CT54 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2554
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้รับมอบหมายจากกระทรวงอุตสาหกรรมในการดำเนินภารกิจที่สำคัญ 3 ด้านได้แก่ การบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรแร่ การพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรม ซึ่งในส่วนของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรมเป็นภารกิจใหม่ที่ได้รับมอบหมายตั้งแต่ปี 2549 เพื่อมุ่งส่งเสริมให้ภาคการผลิตมีการจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการดำเนินการภายใต้แผนปฏิบัติการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรม 4 ประเด็นหลักประกอบด้วย
(1) การเชื่อมโยงระหว่างองค์กรตลอดโซ่อุปทาน
(2) การปรับปรุงประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภายในองค์กร
(3) การพัฒนาขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์
(4) การสร้างปัจจัยเอื้อเพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจของภาคอุตสาหกรรม
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ,มีดำเนินกิจกรรมสำคัญที่เป็นรูปธรรม เช่น การกำหนดและเผยแพร่วิธีการจัดการที่ดีที่สุด (Best Practice) การจัดทำตัวชี้วัดโลจิสติกส์ ได้แก่ ต้นทุนโลจิสติกส์ ซึ่งแสดงในรูปของต้นทุนโลจิสติกส์ต่อยอดขายและดัชนีต้นทุนโลจิสติกส์ การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ในสถานประกอบการ โดยให้คำปรึกษาแนะนำให้สถานประกอบการมีการจัดการโลจิสติกส์ที่ได้มาตรฐาน ตลอดจนการสร้างองค์ความรู้แก่บุคลากรด้านโลจิสติกส์โดยการฝึกอบรมและดูงาน การเสริมศักยภาพผู้ว่างงานภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพ นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยดำเนินโครงการพัฒนาเนื้อหาและองค์ความรู้ด้านโลจิสติกส์อุตสาหกรรม พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมสาขาเป้าหมาย เพื่อให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านโลจิสติกส์ โดยผลผลิตประการหนึ่งของโครงการคือ การจัดทำบทความเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ได้แก่ http://logistics.dpim.go.th และ http://www.industry4u.com ในหัวข้อต่างๆ ได้แก่
(1) การกระจายสินค้า
(2) การปรับปรุงประสิทธิภาพในองค์กร
(3) ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพ
(4) Reverse Logistics
(5) Green Logistics
(6) สารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ
(7) แนวคิดโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ โดยจัดทำเป็นรูปเล่ม เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
สนใจบทความดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT54 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2554
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2554” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจ จัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
CT54 National Single Window กลยุทธ์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
CT54 วางแผนวัสดุคงคลัง (Inventory planning) ด้วยการสร้างสมดุลในซัพพลายเชน (Demand supply balance)
CT54 การพยากรณ์ (Forecasting) เพื่อการจัดการซัพพลายเชนขององค์กร
CT54 การจัดการข้อมูลวัสดุคงคลังให้มีความแม่นยำ
CT54 เวลานำ (Lead Time) กับการวางแผน
CT54 ต้นทุนสินค้าคงคลังต่ำ ไม่จำเป็นต้อง Zero Stock เสมอไป
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2554
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่