iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
แผนแบบไหนที่ธนาคารอยากเห็นในการทำเอกสารยื่นขอกู้
1. เป้าหมายขององค์กร นอกจากธนาคารจะมองย้อนอดีตธุรกิจเพื่อดูประวัติการทำธุรกิจที่ดูได้จากเอกสารทางการเงินต่าง ๆ แล้ว อีกส่วนที่สำคัญคือ ธน้าคารมองไปข้างหน้า แผนธุรกิจจึงต้องมีการวางเป้าหมายที่ซัดเจน เช่น การเติบโตของธุรกิจในแต่ละปี พร้อมรายละเอียดว่าจะทำให้เป็นไปได้อย่างไร
2. สินค้าผลิตภัณฑ์หรือบริการ ควรนำเสนอรายละเอียดสินค้าที่ชัดเจน บอกให้ชัดว่าจะ ผลิต ขาย หรือบริการอะไร ซึ่งสินค้าที่มีจะต้องมีความเป็นไปได้ในการสร้างยอดขาย ต้องเป็นสินค้าที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ อาจเป็นสินค้าใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือสินค้าเดิมที่มีอยู่แต่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีมากยิ่งขึ้น ที่สำคัญต้องมีความโดดเด่นแต่กต่างจากผลิตภัณฑ์ที่มีในตลาด เป็นต้น
3. วิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนของธุรกิจ (SWOT Analysis) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลของธุรกิจด้วยหลักการ SWOT ซึ่งประกอบด้วย จุดแข็ง (Strengths) เพื่อดูว่าธุรกิจจุดแข็งะไรมีอะไรที่คู่แข่งไม่มี จุดอ่อน (Weaknesses) หาสิ่งที่เป็นจุดอ่อนของธุรกิจเพื่อปิดและหลีกเลี่ยง โอกาสของธุรกิจ (Opportunities) มองหาโอกาสจากปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลทางบวกกับธุรกิจ และความเสี่ยงและอุปสรรค (Threats) วิเคราะห์ปัจจัยที่จะส่งผลทางลบต่อธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
4. กระบวนการ (Manage) อย่างไรบ้าง รวมถึงแผนการผลิตหรือการบริการตั้งแต่กระบวนการผลิต แหล่งวัตถุดิบ เป้าหมายการผลิต กระบวนการทำธุรกิจ โตยอธิบายถึงขั้นตอนของธุรกิจว่ามีเป็นต้น
5. แผนการเงิน (Money) แผนการเงินมีความสำคัญมากเพราะหากบริหารไม่ดีธุรกิจอาจขาดสภาพคล่องจนทำให้สะดุดได้นอกจากจะแสดงถึงประวัติทางการเงินที่ผ่านมาของธุรกิจ จึงยังต้องแสดง แผนบริหารจัดการทางการเงิน เงินทุน รายรับ รายจ่าย เงินสด หมุนเวียน ฯลฯ ด้วย โดยอาจรวมถึงเงินทุนหรือทุน ที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจทั้งจากเงินทุนภายในและภายนอก ในทางธุรกิจเงินทุนถือว่าเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุด เพราะการทำธุรกิจทุกอย่างไม่สามารถดำเนินได้ดีหากขาดทุนในการดำเนินงาน กล่าวได้ว่าการทำธุรกิจทุกอย่างจะต้องเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยเงินทุน เพราะจะเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจและปัจจัยต่างๆ ให้ดำเนินการไปได้ทั้งในด้านค่าแรงคน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายในการซื้อวัสดุมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ การมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพื่อให้ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ
6. แผนการตลาด (Market) บอกเล่ารายละเอียดทิศทางการทำ การตลาด ตั้งแต่เรื่องแบรนด์ เป้าหมายการขาย คู่แข่งทาง การตลาด ส่งเสริมการขาย ช่องทางการตลาด งบประมาณ กลยุทธ์ที่จะช่วยให้ไปถึงเป้า ซึ่งจะทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตสร้างผลกำไรและสามารถชดใช้เงินที่จะยืมจากธนาคารได้จริง
7. ทรัพยากร (Resource) คือ วัสดุสิ่งของ วัตถุดิบ ชิ้นส่วนอะไหล่ ผลิตภัณฑ์ บริการหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งมีส่วนนำมาใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการ เป็นสิ่งที่สำคัญอันดับต่อมา เพราะทุกธุรกิจต้องอาศัยสิ่งที่ได้ในกลุ่มนี้มาใช้เป็นทรัพยากรในการผลิต ดังนั้นหากมีแผนบริหารจัดการวัตถุดิบที่มีประสิทธิภาพมีเพียงพอในการผลิต บริหารจัดการให้ได้ต้นทุนที่ต่ำในการผลิต และทำให้ธุรกิจได้ผลกำไรสูงสุด
8. เครื่องจักร (Machine) คือ เครื่องจักร เครื่องมือ เครื่องใช้หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการผลิต ปัจจัยในกลุ่มนี้จะเป็นส่วนที่มาช่วยเติมเต็มในส่วนที่ความสามารถที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ เช่น ระยะเวลาทำงานที่ต่อเนื่อง ความถูกต้องแม่นยำ ความเร็วในการผลิต ความสม่ำเสมอที่เป็นมาตรฐาน หรือความทนทานในบางสถาณการณ์ที่มนุษย์ทำไม่ได้เช่น สภาพอากาศในที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำ สภาพแวดล้อมอากาศที่มีก๊าซพิษ เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นว่าหลายครั้งที่ความสำเร็จในการผลิตจะตัดสินได้จากปัจจัยในกลุ่มนี้ หรือกล่าวได้ว่าใช้ปัจจัยในกลุ่มนี้เป็นตัวที่ใช้ชี้ขาดความสำเร็จของงานได้เลย
9. ทรัพยากรมนุษย์ (Man) คือ คนงาน พนักงาน หรือบุคลากรทั้งจากภายในและภายนอก ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุด เพราะการผลิตหรือดำเนินการใด ๆ จะต้องเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยคน ทั้งในด้านความคิด การวางแผน การดำเนินการ หรือจัดการทำให้เกิดการผลิตหรือกิจกรรมทางธุรกิจทุกรูปแบบ การนำเสนอความพร้อมในเรื่องของคนหรือบุคคลากรจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อให้ธนาคารได้เห็นว่าเรามีทีมงานบุคลากรที่จะสามารถนำเงินที่กู้ไปต่อยอดให้เป็นความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจได้จริง
-------------------------------------------------
ที่มาข้อมูล
-
ภาพและรวบรวมข้อมูล
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องการตลาดเพิ่มเติมคลิกที่นี่
-------------------------------------------------
money พฤติกรรมด้านการเงินที่มักจะพบใน SMEs ที่ล้มเหลว
พฤติกรรมด้านการเงินที่ไม่ดีที่เรามักจะพบในการบริหารจัดการที่ล้มเหลวทั้งในส่วนบุคคลและในส่วนองค์กร จากการศึกษาและรวบรวมความรู้ในงานการบริหารจัดการด้านการเงิน ของผู้ประกอบการในงานอุตสาหกรรมการผลิตและการค้าโดยเฉพาะในกลุ่มของ SMEs จะพบว่ามีการดำเนินงานที่ล้มเหลวส่วนใหญ่จะเกิดจากการบริหารจัดการด้านการเงินที่ผิดพลาด เนื่องจากการทำธุรกิจทุกชนิด เรื่องของเงิน คือ ส่วนสำคัญสุดในการดำเนินธุรกิจ และยังเป็น 1 ใน 4 ของ ปัจจัยในการดำเนินธุรกิจ 4 ด้าน (4M in Business) ที่ทุกองค์กรควรที่จะให้ความสำตัญและมีการจัดการให้ดีในงานการบริหารจัดการธุรกิจ สรุปการจัดการที่ไม่ดีในด้านการเงินขององค์กรที่ล้มเหลวมักมีการจัดการการเงินในด้านเหล่านี้
1. องค์กรที่ขาดวิสัยทัศน์ในการดำเนินงาน ซึ่งมีผลกระทบในทุกด้านรวมถึงการเงิน เพราะการขาดเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้แม้จะมีผลกำไรก็อาจใช้เงินที่ได้ไปไม่ถูกทาง เพราะไม่มีข้อกำหนดที่ดีว่าเงินที่มีกำไรควรนำไปใช้อย่างไร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด ควรมีเป้าหมายให้ชัดเจนเช่น มีเงินทุนสำรองเท่าไร ผลกำไรเท่าไร ควรใช้ในการลงทุนเท่าไรที่เหมาะสม การนำมาใช้พัฒนาองค์กรหรือทำเพื่อสังคม ควรจัดการอย่างไรเป็นต้น
2. องค์กรที่ไม่ให้ความสำคัญในเรื่องการเงิน โดยบุคคลากรที่มีไม่มีความรู้ในการจัดการการเงิน หรือไม่ใส่ใจในความรู้เรื่องเงิน เกิดปัญหาการจัดการการเงิน ในบริษัทขนาดใหญ่หรือมีการดำเนินการที่ดีมักจะมีการจ้างบุคคลากรด้านการเงินเช่นนักบัญชีมาช่วยดูแล แต่องค์กรขนาดเล็กจะไม่มีความสามารถจ้างได้อาจใช้จ้างเป็นครั้งคราวเพียงเพื่อใช้แก้ปัญหาเป็นครั้ง ๆ เช่น ทำงบดุลเพื่อส่งสรรพากร เป็นต้น ทำให้องค์กรที่ไม่มีควรู้การเงินมาช่วยดูแลบัญชีมีหลายครั้งที่มีปัญหาแต่ไม่ทราบไม่สามารถแก้ไขได้ทันการณ์ ควรที่ผู้จะทำธุรกิจต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ในเรื่องการเงินการบัญชี โดยอาจแบ่งความรู้ที่สำคัญในด้านการเงินออกได้เป็น 4 ด้าน คือ ด้านการหาเงิน ด้านการใช้เงิน ด้านการจัดการเก็บสะสม และด้านการใช้ลงทุน ซึ่งควรต้องมีครบทุกด้านเพื่อให้สามารถทำการบริหารจัดการเงินได้ดี
3. องค์กรที่ไม่ทำงบดุลที่ดี มีการขาดเกินเงินตลอดไม่เคยมีการวางแผนที่ดี ทกให้หลายครั้งไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรในการจัดการการเงิน จึงจะพบมีปัญหาในการเงินตลอด หลายครั้งที่เงินขาดเกิดขึ้นก็ไม่สามารถแก้ไขได้ หรือพอมีเงินมามากเกินก็อาจไม่รู้ว่าควรบริหารจัดการอย่างไรให้เหมาะสม ควรต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายดูให้ละเอียดชัดเจนไปเลยจะดีที่สุด ให้ดีควรมีเป้าหมายงบรายปี รายเดือน หรือดูบัญชีให้ทันสมัยเลยจะได้บริหารจัดการที่ดีและเหมาะสมใได้ทันการณ์
4. องค์กรที่ไม่มีระเบียบในทางการเงิน องค์กรขนาดเล็กโดยเฉพาะ SMEs ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยนิยมทำบัญชีรายรับรายจ่ายที่ดีพอ การที่องค์กรไม่มีการจดบัญชีค่าใช้จ่ายทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย เช่น ไม่ทราบรายรับรายจ่ายที่แท้จริง ประเมินผลกำไรขาดทุนไม่ได้ มีปัญหาบริหารหนี้ที่มีอาจใช้หนี้ไม่ตรงเวลา ไม่รู้วิธีบริหารเงินที่ดีจากการใช้สิทธิประโยชน์ที่ควรได้ของตนไม่สามารถวางแผนการเงินทีดี กลุ่มเหล่านี้พอเกิดมีปัญหาก็ไม่สามารถแก้ไขได้ทัน การทำงานในองค์กรจะมีความวุ่นวายเร่งร้อนรนในการใช้จ่ายเงิน
5. องค์กรที่ที่มีการใช้จ่ายไม่ยั้งคิด ในบางครั้งการใช้เงินลงทุนไม่สามารถแยกระหว่าง ความจำเป็น (need) หรือ ความต้องการ (want) ส่วนใหญ่ไม่คิดให้รอบคอยถึงความจำเป็นความพร้อม ควรต้องมีการทำบัญชีงบประมาณ ดูรายรับรายจ่าย ให้มองเห็นยอดเงินที่ใช้จริงยอดตัวเลขงบดุลเงินคงเหลือ บางครั้งการมีตัวเลขงบดุลที่ผิดจะทำให้มีความผิดพลาดในการตัดสินใจ เช่น หลงคิดว่าองค์กรมีรายได้หรือเงินตอบแทนกลับเข้ามาที่สูงเกินจริง โดยไม่ได้เอารายจ่ายที่มีมาคิดร่วมกัน ทำให้ใช้เงินไปกับการคิดยอดที่รับมาในตัวเลขที่ผิด เกิดเป็นค่าใช้จ่ายส่วนเกินแฝงกว่าจะรู้ก็ยากจะแก้ไขได้ทัน บางครั้งก็คิดว่าเงินที่ลงทุนไปในเรื่องที่ยังไม่สมควรนั้นจะเป็นการลงทุนแล้วจะทำให้เกิดเป็นเงินได้ ทำให้ต้องลงทุนในสิ่งที่ไม่จำเป็นใช้เงินมากตลอด เหมือนโอ่งใส่น้ำที่รั่วใส่น้ำเข้าไปมากเท่าไรก็ไหลออกหมด หากสามารถแก้ไขในเรื่องนี้ได้ก็จะทำให้รายได้ที่เข้ามาไม่รั่วไหลไปกับรายจ่ายหรือสิ่งที่ไม่จำเป็นเหมือนโอ่งใส่น้ำที่ดีมีน้ำมาใส่ก็เหลือเก็บได้เพียงพอ
6. องค์กรที่ไม่มีเงินออม หลายครั้งที่เมื่อองค์กรมีรายได้ก็จะนำไปใช้แบ่งปันผลกันจนหมด หรืออาจนำไปลงทุนต่อไปใหม่หมด โดยไม่ได้มีการจัดแบ่งเงินสำรองบางส่วนเก็บไว้ เกิดปัญหาการขาดแคลนเงินสำรองในยามจำเป็น หลายองค์กรไม่มีการสำรองเงินไว้บางครั้งเกิดปัญหาต้องใช้การกู้หนี้มาช่วยซึ่งทำให้สูญเสียเงินในการกู้ ทุกองค์กรควรทำการกำหนดเงินสำรองในกรณ๊ต้องใช้ฉุกเฉินหรือหาแหล่งเงินกู้สำรองที่ดีเผื่อเหตุฉุกเฉิน และความตั้งเป้าหมายวินัยการเงินให้มีการคงเงินสำรองเก็บไว้ด้วย เพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขันและขยายโอกาสทางธุรกิจที่อาจจะมีในอนาคต
7. องค์กรที่มีการบริหารการเงินโดยมีหนี้มากเกินกำไร เกิดจากการลงทุนในสิ่งที่ไม่ทำให้เกิดรายได้ การมีหนี้ที่ดีควรเป็นการสร้างหนี้เพื่อลงทุนแล้วสามารถต่อยอดเป็นเงินกลับมาในอนาคต แต่หลายครั้งองค์กรยอมเป็นหนี้ในการลงทุนที่ผิดซึ่งทำให้ไม่มีผลตอบแทนกลับคืนมาเพียงพอ เกิดเป็นรายจ่ายหรือตัวเลขบัญชีติดลบ บางครั้งอาจเรียกว่า หนี้ขยะ ซึ่งองค์กรควรต้องมองหาหนี้พวกนี้ และรีบดึงออกมาจัดการปิดยอดโดยเร็วเพื่อไม่ให้หนี้มาดึงเงินที่มีเป็นค่าใช้จ่ายต่อไป ดังนั้นทุกครั้งที่องค์กรจะกู้เงินมาลงทุนในแต่ละเรื่องจึงควรต้องหาดูข้อมูลให้พร้อมว่าการเป็นหนี้ในครั้งนี้จำเป็นหรือไม่ จะเกิดผลตอบแทนเพียงใด และพร้อมหรือไม่ในการที่จะมีหนี้สินมาเกิดในองค์กร
-------------------------------------------------
ที่มาข้อมูล
-
ภาพและรวบรวมข้อมูล
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องการตลาดเพิ่มเติมคลิกที่นี่
-------------------------------------------------
money สรุป 8 อัตราส่วนทางการเงินกับการบริหารธุรกิจที่ SMEs ควรรู้
8 อัตราส่วนทางการเงินกับการบริหารธุรกิจที่ SMEs ควรรู้
ข้อมูลทางการเงินของธุรกิจ มักประกอบไปด้วยข้อมูลย่อยจำนวนมาก การลงไปดูข้อมูลย่อยทีละตัวอาจทำให้สับสนและเกิดการวิเคราะห์ที่ผิดได้ง่าย
“อัตราส่วนทางการเงิน” เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจ ให้เข้าใจสถานะทางการเงินได้ง่าย และรวดเร็ว อัตราส่วนทางการเงินนั้นมีหลายแบบ แต่อัตราส่วนทางการเงินที่มักนำมาใช้พิจารณาอยู่ 8 อัตราส่วน ดังที่จะกล่าวต่อไป
- อัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) เกิดจากการเอาสินทรัพย์หมุนเวียนของบริษัทมาหารกับหนี้สินหมุนเวียนของบริษัท ซึ่งถ้าจะอธิบายง่ายๆ คือมันใช้ชี้วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นของบริษัท ถ้าได้ค่าสูงกว่า 1 แสดงว่าบริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียน หมายความว่าบริษัทมีสภาพคล่องสูง ไม่มีปัญหาการชำระหนี้ระยะสั้น แต่ถ้าค่าต่ำกว่า 1 ก็อาจแสดงว่าบริษัทมีปัญหาสภาพคล่อง เป็นต้น
วิธีแก้นั้นก็อาจจะต้องลดอัตราการลงทุนในสินทรัพย์ระยะยาวลง ถือสินทรัพย์หมุนเวียนให้มากขึ้น หรือลดการเพิ่มทุนโดยการใช้แหล่งเงินกู้ระยะสั้นเพื่อลดหนี้สินหมุนเวียน
- อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน หรือ Debt to Equity Ratio (D/E) คือ การเอาหนี้ของบริษัทที่มีมาหารด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นทั้งหมด ซึ่งอัตราส่วนนี้เป็นอัตราส่วนที่ใช้วัดระดับหนี้ของบริษัทจากสินทรัพย์ทั้งหมด โดยธุรกิจทั่วไปจะถือว่าอัตราส่วนนี้ไม่ควรจะสูงกว่า 2 หรือกล่าวได้ว่าหนี้ทั้งหมดที่บริษัทมี ไม่ควรจะสูงเกินทุนพื้นฐานของบริษัทเอง ค่านี้สำคัญในมุมการประเมินของสถาบันการเงินหรือนักลงทุน เพราะธุรกิจที่มีสินทรัพย์โตขึ้นเรื่อยไม่ได้สื่อถึงการเติบโตอย่างมีคุณภาพเสมอไป เพราะบริษัทอาจทำการกู้เงินทั้งระยะสั้นและยาวมาขยายสินทรัพย์ไปเรื่อยๆ ก็ได้ ซึ่งถ้าบริษัททำแบบนี้ สิ่งที่สะท้อนมาก็คือค่า D/E ของบริษัทจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป หรือพูดง่ายๆ ก็คือบริษัทที่ค่า D/E โตขึ้นเรื่อยๆ ธุรกิจจะโตขึ้น รายได้จะมากขึ้น แต่ก็มีสัญญาณอันตรายของธุรกิจอยู่ เพราะธุรกิจกำลังโตด้วยการขยายหนี้
- อัตราผลตอบแทนจากทรัพย์สิน หรือ Return on Asset (ROA) เกิดจากการเอารายได้สุทธิของบริษัทมาหารกับสินทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท อัตราส่วนนี้ใช้ชี้วัดว่าบริษัทมีประสิทธิภาพในการสร้างรายได้จากสินทรัพย์ที่มี แค่ไหน ซึ่งก็ชัดเจนว่าค่าตรงนี้ยิ่งมาก ก็ยิ่งดี ข้อระวังการเทียบ ROA ให้เหมาะสม ต้องเป็นการเทียบภายในอุตสาหกรรมเดียวกัน และบริษัทที่เทียบต้องมีระดับการโตของธุรกิจพอๆ กัน เนื่องจากค่า ROA ของแต่ละธุรกิจมีความแตกต่าง กันมาก และพร้อมกันนั้น ค่า ROA ของบริษัทที่อยูในคนละขั้นของการเติบโตก็ต่างกันเช่นกัน
- อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น หรือ Return on Equity (ROE) ก็เกิดจากการเอารายได้สุทธิของบริษัทมาหารกับส่วนของผู้ถือหุ้น มันเป็นอัตราส่วนที่ใช้ในการวัดความคุ้มทุนของเงินทุนที่ผู้ถือหุ้นเอาลงไปในธุรกิจ แน่นอนว่าค่ายิ่งมากก็ยิ่งดี เพราะหมายความว่าธุรกิจนั้นๆ เอาเงินทุนที่หุ้นส่วนธุรกิจลงเงินไป มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
- อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) และ อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin)
ค่าอัตรากำไรขั้นต้น คือ การเอากำไรขั้นต้นมาหารด้วยยอดขายแล้วคูณด้วย 100 (ค่าออกมาเป็น %)
อัตรากำไรสุทธิ คือ การเอากำไรสุทธิมาหารด้วยยอดขายแล้วคูณด้วย 100
สองค่านี้มีหน้าที่คล้ายกัน คือ ใช้วิเคราะห์อัตราผลกำไรของธุรกิจ ซึ่งตัวเลขยิ่งเยอะก็ยิ่งดี แต่อัตราส่วนทั้งสองนี้ก็เป็นการบ่งชี้สัญญาณอันตรายได้ด้วย เช่น ถ้าบริษัท A มีรายได้มากขึ้นเรื่อย ๆ มีกำไรมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่อัตรากำไรขั้นต้นกลับค่อย ๆ ลดลงช้า ๆ เป็นข้อบ่งชี้ว่าธุรกิจอาจมีปัญหาบางอย่างแล้ว เพราะอัตรากำไรลดลง ทางผู้บริหารก็ต้องลงไปดูในรายละเอียดต่าง ๆ ของงบการเงินว่าเกิดอะไรขึ้น ซึ่งกรณีนี้อาจเป็นได้ว่าเกิดจากการที่ต้นทุนการขายนั้นขยายตัวไปเร็วกว่ายอดขาย ทางผู้บริหารต้องพิจารณาปรับรายละเอียดของต้นทุนการขายให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้มันโตไปเร็วกว่ายอดขาย เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินนั้นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก ทั้งจากมุมของนักบริหาร นักลงทุน และสถาบันทางการเงินภายนอกที่จะให้สินเชื่อหรือเงินกู้ มันเป็นสิ่งที่จะทำให้เรามองภาพของธุรกิจในแง่มุมที่เราต้องการได้อย่างรวดเร็ว พร้อมกันนั้น มันก็เป็นตัวช่วยในการเช็คความผิดปกติต่างๆ ที่เราจะมองไม่เห็นถ้าไม่มองเป็นอัตราส่วน เช่น ถ้าดูงบการเงินแบบเร็วๆ เราอาจจะเห็นยอดขายก็โตขึ้น กำไรก็โตขึ้น แต่มาดูดีๆ ผ่านการทำเป็นอัตราส่วนทางการเงิน เราอาจพบว่าอัตรากำไรลดลง แล้วมารื้อดูต่อ เราก็อาจพบว่าค่า D/E เพิ่มขึ้น นี่อาจทำให้เราฉุกคิดว่ามันมีอะไรผิดปกติ หากสำรวจดูอาจพบว่าบริษัทไปกู้เงินมาเพื่อเป็นงบในการส่งเสริมการขาย ซึ่งผลก็คือทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น แต่อัตราผลกำไรลดลง ซึ่งก็แน่นอนว่านี่เป็นตัวบ่งชี้พื้นฐานว่าการโตของบริษัทเป็นการโตที่ไม่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น
-------------------------------------------------
ที่มาข้อมูล
-
ภาพและรวบรวมข้อมูล
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องการตลาดเพิ่มเติมคลิกที่นี่
-------------------------------------------------
money แหล่งเงินทุน ในการเริ่มทำธุรกิจ
หากกำลังคิดถึงการเปิดตัวธุรกิจ การระดมทุนอาจทำได้ค่อนข้างยาก ภาพรวมของทุนในการเริ่มต้นที่แตกต่างกันจะช่วยให้ทราบว่าแหล่งเงินทุนใดที่เหมาะสมสำหรับการเริ่มทำธุรกิจประกอบด้วย
1. เงินสดของตัวเองที่มี (Cash) เป็นตัวเลือกสำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการลดการระดมทุน โดยใช้ทุนของตนเองในช่วงแรก หากมีกระแสเงินสดเป็นบวก การลงทุนใหม่เพื่อสร้างรายได้ที่กลับเข้ามาของบริษัท จะช่วยให้ชะลอหรือลดการหาแหล่งเงินลงทุนจากภายนอก
- ทุนในรูปแบบนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับ ผู้ประกอบการที่มีทุนมากอยู่แล้ว ต้องการที่จะมีความเป็นเจ้าของธุรกิจเอง และช่วยลดเวลาที่ต้องเสียไปในการติดต่อหาทุนจากนักลงทุน ซึ่งบางครั้งอาจมีโอกาสเสียงานที่คิดไว้ไปในการเสนอระยะการนำเสนอไอเดียขอทุนเลยก็มี
2. การกู้หนี้สินเพื่อลงทุน (Equity) เป็นรูปแบบของการหาเงินทุนอีกวิธี การจัดหาเงินกู้เป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับผู้ก่อตั้งที่เริ่มต้นธุรกิจ ที่ต้องการรักษาความเป็นเจ้าของบริษัท ซึ่งต้องดูในเรื่องหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการได้รับเงินกู้ที่ต้องจ่ายคืนพร้อมดอกเบี้ยในช่วงเวลาที่ตกลง บางครั้งธุรกิจในระยะเริ่มแรกที่ยังไม่มีรายรับทำให้ยังไม่มีกระแสเงินสดกลับเข้ามา ทำให้ควรที่จะต้องประมาณการรายได้หรือวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านเครดิตให้เหมาะสม หากทำแผนธุรกิจไม่ดีอาจทำให้การกู้มีปัญหายากที่จะโน้มน้าวให้สถาบันสินเชื่อให้กู้ยืมเงิน
- การระดมทุนในรูปแบบนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับ ผู้ประกอบการที่มีทุนน้อยต้องการทำธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ หรืออาจมีทุนแต่ไม่อยากใช้เงินทุนของตนมาลงทุนในธุรกิจ หรือไม่ต้องการสูญเสียความเป็นเจ้าของธุรกิจ จริงเลือกการกู้เงินมาลงทุนโดยจ่ายดอกเบี้ยหนี้ ซึ่งหลายที่อาขใช้นำไปหักลดหย่อนภาษีได้ ต่ก็มีปัญหาบางครั้งภาระผูกพันในการชำระหนี้อาจเป็นเรื่องยุ่งยากสำหรับธุรกิจ
3. การหาหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น (Debt) การแสวงหาเงินทุนภายนอกจะช่วยขยายขนาดธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น ทุนส่วนใหญ่จะถูกระดมทุนผ่านหน่วยงานด้านการเงิน จำนวนมากหรือน้อยของทุนขึ้นอยู่กับ แนวคิดการพัฒนารูปแบบขั้นตอนการทำงานของบริษัท และความต้องการของนักลงทุนในตลาด
- การระดมทุนในรูปแบบนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับ ผู้ประกอบการที่มีทุนน้อย แต่ต้องการทำธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ ไม่ต้องการมีความเป็นเจ้าของธุรกิจคนเดียว มีทรัพยากรที่สำคัญเช่นเครือข่ายและคำแนะนำที่มีค่าจากผู้ลงทุน ช่วยลดทุนที่ต้องเสียไปในการลงทุนของตนเอง แต่ก็มีปัญหาบางครั้งอาจมีโอกาสเสียการเป็นเจ้าของงาน
4. การแปลงสภาพทุนการใช้ตั๋วสัญญา (Convertible Notes) เป็นการใช้เงินที่มาจากการแปลงสภาพธุรกิจให้เป็นตราสารหนี้ระยะสั้น แปลงสภาพเป็นตราสารทุนโดยอัตโนมัติ กรณีบริษัทต้องการจัดหาเงินทุนภายหลังจากที่ดำเนินธุรกิจไปสักระยะ ในตอนนี้จะสามารถกำหนดมูลค่าธุรกิจได้ชัดเจน ทำให้นักลงทุนยินดีให้เงินกู้ยืมเพื่อไปเริ่มต้น โดยคาดหวังว่าเงินทุนที่ให้ไปจะกลับมาพร้อมดอกเบี้ยในรูปของหุ้นในบริษัททำให้สะดวกในการระดมทุน นักลงทุนเริ่มต้นมีความคุ้นเคยกับวิธีนี้และเป็นที่นิยม โดยเฉพาะจากการที่ที่มีต้นทุนปิดเกี่ยวข้องกับเอกสารและค่าธรรมเนียมทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
5. ทุนช่วยเหลือหรือสนับสนุนเพื่อการทำธุรกิจ (Grants and Startup Competitions) ในหลายประเทศมักจะมีแหล่งกองทุนหรือเงินทุน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจที่พึ่งเริ่มต้น ทุนในส่วนนี้เป็นช่องทางที่ดีเนื่องจากส่วนใหญ่จะมีเงินให้บริการฟรี แม้ว่าจะมีปัญหาในการขอใช้เงินที่ยาก มีขั้นตอนที่ยุ่งวุ่นวาย
6. การระดมทุนแบบร่วมลงทุน (Venture Capital: VC) คือหนึ่งในแหล่งทุนโดยเฉพาะสำหรับ Startup มีทั้งกลุ่มองค์กรหรือกองทุนร่วมลงทุน ที่ต้องการนำเงินที่มีอยู่มาร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการ Startup ที่มีศักยภาพในการเติบโตสูง โดยอาจต้องแลกกับสัดส่วนของหุ้นรวมถึงอำนาจในการตัดสินใจต่างๆ ระยะเวลาการลงทุนมักจะอยู่ที่ 3-5 ปี แต่การจะได้เงินมาก็ต้องมีตัวอย่างผลิตภัณฑ์ให้เห็น หรืออย่างน้อยมีตัว Prototype พร้อมกับประเมินจำนวนผู้ใช้มากพอและน่าเชื่อถือในระดับหนึ่ง ต้องมีแผนธุรกิจที่ชัดเจนที่เป็นไปได้ มีการประเมินการใช้แผนการใช้ทุนที่มีเหตุผล สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและดึงดูดเงินทุนให้เข้ามา บริษัท Startup ใหญ่ๆ ในต่างประเทศล้วนแล้วเคยผ่านการเติบโตจากเงินทุนแบบนี้เช่น Google, Facebook สำหรับ Startup ไทยหลายรายก็สามารถระดมทุนได้สำเร็จจาก VC ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น aCommerce ผู้ให้บริการทางด้านอีคอมเมิร์ซแบบครบวงจร ซึ่งการระดมทุนส่วนนี้ต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่าเพื่ออะไรในกรณีของ aCommerce คือการเพิ่มขนาดแวร์เฮ้าส์ พัฒนาแพลตฟอร์มให้แข็งแกร่ง และเพิ่มทีมงานอีกกว่า 300 ชีวิต ภาพจาก https://goo.gl/W80rhT
7. ระดมทุนแบบมวลชน (Crowdfunding) คือ การระดมทุนจากบุคคลหรือมวลชนทั่วไป มีขั้นตอนที่ง่ายและใช้เวลาสั้นกว่าการระดมทุนวิธี VC หรือการไปขอกู้จากธนาคาร แต่มีข้อเสียคือเงินทุนที่ได้จากวิธีนี้จะมีไม่มากนัก ส่วนใหญ่ใช้ทุนที่ต่ำกว่าแบบ VC
การหาทุนขึ้นอยู่กับ ความพร้อมในการดำเนินงานธุรกิจ ระยะขั้นตอนในการเติบโตที่ต้องมีการใช้ทุน หรือความจำเป็นที่ต้องการเงินทุน ผู้ประกอบการควรกำหนดเป้าหมายการใช้ทุนที่เหมาะสม ในแต่ละสถานการณ์ การหาทุนที่เหมาะสมจะช่วยให้การ เริ่มต้นธุรกิจและดำเนินงานไปได้ตามต้องการ
-------------------------------------------------
ที่มาข้อมูล
-
ภาพและรวบรวมข้อมูล
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องการตลาดเพิ่มเติมคลิกที่นี่
-------------------------------------------------
Networking การสร้างเครือข่ายและการทดสอบตลาด (Business Networking and Market Test)
การสร้างเครือข่ายและทดสอบตลาด นี้นำมาจาก โครงการเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ให้บริการ SMEs สู่ อาเชี่ยน (ASEAN SME Service Provider Network) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานส่งเสริมวิสากิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายผู้ให้บริการ SMEs ให้ครอบคลุมพื้นที่ให้ทั่วถึงมากขึ้นพร้อมกับการเชื่อมโยงกับประเทศในอาเซียน และพัฒนาศักยภาพและให้ความรู้ของผู้ประกอบการในการใช้ประโยชน์จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเพื่อเป็นประโยชน์การให้คำปรึกษาสำหรับผู้ให้บริการ SMEs ไทยและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถนำไปใช้และเพิ่มเติมความรู้ในการทำธุรกิจที่สนใจต่อไป
ขั้นตอนการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจและการทดสอบตลาด ที่ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมกับ ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบด้วย
- การสร้างเครือข่ายและการทดสอบตลาด การเตรียมตัวไปเปิดตลาดในต่างประเทศ
- การสร้างเครือข่ายและการทดสอบตลาด เทคนิคการเจรจาต่อรองธุรกิจ
- การสร้างเครือข่ายและการทดสอบตลาด การสร้างและการรักษาความสัมพันธ์กับเครือข่ายพันธมิตร
- การสร้างเครือข่ายและการทดสอบตลาด การติดต่อหน่วยงานหรือองค์กรในประเทศเป้าหมาย
- E-book คู่มือการสร้างเครือข่ายและการทดสอบตลาด (Business Networking and Market Test)
-
-
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราว การสร้างเครือข่าย (Networking) เพิ่มเติมคลิกที่นี่
Networking การสร้างเครือข่าย (Networking)
-------------------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward