-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
lm การจัดการโลจิสติกส์ในการผลิต (production logistics management)
ระบบการจัดการโลจิสติกส์การผลิต คือ กระบวนการในการวางแผน ดำเนินการ และควบคุมประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการไหลและการจัดเก็บวัตถุดิบ สินค้าคงคลังในกระบวนการผลิตสินค้าสำเร็จรูป และสารสนเทศที่เกี่ยวข้องจากจุดเริ่มต้นไปยังจุดที่มีการใช้งาน โดยมีเป้าหมายเพื่อสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ในที่นี้หมายถึงการนำสินค้าจากแหล่งที่ถูกต้อง ในรูปแบบ จังหวะเวลา คุณภาพ ปริมาณที่ถูกต้องด้วยต้นทุนที่เหมาะสมไปยัง สถานที่ที่ถูกต้อง (ที่มา: Council of Logistics Management) ในกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมมีระบบการผลิตหลายรูปแบบแต่ที่พบกันมากที่สุด คือ ระบบการผลิตแบบผลิตเพื่อเก็บเป็นสินค้าคงคลัง (Make to Stock) และระบบการผลิตแบบผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า (Make to Order)
- อุตสาหกรรมที่ใช้ระบบการผลิตแบบผลิตเพื่อเก็บเป็นสินค้าคงคลัง (Make to Stock) ผู้ผลิตจะทำการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า (Demand Forecasting) ว่ามีความต้องการสินค้าในอนาคตอยู่เท่าใด ต้องการสินค้าชนิดใดบ้างหลังจากนั้นก็ทำการผลิตแล้วส่งไปจัดเก็บที่คลังสินค้า เพื่อส่งต่อไปยังผู้แทนจำหน่ายอีกทีหนึ่ง ระบบการผลิตแบบ Make to Stock จำเป็นต้องมีการพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าอย่างมีระบบมีความแม่นยำและรวดเร็ว ปัจจุบันเหมาะกับสินค้าที่สามารถพยากรณ์ความต้องการได้ค่อนข้างแน่นอนและผู้ผลิตมีผู้แทนจำหน่ายที่เป็นผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีก ได้แก่โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ในครัวเรือนซึ่งผลิตเป็นจำนวนมากเพื่อให้ได้ต้นทุนการผลิตต่ำสุด
- อุตสาหกรรมที่ใช้ระบบการผลิตแบบผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า (Make to Order) ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าและเลือกส่วนประกอบหรือวัตถุดิบตามที่ต้องการ คำสั่งซื้อนั้นจะถูกส่งไปที่ผู้ผลิต ผู้ผลิตดำเนินการผลิตและแปรรูปสินค้าและจัดส่งตามที่ลูกค้าต้องการภายในเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นจึงสามารถส่งสินค้าตรงไปยังลูกค้าได้โดยตรง ทำให้ลดต้นทุนในการจัดเก็บและค่าใช้จ่ายสำหรับผู้แทนจำหน่าย นอกจากนั้นจะไม่ประสบกับปัญหาที่ผลิตสินค้ามาแล้วขายไม่ได้ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนที่ต่ำลงโรงงานอุตสาหกรรมพลาสติกที่อยู่ในกลุ่มนี้จำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นในองค์กรสูง เพื่อให้สามารถตอบสนองกับคำสั่งซื้อของลูกค้า (Customer Order) ได้ และต้องมีการจัดการวัสดุ (Materials Management) ที่ดี
รูปแบบจำลองการจัดการโลจิสติกส์สำหรับระบบการผลิต
จากรูป ซึ่งในแบบจำลองแสดงการไหลเวียนของข้อมูลสารสนเทศ (Information Flow) ในส่วนบนของแบบจำลอง และแสดงการเคลื่อนย้ายและขนถ่ายวัสดุในโลจิสติกส์การผลิต (Materials Logistics Flow) ในส่วนล่างของแบบจำลอง ส่วนที่สำคัญของกระบวนการวางแผนในแบบจำลองการจัดการโลจิสติกส์ ต้องการความแม่นยำและความถูกต้องของการพยากรณ์ความต้องการสินค้าของลูกค้า (Demand Forecasting) เป็นสำคัญ เนื่องจากการพยากรณ์ความต้องการสินค้าของลูกค้ามีวิธีการคำนวณหลายวิธี ดังนั้นจึงควรนำซอฟแวร์สถิติที่ใช้ในการพยากรณ์ความต้องการสินค้า (Demand Forecasting Statistical Software) มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการพยากรณ์ซึ่งจะกล่าวรายละเอียดในบทต่อไป การพยากรณ์ความต้องการสินค้าของลูกค้าเป็นกระบวนการวางแผนในขั้นตอนแรก ซึ่งหากเกิดการพยากรณ์ที่ผิดพลาดและคลาดเคลื่อนไปจากยอดขายจริงแล้ว การนำข้อมูลการพยากรณ์ยอดขายไปใช้ในการวางแผนในขั้นตอนต่อไป ในส่วนของการวางแผนเพื่อผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการสินค้า (Supply Plan) ก็อาจเกิดความผิดพลาดตามไปด้วย ส่งผลต่อตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ เช่น สินค้าที่ลูกค้าต้องการไม่สามารถผลิตได้ทันตามความต้องการของลูกค้า และสินค้าบางชนิดมีการผลิตมากเกินความจำเป็นทำให้ต้นทุนสินค้าคงคลังสูง
.
ที่มา
-
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
Omni Channel Logistics / การใช้ช่องทางที่หลากหลายในงานโลจิสติกส์
การใช้ช่องทางที่หลากหลายในงานโลจิสติกส์ (Omni Channel Logistics) คือ แนวคิดในเรื่องการจัดการโลจิสติกส์หรือการขนส่งในยุคใหม
Omni Channel Logistics เป็นการปรับปรุงวิธีการขนส่ง โดยการรวมกิจกรรมที่เกีี่ยวข้องในงานขนส่ง (Delivery) รูปแบบต่างๆ มาทำการบริหารจัดการร่วมกัน โดยจะต้องมีการจัดการภายในองค์กรที่ดี (Back office) สามารถทำการเชื่อมโยงข้อมูลในกระบวนการตั้งแต่ การรับ การเก็บ การหยิบ การบรรจุแพคใหม่ การเบิกจ่าย และนำส่งถึงลูกค้า ซึ่ง Omni Channel Logistics จะต้องมีการทำงานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์
ตัวอย่างเช่น
ผู้ให้บริการ Omni Channel Logistics จะเริ่มจากองค์กรที่มีการทำงานแบบเชื่อมโยงกันผ่าน ระบบสารสนเทศ (IT System) บริหารสินค้าที่มีในคลังของตน (Inventory) อาจมีการรับสินค้ามาเก็บเพื่อทำการกระจายไปยังลูกค้า หรือมีการจัดการสินค้าเช่น การแยกกล่องหรือรวมกล่องบรรจุใหม่ (Picking) ตามขนาดรถที่จะใช้ในการบริการขนส่ง (Delivery) การคัดเลือกพาหนะที่ใช้จะเลือกโดยเน้นประเภทและขนาดตามพื้นที่ให้บริการลูกค้า เมื่อลูกค้าได้ทำการสินค้า ผ
.
ที่มา
-
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
การบูรณาการงานโลจิสติกส์ (Integrated Logistics)
- การบูรณาการโลจิสติกส์ภายใน (Internally Integrated Logistics) เป็นระดับการพัฒนาที่บูรณาการกิจกรรมโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนกระบวนการผลิต (Production) โดยจะบูรณาการการจัดการภายในบริษัทตั้งแต่กิจกรรมการวางแผนผลิต การจัดซื้อวัตถุดิบ จนถึงการกระจายสินค้าส่งถึงผู้บริโภคเพื่อเพิ่มความถี่หรือความสามารถ ในการระบายสินค้าอันจะส่งผลทำให้ปริมาณสินค้าคงคลังลดลงได้ การพัฒนาในระดับนี้ จำเป็นต้องใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบซอฟท์แวร์ช่วยในการบริหารจัดการกิจกรรมทั้งระบบด้วย
- การบูรณาการโลจิสติกส์ภายนอก (Externally Integrated Logistics) เป็นระดับการพัฒนาที่มีการบูรณาการการขนส่งทุกรูปแบบ (Mode) อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การกำหนดให้มีจุดขนถ่ายสินค้าที่ได้มาตรฐาน รวมถึงนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบูรณาการข้อมูลระหว่างบริษัทคู่ค้า (Partner) นอกจากนี้ยังมีการใช้บริการจากผู้ให้บริการโลจิสติกส์ (Third Party Logistics Provider) เฉพาะด้านด้วย
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
การบูรณาการโลจิสติกส์ภายใน (Internally Integrated Logistics)
การบูรณาการโลจิสติกส์ภายใน (Internally Integrated Logistics) เป็นระดับการพัฒนาที่บูรณาการ กิจกรรมโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นในองค์กรเป็นหลัก โดยจะบูรณาการการจัดการภายในองค์กร หรือที่เรียกว่ากระบวนการผลิต (Production) เริ่มตั้งแต่ การวางแผนผลิต การจัดซื้อวัตถุดิบ การผลิต การจัดเก็บและวางแผนกระจายสินค้า การขายการตลาดจัดขนส่งไปจนถึงส่งถึงผู้บริโภค
การพัฒนาในงานด้านนี้จำเป็นต้องใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มความสามารถบริหารจัดการต้นทุน เวลา ความถี่รอบของสินค้า หรือความสามารถในการระบายกระจายสินค้า
ที่มา
- เอกสาร สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ 2558 www.logistics.go.th
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
การพยากรณ์ความต้องการ (Demand Forecasting) ในการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน
การพยากรณ์ความต้องการ กระบวนการจัดซื้อ กระบวนการวางแผนผลิตหลัก กระบวนการจัดการคลังสินค้า และการจัดส่งและการกระจายสินค้า ซึ่งจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ กระบวนการจัดการที่สำคัญลำดับแรก คือ การพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า การพยากรณ์เป็นการประมาณความต้องการของสินค้าของลูกค้าล่วงหน้าโดยใช้วิธีและเทคนิคการพยากรณ์ที่เป็นระบบและถูกต้องแม่นยำ การพยากรณ์ความต้องการสินค้าเป็นวิธีการพยากรณ์ที่ใช้ข้อมูลในอดีตเพื่อคาดการณ์ความต้องการในอนาคตของลูกค้าโดยมีวิธีการพยากรณ์แบบต่างๆหลายวิธี เช่น
เทคนิคการพยากรณ์มีด้วยกัน 3 เทคนิคหลัก คือ
1. เทคนิคการพยากรณ์เชิงคุณภาพ (Qualitative) ทำได้ 2 วิธีการคือ
1) การพยากรณ์โดยหัวหน้าพนักงานขาย (Sale Force Composite)
2) การพยากรณ์โดยการสำรวจตลาดจากผู้บริโภค (Consumer Market Survey)
โดยอาศัยวิจารณญาณประสบการณ์ความรู้ความสามารถของผู้ที่ทำการพยากรณ์
2. เทคนิคการพยากรณ์เชิงปริมาณ (Quantitative) โดยใช้วิธีการของการพยากรณ์ข้อมูลอนุกรมเวลา (Time Series) ทำได้โดยการนำ ข้อมูลที่มีการบันทึกหรือเก็บรวบรวมมาเป็นระยะเวลาติดต่อกันตามช่วงเวลาที่ต้องการ เช่น อาจเป็นราย ชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน ไตรมาศ หรือเป็นปี เป็นต้น ซึ่งมีหลายวิธีการ เช่น
- วิธีของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) มี 2 แบบ คือ แบบไม่ถ่วงน้ำหนัก และแบบถ่วงน้ำหนัก
- วิธีการปรับเรียบเอ็กโปแเนนเชียล (Exponential Smoothing)
- การพยากรณ์แบบฤดูกาลของวินเตอร์ (Winter’s Linear and Seasonal Exponential Smoothing)
- การพยากรณ์โดยวิธีวินเตอร์ จะให้ค่าการพยากรณ์ที่ดีเหมือนกับการปรับเรียบเอ็กโปแนนเชียลซ้ำสองครั้ง แต่จะมีข้อได้เปรียบที่เหนือกว่า คือ สามารถพยากรณ์กับข้อมูลที่เป็นฤดูกาล หรือแบบแนวทิศทางหรือทั้งสองแบบ
- การวิเคราะห์แนวโน้มการพยากรณ์แนวโน้ม (Trend Projection) เป็นการพยากรณ์โดยยึดข้อมูลอนุกรมเวลาในอดีตมาจัดทำเป็นกราฟ เพื่อดูแนวโน้มของข้อมูลว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยวิธีนี้จะพยายามลากเส้นตรง (Trend Line) ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับข้อมูลในอดีตมากที่สุด หรือสามารถที่จะเป็นตัวแทนของข้อมูลชุดนั้นได้
3. เทคนิคการพยากรณ์ด้วยตัวแบบความสัมพันธ์ (Causal Model) การพยากรณ์โดยใช้ตัวแบบความสัมพันธ์ โดยดูความสัมพันธ์ของตัวแปรในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น ยอดขายสินค้ากับค่าใช้จ่ายในการโฆษณา หรือ ยอดขายกับจำนวนประชากร เป็นต้น ตัวแปรที่ต้องการพยากรณ์จะเป็นตัวแปรตาม (Dependent Variable) และตัวแปรตัวอื่นก็จะเป็นตัวแปรอิสระ (Independent Variable) ซึ่งมีอิทธิพลหรือมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามนั่นเอง ตัวแบบการคำนวณหาความสัมพันธ์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ การวิเคราะห์ถดถอย (Regression Analysis)
บุคลากรที่มีหน้าที่พยากรณ์ความต้องการของลูกค้าต้องมีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคการพยากรณ์ในแต่ละประเภท รวมทั้งการลดความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นในค่าพยากรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ได้จากการพยากรณ์มีความถูกต้องแม่นยำที่สุด
ช่วงเวลาของการพยากรณ์ แบ่งเป็น การพยากรณ์ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยพิจารณาระยะเวลาที่จะพยากรณ์เป็นสำคัญ
- การพยากรณ์ระยะสั้น เป็นการพยากรณ์เหตุการณ์ที่ไม่เกิน 1 ปี โดยทั่วไปมักจะอยู่ในช่วงไม่เกิน 3 เดือน เช่นการพยากรณ์การวางแผนการจัดซื้อ การจัดทำตารางการทำงาน และการมอบหมายงานการพยากรณ์ยอดขาย และการพยากรณ์ระดับการผลิต
- การพยากรณ์ระยะกลาง เป็นการพยากรณ์เหตุการณ์ที่อยู่ในช่วง 3 เดือน ถึง 3 ปี จะใช้มากในการพยากรณ์การวางแผนการขาย การวางแผนการผลิต และวางแผนด้านงบประมาณเงินสด และวิเคราะห์การวางแผนดำเนินงานต่างๆ
- การพยากรณ์ระยะยาว เป็นการพยากรณ์เหตุการณ์ที่มากกว่า 3 ปีขึ้นไป มักใช้สำหรับการวางแผนออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ค่าใช้จ่ายในการลงทุน การขยายทำเลที่ตั้ง และการวิจัยพัฒนา
.
ที่มา
-
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward