iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
Supplier Position and Preference Matrix ตารางตำแหน่งและความสัมพันธ์กับชัพพลายเออร์
ในงานโลจิสติกส์และชัพพลายเชน ฝ่ายจัดซื้อ (Source) ถูกมองว่าเป็นหน่วยงานสำคัญ โดยจะเห็นว่าได้รับการจัดแบ่งให้เป็น 1 ใน 6 กลุ่มงานหลักในระบบ SCOR (คลิกดูข้อมูล SCOR เพิ่มเติม) ในงานโลจิสติกส์ให้ความสำคัญในเรื่องของการจัดซื้อจัดหามาก เพราะกิจกรรมในการจัดซื้อจะมีส่วนช่วยให้องค์กร มีความสามารถทางการแข่งขันในธุรกิจได้ดีขึ้นเช่น ในเรื่องของการลดต้นทุน การผลิตที่ต่อเนื่อง การสร้างความแตกต่าง และการตอบสนองความต้องการผู้บริโภค
การดำเนินการของฝ่ายจัดซื้อในยุคปัจจุบันมีหลายวิธีที่ได้ถูกนำมาใช้ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วเช่น รูปแบบการแบ่งกลุ่มซัพพลายเออร์ (Supplier Positioning Model) หรือ รูปแบบความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ (Supplier Preference Model) จากที่กล่าวเมื่อเราได้ดำเนินการจัดแบ่งกลุ่มชัพพลายเออร์ใน 2 เรื่องแล้ว เรายังอาจนำเอาผลสรุปของทั้งสองกลุ่มมาทำการประเมินร่วมกันได้อีก โดยที่นิยมพบมากคือการใช้รูปแบบ ตารางเมตริกการวางตำแหน่งและความสัมพันธ์กับชัพพลายเออร์ (Supplier Position and Preference Matrix)
ผลจากการประเมินจัดกลุ่มชัพพลายเออร์ที่ดี จะมีประโยนช์มากเพื่อที่เราจะสามารถจัดลำดับความสำคัญชัพพลายเออร์ และวางแผนกลยุทธ์ในการติดต่อหรือดำเนินความสัมพันธ์กับชัพพลายเออร์ให้เกิดความเหมาะสมทั้งสองฝ่าย บางครั้งจัดซื้ออาจต้องทำถึงการเข้าไปสังเกตการณ์และการให้ความช่วยเหลือกับซัพพลายเออร์ในเรื่องต่างๆ เช่น
- การเข้าไปเป็นที่ปรึกษาแนะนำในการผลิตที่ดี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้ของในราคาที่ถูกลง โดยอาจเข้าสังเกตการณ์ในบริษัทชัพพลายเออร์เพื่อช่วยวิเคราะห์กระบวนการผลิต วิธีการผลิต การใช้เทคโนโลยี วิธีการทำงาน ฯลฯ เพื่อหาข้อแนะนำชัพพลายเออร์อีกทาง เนื่องจากบางครั้งการที่มีคนนอกเข้าไปดูอาจจะมองเห็นปัญหาของต้นทุนที่เกิดขึ้น ได้ดีกว่าคนในกระบวนการที่มีความคุ้นเคยในแบบเดิม ในขั้นตอนนี้อาจช่วยให้เป็นข้อแนะนำหรือเสนอแนะปรับปรุงเพื่อให้สามารถลดต้นทุนได้ต่อไป
- การสื่อสารพูดคุยที่ดีมีการทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในโซ่อุปทานการผลิต โดยอาจเริ่มจากอธิบายให้ชัพพลายเออรเข้าใจในเป้าหมายของฝ่ายจัดซื้อในแง่ที่ดี ให้ชัพพลายเออร์เข้าใจถึงความจำเป็นที่จะต้องทำลดราคา (Cost Down) ในงานจัดซื้อ เพราะว่าหากสินค้าคู่แข่งขันของชัพพลายเออร์สามารถจำหน่ายได้ในต้นทุนที่ถูกกว่าซัพพลายเออร์ ทางจัดซื้อก็อาจจำเป็นจะต้องสั่งซื้อจากแหล่งอื่นๆ ที่มีราคาถูกกว่า เพื่อให้ต้นทุนของบริษัทผู้จัดซื้อต่ำลงให้สามารถแข่งขันกับคู๋แข่งของผู้ซื้อได้ในตลาด
องค์กรควรที่จะมีการทำวิจัยวัดประสิทธิภาพการจัดซื้ออย่างสม่ำเสมอ เพราะเมื่อเวลาและสถาณการณ์มีการเปลี่ยนแปลงไป การทำงานไปสักระยะหนึ่งระบบงานนั้นอาจจะไม่สามารถสนับสนุนหรือสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นควรมีการวิจัยในเรื่อง การจัดซื้อก็เพื่อสะท้อนภาพการทำงานต่อองค์กรให้เห็นถึงสภาพปัญหาของการจัดซื้อจัดหา อาจมีการสร้างแบบจำลองในการจัดซื้อที่เหมาะสมกับการทำงานที่แตกต่างกันไปทั้งในปัจจุบันและในอนาคต อาจใช้การวิเคราะห์เอกสารย้อนหลัง 1-3 ปี การทำวิจัยเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม หรือการทำวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้องหรือซัพพลายเออร์ เป็นต้น
จะเห็นว่าจากการนำเอา รูปแบบการแบ่งกลุ่มซัพพลายเออร์ (Supplier Positioning Model) และ รูปแบบความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ (Supplier Preference Model) มาวิเคราะห์ร่วมกัน จะช่วยให้เราสามารถจัดแบ่งกลุ่มได้ดียิ่งขึ้น และยิ่งนำเอารูปแบบมาใช้งานร่วมกันมากขึ้นเท่าไร เราก็จะสามารถวิเคราะห์แยกแยะกลุ่มได้ดีมากยิ่งขึ้นเช่น รูปแบบ Cubic ซึ่งจะทำได้ยาก แต่หากมีการนะเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยจะทำให้สามารถทำได้โดยง่าย ดังที่จะเห็นว่าในปัจจุบันเริ่มมีการศึกษาในเรื่อง Business Analysis เพื่อให้สามารถใช้การคำนวนที่ยุ่งยากซับซ้อนเกิดได้โดยง่าย
แนะนำสมาคม APICS
สมาคม APICS ก่อตั้งขึ้นในปี 1957 ที่สหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเป็นเลิศในด้
APICS เป็นสมาคมวิชาชีพด้านการจัด
APICS ได้ให้การรับรองประกาศนียบั
ในปี 2014 APICS ได้ทำการควบรวมกิจกรรมเข้าก
APICS ได้พัฒนาองค์ความรู้ซัพพลาย
วันนี้ APICS มีสมาชิกทั่วโลกมากกว่า 45,000 คน ในกว่า 100 ประเทศ APICS มุ่งมั่นจะสนับสนุนนักโลจิส
- CPIM มากกว่า 104,000 คน
- CSCP มากกว่า 20,000 คน
- SCOR-P มากกว่า 700 คน
-----------------------------------------------
sc บทบาทของหน่วยงานการจัดหาและการจัดซื้อ
หน่วยงานที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบด้านการจัดการเกี่ยวกับการจัดหาและการจัดซื้อมีบทบาทสำคัญ ดังนี้
- จัดหาหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ ที่มีคุณภาพ ราคาที่เหมาะสม มีปริมาณที่ถูกต้องและทันต่อเวลาที่กำหนด ตามความต้องการของฝ่ายผลิตเพื่อป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปจำหน่ายแก่ลูกค้า
- รักษาความสมดุลระหว่างระดับการลงทุนและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการสั่งซื้อและค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาวัตถุดิบหรือวัสดุที่ใช้ในคลังสินค้าโดยให้มีต้นทุนต่ำที่สุด
- ให้ความสำคัญกับผู้ขายหรือผู้จำหน่ายวัตถุดิบ การให้ความรู้ความเข้าใจและเลือกสรรผู้จำหน่ายวัตถุดิบตลอดจนเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีเพื่อให้เป็นพันธมิตรทางธุรกิจในระยะยาว
- จัดทำมาตรฐานวัตถุดิบ ผู้แทนจำหน่าย และการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้วัตถุดิบร่วมกันได้ เพื่อลดจำนวนวัสดุคงคลังและต้นทุนในการผลิตสินค้า
- ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร เช่น ฝ่ายการตลาด ฝ่ายการเงิน ฝ่ายผลิต ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายขาย ให้มีแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน โดยยึดผลประโยชน์ขององค์กรและลูกค้า
- สร้างเกณฑ์การตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของฝ่ายจัดหาหรือจัดซื้อเพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถหาแหล่งวัตถุดิบที่ตอบสนองความต้องการได้อย่างต่อเนื่อง วัตถุดิบที่ได้ มีคุณภาพในระดับเดียวกัน กลไกในการจัดหาและการจัดซื้อมีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิผล กำหนดแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันอาจเกิดขึ้นในอนาคต
--------------------------------------------------------
sc บทบาทหน้าที่ของการจัดการคลังสินค้า
รูปบทบาทของระบบคลังสินค้าในระบบโลจิสติกส์
บทบาทหน้าที่ของการจัดการคลังสินค้า
คลังสินค้า หมายถึง พื้นที่ที่ได้กำหนดไว้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการจัดเก็บหรือเคลื่อนย้ายสินค้า โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ในการสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ภายในโรงงาน เช่น การสนับสนุนกิจกรรมการผลิต ของฝ่ายผลิต สนับสนุนกิจกรรมในการกระจายสินค้าของฝ่ายขายและการตลาด เป็นต้น โดยสินค้าที่เก็บในคลังสินค้าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. วัตถุดิบ (Material) ซึ่งอยู่ในรูปวัตถุดิบ ส่วนประกอบ และชิ้นส่วนต่าง ๆ
2. สินค้าสำเร็จรูปหรือสินค้า จะนับรวมไปถึงงานระหว่างการผลิต ตลอดจนสินค้าที่ต้องการทิ้งและวัสดุที่นำมาใช้ใหม่
ประโยชน์ของการจัดการคลังสินค้า
ในขณะเดียวกันการบริหารจัดการคลังสินค้าที่ไม่เหมาะสมเกิดปัญหาหลายประการ เช่น
--------------------------------------------------------
ปรากฏการณ์แส้ม้า (Bullwhip Effect)
ปรากฏการณ์แส้ม้า (Bullwhip Effect) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดการผันผวนในการบริหารงานโซ่อุปทาน (Supply Chain) ทำให้มีปัญหาสินค้าขาดแคลนหรือสินค้าเหลือล้นตลาด เหตุผลที่มาของปัญหาก็เพราะการที่ผู้ผลิตและผู้ขายไม่สามารถคาดเดาหรือรู้ในความต้องการที่ถูกต้องของลูกค้า หรือเกิดจากการที่ความต้องการของลูกค้ามีความแปรปรวนหรือผันผวน
สาเหตุที่เรียก ปรากฏการณ์แส้ม้า เทียบกับเมื่อเราสะบัดแส้จะลักษณะเป็นรูปการเหวี่ยงของแส้เหมือนลูกคลื่น ซึ่งคลื่นที่ติดกับมือจับแส้จะเล็ก และค่อยใหญ่ขึ้นเมื่อไกลออกจากมือจับ จึงเทียบกับความแปรปรวนของความต้องการของลูกค้าที่ยิ่งไกล ก็ยิ่งมีการแกว่งมากขึ้น ในกรณีที่โซ่อุปทาน (Supply Chain) มีหลายขั้นตอน มีสายโซ่อุปทานที่ยิ่งยาวก็ยิ่งจะมีปัญหาในด้านนี้มากตามขึ้นไปด้วย สาเหตุที่เกิดปัญหาสินค้าขาดหรือเกินจะเกิดจากการที่แต่ละหน่วยงานในโซ่อุปทาน ต่างวางแผนงานและต่างตัดสินใจ ไม่มีการทำงานประสานกันเป็นทีมที่ดี และการที่ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันได้ โดยเฉพาะข้อมูลความต้องการของลูกค้า ที่ยังไม่สามารถไหลมาจากปลายทางถึงต้นทางในองค์กรได้
ปัจจัยที่ส่งผลกับปรากฏการณ์แส้ม้า ประกอบด้วย
1. การประมาณการความต้องการ (Demand Forecasting) การประมาณการความต้องการ ก่อให้เกิดความผิดเพี้ยนของสินค้า มีความสำคัญก็เพราะถ้าตลอดทาง เพื่อให้รู้ความต้องการของลูกค้า นำมาทำการคาดการณ์ว่า ลูกค้าต้องการเท่าไหร่ จะลดความผันผวนลง
2. การปันส่วนสินค้า (Product Sharing) เมื่อมีความต้องการสินค้าเข้ามามากกว่ากำลังการผลิต หรือความสามารถการผลิตที่เรามี ซึ่งยอดซื้อที่เรารับเข้ามาจะบิดเบียนความเป็นจริงและเมื่อเราเอาข้อมูลการสั่งซื้อชุดนี้ เพื่อไปเตรียมการสั่งซื้อวัตถุดิบต่างๆ อาจจะผิดพลาดได้ เพราะข้อมูลสั่งซื้อที่ใช้ ไม่ได้มาจากความเป็นจริง
3. การจัดชุดคำสั่งซื้อ (Order Batching) บางครั้งลูกค้าสั่งของเข้ามา ซึ่งยังไม่ถึงจุดคุ้มทุนที่เราจะดำเนินการส่งของ เราจึงกักตุนสินค้าไว้ ไม่ทำการส่ง โดยไม่ได้แจ้งให้ลูกค้าทราบ ทำให้ลูกค้าเข้าใจว่าของยังขาดอยู่ จึงอาจจะมีการสั่งของซ้ำ
4. การตั้งราคาสินค้า (Product Pricing) เนื่องจากการเลือกสินค้าในปัจจุบัน ลูกค้าอาจจะยังไม่ซื้อสินค้านั้นโดยทันที ถ้าลูกค้าไม่มั่นใจว่า สินค้าชิ้นนี้เป็นชิ้นที่ถูกที่สุด ที่ไหนๆ ก็ไม่ถูกไปกว่านี้อีกแล้ว มันก็เลยกลายเป็นว่าความต้องการของลูกค้าอาจจะไม่ใช่ความต้องการที่แท้จริง เพราะว่าลูกค้าจะรอเพื่อให้ได้ของที่ถูกที่สุด เพราะฉะนั้นปริมาณสินค้าที่อยู่บนชั้นวางสินค้า อาจไม่ได้สะท้อนภาพความต้องการที่แท้จริง
5. การวัดผลการดำเนินงานของการทำงาน ในกระบวนการการบริหารการจัดการทั้งหมดตั้งแต่สั่งซื้อสินค้า ผลิต และส่งถึงผู้บริโภค ถ้าแต่ละกระบวนการแย่งกันทำให้เกิด Performance ที่ดีจะกลายเป็นดีใครดีมัน มันไม่ทำให้เกิด Performance ที่เป็นองค์รวม แต่ละหน่วยงานก็จะมองแค่ส่วนงานของเขา ทำให้แค่ส่วนงานของตนเองดีอย่างเดียว ทำให้ข้อมูลบิดเบือนจากความเป็นจริง
สรุป การแก้ไขปัญหาปรากฏการณ์แส้ม้าที่ดีคือ ควรที่ทั้งองค์กรจะต้องมีการประสานวางแผนการทำงานและร่วมกันตัดสินใจในการผลิต ควรทำงานประสานกันเป็นทีม ทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกันให้มากที่สุด มีการจัดการสารสนเทศ (INFORMATION MANAGEMENT) ที่สามารถให้ข้อมูลความต้องการของลูกค้า โดยข้อมูลควรจะมีการไหลต่อเนื่องจากปลายน้ำคือลูกค้า มาจนถึงผู้ผลิตต้นน้ำคือชัพพลายเออร์
------------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward