iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
สินค้าคงคลัง (Inventory) หมายถึง ปริมาณสินค้าหรือบริหารที่ธุรกิจมีสำรองไว้เพื่อการใช้งาน เพื่อการบริหาร เพื่อการผลิต เพื่อการจัดจำหน่ายในอนาคต เช่น อุปกรณ์สำนักงาน ชิ้นส่วนอะไหล่ วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น (ก่อเกียรติ วิริยะกิจพัฒนา และมาลัย ม่วงเทศ .2551 : 61)
สินค้าคงคลัง (Inventory) คือวัตถุที่มีการจัดเก็บในองค์กร จัดเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนรายการหนึ่ง ทุกธุรกิจจะต้องมีไว้ เพื่อให้การผลิตการขายหรือการให้บริการ สามารถดำเนินไปได้อย่างราบรื่น แต่การมีสินค้าคงคลังมากไปก็เป็นปัญหากับธุรกิจ เพราะสินค้าคงคลังถือเป้นค่าใช้จ่าย ทั้งในเรื่องต้นทุนการเก็บรักษาที่สูง สินค้าเสื่อมสภาพ หมดอายุล้าสมัย ถูกขโมย หรือสูญหาย นอกจากนี้ยังทำให้สูญเสียโอกาสในการนำเงินที่จมอยู่กับสินค้าคงคลังนี้ไปหาประโยชน์ในด้านอื่นๆ
การจัดการสินค้าคงคลัง มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการคือ
- ทำให้มีสินค้าคงคลังไว้บริการลูกค้าในปริมาณที่เพียงพอและทันต่อการความต้องการของลูกค้าเสมอ เพื่อสร้างยอดขายและรักษาระดับของส่วนแบ่งตลาดไว้
- ทำให้ลดระดับทุนในสินค้าคงคลังลงต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง
- ตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ประมาณการไว้ในแต่ละช่วงเวลาทั้งในและนอกฤดูกาล
- รักษาการผลิตให้มีอัตราคงที่สม่ำเสมอ เพื่อรักษาระดับการว่าจ้างแรงงาน การเดินเครื่องจักร ฯลฯ ให้ดำเนินการผลิตได้สม่ำเสมอ โดยจะเก็บวัสดุหรือสินค้าที่ขายไม่หมดในช่วงขายไม่ดี ไว้รอขายตอนช่วงขายดีซึ่งช่วงนั้นอาจจะผลิตไม่ทันขาย
- ทำให้ธุรกิจได้ส่วนลดปริมาณจากการจัดซื้อจำนวนมากต่อครั้ง ป้องกันการเปลี่ยนแปลงราคาแลผลกระทบจากเงินเฟ้อเมื่อวัสดุหรือสินค้าในท้องตลาดมีราคาสูงขึ้น
- ทำให้ป้องกันปัญหาของวัสดุหรือสินค้าขาดมือ เมื่อเวลารอคอยล่าช้าหรือบังเอิญได้คำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นกะทันหัน
- ทำให้กระบวนการผลิตสามารถดำเนินการต่อเนื่องอย่างราบรื่น ไม่มีการหยุดชะงักเพราะของขาดมือจนเกิดความเสียหายแก่กระบวนการผลิต
สินค้าคงคลัง จัดเป็นสินทรัพย์ประเภทหมุนเวียนของกิจการ ที่มีไว้เพื่อขายในการประกอบธุรกิจตามปกติ และมีไว้เพื่อใช้ในการผลิตสินค้าหรือบริการเพื่อขายต่อไปประกอบด้วย
1. วัตถุดิบวัสดุที่ใช้ในการผลิต (Raw Materials) เป็นสิ่งของที่กิจการซื้อมาเพื่อป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตสำหรับผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป
2. งานระหว่างทำหรือสินค้าระหว่างผลิต (Work In Progress) เป็นวัตถุดิบและชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการผลิต
3. ชิ้นส่วนอะไหล่ (Components) เป็นชิ้นส่วนที่กิจการซื้อมาหรือผลิตขึ้นเพื่อนำไปผลิตต่อเป็นสินค้าสำเร็จรูปต่อไปหรือเป็นชิ้นส่วนประกอบที่เป็นส่วนหนึ่งของสินค้าสำเร็จรูป
4. เศษวัสดุ (Supplies & Scraps) อาจเป็นวัสดุที่กิจการมีไว้ใช้ในการดำเนินการผลิต หรือสิ่งของที่เสียหายต้องรอการกำจัด
5. สินค้าสำเร็จรูป (Finnish Goods) เป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเสร็จแล้วพร้อมจะจำหน่ายแก่ลูกค้าต่อไป แต่ในบางธุรกิจอาจจะแบ่งประเภทของสินค้าคงคลัง (Type of inventory)
การเก็บสินค้าคงคลัง ควรมีไว้ในระดับที่เหมาะสม หากกิจการเก็บไว้มากเกินความจำเป็นก็จะทำให้เกิดการสูญเสียในรูปดอกเบี้ย (Interest) ค่าเก็บรักษา (Inventory Carrying costs) ค่าเสื่อม (Depreciate) และค่าดูแล และหากมีสินค้าคงคลังน้อยไปไม่พอกับความต้องการ ก็จะเกิดความเสียหายขึ้นโดยการผลิตอาจจะหยุดชะงักลง ลูกค้าขาดความน่าเชื่อถือขาดโอกาสขายที่หายไป
บทบาทของสินค้าคงคลังในซัพพลายเชน มีวัตถุประสงค์ในการสร้างความสมดุลในซัพพลายเชน โดยควรมีระดับสินค้าคงคลังต่ำสุดที่จะไม่กระทบต่อระดับการให้บริการขององค์กร ปัจจัยนำเข้าของกระบวนการผลิตที่มีความสำคัญ สินค้าคงคลังมีความสำคัญต่อกิจกรรมหลักของธุรกิจเป็นอย่างมาก การบริหารสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพจึงส่งผลกระทบต่อผลกำไรจากการประกอบการโดยตรงและในปัจจุบันนี้มีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาจัดการข้อมูลของสินค้าคงคลัง เพื่อให้เกิดความถูกต้อง แม่นยำ และทันเวลามากยิ่งขึ้น การจัดซื้อสินค้าคงคลังมาในคุณสมบัติที่ตรงตามความต้องการ ปริมาณเพียงพอ ราคาเหมาะสม ทันเวลาที่ต้องการโดยซื้อจากผู้ขายที่ไว้วางใจได้ และนำส่งยังสถานที่ที่ถูกต้องตามหลักการจัดซื้อที่ดีที่สุด เป็นจุดเริ่มต้นของการบริหารสินค้าคงคลัง
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------
ประเภทสินค้าคงคลัง (Type of inventory) มีการแบ่งออกได้หลายแบบอาจพบมีการแบ่งตามสภาพของวัสดุจนไปเป็นสินค้าแบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. วัตถุดิบ (Raw Materials) เป็นสิ่งของที่กิจการซื้อมาเพื่อป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตสำหรับผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป
2. ชิ้นส่วน (Assembly) เป็นชิ้นส่วนที่กิจการซื้อมาหรือผลิตขึ้นเพื่อนำไปผลิตต่อเป็นสินค้าสำเร็จรูปต่อไปหรือเป็นชิ้นส่วนประกอบที่เป็นส่วนหนึ่งของสินค้าสำเร็จรูป
3. วัสดุสิ้นเปลือง (Supplies) เป็นวัสดุที่กิจการมีไว้ใช้ในการดำเนินการผลิตที่ได้เป็นส่วนสำคัญของสินค้าสำเร็จรูปต่อไป เช่น ด้าย กระดุม กระดาษ ปากกา เป็นต้น
4. สินค้าระหว่างการผลิต (Work in Process) เป็นวัตถุดิบและชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการผลิตต่าง ๆ
5. สินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) เป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเสร็จแล้วพร้อมจะจำหน่ายแก่ลูกค้าต่อไป
หรือในบางธุรกิจอาจแบ่งประเภทของสินค้าคงคลังออกไปตามลักษณะของวัสดุที่จะนำมาใช้ ได้แก่
- สินค้าคงคลังประเภทเบ็ดเตล็ด (odds and ends) หมายถึงวัตถุดิบประเภทช่วยเหลือให้การผลิตดำเนินไปได้เช่นอุปกรณ์สำนักงานน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นต้นชิ้นส่วนในกลุ่มนี้จะไม่ได้พบหรือนำมาเป็นส่วนประกอบในสินค้าเมื่อทำสำเร็จรูป
- สินค้าคงคลังประเภทวัตถุดิบและอะไหล่ (Raw material or Spare parts) หมายถึงชิ้นส่วนหรือส่วนประกอบที่เป็นส่วนหนึ่งของสินค้าสำเร็จรูปเช่นน๊อตหัวเทียนในรถ เหล็กจะนำมาผลิตเป็นตัวถังรถยนต์หินปูนที่นำมาใช้ผลิตปูนซีเมนต์เป็นต้น
- สินค้าคงคลังประเภทกึ่งสำเร็จรูป(Work in process inventory: WIP) หมายถึงวัสดุที่ผ่านจากวัตถุดิบมาแล้วแต่ยังไม่เป็นสินค้าสำเร็จรูป จำนำไปใช้ประกอบในสินค้าอีกทีเช่นเครื่องเคลือบดินเผาที่ผ่านการเผามาครั้งหนึ่งแล้วยังต้องนำมาเขียนสีก่อน จะต้องเก็บในกระบวนการผลิต แล้วจึงนำไปเผา เคลือบเป็นสินค้าสำเร็จรูป ปูนอัดเม็ด เป็นต้น
- สินค้าคงคลังประเภทสำเร็จรูปสินค้าสำเร็จรูป (Ready made or Finished products) หมายถึงสินค้าที่สมบูรณ์เรียบร้อยแล้วนำไปเก็บในคลังสินค้าเพื่อรอจำหน่ายกลายเป็นสินค้าประเภทสำเร็จรูปรถยนต์มาม่าผงชูรสเป็นต้น
หรือในบางธุรกิจอาจแบ่งประเภทของสินค้าคงคลังออกไปตามลักษณะการเคลื่อนย้าย เช่น
- วัสดุคงคลังระหว่างทาง (In–transit Inventories) เป็นวัสดุหรือสินค้าที่อยู่ระหว่างการลำเลียงจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง ซึ่งวัสดุหรือสินค้าเหล่านี้อาจจะถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัสดุหรือสินค้าที่เก็บไว้ แม้ว่าวัสดุหรือสินค้าเหล่านี้จะยังไม่สามารถขายหรือขนส่งในลำดับต่อไปได้จนกว่าวัสดุหรือสินค้านั้นจะไปถึงผู้ที่สั่งวัสดุหรือสินค้านั้นเสียก่อน ดังนั้นในการคำนวณต้นทุนในการเก็บรักษาวัสดุหรือสินค้าของต้นทาง ควรจะรวมต้นทุนของวัสดุหรือสินค้าคงคลังระหว่างทางไว้ด้วย
- วัสดุหรือสินค้าไม่เคลื่อนไหว (Dead Stock): เป็นวัสดุหรือสินค้าทีกิจการเก็บไว้นาน และยังไม่มีความต้องการวัสดุหรือสินค้าชนิดนั้นเกิดขึ้น ซึ่งอาจเป็นเพราะวัสดุหรือสินค้าล้าสมัย เสื่อมสภาพ ในกรณีที่เป็นวัสดุหรือสินค้าตกค้างควรทาการพิจารณาว่าจะทำอย่างไรต่อไป เพื่อป้องกันการเสื่อมของวัสดุหรือสินค้า เช่น อาจนำมาขายลดราคาเพื่อช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้
การทำธุรกิจที่ดีควรต้องมีการเก็บสินค้าคงคลังไม่ว่าจะในรูปแบบใดให้มีความเหมาะสม เพราะถ้ามีสินค้าคงคลังน้อยเกินไปก็อาจทำให้เกิดปัญหาสินค้าขาดแคลนไม่เพียงพอ (Stock out) ส่งให้กับลูกค้า สูญเสียโอกาสในการขายสินค้าให้แก่ลูกค้า บางครั้งอาจเป็นการเปิดช่องให้แก่คู่แข่งขันและหากเร็วร้ายมากอาจต้องสูญเสียลูกค้าไปในที่สุด หรือหากสิ่งที่ขาดนั้นเป็นวัตถุดิบที่สำคัญ ก็จะทำให้การดำเนินงานทั้งการผลิตและการขายอาจต้องหยุดชะงัก บางครั้งไม่สามารถผลิตได้ตามเวลาที่กำหนด ซึ่งอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของธุรกิจได้จึงเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการในการจัดการสินค้าคงคลังของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม มีไม่มากไปหรือน้อยจนเกินไปเพราะต้นทุนของสินค้าคงคลังต้องใช้เงินจำนวนมากและอาจส่งผลกระทบถึงสภาพคล่องของธุรกิจได้หากไม่มีสินค้าคงคลังการผลิตอาจจะไม่ราบรื่นโดยทั่วไปฝ่ายขายค่อนข้างพอใจหากมีสินค้าคงคลังจำนวนมาก ๆเพราะให้ความรู้สึกมั่นใจว่าอย่างไรก็มีสินค้าให้พอขายแต่หน้าที่ของสินค้าคงคลังคือรักษาความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale) เพราะการสั่งซื้อจำนวนมากแม้ในระยะสั้นเป็นการลดต้นทุนแต่ก็จะมาเกิดปัญหาที่คลังสินค้าซึ่งต้องมาแก้ไขปัญหาในการเก็บสินค้าที่มีปริมาณมากขึ้นในทุกส่วนไแด้วย
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------
ปัจจัยที่กำหนดขนาดของสินค้าคงคลัง (Factors determining inventory size)
• ระดับการจำหน่าย
ธุรกิจแต่ละประเภทมีระดับการจำหน่ายสินค้าที่ต่างกัน ขนาดของสินค้าคงเหลือย่อมต่างกัน หากสินค้ามีการจำหน่ายสูง ระดับของสินค้า ระดับของสินค้าคงเหลือย่อมสูงกว่าสินค้าที่มีระดับการจำหน่ายต่ำ ไม่เช่นนั้นอาจเกิดปัญหาสินค้าขาดมือไม่เพียงพอต่อการจำหน่าย
• ระยะเวลาและเทคนิคการผลิตหรือระยะเวลาในการสั่งซื้อ
มีผลกระทบต่อการกำหนดสินค้าคงเหลือ หากสินค้านั้น ใช้เวลาในการผลิตมาก หรือใช้เวลาในการสั่งซื้อมาก ย่อมจำเป็นที่จะต้องมีระดับสินค้าคงเหลือในปริมาณสูง
• ความคงทนของสินค้าและลักษณะพิเศษ
เป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระดับสินค้าคงเหลือ หากสินค้านั้นมีความคงทนสูง ย่อมสามารถเก็บรักษาได้ในปริมาณที่สูงกว่าสินค้าที่มีความคงทนต่ำ เช่น เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ดังนั้นการเก็บรักษาสินค้าประเภทนี้ในปริมาณสูงย่อมเกิดความเสี่ยงจากการล้าสมัยได้
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------
ระดับการบริการลูกค้า (Service Level) จําแนกออกตามหน้าที่ได้เป็น
- ระดับการบริการลูกค้า หมายถึง ความน่าจะเป็นที่ความต้องการของลูกค้าจะไม่เกินกว่าปริมาณวัสดุคงคลังที่มีอยู่คลังที่มีอยู่ในขณะนั้น
- Service level = 95%
- ถ้ามีลูกค้าสั่งวัสดุหรือสินค้า 100 ครั้งจะมีแค่ 5 ครั้งที่เราจะไม่มีวัสดุหรือสินค้าให้ทันที (วัสดุหรือสินค้าที่มีอยู่ในคลังวัสดุหรือสินค้าไม่เพียงพอ)
- ถ้าระดับ Service Level สูงจะมีในการตัดสินใจว่าจะกาหนดระดับ Service Level เป็นเท่าไหร่ต้องคานึงถึงต้นทุนที่เกิดเพิ่มซึ่งคือต้นทุนในการเก็บวัสดุหรือสินค้าไว้ในคงคลังในรูปแบบของ safety stock
- ถ้าระดับ Service Level สูงจะมีต้นทุนในการเก็บวัสดุหรือสินค้าไว้ในคงคลัง (The cost of carrying safety stock) มาก และต้นทุนจากการทีวัสดุหรือสินค้าขาด (the cost of a stockout) น้อย
วัสดุคงคลังที่เก็บสารองเพื่อความปลอดภัย (Safety Stock)
วัสดุคงคลังเพื่อความปลอดภัย (Safety stock) เป็นวัสดุคงคลังที่ต้องสารองไว้กันวัสดุหรือสินค้าขาดเมื่อวัสดุหรือสินค้าถูกใช้มากกว่าที่คาดการณ์ไว้
วัสดุคงคลังที่เก็บสารองไว้ โดยปริมาณของ Safety stock จะมากหรือน้อยนั้นจะขึ้นกับความไม่แน่นอนของปริมาณความต้องการ ถ้าปริมาณความต้องการวัสดุหรือสินค้า ในแต่ละช่วงเวลาไม่สามารถคาดการณ์ได้อย่างแน่นอน อาจทา ต้องเก็บ Safety stock ในปริมาณมากขึ้น
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------
ระบบการควบคุมและตรวจนับวัสดุคงคลัง
1. ระบบวัสดุคงคลังอย่างต่อเนื่อง (Continuous Inventory System Perpetual System)
- เป็นระบบวัสดุคงคลังที่มีการเก็บข้อมูลทุกครั้งที่มีการรับและจ่ายของทำให้มีข้อมูลที่แสดงยอดคงเหลือที่แท้จริงของวัสดุคงคลังอยู่เสมอ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการควบคุมวัสดุคงคลังรายการที่สาคัญที่ปล่อยให้ขาดมือไม่ได้
- ปัจจุบันการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้กับงานสำนักงานและบัญชีสามารถช่วยแก้ไขปัญหาในข้อนี้ โดยการใช้รหัสแห่ง (Bar Code) ติดบนวัสดุหรือสินค้าแล้วใช้เครื่องอ่านรหัสแห่ง (Laser Scan) ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะมีความถูกต้อง แม่นยา เที่ยงตรงแล้ว ยังสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลของการบริหารวัสดุคงคลังในซัพพลายเชนของวัสดุหรือสินค้าได้อีกด้วย
ข้อดี มีวัสดุคงคลังเผื่อขาดมือน้อยกว่า โดยจะเผื่อวัสดุหรือสินค้าไว้เฉพาะช่วงเวลารอคอยเท่านั้น เนื่องจากสามารถสั่งเพิ่มใหม่ได้ตลอดในขณะที่การตรวจนับวัสดุคงคลังเมื่อสิ้นงวด ต้องเผื่อวัสดุหรือสินค้าไว้ทั้งช่วงเวลารอคอยและเวลาระหว่างการสั่งซื้อ เนื่องจากจะไม่สามารถสั่งซื้อถ้ายังไม่ถึงช่วงเวลาที่กาหนด
2. ระบบวัสดุคงคลังเมื่อสิ้นงวด (Periodic Inventory System)
- เป็นระบบวัสดุคงคลังที่มีการเก็บข้อมูลเฉพาะในช่วงเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น เช่น ตรวจนับและลงบัญชีทุกปลายสัปดาห์หรือปลายเดือน และจะมีการสั่งซื้อเข้ามาเติมให้เต็มระดับที่ตั้งไว้ ระบบนี้จะเหมาะกับวัสดุหรือสินค้าที่มีการสั่งซื้อและเบิกใช้เป็นช่วงเวลาที่แน่นอน เช่น ร้านขายสินค้า ที่จะมีการสำรวจยอดขายสินค้าในแต่ละวัน และทำการสรุปยอดอาจเป็นทุกวันหรือตอนสิ้นสัปดาห์ เพื่อดูปริมาณสินค้าที่ยังคงมีเหลืออยู่ในร้านและคลังสินค้า เพื่อเตรียมสั่งมาเพิ่มเพราะจะมีการเผื่อสำรองการขาดมือโดยไม่คาดคิดไว้ก่อนล่วงหน้าบ้าง และระบบนี้จะทำให้มีการปรับปริมาณการสั่งซื้อใหม่ เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไปด้วย
ข้อดี ใช้เวลาน้อยกว่าและเสียค่าใช้จ่ายในการควบคุมน้อยกว่าระบบต่อเนื่อง และมีค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลวัสดุคงคลังต่ากว่า
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward