iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) จะบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้ จะต้องมีการดำเนินการเป็นทีมงานที่มีการประสานการทำงานร่วมกันอย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตามควรมีการกำหนดของเขตของการจัดการในงานด้านนี้ หรือที่เรียกว่า ระดับการจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management Level) แบ่งออกเป็น 3 ระดับ เพื่อให้เกิดการทำงานที่ดีมีประสิทธิภาพ มีการทำงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบในด้านต่าง ๆ ได้ง่ายถูกต้อง (Efficiency is doing things right) และมีประสิทธิผลหมายถึงการกระทำสิ่งต่างๆ ที่ถูกต้อง (Effectiveness is doing the right things) โดยแบ่งระดับในการจัดการโซ่อุปทานได้ดังนี้
- ระดับกลยุทธ์ (Strategic level) เป็นระดับที่ว่าด้วยนโยบายที่ชัดเจนของบริษัท มีการวางแผนทิศทางที่ชัดเจน (Direction plan) เช่นนโยบายสินค้าคงคลังจะมีนโยบายแบบใด จะทำสต็อกเพื่อทำกำไรทางการตลาด หรือไม่เก็บสต็อก เป็นต้น การวัดผลงาน จะวัดเชิงประสิทธิผล
- ระดับยุทธวิธี (Tactical level) เป็นระดับที่ต้องมีการวางแผนตามโครงสร้างที่กำหนด (Strategic plan) เช่น การดำเนินการในโซ่อุปทาน บทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ใครรับผิดชอบอะไร เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายตามนโยบายของบริษัท ซึ่งส่วนมากดำเนินการโดยผู้บริหารระดับสูง และ ระดับกลางของบริษัท การวัดผลงานจะวัดด้วยประสิทธิผลของงานที่จะดำเนินการคือ บรรลุตามเป้าหมายของบริษัท อาจจะอยู่ในรูปมูลค่าสินค้าคงคลังตลอดโซ่อุปทาน เป็นต้น
- ระดับปฏิบัติการ (Operation level) เป็นการนำระบบโซ่อุปทานมาใช้ในแต่ละฝ่ายของบริษัทเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธวิธี เช่น งานขาย ต้องสอดคล้องกับงานผลิต งานจัดซื้อ คลังสินค้า การบริหารเครือข่าย เป็นต้น การวัดผลงานในระดับนี้จะวัดโดยใช้ประสิทธิภาพ (Efficiency)
------------------------------------------------------------------
ระบบมาตรฐานการสอบย้อนกลับสากล (Global GS1 Tractability Standard)
โครงการพัฒนาและยกระดับความ
ข้อมูลโครงการเพิ่มเติมที่ http://
มาตรฐาน GS1 System
GS1 System เป็นมาตรฐานที่เอื้อประโยชน์แก่ทุกคู่ค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถสื่อสารระหว่าง คู่ค้าตลอดทั่วทั้งระบบ Supply Chain ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ (คู่ค้าเหล่านี้ได้แก่ ผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบ ผู้ผลิต ผู้ค้าส่ง ผู้จัดจำหน่าย หรือผู้กระจายสินค้า ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภค) ซึ่งเป้าหมายในระบบ Supply Chain คือ มีองค์ประกอบที่สำคัญขึ้นอยู่กับความถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำ ในการบริหารจัดการข้อมูลและการสื่อสาร
มาตรฐาน GS1 System จึงเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยส่งเสริมการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ ภายใน Supply Chain โดยเลขหมายบ่งชี้ตัวสินค้าสากลที่เรียกว่า GTIN (Global Trade Item Number) และตำแหน่งสถานที่ตั้งสากลที่เรียกว่า GLN (Global Location Number) ได้อย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งระบบยังเกื้อหนุนการดำเนินงานธุรกิจด้านการสื่อสารระหว่างคู่ค้าโดยผ่าน เครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบของ EDI (Electronic Data Interchange) หรือ XML (eXtensible Markup Language) โดยใช้ Electronic Document ในการสื่อสารระหว่างคู่ค้า
นอกจากนี้แล้วการใช้มาตรฐานสากล GS1 System สามารถ สนับสนุนการสืบย้อนกลับแหล่งที่มาของสินค้า และบริการ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในความปลอดภัยของสินค้า รวมทั้งมีการเก็บ ข้อมูลรายการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไร้พรมแดน ด้วยระบบ GDSN (Global Data Synchronisation Network) ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายเพื่อให้ผู้ซื้อ และผู้ขายมีฐานข้อมูลที่มีความเที่ยงตรง และมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
--------------------------------------
ระบบสืบค้นย้อนกลับ (Tractability) คืออะไร
ระบบสืบค้นย้อนกลับ (Traceability) คือ ระบบที่มีการจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการซื้อสินค้า โดยทำให้ผู้บริโภคสินค้าที่ซื้อมีความมั่นใจว่า สิ่งที่ผู้บริโภคได้รับไปนั้นจะไม่มีสิ่งปนเปื้อน มีความปลอดภัยสูง สามารถตรวจสอบติดตามเส้นทางของสินค้ากลับไปจนถึงแหล่งที่มาได้ นอกจากนั้นยังช่วยในการเรียกคืนสินค้าของบริษัทผู้ผลิต ให้นำสินค้าที่มีปัญหาหรือต้องการเรียกคืน ให้นำกลับคืนได้อย่างถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็ว
ระบบสืบค้นย้อนกลับ (Tractability) ประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ 2 กระบวนการคือ
- กระบวนการติดตาม
- กระบวนการสืบค้นย้อนกลับ
โครงการพัฒนาและยกระดับความ
ข้อมูลโครงการเพิ่มเติมที่ http://
..
รูปกรอบแนวคิดของรูปแบบ Diamond Model
รูปแบบโครงสร้างซัพพลายเขนแบบ Diamond Model
รูปแบบ Diamond Model คือ กรอบแนวคิดหรือตัวแบบสำหรับการวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขัน ของเครือข่ายวิสาหกิจในระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชน หรือลักษณะชองการรวมตัวกันในรูปแบบคลัสเตอร์ โดย Michael E. Porter ได้พัฒนาขึ้นเมื่อปี 1990 ได้มีการศึกษากันว่าเครื่องมือและกระบวนการอันสำคัญ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศได้คือการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจ หรือ “คลัสเตอร์” ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
รูปแบบ Diamond Model เป็นการพิจารณาและประเมินสภาวการณ์ปัจจุบันของปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจที่สำคัญ 4 ด้าน ที่จะมีผลกระทบต่อความสามารถในการเพิ่มผลิตภาพ (productivity) ของบริษัทที่อยู่ในในเครือข่ายวิสาหกิจในระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชน อันจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเครือข่ายวิสาหกิจในระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนนั้นทั้งระบบซัพพลายเชนในที่สุด ว่าสภาวการณ์เหล่านั้นมีลักษณะที่จะเป็นการเอื้อประโยชน์หรือจะเป็นอุปสรรคต่อการปรับปรุง หรือพัฒนาผลิตภาพของธุรกิจในเครือข่ายวิสาหกิจในระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนนั้นหรือไม่อย่างไรและมากน้อยเพียงใด รวมไปถึงการวิเคราะห์บทบาทของภาครัฐที่จะมีผลต่อปัจจัยแวดล้อมทั้ง 4 ด้านด้วย ทั้งนี้ปัจจัยดังกล่าวประกอบด้วย
เงื่อนไขด้านปัจจัยการผลิต (Input Factor Conditions) ได้แก่ ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แหล่งเงินทุน ฯลฯ ที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท
เงื่อนไขด้านอุปสงค์ (Demand Conditions) ได้แก่ ทัศนคติและรสนิยมของผู้บริโภค ระดับความพิถีพิถันและความเรียกร้องต้องการของผู้บริโภคต่อสินค้าและบริการของบริษัท ลักษณะและโครงสร้างการแบ่งส่วนการตลาดสำหรับสินค้าและบริการของบริษัท ความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละส่วนการตลาดเป็นที่คาดเดาได้ในระดับใด ฯลฯ
บริบทด้านการแข่งขันและกลยุทธ์ของธุรกิจ (Strategy and Rivalry Context) ได้แก่ ลักษณะและบรรยากาศของการแข่งขันทางธุรกิจ กลไกการตลาด ฯลฯ ที่จะมีผลต่อการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัท
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุนกัน (Related and Supporting Industries) ได้แก่ กิจกรรมทางธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกันในสายของซัพพลายเชนมีความครบถ้วนมากน้อยเพียงใด และ มีระดับของความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างกันเพียงใด เช่น แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารความรู้ระหว่างกัน วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์/ตลาดร่วมกัน ฯลฯ
ตัวอย่างของรูปแบบโครงสร้างแบบ Diamond Model
------------------------------------------------------------------
Supply Positioning Model รูปแบบการแบ่งกลุ่มซัพพลายเออร์
รูปแบบการแบ่งกลุ่มซัพพลายเออร์ (Supply Positioning Model) คือ การกำหนดแผนและวางยุทธศาสตร์ในเรื่อง การบริหารจัดเลือกซัพพลายเออร์ การเลือกเทคนิคการจัดซื้อ การจัดการความสัมพันธ์ และการเลือกนักจัดซื้อ เพื่อให้สามารถบริหารด้านชัพพลายเชนได้ดีที่สุด โดยใช้ปริมาณยอดการสั่งซื้อ และความสำคัญของสินค้าที่ซื้อมาใช้แบ่งกลุ่มตามความสำคัญสูงต่ำ เพื่อทำการจัดแบ่งรูปแบบในการดูแลและจัดการจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
1. สินค้ากลุ่มที่ไม่เกิดผลกระทบมากนัก (Routine or Non-critical Supplies / (Low Value - Low Risk)) คือ สินค้ากลุ่มที่หาง่ายหรืออาจใช้น้อย ไม่ควรเสียเวลากับมันมากนักแต่ควรมีแผนบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ (Low Supply Risk–Low Profit Impact) ดูแลการซื้อให้อยู่ในราคาที่ปกติไม่แพงมากไปก็พอ ไม่ควรเสียเวลาจัดการหรือทำการต่อราคาสินค้ากลุ่มนี้มากไปเพราะไม่ได้มีผลอะไรต่อธุรกิจ การสินค้ากลุ่มนี้มีในปริมาณหรือมูลค่าต่อครั้งน้อย หากไปจัดการมากไปกลับอาจจะทำให้เกิดไปเพิ่มเป็นต้นทุนได้
2. สินค้ากลุ่มที่ควรสนในและปรับปรุงได้ดี (Leverage Supplies / (High Value - Low Risk)) คือ สินค้ากลุ่มที่ควรสนใจและปรับปรุงให้ดีได้ เพราะการลดต้นทุนของผู้ซื้อจากกลุ่มนี้จะช่วยสร้างผลกำไรที่สูงขึ้น (Low Supply Risk–High Profit Impact) ปัจจุบันองค์กรมักจะขาดการวิเคราะห์ในกลุ่มนี้ดีพอ อาจสับสนว่าสินค้ากลุ่มนี้เป็น กลุ่มอื่นจึงมีปัญหาในการจัดการที่ไม่ดีพอ อาจเกิดการต่อรองราคาหรือการบริหารการสั่งซื้อได้ไม่ดีพอ การรู้จักผู้ขายหรือแหล่งซื้อสินค้าน้อยเกินไป ทำให้ไม่ได้ประโยชน์เต็มที่จากการบริหารจัดการสินค้ากลุ่มนี้
3. สินค้ากลุ่มที่จะเกิดปัญหาเมื่อขาด (Bottleneck Supplies / (Low Value - High Risk)) คือ สินค้ากลุ่มที่หากขาดจะทำให้เกิดปัญหาในขั้นตอนการทำงานจนต้องรอ อาจเรียกว่า เป็นคอขวด (Bottleneck) และเรียกกลุ่มสินค้ากลุ่มนี้ว่า สินค้ากลุ่มที่เป็นคอขวด (Bottleneck Items) กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงในการเกิดทำให้เกิดผลกระทบมาก แต่แม้ว่าอาจจะมีมูลค่าไม่มาก (High Supply Risk–Low Profit Impact) หากเป็นสินค้าที่มีมูลค่าไม่มากอาจเลือกวิธีแก้ปัญหาด้วยการซื้อมาเก็บตุนไว้ เพื่อช่วยลดความวุ่นวาย ลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อ และลดการจัดการภายในลง แต่ก๊มีข้อจำกัดปัญหาควรพิจารณาเช่น มีค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้จัดเก็บ มีการเสื่อมสภาพ และมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดเก็บ (holding costs) บางครั้งกลุ่มนี้อาจใช้วิธีการทำสัญญาหรือตกลงซื้อขายกันล่วงหน้า เพื่อให้มีความสม่ำเสมอของสินค้าเข้ามาช่วย สิ่งสำคัญอีกเรื่องคือต้องดูจากกลุ่มนี้คือเรื่องของความน่าเชื่อถือ ความสามารถการส่งมอบ และความมั่นคงของชัพพลายเออร์ด้วย
4. สินค้ากลุ่มที่ต้องระวังและเฝ้าติดตาม (Critical Supplies / (High Value - High Risk)) คือ สินค้ากลุ่มที่ควรต้องระวังและเฝ้าติดตาม อาจเรียกว่าเป็น กลุ่มพิเศษมีผลต่อธุรกิจ (Strategic Items) เพราะไม่เพียงแต่จะเกิดความเสียหายที่สูง แต่ยังจะใช้สร้างผลกำไรที่สูงด้วย (High Supply Risk–High Profit Impact) หากต้องการทำในกลุ่มนี้ ควรต้องเริ่มวางแผนมองหาทางเลือกในการใช้สินค้าทดแทน และหาซัพพลายเออร์เพิ่มให้มีมากขึ้น เพื่อเป็นคู่เทียบหรือเป็นทางเลือกไม่ควรมีชัพพลายเออร์น้อยกว่าสองถึงสามราย เพราะหากชัพพลายเออร์ที่ส่งนั้นมีปัญหาก็อาจส่งผลกระทบที่สูง ต้องสามารถสลับหารายอื่นมาทดแทนได้ทันเพื่อช่วยลดปัญหาจาก Supply Risk และแผนระยะยาวควรเร่งผลักสินค้ากลุ่มนี้ให้เป็นมาเป็นกลุ่ม Leverage Items ที่เราผู้ซื้อมีอำนาจต่อรองได้มากกว่า
องค์กรที่ดีควรใช้ข้อมูลการสั่งซื้ออย่างมีประสิทธิภาพ ในการจัดแบ่งกลุ่มหากใช้จัดการด้านไอทีเข้ามาช่วยให้มีความชัดเจนในการใช้วัตถุดิบมากขึ้น ช่วยให้มั่นใจได้ว่าแผนพิจารณาป้องกันผลกระทบต่อกลุ่มสินค้าและวัตถุดิบที่มีให้มากที่สุดได้ ช่วยให้เกิดแผนรับมือกับปัญหาตามสถานการณ์ได้ การจัดซื้อทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็น ฝ่ายผู้ซื้อหรือฝ่ายผู้ขาย ไม่ควรที่จะปล่อยให้ฝ่ายใดมีอำนาจควบคุมการต่อรองมากเกินไป ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีการปรับดุลเพื่อไม่ให้มีฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบมากเกินไป ควรที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องช่วยกันแบบได้ประโยชน์ร่วมกัน (win-win) เพื่อช่วยให้สามารถรักษาดุลยภาพของอำนาจในการซื้อขายต่อรองธุรกิจร่วมกันเอาไว้
-------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward