iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
Marketing การตลาดยุคใหม่ 4P ที่ต้องปรับเปลี่ยนการขายออนไลน์สู่การตลาดดิจิทัล
นักการตลาดในอดีตที่ผ่านมาทุกคนคงรู้จักและคุ้นเคยกับกลยุทธ์การทำการตลาดแบบ 4P ที่ประกอบด้วย สินค้า (Product ) ราคา (Price) สถานที่ (Place) และโปรโมชัน (Promotion) เป็นอย่างดี หากถามว่าในปัจจุบันการค้าขายหลายส่วนมีการเปลี่ยนแปลงไป เริ่มมีการขายสินค้าออนไลน์มากขึ้น นักการตลาดอาจไม่สามารถทำการตลาดอย่างเดิมหรือที่มักเรียกกันว่าแบบออฟไลน์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากถามว่านักการตลาดต้องอาศัยแนวคิด 4P มาวางแผนได้อีกไหมหรือควรเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร คงกล่าวได้ว่าการตลาดในปัจจุบันแม้จะมีการเพิ่มช่องทางการขายที่เป็นออนไลน์มากขึ้น แต่หลักการ 4P นั้นยังสามารถนำมาใช้ได้แต่ควรเพิ่มการปรับเพิ่มในรายละเอียดบางส่วนเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ในปัจจุบันกลยุทธ์การตลาด 4Ps ก็ได้มีการปรับตัวไปในหลายส่วน เพื่อเข้ากับการตลาดในยุคโควิด-19 เพราะในสถาณการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา ได้มาเร่งให้พฤติกรรมของลูกค้าหรือผู้บริโภคให้มีการเปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนย้ายชีวิตเข้าสู่โลกดิจิทัลมากขึ้น จนปัจจุบันนี้กล่าวได้ว่าโลกเข้าสู่ยุค New-Next Normal ที่ทุกคนต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินชีวิตประจำวัน สถานการณ์ในช่วงสามปีที่ผ่านมา ได้ส่งผลให้ผู้บริโภคคุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น มีการใช้สื่อ Social Media และ Application ต่างๆ เป็นช่องทางหลักเพื่อรับข่าวสารมากขึ้น ดังนั้น แนวคิด 4Ps แบบเดิมอาจไม่เพียงพออีกต่อไป ซึ่งหลายธุรกิจได้เริ่มต่อยอดและหากลยุทธ์ทางการตลาดใหม่ๆ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้มากขึ้น รวมถึงนำแนวคิด 4Es มาปรับใช้ด้วยเช่นกัน แนวคิดนี้ประกอบด้วย
(1) คุณสมบัติสินค้าไปสู่การได้รับประสบการณ์ (Product to Experience) จากสินค้าสู่ประสบการณ์ของผู้ซื้อ เนื่องจากการผลิตสินค้าหรือบริการต่างๆ สามารถทำได้ง่ายเมื่อเทียบกับในอดีต โดยในปัจจุบันมีโรงงานที่รับจ้างผลิตสินค้าที่ทำให้เจ้าของธุรกิจไม่จำเป็นต้องมีเงินทุนจำนวนมากเพื่อสร้างโรงงานถึงจะผลิตสินค้าได้ ส่งผลให้เกิดการแข่งขันเพิ่มมากขึ้นผู้ประกอบการจึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความแตกต่างและคุณค่าให้มากกว่าจะมุ่งทำแต่ Product เพียงอย่างเดียว ซึ่ง E ตัวแรกในแนวคิด 4Es นี้ จะเน้นที่การมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า เพื่อให้เกิดเป็นความประทับใจในสินค้าและบริการ
(2) สถานที่เปลี่ยนไปเป็นทำได้ในทุกที่ (Place to Everyplace) ในอดีตช่องทางที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการได้จะมีเพียงหน้าร้าน (Offine) เท่านั้น แต่ในปัจจุบันที่อินเทอร์เน็ตเข้ามีบทบาทมากขึ้นรวมถึงจากสถาณการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้เกิดเป็น New-Next Normal ในชีวิตประจำวันของทุกคน ธุรกิจต่างๆ จึงจำเป็นต้องเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายทั้งช่องทาง Online และ Offine ไม่ว่าจะเป็นการสร้างหน้าเว็บไซต์ จัดจำหน่ายผ่าน Platform Online Marketplace เช่น Lazada , Shopee ฯลฯ รวมถึงช่องทาง Social Media ต่างๆ เช่น Facebook , I , Line , Tiktok ฯลฯ นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ ทางเลือกในการชำระเงินที่จะต้องสร้างความสะดวกและหลากหลายให้กับลูกค้า เช่น ชำระเงินด้วยเงินสด ชำระผ่านบัตรเครดิต ระบบพร้อมเพย์หรือเก็บเงินปลายทาง เป็นต้น
(3) ราคาที่ถูกไปสู่ความคุ้มค่าในการจ่าย (Price to Exchange) พฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การแข่งขันในเรื่องราคาของสินค้าและบริการอย่างในอดีต ไม่ได้มาเป็นตัวกำหนดว่าผู้ประกอบการจะสามารถขายสินค้าและบริการได้ดีเหมือนเดิม แต่การทำให้ผู้บริโภครู้สึกถึงความ "คุ้มค่า" ที่จะซื้อสินค้าและบริการ รู้สึกว่าสินค้ามีคุณภาพเหมาะสมกับราคาที่จ่ายไปเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำธุรกิจในยุคนี้
(4) โปรโมชั่นไปสู่การประชาสัมพันธ์ให้รับรู้ (Promotion to Evangelism) การสื่อสารการตลาดที่เน้นตัวสินค้ามากเกินไปอาจไม่เหมาะกับบริบทปัจจุบัน แต่การสื่อสารที่เน้นให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมีประสบการณ์ร่วม รู้สึกชื่นชอบและอยากเข้ามาทดลองหรือใช้บริการ และกลายเป็นการบอกปากต่อปากหรือชักชวนเพื่อนมาใช้ด้วยกัน รวมถึงการที่มี Influencer หรือผู้ที่มีอิทฐิพลต่อความคิดและการตัดสินใจ เพื่อช่วยเรื่องสื่อสารการตลาดของสินค้าและบริการไปยังกลุ่มเป้าหมายผ่านพลังเสียงของบุคคลที่สามที่เป็น In fluencer เหล่านี้ ทำให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเกิดการรับรู้ สนใจ ติดตาม และสร้างความเชื่อมั่นได้มากกว่าการที่แบรนด์สื่อสารเพียงทางเดียว ซึ่งนับว่ามีประสิทธิภาพมากปัจจุบัน เช่น ธุรกิจท่องเที่ยวและที่พัก สามารถสร้างความรู้สึกร่วมจากการตกแต่งห้องพักในสไตล์เฉพาะตัว, มีการแนะนำเส้นทางท่องเที่ยว-ร้านอาหารใกล้เคียงที่ไม่ควรพลาด เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้อยากไปพัก โดยการตั้งราคาห้องพักที่จูงใจจะเป็นเพียงปัจจัยร่วมเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น
.
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------
Marketing กลุ่มอาลีบาบา (Alibaba Group)
กลุ่มอาลีบาบา (Alibaba Group) เป็นกลุ่มบริษัทที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของประเทศจีน ก่อตั้งโดย แจ็คหม่าเมื่อปี พ.ศ. 2542 เป็นเว็บอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ที่ได้ก้าวเข้าสู่ตลาดหุ้นสหรัฐแจ็คหม่า เชื่อว่าการช่วยให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กสามารถใช้อินเทอร์เน็ตร่วมกัน จะยกระดับนวัตกรรมโดยใช้เทคโนโลยีมาช่วยให้เกิดการเติบโต และสามารถแข่งขันในตลาดการค้าโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในระบบเศรษฐกิจในประเทศและทั่วโลก นับตั้งแต่เปิดตัวเว็บไซต์ครั้งแรกก็ช่วยให้ผู้ส่งออกจีนขนาดเล็กผู้ผลิต และผู้ประกอบการที่จะขายในต่างประเทศได้เติบโตขึ้น ทำให้อาลีบาบากลายเป็นผู้นำระดับโลกในการค้าออนไลน์และโทรศัพท์มือถือ
กลุ่มอาลีบาบา (Alibaba Group) ก่อตั้งในเมืองหังโจว เมื่อปี 2542 โดยแจ็คหม่า และเพื่อนๆ รวม 18 คน หุ้นของบริษัทในหมู่เกาะเคย์แมนที่ถือหุ้นอาลีบาบาในจีน (หรือที่เรียกกันว่า เชลล์คอมพานี) เข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นนิวยอร์ก ในวันที่ 19 กันยายน 2557 ใช้ชื่อย่อว่า BABA ซึ่งทำสถิติการขายหุ้นให้กับนักลงทุนเป็นครั้งแรก ด้วยมูลค่าสูงสุดในตลาดหุ้นนิวยอร์กซึ่งมากกว่า 25,000 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 800,000 ล้านบาท บริษัทในกลุ่มอาลีบาบา (Alibaba Group) มีมากมายเช่น
- อาลีบาบา (Alibaba.com) เป็น เว็บไซต์ที่มีการขายสินค้าออนไลน โดยเน้นการขายสินค้าในราคาถูกเทียบกับการค้าส่งหรือราคาจากโรงงาน ในเว็ปจะมีผู้ประกอบการโรงงานและผู้ค้าส่งมาลงข้อมูลในเว็บนี้มาก โดยเฉพาะสินค้าจากประเทศจีน
- ทีมอลล์ (Tmall.com) แหล่งรวมสินค้ากลุ่มแบรนด์ดังในจีนเปิดตัวเดือนเมษายน พ.ศ. 2551 มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงถึง 50 % นโยบายหลักของ tmall.com มุ่งเน้นไปที่การกระจายสินค้าแบรนด์เนมให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค ซึ่งสินค้าจะไม่มีสินค้าเลียบแบบลิขสิทธิ์หรือสินค้าย้อมแมวปะปนอยู่ ซึ่งปัจจุบันได้แยกตัวออกมาเป็นหนึ่งในหน่วยธุรกิจหลักของอาลีบาบาอย่างเป็นทางการ มีร้านค้าชื่อดังเข้าร่วมมากกว่า 70,000 ร้านค้าซึ่งประกอบไปด้วยบริษัทต่างชาติและในประเทศจีน สินค้ามีความหลากหลายสูง มีทั้งสินค้าประเภทงานบริการ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ของจุกจิก ของขวัญ ของชำร่วย เสื้อผ้าแฟชั่น สินค้าแบรนด์เนมต่างๆ ซึ่งถูกคัดเลือกมาจากบริษัทกว่า 50,000 แห่งทั่วประเทศจีน การซื้อขายสินค้าใน tmall.com เป็นไปอย่างง่ายดายและรวดเร็ว รวมถึงมีระบบการซื้อขายที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและผู้ขาย ทำให้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว แล้วยังมีคุณภาพสูง มาตราฐานดี บริการดี และน่าเชื่อถือมาก โดยแบรนด์ดังอย่าง UNIQLO, L’Oréal, adidas, P&G, Benefit, Unilever, Gap, Ray-Ban and Levi's.
- อาลีเปย์ (Alipay.com) เป็นช่องทางการชำระเงินทางอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมสูงสุดในจีน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2547 ด้วยความง่ายในการใช้งานโดยสามารถชำระเงินผ่านธนาคารได้เกือบทุกธนาคารในประเทศจีน ทำให้ผู้บริโภคชาวจีนให้การยอมรับและเลือกใช้บริการ Alipay.com เป็นหลัก มีการซื้อขายผ่านระบบ Alipay.com สูงสุดเป็นประวัติศาตร์ด้วยจำนวนกว่า 170 ล้านบาทในระยะเวลาเพียง 24 ชม ปัจจุบัน Alipay.com มีพาร์ตเนอร์เป็นสถาบันการเงินมากถึง 100 แห่ง โดยให้บริการผู้ขายมากถึง 460,000 ราย ครอบคลุมการซื้อขายสินค้าบนโลกออนไลน์ การพนันออนไลน์ทุกชนิด เกมออนไลน์ ตั๋วเครื่องบิน ค่าน้ำค่าไฟ เป็นต้น รับชำระเงินผ่านสกุลเงินทั้งสิ้น 12 สกุลเงิน
- อีเตา (Etao.com) เป็น Search Engine สำหรับการค้นหาสินค้าในประเทศจีน เปิดให้บริการเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 โดยมีเป้าหมายหลักในการให้บริการค้นหาสินค้าและช่วยเหลือให้ผู้ซื้อในการตัดสินใจซื้อสินค้า หาสินค้าราคาต่ำแต่ให้ได้คุณภาพสูงสุดอย่างรวดเร็วในอินเทอร์เน็ต โดยลูกเล่นและฟังค์ชั่นหลักของ etao.com เช่น บริการค้นหาสินค้า บริการค้นหาการซื้อสินค้าแบบรวมกลุ่มซื้อเพื่อให้ได้โปรโมชั่นพิเศษ(Group Buy) บริการค้นหาตั๋วหนังจากโรงภาพยนตร์ บริการค้นหาส่วนลด โปรโมชั่นต่างๆ บริการค้นหาข้อมูลจาก Taobao Community ในปัจจุบันสินค้าทั้งหมดมีมากกว่า 1,000 ล้านชิ้น และสามารถค้นหาสินค้าที่มีอยู่ใน Taobao Marketplace, Taobao Mall, Amazon China, Gome, Yihaodian, Nike China and Vancl.
- เถาเป่า (Taobao.com) เป็น เว็บไซต์ขายปลีกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน เปิดตัวในปี พ.ศ. 2546 และสามารถแย่งตลาดจากเว็บไซต์ประมูลอันดับ 1 ของโลกอย่าง ebay.com ได้ภายใน 3 ปี โดยมีเป้าหมายต้องการให้เถาเป่าเป็นเว็บไซต์ซื้อขายสินค้าที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคในประเทศจีนได้อย่างเต็มรูปแบบ โดยใช้การตลาดแบบเข้าถึงและเข้าใจผู้บริโภคชาวจีนได้มากกว่าเว็บไซต์ระดับโลกอย่าง ebay.com โดยเถาเป่าเน้นให้บริการฟรีในทุกฟังค์ชั่นเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน โดยเน้นการสร้างกำไรด้วยการเก็บค่าโฆษณาจากบรรดาบริษัทใหญ่โตทั้งหลายที่ต้องการประชาสัมพันธ์สินค้าของตน แนวทางดังกล่าวได้ใจชาวจีนซึ่งชื่นชอบของฟรีไปเต็ม ๆ เนื่องจากไม่เก็บค่าบริการใด ๆ จากสมาชิก ทำให้สมาชิกสามารถขายสินค้าได้ในราคาถูก ซึ่งผู้บริโภคก็จะรู้สึกพึงพอใจและอยากกลับมาอุดหนุนอีกครั้ง โดยปัจจุบันเป็นเจ้าตลาดในประเทศจีน ที่มีมาร์เก็ตแชร์มากกว่า 70% ในตลาด และมีสินค้าในเว็บไซต์มากถึง 800 ล้านชิ้น รวมถึงมีผู้สมัครสมาชิกถึง 370 ล้านคน และคือหนึ่งใน 20 เว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมสูงที่สุดในโลก
- อาลีเอ็กซเพรส (Aliexpress) เป็นเว็บขายสินค้าราคาถูกของฮ่องกง เปิดโอกาสให้ผู้ผลิตรายย่อยสามารถนำสินค้าไปขายของออนไลน์ เปรียบเสมือนกับ Aliexpress เป็นห้างออนไลน์ที่เปิดให้คนนำสินค้าไปขาย
- จูฮัวซัว (Juhuasuan.com) เป็น
- อาลียัน (Aliyun.com) เป็น Alibaba Cloud Computing ที่เปิดให้บริการเมื่อปีพ.ศ. 2552 โดยมีจุดประสงค์หลักในการให้บริการคราวด์คอมพิวติ้งสำหรับเป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสาร แชร์ข้อมูล จัดระเบียบข้อมูลให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงช่วยในการประหยัดการลงทุนในด้านทรัพยากรคอมพิวเตอร์ โดยกำลังอยู่ในช่วงพัฒนาระบบก้อนเมฆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กรอย่างยั่งยืน
และยังมีอีกมาก โดยจะพบว่าแหล่งที่มาของรายได้ อาลีบาบา ส่วนใหญ่จะอยู่ในจีนโดยรายได้จะมาจากการค้าปลีกในจีน 70% (ภายใต้ชื่อ tmall.com, juhuasuan.com, cun.tao.com, taobao.com) จากการค้าส่งในจีน 4% (1688.com) ค้าปลีกในต่างประเทศ 4% (AliExpress, Lazada) ค้าส่งในต่างประเทศ 5% (alibaba.com) รายได้จากธุรกิจคลาวด์คอมพิวติ้งภายใต้ชื่อ Aliyun 4% จากสื่อดิจิทัลและบันเทิง 11% (UC Web, YOUKU, Alisports, Alibaba Music, Tmall TV) และจากนวัตกรรมและการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ 2% เช่น AutoNavi, YUNOS เป็นต้นและอื่นๆ อีกมาก
.
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------
Marketing การทำโปรโมชั่น (Promotion)
การทำโปรโมชั่น (Promotion) เป็นอีกวิธีที่จะทำเพื่อช่วยกระตุ้นยอดขายให้มีสูงขึ้น แต่ต้องมีการออกแบบโปรโมชั่นให้มีความเหมาะสมกับสินค้าและบริการด้วย รวมถึงโปรโมชั่นจะต้องโดนใจลูกค้าเช่นกัน สามารถทำได้หลานวิธี เช่น
- การแจกสินค้า เป็นการแจกสินค้าขนาดทดลองเพื่อให้ลูกค้าได้ลองใช้ ซึ่งหากสินค้าใช้ดี โดนใจ ก็จะทำให้ลูกค้าอยากกลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการอีก เป็นการลงทุนเล็กๆ ที่ได้ผลตอบรับคุ้มค่ามาก
- การให้ส่วนลดกระตุ้นให้ซื้อซ้ำ เป็นการจัดโปรโมชั่นในช่วงเวลาจำกัด ด้วยการให้ส่วนลดเพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเกิดความสนใจและตัดสินใจซื้อสินค้ามากขึ้นหรือกลับมาซื้อซ้ำอีก ซึ่งจะเหมาะกับกลุ่มลูกค้าที่มีรสนิยมหรูหราและลูกค้าผู้หญิงที่สุด
- การให้ส่วนลดลูกค้า เป็นโปรโมชั่นในรูปแบบของการตอบแทนลูกค้าเก่า และพยายามเอาชนะคู่แข่ง ด้วยการคืนเงินกลับไปให้กับลูกค้าในรูปแบบของส่วนลดเมื่อซื้อสินค้าในครั้งถัดไป
- การแข่งขันชิงโชค เป็นการจับฉลากเพื่อมอบรางวัลให้กับผู้โชคดี และทำการถ่ายภาพลูกค้าคู่กับสินค้า ทำป้ายประชาสัมพันธ์ขนาดใหญ่ ก็จะช่วยกระตุ้นให้กลุ่มลูกค้าเกิดความสนใจและอยากมาซื้อสินค้ามากขึ้น
- การทำโปรโมชั่นโดยใช้โซเชียลมีเดียเพื่อสร้างกระแส เป็นรูปแบบการจัดโปรโมชั่นที่กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เพราะสามารถประหยัดงบประมาณ ค่าใช้จ่ายได้ดี และยังเข้ากลุ่มลูกค้าได้อย่างแพร่หลายมากขึ้น เหมาะกับการสร้างกระแสให้กับสินค้าใหม่ๆ ที่สุด
.
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------
Marketing การแบ่งกลุ่มและกำหนดเป้าหมาย (Segmentation Targeting Positioning)
การแบ่งกลุ่มและกำหนดเป้าหมาย (Segmentation Targeting Positioning, STP) คือ การกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางตลาดที่มี ก่อนที่จะเลือกกลุ่มแล้วกำหนดให้มีเป้าหมายที่มีความชัดเจน
- Segment คือ การจัดแบ่งส่วนตลาดที่ใหญ่ให้มีขนาดย่อยเล็กลง แบ่งเป็นกลุ่มโดยใช้ความสัมพันธ์ หรือตามลักษณะเฉพาะที่คล้ายคลึงกัน
- Target คือ การเลือกกำหนดเป้าหมาย เพื่อจะใช้ในการวางแผนจัดทำหรือนำเสนอผลิตภัณฑ์ และแผนการตลาดให้เหมาะสม
- Positioning คือ การวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ของตนว่าอยู่ตรงจุดไหนของตลาด
การเลือกส่วนตลาด (Selecting)
- มุ่งส่วนในตลาดเดียว (Single Segment Concentration) คือ การมุ่งมั่นในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าในส่วนการตลาดส่วนใดส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ ด้วยผลิตภัณฑ์หรือบริการเฉพาะส่วนนั้น ผลดีของการมุ่งเน้นทำตลาดส่วนเดียว ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญและเกิดความได้เปรียบ สามารถประหยัดจากการผลิตที่มีปริมาณมาก (Economy of Scale)
- มุ่งความเชี่ยวชาญเฉพาะผลิตภัณฑ์ (Product Specialization) คือ การมุ่งไปในส่วนตลาดที่การผลิตสินค้า/บริการเฉพาะที่ชำนาญออกมาตอบสนอง ความต้องการในหลายส่วนตลาด
- มุ่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตลาด (Market Specialization) คือ การมุ่งส่วนตลาดที่มงเน้นไปที่กลุ่มตลาดเดียว โดยการตอบสนองด้วยหลายผลิตภัณฑ์
- มุ่งความเชี่ยวชาญหลายส่วนตลาด (Selective Specialization) คือ การเลือกส่วนตลาดที่บริษัทมีความเชี่ยวชาญ มีความสามารถสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และทรัพยากรของบริษัท ในการตอบสนองต่อตลาด
- มุ่งครอบคลุมทุกส่วนตลาด (Full Market Coverage) คือ การเสนอผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบเข้าสู่หลายส่วนตลาดหรือทุกส่วนตลาด ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้ามวลชน (Mass Market)
การเลือกตลาดเป้าหมาย (Targeting) คือ การประเมินและเลือกส่วนตลาดส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือมากกว่า จากการแบ่งส่วนตลาดมาเป็นเป้าหมาย
ตลาดเป้าหมาย (Target market หรือ Target group) คือ กลุ่มผู้บริโภคหรือส่วนตลาดที่นักการตลาดสนใจและเลือกที่จะเข้าไปดำเนินกิจกรรมทางการตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มนัั้น
- การตลาดแบบไม่แตกต่าง (Undifferentiated Marketing) เป็นการเสนอผลิตภัณฑ์หนึ่งรูปแบบ โดยมองว่าตลาดมีความต้องการเหมือนกัน การตลาดลักษณะนี้มีข้อดีคือ ในด้านการประหยัดต้นทุน เนื่องจากการผลิตในรูปแบบมาตรฐาน (Standardization) และผลิตในจำนวนมาก (Mass Production) จึงทำให้ ลดต้นทุนการผลิต ลดสินค้าคงเหลือ ลดค่าขนส่ง ลดค่าโฆษณา ลดค่าใช้จ่ายในการวิจัย หรือลดค่าใช้จ่ายในการวางแผนการตลาด แต่ก็มีข้อเสียคือ สินค้าชนิดเดียวจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ทุกกลุ่ม เนื่องจากแต่ละกลุมจะมีความต้องการที่แตกต่างกัน และไม่เหมาะสมกับตลาดเล็ก
- การตลาดแบบแตกต่าง (Differentiated Marketing) คือ การเลือกส่วนตลาดแบบมุ่งส่วนที่มีความแตกต่างกันมากกว่าหนึ่งส่วนตลาด โดยจะทำการออกแบบผลิตภัณฑ์ และส่วนประสมทางการตลาดที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละส่วนตลาดเช่น รถยนต์ Toyota, Honda เป็นต้น ข้อดีคือ สามารถสร้างยอดขายได้มากเนื่องจากสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากที่สุด แต่ก็มีข้อเสีย คือ ใช้ต้นทุนในการดำเนินงานสูง ทั้งด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีต้นทุนการผลิต ต้นทุนในการบริหารส่วนตลาดที่แตกต่างกัน และต้นทุนในการส่งเสริมการตลาด
- การตลาดแบบมุ่งเฉพาะส่วน (Concentrated Marketing) คือ การเลือกส่วนตลาดที่เฉพาะ (Niche Market) เป็นการเลือกส่วนตลาดเพียงส่วนเดียว (Single Segment) เพื่อการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดในการสร้างความพึงพอใจให้แก่ตลาดได้ตรงกับความต้องการของตลาด มีข้อดีคือ สามารถสร้างความเข้มแข็งในส่วนตลาดนั้นได้เพราะรู้จักตลาดนั้นดี และสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการบริหารได้ และได้ผลตอบแทนสูง แต่ก็มีข้อเสียคือ มีความเสี่ยงสูง มีโอกาสที่คู่แข่งจะเข้ามาแบ่งส่วนในการตลาดมาก เพราะตลาดมีขนาดเล็กแต่มีมูลค่าตอบแทนที่สูง
.
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจ (Platform Revolution) ธุรกิจในปัจจุบันมักพบว่ามีการทำในรูปแบบที่นิยมเรียกกันว่า Platform หากพิจารณาในการทำธุรกิจรูปแบบ Platform ก็จะพบว่ามีขั้นตอนวิธีการดำเนินงานที่มีความแตกต่างไปจากแนวการทำธุรกิจในแบบเดิม สามารถเทียบธุรกิจรูปแบบเดิมและแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้
1. ธุรกิจแบบท่อ (Pipe) เป็นรูปแบบการทำอุตสาหกรรมแบบเดิม ที่ดำเนินการไปเชื่อมต่อกันตลอดห่วงโซ่คุณค่า (value chain) มีรูปแบบขั้นตอนการทำงานเรียงไปตามลำดับเป็นแนวแบบเส้นตรง การทำธุรกิจแบบนี้มีลำดับการทำงานเหมือนกับน้ำไหลตามท่อ ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจซื้อวัตถุดิบมาผลิตเป็นสินค้า แล้วก็จะนำมาจัดเก็บก่อนจะส่งไปขายให้กับลูกค้าที่ซื้อหรือผู้บริโภค ธุรกิจรูปแบบท่อนี้ได้มีการใช้ในการทำธุรกิจมายาวนาน มูลค่าเศรษฐกิจจะมีเกิดขึ้นตลอดโซ่อุปทาน หรือมีในทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
2. ธุรกิจรูปแบบใหม่ Platform เป็นรูปแบบการทำอุตสาหกรรมแบบใหม่ ไม่มีการทำงานตามลำดับเมือนเดิม จะเน้นไปที่การนำลูกค้าที่เป็นคนต่างกลุ่มกันมาพบปะกัน บางครั้งเรียกว่า ธุรกิจแบบการจับคู่ (Matchmakers) ธุรกิจเหล่านี้จะเน้นการเป็นตัวเชื่อมระหว่างคนในกลุ่มเพื่อหาสิ่งที่ต้องการร่วมกัน ธุรกิจรูปแบบ Platform จะไม่เน้นในการไปผลิตสินค้าอะไรเลย จะพยายามให้ผู้ผลิตสินค่าสร้างมูลค่าเศรษฐกิจบน Platform เพื่อให้ผู้บริโภคได้ใช้สอย
ความได้เปรียบของธุรกิจ Platform มาจากปัจจัยหลายด้าน เช่น
- ธุรกิจแบบ Platform สามารถขจัดขั้นตอนของงานที่เรียกว่า “ยามเฝ้าประตู” (Gatekeeper) หรือผู้ควบคุมในแต่ละขั้นตอน ทำให้ลดขั้นตอนการทำงานที่สร้างรายจ่าย เกิดผลดีในราคาที่ลดลงและเวลาที่เร็วมากขึ้น
- ธุรกิจแบบ Platform สามารถเพิ่มความสามารถในการตอบสนองแก่ลูกค้า หรือที่เรียกว่าอุปทาน (supply) ให้เพิ่มากขึ้นใหม่ได้อย่างไม่จำกัด เช่น บริการรถเช่าที่สามารถหาเพิ่มสมาชิกมาใ้บริการโดยที่ตัวเองไม่ต้องไปซื้อรถเลยสักคัน หรือบริการที่พักที่สามารถมีห้องให้เช่าเพิ่มมากมายต่เนื่อง โดยไม่ได้ก่อสร้างเลยแม้แต่ห้องเดียว
- ธุรกิจแบบ Platform อาศัยการตอบสนองที่รวดเร็ว โดยจะใช้การรับรู้ที่ได้จากข้อมูลที่ตอบกลับมา (feedback) ของลูกค้า นำเอาข้อมูลที่ได้มาสร้างและกำหนดคุณค่าผลิตภัณฑ์ เกิดเป็นความสามารถในการปรับตัวความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ง่ายเพราะไม่ต้องเสียเวลาในการลงทุน จัดหาอุปทาน
- ธุรกิจแบบ Platform สามารถหันเหความสนใจจากภายในองค์กรสู่ภายนอก ทำให้สามารถแสวงหาลู่ทางธุรกิจได้มากขึ้น ธุรกิจ Platform เปลี่ยนรูปแบบจากองค์กรที่หมกมุ่นกับเรื่องการวางแผนทรัพยากรต่างๆ จากภายในองค์กรมาเป็น องค์กรที่เน้นลูกค้าภายนอก บริษัท Platform ที่มีชื่อเสียงจึงมีจำนวนพนักงานไม่มากนัก เช่น Uber มีพนักงานราว 2 พันคน Air bnb มีอยู่ 600 คน ส่วน Wikipedia มีคนทำงาน 35 คน ทำให้ไม่ต้องมีภาระในเรื่องการบริหารห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) แต่อาศัยทรัพยากรเศรษฐกิจหรือสินทรัพย์ของคนในชุมชน
ได้มีการศึกษาภายใต้ชื่อ The Rise of the Platform Enterprise: A Global Survey ซึ่งได้ศึกษา Platform จำนวน 176 บริษัททั่วโลก โดยแต่ละบริษัทที่ศึกษานั้นจะต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยจากการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้แบ่งประเภทของ Platform ที่มีอยู่ในโลกนี้ออกเป็นสี่ประเภท
- Innovation platform เป็น Platform ที่เปิดโอกาสให้บริษัทหรือบุคคลอื่นได้พัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่แล้วนำมาวางไว้ใน Platform ของตนเอง เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ต่อยอดกันไปเรื่อยเช่น Apple iOS หรือ Google Android ที่เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้พัฒนาแอพแล้วนำมาวางไว้หรือให้ลูกค้าได้ใช้ผ่าน Platform ตนเอง
- Transaction platform เป็น Platform ที่เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาเจอกันและเกิดการซื้อขายสินค้าหรือบริการขึ้น Platform ในลักษณะนี้เป็นตัวกระตุ้นที่นำไปสู่ Sharing Economy ในหลายอุตสาหกรรมเช่น กรณีของ Uber หรือ Airbnb เป็นตลาดกลางที่ช่วยให้ผู้ซื้อหรือผู้ขายได้มีโอกาสเจอและจับคู่กันมากขึ้น
- Integration platform เป็น Platform ที่เป็นพวกบริษัทใหญ่ที่มีทั้งแบบ innovation และ transaction platform รวมกัน เช่น Apple กับ Google เน้นนวัตกรรม แต่ขณะเดียวกันก็เป็นตลาดกลางให้ผู้ซื้อผู้ขายมาเจอกัน
- Investment platform เป็น Platform ที่เน้นการเข้าไปลงทุนในบริษัทที่ใช้ platform หลายๆ บริษัท เช่น Priceline Group ที่เน้นเรื่องการท่องเที่ยวและเดินทางก็เข้าไปลงทุนทั้งใน Priceline, Kayak, Open Table เป็นต้น
.
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward