iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการคลังสินค้า (Information technology systems in warehouse management) การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับงานคลังสินค้าการใช้ระบบเทคโนโลยีเข้าช่วยในการปฏิบัติงานด้านคลังสินค้าที่สำคัญในชั่วโมงนี้ ได้แก่
1. ระบบบาร์โค้ด (Bar Code) โดยการนำระบบบาร์โค้ดมาใช้กับคลังสินค้าจะสามารถใช้ได้ในหลาย ๆ จุด ได้แก่ การรับและส่งสินค้าเข้าออกจากคลัง การจัดระบบเก็บสินค้าภายในคลัง และการตรวจนับสินค้าภายในคลัง เป็นต้น ปัญหาภายในคลังสินค้าโดยเฉพาะข้อผิดพลาดที่เกิดจากพนักงานตรวจนับ รับส่งสินค้า สามารถบรรเทาลงได้ด้วยการประยุกต์ใช้ระบบบาร์โค้ดโดยสินค้าต่าง ๆ ที่เข้าออก และจัดเก็บภายในคลังสินค้าจะใช้ระบบบาร์โค้ดในการระบุตัวสินค้าและบรรจุภัณฑ์เพื่อขนย้าย และจัดเก็บ การปรับปรุงคลังสินค้าด้วยวิธีนี้จะทำให้การทำงานด้านเอกสาร และการตรวจเช็ค ตรวจนับต่าง ๆ ภายในคลังสินค้าสามารถทำได้รวดเร็วขึ้น และช่วยให้ข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดจากการป้อนข้อมูลด้วยคนสามารถลดลงได้
2. เทคโนโลยี Radio Frequency Identification (RFID) เป็นระบบที่มีการทำงานและสามารถใช้ประโยชน์คล้ายคลึงกับระบบบาร์โค้ดแต่อาศัยคลื่นวิทยุแทนคลื่นแสง และสามารถอ่านข้อมูลในระยะไกลโดยไม่จำเป็นต้องสัมผัสสินค้า มีความละเอียด และสามารถบรรจุข้อมูลได้มากกว่า ซึ่งทำให้สามารถแยกความแตกต่างของสินค้าแต่ละชิ้นแม้จะเป็น SKU (Stock Keeping Unit-ชนิดสินค้า) เดียวกันก็ตาม ความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแถบ RFID เร็วกว่าการอ่านข้อมูลจากแถบบาร์โค้ดหลายสิบเท่า สามารถอ่านข้อมูลได้พร้อมกันหลาย ๆ แถบ RFID สามารถส่งข้อมูลไปยังเครื่องรับได้โดยไม่จำเป็นต้องนำไปจ่อในมุมที่เหมาะสมอย่างการใช้เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Non-Line of Sight) และค่าเฉลี่ยของความถูกต้องของการอ่านข้อมูลด้วยเทคโนโลยี RFID นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 99.5% ขณะที่ความถูกต้องของการอ่านข้อมูลด้วยระบบบาร์โค้ดอยู่ที่ 80% นอกจากนี้แถบ RFID สามารถเขียนทับข้อมูลได้ จึงทำให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งจะลดต้นทุนของการผลิตป้ายสินค้าซึ่งคิดเป็นประมาณ 5% ของรายรับของบริษัท อีกทั้ง RFID ยังช่วยขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นจากการอ่านข้อมูลซ้ำที่เกิดกับระบบบาร์โค้ดได้อีกด้วย และด้วยความเสียหายของป้ายชื่อ (Tag) น้อยกว่าเนื่องจากไม่จำเป็นต้องติดไว้ภายนอกบรรจุภัณฑ์ และระบบความปลอดภัยสูงกว่า ยากต่อการปลอมแปลง และลอกเลียนแบบ อีกทั้งทนทานต่อความเปียกชื้น แรงสั่นสะเทือน การกระทบกระแทก คลังสินค้าส่วนมากจึงนิยมนำเทคโนโลยีนี้มาประยุกต์ใช้
3. ระบบแลกเปลี่ยนและส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange (EDI)) คือ การประยุกต์ใช้ระบบ EDI นี้จะทำให้การรับและส่งมอบสินค้าจากซัพพลายเออร์ และลูกค้า สามารถทำได้รวดเร็วที่สำคัญสามารถเตรียมการต่าง ๆ ทั้งในเรื่องของพื้นที่ อุปกรณ์ และพิธีการรับส่งสินค้าต่าง ๆ ได้ล่วงหน้า ประกอบกับทำให้ลดขั้นตอน และข้อผิดพลาดต่าง ๆ ของการรับและส่งมอบสินค้า เอกสารต่าง ๆ มีความถูกต้องและรวดเร็วยิ่งขึ้น การตรวจทานต่าง ๆ สามารถทำได้ง่ายและคล่องตัวมากขึ้นส่งผลให้ต้นทุนและประสิทธิภาพด้านเวลารับและส่งมอบสินค้าดีขึ้น
4. ระบบบริหารจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management System; WMS) เป็นซอฟท์แวร์ระบบการจัดการคลังสินค้า มีลักษณะเหมือนกับระบบบริหารการขนส่งโดยระบบบริหารคลังสินค้าจะทำการบริหารแผนการจัดเก็บสินค้าคงคลังและประมวลผลการทำงานต่อวันของคลังสินค้า นอกจากนี้ระบบ WMS ยังช่วยตรวจและติดตามสินค้าคงคลังในคลังสินค้าด้วย นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางในการจัดการดำเนินการคำสั่งซื้อของลูกค้าและการจัดการคลังสินค้าที่สามารถรวบรวมข้อมูลจากการจัดการคำสั่งซื้อลูกค้า การรับสินค้า การจัดทำสต็อก การเติมสินค้า การจัดเก็บ การเลือกหรือหยิบสินค้าตามคำสั่ง การจัดส่งและการจ่ายสินค้าออกจากคลัง และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ คลิกที่นี่
LM57 พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ (Fundamentals of Logistics Management) ปี 2557LM57 โลจิสติกส์ (logistics) ความหมาย
โลจิสติกส์ (logistics) เป็นระบบการจัดการการส่งสินค้า ข้อมูล และทรัพยากร จากจุดต้นทางแหล่งกำเนิดผู้ผลิตไปยังจุดต่าง ๆ ตามความต้องการของลูกค้า โลจิสติกส์ เกี่ยวข้องกับการจัดการด้าน ข้อมูล การขนส่ง การบริหารวัสดุคงคลัง การจัดการวัตถุดิบ การบรรจุหีบห่อ โลจิสติกส์เป็นช่องทางหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าของห่วงโซ่อุปทาน โดยการใช้ประโยชน์ของเวลาและสถานที่ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม
โลจิสติกส์ (logistics) มาจากภาษาฝรั่งเศสคำว่า logistique ที่มีรากศัพท์มาจากคำว่า โลเชอร์ (loger) ที่หมายถึงการเก็บ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการขนส่งสินค้าทางการทหารในการส่งกำลังบำรุง ทั้งเสบียง อาวุธ กำลังพล เพื่อสนับสนุนการรบ หรือกิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้ายจัดเก็บจากอีกที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง อาจมีการจัดเก็บระยะเวลานานหรือระยะเวลาชั่วคราวเช่น เอกสาร สินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบ และอื่นๆ
โลจิสติกส์ (Logistics) ถูกนำมาใช้ในการทหารเป็นหลักโดยตามความหมายเดิม หมายถึง การส่งกำลังบำรุงหรือพลาธิการ แต่ในปัจจุบันได้มีการขยายขอบเขตองค์ ความรู้ด้านโลจิสติกส์มาใช้ในการดำเนินธุรกิจมากขึ้น โดยคำส่า โลจิสติกส์ จากการกำหนดนิยามโดย Council of Logistics Management, USA ในปี 1998 ซึ่งให้คำนิยามโลจิสติกส์ไว้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการในห่วงโซ่อุปทานในการวางแผน การประยุกต์ใช้ และการควบคุมประสิทธิภาพ ประสิทธิผลการไหล และการจัดเก็บสินค้า บริหารและสัมพันธ์กับ ข้อมูลจากจุดเริ่มต้นของการบริโภคที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า
โลจิสติกส์ (logistics) ความหมายตามคำนิยามของ The Council of Logistics Management คือ กระบวนการวางแผนการดำเนินงาน การควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งไปและกลับ การเก็บรักษาสินค้า บริการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิตไปสู่จุดสุดท้ายของการบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไต้จำแนก ระดับการพัฒนาระบบโสจิสติกส์ของประเทศต่าง ๆ ไว้ 4 ระดับ ตังนี้
1. การกระจายสินค้า (Physical Distribution) เป็นระดับการพัฒนาที่มุ่งเน้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการขนส่งสินด้สำเร็จรูปจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค ซึ่งจะครอบคลุมกิจกรรมต่าง ๆ ไต้แก่ การขนส่ง (Transportation) การจัตเก็บสินค้า (Warehousing) การจัดการวัสดุ (Supply Management) และการบรรจุภัณฑ์ (Packaging) โตยในระดับนี้จะยังไม่มุ่งเน้นการพัฒนาในส่วนที่เป็นสินาคงคลังที่เป็นวัตถุติบ (Raw Material) และสินค้าระหว่างผสิต (Work in Process)
2. การบูรณาการโลจิสติกส์ภายใน (Internally Integrated Logistics) เป็นระดับการพัฒนาที่บูรณาการกิจกรรมโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนกระบวนการผลิต (Production) โดยจะบูรณาการการจัดการภายในบริษัท ตั้งแต่กิจกรรมการวางแผนผลิตการจัดซื้อวัตถุติบจนถึงการกระจายสินค้าส่งถึงผู้บริโภค เพื่อเพิ่มความถี่หรือความสามารถในการระบายสินค้าอันจะส่งผสทำให้ปริมาณสินค้าคงคลังลตลงไต้ การพัฒนาในระดับนี้จำเป็นต้องใช้ระบบเทคโนโลยีสารนเทศและระบบซอฟท์แวร์ช่วยในการบริหารจัดการกิจกรรมทั้งระบบด้วย
3. การบูรณาการโลจิสติกส์ภายนอก (Externally Integrated Logistics) เป็นระดับการพัฒนาที่มีการบูรณาการการขนส่งทุกรูปแบบ (Mode) อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การกำหนดให้มีจุดขนถ่ายสินค้าที่ไต้มาตรฐาน รวมถึงนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบูรณาการข้อมูลระหว่างบริษัทคู่ค้า (Partner) นอกจากนี้ยังมีการไซับริการจากผู้ให้บริการโลจิสติกส์ (Third Party Logistics Provider) เฉพาะด้านด้วย
4. การจัตการโลจิสติกส์ข้ามชาติ (Global Logistics Management) เป็นระดับการพัฒนาที่เกิตจากบริษัทข้ามชาติ ซึ่งหาทางแก้ปัญหาเรื่องตันทุนในประเทศ ดังนั้นจึงเริ่มหาแหล่งวัตถุติบหรือแรงงานที่มีต้นทุนต่ำกว่าในต่างประเทศ ลักษณะของการพัฒนาระดับนี้ ได้แก่ การจัดหาแหล่งวัตถุติบและแรงงาน รวมถึงจัดส่งสินค้าครอบคลุมไปทุกแหล่งทั่วโลก ด้านการขนส่งจะมีการเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพด้วยการบริการจัดการ การขนส่งในรูปแบบต่าง ๆ รวมไปถึงการส่งเสริมการส่งสินค้าผ่านแดน นอกจากนี้ยังมีการให้ความสำคัญกับผลกระทบของการขนส่งต่อสิ่งแวตล้อมและความปลอดภัยต้นการขนส่ง ต้นเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายภายในและระหว่างประเทศ และมีการพึ่งพาผู้ให้บริการโลจิสดิกส์ระหว่างประเทศด้วย
กิจกรรมต้านโลจิสติกส์ นับว่าเป็นกิจกรรมสนับสนุนการตำเนินการภายในทุกองค์กร ซึ่งเพื่อมโยงทุกหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กรทั้งต้านอุปสงค์ และอุปทานโดยกิจกรรมหลักต้านโลจิสติกส์ (Key Logistics Activities) สามารถจำแนกได้ 9 กิจกรรม ตามข้อมูลจาก สำนักโลจิสติกส์กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ดังนี้
1. การให้บริการลูกค้ำและกิจกรรมสนับสนุนต่าง ๆ
2. การวางแผนจัดซื้อ จัดหาวัตถุดิบ อุปกรณ์ต่าง ๆ
3. การสื่อสารต้นโลจิสติกส์และกระบวนการสั่งซื้อ
4. การตำเนินการ ผลิต บรรจุ และขนส่ง
5. การเสื่อกสถานที่ตั้งของโรงงานและคลังสินค้า
6. การวางแผนกำลังการผลิต และการคาดการณ์ปริมาณความต้องการของลูกค้า
7. การับริหารจัตการสินค้าคงคลัง
8. การบริหารการจัตเก็บ การรวบรวม การกระจายสินค้า และบรรจุหีบห่อ
9. กระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ คลิกที่นี่
กิจกรรมด้านโลจิสติกส์เพื่อการจัดการ 9 กิจกรรม
การจัดการโลจิสติกส์ หลังจากสำรวจและค้นหาปัญหาหลักด้านโลจิสติกส์ แล้วดำเนินการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น และนำไปสู่ขั้นตอนของการลงมือปฏิบัติผ่านแผนงานการเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์ตามกิจกรรมด้านโลจิสติกส์โดย กองโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้แบ่งกิจกรรมออกเป็น 9 กิจกรรม ได้แก่
(1) การให้บริการลูกค้าและกิจกรรมสนับสนุน (Customer service and support) เป็นการทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าและการส่งมอบได้ตามที่ลูกค้าต้องการ ผู้ประกอบการต้องสามารถคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า (Sales Forecast) ไว้ล่วงหน้า มีกระบวนการศึกษาข้อมูลความต้องการของตลาด เพื่อวางแผนจัดเตรียมวัตถุดิบ แผนการผลิต และแผนการจัดเตรียมสินค้าสำเร็จรูปให้พร้อมและตรงกับความต้องการของลูกค้า พร้อมที่จะจัดส่งสินค้าให้ตรงเวลาและจำนวนครบถ้วนตามความต้องการของผู้ซื้อ เพราะหากไม่มีสินค้าตามที่ผู้ซื้อต้องการหรือไม่สามารถจัดส่งได้ตามกำหนดเวลา ผู้ประกอบการก็ไม่อาจแปลงกิจกรรมการดำเนินธุรกิจให้เป็นยอดขายได้
(2) การจัดหาและจัดซื้อ (Sourcing and Procurement) เป็นการวางแผนทั้งหมดครอบคลุมถึง การจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ อุปกรณ์ ทุกขั้นตอนในโซ่อุปทาน ต้องมีการวางแผนให้สอดคล้องกันตลอด ต้องมีการเชื่อมโยงระบบการทำงานทั่วทั้งองค์กรให้มีความสอดคล้องกัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ตรงตามต้องการ มีการทำงานร่วมกันหลายฝ่ายเช่น ฝ่ายขายและการตลาด ฝ่ายจัดส่ง ฝ่ายผลิต ฝ่ายคลังสินค้าและคลังวัตถุดิบ ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายการเงิน และมีการวางแผนการผลิตและส่งมอบวัตถุดิบร่วมกันกับซัพพลายเออร์ ทำให้สองบริษัทได้รับประโยชน์ในการจัดการระดับสินค้าคงคลังให้เพียงพอและเหมาะสม เป็นต้น
(3) การสื่อสารด้านโลจิสติกส์และกระบวนการสั่งซื้อ (Logistics communication and order processing) คือ การสื่อสารข้อมูลกับผู้เกี่ยวข้องให้เข้าใจตรงกันทั้งหมด สถานประกอบการต้องมีการบันทึกข้อมูลที่ถูกต้องใช้ข้อมูลชุดเดียวกันและตรงกัน เพื่อให้ทุกหน่วยงานสื่อสารและเกิดความเข้าใจเหมือนกัน ทำให้การทำงานง่ายและตัดสินใจได้ดี
(4) การดำเนินการผลิตบรรจุและขนส่ง (Material handling and packaging) เครื่องมือเครื่องใช้ในกระบวนการโลจิสติกส์ที่ทันสมัย ปัจจุบันการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ร่วมกับเครื่องมืออุปกรณ์ในงานโลจิสติกส์ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถลดเวลาลดขั้นตอนการทำงานและมีความแม่นยำในกระบวนการจัดการโลจิสติกส์ภายในองค์กรได้ดียิ่งขึ้นเช่น การนำระบบ Barcode และ RFID มาใช้ในการจัดการสินค้าภายในคลังสินค้า เป็นต้น
(5) การเลือกสถานที่ตั้งของโรงงานและการจัดการคลังสินค้า (Facilities site selection, warehousing, and storage) จัดการให้ได้วัตถุดิบมาอย่างมีประสิทธิภาพและต้นทุนที่เหมาะสม สถานประกอบการจะต้องเข้าใจตลาดของวัตถุดิบว่ามีลักษณะเป็นฤดูกาลหรือไม่จะต้องจัดซื้อให้ถูกจังหวะ และควรมีแหล่งซื้อวัตถุดิบหลายแหล่ง เพื่อไม่ให้ธุรกิจเกิดการหยุดชะงักเนื่องมาจากขาดวัตถุดิบ ซึ่งบริษัทที่ดีจะมีการวางแผนการผลิตและส่งมอบวัตถุดิบร่วมกับซัพพลายเออร์ เพื่อสามารถลดต้นทุน ลดเวลา และความผิดพลาดของการส่งมอบได้
(6) การวางแผนกำลังการผลิตและการคาดการณ์ปริมาณความต้องการของลูกค้า (Demand forecasting and planning) จากปัญหาการบริหารสินค้าคงคลัง โดยที่พบมากของภาคธุรกิจก็คือ หน่วยของสินค้าคงคลังในแต่ละแผนกจัดเก็บข้อมูลไม่เหมือนกันเช่น ฝ่ายบัญชีมองสินค้าคงคลังเป็นเงิน (บาท) ฝ่ายคลังสินค้ามองสินค้าคงคลังเป็นหน่วย (ชิ้น กล่อง พาเลท น้ำหนัก หรือตารางเมตร) ซึ่งการจัดการสินค้าคงคลังเมื่อมองในระดับโซ่อุปทาน ผู้ประกอบการควรจัดการสินค้าคงคลังอยู่ในรูปของจำนวนวันหรือ Day of Sales (DOS) หรือ Month of Sales (MOS) เพื่อให้ทุกฝ่ายมาประชุมร่วมกัน และกำหนดระดับสินค้าคงคลังขององค์กรที่เหมาะสมต่อไป
(7) การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory management) การจัดการคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ ต้องจัดการพื้นที่จัดเก็บสินค้าในคลังให้เพียงพอต่อความต้องการด้านการผลิตและการขาย ต้องวางแผนจัดการโลจิสติกส์ให้สอดคล้องกับแผนการผลิตและแผนการจัดเก็บสินค้า มีขั้นตอนการปฏิบัติงานสำหรับการจัดการคลังสินค้า และมีการควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านโลจิสติกส์ และการเลือกสถานที่ตั้งคลังสินค้าที่เหมาะสมจะเป็นการสร้างความได้เปรียบด้านประสิทธิภาพการส่งมอบสินค้า และการจัดการต้นทุนโลจิสติกส์ในระยะยาว
(8) การบริหารการขนส่ง (Transportation) ต้องขนส่งสินค้าให้ถูกต้องครบถ้วนทันเวลาและดำเนินการด้านเอกสารตามที่ระบุในข้อกำหนดการขนส่งให้มีประสิทธิภาพ ควรมีการจัดการใช้รถขนส่งที่เหมาะสมกับสินค้าและปริมาณที่จะบรรทุก มีการวางแผนเส้นทางการขนส่งให้มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ หากมีการขนส่งเที่ยวกลับ (Back hauling) จะช่วยลดต้นทุนการขนส่ง และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานเชื้อเพลิงอีกด้วย
(9) กระบวนการโลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse logistics) โลจิสติกส์ย้อนกลับ เมื่อวัตถุดิบที่ถูกส่งมาจากซัพพลายเออร์ไม่ตรงตามคุณภาพที่กำหนด ผู้ประกอบการจะต้องมีกระบวนการจัดการที่เป็นมาตรฐาน กำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานให้ชัดเจน และมีการดำเนินการแก้ปัญหาร่วมกันในการรับเข้าวัตถุดิบจากซัพพลายเออร์ หากจำเป็นต้องส่งคืนวัตถุดิบให้ดำเนินงานตามขั้นตอนที่เป็นมาตรฐานที่ตกลงร่วมกับซัพพลายเออร์ ในกรณีพบสินค้าที่ส่งมอบให้ลูกค้ามีปัญหาและอาจเกิดความเสียหายต้องรีบดำเนินการเรียกคืนสินค้าตามมาตรฐานที่กำหนด
จาก 9 กิจกรรม เมื่อนำมาคิดแยกเป็น 3 มิติคือ ด้านต้นทุน ด้านเวลา และด้านความน่าเชื่อถือ โดยมองลึกเข้าไปในแต่ละกิจกรรมที่เกิดขึ้นในกระบวนการโลจิสติกส์ จะได้ตัวชี้วัดรวมจำนวน 27 ตัวชี้วัด จากนั้นดำเนินการตรวจสอบและติดตามผลในแต่ละกิจกรรม หากทุกอย่างบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ก็จะถูกกำหนดเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงาน เพื่อให้สถานประกอบการนั้นยึดถือเป็นแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพโลจิสติกส์อย่างเป็นระบบ แต่ถ้าไม่สำเร็จก็ต้องกลับไปสู่กระบวนการค้นหาและวิเคราะห์หาสาเหตุโดยใช้แผนภาพแสดงสาเหตุและผล (Fish Bone Diagram) เพิ่มเติม ทั้งหมดนี้ต้องการเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยมีตัวชี้วัดที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม
----------------------------------------
ดัชนีการชี้วัดปร
ดัชนีการชี้วัดปร
1 การวางแผนหรือการคาดการความต้องการของลูกค้า (Forecasting and Planning)
2 การให้บริการลูกค้าและกิจกรรมสนับสนุน (Customer Service and Supporting)
3 การสื่อสารด้านโลจิสติกส์และการจัดการคำสั่งซื้อ (Communication and Order Processing)
4 การจัดซื้อจัดหา (Purchasing and Procurement)
5 การขนถ่ายวัสดุและการบรรจุหีบห่อ (Materials Handling and Packaging)
6 การเลือกสถานที่ตั้งของโรงงานและการจัดการคลังสินค้า (Site Selection Facilities and Warehousing)
7 การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management)
8 การขนส่ง (Transportation)
9 โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics)
โดยแยกออกเป็น 3 มิติ คือ ด้านต้นทุน ด้านเวลา และด้านความน่าเชื่อถือ โดยมองลึกเข้าไปในแต่ละกิจกรรมที่เกิดขึ้นในกระบวนการโลจิสติกส์ รวมจำนวน 27 ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม จะทำให้ผู้ประกอบการทราบถึง ต้นทุนแฝงซึ่งไม่ได้ถูกจ่ายออกไปเป็นตัวเงินจริง แต่เป็นต้นทุนที่ทำให้เราเสียโอกาสทางการแข่งขันกับตลาด เวลาที่สูญเสียโดยไปในแต่ละกิจกรรม ซึ่งอาจจะมากกว่าเวลาที่ได้ประมาณการไว้ ทำให้สามารถตอบสนองความน่าเชื่อถือให้ลูกค้าเห็นเป็นรูปธรรม มีหลักเกณฑ์ในการวัดที่สามารถเห็นผลได้ และนำผลที่ได้ไปสู่การปรับปรุงที่ตรงจุด ชี้แจงและแสดงให้ผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการเองเห็นได้ถึงความไม่สมบูรณ์ของงาน อันจะนำไปสู่การบูรณาการและร่วมกันในการหาทางแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาองค์กรต่อไป
-------------------------------------------------
lpi ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index: LPI) รวมข้อมูล
-------------------------------------------------
ดัชนีชี้วัดด้านโลจิสติกส์อุตสาหกรรม (Logistics Performance Index : LPI) โดยสำนักโลจิสติกส์
ดัชนีชี้วัดด้านโลจิสติกส์อุตสาหกรรม
โรงงานอุตสาหกรรม จำเป็นต้องมีเครื่องมือในการชี้วัดประสิทธิภาพในการทำงาน ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับเป้าหมายที่วางไว้ ลดการทำงานที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการคาดการณ์ โดยในบทนี้จะให้ความสำคัญกับดัชนีวัดหลัก (Key Performances Indicator : KPI) ที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินกิจการรวมด้วยโลจิสติกส์
สาเหตุที่ต้องมีเครื่องมือในการชี้วัด เนื่องจาก
1. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทราบผลลัพธ์ที่หน่วยงานผู้ประเมินต้องการ
2. เพื่อให้ทุกตำแหน่งงานต่างมีดัชนีวัดการทำงานตามลักษณะงานของตนเอง ที่มีความชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้
3. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทราบเป้าหมาย และทำงานอย่างเต็มที่
ข้อดีของการประเมินผลโดยใช้ดัชนีชี้วัดหลัก
1. มีความชัดเจน ผู้ประเมินและผู้ถูกประเมินสามารถตรวจสอบผลได้ด้วยตนเองตลอดเวลา
2. ผู้ปฏิบัติงานมุ่งทำงานเพื่อให้ได้ผลงานตามเป้าหมาย
3. หลักเกณฑ์และดัชนีชี้วัดมีความชัดเจน และสามารถปฏิบัติได้จริง
4. ผู้ถูกประเมินทราบหลักเกณฑ์และดัชนีชี้วัดที่ได้กำหนดให้ทราบล่วงหน้า
5. สามารถนำเอามาตรฐานการทำงานมาใส่ไว้ในแบบประเมินผล
6. แต่ละปีสามารถปรับค่าประสิทธิภาพ (Efficiency) ที่ผลงานได้
7. ผู้ถูกประเมินจะยอมรับในความยุติธรรมสูง เมื่อมีส่วนร่วมในการสร้างดัชนีชี้วัด
8. การบริหารงานง่ายขึ้น เพราะทุกคนมุ่งทำงานให้ได้ผลงานตามเป้าหมาย
9. ผลงานรวมของหน่วยงานสูงขึ้นเพราะทุกคนมุ่งสร้างผลงานให้เกิดประสิทธิภาพ
ข้อเสียของการใช้ดัชนีชี้วัดหลัก คือ
มีแบบประเมินผลมาก เพราะแต่ละลักษณะงานจะมีแบบประเมินผลต่างกัน
ต้องวางระบบจัดเก็บข้อมูล บันทึกผลการปฏิบัติงาน เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานในการประเมินผล
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ โดยสำนักโลจิสติกส์ ได้จัดทำดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index : LPI) ของสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม ตามกิจกรรมโลจิสติกส์ 9 กิจกรรม ใน 3 มิติ ที่สำคัญ ประกอบด้วย มิติด้านต้นทุน มิติด้านระยะเวลา และมิติด้านความน่าเชื่อถือ รวมจำนวนทั้งสิ้น 27 ตัวชี้วัด การจัดทำตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์เป็นเครื่องมือของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม มีเกณฑ์เปรียบเทียบประเมินในการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการปรกอบการของตนเอง เพื่อตอบสนอกความต้องการของลูกค้า (Customer Service) และลดต้นทุนรวมด้านโลจิสติกส์ (Total Logistics Costs) ต่อไป
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward