขนส่งและกระจายสินค้า (Transportation & Distribution) |
ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งรวมถึงค่าขนส่งวัตถุดิบ/สินค้าจากซัพพลายเออร์ และค่าขนส่งสินค้าให้กับลูกค้า ด้วยโหมดการขนส่งต่างๆ เช่น ทางบก ทางอากาศ ทางทะเล |
ค่าสาธารณูปโภค (Utilities) |
ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้า/ก๊าซ/เชื้อเพลิง น้ำใช้และน้ำสาธารณูปโภค ค่าระบบบำบัดน้ำทิ้ง และค่าดูแลสภาพแวดล้อมโดยรอบสถานประกอบการ เป็นต้น |
---------------------------------------------
สนใจข้อมูลเรื่องราวเพิ่มเติม คลิกที่นี่
ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมอุตสาหกรรมไทย 4.0 (Thailand I 4.0 Index)
---------------------------------------------
---------------------------------------------
สนใจข้อมูลเรื่องราวอุตสาหกรรม 4.0 เพิ่มเติม คลิกที่นี่
อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูล---------------------------------------------
การประเมินความพร้อมในการเพิ่มผลผลิต (Productivity Again Readiness Assessment) ของไต้หวัน
สถาบันเพิ่มผลผลิตไต้หวัน (China Productivity Center) มีการพัฒนาเครื่องมือการประเมินความพร้อมอุตสาหกรรม ในชื่อ การประเมินความพร้อมในการเพิ่มผลผลิต (Productivity Again Readiness Assessment: The i-Bench Assessment) ขึ้นในปี พ.ศ. 2560 โดยให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประเมินสมรรถนะบริษัทของตนเอง โดยแบ่งการประเมินเป็น 4 มิติและมี ประเด็นย่อยทั้งหมด 16 หัวข้อ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1) Organization strategy กลยุทธ์องค์กร ประกอบด้วยวิสัยทัศน์ การบริหารงาน (Visionary Management) การวางแผนกลยุทธ์องค์กร (strategic Planning) ระบบการปฏิบัติการที่ช่วยในการตัดสินใจ (Operation Management) และฝ่ายทรัพยากรบุคคล (Human Resource) ที่เอื้อต่อการพัฒนาองค์กรสู่ อุตสาหกรรม 4.0
2) Smart Manufacturing ระบบอุตสาหกรรมอัจฉริยะที่ประกอบด้วยระบบการผลิตที่เชื่อมต่อกันโดย สมบูรณ์ด้วยระบบอัตโนมัติ อุปกรณ์และเครื่องจักรมีความสามารถในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งระบบการ ควบคุมคุณภาพ ครอบคลุม 4 หัวข้อ ได้แก่ ระบบการจัดการแบบ Lean (Lean Management) ระบบ กระบวนการผลิตอัจฉริยะ (Smart Production) ระบบการให้บริการอัจฉริยะ (Smart Service) และระบบการ ประเมินสมรรถะ (Performance Evaluation)
3) Drive for Smart Technology ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว ในการใช้ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจในการบริหารจัดการการผลิต การปรับปรุงและเกิดความล่าน้อยที่สุด
4) Value Innovation การสร้างนวัตกรรมเซิงคุณค่าเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันและเพิ่มการเจริญเติบโตของธุรกิจ
การประมวลผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินความพร้อมอุตสาหกรรมของไต้หวัน จะแสดงผลลัพธ์คล้ายกับผลลัพธ์ของ IMP3 rove Academy ของเยอรมนี ที่ผลลัพธ์การประเมินของบริษัทจะเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (Benchmarks) ที่เป็นค่าเฉลี่ย (Average) และที่เป็นผู้นำในแต่ละมิติ (Champions) ซึ่งจะช่วยให้บริษัททราบสถานภาพของตน ว่าอยู่ในช่วงการพัฒนาใดของ Industry 4.0 Maturity รวมถึงทราบสมรรถนะหรือช่องว่าง (Gap) เพื่อจะได้สามารถระบุปัญหาในการปรับปรุงและพัฒนาในมิตินั้นต่อไป มิติใดเมื่อเปรียบเทียบแล้วเกิดช่องว่างหรือมีระยะห่างกับผู้ที่เป็นผู้นำในมิติด้านนั้นมาก บ่งบอกถึงความจำเป็นและลำดับในการที่ต้องแก้ปัญหาในมิติด้านนั้นก่อน สถาบันเพิ่มผลผลิตของไต้หวันค่อนข้างมีการทำงานเชิงรุก จึงมีการเสนอทางเลือกเพื่อการปรับปรุงและการพัฒนาให้แก่ SMEs อุตสาหกรรมภาคการผลิตที่มีความสนใจยกระดับกระบวนการผลิตของตนให้สูงขึ้น และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐด้วยเช่นกัน
.
---------------------------------
ที่มาข้อมูล
---------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูลind4_twn เครื่องมือการประเมินความพร้อมอุตสาหกรรม (Productivity Again Readiness Assessment)
สถาบันเพิ่มผลผลิตของไต้หวัน (China Productivity Center) มีการพัฒนาเครื่องมือการประเมินความพร้อมอุตสาหกรรม ในชื่อ Productivity Again Readiness Assessment : The i-Bench Assessment ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ประเมินสมรรถนะบริษัทของตนเอง โดยแบ่งการประเมินเป็น ๔ มิติ และมีประเด็นย่อยทั้งหมด ๑๖ หัวข้อ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
1. กลยุทธ์องค์กร (Organization Strategy) ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ การบริหารงาน (Visionary Management) การวางแผนกลยุทธ์องค์กร (Strategic Planning) ระบบการปฏิบัติการที่ช่วยในการตัดสินใจ (Operation Management) และฝ่ายทรัพยากรบุคคล (Human Resource) ที่เอื้อต่อการพัฒนาองค์กรสู่อุตสาหกรรม 4.0
2. ระบบอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Manufacturing) ที่ประกอบด้วย ระบบการผลิตที่เชื่อมต่อกันโดยสมบูรณ์ด้วยระบบอัตโนมัติ อุปกรณ์และเครื่องจักรมีความสามารถในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งระบบการควบคุมคุณภาพ ครอบคลุม 4 หัวข้อ ได้แก่ ระบบการจัดการแบบ Lean (Lean Management) ระบบกระบวนการผลิตอัจฉริยะ (Smart Production) ระบบการให้บริการอัจฉริยะ (Smart Service) และระบบการประเมินสมรรถะ (Performance Evaluation)
3. ตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัล (Drive for Smart Technology) เพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ และรวดเร็วในการใช้ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจในการบริหารจัดการการผลิต การปรับปรุงและเกิดความล่าน้อยที่สุด
4. การสร้างนวัตกรรมเชิงคุณค่า (Value Innovation) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันและเพิ่มการเจริญเติบโตของธุรกิจ
ที่มาข้อมูล China Productivity Center, Republic of China
---------------------------------
ที่มาข้อมูล
---------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูลเว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward