iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
Networking องค์ประกอบของเครือข่าย (Networking Elements)
องค์ประกอบของเครือข่าย
เครือข่ายเทียม (Pseudo network) หมายถึงเครือข่ายชนิดที่เราหลงผิดคิดว่าเป็นเครือข่าย แต่แท้จริงแล้วเป็นแค่การชุมนุมพบปะสังสรรค์ระหว่างสมาชิก โดยที่ต่างคนต่างก็ไม่ได้มีเป้าหมายร่วมกัน และไม่ได้ตั้งใจที่จะทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นการรวมกลุ่มแบบเฮโลสาระพา หรือรวมกันตามกระแสนิยมที่ไม่มีวัตถุประสงค์ชัดเจน ดังนั้น การทำความเข้าใจกับองค์ประกอบของเครือข่ายจึงมีความสำคัญ เพื่อช่วยให้สมาชิกสามารถสร้างเครือข่ายแท้แทนการสร้างเครือข่ายเทียม เครือข่าย (แท้) มีองค์ประกอบสำคัญอยู่อย่างน้อย 7 อย่างด้วยกัน คือ
1. มีการรับรู้และมุมมองที่เหมือนกัน (common perception)
ต้องมีความรู้สึกนึกคิดและการรับรู้เหมือนกันถึงเหตุผลในการเข้ามาร่วมกันเป็นเครือข่าย เช่น มีความเข้าใจในตัวปัญหาและมีจิตสำนึกในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ประสบกับปัญหาอย่างเดียวกันหรือต้องการความช่วยเหลือในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งจะส่งผลให้สมาชิกของเครือข่ายเกิดความรู้สึกผูกพันในการดำเนินกิจกรรมร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาหรือลดความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น
การรับรู้ร่วมกันถือเป็นหัวใจของเครือข่ายที่ทำให้เครือข่ายดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เพราะถ้าเริ่มต้นด้วยการรับรู้ที่ต่างกัน มีมุมมองหรือแนวคิดที่ไม่เหมือนกันแล้ว จะประสานงานและขอความร่วมมือยาก เพราะแต่ละคนจะติดอยู่ในกรอบความคิดของตัวเอง มองปัญหาหรือความต้องการไปคนละทิศละทาง แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าสมาชิกของเครือข่ายจะมีความเห็นที่ต่างกันไม่ได้ เพราะมุมมองที่แตกต่างช่วยให้เกิดการสร้างสรรค์ ในการทำงาน แต่ความแตกต่างนั้นต้องอยู่ในส่วนของกระบวนการ (process) ภายใต้การรับรู้ถึงปัญหาที่สมาชิกทุกคนยอมรับแล้ว มิฉะนั้นความเห็นที่ต่างกันจะนำไปสู่ความแตกแยกและแตกหักในที่สุด
2. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (common vision)
วิสัยทัศน์ร่วมกัน หมายถึงการที่สมาชิกมองเห็นจุดมุ่งหมายในอนาคตที่เป็นภาพเดียวกัน มีการรับรู้และเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน และมีเป้าหมายที่จะเดินทางไปด้วยกัน การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันจะทำให้กระบวนการขับเคลื่อนเกิดพลัง มีความเป็นเอกภาพ และช่วยผ่อนคลายความขัดแย้งอันเนื่องมาจากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน ในทางตรงกันข้าม ถ้าวิสัยทัศน์หรือเป้าหมายของสมาชิกบางกลุ่มขัดแย้งกับวิสัยทัศน์หรือเป้าหมายของเครือข่าย พฤติกรรมของสมาชิกกลุ่มนั้นก็จะเริ่มแตกต่างจากแนวปฎิบัติที่สมาชิกเครือข่ายกระทำร่วมกัน ดังนั้น แม้ว่าจะต้องเสียเวลามากกับความพยายามในการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน แต่ก็จำเป็นจะต้องทำให้เกิดขึ้น หรือถ้าสมาชิกมีวิสัยทัศน์ส่วนตัวอยู่แล้ว ก็ต้องปรับให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของเครือข่ายให้มากที่สุดแม้จะไม่ซ้อนทับกันแนบสนิทจนเป็นภาพเดียวกัน แต่อย่างน้อยก็ควรสอดรับไปในทิศทางเดียวกัน
3. มีความสนใจหรือผลประโยชน์ร่วมกัน (Mutual interests/benefits)
คำว่าผลประโยชน์ในที่นี้ครอบคลุมทั้งผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินและผลประโยชน์ไม่ใช่ตัวเงิน ถ้าการเข้าร่วมในเครือข่ายสามารถตอบสนองต่อความต้องการของเขาหรือมีผลประโยชน์ร่วมกัน ก็จะเป็นแรงจูงใจให้เข้ามามีส่วนร่วมในเครือข่ายมากขึ้น ดังนั้นในการที่จะดึงใครสักคนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของเครือข่าย จำเป็นต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ที่เขาจะได้รับจากการเข้าร่วม ถ้าจะให้ดีต้องพิจารณาล่วงหน้าก่อนที่เขาจะร้องขอ ลักษณะของผลประโยชน์ที่สมาชิกแต่ละคนจะได้รับอาจแตกต่างกัน แต่ควรต้องให้ทุกคนและต้องเพียงพอที่จะเป็นแรงจูงใจให้เขาเข้ามีส่วนร่วมในทางปฎิบัติได้จริง ไม่ใช่เป็นเข้ามาเป็นเพียงไม้ประดับเนื่องจากมีตำแหน่งในเครือข่าย แต่ไม่ได้ร่วมปฎิบัติภาระกิจ เมื่อใดก็ตามที่สมาชิกเห็นว่าเขาเสียประโยชน์มากกว่าได้ หรือเมื่อเขาได้ในสิ่งที่ต้องการเพียงพอแล้ว สมาชิกเหล่านั้นก็จะออกจากเครือข่ายไปในที่สุด
4. การมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคนในเครือข่าย (stakeholders participation)
การมีส่วนร่วมของสมาชิกในเครือข่าย เป็นกระบวนการที่สำคัญมากในการพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่าย เป็นเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการร่วมรับรู้ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ และร่วมลงมือกระทำอย่างเข้มแข็ง ดังนั้น สถานะของสมาชิกในเครือข่ายควรมีความเท่าเทียมกัน ทุกคนอยู่ในฐานะ “หุ้นส่วน (partner)” ของเครือข่าย เป็นความสัมพันธ์ในแนวราบ (horizontal relationship) คือความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อน มากกว่าความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง (vertical relationship) ในลักษณะเจ้านายลูกน้อง ซึ่งบางครั้งก็ทำใด้ยากในทางปฎิบัติเพราะต้องเปลี่ยนกรอบความคิดของสมาชิกในเครือข่ายโดยการสร้างบริบทแวดล้อมอื่นๆ เข้ามาประกอบ แต่ถ้าทำได้จะสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายมาก
5. มีการเสริมสร้างซึ่งกันและกัน (Complementary relationship)
องค์ประกอบที่จะทำให้เครือข่ายดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง คือ การที่สมาชิกของเครือข่ายต่างก็สร้างความเข้มแข็งให้กันและกัน โดยนำจุดแข็งของฝ่ายหนึ่งไปช่วยแก้ไขจุดอ่อนของอีกฝ่ายหนึ่ง แล้วทำให้ได้ผลลัพธ์เพิ่มขึ้นในลักษณะพลังทวีคูณ (1+1 > 2) มากกว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อต่างคนต่างอยู่
6. การเกื้อหนุนพึ่งพากัน (Interdependence)
เป็นองค์ประกอบที่ทำให้เครือข่ายดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน การที่สมาชิกเครือข่ายตกอยู่ในสภาวะจำกัดทั้งด้านทรัพยากร ความรู้ เงินทุน กำลังคน ฯลฯ ไม่สามารถทำงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างสมบูรณ์ได้ด้วยตนเองโดยปราศจากเครือข่าย จำเป็นต้องพึ่งพาซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกในเครือข่าย การทำให้หุ้นส่วนของเครือข่ายยึดโยงกันอย่างเหนียวแน่น จำเป็นต้องทำให้หุ้นส่วนแต่ละคนรู้สึกว่าหากเอาหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งออกไปจะทำให้เครือข่ายล้มลงได้ การดำรงอยู่ของหุ้นส่วนแต่ละคนจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงอยู่ของเครือข่าย การเกื้อหนุนพึ่งพากันในลักษณะนี้จะส่งผลให้สมาชิกมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างกันโดยอัตโนมัติ
7. มีปฎิสัมพันธ์ในเชิงแลกเปลี่ยน (Interaction)
หากสมาชิกในเครือข่ายไม่มีการปฎิสัมพันธ์กันแล้ว ก็ไม่ต่างอะไรกับก้อนหินแต่ละก้อนที่รวมกันอยู่ในถุง แต่ละก้อนก็อยู่ในถุงอย่างเป็นอิสระ ดังนั้นสมาชิกในเครือข่ายต้องทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดการปฎิสัมพันธ์ระหว่างกัน เช่น มีการติดต่อกันผ่านทางการเขียน การพบปะพูดคุย การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน หรือมีกิจกรรมประชุมสัมมนาร่วมกัน โดยที่ผลของการปฎิสัมพันธ์นี้ต้องก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเครือข่ายตามมาด้วย ลักษณะของปฎิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกควรเป็นการแลกเปลี่ยนกัน (reciprocal exchange) มากกว่าที่จะเป็นผู้ให้หรือเป็นผู้รับฝ่ายเดียว (unilateral exchange) ยิ่งสมาชิกมีปฎิสัมพันธ์กันมากเท่าใดก็จะเกิดความผูกพันระหว่างกันมากขึ้นเท่านั้น ทำให้การเชื่อมโยงแน่นแฟ้นมากขึ้น มีการเรียนรู้ระหว่างกันมากขึ้น สร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่าย
องค์ประกอบข้างต้นไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์ในการนำไปช่วยจำแนกระหว่างเครือข่ายแท้กับเครือข่ายเทียม แต่ยังแสดงให้เห็นถึงปัจจัยที่จะมีผลต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายด้วย
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราว การสร้างเครือข่าย (Networking) เพิ่มเติมคลิกที่นี่
Networking การสร้างเครือข่าย (Networking)
-------------------------------------------------
Plan การวางแผนความต้องการ (Demand Plan)
การวางแผนความต้องการ (Demand Plan) คือการทำหน้าที่กำหนดปริมาณสินค้าที่องค์กรต้องการผลิตเพื่อที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ มีประเด็นที่จะต้องให้ความสนใจและนำมาใช้ในการวางแผน 5 เรื่องได้แก่
1. Forecasting
2. Product/Brand management
3. Marketing
4. Sale
5. Business Plan / Strategy
การวางแผนความต้องการ (Demand Plan) เป้าหมายคือหาวิธีพยากรณ์และวางแผนความต้องการของตลาด ให้ได้อย่างถูกต้องแม่นยำหรือเกิดความผิดพลาดให้น้อยที่สุด เพื่อที่จะให้เกิดการลดความสูญเสียในการผลิตที่สูญเปล่า และเป้นการเพิ่มโอกาสการแข่งขัน การพยากรณ์เพื่อการวางแผน จึงมีความเป็นความจำที่ต้องรู้เข้าใจ ต้องมีความสามารถสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าที่แท้จริง การพยากรณ์การขาย
-----------------------------------------------
? ติดตามข้อมูลข่าวสารได้จากช่องทางสื่อสาร iOK2u ได้ที่
ระดับการวางแผนโลจิสติกส์ (Logistics Plan Level) ในการวางแผนโลจิสติกส์ จะมีการพิจารณาถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกันอย่างต่อเนื่อง ในการดำเนินการตามแผนที่วางเอาไว้ในแต่ล่ะช่วงเวลา และจะต้องมีการติดตามวิเคราะห์ผลกระทบจากการดำเนินงานตามแผนที่วางเอาไว้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขแผนที่วางเอาไว้อย่างสม่ำเสมอและให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากความสำเร็จของแผนโลจิสติกส์นั้นตัวแปรสำคัญที่สุดคือ ความสามารถในการตอบสนองความต้องการสินค้า/วัตถุดิบ ณ ช่วงเวลานั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นจึงต้องมีการแบ่งระดับการวางแผนโลจิสติกส์ออกเป็น 4 ระดับ
ระดับ 1 การวางแผนโลจิสติกส์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Plan) การวางแผนการใช้ทรัพยากรโลจิสติกส์ (ทรัพยากรมนุษย์ เงินทุน สิ่งอำนวยการ และอุปกรณ์ระบบเทคโนโลยี) ในระยะยาว 3-5 ปี โดยการนำข้อมูลจากการพยากรณ์ยอดขายมาเป็นฐานข้อมูลในการกำหนดธุรกรรมในอนาคตให้สอดคล้องกับแผนกลยูทธ์องค์กร แผนการตลาด แผนการผลิต แผนการเงิน และแผนทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งผู้บริหารระดับสูงของสายงานทางด้านโลจิสติกส์จะเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง
ระดับ 2 การวางแผนโลจิสติกส์หลัก (Master Plan) เป็นการวางแผนการใช้ทรัพยากรโลจิสติกส์ระยะกลาง 1-3 ปี ที่กำหนดกิจกรรมโลจิสติกส์หลักภายใต้กรอบของการวางแผนโลจิสติกส์เชิงกลยุทธ์ โดยใช้ข้อมูลตัวเลขการพยากรณ์ยอดขายและคำสั่งซื้อล่วงหน้าของลูกค้ามากำหนดการวางแผนความต้องการพัสดุ การจัดหา การจัดเก็บ การจัดส่งสินค้า และการบริการลูกค้าให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ซึ่งผู้บริหารระดับกลางจะเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง
ระดับ 3 การวางแผนตารางการทำงานหลัก (Scheduling Plan) เป็นการวางแผนการใช้ทรัพยากรใช้ทรัพยากรโลจิสติกส์ในระยะสั้น 6 เดือนถึง 1 ปี ที่กำหนดกิจกรรมโลจิสติกส์หลักภายใต้กรอบของแผนโลจิสติกส์หลักโดยใช้ข้อมูลตัวเลขการพยากรณ์ยอดขายหรือค าสั่งซื้อล่วงหน้าของลูกค้ามาก าหนดกิจกรรมการวางแผนความต้องการพัสดุ การจัดซื้อ การจัดเก็บ การจัดส่งสินค้า และบริการให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ตรงเวลาและประหยัด
ระดับ 4 การวางแผนกระบวนการคำสั่งซื้อของลูกค้า (Order Processing) เป็นการวางแผนการใช้ทรัพยากรโลจิสติกส์รายวัน ที่กำหนดกิจกรรมการสั่งซื้อของลูกค้าภายใต้กรอบของแผนตารางการทำงานหลักโดยใช้ข้อมูลตัวเลขจากจ านวนค าสั่งซื้อจากลูกค้าและจัดล าดับการให้บริการตามประเภทของลูกค้า ตั้งแต่กระบวนการรับคำาสั่งซื้อ การตรวจสอบสินค้าคงคลัง ความพร้อมของสินค้า ยานพาหนะ บุคลากร และอุปกรณ์เครื่องมือ
------------------------------------------------------------------
ดูข้อมูลเพิ่มเติม
การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics management) และ การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)
การจัดการโลจิสติกส์ (Logistics management)
การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)
------------------------------------------------------------------
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราว การวางแผนกลยุทธ (Strategic Planning) เพิ่มเติมคลิกที่นี่
Plan การวางแผนกลยุทธ (Strategic Planning) รวมข้อมูล
-------------------------------------------------
รูปแบบโครงสร้างซัพพลายเชน (Supply Chain Model)
รูปแบบ (Model) ของการบริหารจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มีหลายรูปแบบของการดำเนินการซึ่งแต่ละรูปแบบก็จะมีวิธีการหลักการในการดำเนินการ ความสัมพันธ์ การเชื่อมโยง และส่วนประกอบของรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างรูปแบบเช่น
1) sc รูปแบบโครงสร้างซัพพลายเขนแบบ Diamond Model
2) sc รูปแบบโครงสร้างซัพพลายเชนแบบ Value Chain
3)
Lean การไหลของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Flow)
Supply Chain หรือ ห่วงโซ่อุปทาน หมายถึง กระบวนการที่ทำให้เกิดสินค้าขึ้นมา จะประกอบด้วยการเชื่อมโยงร่วมกันตั้งแต่ต้นน้ำหรือผู้ส่งวัตถุดิบไปจนถึงปลายน้ำที่เป็นลูกค้า ซึ่งในระหว่างนี้จะมีกิจกรรมต่าง ๆ ในกระบวนการมากมาย เช่น การวางแผน (Planing) กระบวนการจัดซื้อ (Procurement) การผลิต (Manufacturing) การจัดเก็บ (Storage) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) การจัดจำหน่าย (Distribution) และการขนส่ง (Transportation) จะเห็นว่ามีขั้นตอนมากมายตั้งแต่ก่อนการผลิตไปจนถึงภายหลังการผลิตสินค้าจนไปถึงมือผู้บริโภค ดังนั้นทุกกระบวนการทั้งหมดที่กล่าวมาต้องทำงานสอดคล้องกันและมีประสิทธิภาพ เพราะทุกกระบวนไม่เพียงจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตแล้ว ยังส่งผลไปถึงเรื่องราวต่าง ๆ อีกมากมายทั้งในเรื่องของเวลา คุณภาพ ความสามารถในการให้บริการและอื่นๆ อีกมากที่จะทำให้เิดผลลัพท์ที่สำคัญที่ส่งผลถึงความพึงพอใจของลูกค้า ดังนั้นเพื่อให้ผู้บริโภคหรือลูกค้ามีความประทับใจในสินค้าหรือบริการ เจ้าของสินค้าหรือผู้ผลิตต้องมีระบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานหรือที่เรียกกว่า Supply Chain Management ที่ดีและมีประสิทธิภาพและทำการเชื่อมโยงขนส่งเคลื่อนย้ายด้วยกระบวนการโลจิสติกส์ที่ดี
จุดประสงค์หลักในการจัดการโซ่อุปทานก็เพื่อมุ่งที่จะลดความสูญเปล่าที่เกิดในการผลิต (Wastes) ด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่งที่เรารู้จัดหรือคุ้นเคยคงได้แก่ ขั้นตอนการจัดทำแบบลีน (Lean) ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การลดสินค้าคงคลัง การปรับปรุงการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการลีนนั้นเพื่อที่จะลดปัญหาความสูญเสีย (Losses) ที่เกิดจากการผลิตที่สูญเปล่าลงให้มากที่สุด
การดำเนินการมักจะเน้นเริ่มทำที่ภายในองค์กรก่อน (In Plant Logistics) โดยใช้ขั้นตอนกระบวนการลีนที่มี 5 ขั้นตอน และใช้เครื่องมือที่มีหลากหลายวิธีมาช่วยโดยที่นิยมและพบมากในงานลีนมี 11 เครื่องมือ ซึ่งเมื่อดำเนินการจัดการภายในดีพอแล้วจึงแล้วค่อยขยายออกไปสู่เครือข่ายในโซ่อุปทานภายนอกฝั่งของผู้ส่งวัตถุดิบ (Inbound Logistics) แลในด้านของลูกค้าหรือผู้รับบริการ (Outbound Logistics)
หน้าที่หลักที่ในการจัดการโซ่อุปทานมุ่งไปที่การจัดการการไหลในกระบวนการ โดยการไหลในกระบวนการที่พบจะมี 3 เรื่องหลักได้แก่ วัตถุดิบ สารสนเทศ และการเงิน ซึ่งส่วนใหญ่ที่ทำกันจะเป็น 2 ส่วนคือการไหลของวัตถุในการผลิต และการไหลของข้อมูลที่ควรต้องให้อยู่ในรูปของสารสนเทศให้ได้ ส่วนในเรื่องของการไหลของเงินทุนนั้น จะมีระบบที่เขาจัดการแยกเฉพาะที่ต้องให้นักบัญชีเป็นผู้ดูแลและจัดการไป จึงไม่ค่อยนิยมนำการไหลนี้มาคิดร่วมในงานด้านโซ่อุปทานและโลจิสติกส์กัน
------------------------------------------------
ที่มาข้อมูล
ภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward