iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
ความสัมพันธ์ในการจัดหา (Source) และการจัดซื้อ (Procurement) กับหน่วยงานในองค์กร
การจัดหา (Source) และการจัดซื้อ (Procurement) มีความสำคัญในโซ่อุปทาน สามารถมีอิทธิพลต่อความสำเร็จโดยรวมขององค์กรได้มาก สิ่งสำคัญของงานจัดซื้อจัดหาก็คือ จะต้องมีอุปทานของวัตถุดิบที่พอเพียง ในราคาที่เหมาะสม มีคุณภาพตามที่ต้องการ ในสถานที่ที่ถูกต้อง และในเวลาที่ถูกต้องมีความสำคัญต่อโรงงานผลิตใดๆ ก็ตาม กระบวนการนี้มีความสำคัญมากที่ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา หลายๆ องค์กรได้สร้างหน่วยงานและฝ่ายที่มีขนาดใหญ่ เพื่อจัดการกับธุรกรรมกับซัพพลายเออร์ นอกเหนือจากการบริหารจำนวนซัพพลายเออร์แล้ว ยังมีบริษัทอีกจำนวนมากที่พยายามจะเปลี่ยนจากความสัมพันธ์ในอดีตแบบแข่งขันกับซัพพลายเออร์ มาสู่ความสัมพันธ์ที่เหมือนเป็นหุ้นส่วนหรือเป็นพันธมิตรกันมากขึ้น ความสัมพันธ์รูปแบบนี้มุ่งเน้นผลประโยชน์ร่วมกัน แม้ว่าทั้งสองฝ่ายต้องสร้างผลกำไรเพื่อจะอยู่รอดแต่ก็อาจมีส่วนต่างๆ ที่การร่วมมือกันจะทำให้ลดต้นทุนออกจากโซ่อุปทานได้
Win-win คือแนวคิดที่มักจะใช้ในการเจรจาต่อรองเพื่อให้เกิดความรู้สึกที่ดีทั้งสองฝ่าย ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการทำข้อตกลงร่วมกันทั้งใน การซื้อขายแลกเปลี่ยนหรือการตัดสินใจทำงานในองค์กร โดยหัวใจหลักอันนี้คือ จะต้องไม่มีการได้เปรียบเสียเปรียบกันเกิดขึ้นหรือมีให้น้อยที่สุด win-win จะเน้นพื้นฐานของการเจรจาต่อรอง แลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันเพื่อหาจุดที่เหมาะสมในการตัดสินใจ และเน้นการประณีประนอมแบ่งผลประโยชน์ที่มีร่วมกัน
win-win หมายถึง สถานการณ์ที่ผู้ร่วมงานทั้งสองฝ่ายต่างก็ได้ประโยชน์ร่วมกัน โดยไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ ซึ่งอาจเป็นแนวคิดที่มีได้ยากแต่อาจพยายามทำให้ได้มากที่สุด เพื่อให้เป็นการทำข้อตกลงที่ได้จะเป็นประโยชน์และเป็นที่ชื่นชอบของทั้งสองฝ่าย
ชัพพลายเชนหรือห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) จะเป็นการจัดการหมุนเวียนและขนส่งสินค้าจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพ โดยให้มุ่งเน้นใน 3 ด้านคือ ต้นทุน ประสิทธิภาพ และเวลาเป็นหลักชัพพลายเชนที่ดี (ฺBest Supply Chain) ต้องใช้การประสานงานระหว่างแต่ละฝ่ายให้ประสานงานกันมากขึ้น ซึ่งการประสานงานนั้นควรต้องให้มีความสมดุลที่ดีระหว่าง Demand และ Supply เพราะหากมีการดำเนินการที่ไม่เหมาะสมไปทางด้านใดด้านหนึ่งมากไป ย่อมมีผลต่อเนื่องในโซ่อุปทานในอนาคต ฝ่ายที่เสียเปรียบอาจไม่สามารถดำเนินงานต่อไปได้เกิดปัญหาไม่มีความยั่นยืน ดังนั้นนักจัดการชัพลายเชนที่ดีจึงต้องใช้แนวคิด win-win มาเป็นแนวทางในการประสานข้อตกลง
----------------------------------------
โซ่ความเย็นในอุตสาหกรรมอาห
โซ่ความเย็นในอุตสาหกรรมอาห
โซ่ความเย็น เป็นโซ่อุปทานที่มีการควบคุ
ข้อดี
สำหรับสินค้าเกษตรและอาหารน
- ยืดอายุการเก็บรักษา
- รักษาคุณภาพให้เหมือนของสดห
- ลดอัตราการสูญเสีย
- สร้างความปลอดภัยในอาหาร
- ลดเวลาในการตรวจสอบคุณภาพ สินค้าถึงมือผู้บริโภคเร็วข
- ขายสินค้าในราคาสูงขึ้นสำหร
- สร้างโอกาสในการขยายตลาดไปต
- ลดต้นทุนการส่งออก เช่นจากทางอากาศเป็นทางเรือ
- สร้างความพึงพอใจของลูกค้า
ข้อจำกัด
อย่างไรก็ตามระบบโซ่ความเย็
- เพิ่มต้นทุนในการควบคุมอุณห
- ความรู้ในด้านการใช้อุณหภูม
- ขาดการรับรู้หรือความตระหนั
- ตลาดสินค้าเกษตรและอาหารมีค
- สินค้าเกษตรและอาหารของไทยน
- ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญ ผู้จัดหาหรือผู้ผลิตระบบโซ่
----------------------------------------
sc ต้นทุนของสินค้าคงคลัง (Inventory Cost)
รูประบบการดำเนินงานในคลังสินค้า (Warehouse Activities)
ต้นทุนของสินค้าคงคลัง (Inventory Cost) ต้นทุนสินค้าคงคลังมี 4 ชนิด คือ
1) ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ (Ordering Cost) เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งสินค้าคงคลังที่ต้องการ ซึ่งจะแปรตามจำนวนครั้งของการสั่งซื้อ แต่ไม่แปรตามปริมาณสินค้าคงคลัง เพราะสั่งซื้อของมากเท่าใดก็ตามในแต่ละครั้ง ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อก็ยังคงที่ แต่ถ้ายิ่งสั่งซื้อบ่อยครั้งค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อจะยิ่งสูงขึ้น ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อได้แก่ ค่าเอกสารใบสั่งซื้อ ค่าจ้างพนักงานจัดซื้อ ค่าโทรศัพท์ ค่าขนส่งสินค้า ค่าใช้จ่ายในการตรวจรับของและเอกสาร ค่าธรรมเนียมการนำของออกจากศุลกากร ค่าใช้จ่ายในการชำระเงิน เป็นต้น
2) ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา (Carrying Cost) เป็นค่าใช้จ่ายจากการมีสินค้าคงคลังและการรักษาสภาพให้สินค้าคงคลังอยู่ในรูปที่ใช้งานได้ ซึ่งจะแปรตามปริมาณสินค้าคงคลังที่ถือไว้และระยะเวลาที่เก็บสินค้าคงคลัง ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา ได้แก่ ต้นทุนเงินทุนที่จมอยู่กับสินค้าคงคลังซึ่งคือค่าดอกเบี้ยจ่ายถ้าเงินทุนมาจากการกู้ยืม หรือเป็นค่าเสียโอกาสถ้าเงินทุนนั้นเป็นส่วนของเจ้าของ นอกจากนี้ยังรวมถึงค่าคลังสินค้า ค่าไฟฟ้าเพื่อการรักษาอุณหภูมิ ค่าใช้จ่ายของสินค้าที่ชำรุดเสียหายหรือหมดอายุเสื่อมสภาพจากการเก็บนานเกินไป ค่าภาษีและการประกันภัย ค่าจ้างยามและพนักงานประจำคลังสินค้า ฯลฯ
3) ค่าใช้จ่ายเนื่องจากสินค้าขาดแคลน (Shortage Cost หรือ Stock Out Cost) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการมีสินค้าคงคลังไม่เพียงพอต่อการผลิตหรือการขาย ทำให้ลูกค้ายกเลิกคำสั่งซื้อ ขาดรายได้ที่ควรได้ กิจการเสียชื่อเสียง กระบวนการผลิตหยุดชะงัก เกิดการว่างงานของเครื่องจักรและคนงาน ฯลฯ ค่าใช้จ่ายนี้แปรผกผันกับปริมาณสินค้าคงคลังที่ถือไว้ นั่นคือถ้าถือสินค้าไว้มากจะไม่เกิดการขาดแคลน แต่ถ้าถือสินค้าคงคลังไว้น้อยก็อาจเกิดโอกาสที่จะเกิดการขาดแคลนได้มากกว่าและมีค่าใช้จ่ายเนื่องจากสินค้าขาดแคลนนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณการขาดแคลน ได้แก่ คำสั่งซื้อของล็อตพิเศษทางอากาศเพื่อนำมาใช้แบบฉุกเฉิน ค่าปรับเนื่องจากส่งสินค้าให้ลูกค้าล่าช้า ค่าเสียโอกาสในการขาย ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการเสียค่าความนิยม ฯลฯ
4) ค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องจักรใหม่ (Setup Cost) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่เครื่องจักรต้องเปลี่ยนการทำงานหนึ่งไปทำงานอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเกิดการว่างงานชั่วคราว สินค้าคงคลังถูกทิ้งให้รอกระบวนการผลิตที่ตั้งใหม่ ค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องจักรใหม่นี้จะมีลักษณะเป็นต้นทุนคงที่ต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับขนาดของล็อตการผลิต ถ้าผลิตเป็นล็อตใหญ่มีการตั้งเครื่องใหม่นานครั้ง ค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องใหม่ก็จะต่ำ แต่ยอดสะสมของสินค้าคงคลังจะสูง ถ้าผลิตเป็นล็อตเล็กมีการตั้งเครื่องใหม่บ่อยครั้ง ค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องใหม่สูง แต่สินค้าคงคลังมีระดับต่ำลง และสามารถส่งมอบงานให้แก่ลูกค้าได้ เร็วขึ้น
ในบรรดาค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าคงคลังต่างๆ เหล่านี้ ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาจะสูงขึ้นถ้ามีระดับสินค้าคงคลังสูง และต่ำลงถ้ามีระดับสินค้าคงคลังต่ำ แต่สำหรับค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อค่าใช้จ่ายเนื่องจากสินค้าขาดแคลน และค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องจักรใหม่ มีลักษณะตรงกันข้าม คือ จะสูงขึ้นถ้ามีระดับสินค้าคงคลังต่ำและต่ำลงถ้ามีระดับสินค้าคงคลังสูง ดังนั้นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าคงคลังที่ตำสุดอยู่ที่ระดับค่าใช้จ่ายทุกตัวรวมกันแล้วต่ำสุด
--------------------------------------------------------
ตัวอย่างของรูปแบบโครงสร้างแบบ Diamond Model
ที่ผ่านมามีการประยุกต์ รูปแบบโครงสร้างซัพพลายเขนแบบ Diamond Model ในการสร้างเครือข่ายของการจัดการ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดรูปแบบโครงสร้างของการจัดการซัพพลายเชน ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบหลักคือ กลยุทธ์ของการแข่งขันในอุตสาหกรรม ความต้องการทางการตลาด ปัจจัยการผลิต และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและอุตสาหกรรมสนับสนุน ที่จะต้องมีการเชื่อมโยงกันตลอดซัพพลายเชน
ตัวอย่างรูปแบบ Diamond Model คลัสเตอร์จักรยานยนต์และชิ้นส่วน
จากรูปทำให้เห็นว่าส่วนประกอบของโครงสร้างของ Diamond Model ของกลุ่มคลัสเตอร์จักรยานยนต์และชิ้นส่วน ประกอบด้วย กลยุทธ์ของการแข่งขันในอุตสาหกรรม ความต้องการทางการตลาด ปัจจัยการผลิต และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและอุตสาหกรรมสนับสนุน ที่จะต้องมีการเชื่อมโยงกันตลอดซัพพลายเชน ของกลุ่มผู้ผลิตและสนับสนุนการผลิตจักรยานยนต์และชิ้นส่วน
ตัวอย่างรูปแบบ Diamond Model อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
จากรูปเป็นการวิเคราะห์ปัญหาของโครงสร้างของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย โดยใช้โครงสร้างของ Diamond Model ซึ่งแสดงให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นและการเชื่อมโยงปัญหาของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยในด้านต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องและสนับสนุน กลยุทธ์ของการแข่งขันในอุตสาหกรรม ความต้องการทางการตลาด ปัจจัยการผลิต และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและอุตสาหกรรมสนับสนุน ที่จะต้องมีการเชื่อมโยงกันตลอดซัพพลายเชน ของกลุ่มผู้ผลิตและสนับสนุนการผลิตซัพพลายเออร์
------------------------------------------------------------------
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics management) และ การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)
การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics management)
การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)
------------------------------------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward