iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
10 อันดับในการจัดการโซ่อุปทานในประเภทต่าง ๆ
การบริหารจัดการชัพพลายเชนด
-----------------------------------------------
Purchase Portfolio Matrix
Purchase Portfolio Matrix เป็นเครื่องมือที่ได้รับความสนใจอย่างมากในการวางแผนกลยุทธ์ในด้านต่างๆ เริ่มแรกประมาณ ปี 1950 Portfolio Model ถูกใช้ในการวิเคราะห์ในด้านการเงินการลงทุน โดยการสร้างความสมดุลระหว่าง ผลตอบแทนที่จะได้รับกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ต่อมาในปี 1970–1980 Portfolio Model ได้ถูกพัฒนาไปใช้กับการบริหารงานและการวางแผนกลยุทธ์ด้านต่างๆ อย่างมากมาย แนวคิดพื้นฐานของ Portfolio Model คือ การวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อน โดยการแบ่งกลุ่มวัตถุหรือเป้าหมายที่ต้องการศึกษาโดยมองใน 2 มิติ และกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารจัดการในแต่ละกลุ่มวัตถุหรือเป้าหมายนั้น
Purchase Portfolio Matrix ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการในด้านการตลาดและการจัดซื้ออย่างแพร่หลาย ในปี 1983 Kraljic ได้พัฒนา Purchase Portfolio Matrix ในการบริหารความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อและผู้ส่งมอบ โดยการแบ่งกลุ่มผู้ส่งมอบบนพื้นฐานของอำนาจในการซื้อ ได้พัฒนา Portfolio Model ในการจัดกลุ่มสินค้าและนำเสนอแนวทางในการบริหารจัดการความสัมพันธ์ของผู้ส่งมอบ โดยมีพื้นฐานจากอำนาจในการจัดซื้อของผู้ซื้อ ซึ่ง Kraljic พัฒนา Portfolio Model โดยมองใน 2 มิติ ได้แก่
- มิติด้านผลกระทบต่อผลกำไร (Profit Impact)
- มิติด้านความเสี่ยงในการจัดหา (Supply Risk)
Purchase Portfolio Matrix ถูกจัดทำขึ้นโดยมีพื้นฐานความคิดในการเพิ่มอำนาจจัดซื้อให้แก่ผู้ซื้อ วิธีการนี้อยู่ภายใต้สันนิษฐานว่า ปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ซื้อผู้ขายคือ ความเข้มแข็งของบริษัทผู้ซื้อ จำนวนผู้ส่งมอบที่มีความสามารถ และความต้องการในการขาย จากแนวคิดดังกล่าว สามารถแบ่งกลุ่มวัตถุดิบออกได้เป็น 4 กลุ่มคือ
- Non-Critical
- Leverage
- Bottleneck
- Strategic
ดังนั้นหากพิจารณาแล้วว่าวัตถุดิบบางรายการของบริษัทอยู่ในกลุ่ม Strategic Items หมายถึงว่า บริษัทผู้ซื้อมีความเข้มแข็งมีอำนาจในการต่อรองสูง แต่ในขณะเดียวกันจำนวนผู้ส่งมอบที่สามารถจัดส่งได้มีน้อยราย การบริหารการจัดซื้อควรจะต้องใช้จุดแข็งของบริษัท ในการชักนำผู้ส่งมอบเข้ามามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ส่งมอบได้มั่นใจถึงการส่งมอบวัตถุดิบในระยะยาว เรียกว่า ร่วมหัวจมท้ายกันก็ว่าได้
sc กระบวนการจัดซื้อ
นโยบายการจัดซื้อจัดหาขององค์กรทางธุรกิจ
การกำหนดการจัดซื้อขององค์กรขึ้นอยู่กับลักษณะการดำเนินงานและประเภทของธุรกิจ เช่น นโยบายการจัดซื้อของภาครัฐซึ่งมีคู่มือการจัดซื้อของทางราชการที่เรียกว่า ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ จะมีแนวนโยบายการจัดซื้อที่แตกต่างจากนโยบายการจัดซื้อของภาคธุรกิจ เอกชน กล่าวคือ ภาครัฐจะมีแนวความคิดเกี่ยวกับนโยบายการจัดซื้อโดยมีจุดมุ่งหมายที่เน้นการควบคุม ป้องกันการทุจริตเป็นหลักสำคัญ ดังนั้น จึงมีกฎระเบียบที่มากมายและเข้มงวด สำหรับการจัดซื้อโดยภาคธุรกิจเอกชนมีจุดมุ่งหมายสำคัญเน้นที่ประสิทธิภาพ ความสะดวกรวดเร็ว ประหยัด และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้
กระบวนการจัดซื้อ การวิเคราะห์บทบาทของฝ่ายจัดซื้อกระทำได้ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่ใช้ในงานการจัดซื้อ และการวิเคราะห์ในเชิงปริมาณของกิจกรรมหรือลักษณะงานของฝ่ายจัดซื้อ สำหรับกิจกรรมของกระบวนการจัดซื้อจำแนกออกได้ ดังนี้
1) การรับรู้ความต้องการของหน่วยงาน (Recognition of Need) กิจกรรมประการแรกของกระบวนการจัดซื้อ คือ ต้องทราบถึงความต้องการจากหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายผลิต ฝ่ายสำนักงาน หรือฝ่ายวิศวกรรมซ่อมบำรุง เพื่อที่จะจัดหาวัสดุหรือสินค้าคงคลังสำรองไว้ใช้งาน อาจเป็นการจัดหาจากภายในองค์กร เช่น จากฝ่ายอื่นที่อยู่ภายใน และจากภายนอก การนำวัสดุออกจากคลังจำเป็นต้องมีการจัดหามาแทนที่ของที่หมดไป (Replenishment) ดังนั้น ฝ่ายจัดซื้อจึงมีส่วนร่วมในการรับรู้ความต้องการของหน่วยงานในแต่ละระดับ
2) การจัดทำข้อกำหนดความต้องการ (Description of Need) เมื่อฝ่ายจัดซื้อได้รับทราบความต้อการจากหน่วยงานแล้ว ก็จะต้องมีบทบาทสำคัญในการจัดทำข้อกำหนดความต้องการเหล่านั้นให้มีความชัดเจนและเป็นที่เข้าใจตรงกันกับผู้ใช้หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในองค์กร ดังนั้น บุคลากรฝ่ายจัดซื้อซึ่งจะต้องมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับรายละเอียดของชนิดและประเภทของวัตถุดิบหรือสินค้าที่ต้องการ เพื่อลดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอันอาจเกิดผลเสียต่อการดำเนินงานขององค์กร
รูปผังการไหลของงานในขั้นตอนการจัดซื้อจัดหา
3) การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสินค้า (Determination Specifications) การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสินค้าเพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามข้อกำหนดความต้องการของหน่วยงาน เป็นลักษณะของการแจกแจงรายละเอียดปลีกย่อยของสินค้าหรือวัตถุดิบที่ต้องการในประเด็นสำคัญ ได้แก่ คุณสมบัติ ราคา ปริมาณ คุณภาพ แหล่งซื้อ และองค์ประกอบที่เป็นรายละเอียดสำหรับผู้ขายหรือผู้จำหน่ายวัตถุดิบใช้สำหรับการพิจารณาและจัดหาตามที่ต้องการ
4) การเลือกแหล่งขายหรือจำหน่ายวัตถุดิบ (Selection of Source) ในการคัดเลือกแหล่งขายหรือจำหน่ายวัตถุดิบสามารถกระทำได้ในหลายลักษณะ เช่น การประกาศให้มีการยื่นซองประมูลประกวดราคาจัดซื้อ การคัดเลือกจากบัญชีรายชื่อที่ได้มีการจัดทำไว้ล่วงหน้า การติดต่อกับผู้ขายรายเดิม การแสวงหาผู้ขายเป็นการเฉพาะโดยฝ่ายจัดซื้อ ซึ่งแต่ละวิธีดังกล่าวฝ่ายจัดซื้อจะทำการคัดเลือกให้เหลือเพียงไม่กี่รายซึ่งผ่านขั้นตอนของกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข คุณสมบัติตามที่องค์กรกำหนดอย่างครบถ้วน หลังจากนั้นก็จะทำการเจรจาต่อรอง สำรวจตรวจสอบแหล่งขายหรือจำหน่ายวัตถุดิบในลักษณะการเยี่ยมชมสถานประกอบการ เพื่อให้ได้ผู้ที่เหมาะสมสำหรับการพิจารณาตัดสินใจต่อไป
5) การพิจาณาข้อเสนอเกี่ยวกับราคา (Pricing) เมื่อได้ทำการคัดเลือกผู้ขายหรือตัวแทนจำหน่ายวัตถุดิบที่มีคุณสมบัติเหมาะสมตามที่ต้องการแล้ว ฝ่ายจัดซื้อก็จะทำการพิจารณาข้อเสนอเกี่ยวกับราคาและรายละเอียดตามที่ได้มีการเสนอ ในการนี้อาจกระทำได้ในหลายลักษณะ เช่น การสำรวจราคาตามที่ระบุไว้ในเอกสารเผยแพร่หรือคู่มือรายการสินค้า (Catalog) การเจรจาต่อรองระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเพื่อให้ได้ราคาที่เป็นธรรมรวมทั้งเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยประโยชน์ต่อการจัดซื้อ เช่น หลักเกณฑ์การส่งมอบสินค้า สภาวการณ์ความเคลื่อนไหว ด้านราคาในตลาด ความยืดหยุ่นในการปรับราคาตามความเหมาะสม และวิธีการแจ้งใบเสนอราคา (Quotation) ที่กำหนดเป็นราคามาตรฐานโดยมีแบบฟอร์มมาตรฐาน โดยทั่วไปจะต้องกระทำอย่างเปิดเผยเป็นที่ทราบทั่วกัน ผู้ที่ชนะการประกวดราคาคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและเสนอในราคาต่ำที่สุด ในบางกรณีอาจมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขบางประการเพื่อให้ผู้ซื้อได้รับประโยชน์มากที่สุด
6) การออกใบสั่งซื้อ (Ordering) เป็นขั้นตอนที่ผู้ซื้อได้ตกลงเลือกผู้ชายหรือผู้แทนจำหน่ายวัตถุดิบหรือสินค้าเรียบร้อยแล้ว และจะทำการออกใบสั่งซื้อ โดยในใบสั่งซื้อจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับราคา จำนวน วิธีการส่งมอบ วิธีการขนส่ง ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ โดยผ่านการอนุมัติจากผู้มีอำนาจหน้าที่ โดยมีการจัดทำสำเนาใบสั่งซื้อให้กับหน่วยงานที่อยู่ในกระบวนการจัดซื้อ เช่น ฝ่ายบัญชี ฝ่ายวัสดุคงคลัง ฝ่ายจัดซื้อ และผู้ขายหรือผู้แทนจำหน่าย หลังจากนั้นก็จะต้องมีการตรวจสอบและติดตามความคืบหน้าในการสั่งซื้อ การดำเนินการตามตารางการจัดส่งมอบ
7) การรับสินค้าและการชำระเงิน (Receivable and Paying)
นับเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการจัดซื้อ โดยผู้ขายหรือผู้แทนจำหน่ายจะทำการจัดส่งวัตถุดิบมาให้แก่ผู้ซื้อโดยมีใบส่งของ (Invoice) กำกับมาพร้อมกับสินค้าและจะเรียกให้มีการชำระเงินตามที่ระบุไว้ในใบกำกับสินค้า ฝ่ายวัสดุคงคลังก็จะทำการตรวจสอบคุณสมบัติของวัตถุดิบหรือสินค้าว่าเป็นไปตามข้อกำหนดคุณลักษณะเฉพาะหรือไม่ พร้อมกับขออนุมัติจ่ายเงินให้กับผู้ขายเมื่อได้มีการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ซึ่งฝ่ายการเงินของผู้ซื้อจะต้องทำการตรวจสอบความถูกต้องและรายละเอียดทางด้านการเงินเพื่อการอนุมัติต่อไป
--------------------------------------------------------
กลยุทธ์ในการจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management Strategic) จากแนวคิดที่่ว่า การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics management) เป็นการไหลของวัสดุและสินค้าที่เป็นเชิงกายภาพ ซึ่งไหลจากฝั่งต้นน้ำหรือซัพพลายเออร์ในการผลิตไปยังฝั่งปลายน้ำหรือลูกค้า ซึ่งจะมีความแตกต่างกับ การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ซึ่งจะเน้นในการไหลของสารสนเทศซึ่งเป็นข้อมูลที่มักจะเป็นการไหลย้อนกลับ โดยหลังจากที่มีการรับสินค้าจากลูกค้าในแต่ละช่วง เพื่อทำให้เกิดความรวดเร็วในการดำเนินงาน ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างโลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานในส่วนซัพพลายเออร์ จะพบว่าดำเนินงานของทุกกิจกรรมต้องประสานงานอย่างสอดคล้อง โดยโลจิสติกส์แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การจัดการเพื่อสนับสนุนการจัดการวัสดุ (MaterialManagement) และสนับสนุนการตลาดและการกระจายสินค้า (DistributionManagement) การไหลของวัตถุดิบผ่านการผลิตจนถึงการกระจายสินค้าสำเร็จรูปผ่านไปยังผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว จะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อเมื่อมีการนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ มาประยุกต์ใช้ในทุกกิจกรรมทั้งภายในองค์กรและเชื่อมต่อกับบริษัทภายนอกเพื่อสร้างความถูกต้องและรวดเร็ว เรียกว่า การจัดการโซ่อุปทาน ซึ่งก่อนที่จะใช้การจัดการโซ่อุปทานได้ ควรต้องปรับปรุง กลยุทธ์ในการจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management Strategic) เพื่อจัดการระบบโลจิสติกส์ในของแต่ละบริษัทที่เกี่ยวข้องในตลอดโซ่อุปทาน ให้มีประสิทธิภาพก่อนจึงจะทำให้ผลการดำเนินงานตลอดโซ่อุปทานมีประสิทธิผล
1. การใช้กลยุทธ์โซ่อุปทานหลายราย (Many suppliers) เป็นการซื้อวัตถุดิบหรืออุปกรณ์การผลิตจากผู้ขายหลายราย ด้วยกลยุทธ์นี้ซัพพลายเออร์การผลิตจะตอบสนองความต้องการและลักษณะเฉพาะของบริษัท โดยจะทำใบแจ้งราคาและเงื่อนไขที่จะขายสินค้า โดยปกติผู้ซื้อจะทำการสั่งซื้อสินค้ากับผู้ให้ราคาที่ต่ำกว่า กลยุทธ์นี้จะใช้วิธีให้ซัพพลายเออร์การผลิตต้องแข่งขันเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ซื้อ เป็นกลยุทธ์การแข่งขันเชิงรุกของซัพพลายเออร์การผลิต
2. กลยุทธ์การใช้ซัพพลายเออร์การผลิตน้อยราย (Few suppliers) เป็นการติดต่อซื้อปัจจัยการผลิตกับผู้ขายจำนวนน้อยราย กลยุทธ์นี้เป็นการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวกับซัพพลายเออร์การผลิตเพียง 2-3 ราย การใช้ซัพพลายเออร์การผลิตจำนวนน้อยรายนี้จะสามารถสร้างคุณค่าได้ โดยยอมให้ซัพพลายเออร์การผลิตมีการผลิตที่ประหยัด (Economies of scale) คือ การบริหารต้นทุนแปรผันโดยตรงที่สัมพันธ์กับการเพิ่มปริมาณของผลผลิตจากการ
3. การบูรณาการในแนวดิ่ง (Vertical integration) เป็นการพัฒนาความสามารถที่จะผลิตสินค้าหรือบริการ เช่น ปัจจัยการผลิตหรือการจัดจำหน่าย เป็นกลยุทธ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการผลิตปัจจัยนำเข้า (Input) สู่กระบวนการผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปและจำหน่ายสู่ตลาด
4. เครือข่ายไคเร็ตสุ (Keiretsu networks) เป็นภาษาญี่ปุ่นใช้เพื่อบรรยายถึงซัพพลายเออร์การผลิตซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมมือของบริษัท หรือเป็นแนวคิดในการประกอบธุรกิจ ซึ่งเป็นการรวมตัวทางธุรกิจในลักษณะ 3 ประการต่อไปนี้
- การรวมตัวกันในแนวนอน (Horizontal Keiretsu) เป็นการรวมกลุ่มของบริษัทต่างๆ เพื่อรวมตัวกันดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมที่ใกล้เคียงกัน เช่น กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์
- การรวมตัวกันในแนวดิ่ง (Vertical Keiretsu) คือการที่กลุ่มธุรกิจนั้นๆ ดำเนินกิจการอุตสาหกรรมแล้วได้จัดตั้งบริษัทในเครือข่ายขึ้นเพื่อผลิตชิ้นส่วน (Spare part) ป้อนให้กลับโรงงานที่ผลิตสินค้าสำเร็จรูปที่เป็นบริษัทแม่ เช่นบริษัทผลิตรถยนต์ จะจัดตั้งบริษัทในเครือผลิตชิ้นส่วนของรถยนต์มาป้อน
- การรวมตัวในด้านการจัดการขนย้ายสินค้าเพื่อการจัดจำหน่าย (Distribution Keiretsu) เป็นการวมตัวของกลุ่มบริษัทผู้ผลิตทั้งในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกันหรือต่างประเทศในการจัดจำหน่ายและขายปลีกสินค้าตามช่องทางการกระจายสินค้าเดียวกันและขนส่งร่วมกัน ผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมใหญ่ๆ จำนวนมากของญี่ปุ่นจะใช้วิธีที่อยู่ตรงกลางระหว่างการซื้อกับซัพพลายเออร์การผลิต 2-3 ราย กับการรวมตัวในแนวดิ่ง ผู้ผลิตเหล่านี้มักเป็นผู้สนับสนุนด้านการเงินให้กับซัพพลายเออร์การผลิตด้วยตนเอง หรือให้ซัพพลายเออร์การผลิตกลายมาเป็นผู้ให้ความร่วมมือ มีความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการที่เรียกว่า ไคเร็ตสุ (Keiretsu) สมาชิกของไคเร็ตสุ (Keiretsu) จะรับประกันความสัมพันธ์ในระยะยาว และได้รับการคาดหวังที่จะทำหน้าที่เป็นหุ้นส่วน มีการจัดหาเทคโนโลยีที่เชี่ยวชาญ และรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์สู่ผลิตภัณฑ์ สมาชิกของไคเร็ตสุ (Keiretsu) สามารถปฏิบัติการเป็นผุ้ขายปัจจัยการผลิตโดยสร้างเครือข่ายที่ต่ำลงไป โดยร่วมมือกับซัพพลายเออร์การผลิตที่ 2 หรือ 3 ต่อไปด้วย
5. บริษัทเสมือนจริง (Virtual companies) เป็นบริษัทที่ดำเนินการผ่านอินเตอร์เน็ต ในรูปของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace) ซึ่งขึ้นอยู่กับซัพพลายเออร์การผลิตหลายราย ซึ่งสร้างความสัมพันธ์ด้วยการจัดหาสินค้า หรือบริการตามความต้องการของลูกค้า หรือบริษัทอื่น ซึ่งอาจรู้จักกันดีในลักษณะบริษัทเครือข่าย (Network companies) การมีลักษณะธุรกิจแบบนี้เพื่อขจัดปัญหาจากข้อจำกัดของการบูรณาการในแนวดิ่ง การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องตามความเชี่ยวชาญโดยอาจต้องมีการบูรณาการในแนวดิ่ง ซึ่งทำให้เกิดความซับซ้อนมากขึ้น บริษัทจะมีแผนกหรือฝ่ายในการผลิตสิ่งต่างๆ ของตนเองมากขึ้น และอาจมีสายการบังคับบัญชามากเกินไป ดังนั้นการบูรณาการในแนวดิ่งอาจทำให้องค์กรเข้าสู่ธุรกิจยุ่งยากหรือไม่สามารถจัดการได้ดี เพื่อแก้ปัญหาอาจทำได้โดยการหาซัพพลายเออร์การผลิตที่ดีพร้อมทั้งมีความยืดหยุ่นในทางธุรกิจ
1) การใช้กลยุทธ์โซ่อุปทานหลายราย (Many suppliers) เป็นการซื้อวัตถุดิบหรืออุปกรณ์การผลิตจากผู้ขายหลายราย ด้วยกลยุทธ์นี้ ซัพพลายเออร์การผลิตจะตอบสนองความต้องการและลักษณะเฉพาะของบริษัท โดยจะทำใบแจ้งราคาและเงื่อนไขที่จะขายสินค้า โดยปกติผู้ซื้อจะทำการสั่งซื้อสินค้ากับผู้ให้ราคาที่ต่ำกว่า กลยุทธ์นี้จะใช้วิธีให้ ซัพพลายเออร์การผลิตต้องแข่งขันเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของ
ผู้ซื้อ เป็นกลยุทธ์การแข่งขันเชิงรุกของซัพพลายเออร์การผลิต
2) กลยุทธ์การใช้ซัพพลายเออร์การผลิตน้อยราย (Few suppliers) เป็นการติดต่อซื้อปัจจัยการผลิตกับผู้ขายจำนวนน้อยราย กลยุทธ์นี้เป็นการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวกับซัพพลายเออร์การผลิตเพียง 2-3 ราย การใช้ซัพพลายเออร์การผลิตจำนวนน้อยรายนี้จะสามารถสร้างคุณค่าได้ โดยยอมให้ซัพพลายเออร์การผลิตมีการผลิตที่ประหยัด (Economies of scale) คือ การบริหารต้นทุนแปรผันโดยตรงที่สัมพันธ์กับการเพิ่มปริมาณของผลผลิตจากการ
3) การบูรณาการในแนวดิ่ง (Vertical integration) เป็นการพัฒนาความสามารถที่จะผลิตสินค้าหรือบริการ เช่น ปัจจัยการผลิตหรือการจัดจำหน่าย เป็นกลยุทธ์ซึ่งเกี่ยวข้องกับการผลิตปัจจัยนำเข้า (Input) สู่กระบวนการผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปและจำหน่ายสู่ตลาด
4) เครือข่ายไคเร็ตสุ (Keiretsu networks) เป็นภาษาญี่ปุ่นใช้เพื่อบรรยายถึงซัพพลายเออร์การผลิตซึ่งกลายเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมมือของบริษัท หรือเป็นแนวคิดในการประกอบธุรกิจ ซึ่งเป็นการรวมตัวทางธุรกิจในลักษณะ 3 ประการต่อไปนี้
4.1) การรวมตัวกันในแนวนอน (Horizontal Keiretsu) เป็นการรวมกลุ่มของบริษัทต่างๆ เพื่อรวมตัวกันดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมที่ใกล้เคียงกัน เช่น กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์
4.2) การรวมตัวกันในแนวดิ่ง (Vertical Keiretsu) คือการที่กลุ่มธุรกิจนั้นๆ ดำเนินกิจการอุตสาหกรรมแล้วได้จัดตั้งบริษัทในเครือข่ายขึ้นเพื่อผลิตชิ้นส่วน (Spare part) ป้อนให้กลับโรงงานที่ผลิตสินค้าสำเร็จรูปที่เป็นบริษัทแม่ เช่นบริษัทผลิตรถยนต์ จะจัดตั้งบริษัทในเครือผลิตชิ้นส่วนของรถยนต์มาป้อน
4.3) การรวมตัวในด้านการจัดการขนย้ายสินค้าเพื่อการจัดจำหน่าย (Distribution Keiretsu) เป็นการวมตัวของกลุ่มบริษัทผู้ผลิตทั้งในอุตสาหกรรมประเภทเดียวกันหรือต่างประเทศ ในการจัดจำหน่ายและขายปลีกสินค้าตามช่องทางการกระจายสินค้าเดียวกันและขนส่งร่วมกัน ผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรมใหญ่ๆ จำนวนมากของญี่ปุ่นจะใช้วิธีที่อยู่ตรงกลางระหว่างการซื้อกับซัพพลายเออร์การผลิต 2-3 ราย กับการรวมตัวในแนวดิ่ง ผู้ผลิตเหล่านี้มักเป็นผู้สนับสนุนด้านการเงินให้กับซัพพลายเออร์การผลิตด้วยตนเอง หรือให้ซัพพลายเออร์การผลิตกลายมาเป็นผู้ให้ความร่วมมือ มีความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการที่เรียกว่า ไคเร็ตสุ (Keiretsu) สมาชิกของไคเร็ตสุ (Keiretsu) จะรับประกันความสัมพันธ์ในระยะยาว และได้รับการคาดหวังที่จะทำหน้าที่เป็นหุ้นส่วน มีการจัดหาเทคโนโลยีที่เชี่ยวชาญ และรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์สู่ผลิตภัณฑ์ สมาชิกของไคเร็ตสุ (Keiretsu) สามารถปฏิบัติการเป็นผุ้ขายปัจจัยการผลิตโดยสร้างเครือข่ายที่ต่ำลงไป โดยร่วมมือกับซัพพลายเออร์การผลิตที่ 2 หรือ 3 ต่อไปด้วย
5) บริษัทเสมือนจริง (Virtual companies) เป็นบริษัทที่ดำเนินการผ่านอินเตอร์เน็ต ในรูปของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace) ซึ่งขึ้นอยู่กับซัพพลายเออร์การผลิตหลายราย ซึ่งสร้างความสัมพันธ์ด้วยการจัดหาสินค้า หรือบริการตามความต้องการของลูกค้า หรือบริษัทอื่น ซึ่งอาจรู้จักกันดีในลักษณะบริษัทเครือข่าย (Network companies) การมีลักษณะธุรกิจแบบนี้เพื่อขจัดปัญหาจากข้อจำกัดของการบูรณาการในแนวดิ่ง การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องตามความเชี่ยวชาญโดยอาจต้องมีการบูรณาการในแนวดิ่ง ซึ่งทำให้เกิดความซับซ้อนมากขึ้น บริษัทจะมีแผนกหรือฝ่ายในการผลิตสิ่งต่างๆ ของตนเองมากขึ้น และอาจมีสายการบังคับบัญชามากเกินไป ดังนั้นการบูรณาการในแนวดิ่งอาจทำให้องค์กรเข้าสู่ธุรกิจยุ่งยากหรือไม่สามารถจัดการได้ดี เพื่อแก้ปัญหาอาจทำได้โดยการหาซัพพลายเออร์การผลิตที่ดีพร้อมทั้งมีความยืดหยุ่นในทางธุรกิจ
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward