iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
กลยุทธ์การตลาด 4Ps และส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) คือ การนำหลักการตลาดหลายรูปแบบมาใช้ร่วมกัน เนื่องจากหลักในการตลาดด้านใดด้านหนึ่งอาจไม่สามารถทำให้เราสามารถเอาชนะคู่แข่งได้สมบูรณ์ดีพอ ดังนั้นหากต้องการความสำเร็จที่แน่ชัด ควรที่นักการตลาดจะมีการนำเอากลยุทธ์ในหลายๆ ส่วนมาใช้ร่วมกันในเพื่อสร้างโอกาสในความสำเร็จให้มีหลายๆ ด้าน แนวคิดในเรื่องของส่วนผสมทางการตลาด โดยเป็นการวางแผนนำกลยุทธ์ที่มีมาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสมและให้เกิดความลงตัวมากที่สุด ในวันนี้เราจะพูดถึงการนำกลยุทธ์การตลาดที่นำเอาหลายเรื่องมาพิจารณาร่วมกัน เช่น การพัฒณาสินค้าและบริการในส่วนมุมมองผู้ผลิต กลยุทธ์การตลาด 4Ps, แนวคิดความต้องการในส่วนของผู้บริโภค กลยุทธ์การตลาด 4Cs และการพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมกันลูกค้า กลยุทธ์การตลาด 4Es มาใช้ร่วมกันแบบส่วนผสมทางการตลาดเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น
การเปรียบเทียบระหว่างแนวคิดการพัฒณาสินค้าและบริการในส่วนมุมมองผู้ผลิต กลยุทธ์การตลาด 4Ps, แนวคิดความต้องการในส่วนของผู้บริโภค กลยุทธ์การตลาด 4Cs และการพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมกันลูกค้า กลยุทธ์การตลาด 4Es แยกวิเคราะห์ออกได้เป็น 4 ส่วนหลัก คือ
1. ผลิตภัณฑ์ (Product) ในส่วนของการพัฒนาสินค้าและบริการ จะทำโดยมุ่งตอบสนองความต้องการใช้ของผู้บริโภคเป็นหลัก ไม่ใช่แบบการผลิตตามความต้องการของผู้ผลิตที่ละปริมาณมากๆ แล้วค่อยมาทำการตลาดสร้างความต้องการให้กับลูกค้าแบบเดิม จะให้ความสำคัญกับ ความต้องการของผู้บริโภค (Consumer‘s Need) และในการสื่อสารกับผู้บริโภคโดยจะใช้ การแนะนำประสบการณ์ (Experience) คือเปลี่ยนจากการแนะนำข้อดีของสินค้า ให้มาเป็นเป็นการแนะนำประสบการณ์ที่ผู้ใช้ได้รับหรือหลังจากได้ใช้ผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้ใช้รักในผลลัพธ์ที่มีและเกิดความภาคภูมิใจที่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของเรา
2. ราคา (Price) ผู้ผลิตจะต้องเริ่มปรับเปลี่ยนแนวการคิดราคาต้นทุนในการผลิตแบบเดิม ที่่กำหนดราคาจาก ต้นทุนการผลิตสินค้า + ค่าใช้จ่ายที่มี + กำไรที่ต้องการ = ราคาขาย การคิดต้นทุนในการผลิตแบบเดิมนั้น บางครั้งใช้การสู้ในด้านราคาต้นทุนและกำไรมาทำแข่งขัน ในโลกปัจจุบันยุคที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลสินค้าได้ง่ายและรวดเร็ว ดังนั้นผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญในเรื่องของการกำหนด ราคา เพราะหากมีการกำหนดราคาที่ผิดพลาดอาจมีปัญหาสู้คู่แข่งไม่ได้ ดังนั้นแทนที่จะสนใจที่ราคาควรทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนมาให้ความสนใจที่ คุณค่า (Value) ของสินค้า ควรปรับคิดการสร้างคุณค่าให้กับผู้บริโภคคือ ความเหมาะสมในราคา (Cost of Appreciation) หลังจากนั้นก็จะมีการกำหนดราคาที่ต้องการจากคุณค่า (Exchange) ที่ลูกค้าต้องการ นักการตลาดจะแอบเบี่ยงเบนราคาให้สูงขึ้น ในรูปแบบมูลค่าความรู้สึก โดยทำให้ผู้ซื้อรู้สึกคุ้มได้คุณค่าตามความคาดหวังและยังสามารถแก้ปัญหาได้ตามต้องการ
3. สถานที่ (Place) ในอดีตเรามักจะให้ความสำคัญในเรื่อง ทำเลที่ตั้ง สถานที่จัดจำหน่าย รูปแบบหน้าร้านซึ่งอาจเป็นทางกายภาพเป็นส่วนใหญ่ แต่ในยุคปัจจุบันที่โลกไร้พรมแดน ทำให้การเข้าถึงสินค้าและช่องทางจัดจำหน่ายมีได้มากขึ้นและครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างไกลทั่วโลก และเป็นที่แน่ชัดแล้วว่าธุรกิจที่สามารถทำให้ผู้ซื้อเข้าถึงผลิตภัณฑ์หรือแบรนด์ของตัวเอง ได้จากทุกที่ทุกเวลาจะสามารถทำให้ชนะคู่แข่งได้ ดังนั้นหากลูกค้าสามารถติดต่อดูข้อมูลสินค้า มีช่องทางสื่อสารพูดคุยเพื่อแนะนำสินค้า สามารถซื้อผลิตภัณฑ์ของเราได้ เรียกว่า ความสะดวกในการซื้อ (Convenience to Buy) ลูกค้ามีช่องทางการซื้อสินค้า การตลาดยุคใหม่ต้องคำนึงถึงความสะดวกสบายในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคเป็นหลัก จากแนวคิดที่ว่าสถานที่การขายมีความสำคัญสำหรับธุรกิจ ยุคเริ่มมี Internet ทำให้สถานที่จัดจำหน่ายหรือช่องทางในการเข้าถึงสินค้าและบริการไม่ได้อยู่ในรูปแบบของร้านค้าอีกต่อไป นักการตลาดเลยต้องมองถึงการอำนวยความสะดวกที่ทำให้ลูกค้าสะดวกในการใช้บริการและซื้อสินค้า ให้มีมากและดีที่สุดเรียกว่า การตอบสนองในทุกที่ (Everywhere) มีการเพิ่มช่องทางในการซื้อให้กับลูกค้าให้มีมากขึ้น ทำให้เกิดรูปแบบร้านค้าออนไลน์การบริการลูกค้าผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต จากในทุกเครือข่ายในทุกที่ทุกเวลาทั่วโลก ปัจจุบันมาในรูปแบบอินเตอร์เน็ท (Internet) ผ่านช่องทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน (Smart Phone) หรือเครื่อมือต่าง (All Device) ในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มไหน (Platform) รวมถึงการมีระบบการชำระเงินที่สะดวกเช่น ผ่านระบบออนไลน์ บัตรเครดิต หรือเดบิต และยังเพิ่มการบริการขนส่งที่สามารถจัดส่งสินค้าให้ถึงมือลูกค้าได้สะดวกและรวดเร็ว ถือว่าสร้างความสะดวกที่ช่วยให้ลูกค้าติดใจและใช้บริการเราต่อเนื่องอย่างแน่นอน
4. การส่งเสริมการตลาด (Promotion) มีการปรับเปลี่ยนจากเดิมที่เน้นการโฆษณา ประชาสัมพันธ์จัดกิจกรรมเพื่อแจกแถม ให้มีการตัดสินใจซื้อสินค้า ได้มีารปรับแนวคิดในส่วนด้านผู้บริโภคคิอ การสื่อสารและนำเสนอ (Communication that Connects) โดยในอนาคตการเผยแพร่ประชาสัมพันธจะมีโดย กลุ่มลูกค้าที่เป็นสาวกของเรา (Evangelism) ที่ชื่นชมในสินค้าที่มีคือ การที่ลูกค้ารู้สึกดีต่อสินค้าและการบริการที่มีทำการช่วยแนะนำและเผยแพร่สินค้า ในส่วนนี้จะเกิดได้เมื่อลูกค้าที่ใช้สินค้าเรามีความรู้สึกผูกพันหลงไหลในสินค้าและบริการที่เราสร้าง มีขั้นโดยพยายามเปลี่ยนแปลงยกระดับความสัมพันธ์ของเราและลูกค้า ให้มีความสัมพันธที่ค่อยๆ มากขึ้นเช่น ยกระดับจากผู้สนใจ มาเป็นผู้ลองใช้ มาเป็นลูกค้าที่ซื้อสินค้า มาเป็นลูกค้าที่ใช้ประจำ (Repeated Customer) และมาถึงระดับสูงสุดคือเป็นลูกค้าที่หลงไหลในสินค้าเรา อาจเรียกว่าเป็นลูกค้าแบบสาวกไปเลย ความสำเร็จในส่วนนี้จะเกิดได้ เมื่อผลิตภัณฑ์เรานั้นมีองค์ประกอบข้อ 1 - 3 ที่ดี และยังต้องมีส่วนเสริมเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและความประทับใจของลูกค้าเช่น การขนส่งสินค้า การบริการหลังการขาย ทางเลือกในการชำระเงิน การรับประกัน และแม้แต่การบริการของพนักงาน โดยสำคัญที่สุดคือ คุณภาพของสินค้านั้นต้องมีความโดดเด่นและตอบความต้องการของลูกค้าผู้ใช้ได้จริง
** ดูรายละเอียด การพัฒณาสินค้าและบริการในส่วนมุมมองผู้ผลิต กลยุทธ์การตลาด 4Ps, แนวคิดความต้องการในส่วนของผู้บริโภค กลยุทธ์การตลาด 4Cs และการพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมกันลูกค้า กลยุทธ์การตลาด 4Es
จะเห็นว่าทั้ง 4 อย่างสามารถจับคู่กันได้อย่างลงตัว เพียงแค่ทางด้าน 4Ps เป็นแนวความคิดในส่วนของ ผู้ผลิตหรือเจ้าของธุรกิจ (Business Centrist) และในส่วน 4Cs กลับด้านมาเป็นแนวคิดจาก ผู้บริโภคหรือลูกค้า (Customer Centrist)
โลกของการแข่งขันที่นักธุรกิจทั้งหลายหยุดนิ่งไม่ได้ ต้องพัฒนาปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ทันกับกระแสความต้องการลูกค้าได้ตลอดเวลา หรือเพื่อให้เข้ากับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากที่สุด ปัจจุบันตลาดเริ่มไม่ใช่รูปแบบการตลาดที่เน้นการผลิตครั้งละมากๆ (Mass Market) แบบเดิม นักการตลาดเริ่มกลับมาปรับตัวจาก 4Ps ซึ่งเป็นแนวความคิดในส่วนของ ผู้ผลิตหรือเจ้าของธุรกิจ ให้กลายเป็นแนวการตลาดยุคใหม่ 4Cs ที่กลับด้านมาเป็นแนวคิดจาก ผู้บริโภคหรือลูกค้า มากขึ้น การสื่อสารในช่องทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายสังคมออนไลนมากมาย ต้องหาวิธีการในการใช้ช่องทางเหล่านี้มาช่วยให้เป็นประโยชน์ ใช้เรียกความสนใจของผู้บริโภคให้มีเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) ก็เป็นปัจจัยพื้นฐานที่นำมาใช้ได้เสมอในโลกแห่งธุรกิจ
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------
ส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) คือ การนำหลักการตลาดหลายรูปแบบมาใช้ร่วมกัน เนื่องจากหลักในการตลาดด้านใดด้านหนึ่ง อาจไม่สามารถทำให้เราสามารถเอาชนะคู่แข่งได้สมบูรณ์ดีพอ ดังนั้นหากต้องการความสำเร็จที่แน่ชัด ควรที่นักการตลาดจะมีการนำเอากลยุทธ์ในหลายๆ ส่วนมาใช้ร่วมกันในเพื่อสร้างโอกาสในความสำเร็จให้มีหลายๆ ด้าน แนวคิดในเรื่องของส่วนผสมทางการตลาด โดยเป็นการวางแผนนำกลยุทธ์ที่มีมาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสมและให้เกิดความลงตัวมากที่สุด ในวันนี้เราจะพูดถึงการนำกลยุทธ์การตลาดที่มีหลายเรื่องเช่น 4Ps และ 4Cs มาใช้ร่วมกันแบบส่วนผสมทางการตลาดเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น
1. ในส่วนผู้ผลิตแนวคิดเรื่องผลิตภัณฑ์ (Product) มีการปรับเปลี่ยนมาเป็นแนวคิดในส่วนด้านผู้บริโภคคิอ ความต้องการของผู้บริโภค (Consumer‘s Need)
2. ในส่วนผู้ผลิตแนวคิดเรื่องราคา (Price) มีการปรับเปลี่ยนมาเป็นแนวคิดในส่วนด้านผู้บริโภคคิอ ความเหมาะสมในราคา (Cost of Appreciation)
3. ในส่วนผู้ผลิตแนวคิดเรื่องสถานที่ (Place) มีการปรับเปลี่ยนมาเป็นแนวคิดในส่วนด้านผู้บริโภคคิอ ความสะดวกในการซื้อ (Convenience to Buy)
4. ในส่วนผู้ผลิตแนวคิดเรื่องการส่งเสริมการตลาด (Promotion) มีการปรับเปลี่ยนมาเป็นแนวคิดในส่วนด้านผู้บริโภคคิอ การสื่อสารและนำเสนอ (Communication that Connects)
** การพัฒณาสินค้าและบริการในส่วนมุมมองผู้ผลิต กลยุทธ์การตลาด 4Ps ที่มีการปรับเปลี่ยนมาเป็น, แนวคิดความต้องการในส่วนของผู้บริโภค กลยุทธ์การตลาด 4Cs เพิ่มเติม
จะเห็นว่าทั้ง 4 อย่างสามารถจับคู่กันได้อย่างลงตัว เพียงแค่ทางด้าน กลยุทธ์การตลาด 4Ps เป็นแนวความคิดในส่วนของ ผู้ผลิตหรือเจ้าของธุรกิจ (Business Centrist) และในส่วน กลยุทธ์การตลาด 4Cs กลับด้านมาเป็นแนวคิดจาก ผู้บริโภคหรือลูกค้า (Customer Centrist) โลกของการแข่งขันที่นักธุรกิจทั้งหลายหยุดนิ่งไม่ได้ ต้องพัฒนาปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ทันกับกระแสความต้องการลูกค้าได้ตลอดเวลา หรือเพื่อให้เข้ากับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้มากที่สุด
ปัจจุบันตลาดเริ่มไม่ใช่รูปแบบการตลาดที่เน้นการผลิตครั้งละมากๆ (Mass Market) แบบเดิม นักการตลาดเริ่มกลับมาปรับตัวจาก กลยุทธ์การตลาด 4Ps ซึ่งเป็นแนวความคิดในส่วนของ ผู้ผลิตหรือเจ้าของธุรกิจ ให้กลายเป็นแนวการตลาดยุคใหม่ กลยุทธ์การตลาด 4Cs ที่กลับด้านมาเป็นแนวคิดจาก ผู้บริโภคหรือลูกค้า มากขึ้น การสื่อสารในช่องทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน ทำให้เกิดเป็นเครือข่ายสังคมออนไลนมากมาย ต้องหาวิธีการในการใช้ช่องทางเหล่านี้มาช่วยให้เป็นประโยชน์ ใช้เรียกความสนใจของผู้บริโภคให้มีเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) ก็เป็นปัจจัยพื้นฐานที่นำมาใช้ได้เสมอในโลกแห่งธุรกิจ
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------
กลยุทธ์การตลาด 4Ps และส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix)
กลยุทธ์การตลาด 4Ps เกิดจากหลักแนวคิดที่ว่า ก่อนที่จะมาทำธุรกิจหรือการตลาด ควรที่จะต้องมีความสนใจให้ความสำคัญในการกำหนดหัวเรื่องสำคัญ ที่ธุรกิจควรนำมาพิจารณาถึงความพร้อมและใช้เป็นแนวก่อนเริ่มดำเนินการทางธุรกิจ โดยได้ใช้ P ซึ่งเป็นตัวหน้าของเรื่องที่สนใจคือ Product-Price-Promotion-Place โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์ (Product) คือ สินค้าบริการที่ธุรกิจสร้างขึ้นเพื่อตอบความต้องการหรือที่จะส่งมอบให้แก่ลูกค้าหรือผู้บริโภค ต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมและชัดเจน ดูว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายเขาต้องการอะไรบ้างให้ใส่ใจในรายละเอียดนั้น สินค้าหรือการบริการที่มีแตกต่างอย่างไรทำให้ลูกค้าเกิดความสะดุดตาสะดุดใจในรูปลักษณ์ รวมถึงการใช้งาน ความทนทาน และความปลอดภัย ตลอดจนการสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้า ทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจและเลือกซื้อสินค้าหรือบริการของเรา และมีการบอกกันปากต่อปาก เป็นต้น
2. ราคา (Price) คือ ราคาหรือสิ่งที่ลูกค้าต้องจ่ายเพื่อแลกกับการได้สินค้าและบริการ อาจจะไม่ใช่เพียงแค่เงินเท่านั้นอาจรวมถึงเวลาหรือการกระทำบางอย่าง ดังนั้นการตั้งราคาจึงต้องให้เหมาะสม คำนวณเรื่องราคาต้นทุนกับกำไรว่า มีความคุ้มค่าหรือไม่ มีกำไรมากน้อยเพียงไร
3. สถานที่ (Place) คือ ช่องทางที่ลูกค้าจะสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการของเราได้เช่น ช่องทางการจัดจำหน่าย ช่องทางการให้บริการ รวมถึงทำเลในการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้า ควรจะต้องมีความสะดวก ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว สามารถทำให้เกิดผลกำไรจากการกระจายสินค้าไปสู่กลุ่มลูกค้าให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด
4. การส่งเสริมการตลาด (Promotion) คือ การสื่อสารการตลาดเพื่อทำให้ธุรกิจสามารถสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย และนำไปสู่การโน้นน้าวให้กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ นับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการตลาด โดยในปัจจุบันสามารถทำการโฆษณาในสื่อหลายรูปแบบ หรืออาจเป็นการทำกิจกรรมเพื่อให้ลูกค้าได้มาร่วม เพื่อจูงใจให้ลูกค้าสนใจและอยากเลือกสินค้าหรือบริการของเรา
กลยุทธ์การตลาด 4Ps เป็นพื้นฐานใช้ที่ทุกธุรกิจต้องเจอ โมเดลนี้จะนำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อให้นักการตลาดและผู้บริหาร สามารถใช้ประกอบเพื่อแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาการตลาดของตัวเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) คือ การนำหลักการตลาดหลายรูปแบบมาใช้ร่วมกัน เนื่องจาก 4 หลักในการตลาดด้านบนนั้นอาจไม่สามารถทำในเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ หากต้องการความสำเร็จควรที่จะมีการนำมาใช้ร่วมกันในหลายๆด้าน จึงเกิดแนวคิดในเรื่องของส่วนผสมทางการตลาด โดยเป็นการวางแผนนำเอาทั้ง 4 ส่วนมาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสมและให้เกิดความลงตัวมากที่สุด
โลกของการแข่งขันที่นักธุรกิจทั้งหลายหยุดนิ่งไม่ได้ ต้องพัฒนาปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้ทันตามกระแสตลอดเวลา เพื่อให้เข้ากับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ดังนั้น ส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix) ก็เป็นปัจจัยพื้นฐานที่นำมาใช้ได้เสมอในโลกแห่งธุรกิจ
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------
การตลาดที่มีการพัฒนาเพิ่มจาก 4Ps มาเป็น 7Ps
การตลาดที่มีการพัฒนาเพิ่มจาก 4Ps มาเป็น 7Ps ในอดีตที่ผ่านมา การตลาดได้มีการออกเป็น 4 ส่วนหรือที่เราเรียกว่า การตลาด 4Ps ได้แก่
1. ผลิตภัณฑ์ (Product) คือ สินค้าหรือบริการที่จะมอบให้แก่ลูกค้า โดยต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมและชัดเจน คือต้องดูว่ากลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเราเขาต้องการอะไรบ้าง ก็ให้ใส่ใจในรายละเอียดตรงนั้น รวมทั้งสินค้าหรือการบริการต้องมีความแตกต่างทำให้ลูกค้าเกิดความสะดุดตาสะดุดใจในรูปลักษณ์ รวมถึงการใช้งาน ความทนทาน และความปลอดภัยต่างๆ ตลอดจนการสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้า ทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจและเลือกซื้อสินค้าหรือบริการของเรา และมีการบอกกันปากต่อปาก เป็นต้น
2. ราคา (Price) เป็นสิ่งสำคัญสำหรับสินค้าและบริการในแง่การตลาด การตั้งราคานั้นต้องให้เหมาะสม คำนวณเรื่องราคาต้นทุนกับกำไรว่า มีความคุ้มค่าหรือไม่ มีกำไรมากน้อยเพียงไร
3. สถานที่ (Place) ในที่นี้รวมถึงทำเลหรือช่องทาง ในการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้า ต้องมีความสะดวก ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว คำนึงถึงวิธีการขายที่จะสามารถทำให้เกิดผลกำไรและกระจายสินค้าไปสู่กลุ่มลูกค้าให้ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากที่สุด
4. การส่งเสริมการตลาด (Promotion) คือ การแนะนำสินค้าหรือบริการให้เป็นที่รู้จักหรือได้รับความสนใจ นับว่าส่วนนี้เป็นหัวใจสำคัญของการตลาด ในปัจจุบันสามารถทำการโฆษณาในสื่อหลายรูปแบบ อาจเป็นการทำกิจกรรมเพื่อให้ลูกค้าที่มาร่วมกิจกรรม เพื่อจูงใจให้ลูกค้าสนใจและอยากเลือกสินค้าหรือบริการของเรา
ในปัจุบันจะพบว่าการตลาดยุคใหม่นั้น หารมีการให้บริการตลาดแบบเดิมเพียง 4Ps เริ่มไม่เพียงพอในการแข่งขัน จึงมีการพัฒนาเพิ่มเติมขึ้นอีก 3 ส่วน เรียกว่า การตลาด 7Ps โดยมีส่วนที่เพิ่มได้แก่
5. บุคคล (People) คือ ด้านบุคคลหรือพนักงาน ต้องมีความสามารถในการตอบสนองลูกค้าได้ดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และมีความสามารถในการแก้ปัญหาต่างๆ เพื่อการสร้างค่านิยมให้แก่องค์กร
6. การนำเสนอ (Physical Evidence) คือ เป็นการสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าและบริการ หรือการปรับปรุงคุณภาพทางกายภาพอื่นๆ
7. กระบวนการ (Process) คือ การจัดการด้านสินค้าและบริการ ต้องมีขั้นตอนระเบียบข้อปฏิบัติที่มาตรฐาน มีความชัดเจน เข้าใจง่ายทำง่าย ไม่ซ้ำซ้อน และให้บริการที่รวดเร็ว เพื่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ
ส่วนผสมทางการตลาด (Marketing Mix 4Ps) คือ การนำหลักการตลาดหลายรูปแบบมาใช้ร่วมกัน โดยอาจมีการเลือกหลายส่วนหรือทั้งหมด เพื่อให้เกิดผลลัทธ์ที่ดีที่สุดอย่างเหมาะสมและเกิดความลงตัวมากที่สุด
.
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------
Marketing การทำตลาดยุคใหม่ 4P ที่ต้องปรับเปลี่ยนไปในยุคการขายออนไลน์และการตลาดดิจิทัล
นักการตลาดในอดีตที่ผ่านมาทุกคนคงรู้จักและคุ้นเคยกับกลยุทธ์การทำการตลาดแบบ 4P ที่ประกอบด้วย สินค้า (Product ) ราคา (Price) สถานที่ (Place) และโปรโมชัน (Promotion) เป็นอย่างดี หากถามว่าในปัจจุบันการค้าขายหลายส่วนมีการเปลี่ยนแปลงไป เริ่มมีการขายสินค้าออนไลน์มากขึ้น นักการตลาดอาจไม่สามารถทำการตลาดอย่างเดิมหรือที่มักเรียกกันว่าแบบออฟไลน์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากถามว่านักการตลาดต้องอาศัยแนวคิด 4P มาวางแผนได้อีกไหมหรือควรเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร คงกล่าวได้ว่าการตลาดในปัจจุบันแม้จะมีการเพิ่มช่องทางการขายที่เป็นออนไลน์มากขึ้น แต่หลักการ 4P นั้นยังสามารถนำมาใช้ได้แต่ควรเพิ่มการปรับเพิ่มในรายละเอียดบางส่วนเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป คือ
Product (สินค้า) ในการดำเนินธุรกิจการขายออนไลน์ เราไม่จำเป็นต้องกำหนดหรือเลือกว่าจะขายสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะการขายออนไลน์ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยพื้นที่ สถานที่ การสต็อกสินค้า หรือจำนวนในการวางสินค้า ทำให้ผู้ขายสามารถแสดงสินค้าที่จะขายได้จำนวนมากมายไม่มีที่สิ้นสุด โดยอาจมีความหลากหลายมากกว่ากว่าการวางขายของที่ร้านแบบออฟไลน์ การจำกัดการขายสินค้าเพียงจำนวนจำกัดชนิดหรือเพียงอย่างเดียว จะเป็นการตัดโอกาสทางการขายสินค้าของเราไปด้วย ผู้ขายออนไลน์ควรทำการกำหนดสินค้าให้เป็นไปตามแผนการตลาดที่มีการกำหนดเป้าหมาย หรือตำแหน่งทางการตลาดของร้านในรูปแบบที่ไม่มีขีดจำกัด เน้นการส้รางความแตกต่างชวนให้ติดตามค้นหา โดยเข้าถึงอารมณ์หรือไลฟ์สไตล์ของลูกค้าให้มากที่สุด
Price (ราคา) ในการขายของออนไลน์นั้น การเปรียบเทียบราคาจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะลูกค้าสามารถหาข้อมูลสินค้าจากหลายแห่งเพื่อนำมาทำการเปรียบเทียบได้โดยง่าย ดังนั้นนอกจากการคำนวณเรื่องต้นทุนกำไรที่เหมาะสมแล้วก่อนที่จะทำการกำหนดราคาสินค้า ผู้ขายควรสืบค้นและสำรวจราคาสินค้าในตลาดออนไลน์ก่อนที่จะทำการกำหนดขาย แม้ว่าเราอาจจะไม่จำเป็นต้องกำหนดให้ราคาสินค้าของเราถูกที่สุด แต่ก็ควรที่จะต้องกำหนดให้สินค้าของเรามีราคาที่เหมาะสมไม่แพงมากเกินไป ควร กำหนดราคาที่สมเหตุสมผลกับคุณภาพของสินค้านั้น ให้เกิดการยอมรับได้ทั้งในด้านของผู้ซื้อที่ยอมจ่ายและผู้ขายที่มีกำไร หากเมื่อไรที่เราจำเป็นต้องตั้งราคาที่สูงกว่าร้านอื่น เราจะต้องสามารถให้เหตุผลและข้อมูลถึงคุณค่าที่ลูกค้าจะได้รับว่าจะมีมากกว่าอย่างไร อาจต้องทำเป็นเรื่องการอธิบายคุณภาพของส่วนที่ต่างให้ชัดเจน เช่น การให้บริการหลังการขาย
Place (สถานที่) ปัจจุบันสถานที่ขายสินค้าในโลกออนไลน์นั้น จะมีอยู่ทุกที่ทุกเวลาไม่จำเป็นต้องไปผูกติดหรือยึดโยงกับสถานที่ตำแหน่งในพื้นโลก แต่จะเกิดจากการเข้าใช้งานผ่านช่องทางโปรแกรมหรือระบบที่เรามักเรียกว่า แพลตฟอร์ม (Platform) ซึ่งการขายออนไลน์นั้นมีระบบใช้ในการขายมากมายอยู่หลากหลายช่องทาง นักการตลาดที่ดีจะต้องเลือกการแพลตฟอร์มที่ใช้ให้เหมาะสม โดยการตัดสินใจเลือกอาจดูจาก กลุ่มลูกค้าหรือเป้าหมายที่สนใจ ว่าเขาใช้อะไรกันเป็นส่วนใหญ่ เลือกระบบที่มีความง่ายในการใช้งานและมีความปลอดภัยน่าเชื่อถือ เพื่อให้เกิดการเข้าถึงและการขายที่ดีมีประสิทธิภาพสูงสุด ควรเลือกใช้แพลตฟอร์มที่มีลูกค้าใช้งานอยู่มาก
Promotion (การโปรโมชั่น) การจัดประชาสัมพันธ์หรือรูปแบบในการโปรโมตสินค้าในระบบออนไลน์ สามารถทำได้หลายรูปทั้งนี้มักจะแบบขึ้นอยู่กับระบบหรือแพลตฟอร์มที่เราใช้ เนื่องจากในแต่ละแพลตฟอร์มจะมีความสามารถและเงื่อนไขในการทำงานที่แตกต่างกัน การโปรโมตสินค้าในด้านออนไลน์นั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น การยิงโฆษณาโดยการซื้อตำแหน่งแสดงแอด การผลิตเนื้อหาเรื่องราวหรือคอนเทนต์ที่โดนใจตลาดเพื่อบอกเล่าเรื่องราวสินค้า (Storytelling) หรือการส่งเสริมการขายด้วยราคาหรือการแจกแถม เป็นต้น สิ่งสำคัญที่สุดในส่วนนี้ คือ การวางกลยุทธ์ในการที่จะทำการโปรโมตสินค้าให้เข้าถึงและตรงใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด การเลือกขายสินค้าประเภทที่แยกตามกลุ่มลูกค้าเช่น อายุ จะช่วยในการจัดทำคอนเทนต์แนะนำที่เหมาะสมตามวัยและง่ายดายในการเข้าถึง
.
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward