iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
การบริหารงานไคเซ็น (Kaizen)
ไคเซ็น (Kaizen) หมายถึง กลยุทธ์การบริหารงานแบบญี่ปุ่น ไคเซ็นเป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า การปรับปรุง (Improvement) เป็นแนวคิดที่ทำใช้ในการบริหารการจัดการมีประสิทธิผล โดยมุ่งปรับปรุงวิธีการส่วนร่วมของพนักงานทุกคน บุคลากรทุกระดับ ร่วมกันแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติเกิดจากการบริหาร ที่ประสบปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างทศวรรษที่ 1980 และทศวรรษที่ 1990 บริษัทที่ประสบความสำเร็จมักนำเอาแนวคิดของไคเซ็นคือการยอมรับว่าการบริหารให้ประสบผลสำเร็จจะต้องแสวงหาวิธีการที่จะทำให้ลูกค้าพึงพอใจและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี เป็นกลยุทธ์ในการปรับปรุงที่มุ่งที่ตัวลูกค้า
นอกจากนี้แนวคิดไคเซ็นยังขยายขอบข่ายออกไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับนายจ้างด้วยในด้านการผลิต การตลาด การจัดจำหน่าย ฯลฯ อย่างเป็นระบบ Kaizenให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงานและริเริ่มวิธีการคิดที่มุ่งกระบวนการทำงานและระบบการบริหารที่สนับสนุนและยอมรับแนวคิดของผู้บริหารและพนักงาน จากหลักการของ Kaizen จึงเป็นแนวคิดที่จะช่วยมาตรฐานที่มีอยู่เดิม (Maintain) และปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น (Improvement)ซึ่งกำหนดแนวคิดนี้แล้ว มาตรฐานที่มีอยู่เดิมก็จะค่อย ๆ ลดลง ความสำคัญในกระบวนการของ Kaizen คือ การใช้ความรู้ความสามารถของพนักงานมาคิดปรับปรุงงาน โดยใช้การลงทุนเพียงเล็กน้อยซึ่งก่อให้เกิดการปรับปรุงที่ละเล็กที่ละน้อยที่ค่อย ๆ เพิ่มพูนขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตรงข้ามกับแนวคิดของนวัตกรรม (Innovation)ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ ที่ต้องใช้เทคโนโลยีซับซ้อนระดับสูงด้วยเงินลงทุนมหาศาล ดังนั้นไม่ว่าจะอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจแบบใดก็สามารถใช้วิธีการของ Kaizen เพื่อปรับปรุงได้
กลยุทธ์หลัก Kaizen
1. รายการตรวจสอบ 3-Mu’s หมายถึง ระบบตรวจสอบซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางช่วยผู้บริหารและพนักงานช่วยกันแก้ไขปรับปรุงงานของตนอยู่เสมอ 3-Mus ประกอบด้วย (Muda) คือความสูญเปล่า (Muri) คือความตึง (Mura) คือความแตกต่างขัดแย้งกัน โดยการนำเอา 3-Mu’s ไปพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ของการทำงาน เช่น กำลังคน เทคนิค วิธีการ เวลา สิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือเครื่องใช้ วัสดุที่ใช้ ปริมาณการผลิต สินค้าคงคลัง สถานที่ทำงาน แนวความคิดในการทำงาน
2. หลักการ 5ส ได้แก่ สะสาง (Seiri) สะดวก (Seiton) สะอาด (Seiso) สุขลักษณะ (Seiketsu) สร้างวินัย (Shitsuke)
3. หลักการ 5 W 1H Who ใครเป็นผู้ทำ what ทำอะไร Where ทำที่ไหน When ทำเมื่อไร Why ทำไมต้องทำย่างนั้น How ทำอย่างไร
4. รายการตรวจสอบ 4M ได้แก่ Man หมายถึง การตรวจสอบผู้ปฏิบัติทำงานตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่ มีความรับผิดชอบหรือไม่ ผู้ปฏิบัติมีทักษะความชำนาญหรือไม่ผู้ปฏิบัติได้รับมอบงานที่ตรงกับความสามารถหรือไม่ Machine หมายถึง การตรวจสอบอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสอดคล้องกับความสามารถของขบวนการผลิตหรือไม่เครื่องจักรขัดข้องบ่อยหรือไม่ การจัดวางเหมาะสมหรือไม่ เครื่องจักรอยู่ในสภาพการใช้งานหรือไม่ Material หมายถึง การตรวจสอบ6ข้อผิดพลาดในเรื่องคุณภาพการตรวจสอบระบบคงคลังเพียงพอหรือไม่ Method หมายถึง การตรวจสอบว่ามาตรฐานในการทำงานมีเพียงพอหรือไม่ มีวิธีที่ปลอดภัยหรือไม่ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพหรือไม่ลำดับขั้นตอนการทำงานเหมาะสมหรือไม่
ระบบสำคัญของ Kaizen ในระบบแนวคิดของไคเซ็นประกอบด้วยระบบสำคัญอย่างน้อย 5 ระบบ คือ
1. การควบคุมคุณภาพและการบริหารคุณภาพทั้งระบบ เกี่ยวข้องกับการควบคุมกระบวนการคุณภาพ ตั้งแต่เริ่มต้นการผลิตจนกระทั่งผลิตสำเร็จ ซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่ายได้แก่ ผู้บริหารระดับสูง ระดับกลาง และหัวหน้างานรวมทั้งพนักงานทุกคน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมภายในองค์กรด้วย การวางแผนเพื่อการตรวจสอบติดต่อประเมินผล การเผยแพร่นโยบาย (Policy / De-plotment) การสร้างระบบประกันคุณภาพ (Quality Assurance Systems)
2. ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี Just in Time Production system (JIT) ระบบนี้เกิดขึ้นที่บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ในการผลิตเพื่อส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าในเวลาที่กำหนดโดยมีการออกแบบรองรับการผลิตที่ยืดหยุ่น เพื่อรองรับความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการต่าง ๆ เช่น กระบวนการสั่งสินค้าที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการของลูกค้า การสั่งซื้อวัตถุดิบล่าช้า กระบวนการผลิตที่อาจมีปัญหา แนวคิด JIT เป็นแนวคิดที่จะขจัดกิจกรรมที่ไม่มีมูลค่าเพิ่มทุกชนิดออกไปโดยใช้ระบบการผลิตที่เรียกว่า Take time คือ เวลาที่ใช้ในการผลิตชิ้นงานหนึ่งหน่วยเปรียบเทียบกับเวลาวงจรการผลิต Cycle time กระแสการผลิตที่ละชิ้นส่วน One Piece Flow การผลิตแบบดึง (Pull Production) การลดเวลากับค่าใช้จ่ายในการตั้งระบบการผลิตใหม่แต่ละครั้ง(Setup Time and Cost Reduction) ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดีจะช่วยให้ขจัดงานที่ไม่มีมูลค่าเพิ่มออกไปและยังสามารถช่วยลดต้นทุนในการผลิตได้อย่างมหาศาลและทำให้มีการนำส่งมอบสินค้าที่กำหนดนัดหมายอันเป็นการช่วยเพิ่มผลกำไรให้แก่บริษัทมีผลกำไรให้แก่บริษัท
3. การบำรุงรักษาทวีผล TPM (Total Productive Maintenance) หมายถึง การกำหนดเป้าหมายให้เครื่องจักรอยู่ในสภาพที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวม เป็นการสร้างระบบรวม (Total System) โดยมีเป้าหมายที่วงจรชีวิตของเครื่องจักรโดยสร้างความร่วมมือระหว่างทุกฝ่ายทั้งฝ่ายบริหาร ฝ่ายผลิต ฝ่ายบำรุงรักษา พนักงานทุกระดับมีส่วนร่วม และผู้บริหารสร้างแรงจูงใจ ส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มย่อยในการบำรุงรักษาเครื่องจักรเครื่องใช้ให้มีอายุการใช้งานยาวนาน โดยทุกคนช่วยกันดูแลบำรุงรักษาตามแผนการที่กำหนด
4. ระบบข้อเสนอแนะ (Suggestion System) เป็นระบบการบำรุงขวัญกำลังใจให้แก่พนักงานในการเปิดโอกาสให้มีส่วนในเชิงสร้างสรรค์ โดยกระตุ้นให้พนักงานได้แสดงออกในการให้ข้อเสนอแนะในเรื่องต่าง ๆ เน้นปริมาณของความคิดเห็นข้อเสนอแนะ ส่งเสริมให้มีการพูดคุยปรึกษาหารือกับหัวหน้างาน เพื่อให้ได้แนวคิดที่เป็นประโยชน์ในการทำงาน พัฒนาการในด้านการปลูกฝังจิตสำนึกความมีความคิดริเริ่มให้แก่พนักงาน ระบบข้อเสนอแนะ เกิดจากกิจกรรมที่มีปัญหาโดยพนักงานเป็นผู้ค้นหาสิ่งผิดปกติที่อยู่ใกล้ตัวก่อน หาสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งผิดปกติ และเสนอแนะวิธีการแก้ไขที่สาเหตุของปัญหา องค์ประกอบของข้อเสนอแนะที่ดีประกอบด้วย
5. กิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Group Activities) หมายถึง บรรดากลุ่มพนักงานภายในหน่วยงานเดียวกัน แต่ละกลุ่มที่มีจำนวนสมาชิกไม่มากนักที่รวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการเพื่อร่วมกันทำงานเล็กๆ กิจกรรมกลุ่มย่อยมีหลายประเภท เช่น การสร้างระบบ
---------------------------------------------
กุญแจไขความสำเร็จโครงการของ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) 7 ขั้นตอน
แนวทางการดำเนินงานส่งเสริม SMEs และวิสาหกิจชุมชนของ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ในปี 2562 ตามแนวทางของ นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้กำหนดนโยบายแผนการดำเนินงานส่งเสริม SMEs และวิสาหกิจชุมชน ของ กสอ. ในปี 2562 กุญแจไขความสำเร็จโครงการของ กสอ. 7 ขั้นตอน และแนวทางการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการในปีงบประมาณ 2561 ให้แล้วเสร็จทันเวลา และมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย
1. เป็นความร้องการที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย
2. มีกลุ่ม้ป้าหมายที่ชัดเจน
3. ปรัเมินความคุ้มค่าได้ชัดเจน ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต และเพิ่มยอดขาย
4. ส่งเสริมและเพิ่มช่องทางการตลาด
5. หาแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุน
6. ทำการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ กรณีศึกษาและความสำเร็จในงาน
7. สร้างแหล่งเรียนรู้เพื่อเผยแพร่
* ที่มา : กรมส่งเริมอุตสาหกรรม
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพเพิ่มเติมคลิกที่นี่
Tool เครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพ (Tools for quality management) รวมข้อมูล-------------------------------------------------
เครื่องมือจัดการคุณภาพพื้นฐาน 7 แบบ (The 7 Basic QC Tools)
เครื่องมือจัดการคุณภาพพื้นฐาน 7 แบบ (The 7 Basic QC Tools)
ประวัติ ค.ศ. 1946 JUSE หรือ Union of Japanese Scientists and Engineers ได้ถูกก่อตั้งขึ้นพร้อม ๆ กับการจัดตั้งกลุ่ม Quality Control Research Group ขึ้น เพื่อค้นคว้าให้การศึกษาและเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องระบบการควบคุม คุณภาพทั่วทั้งประเทศ โดยมีจุดหมายเพื่อลบภาพพจน์สินค้าคุณภาพต่ำ ราคาถูก ออกจากสินค้าที่ "Made in Japan" และเพิ่มพลังการส่งออกไปพร้อมกัน
หลังจากนั้นมาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่น Japanese Industrial Standards (JIS) ได้ถูกกำหนดเป็นกฏหมายในปี ค.ศ. 1950 พร้อมกับเชิญ Dr. W. E. Deming มาเปิดสัมมนาทาง QC ให้ผู้บริหารระดับและวิศวกรในประเทศ เป็นการจุดประกายของการตระหนักถึงการพัฒนาคุณภาพ อันตามมาด้วยการก่อตั้งรางวัล Deming Prize อันมีชื่อเสียง เพื่อมอบให้แก่โรงงานซึ่งมีความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณภาพดีเด่นของประเทศ
ต่อมาในปี ค.ศ. 1954 Dr. J. M. Juran ได้ถูกเชิญมายังประเทศญี่ปุ่น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริหารระดับสูงภายในองค์กรในการนำเทคนิคเหล่านี้มาใช้งาน โดยได้รับความร่วมมือจากพนักงานนับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาและรวบรวมเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพ 7 ชนิด หรือเรียกว่า QC 7 Tools มาใช้
เครื่องมือจัดการคุณภาพพื้นฐาน 7 แบบ (The 7 Basic QC Tools) ประกอบด้วย
1 ผังแสดงเหตุและผล (Cause-and-Effect Diagram) หรือผังก้างปลา (Fishbone Diagram) บางครั้งเรียกว่า Ishikawa Diagram ซึ่งเรียกตามชื่อของ Dr.Kaoru Ishikawa ผู้ซึ่งเริ่มนำผังนี้มาใช้ในปี ค.ศ. 1953 เป็นผังที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะ ทางคุณภาพกับปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2 แผนผังกระบวนการ (Flow Charts) คือ ภาพลายเส้นแท่งวงกลมหรือจุดเพื่อใช้แสดงค่าของข้อมูลว่าความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล หรือแสดงองค์ประกอบต่างๆ
3 แผ่นตรวจสอบ (Check sheet) คือแบบฟอร์มที่มีการออกแบบช่องว่างต่าง ๆ ไว้เพื่อใช้บันทึกข้อมูลได้ง่าย และสะดวก
4 แผนภูมิพาเรโต (Pareto Diagram) เป็นแผนภูมิที่ใช้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุของความบกพร่องกับปริมาณความสูญเสียที่เกิดขึ้น
5 กราฟฮีสโตแกรม (Histogram) เป็นกราฟแท่งที่ใช้สรุปการอนุมาน (Inference) ข้อมูลเพื่อที่จะใช้สรุปสถานภาพของกลุ่มข้อมูลนั้น
6 แผนภูมิควบคุม (Control Chart) คือแผนภูมิที่มีการเขียนขอบเขตที่ยอมรับได้ของคุณลักษณะตามข้อกำหนดทางเทคนิค (Specification) เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการควบคุมกระบวนการผลิต โดยการติดตามและตรวจจับข้อมูลที่ออกนอกขอบเขต (Control limit)
7 ผังการกระจาย (Scatter Diagram) คือ ผังที่ใช้แสดงค่าของข้อมูลที่เกิดจากความสัมพันธ์ของตัวแปรสองตัวว่ามีแนวโน้มไปในทางใด เพื่อที่จะใช้หาความสัมพันธ์ที่แท้จริง
* ที่มา : www.iok2u.com
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพเพิ่มเติมคลิกที่นี่
Tool เครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพ (Tools for quality management) รวมข้อมูล
-------------------------------------------------
Tool เครื่องมือจัดการคุณภาพใหม่ 7 แบบ (The 7 New QC Tools)
เครื่องมือจัดการคุณภาพใหม่ 7 แบบ (The 7 New QC Tools) เกิดจากสถาบัน JUSE ในญี่ปุ่น ที่ได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาเครื่องมือการจัดการด้านคุณภาพเพื่อให้ผู้บริหารใช้ สำหรับทำการติดตามการจัดการคุณภาพ ต่อเนื่องจากเครื่องมือพื้นฐานการจัดการคุณภาพ 7 แบบ ที่มีอยู่เดิมเพราะเครื่องมือเดิมนั้นเหมาะกับการแก้ปัญหา ใน 1972 จึงเริ่มมีการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือใหม่ เพื่อให้ผู้บริหารกับพนักงานวางแผนใช้ ได้เป็น เครื่องมือจัดการคุณภาพใหม่ 7 แบบ (The 7 New QC Tools) โดยรวบรวมเครื่องมือที่มีมาเป็นชุดใหม่ที่ใช้สำหรับวางแผนป้องกันปัญหา เพื่อให้ได้นโยบายและมาตรการที่ตรงกันชัดเจนเป็นรูปธรรม นำมาแก้ปัญหาทางด้านคุณภาพ (QC Problem) ตามขั้นตอนของวงจรในการบริหาร (Wheel of P-D-C-A) โดยเริ่มตั้งแต่การระบุปัญหา การหาสาเหตุ การตั้งเป้าหมาย รวมถึง ตรวจติดตามผลการแก้ปัญหา ช่วยให้เกิดแนวความคิด วางแผนการแก้ไข ได้อย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย
1 แผนภูมิการจัดกลุ่มความคิด (Affinity Diagram) ใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เป็นคำพูด ความรู้สึกจากผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง นำมาจัดเป็นหมวดหมู่ เพื่อแยกกลุ่มของข้อมูลไว้สำหรับการนำมาวิเคราะห์ในขั้นต่อไป โดยตั้งคำถามว่า “ทำไม” “เพราะอะไร” จึงเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นในองค์กร (ทำไมถึงไม่บรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย?)
2 แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ (Relation Diagram) หลังจากจัดกลุ่มข้อมูล (Affinity Diagram) แล้ว ผู้บริหารควรมุ่งเน้นไปที่ปัญหาที่ต้องการจะแก้ไข/ป้องกันเพื่อใช้ในการวางแผนเชิงรุก และเชื่อมโยงกลุ่มข้อมูลที่ได้จากการจัดกลุ่มความคิด (Affinity Diagram) แต่ละกลุ่มแต่ละความคิด แสดงข้อมูลที่เป็นเหตุ-ข้อมูลที่เป็นผลและเชื่อมโยงจนกระทั่งทราบถึงต้นตอหรือสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา (Root Causes) เพื่อนำไปหาแผนงานแนวทางหรือวิธีการป้องกันปัญหาให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายต่อไป
3 แผนภูมิต้นไม้ตัดสินใจ (Tree Diagram/ Decision Tree) ใช้เพื่อหาแนวทางแก้ไขป้องกัน ในรูปของแผนงานหรือวิธีการ โดยตอบคำถามว่า “ทำอย่างไร” เพื่อมุ่งสู่วัตถุประสงค์/เป้าหมายที่อยากเป็น โดยการมุ่งเน้นไปที่ต้นตอหรือสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาจากแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ (Relation Diagram)
4 แผนภูมิเมตริกซ์ (Matrix Diagram) เป็นเครื่องมือที่ช่วยหาความสัมพันธ์ของวัตถุประสงค์/เป้าหมาย และแผนงาน/มาตรการ/วิธีการ ที่ได้จากการเสนอแนะขึ้นว่าแนวทางใดน่าจะมีความเป็นไปได้ มีความคุ้มค่า และส่งผลกระทบให้บรรลุถึงเป้าหมายได้ก่อน โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด อย่างเต็มประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล
5 แผนภาพการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเมตริกซ์ (Matrix Data Analysis Chart) เป็นเครื่องมือที่ใช้เปรียบเทียบสมรรถนะ (Benchmark) จากมุมมองของลูกค้าและเทียบกับคู่แข่งที่เป็นผู้นำในด้านสินค้า หรือบริการคล้ายๆกับองค์กรของเรา วิธีนี้จะทำให้เห็นภาพว่าองค์กรเราอยู่ในตำแหน่งใด (Positioning) เพื่อมองกลยุทธ์ในการบริหารจัดการที่เหมาะสมต่อไปอย่างถูกทิศทาง
6 แผนภาพทางเลือกตัดสินใจ เพื่อบริหารความเสี่ยง (Process Decision Program Chart) เป็นเครื่องมือที่ใช้ช่วยหาแนวทางซึ่งอาจเป็นแผนงาน/มาตรการ/วิธีการ โดยมุ่งเน้นไปยังอุปสรรคที่น่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นในกระบวนการทำงาน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมายที่กำหนดไว้ เมื่อทราบถึงทุกอุปสรรคในกระบวนการก็สามารถหาแนวทางในการขจัดอุปสรรคทุกประเภทที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต คล้ายกับการมีแผนปฏิบัติการฉุกเฉินรองรับไว้เผื่อสำหรับการเปลี่ยนแปลงหรือความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทำให้องค์กรมีความมั่นใจต่อการเผชิญกับ
7 แผนภูมิลูกศร (Arrow Diagram) เป็นการวางแผนงานที่มีการกำหนดกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา และลำดับก่อนหลังของแต่ละกิจกรรมว่ากิจกรรมใดควรทำก่อน-หลัง เพื่อที่จะบริหารโครงการหรือแผนงานให้บรรลุเป้าหมายได้ในระยะเวลาที่กำหนดไว้ และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
เครื่องมือจัดการคุณภาพใหม่ 7 แบบ (The 7 New QC Tools) เป็นเครื่องมือที่ทางประเทศญี่ปุ่นพัฒนาเพิ่มเติมจาก เครื่องมือพื้นฐานจัดการคุณภาพ 7 แบบ (The 7 Basic QC Tools) ให้มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารระดับหัวหน้า/ผู้จัดการแผนก/ฝ่ายขึ้นไป ใช้ช่วยในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นคำพูด ความรู้สึกจากผู้บริหาร เพื่อวางแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ ในเชิงป้องกันหรือเชิงรุก โดยการระดมความคิดและข้อเท็จจริงในอดีต รวมถึงการมองภาพความต้องการในอนาคตของลูกค้าและคู่แข่งมาใช้เพื่อกำหนดแผนงาน/โครงการในการรักษาฐานลูกค้าเดิม ขยายฐานลูกค้าใหม่ เพิ่มยอดขาย และลดต้นทุนขององค์กรได้อย่างเป็นระบบ
เครื่องมือจัดการคุณภาพใหม่ 7 แบบ ไปใช้ในการวางแผนงานโครงการหรือกำหนดมาตรการ ควรที่ผู้ใช้ต้องศึกษาวัตถุประสงค์ ความสามารถ และเป้าหมายของเครื่องมือแต่ละตัว ให้เข้าใจมากที่สุดเพื่อที่จะสามารถคัดเลือกนำเอาเครื่องมือแต่ละตัวมาใช้ในงานได้อย่างถูกต้อง
* ที่มา : www.iok2u.com
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพเพิ่มเติมคลิกที่นี่
Tool เครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพ (Tools for quality management) รวมข้อมูล
-------------------------------------------------
Tool เครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพ (Tools for quality management) รวมข้อมูล
เครื่องมือ (Instrument) หมายถึง สิ่งที่ใช้วัดแปรเพื่อให้ได้ผลการวัด ข้อมูลในเครื่องมือจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ คำถามเกี่ยวกับข้อมูลของผู้ตอบ เป้าหมายสิ่งที่ต้องการรู้หรือวัด ต้องกำหนดรูปแบบคำถามที่ต้องการใช้ในเครื่องมือให้เหมาะสม
เครื่องมือการบริหารจัดการคุณภาพ (Tools for quality management) เป็นวิธีการปฏิบัติที่นำไปใช้ในการติดตามการทำงานหรือตรวจสอบการปฏิบัติที่สำคัญ เป็นวิธีการที่จะทำให้เราสามารถทราบสถานะปัจุบัน ปัญหาหรือช่องว่างที่มี (Gap) เพื่อนำมาทำการปรับปรุงคุณภาพ ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการจัดการไปในทางที่ดีขึ้น โดยเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการมีหลากหลายแบบแบ่งออกไปตามงานที่ต้องทำ วิธีการเก็บข้อมูลขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและการเลือกใช้การเก็บข้อมูลมีวิธีการเก็บ ปัญหาในการบริหารและจัดการในองค์การสามารถทำการแก้ไขได้ ด้วยการใช้เครื่องมือการจัดการคุณภาพมาประเมินผลและนำไปวางแผนปรับปรุงการทำงาน องค์การทุกที่จึงควรจำเป็นต้องศึกษารายละเอียดเครื่องมือที่มี และเลือกนำมาใช้ให้เหมาะสม เช่น
- แบบบันทึกรายการ (Record) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการบันทึกตามรายการที่ได้มีการกำหนดไว้
- แบบตรวจสอบรายการ (Checking) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายการในสถานการณ์ที่กำหนดไว้
- แบบทดสอบ (Testing) เป็นการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ความสามารถของบุคคลที่ทำการทดสอบในสภาพแวดล้อมที่กำหนด
- แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามให้กลุ่มเป้าหมายได้ตอบ
- แบบสัมภาษณ์ (Interview) เป็นการเก็บข้อมูลโดยอาศัยการสัมภาษณ์ระหว่างผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์
- แบบสังเกต (Observation) เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูล โดยการสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย
เครื่องมือที่เรามักพบในการนำมาใช้เพื่อการบริหารจัดการที่พบ ได้แก่
1. เครื่องมือในงานด้านการผลิต
- เครื่องมือในที่ใช้ วางแผนกิจกรรมและเวลาของโครงการ (Tools for planning activities and project times)
- เครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงในโช่อุปทาน (New Tool for Managing Risk in Supply Chain)
- เครื่องมือแผนภาพเต่า (Turtle Diagram)
- เครื่องมือจัดการคุณภาพพื้นฐาน 7 แบบ (The 7 Basic QC Tools)
- หลักการพาเรโต (Pareto: 80/20)
- แผนภูมิก้างปลา (Fishbone Diagram) หรือ แผนผังแสดงเหตุและผล (Cause-and-Effect Diagram)
- Tool แผนผังการกระจาย (Scatter Diagram)
- Tool แผนผังกระบวนการ (Flow Charts)
- Tool แบบกราฟฮีสโตแกรม (Histogram)
3.แผนภูมิแจงนับ (Tally Chart)
6.แผนภูมิการควบคุม (Control Chart)
7.การจัดชั้นภูมิ (Stratifiction)
- เครื่องมือจัดการคุณภาพใหม่ 7 แบบ (The 7 New QC Tools)
- กุญแจไขความสำเร็จโครงการของ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) 7 ขั้นตอน
- วิถีแห่งโตโยต้า (The Toyota Way)
- Balanced Scorecard (การประเมินผลงานขององค์กรแบบดุลยภาพ โดยการวัดศักยภาพ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการและประสิทธิภาพการทำงาน ด้านการเรียนรู้และการเติบโต)
- Benchmarking (การเปรียบเทียบสมรรถนะ)
- Change Management Programs (การบริหารความเปลี่ยนแปลง)
- Complexity Reduction (การลดความซ้ำซ้อน)
- Core Competencies (สมรรถนะหลักขององค์กร)
- Decision Rights Tools (เครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจ)
- Employee Engagement Surveys (การสำรวจความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร)
- Mergers and Acquisitions (การควบรวมกิจการ)
- Mission and Vision Management (การบริหารจัดการวิสัยทัศน์พันธกิจ)
- Organizational Time Management (การบริหารจัดการเวลาขององค์กร)
- Outsourcing (การจ้างผู้อื่นให้ทำหน้าที่หรือกระบวนการทางธุรกิจแทน)
- Scenario and Contingency Planning (การวางแผนรับสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติ)
- Strategic Alliances (พันธมิตรเชิงกลยุทธ์)
- Strategic Planning (การวางแผนเชิงกลยุทธ์)
- Supply Chain Management (การจัดการห่วงโซ่อุปทาน)
- Total Quality Management (การบริหารคุณภาพโดยรวมทั่วทั้งองค์กร)
- Zero-based Budgeting (การจัดทำงบประมาณแบบฐานศูนย์)
2. เครื่องมือในงานด้านการตลาด
- Price Optimization Models (รูปแบบของการใช้ราคาที่เหมาะสม)
- Satisfaction and Loyalty Management (การจัดการความภักดีและความพึงพอใจ)
- Customer Relationship Management (การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์)
- Customer Segmentation (การจัดกลุ่มผู้รับบริการ หรือการจำแนกกลุ่มลูกค้า)
- Big Data Analytics (การวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาล เพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ)
3. เครื่องมือในงานด้านการคิดค้นนวัตกรรม
- Digital Transformation (การปรับเปลี่ยนเพื่อพลิกโอกาสธุรกิจด้วยดิจิทัล)
- Disruptive Innovation Labs (การเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมอย่างพลิกผัน)
- Business Process Reengineering (การปรับรื้อระบบกระบวนการทางธุรกิจ)
* ที่มา : www.iok2u.com
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพเพิ่มเติมคลิกที่นี่
Tool เครื่องมือในการบริหารจัดการคุณภาพ (Tools for quality management) รวมข้อมูล-------------------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward