iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
LM57 การจัตการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
การจัตการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
ความสำคัญของการจัดการโลจิสติกส์
การจัตการโลจิสติกส์ (Logistics Management) เป็นเป้าหมายสำคัญที่ทุกองค์กรใช้เป็นแหล่งที่มาของความได้เปรียบในการแข่งขัน โตยให้ความสำคัญกับต้นทุนการดำเนินการต่าง ๆ การแข่งขันและพยายามหาวิธีลดต้นทุนให้ต่ำลง เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันในตลาด เนื่องจากการเพิ่มราคาสินค้า เพื่อรักษาระดับรายไต้ให้เท่าเดิมนั้นเป็นไปได้ยากในสภาวะทางการแข่งขันทางการตลาตในปัจจุบัน เมื่อต้นทุนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในองค์กรเป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ทุกองค์กรจึงหันมาให้ความสำคัญ โดยเฉพาะต้นทุนโลจิสติกส์ที่เกิดในแต่ละกิจกรรมในกระบวนการโลจิสติกส์ เช่น การให้บริการถูกค้า การขนส่ง กระบวนคำสั่งซื้อและข้อมูลการสั่งซื้อ ปริมาณการสั่งซื้อ และการจัดเก็บสินค้าคงคลัง จึงทำให้แนวคิดเรื่องต้นทุนรวม โดยการมุ่งเน้นในการลดต้นทุนรวมของทุกกิจกรรมโลจิสติกส์ เป็นประเด็นสำคัญเพื่อทำให้การบริหารกระบวนการทางต้นโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพ
การจัตการโลจิสติกส์มีความสำคัญทั้งในระดับจุลภาค (ภายในองค์กร) และระดับมหภาค (ระดับชาติ) โดยเฉพาะด้านการเงินซึ่งเป็นด้านที่ทุกองค์กรหรือทุกประเทศสามารถเห็นภาพของความสำคัญของการจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพต่อตัวแปรต่าง ๆ ทางต้านการเงิน ตังนี้
1. ระตับจุลภาค การจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพต่อตัวแปรต่างๆ ทางต้านการเงินภายในองค์กรมีดังนี้
1.1) ผลกระทบที่มีต่ออัตราส่วนอัตราการทำกำไรจากการลงทุน (Return of Investment; ROI)
รูปที่ 1.1 ความสัมพันธ์ของการจัดการโจจิสติกส์ที่มีผลต่ออัตราส่วนการทำกำไรจากการลงทุน (Returm of Investment; ROI)
1.2 ผลกระทบที่มีต่องบดุลองค์กร
รูปที่1.2 แสตงความสัมพันธ์ของตัวแปรทางต้นโลจิสติกส์กับองค์ประกอบในงบดุล
2. ระดับมหภาค นอกจากในระดับจุลภาคแล้ว โลจิสติกส์ยังเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและขับเคลื่อนภาคธุรกิจของประเทศ ให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศในระตับมหภาคได้อีกด้วย โตยเฉพาะอย่างยิ่งระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม การสื่อสาร สิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า และระบบโลจิสติกส์ซึ่งมีผลโดยตรงต่อกระบวนการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ รวบรวม และกระจายสินค้าจากจุดเริ่มต้นไปสู่ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในด้านของตันทุนการผลิตสินและต้นทุนโลจิสติกส์ จากข้อมูลต้นทุนโลจิสศิกส์ต่อผลิตภัณฑ์มวสรวมในประเทศ (GDP) ของไทย ซึ่งจัดทำโตยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ได้มีการปรับปรุงข้อมูลล่าสุดพบว่าต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยในปี พ.ศ.2556 อยู่ที่ ร้อยละ 14.0 ในปี พ,ศ.2555อยู่ที่ ร้อยละ 144 และร้อยละ 147 ในปี พ.ศ 2554 ซึ่งแม้จะมีแนวโน้มที่ลดลง แต่ยังสูงเมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนโลจิสติกส์กับประเทศอื่น เช่น ประเทศแถบยูโรป สหรัฐอเมริกา หรือญี่ปุ่น หรือเมื่อพิจารณาตัชนี่ชี้วัตประสิทธิภาพต้านโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศ (LPI; Logistics Performance Index) ซึ่งจัดทำโดยธนาคารโลก (World Bank) ด้านต่าง ๆ 6ต้าน ได้แก่ ประสิทธิภาหของพิธีการศุลกากร (Customs) โครงสร้างพื้นฐานด้านการค้าและการขนส่ง (Infrastructure) การจัตการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (International Shipments) ความสามารถและคุณภาพของบริการโลจิสติกส์ในประเทศ (Logistics Competence) การติดตามสถานะการจัตส่ง (Tracking & Tracing) และความตรงต่อเวลาในการจัตส่ง (Timeliness) ในปี พ.ศ. 2557 ประเทศที่มีตัชนีชี้วัตประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เยอรมนี (ค่าดัชนี 4.12) เนเธอร์แลนด์ (ค่าดัชนี 4.05) เบลเยี่ยม (ค่าดัชนี 4.04) สหราชอาณาจักร (ค่าดัชนี 4.01) และสิงคโปร์ (ค่าดัชนี 4.0) ตามลำดับ แต่สำหรับประเทศไทยถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 35 (ค่าดัชนี 3.43) ซึ่งยังตามหลังประเทศในภูมิภาคอาเชียน 2 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ (อันตับที่ 5) และมาเลเซีย (อันตับที่ 25) ดังนั้น นอกจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ การศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และปัจจัยทางด้านสังคมแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยต้องมีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง และโลจิสติกส์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ โตยเฉพาะในภูมิภาคอาเชียนต่อไป
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ คลิกที่นี่
LM57 พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ (Fundamentals of Logistics Management) ปี 2557
บริษัทขนส่งภายนอกการขนส่งสินค้าเป็นกิจกรรมโลจิสติกส์ที่เป็นที่รู้จักและมีบทบาทมาก ถึงกับมีการเข้าใจผิดว่า การจัดการโลจิสติกส์ก็คือการจัดการระบบขนส่ง ซึ่งความเป็นจริงแล้วการขนส่งเป็นเพียงกิจกรรมหนึ่งของ โลจิสติกส์เท่านั้น ภารกิจสำคัญของกิจกรรมการขนส่งจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ สินค้า พัสดุ สิ่งของและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเพื่อให้มีการรับ-ส่งมอบสินค้าและบริการให้แต่ละหน่วยงานในโซ่อุปทานทั้งภายในและภายนอกองค์กร ในที่นี้ขอกล่าวถึงเฉพาะในส่วนของการขนส่งภายนอกองค์กรเท่านั้นซึ่งจากความสำคัญดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรต้องให้ความสำคัญกับระบบการจัดการขนส่ง เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศจนก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร ทั้งนี้การบริหารจัดการการขนส่งสิ่งที่สำคัญคือการเข้าใจธุรกิจที่องค์กรดำเนินการอยู่และการพิจารณาต้นทุนในการขนส่ง สำหรับการพิจารณาเพื่อตัดสินใจเลือกลักษณะการขนส่งสามารถแบ่งออกเป็นสองกรณี คือ การขนส่งด้วยตัวเอง หรือการว่าจ้างผู้ให้บริการขนส่ง การที่องค์กรจะเลือกกรณีใดนั้นจะต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับความสำคัญจากมากไปน้อย ในหัวข้อเป้าหมายหลักขององค์กร วิเคราะห์กิจกรรมและต้นทุนการขนส่งโดยละเอียดดังต่อไปนี้
- เป้าหมายหลักขององค์กรโดยพิจารณากิจกรรมหลักขององค์กรรวมถึงความได้เปรียบในการแข่งขันที่สำคัญที่สุดขององค์กร เพื่อดำเนินการไปสู่เป้าหมายและมุ่งเน้นกำลังความสามารถต่าง ๆ ภายในองค์กรเมื่อเราทราบว่างานหลักขององค์กรคืออะไร เราต้องพยายามปฏิบัติและพัฒนาสิ่งที่องค์กรมีความชำนาญให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นจึงสมควรที่จะดำเนินการด้วยตัวเอง ดังนั้นกิจกรรมโลจิสติกส์ที่ไม่ได้เป็นส่วนของงานหลักก็สามารถเลือกปฏิบัติด้วยตัวเองและว่าจ้างผู้ให้บริการก็ได้ เช่น บริษัท โตโยต้า ประเทศไทย จำกัด เป็นบริษัทผลิตรถยนต์ กิจกรรมหลักจะเน้นเรื่องการผลิต ดังนั้นกิจกรรมขนส่งสินค้าก็สามารถว่าจ้างผู้ให้บริการขนส่งได้
- วิเคราะห์กิจกรรม โดยทำการวิเคราะห์กิจกรรมที่ต้องการว่าจ้างผู้ให้บริการ เช่น กิจกรรมการขนส่งที่บริษัททำอยู่ เราต้องการปฏิบัติเองจริง ๆ หรือไม่ มีลักษณะเฉพาะหรือซับซ้อนยุ่งยากหรือไม่ การพิจารณาทรัพยากรที่บริษัทมีอยู่เพียงพอที่จะสามารถดำเนินกิจกรรมขนส่งเองอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดหรือไม่ และที่สำคัญเรามีความรู้ภายในองค์กรรวมถึงการบริหารจัดการการขนส่งได้ดีกว่าการว่าจ้างผู้ให้บริการขนส่งภายนอกหรือไม่
- ต้นทุนการขนส่ง ซึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจว่าจะดำเนินการขนส่งด้วยตัวเองหรือว่าจ้างผู้ให้บริการขนส่ง ก่อนอื่นเราต้องทราบต้นทุนการขนส่งภายในขององค์กรของเราก่อนแล้วจากนั้นจึงนำไปเปรียบเทียบกับต้นทุนที่เกิดจากการว่าจ้างผู้ให้บริการซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ต้นทุนการขนส่งด้วยตัวเอง จะแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร
1) ต้นทุนคงที่ ต้นทุนการบริหารจัดการและต้นทุนค่าดำเนินการต่าง ๆ ที่ไม่ได้แปรผันตามปริมาณงานที่ทำ ดังนี้
ต้นทุนคงที่ หน่วย
ค่าบริหารจัดการ เช่น ระบบซอฟท์แวร์ บาท / เดือน
ค่าจ้างพนักงานขับรถรายเดือน บาท / เดือน
ค่าจ้างผู้บริหารในส่วนการจัดการการขนส่ง บาท / เดือน
ค่าเสื่อมราคาของรถ บาท / คัน / เดือน
ค่าเสื่อมราคาของอุปกรณ์ บาท / คัน / เดือน
ค่าบำรุงรักษาตามสภาพ บาท / คัน / เดือน
ค่าประกันรถ บาท / คัน / เดือน
ค่าสิ่งอำนวยความสะดวกและที่จอดรถ บาท / คัน / เดือน
ค่าทะเบียนและใบอนุญาต บาท / คัน / เดือน
ค่าเสียอากาศในการลงทุนจากเงินซื้อรถ บาท / คัน / เดือน
2) ต้นทุนผันแปร ต้นทุนที่เกิดขึ้นตามปริมาณงาน ดังนี้
ต้นทุนแปรผัน หน่วย
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง บาท / กิโลเมตร
ค่าบำรุงรักษาตามระยะทาง บาท / กิโลเมตร
ค่ายางรถยนต์ บาท / กิโลเมตร
ค่าแรงพนักงาน บาท / กิโลเมตร
ค่าทางพิเศษ บาท / เที่ยว
ค่าเบี้ยเลี้ยงพนักงานขับรถ บาท / เที่ยว
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ระหว่างเดินทาง บาท / เที่ยว
ค่าสินค้าเสียหายจากการขนส่ง บาท / เที่ยว
ต้นทุนการว่าจ้างผู้ให้บริการขนส่ง เนื่องจากโครงการว่าจ้างผู้ให้บริการขนส่งต้องอาศัยการดำเนินการเพื่อให้การว่าจ้างประสบความสำเร็จ ดังนั้นนอกเหนือจากต้นทุนใน
การจ้างบริการขนส่งแล้วยังต้องรวมต้นทุนการดำเนินการโครงการการจัดจ้าง ซึ่งเริ่มตั้งแต่การวางแผนไปจนถึงการโอนถ่ายงานให้แก่ผู้ให้บริการขนส่งและต้นทุนในการควบคุมดูแลกิจกรรมที่ว่าจ้างผู้ให้บริการขนส่งด้วย
แนวการพิจารณาจุดคุ้มทุนของการขนส่งด้วยตัวเองและการว่าจ้างผู้ให้บริการขนส่ง
ในที่นี้จะกล่าวถึงเหตุผลที่องค์กรควรตัดสินใจใช้ผู้ให้บริการขนส่งและความเสี่ยงที่เกิดจากการว่าจ้างผู้ให้บริการขนส่ง เพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวทางในการช่วยพิจารณาเพื่อตัดสินใจ ดังนี้
1. ควบคุมบริหารจัดการต้นทุนได้ง่าย เนื่องจากผู้ว่าจ้างสามารถรู้ต้นทุนที่ชัดเจนว่าต้องใช้งบประมาณเท่าไร นอกจากนี้ยังไม่มีต้นทุนแฝงที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมเนื่องจากผู้ให้บริการขนส่งจะเป็นผู้ดำเนินการให้ทั้งหมด โดยเฉพาะงานด้านไอทีเป็นงานที่ต้องอาศัยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเพื่อมาวางระบบและพัฒนาระบบให้
2. การพยากรณ์ความต้องการของตลาดล่วงหน้า (Market Demand Forecasting) เนื่องจากผู้ให้บริการขนส่งมีลูกค้าหลากหลายทำให้ทราบความเคลื่อนไหวของตลาดได้ดีกว่า ส่งผลให้สามารถนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ในการคาดคะเนความต้องการได้แม่นยำมากกว่า
3. การประหยัดจากขอบข่ายงาน (Economies of Scope) ซึ่งเกิดจากการให้บริการที่มีขอบเขตกว้างเป็นการผนึกกำลังทางธุรกิจก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในการสร้างคุณค่าให้กับทุกองค์กรที่อยู่ในโซ่อุปทานเดียวกัน ทำให้เกิดการบริหารจัดการแบบเครือข่ายร่วมกันส่งผลให้เพิ่มประสิทธิภาพต่อการส่งมอบสินค้าโดยไม่มีข้อจำกัดเชิงพื้นที่เป็นการสนองตอบความต้องการของลูกค้า
4. การกระจายต้นทุน (Cost Sharing) เป็นการลดต้นทุนรวมขององค์กรเพราะมีการใช้อรรถประโยชน์ได้เต็มประสิทธิภาพเนื่องจากมีการใช้งานร่วมกับผู้ใช้บริการรายอื่น
5. การเพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่ง (Transport Efficiency) เนื่องจากมีเครือข่ายโซ่อุปทานของผู้ให้บริการขนส่งส่งผลให้สามารถจัดการขนส่งเที่ยวเปล่าได้ดีกว่า
6. สภาพคล่องทางการเงิน (Working Capital Flow) องค์กรสามารถลดเงินลงทุนส่งทำให้มีเงินสดในมือที่สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมที่จำเป็นมากกว่า
7. ผู้เชี่ยวชาญ (Specialist Value) เมื่อองค์กรได้รับการบริการจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโดยตรงซึ่งมักจะมีการบริการและทำงานได้ดีกว่า เพราะผู้ให้บริการจะต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอเพื่อแข่งขันกับผู้ให้บริการรายอื่น ทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพและสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ลูกค้าขององค์กร
8. การให้บริการมีความยืดหยุ่น (Services Flexibility) ผู้ให้บริการภายนอกมีความสามารถในปรับเปลี่ยนการให้บริการตามความต้องการได้ดีกว่าเนื่องจากมีความนาญ ซึ่งหากองค์กรทำเองต้องใช้เวลามากกว่าในการปรับปรุงงาน
9. ประโยชน์เชิงเวลา (Time Interest) การว่าจ้างผู้ให้บริการทำให้องค์กรสามารถให้เวลาบริหารจัดการงานที่สำคัญมากกว่า นอกจากนั้นยังเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายในระยะยาวให้องค์กรอีกด้วย
10. การผนึกกำลังทางธุรกิจ (Business Synergies) เกิดความร่วมมือในโซ่อุปทานเดียวกันซึ่งเป็นการดำเนินธุรกิจแบบบูรณาการส่งผลให้คู่แข่งไม่มีช่องว่างที่จะเข้ามาแข่งขันกับองค์กรเราได้
11. การสนองตอบต่อความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า (Multiple Needs Responsiveness) ผู้ให้บริการภายนอกสามารถตอบสนองต่อการบริการในรูปแบบต่าง ๆ
ของผู้ว่าจ้างและลูกค้าได้มากกว่า เช่น การกระจายสินค้าแบบอัตโนมัติและการส่งมอบสินค้าแบบทันเวลา (JIT) ในกระบวนการผลิตแบบลีน
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ คลิกที่นี่
LM57 พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ (Fundamentals of Logistics Management) ปี 2557การแบ่งประเภทของคลังสินค้าตามลักษณะสินค้า (Inventory Type)
1. คลังสินค้าทั่วไป คลังสินค้าทั่วไปทำหน้าที่เก็บสินค้าหลากหลายที่ไม่ต้องการการรักษาดูแลเป็นพิเศษ อาทิเช่น สินค้าอุปโภคและเครื่องใช้สอยทั่วไป เป็นต้น
2. คลังสินค้าของสด คลังสินค้าชนิดนี้ทำหน้าที่เก็บสินค้าที่เป็นของสด อาทิเช่น อาหาร ผัก ผลไม้ และเครื่องดื่ม เป็นต้น ซึ่งสินค้าเหล่านี้ต้องการการรักษาดูแลเป็นพิเศษด้วยการควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อรักษาความสดใหม่ของสินค้า
3. คลังสินค้าอันตราย คลังสินค้าชนิดนี้ทำหน้าที่เก็บสินค้าที่เป็นอันตราย อาทิเช่น สารพิษ สารเคมีเชื้อเพลิง หรือวัตถุระเบิด เป็นต้น สิ่งที่สำคัญที่สุดของคลังสินค้าอันตรายคือการจัดการแยกประเภทของวัตถุอันตรายและการจัดเก็บให้เหมาะสมตามหลักการจัดเก็บของวัตถุนั้น ๆ คลังสินค้าชนิดนี้จะต้องมีผู้ควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษ ซึ่งจะต้องได้รับใบอนุญาตโดย กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
4. คลังสินค้าพิเศษ (ควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น) คลังสินค้าพิเศษมักจะเป็นคลังสินค้าที่มีขนาดเล็ก เพื่อใช้เก็บสินค้าที่มูลค่าสูงซึ่งต้องได้รับการควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสม เพื่อคงคุณสมบัติของสินค้าไว้ให้มีอายุยืนยาว ตัวอย่างสินค้าได้แก่ ยา และเครื่องเวชภัณฑ์ต่าง ๆ รวมถึงสารเคมีบางชนิดด้วย
ดูเพิ่มเติม LM57 การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management)
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ คลิกที่นี่
LM57 พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ (Fundamentals of Logistics Management) ปี 2557การพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานในคลังสินค้า (Inventory improving work processes)
จะเห็นได้ว่า การจัดการคลังสินค้ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับด้านการขนส่ง โดยทางโลจิสติกส์ถือว่าต้นทุนคลังสินค้าเป็นต้นทุนที่สำคัญไม่น้อย องค์กรขนาดใหญ่จะเล็งเห็นถึงความสำคัญของกระบวนการด้านการขนส่งหรือการบริหารสต็อก เนื่องจากกระบวนการทำงานในด้านนี้จะส่งผลโดยตรงต่อต้นทุนโลจิสติกส์และประสิทธิภาพในการตอบสนองลูกค้าทั้งในด้านของเวลาในการดำเนินการ และคุณภาพมาตรฐานในการส่งมอบสินค้าให้ครบตามจำนวน และเป็นไปอย่างที่ลูกค้าต้องการ ดังนั้นการการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการงานคลังสินค้าโดยการหาแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาคลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้าที่บริษัทและองค์กรต่าง ๆ ควรเลือกใช้ เพื่อยกระดับกระบวนการทำงานโลจิสติกส์ ได้แก่
รูปแสดงตัวอย่างการจัดแบ่งพื้นที่ในคลังสินค้า
1. Drop-Shipping เป็นการลดภาระสินค้าที่ผ่านคลังสินค้า เป็นวิธีการวางแผนจัดหาวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ หรือการวางแผนการผลิตของโรงงานให้เสร็จทันการใช้งานหรือส่งมอบ โดยบริษัทจะมีการจัดเก็บที่ซัพพลายเออร์ หรือที่โรงงานแทนการเก็บที่คลังสินค้าโดยเมื่อมีความต้องการในตัวสินค้าเกิดขึ้นสินค้าจะถูกส่งมอบโดยตรงจากซัพพลายเออร์ถึงโรงงาน หรือส่งมอบตรงจากโรงงานถึงลูกค้า วิธีการนี้ถือว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดต่อบริษัท เพราะทำให้บริษัทไม่ต้องมีภาระด้านงานคลังสินค้าแต่อย่างใด และทำให้ต้นทุนโลจิสติกส์โดยรวมลดลงแต่มีข้อด้อยตรงที่บริษัทจะต้องมีการวางแผนด้านการจัดหาการผลิต และการส่งมอบที่ดีเยี่ยมวิธีการนี้โดยส่วนมากจะนำมาใช้กับสินค้าจำพวกสั่งผลิต
2. Cross-Docking คือ การส่งผ่านสินค้าเข้าคลัง เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้ประสิทธิภาพด้านคลังสินค้าของบริษัทสูงขึ้น สินค้าจะถูกส่งเข้ามาในคลังสินค้าเพียงชั่วคราวเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เพื่อลำเลียงขึ้นรถขนส่งรวมกับสินค้าอื่น ๆ ที่อาจมีการส่งเข้ามาในช่วงระยะเวลาไล่เลี่ยกันโดยมากช่วงระยะเวลานี้จะน้อยกว่า 1 วัน ทำให้สินค้าไม่ต้องมีการขนเข้าไปจัดเก็บที่บริเวณจัดเก็บของคลังแต่อย่างใด สินค้าเป็นเพียง"สินค้าส่งผ่านคลัง" เท่านั้น ทำให้คลังสินค้าไม่เกิดการจัดเก็บ และรองรับปริมาณสินค้าได้มากขึ้น ผลิตภาพการทำงานของคลังสูงขึ้น อย่างไรก็ตามวิธีการนี้มีความยากคล้ายกับวิธีการ Drop-Shipping เช่นกัน เพราะจะต้องมีการประสานข้อมูลด้านสินค้าขาเข้าและขาออกจากคลัง จากต้นทางถึงปลายทางพร้อมในเวลาเดียวกัน ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ยากลำบากพอสมควรสำหรับบางธุรกิจ หรือบางบริษัท
3. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับงานคลังสินค้า โดยการใช้ระบบเทคโนโลยีฯ เข้าช่วยในการปฏิบัติงานด้านคลังสินค้าที่สำคัญ ได้แก่
- ระบบบาร์โค้ด โดยการนำระบบบาร์โค้ดมาใช้กับคลังสินค้าจะสามารถใช้ได้ในหลาย ๆ จุด ได้แก่ การรับและส่งสินค้าเข้าออกจากคลัง การจัดระบบเก็บสินค้าภายในคลัง และการตรวจนับสินค้าภายในคลัง เป็นต้น
- ระบบ RFID ซึ่งเป็นระบบที่มีการทำงานและสามารถใช้ประโยชน์คล้ายคลึงกับระบบบาร์โค้ด แต่อาศัยคลื่นวิทยุแทนคลื่นแสง และสามารถอ่านข้อมูลในระยะไกลโดยไม่จำเป็นต้องสัมผัสสินค้า มีความละเอียด และสามารถบรรจุข้อมูลได้มากกว่าซึ่งทำให้สามารถแยกความแตกต่างของสินค้าแต่ละชิ้นแม้จะเป็น SKU (Stock Keeping
Unit-ชนิดสินค้า) เดียวกันก็ตาม
- ระบบ Electronic Data Interchange (EDI) หรือระบบแลกเปลี่ยนและส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ การประยุกต์ใช้ระบบ EDI นี้จะทำให้การรับและส่งมอบสินค้าจากซัพพลายเออร์ และลูกค้า สามารถทำได้รวดเร็ว ที่สำคัญสามารถเตรียมการต่าง ๆ ทั้งในเรื่องของพื้นที่ อุปกรณ์ และพิธีการรับส่งสินค้าต่าง ๆ ได้ล่วงหน้า
4. การปรับปรุงกระบวนการทำงานภายใน ได้แก่
- การรวมคลังสินค้าให้เหลือน้อยลงให้มีลักษณะเป็นศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center: DC) ในแต่ละพื้นที่ ทำให้เกิดความสะดวกในแง่ของกาบริหารและการขนส่ง
- การจัดทำ 5ส. หรือกิจกรรมการปรับปรุง การสะสางสต็อก หรือวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ไม่ได้ก่อประโยชน์แล้วออกจากคลังสินค้า
- การพัฒนารูปแบบและวิธีการจัดวางสินค้าใหม่ โดยการกำหนดพื้นที่ตั้ง ตามลำดับความสำคัญเชิงปริมาณเข้าออก หรือลักษณะการใช้งานคลังสินค้า หรือเรียกว่า รูปแบบในการจัดเก็บสินค้าภายในคลังสินค้า แบบโซน ABC
- การพัฒนาขั้นตอนการทำงานให้ง่าย เร็ว และมีประสิทธิภาพ เช่น ขั้นตอนการรับและตรวจนับสินค้า, การนำสินค้าเข้าบริเวณหรือชั้นจัดเก็บสินค้า, การดูแลสินค้าขณะจัดเก็บให้อยู่ในสภาพที่ดี ไม่เสื่อมสภาพหรือเสียหาย, การหยิบสินค้าที่จัดเก็บออกมาใช้หรือเตรียมส่งมอบ, การคัดแยกและเตรียมสินค้าเพื่อจัดส่ง, การบรรจุหีบห่อหรือติดป้ายตราสินค้าต่าง ๆ เป็นต้น
- การจัดหาอุปกรณ์ขนถ่ายวัสดุ หรืออุปกรณ์ขนย้ายที่เหมาะสม พร้อมทั้งปรับเปลี่ยนระบบการจัดเก็บ และระบบการขนย้ายโดยใช้พาเลทหรือกระดานรองโดยวิธีการนี้จะทำให้การทำงานของคลังสินค้าสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
การวัดผลการดำเนินงานคลังสินค้า
การชี้บ่งว่าคลังสินค้ามีประสิทธิภาพหรือไม่จำเป็นต้องใช้ดัชนีชี้วัดเพื่อวัดผลการทำงาน ซึ่งดัชนีชี้วัดผลการทำงานของคลังสินค้ามีอยู่มากมายซึ่งดัชนีที่ใช้วัดประสิทธิภาพโดยทั่วไป ได้แก่
1) อัตราการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ (Space utilization)
2) ระยะทางการขนถ่ายรวม การจัดเก็บและหยิบสินค้า (Distance)
3) เวลาในการนำสินค้าเข้าจัดเก็บ
4) เวลาในการหยิบสินค้า (Picking time)
5) อัตราการหยิบของผิดพลาด (Picking error)
6) อัตราการแตกหักเสียหายของสินค้า และอัตราการเกิดอุบัติเหตุภายในคลังสินค้า
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ คลิกที่นี่
LM57 พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ (Fundamentals of Logistics Management) ปี 2557ในการปฏิบัติการขนส่งให้เกิดประสิทธิภาพนั้น เราจะต้องอาศัยการวัดผลการดำเนินงาน เพื่อให้เราสามารถทราบถึงสมรรถนะของการปฏิบัติการและใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPI) จะแสดงสมรรถนะขององค์ประกอบต่าง ๆ ของการบริหารการขนส่งในแต่ละแง่มุม ได้แก่ การเงินประสิทธิภาพในการปฏิบัติการ สินค้า บริการ และความปลอดภัย ซึ่งดัชนีชี้วัดผลการดำเนินงานในการบริหารการขนส่งอาจจะประกอบไปด้วย
- ต้นทุนต่อระยะทาง
- ต้นทุนต่อหน่วยสินค้า
- ต้นทุนต่อพาหนะหนึ่งคัน
- ต้นทุนต่อหนึ่งเที่ยวการเดินทาง
- การใช้ประโยชน์จากพาหนะ (Utilization) เช่น จำนวนชั่วโมงและระยะทางที่พาหนะถูกใช้ งานต่อปี
- จำนวนหน่วยสินค้าที่สามารถขนส่งได้ต่อหนึ่งเที่ยวการเดินทาง
- จำนวนกิโลเมตรที่มีสินค้าเทียบกับจำนวนกิโลเมตรที่วิ่งเที่ยวเปล่า
- จำนวนเที่ยวการเดินทางต่อพาหนะหนึ่งคันต่อเดือน
- อัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง เช่น กิโลเมตรต่อลิตร
- ความเสียหายจากการขนส่งต่อจำนวนสินค้าที่ขนส่งทั้งหมด
- ร้อยละของจำนวนเที่ยวการเดินทางที่ไม่ตรงตามเวลา
- ค่าซ่อมแซม และบำรุงรักษาต่อระยะทาง
- อัตราการเกิดอุบัติเหตุ เช่น จำนวนครั้งต่อ 100,000 กิโลเมตรทั้งนี้ความเหมาะสมของการใช้ดัชนีชี้วัดตัวใดบ้างนั้น ก็จะมีความแตกต่างกันออกไปตามแต่ละบริษัท ขึ้นอยู่กับลักษณะของธุรกิจนั้น ๆ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ คลิกที่นี่
LM57 พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ (Fundamentals of Logistics Management) ปี 2557เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward