iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจ (Platform Revolution) ซึ่งทำให้เกิดเป็นธุรกิจรูปแบบใหม่ซึ่งจะพบว่ามีขั้นตอนวิธีการดำเนินงานที่มีความแตกต่างไปจากแนวการทำธุรกิจในแบบเดิม โดยปัจจุบันธุรกิจบริษัทยักษ์ใหญ่ในโลกเช่น Alibaba, Apple, Facebook, Google, Microsoft, eBay หรือ Visa ล้วนทำธุรกิจในรูปแบบใหม่นี้ ที่มีความแตกต่างจากการทำธุรกิจแบบเดิมหรือมักได้ยินที่เรียกกันว่าธุรกิจ Platform จากหนังสือ Platform Revolution โดย Geoffree Parker, Marshall Van Alstyne และ Sangeet Choudary ได้กล่าวถึงรูปแบบธุรกิจ 2 แบบคือ
1. ธุรกิจแบบท่อ (Pipe) เป็นรูปแบบการทำอุตสาหกรรมแบบเดิม ที่ดำเนินการไปเชื่อมต่อกันตลอดห่วงโซ่คุณค่า (value chain) มีการดำเนินการผลิตทั้งหมดด้วยตัวเอง เริ่มตั้งแต่จากการวางแผน การจัดหาจัดซื้อวัตถุดิบ นำมาผลิตจนเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการ ก่อนที่จะนำไปจัดเก็บและกระจายสู่ลูกค้าหรือขายให้กับคนซื้อหรือผู้บริโภค มีรูปแบบขั้นตอนการทำงานเรียงไปตามลำดับเป็นแนวแบบเส้นตรง การทำธุรกิจแบบนี้มีลำดับการทำงานเหมือนกับน้ำไหลตามท่อ ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจซื้อวัตถุดิบมาผลิตเป็นสินค้า แล้วก็จะนำมาจัดเก็บก่อนจะส่งไปขายให้กับลูกค้าที่ซื้อหรือผู้บริโภค ธุรกิจรูปแบบท่อนี้ได้มีการใช้ในการทำธุรกิจมายาวนาน มูลค่าเศรษฐกิจจะมีเกิดขึ้นตลอดโซ่อุปทาน หรือมีในทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
2. ธุรกิจรูปแบบ (Platform) หรือที่นิยมเรียกกันว่าธุรกิจ Platform เป็นการทำธุรกิจหรืออุตสาหกรรมในรูปแบบใหม่ ไม่มีการทำงานตามลำดับเหมือนเดิม ธุรกิจ Platform เป็นการสร้างมูลค่าขึ้นจากการติดต่อแบบสองทางระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ผ่านการวางกฎเกณฑ์ธุรกิจเพื่อใช้บังคับและใช้โครงสร้างดิจิทัลพื้นฐานในการติดต่อระหว่างกลุ่มดังกล่าว โดยตัวเองอาจไม่ได้ผลิตสินค้าอะไรเลย แต่ปล่อยให้ผู้ผลิตสินค้าได้สร้างมูลค่าทำธุรกิจค้าขายบน Platform ที่จัดเตรียมไว้เพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้สอย การทำงานเน้นไปที่การเชื่อมโยงนำเอาลูกค้าและผู้ขายที่เป็นคนต่างกลุ่มให้กันมาพบและแลกเปลี่ยนกัน ธุรกิจ Platform จะไม่เน้นในการไปผลิตสินค้าอะไรเลย แต่จะพยายามส่งเสริมให้ผู้ผลิตสินค้าได้สร้างมูลค่าเศรษฐกิจบน Platform ที่สร้างไว้ ในบางครั้งอาจเรียกว่าเป็น ธุรกิจแบบการจับคู่ (Matchmakers) ซึ่งเน้นการเป็นตัวเชื่อมระหว่างคนในกลุ่มเพื่อหาสิ่งที่ต้องการร่วมกัน
จะพบว่าธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในยุคนี้จะมีรูปแบบที่คล้ายกันคือ จะเป็นเพียงตัวเชื่อมระหว่างกลุ่มเช่น คนที่กำลังหาสินค้าหรือบริการ เชื่อมโยงเข้ากับคนที่มีสินค้าหรือบริการ โดยบริษัทในกลุ่ม Startup ที่เป็นธุรกิจยุคใหม่มักใช้เป็นแนวทางในการวางแผนดำเนินธุรกิจเช่น Agoda, Airbnb, Wikipedia หรือ Uber ซึ่งต่างก็ใช้แนวคิดนี้ ความได้เปรียบของธุรกิจ Platform มาจากปัจจัยหลายด้านเช่น
- ธุรกิจ Platform สามารถลดขั้นตอน ผู้ควบคุมงานในแต่ละขั้นตอนให้หายไป หรือที่อาจเรียกว่ายามเฝ้าประตู (Gatekeeper) ทำให้สามารถลดขั้นตอนงานที่สร้างรายจ่ายใช้ระยะเวลา เกิดเป็นผลดีในราคาที่ลดลงและเวลาที่เร็วมากขึ้น
- ธุรกิจ Platform สามารถเพิ่มความสามารถในการตอบสนองแก่ลูกค้า (supply) ให้เพิ่มขึ้นใหม่ได้มากอย่างไม่จำกัด เช่น บริการรถเช่าที่สามารถหาเพิ่มสมาชิกมาใช้บริการ โดยที่ตัวเองไม่ต้องไปซื้อรถเลยสักคัน หรือบริการที่พักที่สามารถมีห้องให้เช่าเพิ่มมากมายได้ตลอด โดยไม่ได้ก่อสร้างที่พักเลยแม้แต่ห้องเดียว
- ธุรกิจ Platform ใช้การรับรู้ที่ได้จากข้อมูลที่ตอบกลับมา (feedback) จากลูกค้า นำเอาข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาความต้องการสร้างและกำหนดคุณค่าผลิตภัณฑ์ จัดทำการตอบสนองที่รวดเร็วแก่ลูกค้า และเป็นความสามารถในการปรับตัวความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ง่าย เพราะไม่ต้องเสียเวลาในการลงทุน
- ธุรกิจ Platform สามารถเปลี่ยนเป้าความสนใจจากภายในองค์กรออกสู่ภายนอก ทำให้สามารถแสวงหาลู่ทางธุรกิจได้มากขึ้น เปลี่ยนรูปแบบจากองค์กรที่มัวยุ่งในเรื่องการวางแผนทรัพยากรภายในองค์กร มาเป็นองค์กรที่เน้นตอบสนองความต้องการลูกค้าภายนอก บริษัท Platform ที่มีชื่อเสียงจึงมีจำนวนพนักงานไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะใช้การแบ่งภาระงานให้ Outsource ทำให้ไม่ต้องมีภาระในเรื่องการบริหารห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) แต่อาศัยทรัพยากรเศรษฐกิจหรือสินทรัพย์ของคนในชุมชนที่ให้บริการบน Platform มาทำแทน
สรุปได้ว่า การทำธุรกิจอุตสาหกรรมแบบเดิมที่ต้องมีการดำเนินการผลิตทั้งหมดด้วยตัวเอง ซึ่งไม่เพียงแต่ต้องระยะเวลา งบประมาณ และการจัดการที่มากเพื่อที่จะได้มาในแต่ละงาน แต่เมื่อเทียบกับธุรกิจ Platform ซึ่งเป็นเพียงการนำลูกค้าที่เป็นคนต่างกลุ่มกันมาพบปะกัน โดยเป้าหมายคือ การที่สมาชิกของแต่ละกลุ่มสามารถเข้าถึงกันและกันได้อย่างเหมาะสม ธุรกิจ Platform จึงคล้ายกับตลาดออนไลน์ที่คนซื้อคนขายได้มาพบกัน ซึ่งผู้ประกอบการไทยในยุคนี้ต้องมีการปรับตัวให้มากเพื่อแข่งขัน เนื่องจากที่ผ่านมาเราจะพบว่าผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่จะยังมีแนวคิดในการผลิตแบบเดิมคือ ทำแล้วขายด้วยตัวเอง แต่เมื่อเทียบกับผู้ผลิตยักษ์ใหญ่อย่างจีนที่ผู้ผลิตสินค้าส่วนใหญ่หันมาใช้แนวคิดนี้ในการผลิตและแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน เพื่อลดขั้นตอน ระยะเวลา และงบประมาณที่ต้องใช้เดิม ซึ่งจะช่วยลดลงได้มากในทุกด้าน ปัจจุบันในส่วนของ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้คิดเร่งเสริมแกร่งให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ของไทย โดยจัดทำโครงการ Digital Value Chain ผ่านธุรกิจ Platform ในโครงการชื่อ T-GoodTech (Thailand Good Technology) เพื่อให้เกิดการจับคู่ทางธุรกิจออนไลน์แบบธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business: B2B) โดยตั้งเป้าดึงผู้ประกอบการไทยในทุกสาขาอุตสาหกรรมมาเข้าร่วมในโครงการ เพื่อเชื่อมโยงไปยังกลุ่ม J-GoodTech ซึ่งเป็นตลาดการค้าออนไลน์รายใหญ่ของญี่ปุ่น
ดูข้อมูลเพิ่มเติมคลิก การเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจ (Platform Revolution)
.
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------
Marketing แนวทางการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
สนใจดาวน์โหลดเอกสารด้านล่าง
2. แนวทางการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
แนวคิดของความคิดสร้างสรรค์ในแต่ละบุคคลนั้น ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ (The 3 components of creativity) ได้แก่ (Teresa Amabile, 1999: 3-7)
- ความเชี่ยวชาญ (Expertise) คือ ความรู้ทั้งด้านเทคนิคและการปฏิบัติ หรือกระบวนการ รวมทั้งความสามารถทางสติปัญญา หรือความฉลาดของบุคคล
- ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking Skills) คือ ทักษะของบุคคลต่อการแก้ปัญหาต่าง อย่างยืดหยุ่นและมีจินตนาการเป็นการแสดงถึงกรรมวิธี (Mechanism) ที่บุคคลพิจารณาใช้ในการแก้ปัญหาเป็นความสามารถในการประยุกต์พื้นฐานความรู้ ความชำนาญมาใช้ประโยชน์ มักจะเกิดจากบุคลิกภาพประสบการณ์ และแนวทางการทางานหรือการดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล
- แรงจูงใจ (Motivation) เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและการกระทำที่เกิดขึ้นจริงของแต่ละบุคคล ซึ่งเกิดได้ทั้งจากแรงขับเคลื่อนของแต่ละบุคคล และจากการส่งเสริมกระตุ้นจากองค์กร
ิการออกแบบ มิใช่แค่เรื่องของรูปลักษณ์ หรือความรู้สึก แต่การออกแบบ คือ การมองว่ามันทำงานอย่างไร
Double Diamond ประกอบด้วย
- Discover ทำการวิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลเชิงลึก
- Define ทำความเข้าใจถึงความเป็นไปได้ทั้งหมด วิเคราะห์ว่าควรทำสิ่งใดเป็นอันดับแรก และสิ่งใดที่เป็นไปได้
- Develop ช่วงเวลาของการพัฒนา สร้างกระบวนการแนวคิดสำหรับการทดสอบและทำซ้า เพื่อป้องกันความผิดพลาด
- Deliver ขั้นตอนการส่งมอบผลิตภัณฑ์
-------------------------------------------------
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดตามได้ที่ลิงค์ด้านล่าง
สร้างนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Marketing Coaching Guideline)
-------------------------------------------------
คู่มือสร้างนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Marketing Coaching Guideline) จัดทำขึ้นโดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) กระทรวงพาณิชย์ และ สานักงานศูนย์วิจัยและให้คาปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นคู่มือในการพัฒนาศักยภาพเชิงลึกด้านการตลาดของผู้ประกอบธุรกิจ พร้อมแนะแนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหาทางด้านการตลาดให้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจ
.
ที่มา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) กระทรวงพาณิชย์
ภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------
Marketing สร้างนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ แนวทางการพัฒนาธุรกิจ
แนวทางการพัฒนาธุรกิจ แนวคิด BUSINESS MODEL “TREND” Customer Needs Innovation
- Business Model ด้านการตลาด ที่ดีควรสร้างจากความต้องการของลูกค้า และตอบโจทย์เทรนด์ของโลกในปัจจุบัน
- Needs ของลูกค้า คืออะไร ธุรกิจเราจะตอบสนอง Needs นั้นได้อย่างไร และธุรกิจเรามีความเข้มแข็งในด้านนั้นแล้วหรือยัง
- Innovation เข้ามามีส่วนกับธุรกิจอย่างมาก ซึ่งนวัตกรรมนั้นมีหลายส่วนไม่ว่าจะเป็นการหาลูกค้ากลุ่มใหม่ ๆ หรือการเข้าถึงลูกค้าด้วยวิธีการใหม่ ๆ การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อลดเวลาการทางาน หรือการบริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีก็สามารถเป็นนวัตกรรมได้ (ผศ.ดร. ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม, ดร. คมน์ พันธรักษ์)
การสร้าง Brand with “4C’s” ได้แก่
- C1 : Culture กาลังหมุนไปในทิศทางใด
- C2 : Category การแบ่งปันธุรกิจอยู่ในรูปแบบใด
- C3 : Customer ลูกค้ามีประสบการณ์กับแบรนด์คุณอย่างไร
- C4 : Communication เรื่องราวของแบรนด์คุณเป็นอย่างไร
-------------------------------------------------
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดตามได้ที่ลิงค์ด้านล่าง
สร้างนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Marketing Coaching Guideline)
-------------------------------------------------
คู่มือสร้างนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Marketing Coaching Guideline) จัดทำขึ้นโดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) กระทรวงพาณิชย์ และ สานักงานศูนย์วิจัยและให้คาปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นคู่มือในการพัฒนาศักยภาพเชิงลึกด้านการตลาดของผู้ประกอบธุรกิจ พร้อมแนะแนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหาทางด้านการตลาดให้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจ
ที่มา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) กระทรวงพาณิชย์
ภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------
Marketing แนวทางการสร้างทักษะของนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์
สนใจดาวน์โหลดเอกสารด้านล่าง
คู่มือสร้างนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Marketing Coaching Guideline) จัดทำขึ้นโดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) กระทรวงพาณิชย์ และ สานักงานศูนย์วิจัยและให้คาปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นคู่มือในการพัฒนาศักยภาพเชิงลึกด้านการตลาดของผู้ประกอบธุรกิจ พร้อมแนะแนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหาทางด้านการตลาดให้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจ
ที่มา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) กระทรวงพาณิชย์
แนวทางการสร้างทักษะของนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (5 Creative Marketeer Skills)
นักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Marketing Coaching Guideline) ที่จะประสบความสาเร็จในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันนั้น จำเป็นต้องมีความเข้าใจและมีทักษะด้านการตลาดสมัยใหม่ รวมถึงมีกระบวนการพัฒนาความคิดเชิงสร้างสรรค์อยู่เสมอ โดยผู้ประกอบธุรกิจจำเป็นต้องมีทักษะสำคัญ 5ประการ เพื่อก้าวสู่การเป็นนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ ดังนี้
1. ด้านความคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ เป็นทักษะสำคัญที่นักการตลาดพึงต้องมี ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการพัฒนาความคิดใหม่ เพื่อนำมาพัฒนาแก้ไขปัญหา หรือสนองตอบความต้องการของลูกค้า เพื่อสร้างความสะดวก ความรวดเร็ว และคุณค่าที่มากขึ้นให้กับลูกค้า ควรฝึกการเป็น “นักคิดเชิงสร้างสรรค์” ด้วยการ
- ฝึกเป็นคนไม่พอใจอะไรง่าย ด้วยคำถาม “ทำไม…”
- ฝึกกระตุ้นความคิดด้วยคำถาม อะไรจะเกิดขึ้น “ถ้า...”
- ฝึกมองมุมตรงข้าม ตั้งคำถาม และหาคำตอบ
- ฝึกเชื่อมโยงสิ่งที่ไม่คุ้นเคย
2. ด้านนวัตกรรม (Innovation)
ทักษะด้านนวัตกรรม คือ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ข้อเสนอใหม่ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้ หรือสามารถขายได้นั่นเอง (Innovation is the creation of a viable new offering) โดยนวัตกรรมอาจมีลักษณะ ดังนี้
- นวัตกรรม ไม่ใช่การประดิษฐ์
- สิ่งที่เป็นนวัตกรรม ต้องมีความยั่งยืนและมีคุณค่า
- นวัตกรรม อาจเกิดจากการพลิกแพลงเพียงเล็กน้อย
- คิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เกินคำว่า “ผลิตภัณฑ์”
นวัตกรรม สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. นวัตกรรมที่เกิดในระบบธุรกิจ (Business System) ประกอบด้วย
- Profit Model นวัตกรรม การทำธุรกิจเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ขายสินค้าได้แพงขึ้น มีกำไรมากขึ้น
- Networking นวัตกรรมการหาเครือข่ายเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการที่ดีขึ้น
- Organization Structure นวัตกรรมโครงสร้างองค์กร ปรับโครงสร้างของธุรกิจ เนื่องจากทรัพยากรในองค์กรมีจากัด จึงต้องบริหารให้มีประสิทธิภาพสูงสูด
- Process นวัตกรรมจากการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางานในส่วนต่าง
2. นวัตกรรมที่เป็นข้อเสนอ (Offering)
- Product Performance นวัตกรรมที่ได้จากการออกแบบตัวสินค้าหรือการใช้งานสินค้า
- Product System นวัตกรรม ในระบบการใช้งานสินค้า เช่น การสร้างนวัตกรรมด้วยการนำสินค้ากับสินค้า/บริการ มาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้า
- Service นวัตกรรม ด้านการบริการที่ออกแบบมา เพื่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจในบริการมากยิ่งขึ้น
3. นวัตกรรมที่สร้างประสบการณ์ (Experience)
- Customer Engagement เป็นการสร้างนวัตกรรม ที่ช่วยสร้างความผูกพันกับลูกค้า และยกระดับให้ลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดีและประทับใจในสินค้าและบริการ
3. ด้านการออกแบบบริการ (Design Service)
ทักษะด้านการออกแบบบริการถือเป็นหัวใจสำคัญในการบริการแก่ผู้บริโภค เนื่องจากการเน้นสร้างความประทับใจและพึงพอใจในบริการเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของธุรกิจ การบริการที่ดี ควรเป็นระบบที่ต้องมีการบริหารจัดการและต้องผ่านการออกแบบอย่างสร้างสรรค์ โดยลูกค้าจะสามารถรับรู้หรือรู้สึกต่อบริการที่ดีจากการให้บริการที่เป็นเลิศ คุณสมบัติของนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ที่ออกแบบการให้บริการที่ดี ประกอบด้วย
- มีความใส่ใจและดูแลที่ดี
- สามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ตรงจุดและตอบได้ตามความต้องการ
- ให้ความเป็นเพื่อนหรือมากกว่าการทำธุรกิจ
- มีความอดทนและตั้งใจในการที่จะแก้ไขปัญหาของลูกค้า
- สามารถให้คำปรึกษาที่ดีในการแก้ปัญหา และมีความจริงใจในการใหคำปรึกษา
- ให้มากกว่าที่ลูกค้าคิด ทั้งในส่วนที่ลูกค้าคิดว่าจะได้หรือคาดหวังจากเรา
4. ด้านการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing)
ทักษะด้านการตลาดดิจิทัล เป็นทักษะของการสอดรับกับพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีในปัจจุบัน เนื่องจากผู้บริโภคมีการใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น มีความสะดวกสบายในการซื้อสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าออนไลน์ การโอนเงินผ่านทางสมาร์ทโฟน การดูทีวีออนไลน์ เป็นต้น ทาให้ผู้บริโภคใช้ชีวิตอยู่บนโลกของดิจิทัลตลอดเวลา ความสะดวกสบายด้วยดิจิทัลดังกล่าว ได้เปลี่ยนพฤติกรรมให้ผู้บริโภคขาดความอดทนในการรอคอย และเมื่อใดที่มีตัวเลือกอื่นที่เร็วกว่า ทันใจกว่า ผู้บริโภคก็พร้อมที่จะเปลี่ยนใจทันทีดังนั้น ทักษะด้านการตลาดดิจิทัล จึงเป็นเรื่องสาคัญของนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ มี 3 ลักษณะของช่องทางดิจิทัล ได้แก่
- Acquire Channel เป็นการต้อนให้ผู้บริโภคเข้ามาหา ด้วยการประกาศให้รู้ถึงตาแหน่งของเรา
- Direct Channel เป็นลักษณะที่ผู้บริโภครู้จักเราอยู่แล้วและเข้ามาหาเราเอง
- Social Channel เป็นลักษณะที่เราเข้าไปหาผู้บริโภค
5. ด้านวางแผนกลยุทธ์การตลาด (Strategic Marketing Plan)
ทักษะด้านการวางแผนกลยุทธ์การตลาด เป็นทักษะที่นักการตลาดเชิงสร้างสรรค์จำเป็นต้องเรียนรู้ ด้วยการต่อยอดและนำองค์ความรู้ แนวความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมใหม่ มาสร้างเป็น “กลยุทธ์การตลาด” โดยไม่ยึดติดกับกรอบความคิดหรือแนวทางเดิม โดยมีกรอบแนวคิดในการสร้างกลยุทธ์การตลาดเชิงสร้างสรรค์ ได้แก่
- What เราจะคิด ออกแบบหรือ สร้างสรรค์อะไร
- Wow จะต้องทeให้ลูกค้ารู้สึก Wow
- Work จะต้องทำได้จริงและได้รับผลตอบแทนจริง
-------------------------------------------------
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดตามได้ที่ลิงค์ด้านล่าง
สร้างนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Marketing Coaching Guideline)
-------------------------------------------------
คู่มือสร้างนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Marketing Coaching Guideline) จัดทำขึ้นโดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) กระทรวงพาณิชย์ และ สานักงานศูนย์วิจัยและให้คาปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นคู่มือในการพัฒนาศักยภาพเชิงลึกด้านการตลาดของผู้ประกอบธุรกิจ พร้อมแนะแนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหาทางด้านการตลาดให้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจ
ที่มา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) กระทรวงพาณิชย์
ภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------
Marketing แบบผังผ้าใบข้อมูลแบบ Canvas (Data Thinking Canvas)
Data Collection Canvas ในหนังสือ Data-Driven Marketing มาสู่การปรับปรุงและพัฒนาให้เป็น Data Thinking Canvas ที่ง่ายขึ้น กระชับขึ้น จากประสบการณ์ที่มากขึ้นตามกาลเวลา จากประสบการณ์เป็นที่ปรึกษาหรือ Advisor ให้กับบริษัททั้งเล็กและใหญ่พบว่าการจะเริ่มต้นทำงานกับ Data มีลำดับขั้นตอนดังนี้ครับ
1. Objective เราอยากรู้เรื่องอะไร เรื่องนี้สำคัญกับธุรกิจเราอย่างไรข้อนี้สำคัญมาก เพราะหลายครั้งเรามักกระโดดไปที่เครื่องมือโดยยังไม่รู้ปัญหาที่แน่ชัด หรือเรากระโดดเข้าไปในกอง Data ที่จนอาจเมาหรือสำลักดาต้าแล้วถอดใจให้เห็นเป็นประจำ
ดังนั้นข้อนี้จึงเป็นสิ่งแรกที่ผมเน้นย้ำกับลูกค้าที่เข้าไปเป็นที่ปรึกษาให้ทุกราย ให้กำหนดปัญหาที่ชัดเจนก่อนว่าเราต้องการจะรู้อะไร เรื่องนี้สำคัญกับธุรกิจเราที่สุดแล้วหรือยังในนาทีนี้
2. Data Required ข้อมูลที่ต้องใช้แก้ปัญหานี้มีอะไรบ้าง หลังจากระบุปัญหาได้ชัดเจนแล้วก็ถึงเวลาระบุรายการดาต้าที่เอามาใช้ตอบหรือแก้ปัญหานั้น
เช่น ถ้าเราบอกว่าตอนนี้เรายังไม่รู้ว่าลูกค้าเราแบ่งออกเป็นกี่กลุ่มที่ชัดเจน เราก็จะรู้ว่าเราต้องการดาต้าแบบไหนบ้างที่จะตอบปัญหานี้ได้ เช่น ข้อมูลการซื้อที่แยกเป็นรายบุคคล ที่มีการระบุสินค้าที่ซื้อ วันเวลาที่ซื้อ และสาขาหรือช่องทางที่ทำการซื้อ อาจจะรวมไปถึงสถานที่จัดส่งและวิธีการชำระเงินต่าง ๆ
เมื่อระบุดาต้าที่ต้องใช้ได้แล้วก็ถึงเวลาสำรวจว่าเรามี Data นี้อยู่ในมือแล้วหรือยัง หรือต้องไปทำการเก็บใหม่เพื่อให้มีใช้
3.1 Existing Data สำรวจดาต้าที่มีอยู่ในมือ อยู่ที่ไหน อยู่กับใครหลายครั้งเราไม่รู้ว่าเรามีดาต้าอะไรอยู่ในมือบ้างเพราะเราไม่เคยทำการสำรวจดาต้าทั้งหมดในองค์กร หลายครั้งดาต้าที่ทีมการตลาดอยากใช้อยู่กับทีมไฟแนนซ์ บางครั้งดาต้าที่ทีมขายต้องการกลับไปอยู่กับทีมบริการลูกค้าโดยไม่รู้ตัว
การสำรวจ Existing data จึงเป็นการทำความเข้าใจสภาพดาต้าในองค์กรเรา และจากประสบการณ์ผมก็บอกได้เลยว่าแค่เริ่มต้นทำขั้นตอนนี้ออกมาเป็นภาพ Data ทั้งองค์กรก็ทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นมากเพราะตอนนี้รู้แล้วว่าใครถือดาต้าอะไรอยู่ในมือบ้าง
3.2 Collecting Data แล้วดาต้าที่เราไม่มีจะไปจัดเก็บหรือหาได้อย่างไรไม่ว่าจะเป็นการทำแคมเปญการตลาดเพื่อเก็บ Data ที่ต้องการเพิ่ม หรืออาจจะไปซื้อหรือพาร์ทเนอร์กับธุรกิจที่มีดาต้าที่เราต้องการอยู่เพื่อความรวดเร็ว
อาจใช้ Data Collection Canvas จากหนังสือ Data-Driven Marketing เพิ่มเติมส่วนนี้ได้ครับ
Signal / Seasonal / Segment หลักการดูดาต้าเบื้องต้นก่อนตั้งคำถามเพื่อไปต่อ
Signal คือการดูความผิดปกติที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่เคยรู้มาก่อน เช่น ทำไมช่วงเดือนนี้ถึงขายดีแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย เราจะได้ลงไปสำรวจหาคำตอบได้ถูกจุด ไม่ต้องงมๆ หาข้อมูลโดยไม่รู้ทิศทาง
Seasonal สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำซ้ำๆ โดยที่เราอาจไม่รู้ เช่น กลุ่มลูกค้าเราที่เป็นแม่และเด็กถึงชอบเข้ามาซื้อตอนกลางวันบ่อยกว่าตอนกางคืน ไม่ใช่แค่บางวันแต่เป็นประจำจนกลายเป็น Pattern เราจะได้เข้าไปสำรวจได้ถูกจุด และจะได้เข้าถึง Insight ที่แท้จริงได้รวดเร็ว
Segment มีกลุ่มก้อนลูกค้าแบบไหนที่เราไม่เคยรู้มาก่อนไหมนะข้อนี้ต้องใช้ทักษะด้าน Data science เพิ่มเติมในการจัดกลุ่มก้อนลูกค้าตามตัวแปรหรือ Attribute ต่างๆ ที่เรากำหนด เช่น กลุ่มลูกค้าที่ชอบซื้อวันหยุด กับกลุ่มลูกค้าที่ชอบซื้อเฉพาะตอนโปรโมชั่น หรือกลุ่มลูกค้าที่ชอบเข้ามาเช้าวันจันทร์ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อที่เราจะได้ไปทำความเข้าใจ Context of data ว่าเพราะเหตุใดจึงเป็นแบบนี้
4. Data-Driven Decision รู้แล้วจะทำอย่างไรต่อหลังจากได้ข้อสรุปทั้งหมด ได้เห็นความจริงจากดาต้า ได้เข้าใจ Insight ที่เกิดขึ้นเป็นประจำซ้ำๆ โดยที่เราไม่รู้ เราจะทำอย่างไรกับข้อสรุปที่ได้มา.เปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดหรือไม่ เปลี่ยนวิธีการขายหรือเปล่า หรืออาจจะนำไปสู่คำถามใหม่ว่าเราอยากรู้อะไรเพิ่มเติม และเราจะต้องเก็บดาต้าอะไรเพิ่มสำหรับการทำแคมเปญการตลาดครั้งถัดไป
นี่คือ Data Thinking Canvas สำหรับคนที่อยากเริ่มต้นกับดาต้าแต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร เริ่มจากสิ่งที่เราอยากรู้ แล้วจะนำมาสู่ดาต้าที่เราต้องรู้เพื่อให้ได้คำตอบนั้น จากนั้นก้สำรวจว่าเรามีอะไรอยู่ในมือบ้าง หรือมีดาต้าแบบไหนที่ต้องหาเพิ่ม ลองเอาไปปรับใช้กับธุรกิจตัวเองดูนะครับ ขอให้สรุปกับการใช้ดาต้าเพื่อต่อยอดธุรกิจให้ขายดีในปีถัดไป
ที่มา Data Thinking Canvas เริ่มจากคำถามที่ใช่แล้วค่อยไปที่ดาต้า - การตลาดวันละตอน (everydaymarketing.co)
.
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward