iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
การรวมตัวของ SCC กับ APICS
การรวมตัวของ SCC กับ APICS ในปี 2014 Supply Chain Council (SCC) ได้ทำการควบรวมกิจกรรมเข้ากับ APICS ทำให้วันนี้องค์ความรู้ที่สำคัญในการจัดการซัพพลายเชนที่เรียกว่า Supply Chain Operation Reference (SCOR) ก็ได้ถูกรวมเข้าไปอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสมาคม APICS
* แนะนำสมาคม APICS
สมาคม APICS ก่อตั้งขึ้นในปี 1957 ที่สหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเป็นเลิศในด้านการจัดการการดำเนินงานแก่บุคคลและองค์กร ผ่านการศึกษาและการฝึกอบรมที่มีศักยภาพเหนือกว่า และได้การรับรองในระดับสากล รวมไปถึงทรัพยากรและมืออาชีพในด้านอุตสาหกรรมที่ประสบความสำเร็จที่มีเครือข่ายอยู่ทั่วโลก
APICS เป็นสมาคมวิชาชีพด้านการจัดการซัพพลายเชนชั้นนำระดับโลก ทำการวิจัยและศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์และซัพพลายเชน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติจริงที่ทันสมัย เข้ากับสภาวะในปัจจุบันและรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต อีกทั้งมีประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ครอบคลุมความรู้ความเข้าใจในซัพพลายเชนแบบ end- to-end ที่เป็นเลิศ และปรับปรุงต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ
-----------------------------------------------
? ติดตามข้อมูลข่าวสารได้จากช่องทางสื่อสาร iOK2u ได้ที่
การไหลเวียนในระบบโซ่อุปทาน (Supply Chain Flow)
การไหลเวียนในระบบโซ่อุปทาน
ในระบบของโซ่อุปทานจะเกิดการไหลเวียนในกระบวนการของธุรกิจ ประกอบด้วย 4 ระบบหลักที่สำคัญ ดังนี้
- วัตถุดิบ (Raw Material) จาก Suppliers ผ่านกระบวนการผลิตต่างๆ จนอาจกลายเป็นวัตถุดิบใหม่หรือสินค้าและบริการ ส่งถึงมือลูกค้า ซึ่งจะเป็นลักษณะของการไหลของผลิตภัณฑ์ (Product Flow)
- ชิ้นส่วนต่าง ๆ ไหลเวียนกลับไปยัง Supplier เช่น การนำส่วนประกอบบางอย่างกลับมาใช้ใหม่ (Reverse Product Flow) เป็นต้น
- เงิน (Cash) กระบวนการไหลจากลูกค้าผ่านกระบวนการต่างๆ โดยเงินบางส่วนถูกหักไว้เป็นค่าดำเนินการของบริษัท จนถึง Supplier ซึ่งเรียกว่า Cash Flow
- สารสนเทศ (Information) จะกระจายอยู่ในทุก ๆ กระบวนการ ทั้งนี้ระบบสารสนเทศมีส่วนสำคัญที่ทำให้สามารถมองเห็น (Visibility) ภาพรวมของระบบได้ทั้งหมดซึ่งจะเรียกว่า Information Flow
------------------------------------------------------------------
sc กิจกรรมการจัดการสินค้าคงคลัง
รูประบบการดำเนินงานในคลังสินค้า (Warehouse Activities)
กิจกรรมการจัดการสินค้าคงคลัง
1. การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management) เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนและการปฏิบัติการด้านการรับ-จัดเก็บ และการส่งมอบสินค้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานควบคุมและดำเนินการต่างๆ เช่น งานด้านเอกสาร การควบคุมสินค้าที่จัดเก็บ การจัดสรรพื้นที่ (Space Utilize) ในคลังสินค้าให้เป็นระเบียบ และมีประสิทธิภาพสูงสุด
2. การบริหารต้นทุนสินค้าคงคลัง (Inventory Carrying Cost) เป็นการบริหารจัดการ เพื่อให้มีการถือครองสินค้าคงคลังน้อยที่สุด ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับต้นทุนโลจิสติกส์ เพื่อประสิทธิภาพของการบริหารสินค้าคงคลังให้ต่ำสุด
--------------------------------------------------------
ขอบเขตของการจัดการโซ่อุปทาน (Scope of Supply Chain Management)
การจัดการโซ่อุปทานจะบรรลุเป้าหมายของบริษัทได้ ต้องดำเนินการเป็นทีม โดยมีของเขตของการจัดการเป็น 3 ระดับ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ หมายถึง การกระทำสิ่งต่างๆ ให้ถูกต้อง (Efficiency is doing things right) และประสิทธิผลหมายถึงการกระทำสิ่งต่างๆ ที่ถูกต้อง (Effectiveness is doing the right things) สามารถอธิบายระดับในการจัดการโซ่อุปทานได้ดังต่อไปนี้
1) ระดับกลยุทธ์ (Strategic level) เป็นระดับที่ว่าด้วยนโยบายที่ชัดเจนของบริษัท มีการวางแผนทิศทางที่ชัดเจน (Direction plan) เช่นนโยบายสินค้าคงคลังจะมีนโยบายแบบใด จะทำสต็อกเพื่อทำกำไรทางการตลาด หรือไม่เก็บสต็อก เป็นต้น การวัดผลงาน จะวัดเชิงประสิทธิผล
2) ระดับยุทธวิธี (Tactical level) เป็นระดับที่ต้องมีการวางแผนตามโครงสร้างที่กำหนด (Strategic plan) เช่น การดำเนินการในโซ่อุปทาน บทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ใครรับผิดชอบอะไร เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายตามนโยบายของบริษัท ซึ่งส่วนมากดำเนินการโดยผู้บริหารระดับสูง และ ระดับกลางของบริษัท การวัดผลงานจะวัดด้วยประสิทธิผลของงานที่จะดำเนินการคือ บรรลุตามเป้าหมายของบริษัท อาจจะอยู่ในรูปมูลค่าสินค้าคงคลังตลอดโซ่อุปทาน เป็นต้น
3) ระดับปฏิบัติการ (Operation level) เป็นการนำระบบโซ่อุปทาน มาใช้ในแต่ละฝ่ายของบริษัทเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธวิธี เช่น งานขาย ต้องสอดคล้องกับงานผลิต งานจัดซื้อ คลังสินค้า การบริหารเครือข่าย เป็นต้น การวัดผลงานในระดับนี้จะวัดโดยใช้ประสิทธิภาพ (Efficiency)
โลจิสติกส์เป็นการไหลของวัสดุและสินค้า ที่เป็นเชิงกายภาพซึ่งไหลจากฝั่งต้นน้ำหรือซัพพลายเออร์ในการผลิตไปยังฝั่งปลายน้ำหรือลูกค้า แตกต่างจากการจัดการโซ่อุปทานซึ่งเป็นการไหลของสารสนเทศซึ่งเป็นข้อมูลการย้อนกลับ หลังจากที่มีการรับสินค้าจากลูกค้าในแต่ละช่วง เพื่อทำให้เกิดความรวดเร็วในการดำเนินงาน ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างโลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทาน ซัพพลายเออร์จะพบว่าดำเนินงานของทุกกิจกรรม ต้องประสานงานอย่างสอดคล้อง โดยโลจิสติกส์แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดการวัสดุ (MaterialManagement) และสนับสนุนการตลาดและการกระจายสินค้า (DistributionManagement)
การไหลของวัตถุดิบผ่านการผลิตจนถึงการกระจายสินค้าสำเร็จรูปผ่านไปยังผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อเมื่อมีการนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ มาประยุกต์ใช้ในทุกกิจกรรมทั้งภายในองค์กรและเชื่อมต่อกับบริษัทภายนอกเพื่อสร้างความถูกต้องและรวดเร็ว เรียกว่า การจัดการโซ่อุปทาน ซึ่งก่อนที่จะใช้การจัดการโซ่อุปทานได้ ควรต้องปรับปรุงระบบโลจิสติกส์ในของแต่ละบริษัทที่เกี่ยวข้องในโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพก่อน จึงจะทำให้ผลการดำเนินงานตลอด
โซ่อุปทานมีประสิทธิผล
sc ข้อมูลการกระจายสินค้า (distribution)
1) การกระจายสินค้า (distribution) ข้อมูลที่ใช้ในการกำหนดตารางความต้องการกระจายสินค้า ได้แก่
1. ค่าพยากรณ์ความต้องการสินค้าในแต่ละช่วงเวลา
2. ปริมาณสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งสินค้ามายังคลังสินค้า
3. ปริมาณสินค้าที่มีอยู่ในคลังสินค้าขณะนั้น
4. ปริมาณการส่งมอบสินค้าในแต่ละช่วงเวลาที่กำหนดไว้
5. ปริมาณสินค้าสำรองเพื่อความปลอดภัย
6. ปริมาณการจัดส่งสินค้าในแต่ละครั้ง
7. ช่วงระยะเวลารอคอยการจัดส่งสินค้า
2) ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการจัดการกระจายสินค้า มีดังนี้
1. ข้อมูลสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน มีความถูกต้องรวดเร็ว และทันต่อการเปลี่ยนแปลงในค่าพยากรณ์ความต้องการสินค้า จำนวนสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้า ปริมาณและกลุ่มของสินค้าที่จะขนส่ง ชนิดของสินค้า ช่องทางการกระจายสินค้า ระยะเวลา ระยะทาง และเส้นทางการขนส่ง
2. การจัดระบบการกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพในรูปของเครือข่ายการขนส่ง ปัญหาอุปสรรคอันอาจเกิดขึ้นและมีผลกระทบต่อกระบวนการกระจายสินค้า แนวทางในการแก้ไขและป้องกันการตรวจสอบและควบคุม
3.จำนวนช่องทางในการกระจายสินค้าหรือการจัดจำหน่ายสินค้า โดยปกติธุรกิจจะเลือกหลายช่องทาง เช่น ห้างสรรพสินค้าขายปลีกและขายส่ง การซื้อขายทางไปรษณีย์ การใช้ผู้แทนขายโดยตรงตัวแทนผู้จัดจำหน่าย การติดต่อผ่านองค์กรทางการค้าในแต่ละท้องถิ่น
4. ต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในระบบการจัดส่งสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการจ้างผู้ให้บริการด้านการจัดส่งสินค้า หรือการลงทุนดำเนินงานเอง ได้แก่ อัตราค่าขนส่ง ค่าประกันความเสียหายที่เกิดขึ้น
5. กลยุทธ์ที่ใช้ในการกระจายสินค้า เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากที่สุดและลดต้นทุนค่าใช้จ่าย โดยพิจารณาจากจุดคุ้มทุนและความได้เปรียบทางด้านกายภาพ เช่น ระบบเครือข่ายคลังสินค้า การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange; EDI) หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce)
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward