iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
CT51 ระบบราง กุญแจสำคัญในการพัฒนา Logistics Green Transportation Development of Railway Network: Key Success for Logistics Green Transportation
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ผู้เขียน ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา
บทนำ
ปัญหาโลกร้อนนับวันยิ่งเป็นปัญหาสำคัญและยิ่งมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนมากขึ้นโดยเฉพาะ ช่วงเวลาของฤดูกาลที่ไม่แน่นอน อากาศร้อน จัดหนาวจัด ปัญหาเหล่านี้ล้วนเกิดมาจากการปล่อย ก๊าซคาบอนไดออกไซด์ (CO2) เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งตัวการสำคัญที่ปลดปล่อย ก๊าซคาบอนได้ออกไซด์ เข้าสู่ชั้นบรรยากาศนี้ก็คือ การขนส่งคมนาคมที่ขาดการวางแผน การ Utilization ของทั้งตัวยานพาหนะ เส้นทาง รวมถึง Mode ของการขนส่งสินค้า ในประเทศที่เจริญแล้วและมีความสามารในการบริหารโลจิสติกส์ที่เป็นเลิศ เช่น ประเทศอังกฤษ[1] นอกจากจะมีการวางแผนด้านระบบการจัดการโลจิสติกส์ที่ดีซึ่งช่วยสามารถลดต้นทุนและเพิ่มความสามารถในการแข่งที่ดีแล้ว ยังสามารถนำระบบ Green Logistics Transportation เข้ามาเพื่อบรรเทาปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดมลพิษ อันจะเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณภาครัฐที่จะนำไปบำบัดผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเป็น และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนอันเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศ
2 อัตราการปล่อยก๊าซคาบอนไดออกไซด์ (CO2) จาก Mode การขนส่งสินค้า และการ Utilization Mode การขนส่งสินค้า
แผนภาพที่ 1 แสดงให้เห็นว่าอัตราการปลอปล่อยก๊าซคาบอนไดออกไซด์ เป็น gram/ton/km ของการขนส่งรูปแบบต่าง ๆ ต่อความสามารถในการขนส่งหรือลากจูงน้ำหนักจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการขนส่งสินค้าต่อการใช้พลังงานหรือัตราการบริโภคน้ำมัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ Mode การขนส่งทั้งหมดแล้วจะเห็นได้ว่าการขนส่งทางรถถนนนั้นมีการบริโภคน้ำมันสูงที่สุด[2] ดังแสดงในแผนภาพที่ 2 และเมื่อเปรียบเทียบกับความสามาถในการลากจูงน้ำหนักการขนส่งสินค้าโดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับ Mode การขนส่งระหว่างการขนส่งด้วยรถบรรทุกและรถไฟจะพบว่าความสามารถในการลากจูงต่อ 1 กิโลเมตร พบว่าการขนส่งทางรถไฟสามารถขนส่งสินค้าได้ถึง 85.5 ตัน ในขณะที่การขนส่งทางถนน (รถบรรทุก) สามารถขนส่งได้เพียงแค่ 25 ตัน[3]
แผนภาพที่ 1 อัตราการปลดปล่อยก๊าซคาบอนไดออกไซด์ (CO2) จาก Mode การขนส่งประเภทต่าง
แผนภาพที่ 2 ปริมาณการใช้น้ำมันของ Mode การขนส่งประเภทต่าง ๆ
นอกจากการพิจารณาเรื่องของ Mode การขนส่งสินค้าแล้วยังจะต้องพิจารณาถึงการ บริหารการจัดการในการให้เกิดการขนส่งสินค้าเต็มเที่ยว ซึ่งในการคำนวณประสิทธิภาพของการปล่อย ก๊าซคาบอนไดออกไซด์ นั้นจะพิจารณาถึง ประสิทธิภาพของ Load Capacity Utilization ของทั้งรถบรรทุก รถไฟ หรือเรือ ต่อ ปริมาณการใช้น้ำมัน ต่อจำนวนน้ำหนักที่สามารถในการขนส่งสินค้า[4] ดังแสดงในแผนภาพที่ 3
แผนภาพที่ 3 ความสัมพันธ์ของ Load Capacity Utilization กับการบริโภคน้ำมัน ของ Mode การขนส่งประเภทต่าง ๆ
3 การ Utilization เส้นทางการขนส่งสินค้า
การ Utilization ของเส้นทางการขนส่งสินค้าก็หมายถึงการวางแผนการขนส่งและกระจายสินค้านั้นเอง เช่น การวางแผนในการตั้ง HUB หรือ DC การวางแผนในการใช้การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ โดยหากพิจารณาในแง่ของการขนส่งแบบ Logistics Green Transportation ก็จะพิจารณาการเลือกวิธีขนส่งค้าที่ทำให้เกิดการบริโภคน้ำมันที่เป็นต้นเหตุของการเกิดก๊าซคาบอนไดออกไซด์ให้น้อยที่สุดดังที่กล่าวมาในหัวข้อที่ 2 เช่นการเลือกใช้การขนส่งระบบรางในการขนส่งระยะไกลและการใช้รถบรรทุกในการขนส่งระยะใกล้และเพื่อการขนส่ง Door to Door ซึ่งการวางแผนนี้จะต้องมีการบูรณาการของการวางแผนการขนส่งโดยอาจตั้งแต่จุดที่เรือขนส่งสินค้าเข้าประเทศจนถึงการบริโภคสินค้า ณ จุดหมายปลายทาง[5] ดังแสดงในแผนภาพที่
แผนภาพที่ 4 แนวความการปรับปรุงการขนส่งกระจายสินค้าของอังกฤษเพื่อสนับสนุน Logistics Green Transportation
4 สรุป
ในการพัฒนา Logistics Green Transportation นอกจากที่จะต้องพิจารณาถึงการขนส่งสินค้าเพิ่มเที่ยวเพื่อเพิ่มการ Utilization ของยานพาหนะ ซึ่งจะทำให้อัตราการบริโภคน้ำมันและการปล่อยก๊าซคาบอนไดออกไซด์กับปริมาณการขนส่งสินค้ามีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ในการบริหารการขนส่งดังกล่าวจะช่วยได้ในระดับนึงเนื่องการขนส่งและกระจายสินค้าจะอาศัยการขนส่งระยะทางไกลเป็นดังการขนส่งระบบรางซึ่งมีจุดเด่นคือสามารถการขนส่งสินค้าได้ครั้งละมาก ๆ มีการใช้พลังงานที่ต่ำซึ่งก็หมายถึงมีการปลดปล่อย ก๊าซคาบอนไดออกไซด์ ที่ต่ำด้วยดังนั้นหากมีการสนับสนุนมีการขนส่งทางระบบรางมากขึ้นก็จะสามารถช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมลดมลพิษต่าง ๆ ลงได้ โดยเฉพาะผลกระจากโลกร้อนที่มีต้นเหตุจากก๊าซคาบอนไดออกไซด์
[1] McKinnon, A., 2007, CO2 Emission from Freight Transport: An Analysis of UK Data, LRN Conference 2007.
[2] กระทรวงพลังงาน 2550
[3] กระทรวงคมนาคม 2550
[4] International Maritime Organization (IMO) 2000
[5] McKinnon, A., 2007, CO2 Emission from Freight Transport: An Analysis of UK Data, LRN Conference 2007.
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
CT51 ระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการอุตสาหกรรม
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ผู้เขียน ผศ.ดร.สุวรรณี อัศวกุลชัย
การประยุกต์ระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ดังแสดงในรูปที่ 1 ซึ่งแนวคิดการบริหารจัดการที่ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงธุรกิจเข้าด้วยกันครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำ (Upstream) ถึงปลายน้ำ (Downstream) เริ่มจาก Supplier จนถึงผู้บริโภค กล่าวคือตั้งแต่ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ ฝ่ายจัดซื้อ (เพื่อช่วยจัดหาการรับคำสั่งซื้อ) ฝ่ายวางแผน ผู้ผลิต (เพื่อช่วยการวางตารางผลิต) การจัดการสินค้าคงคลัง ฝ่ายขายและการตลาด ผู้แทนจำหน่าย (เพื่อช่วยในการจัดการคลังสินค้า) รวมถึงการบริหารงานขนส่ง จนกระทั่งถึงผู้บริโภครายสุดท้าย และการบริการลูกค้า
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) มีบทบาทสำคัญในการดำเนินธุรกิจ นำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ประกอบการในการบริหารงานขององค์กร กระบวนการทางธุรกิจแบบใหม่ถูกสร้างและควบคุมโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือหลักในการเชื่อมโยงสารสนเทศระหว่างหน่วยงาน ภายในและภายนอกองค์กร ส่งผลให้ความสามารถในการสื่อสารควบคุม ตลอดจนการประมวลผลเพื่อตัดสินใจเป็นไปอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
รูปที่ 1 การเชื่อมโยงสารสนเทศระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอกองค์กร
จากรูปที่ 1 แสดงกิจกรรมต่างๆ ภายในโซ่อุปทานที่มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน (Information Flow) ซึ่งองค์ประกอบหลักของการจัดการโซ่อุปทานจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
สำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการอุตสาหกรรมที่กำลังได้รับความนิยม อาทิ ระบบการวางแผนทรัพยากรขององค์กร (Enterprise Resource Planning: ERP) คือ ระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยเป็นระบบที่เชื่อมโยงระบบงานขององค์กรและเชื่อมโยงข้อมูลจากทุกแผนกที่เกี่ยวข้องเข้ามาสู่ฐานข้อมูลศูนย์กลาง ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูลการสั่งสินค้าของลูกค้า การสั่งซื้อของลูกค้าผ่านตัวแทนขาย จนกระทั่งขั้นตอนของการส่งสินค้าและเก็บเงิน โดยจะทำให้บริษัทดำเนินการได้ง่ายขึ้น และยังสามารถตรวจสอบสถานะการดำเนินงานได้ ซึ่งเป็นการประสานกันระหว่างกระบวนการ ตั้งแต่การผลิต การเก็บรักษาสินค้า จนถึงการขนส่งสินค้าให้ลูกค้าไปยังที่หมายปลายทางที่ต่างกันในเวลาเดียวกันได้ โดยช่วยให้การวางแผนและบริหารทรัพยากรขององค์กรมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดเวลาและขั้นตอนการทำงาน
อย่างไรก็ตาม ซอฟต์แวร์ ERP ราคาค่อนข้างสูง ไม่เหมาะกับธุรกิจที่เพิ่งจะเติบโต สำหรับ SMEs สามารถเลือกใช้งานซอฟท์แวร์ย่อยๆ ที่แบ่งเป็นโมดูลทีละส่วนก่อนได้ เช่น ระบบบัญชี ระบบสินค้าคงคลัง เป็นต้น หรืออาจใช้โปรแกรม Microsoft Excel ในการจัดการแทนที่จะเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่อาจมีราคาแพง จะเห็นได้ว่า ERP มีประโยชน์สำหรับธุรกิจตั้งแต่ขนาดย่อมไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่
สำหรับอุตสาหกรรมเซรามิก กรณีของผลิตภัณฑ์ของใช้บนโต๊ะอาหาร หรือของชำร่วย และเครื่องประดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ยังขาดการเชื่อมโยงสารสนเทศระหว่างองค์กร รวมไปถึงขาดนโยบายและเครื่องมือที่เหมาะสมในเรื่องการจัดการสินค้าคงคลัง ส่วนผลิตภัณฑ์กระเบื้องบุพื้น บุผนัง ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ก็ยังขาดการเชื่อมโยงสารสนเทศระหว่างองค์กรเช่นเดียวกัน สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสุขภัณฑ์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ได้มีการเชื่อมโยงสารสนเทศในโซ่อุปทานระหว่างโรงงานกับผู้จัดจำหน่ายทุกสาขา ส่งผลต่อความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า กล่าวคือ ผู้ผลิต คือ โรงงาน พัฒนาระบบฐานข้อมูลภายใต้ Oracle เชื่อมโยงกับระบบ SAP ของผู้จัดจำหน่ายทุกสาขา ทำให้โรงงานสามารถเช็กสต็อกสินค้าว่าสาขาไหนมีเหลือเท่าไร หรือสินค้าตัวใดขาดอยู่ นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมระบบการผลิต การทำโปรโมชั่นสินค้าที่ต้องการยอดขายสูง อีกทั้งยังช่วยดูแลเรื่องระบบข้อมูลให้ง่ายขึ้น สามารถจัดการระบบต่างๆ ในองค์กรให้มีมาตรฐานมากขึ้น
ดังนั้น สิ่งที่อุตสาหกรรมเซรามิกส่วนใหญ่สามารถดำเนินการได้ คือการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการ ซึ่งอาจจะเป็นการรวมกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ด้วยกัน หรือผู้ประกอบการ SMEs กับบริษัทผู้ซื้อขนาดใหญ่ การบริหารกลุ่มวิสาหกิจเครือข่ายและการเชื่อมโยงเป็นการบูรณาการที่เกิดการร่วมมือตั้งแต่การวางแผนการผลิต ทั้งส่วนของวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และการบริการของกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วให้แก่ลูกค้า การเชื่อมโยงของระบบการผลิตและบริการ เป็นการเชื่อมโยงของระบบสารสนเทศและฐานข้อมูลของผู้ประกอบการต่างๆ เช่น ระบบการจัดซื้อ จัดหาวัตถุดิบ การติดต่อข้อมูลข่าวสารของผลิตภัณฑ์การผลิต การจัดส่ง การจัดซื้อ ผ่านระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ นับเป็นการร่วมมืออย่างบูรณาการของผู้ประกอบการในกลุ่ม ให้มีความต่อเนื่องเสมือนหนึ่งเป็นผู้ประกอบการเดียวกัน
ประโยชน์ของการเชื่อมโยงสารสนเทศระหว่างองค์กร
จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยเฉพาะการบูรณาการกระบวนการทำงานระหว่างองค์กร ที่เรียกว่า Interagency Management ในรูปแบบ Collaborative Approach เพื่อให้คู่ค้าในโซ่อุปทานสามารถแลกเปลี่ยนและร่วมใช้สารสนเทศ โดยมีเทคโนโลยีที่สำคัญอย่างอินเทอร์เน็ตและเอ็กทราเน็ตสนับสนุนกระบวนการโซ่อุปทาน และการบูรณาการในรูปแบบ B2B (Business-to-Business) ซึ่งรูปแบบความร่วมมือหรือการทำงานร่วมกันและเกิดประโยชน์ดังต่อไปนี้
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
CT51 โลจิสติกส์กับการบริหารงานโครงการ (ตอนที่ 2): การวางแผนโครงการ (Project Planning)
ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา
บทนำ
จากที่ได้กล่าวมาแล้วในเบื้องต้นจาก “โลจิสติกส์กับการบริหารโครงการ ตอนที่ 1” การแข่งขันทางธุรกิจได้ทวีความรุนแรงขึ้น ต้นทุนของปัจจัยพื้นฐานของการผลิต เช่น วัตถุดิบ ต้นทุนค่าแรงงานขั้นต่ำที่สูงขึ้น 230 บาท[1] ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เช่น สมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นนทบุรี เป็นต้น และต้นทุนด้านพลัง โดยเฉพาะราคาน้ำมันดีเซล[2]ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในระยะเวลา จาก เดือน มกราคม ถึง มิถุนายน 2551 โดยมีการปรับราคาเพิ่มขึ้นจากประมาณ 29 บาท จน ถึง ประมาณ 41 บาท ในปัจจุบัน (มิถุนายน 2552) จากสถานการณ์ข้างต้นนี้ได้ส่งผลกระทบซึ่งทำให้องค์กรต่าง ๆ มี ต้นทุนในการดำเนินงานที่สูงขึ้น ดังนั้นหากองค์กรธุรกิจไม่มีการวางแผน การกำหนดทิศทางขององค์กร หรือการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานที่ดีไว้ล่วงหน้าอาจทำให้องค์กร ไม่สามารถดำเนินการไปจนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้ ดังนั้น การวางแผนและการบริหารโครงการจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดสรร และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดของในแต่ละองค์กรนั้นให้เกิดประสิทธิภาพ อย่างสูงสุดเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายและความสำเร็จขององค์กร
จะเห็นได้ว่าโครงการให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพทั้งในด้าน ต้นทุน คุณภาพ และให้อยู่ในกรอบระยะเวลาที่กำหนด ได้จะต้องอาศัยหลักของการจัดการโลจิสติกส์ ซึ่งก็คือ การจัดส่ง การบริหารงาน การควบคุมระบบจัดซื้อและส่งวัตถุดิบ ที่ถูกต้อง ถูกสถานที่ และถูกต้องตามเวลานัดหมาย เพื่อที่จะลดการสูญเสียอันเนื่องมาจากความผิดพลาด และการทำงานซ้ำซ้อน ซึ่งก็คือหลักการของการจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพนั้นเอง การบริหารโครงการจะประสบความสำเร็จนั้นจะต้องบริหารภายใต้กรอบของระยะเวลา คุณภาพ การวางแผนงานที่มีประสิทธิภาพ การจัดส่งที่ตรงตามเวลา การบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการบริหารโครงการจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้จะต้องมีการบริหารจัดการ โลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ
ฉะนั้นในการบริหารโครงการให้ประสบความเสร็จโดยใช้เทคนิคการจัดการโลจิสติกส์มาประยุกต์ใช้นั้นจะต้องประกอบด้วย กิจกรรมดังต่อไปนี้ 1) การวางแผนโครงการ (Project Planning); 2) การวางแผนการจัดซื้อ และการจัดส่งวัตถุดิบ (Raw Material Purchasing and Delivery); 3) การบริหารงานคุณภาพ และการประกันคุณภาพ; 4) การควบคุมและติดตามโครงการ; การควบคุมต้นทุน และงบประมาณ (Cost and Budget Control); 6) การจบโครงการ
การวางแผนโครงการ (Project Planning)
การวางแผนโครงการ (Project Planning) คือ ความพยายามในการวางแผน การกำหนดกลยุทธ์ล่วงหน้าหรือการคาดกการณ์ล่วงหน้า เกี่ยวกับกิจกรรมในการดำเนินงานต่าง ๆ ขั้นตอน การวางแผนด้านการเงินรายรับและค่าใช้จ่าย การวางแผนบุคลากร ภายในกรอบระยะเวลาการดำเนินงานที่กำหนดไว้หรือในโครงการ รวมถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ เมื่อเปรียบเทียบกับ หลักของการจัดการโลจิสติกส์ จะต้องมีการวางแผน การจัดส่ง การบริหารงาน การควบคุมระบบจัดซื้อและส่งวัตถุดิบ ที่ถูกต้อง ถูกสถานที่ และถูกต้องตามเวลานัดหมาย การร่วมกันคาดการณ์ การพยากรณ์ การรับสินค้า ซึ่งจะต้องมีการร่วมมือกันระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ขนส่ง รวมถึงการวางแผนในด้านการบริหารงานเชิงพฤติกรรมของกลุ่มองค์กรที่เกี่ยวข้อง และ รวมถึงหลักการกฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ (ดังแสดงในแผนภาพที่ 1) เพื่อให้ผู้บริหารและบุคลากรคาดคะเนทิศทางหรือสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมถึงลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ซึ่งก็คือหลักการของการจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพนั้นเอง ดังที่ International Project Management Association (IMPA)[3] จึงได้ให้แนวทางในการวางแผนการบริหารโครงการอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันซึ่ง IMPA ได้ใช้นิยามของการเพิ่มความสามารถนี้ ด้วยหลัก 3 ประการ คือ 1) Contextual Competence; 2) Behavioral Competence และ 3) Technical Competence ดังแสดงในแผนภาพที่ 2 เพื่อให้การบริหารโครงการในงานการจัดการโลจิสติกส์จะประสบความสำเร็จนั้นจะต้องบริหารภายใต้กรอบของระยะเวลา คุณภาพ การวางแผนงานที่มีประสิทธิภาพ การจัดส่งที่ตรงตามเวลา การบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ
ซึ่งการการวางแผนโครงการนั้นได้มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการดังนี้
แผนภาพที่ 1 กิจกรรมต่าง ๆ ในการบริหารโครงการงานการจัดการโลจิสติกส์
แผนภาพที่ 2 แนวทางสู่ความสำเร็จในการวางแผนโครงการตามแนวทางปฏิบัติของ IMPA
ขั้นตอนของการวางแผนโครงการ
เนื่องจากในการบริหารงานนั้นมีลักษณะที่แตกต่างกันโดยเฉพาะการบริหารการจัดการโลจิสติกส์ เช่น การบริหารงานขนส่งและกระจายสินค้า การบริหารคลังสินค้า หรือแม้กระทั่งงานบริหารจัดการเอกสารต่าง เป็นต้น จึงเป็นการยากที่จะกำหนดวิธีการลงไปอย่างตายตัวว่าในงานในแต่ละแบบจะมีต้นแบบหรือแบบอย่างการทำงานอย่างไร และงานในแต่ละแบบก็เกิดในทั้งเวลา สถานที่ และปัจจัยองค์ประกอบที่แตกต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามในการบวนการวางมักจะมีสิ่งที่เหมือนกันอยู่ก็คือ โครงการจะทำอะไร อย่างไร เมื่อไร มีการควบคุมและการตรวจติดตามอย่างไร และสุดซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยเฉพาะการบริหารงานโครงการงานด้านโลจิสติสติกส์ คือ การประเมินความพึงพอใจจากลูกค้า
ดังนั้นในการวางแผนโครงการจะประกอบด้วย ขั้นตอนพื้นฐาน ดังนี้
ขั้นตอนที่1 การกำหนดเป้าหมายโครงการ (Project Goal)
ในลำดับแรกของการบริหารโครงสิ่งที่ต้องกำหนดและเป็นปัจจัยที่สำคัญสู่ความสำเร็จนั่นก็คือ เป้าหมายของโครงการ ซึ่งผู้บริหารหรือผู้ที่เกี่ยวข้องเช่น ผู้บริหารโครงการ ลูกค้า เจ้าของทุนฯ จะต้องมีความมุ่งหมาย ความเข้าใจ และเป้าหมายเดียวกัน รวมถึงขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ ความชัดเจนในการได้แบ่งปันผลตอบแทน และความรับผิดชอบหากเกิดผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับโครงการ ซึ่งหลักสำคัญ 6 ประการที่จะทำให้โครงการบรรลุตามเป้าหมายสำหรับทุกโครงการนั่นคือ
ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดแผนแนวทางการดำเนินโครงการ (Project Deliverable)
จากนั้นนำเป้าหมายที่กำหนดไว้ดังขั้นตอนที่ 1 มากำหนดวิธีการปฏิบัติ โดยการสัมพันธ์กับกิจกรรมว่ากิจกรรมใดควรเกิดขึ้นก่อนและหลัง และกิจกรรมใดมีความสัมพันธ์กับกิจกรรมใดภายในระยะเวลาการเริ่มต้นและจบ และงบประมาณรวมถึงการเบิกจ่ายในการดำเนินโครงการที่สัมพันธ์กับกรอบระยะเวลารวมของโครงการ ดังแสดงในแผนภาพที่ 3
ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดกรอบระยะเวลา (Project Schedule)
เมื่อได้ขั้นตอนต่างตามกรอบระยะเวลาและงบประมาณการเบิกจ่าย แล้วให้นำมาแสดงในรูปของตารางแผนการดำเนินการ (Gantt Chart) ดังแสดงในแผนภาพที่ 3
แผนภาพที่ 3 ตัวอย่างตารางและแผนการดำเนินงานภายกรอบระยะเวลาและแผนการงบประมาณการเบิกจ่ายของโครงการ
ขั้นตอนที่ 4 การวางแผนสนับสนุน (Supporting Plan)
ในการบริหารโครงการ โครงการไม่ประสบความสำเร็จหากขาดแผนการสนับสนุนที่ดี ซึ่งได้แก่ การกำหนดแผนการใช้ทรัพยากรและบุคลากร เพราะการดำเนินโครงการมันจะมีการเปลี่ยนแปลงการใช้อัตรากำลังคนอยู่เสมอทั้งในด้านพนักงานเข้าใหม่และลาออก หรือ การใช้ทรัพยากรบุคคลที่ไม่เท่ากันในแต่ละช่วง ดังนั้นผู้บริหารโครงการจะต้องมีแผนการเตรียมอัตราบุคลากร ให้มีใช้อย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพทั้งยังสามารถป้องการลาออกจากงานของบุคลากรหลังในการดำเนินการอีกด้วย การวางแผนบุคลากร ได้แสดงดังแผนภาพที่ 4 และ 5 ในการวางแผนบุคลากรยังนำมาใช้ประโยชน์ในกิจการโลจิสติกส์ได้อีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น การวางแผน Outsource เนื่องจากบางกิจการอาจมีความจำเป็นที่จะต้อง Outsource แต่เพียงแค่บางช่วงซึ่ง หากผู้ประกอบการโลจิสติกส์นั้นสามารถวางแผนความต้องการบุคลากรได้ดี ก็จะสามารถรู้ได้อย่างแน่ชัดว่าจะต้องการ Outsource ปริมาณเท่าไร และเมื่อใด ซึ่งจะสามารถสร้างความได้เปรียบในด้านการบริหารต้นทุนให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มความสามารถในการแข่งขั้นได้อีกด้วย
แผนภาพที่ 4 ตารางการประมาณการใช้บุคลากร
แผนภาพที่ 5 แผนภาพแสดงปริมาณความต้องการใช้บุคคลากรรายเดือน
เนื่องจากในการบริหารโครงจะมีการร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งระหว่างภายองค์กร และภายนอกองค์กรดังนั้นผู้บริหารควรจะต้องมี การกำหนดผังองค์กร และผังการสื่อสารข้อมูลต่าง (Interface Matrix) รวมถึง Point of Contact (Communication Plan) เพื่อป้องกันความผิดพลาดดังแสดงในแผนภาพที่ 6 และ 7
แผนภาพที่ 6 Interface Matrix
แผนภาพที่ 7 Point of Contact ดัง Communication Plan ตามแผนภาพที่ 6
ในลำดับสุดท้ายแผนสนับสนุนในการวางแผนโครงที่สำคัญแผนสุดท้าย คือการวางแผนป้องกันความเสี่ยง (Risk Management Plan) เนื่องจากหนึ่งในวัตถุประสงค์หลักของการวางแผนโครงการก็คือการลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดในอนาคตในขณะที่โครงการดำเนินการ ซึ่งผู้ประกอบการจะคาดการณ์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นอนาคต ซึ่งการวางแผนป้องกันความเสี่ยงผู้ประกอบการอาจมองในรู้รูปของการวางงบประมาณโดยใช้หลักการของ “In worst case estimation” เช่น “จะต้องจ่ายมากที่สุดเท่าใด แล้วมีผลกระทบกับโครงการน้อยที่สุด” ในอนาคตหากราคาค่าน้ำมันเพิ่มขึ้นแล้วองค์กรจะมีโครงสร้างต้นทุนเท่าไร เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และจะสามารถแข่งขั้นได้ด้วยราคาเท่าใดดังดังอย่างในแผนภาพที่ 8 และสุดท้ายแผนการด้านการเตรียมบุคลากร เช่น หาก Key Staff ที่สำคัญลาออกไปร่วมงานกับบริษัทคู่แข่งในระหว่างโครงการยังดำเนินงานควรจะมีการวางแผนแก้ไขอย่างไร ควรมีการวางแผนฝึกบุคลากรแบบใด
แผนภาพที 8 ตัวอย่างตารางการประมาณผลกระทบของต้นการประกอบการขององค์กรต่อ
ผลกระทบการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน
[1] ประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน available online at [http://www.labour.go.th/news/file/minimumWage.pdf]
[2] การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย available online at [http://www.pttplc.com/TH/nc_oi.aspx?]
[3] International Project Management Association (IMPA) available on at [http://www.ipma.ch/Pages/default.aspx]
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
CT51 โลจิสติกส์กับการบริหารงานโครงการ…ตอนที่ 1
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ผู้เขียน ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา
1. การบริหารโครงการ (Project Management)
ปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจได้ทวีความรุนแรงขึ้น ซึ่งสืบเนื่องมาจากหลายปัจจัย เช่น การเปิดเขตการค้าเสรี การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วอันส่งผลต่อการขนส่งวัตถุดิบ การผลิต การขนส่งและกระจายสินค้าทำได้ง่ายกว่าในอดีต ผู้บริโภคจึงมีทางเลือกในการซื้อสินค้ามากขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อกระบวนการทางธุรกิจต่างๆ สามารถทำได้ง่ายขึ้นก็เท่ากับเป็นการสร้างโอกาสให้เกิดคู่แข่งมากขึ้นเป็นเงาตามตัว เกิดการแย่งชิงปัจจัยพื้นฐานของการผลิต เช่น วัตถุดิบ พลังงาน แรงงาน เป็นต้น ซึ่งทำให้องค์กรต่างๆ มีต้นทุนในการดำเนินงานที่สูงขึ้น หากองค์กรธุรกิจไม่มีการวางแผน การกำหนดทิศทางขององค์กร หรือการกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานที่ดีไว้ล่วงหน้า อาจทำให้องค์กรไม่สามารถดำเนินการไปจนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้ ดังนั้น การวางแผนและการบริหารโครงการจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในแต่ละองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายและความสำเร็จขององค์กร
โดยทั่วไปแล้วในการบริหารงานในรูปแบบต่างๆ จะต้องมีการดำเนินการทั้งงานอยู่ 2 ลักษณะ คือ 1) ที่ปฏิบัติประจำไม่มีระยะเวลากำหนด และ 2) งานในลักษณะโครงการ งานใน 2 ลักษณะนี้ได้มีบางส่วนที่คล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการโดยบุคคลและการที่มีทรัพยากรที่จำกัด จึงจำเป็นต้องมีการวางแผน (Planning) การจัดการ (Management) และการควบคุมงบประมาณ (Budget Control) โครงการจะเป็นสิ่งที่แสดงถึงสำเร็จของกลยุทธ์ขององค์กร ข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างงานปฏิบัติประจำกับงานโครงการคือ งานที่ปฏิบัติประจำจะเป็นการทำงานไปเรื่อยๆ หลายๆ ครั้งโดยไม่มีจุดสิ้นสุด แต่การบริหารงานแบบโครงการนั้นจะเป็นการปฏิบัติแบบชั่วคราว (Temporary) เฉพาะเรื่อง (Unique) มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดเป็นวงจรชีวิตซึ่งวงจรของงานโครงการ[1] จะประกอบด้วย 1) การตั้งโครงการ หรือการวางแผนโครงการเบื้องต้น (Project Initiation) 2) การวางแผนโครงการ (Project Planning) 3) การดำเนินโครงการ (Project Execution) 4) การติดตามและควบคุมโครงการ (Project Monitoring and Control) และ 5) การจบโครงการ (Project Closure) ดังแสดงไว้ในแผนภาพที่ 1 และ 2 โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักที่สำคัญ คือ เวลา (Time) ต้นทุน (Cost) และคุณภาพ (Quality) ตัวอย่างเช่น การบริหารงานก่อสร้าง การต่อเรือ การสร้างเครื่องบิน หรือการผลิตในอุตสาหกรรมในกรณีที่มีคำสั่งซื้อเป็นครั้งๆ (Lot size) ความแตกต่างของการบริหารโครงการกับงานที่ปฏิบัติประจำได้แสดงในตารางที่ 1
ที่มา: Project Management Institute: PMI 2006
แผนภาพที่ 1 กิจกรรมที่เกิดขึ้นในโครงการและระยะเวลาของกิจกรรม
ที่มา: Project Management Institute: PMI 2006
แผนภาพที่ 2 รายละเอียดของแต่ละกิจกรรมที่เกิดขึ้นในการบริหารโครงการ
ตารางที่ 1.1 ความแตกต่างระหว่างงานโครงการและงานประจำ
ที่มา: Project Management Institute: PMI 2006
จากที่ได้กล่าวมา การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันต้องอยู่ในกระแสของโลกาภิวัฒน์ ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และค่อนข้างรวดเร็ว ทั้งจากภายในองค์กรและภายนอกองค์กรธุรกิจ ทำให้การบริหารองค์กรนั้นทำได้ยากลำบากขึ้น
ในอดีต เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงหรือมีปัญหาขึ้น ผู้บริหารองค์กรได้พยายามหาทางแก้ไขปัญหาโดยวิธีต่างๆ เช่น ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย กำหนดมาตรฐานการทำงานต่างๆ ให้สูงขึ้น หรือหันมาใช้เครื่องจักรกลทำงานแทนคนมากขึ้น เป็นการเพิ่มแรงกดดันให้ผู้บริหารระดับต่างๆ และพนักงานในองค์กรเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงโดยใช้ทรัพยากรให้น้อยลง ซึ่งอาจทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารระดับสูงกับสหภาพแรงงาน ปัญหาขวัญและกำลังใจในการทำงานของพนักงาน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารสมัยใหม่ได้ตระหนักว่าแรงกดดันที่มีต่อองกรธุรกิจแตกต่างไปจากอดีต วีธีการแก้ปัญหาขององค์กรโดยอาศัยมาตรการต่างๆ ในอดีต เช่น การลดกำลังคน อาจจะกระทบผลงานหรือระดับกำไรของกิจการ การนำเครื่องจักรขนาดใหญ่มาใช้แทนแรงงานคน บางครั้งก็ไม่ใช่เป็นคำตอบที่ดีที่สุดเสมอไป แต่น่าจะมีทางเลือกอื่นอีกในการแก้ไขปัญหาซึ่งก็คือการดำเนินงานในรูปของโครงการ จึงทำให้ต้องมีการบริหารโครงการเพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
2. การบริหารโครงการของงานโลจิสติกส์ (Logistics Project Management)
จากที่ได้กล่าวมาแล้วในหัวข้อข้างต้นว่า โครงการเป็นงานชั่วคราว มีกรอบระยะเวลา ต้นทุน และคุณภาพตามที่กำหนดไว้ ซึ่งภายในงานบริหารโครงการเช่นโครงการก่อสร้างนั้นย่อมต้องมีการกิจกรรมโลจิสติกส์เป็นส่วนประกอบหลักในการดำเนินงาน และเป็นกิจกรรมที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการด้วยกิจกรรมด้านโลจิสติกส์พบว่าการบริหารงานโลจิสติกส์[2] โดยทั่วไปประกอบไปด้วย 1) การวางแผน (Planning) 2) การดำเนินงาน (Implementation) และ 3) การตรวจสอบและควบคุม (Controlling and Monitoring) ซึ่งกระบวนการเหล่านี้มุ่งไปที่กิจกรรมในด้านโลจิสติกส์[3] ซึ่งเกี่ยวข้องกับควบคุมและตรวจประสิทธิภาพ การควบคุมการจัดเก็บ การให้บริการ การขนส่งและกระจายสินค้า ตัวอย่างของงานโลจิสติกส์ในงานโครงการเช่น โครงการก่อสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้ายกระดับความเร็วสูง (Elevated Railway Track for High Speed Train) แสดงในแผนภาพที่ 3 ซึ่งในโครงการจะต้องประกอบด้วยกิจกรรมโลจิสติกส์ที่สำคัญ เช่น การขนส่งและกระจายหินรองทางรถไฟ (Ballast) ดังแผนภาพที่ 4 และในงานก่อสร้างสะพานซึ่งจำเป็นจะต้องลำเลียงชิ้นส่วนต่าง ๆ ของสะพานมาประกอบ
แผนภาพที่ 3 โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง
แผนภาพที่ 4 การขนส่งและกระจายหินรองทางรถไฟ (Ballast)
จากตัวอย่างดังที่กล่าวมาในเบื้องต้น พบว่าการจัดการด้านโลจิสติกส์เป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จของการบริหารโครงการ เนื่องจากงานโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่โดยเฉพาะระบบขนส่งมวลชน (Mass Rapid Transit: MRT) หรือสะพานข้ามแยกต่างๆ ในใจกลางเมืองขนาดใหญ่มีข้อจำกัดในเรื่อง 1) สถานที่สำหรับจัดเก็บวัสดุและวัตถุดิบ (Raw Material) เนื่องจากความแออัดของพื้นที่ และราคาค่าเช่าที่ดินที่มีราคาแพง ซึ่งหากทำการเช่าที่ดินในส่วนใจกลางเมืองจะส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงและกระทบต่องบประมาณโครงการ 2) การจัดส่งวัสดุและวัตถุดิบ เช่น ทางวิ่งของรถไฟฟ้าสำเร็จรูป (Track Plinth or Track Slab) และชิ้นส่วนสะพานทางวิ่ง (Box Girder or I-Beam) และ 3) เครื่องจักรที่ใช้ในการทำงาน เช่น รถเครนเคลื่อนที่ (Mobile Crane) ไม่สามารถนำมาทำงานในช่วงกลางวันได้เนื่องจากกีดขวางการจราจรที่แออัดในเวลากลางวัน ดังนั้นในหนึ่งวันการดำเนินโครงการในส่วนของงานหลักจะสามารถทำได้ในช่วงเวลากลางคืนเท่านั้น โดยมากจะอยู่ในช่วงหลัง 22.00 น. จนถึงประมาณ 03.00 น. ของวันถัดไป ดังแสดงในแผนภาพที่ 5
แผนภาพที่ 5 สถานที่กลางใจเมืองที่แออัดซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการมีคลังจัดเก็บวัสดุ การขนส่งวัสดุ วัตถุดิบ ที่ยากลำบาก รวมถึงการทำงานที่ยากลำบากของเครื่องจักรต่าง ๆ
จะเห็นได้ว่าโครงการให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพทั้งในด้านต้นทุน คุณภาพ และให้อยู่ในกรอบระยะเวลาที่กำหนด ต้องอาศัยหลักของการจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งก็คือ การจัดส่ง การบริหารงาน การควบคุมระบบจัดซื้อและส่งวัตถุดิบที่ถูกต้อง ถูกสถานที่ และถูกต้องตามเวลานัดหมาย ฉะนั้นโครงการที่ประสบความสำเร็จต้องบริหารภายใต้กรอบของระยะเวลา คุณภาพ การวางแผนงานที่มีประสิทธิภาพ การจัดส่งที่ตรงตามเวลา การบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าการบริหารโครงการจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้ต้องมีการบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจกรรม 1) การวางแผนโครงการ (Project Planning) 2) การวางแผนการจัดซื้อและการจัดส่งวัตถุดิบ (Raw Material Purchasing and Delivery) 3) การบริหารงานคุณภาพและการประกันคุณภาพ 4) การควบคุมและติดตามโครงการ 5) การควบคุมต้นทุนและงบประมาณ (Cost and Budget Control) และ 6) การสิ้นสุดโครงการ ซึ่งจะกล่าวในส่วนต่อไป
(โปรดติดตามตอนที่ 2)
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
CT51 โลจิสติกส์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม (Green Logistics)
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุวรรณี อัศวกุลชัย
การบริหารด้วยระบบโลจิสติกส์ (Logistics) เป็นกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการนำส่งสินค้าจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภค และช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมทั้งในแง่การลดต้นทุนการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่ม การประหยัดพลังงาน และการรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันด้วย ปัจจุบันในเวทีโลกได้ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม อาทิ มลภาวะในอากาศที่เกิดจากการขนส่ง การใช้พลังงานในกระบวนการผลิต และการใช้วัสดุด้านบรรจุภัณฑ์ การบริหารงานด้านโลจิสติกส์ สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ส่วนใหญ่มุ่งเน้นเฉพาะการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ไม่ได้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ ก็นำไปสู่การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงได้มีการกล่าวถึง “Green Logistics” เพื่อสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรมากยิ่งขึ้น ปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะประเด็นการเปลี่ยนแปลงอากาศ (Climate Change) จากผลกระทบของภาวะโลกร้อน (Global Warming) และ Greenhouse effect
นอกจากนั้น มลพิษทางอากาศอันเนื่องมาจากก๊าซ Carbon dioxide (CO2) เกิดจากการเผาผลาญน้ำมันในการขนส่งสินค้าจากรถบรรทุกชนิดต่างๆ การใช้ระบบการขนส่งในรูปแบบต่างๆ เช่น การใช้ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) สามารถทำให้จำนวนรอบในการขนส่งลดลง นำมาซึ่งต้นทุนขององค์กรที่ลดลง และประการสำคัญคือ มลภาวะที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด การทำ Repackaging และ Re-used Packaging ในศูนย์กระจายสินค้าก็เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการลำเลียงสินค้าบนพาหนะได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ผลกระทบจากการขนส่งอย่างไม่มีระบบที่ดี นำมาซึ่งต้นทุนที่สูง ระยะเวลาการขนส่งที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ และมลภาวะที่เกิดจาก Carbon dioxide (CO2) ดังแสดงในรูปที่ 1
รูปที่ 1 ผลกระทบของการปลดปล่อยก๊าซ Carbon dioxide (CO2)
จากรูปที่ 1 แสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากก๊าซ Carbon dioxide (CO2) ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ผลที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมประการแรกคือ การเกิดภาวะเรือนกระจก (Greenhouse Effect) ซึ่งมีผลทำให้โลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ (Global Warming)
ดังนั้น โลจิสติกส์จึงต้องเป็น “Green Logistics” ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับมลภาวะในอากาศที่เกิดจากการขนส่ง การประหยัดพลังงาน และการใช้วัสดุด้านบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ (Recycle) การบริหารงานด้านโลจิสติกส์ จึงต้องให้ความสำคัญต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ รวมทั้งของจำกัดของน้ำหนักสินค้าที่สามารถจะบรรทุกหรือบรรจุตู้คอนเทนเนอร์ (Container) ซึ่งในแต่ละประเทศจะแตกต่างกัน นอกจากนี้ การจัดการโลจิสติกส์จะต้องให้ความสำคัญต่อปัญหาอุบัติภัยที่จะมีต่อสังคมและการทำงานที่ปลอดภัย (Safety First) ของบุคคลที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่โลจิสติกส์และที่สำคัญจะต้องคำนึงถึงศีลธรรมและบรรษัทภิบาล (Good Corporate) ทั้งนี้ การค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศตะวันตกได้ให้ความสำคัญกับ Reverse Logistics หรือโลจิสติกส์ย้อนกลับในการที่ผู้ขาย (Shipper) จะต้องรับผิดชอบในการขนส่งนำซากของเสียหรือวัสดุเหลือใช้กลับคืนประเทศของผู้ส่งออก
Green Logistics จึงได้เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมต่างๆ มากขึ้น ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ตลอดโซ่อุปทาน ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
กระบวนการจัดซื้อจัดหา การปรับปรุงสิ่งอํานวยความสะดวกทางการคา (Trade Facilitation Enhancement) เช่น การเชื่อมโยงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างองค์กร (B2B business) ดังแสดงในรูปที่ 2 เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในติดต่อสื่อสารทุกกระบวนการ ตัวอย่างระบบการสั่งซื้อสินค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-ordering) เช่น ระบบการสั่งซื้อสินค้าของบริษัทบุญถาวรที่เชื่อมโยงกับระบบของบริษัท อเมริกันสแตนดาร์ด บีแอนเค (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นระบบที่รวดเร็ว และทำให้ลดขั้นตอนด้านเอกสาร (paperless) ลงอย่างมาก รวมทั้งลดขั้นตอนความผิดพลาดในการผลิตด้วย ดังแสดงในรูปที่ 3
รูปที่ 2 ระบบ B2B business
รูปที่ 3 ระบบ e-ordering
สำหรับระบบการขายสินค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ช่วยลดปริมาณเอกสาร และการเดินทางเพื่อรับส่งเอกสารได้เป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน ซึ่งการลดปริมาณกระดาษที่ใช้ สามารถรักษาสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างมาก ตั้งแต่การตัดต้นไม้เพื่อกระบวนการผลิตกระดาษ หรือแม้กระทั่งการนำกระดาษมาผลิตใหม่ ก็ยังคงใช้พลังงานเป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน การพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส (Logistics Service Internationalization) เช่น การใช้หลัก Global Sourcing มากขึ้น โดยหาวัตถุดิบจากแหล่งที่ถูกที่สุด และเปลี่ยนรูปแบบจากเดิมที่ผลิตตามการวางแผนของผู้ผลิต มาเป็นผลิตตามความต้องการของลูกค้ามากขึ้น และต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น เทคโนโลยี RFID เพื่อให้ข้อมูลถูกต้อง แม่นยำ เพื่อการจัดส่งสินค้าถึงมือลูกค้าได้อย่างตรงเวลา รวดเร็ว และปลอดภัย
กระบวนการผลิต โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพระบบโลจิสติกสในภาคการผลิต (Business Logistics Improvement) เช่น การลดการใช้พลังงาน ตัวอย่างในอุตสาหกรรมเซรามิก การลดอุณหภูมิเตาเผา โดยที่ยังคงคุณภาพสินค้าดีเหมือนเดิม การนำความร้อนจากกระบวนการเผามาใช้ประโยชน์ ไม่ปล่อยความร้อนสู่สิ่งแวดล้อม การลดของเสียจากกระบวนการผลิต การนำน้ำดินกลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การบำบัดของเสียเพื่อสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ (Recycle) เป็นต้น
กระบวนการจัดการคลังสินค้า เช่น การนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่ การเคลื่อนย้ายสินค้าภายในคลังสินค้า ในการขนสินค้า และควรมีการวางแผนรับ-ส่งสินค้าภายในเพื่อไม่ให้รถ Folk lift วิ่งรถเปล่าในขากลับ เพื่อลดจำนวนเที่ยววิ่ง รวมทั้งลดการเกิด Double handling ทำให้ลดปริมาณพลังงานและน้ำมัน การพัฒนาศูนย์กระจายสินค้า เช่น จากเดิมมีคลังสินค้า 5 สาขา ก็เปลี่ยนเป็นศูนย์กระจายสินค้า1 ที่ เพื่อกระจายสินค้าให้กับ 5 สาขา ซึ่งนอกจากลดต้นทุนคลังสินค้าแล้ว ยังลดการขนส่งสินค้า และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในที่สุด นอกจากนั้นอาจใช้ระบบ Warehouse Management ช่วยดำเนินการ ดังแสดงในรูปที่ 4
รูปที่ 4 ระบบ Warehouse Management
กระบวนการขนส่ง การเพิ่มประสิทธิภาพระบบขนสงและโลจิสติกส (Transport and Logistics Network Optimization) การพัฒนาการขนส่ง และจราจรอย่างยั่งยืนท่ามกลางวิกฤต นอกจากจะเน้นเรื่องสมรรถนะ และประสิทธิภาพของระบบ ความสะดวกในการเข้าถึง และส่งเสริมความเสมอภาคในสังคมแล้ว ยังต้องการการขนส่งที่ใช้ทรัพยากรน้อย และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย เช่น การวางแผนการขนส่งที่ดี เช่น การจัดเส้นทางการขนส่งที่สั้นที่สุด หรือรับ-ส่ง สินค้าในเส้นทางเดียวกัน การจัดเรียงสินค้าให้เต็มคันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ในการขนส่งในแต่ละเส้นทาง ทำให้สามารถขนส่งสินค้าได้ในปริมาณเท่าเดิมแต่สามารถลดจำนวนเที่ยวในการขนส่งลงได้ ส่งผลให้ลดปริมาณปลดปล่อยมลพิษทางอากาศ ช่วยลดมลพิษทางอากาศได้ การออกแบบรูปแบบการขนส่งแบบ Hub และ Spoke ดังแสดงในรูปที่ 5 ตัวอย่างในอุตสาหกรรมเซรามิก โรงงานผลิตขนาดเล็กจากหลายโรงงานในจังหวัดลำปาง เชียงใหม่ ส่งสินค้ามารวมกันที่ Hub ที่ลำปางและขนส่งโดยรถบรรทุก ไปยัง Spoke ที่จตุจักร กรุงเทพฯ เพื่อกระจายสินค้าต่อไป ทำให้ลดการขนส่งสินค้าไม่เต็มคัน เป็นต้น นอกจากนั้นในกระบวน Hub และ Spoke สามารถลดจำนวนรถเที่ยวเปล่าได้ เช่น รถบรรทุกรับเครื่องใช้ไฟฟ้าจากกรุงเทพฯ เพื่อไปส่งยังภาคเหนือ และรถบรรทุกคันดังกล่าวก็รับสินค้าเซรามิกกลับมายังจตุจักร เป็นต้น การจัดการระบบการขนส่งแบบศูนย์กลาง ทำให้ทราบความต้องการรถบรรทุกสินค้าทั้งขาไป-ขากลับ และสามารถจัดรถบรรทุกได้อย่างเป็นระบบ ทำให้ประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างมาก ดังนั้นการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางการขนส่งให้เชื่อมโยงกันอย่างสมบูรณ์แบบ ควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการขนส่ง
รูปที่ 5 รูปแบบการขนส่งแบบ Hub และ Spoke
กล่าวโดยสรุป ภาครัฐควรต้องมีกำหนดยุทธศาสตร์เพื่อการวางแผนเพื่อนำไปสู่โลจิสติกส์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม ในกระบวนการโซ่อุปทาน อาทิ การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในแง่ของการก่อให้เกิดมลพิษ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาคุณภาพชีวิต โดยแนวทางในการรักษาสมดุลในการพัฒนาที่เหมาะสม คือ การพัฒนาการขนส่งให้มีความความยั่งยืน (Sustainable Transportation) เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะประเด็นการลดมลพิษที่เกิดจากกิจกรรมภาคขนส่ง และเพิ่มคุณภาพชีวิตประชาชน รวมทั้งการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งภายในประเทศโดยหลักการพิจารณาอุปสงค์ เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง โดยมีการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น และเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงระบบขนส่ง (สินค้า และคน-ขนส่งสาธารณะ) และการบริหารจัดการกระบวนการขนส่ง รวมทั้งการจัดการระบบการขนส่งแบบศูนย์กลาง การจัดการของเสีย ขยะและวัสดุเหลือใช้ เป็นต้น รวมถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ภายในภาคการผลิต โดยมุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องโลจิสติกส์เพื่อนำไปพัฒนาในองค์กร รวมถึงการพิจารณาแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำการค้าด้วย
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward