iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
4 เทรนต์ เขย่าโลกใบใหม่ให้ปรับตัว หลังการระบาดของโควิด-19
การระบาดของโควิด-19 ไม่ใซ่แค่เพียงระบาดที่ จีนและ เอเชีย แต่ระบาดหนักทั้งใน สหภาพยุโรป และสหรัฐ ตวามรุนแรงที่แพร่กระจายไปทั่วโลก จากตอนต้น มีการดาดหวังว่าจะสามารถจัดการได้โดยเร็ว มีการปรับแผนมาสู่การเตรียมแผนระยะยาว ปรับตัวให้ใช้ชีวิตอยู่กับโดวิต-19 คาดว่าอย่างน้อยอีก 1-2 ปี และนั่นจะนำไปสู่ปรากฏการณ์ "ภาวะไม่ปกติ" ที่นับแต่นี้ชีวิตจะไม่เหมือนดิมทั้งเศรษฐกิจสังคม รวมถึงการเมือง หลายประเทศยังใช้มาตรการเข้มขันเพื่อป้องกันไม่ให้ซ้ำรอย อู่ฮั่น อิตาลี หรืออเมริกา
แต่มื่อถึงจุดที่ตัวลขผู้ติดเชื่อลดลงชัดจน ก็ต้องทยอยใช้มาตรการที่ผ่อนคลายลง เริ่มจากการให้มีการปิดเปิดร้าน เปิดโรงเรียน เบิดโรงงานดังเช่นที่จีน ทุกภาคส่วน ต้องเริมปรับมุมคิด ปรับตัว รับมือกับวิถีชีวิตใหม่ของผู้คนในยุคโดวิด-19 ที่จะยังอยู่กับเราอึกนาน 4 พลวัฒน์ เขย่าโลก นั้นทำให้โลกเกิด 4 เทรนต์ เขย่าโลกใบใหม่ให้ปรับตัว เตรียมพร้อมการใช้ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และกรออกแบบจัดการกับปัญหาและนโยบายในระยะยาวของภาครัฐ
1. จุดจบของโลกาภิวัตน์ (Deglobalization) การผลิตลดการพึ่งหาซึ่งกันและกันลดการค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้า แต่ละประเทศหันไปพึ่งพาเศรษฐกิจภายในทุกประกตต่างต้องจัดการปัญหาภายในเป็นหลัก
2. การปรับเปลี่ยนวิธีคิดระบบเศรษฐกิจใหม่ วิกฤติเป็นจุดทำให้คิดชิงระบบเศรษฐกิจใหม่ตั้งแต่ทิศทางขับเคลื่อนศรษฐกิจ เช่น ในสหรัฐมหาวิกฤติ ช่วงปิ ค.ศ.1930 (Great Depression) ทำให้ปรับนโยบายไปสู่การเอี๋ยงชัยทางสังคมมากขึ้นหรือจาก สหรัฐมีระบบเศรษฐกิจเสรีนิยมปรับมาเพิ่มระบบประกันสุขภาพ (Universal Health Coverage หรือ UHC)
3. เกิดการถ่วงดุลอำนาจโลก จีนผงาดเป็นผู้นำโลก จุดจบที่สหรัฐไมใช่ผู้นำเดี่ยว เพราะมีจีนขึ้นมามีบทบาทท้าทาย หรือถ่วงดุลอำนาจ
4. เปลี่ยนโจทย์การพัฒนาประเทศเกิดขึ้นในหลายประทศ เช่น การตั้งโจทย์ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจวิกฤติทำให้รัฐบาลต้องไปมองมิติการพัฒนาทางสังคมควบคู่ โดยฉพาะการลดความเหลื่อมล้ำและมุ่งไปสู่กรกระจายทรัพยากรให้เท่าเทียม เช่น ในสหรัฐ ช่องว่างความเหลื่อมล้ำทางสังคมเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่คุมการระบาดไม่ได้ เพราะคนระดับล่าง ไม่สามารถเข้าถึง ระบบสวัสติการ ไม่มีรายได้เมื่อต้องหยุดงานจึงจำเป็นต้องออกไปทำงานและทุกคนก็ไม่สามารถเช้ถึงการตรวจหาเชื้อและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ดูเพิ่มเติมเรื่องราวเกี่ยวข้องกับ โควิด-19 ได้ที่
COVID-19 รวมความรู้ที่เกี่ยวกับโรคโควิด-19 (COVID-19)
---------------------------------------------
Consumer Behavior and Market Segmentation / พฤติกรรมผู้บริโภคกับการแบ่งส่วนตลาด
พฤติกรรมผู้บริโภคกับการแบ่งส่วนการตลาด (Consumer Behavior and Market Segmentation) คือ การแบ่งตลาดออกเป็นกลุ่มตามลักษณะผู้บริโภคกลุ่มย่อย โดยจัดกลุ่มตามลักษณะของความจาเป็นหรือลักษณะเฉพาะที่เหมือนกัน ในการตลาดที่ดีควรต้องมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน ถ้าสามารถแบ่งกลุ่มได้ชัดเจนเท่าไรก็จะยิ่งได้เปรียบในการแข่งขัน สามารถที่จะช่วงชิงส่วนแบ่งหรือเพิ่มสัดส่วนในตลาดได้ดียิ่งขึ้น การกำหนดกลุ่มเป้าหมายตามพฤติกรรมของผู้บริโภคจะนำไปใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ของบริษัท ใช้กำหนดรูปแบบของโครงสร้างหน่วยงานขายให้มีความเหมาะสม และจะช่วยในการขจัดความสูญเปล่าและความยุ่งยากสลับซับซ้อนในการทำตลาดให้ลดน้อยลง เกณฑ์ในการแบ่งส่วนตลาดในตลาดผู้บริโภคมีหลายแบบตามเป้าหมายของแต่ละธุรกิจเช่น
- กลุ่มตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ (Geography) เป็นการแบ่งส่วนตลาด โดยถือเกณฑ์ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ ที่แตกต่างกันของตลาดเช่น เขตพื้นที่ จำนวนประชากร สภาพอากาศ หรือความหนาแน่นของประชากร สามารถนำไปใช้ในการกำหนดโครงสร้างการขายตามพื้นที่ ใช้สำหรับบริษัทที่มีขนาดใหญ่หรือมีขอบเขตการขายที่กว้างขวาง และต้องการที่จะครอบคลุมพื้นที่ให้ได้ทั่วถึง ซึ่งมักจะมีลักษณะผู้บริโภคและปัญหาทางการขายที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ หรืออาจเนื่องจากต้องการกระจายให้เหมาะสมกับกำลังของพนักงานขายแต่ละคนที่มีอยู่เพราะพื้นที่กว้างใหญ่
- กลุ่มตามประชากรศาสตร์ (Demography) เป็นการแบ่งส่วนตลาดตามปัจจัยทางประชากรศาสตร์ เช่น เพศ อายุ อาชีพ รายได้ การศึกษา เชือชาติ ศาสนา สีผิวขนาดครอบครัว วงจรชีวิตครอบครัว เป็นวิธีการแบ่งส่วนตลาดที่ช่วยให้เห็นถึงกลุ่มตลาดที่สำคัญ การกำหนดโครงสร้างการขายตามประชากรเช่น เพศ วัยอายุ เป็นต้น ใช้สำหรับบริษัทที่มีสินค้าเฉพาะตามประชากรกลุ่มเป้าหมาย อาจมีการแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ เพื่อจััดการเช่น กลุ่มช่วงอายุในแต่ละวัย Gen B, Gen X, Gen Y และ Gen Z เป็นต้น
- กลุ่มตามประเภทจิตวิทยา (Psychographic) เป็นการแบ่งส่วนตลาดโดยใช้เกณฑ์ความแตกต่างของวิถีการดำเนินชีวิต และบุคลิกของผู้บริโภคที่แตกต่างกันเช่น ชนชั้นทางสังคม (Social Class) รูปแบบการดำเนินชีวิต (Lifestyle) และบุคลิกลักษณะ (Characteristics)
- กลุ่มตามประเภทพฤติกรรม (Behavioral) เป็นการแบ่งส่วนตลาด ตามลักษณะของพฤติกรรมในการซื้อของผู้บริโภคเช่น โอกาสในการซื้อ (Purchase Occasion) การแสวงหาผลประโยชน์ (Benefit Sought) สถานภาพการใช้ (Using Status) อัตราการใช้ (Usage Rate) สภาพความซื่อสัตย์ (Loyalty Status) ขั้นของความพร้อม (Stage of Readiness) และทัศนคติ (Attitude)
- กลุ่มตามประเภทของผลิตภัณฑ์ (Types of product) เป็นการแบ่งส่วนตลาดโดยให้แต่ละคนรับผิดชอบงานในแต่ละผลิตภัณฑ์ เหมาะกับบริษัทที่ขายผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้เทคนิคและมีความสลับซับซ้อน จึงจำเป็นต้องมีพนักงานขายที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะผลิตภัณฑ์รับผิดชอบ กรณีบริษัทมีผลิตภัณฑ์หลายประเภทที่แตกต่างกันจะช่วยให้พนักงานขายไม่ต้องรับภาระในผลิตภัณฑ์มากเกินไป
- กลุ่มตามลักษณะของลูกค้า (Classes of customers) การจัดโครงสร้างของหน่วยงานขายแบบนี้จะยึดถือลักษณะของลูกค้าเป็นเกณฑ์ เหมาะสำหรับบริษัทที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติเหมือนกันให้กับลูกค้าหลายประเภท และเมื่อบริษัทมีปัญหาในการขายของลูกค้าแต่ละประเภทที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นพนักงานขายจึงต้องมีความรู้และความชำนาญกับแต่ละด้าน เพราะความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มมีลักษณะแตกต่างกัน การจัดโครงสร้างแบบนี้เป็นวิธีการที่ดีในการเข้าถึงลูกค้าได้อย่างใกล้ชิด ทำให้การขายเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
ระบบการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กร (Enterprise Resource Planning) คือระบบที่นำมาใช้ช่วยในการบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กรให้
1 รู้จักลูกค้าและความสำคัญของลูกค้า
2 การบริการ การบริหารประสบการณ์ การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า
3 การบริหารความสัมพันธ์ในซัพพลายเชน
4 นิยามและความสำคัญของการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า
5 การบริหารซัพพลายเชนแบบ Customer-Centric
6 การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าด้วย IDIC Model
Customer Journey ขั้นตอนในการพัฒนาลูกค้า
Customers heart of business / ลูกค้าหัวใจสำคัญของธุรกิจ
Customer Journey Mapping การจัดทำแผนพัฒนาลูกค้า
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง CRM คลิกที่นี่
CRM การจัดการลูกค้าสัมพันธ์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Customer Relationship Management)Customer Journey Mapping การจัดทำแผนพัฒนาลูกค้า
การจัดทำแผนพัฒนาลูกค้า (Customer Journey Mapping) คือ ขั้นตอนในการกำหนดระดับการพัฒนาของกลุ่มเป้าหมายจนไปถึงการมาเป็นลูกค้าทั้งในสินค้าหรือบริการ เริ่มตั้งแต่กลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้เป็นลูกค้าให้มีการการค้นหารับรู้ ไปจนถึงการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการจนเป็นลูกค้าเรา ในแต่ละระดับลูกค้าเราต้องมีการจัดการที่แตกต่างกัน จากการแบ่งลูกค้าออกเป็น 6 กลุ่มตาม ขั้นตอนการพัฒนาลูกค้า (Customer Journey)เพื่อเข้าใจว่าการสื่อสารถึงผู้บริโภคนั้น มีขั้นตอนกี่ขั้นตอนที่จะเข้าถึงโดยสื่อทางการตลาดในระดับต่างๆ ได้ นักการตลาดหรือคนวางแผนทางกลยุทธ์ใช้ทำงานได้ง่ายขึ้น ทราบว่าแต่ละขั้นตอนควรจะทำอะไรบ้างและใช้สื่ออะไรดี จะเห็นว่าแต่ละระดับลูกค้ามีความต้องการในการสื่อสารที่แตกต่างกัน การเลือกใช้สื่อเพื่อส่งสารถึงลูกค้า (Customer Touch point) ก็จะมีการใช้สื่อที่ไม่เหมือนกัน ธุรกิจาควรจัดทำตารางแผนที่พัฒนาลูกค้า เพื่อใช้วางแผนและติดตามการทำงานในแต่ละระดับ การใช้สื่อถึงลูกค้าแยกไปในแต่ละระดับลูกค้าดังนี้
1 การรับรู้คือ (Awareness) คือ ขั้นตอนเริ่มแรกที่เราจะใช้สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย จะเน้นการให้เห็นหรือรับทราบในการมีสินค้าเราเป็นอันดับแรก ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูลของสินค้าหรือจากการโฆษณา ในระยะนี้จะเน้นเพื่อเพิ่มอัตราการรับรู้ในวงกว้าง ขั้นตอนนี้สำคัญมากถ้าหากปราศจากการรับรู้จะทำให้สินค้าไม่เป็นที่รู้จักในกลุ่มเป้าหมายของเรา อาจหวังผลจากการขายได้น้อยเพราะการนำเสนอข้อมูลในขั้นตอนนี้หวังผลเพียงให้มีการทราบถึงสินค้าเริ่มรับรู้และสนใจในสินค้าเรา
- ขั้นตอนในช่วงนี้ ต้องวิเคราะห์ว่ากลุ่มเป้าหมายจะสามารถเจอสินค้าหรือบริการของเราได้จากที่ไหน เมื่อทำการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าได้ก็เริ่มใช้ช่องทางที่วิเคราะห์ มาใช้ทำการสื่อสารถึงลูกค้า ตัวอย่างเช่น ทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโชเชียล อีเมลล์ เป็นต้น โดยควรทำในหลายช่องทางเน้นการทำให้มากอาจหัวงผลจากการขายได้น้อย
2 การเปรียบเทียบ (Evaluation) คือ ขั้นตอนที่กลุ่มเป้าหมายจะทำการค้นหาข้อมูลที่มี มาใช้เปรียบเทียบเพื่อตัดสินใจ ขั้นตอนนี้เริ่มเมื่อกลุ่มเป้าหมายได้รับการรับรู้ในขั้นตอนแรกแล้วเริ่มสนใจสินค้าหรือบริการที่เรามี กลุ่มเป้าหมายก็จะเริ่มค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการจากช่องทางที่เรามีเช่น เอกสารประชาสัมพันธ์สินค้า จากร้านค้าที่มีเปิดบริการ จากเว็บไซต์เรา และยังรวมไปถึงการค้นหาข้อมูลจากที่อื่นในกลุ่มสินค้าเดียวกันด้วย ในขั้นตอนนี้เราจะพบว่าการใช้ Search Engine มาช่วยในการเข้าถึงความต้องการดูข้อมูลรายละเอียดกลุ่มเป้าหมายได้ อาจหวังผลจากการขายได้น้อยเพราะการค้นหาข้อมูลในขั้นตอนนี้ เพราะเมื่อลูกค้าเห็นสินค้าหรือบริการของเราอาจจะยังไม่ได้ต้องการในตอนนั้น แต่ได้ผลในการเริ่มรับรู้และสนใจในตัวเราแล้ว
- ขั้นตอนในช่วงนี้ ต้องวิเคราะห์ว่ากลุ่มเป้าหมายจะสามารถค้นหาหรือดูข้อมูลสินค้าหรือบริการของเราได้จากที่ไหน เมื่อทำการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าได้ก็เริ่มใช้ช่องทางที่วิเคราะห์ มาใช้ทำการสื่อสารถึงลูกค้า ตัวอย่างเช่น การทำเว็ปไซต์ Blog การทำ SEO สื่อทีวี สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโชเชียล อีเมลล์ เป็นต้น โดยควรทำในหลายช่องทางเน้นทำการให้ข้อมูลที่มากขึ้นกว่าขั้นแรก เพราะต้องการสื่อสารรายละเอียดสินค้าเรา
3 การซื้อใช้ (Purchase) คือ เมื่อกลุ่มเป้าหมายสนใจและอยากที่จะซื้อสินค้าหรือบริการของเราในขั้นตอนที่ผ่านมา ขั้นตอนนี้เราต้องจัดเตรียมการให้บริการที่ดีในสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายต้องการ เพื่อให้เกิดการตัดสินใจในการซื้อสินค้าเราให้ได้ในขั้นตอนนี้ อาจควรต้องดูในการให้บริการในหลายด้าน ที่นอกเหนือจากเพียงตัวสินค้าเช่น การให้ข้อมูลด้านความโดดเด่นสินค้า ความสามารถในการตอยโจทย์และแก้ปัญหาที่มีของลูกค้า การแจ้งสิทธิประโยชน์จากการซื้อ การบริการหลังการขายเช่น รูปแบบการชำระเงิน รวมถึงการบริการอื่นๆ ที่ได้เตรียมไว้ในหลากหลายช่องทาง เพื่ออำนวยความสะดวกช่วยให้กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจซื้อสินค้า และเปลี่ยนจากกลุ่มเป้าหมายมาเป็นลูกค้าให้ได้มากที่สุด ควรต้องคาดหวังผลจากการขายให้มากที่สุดในขั้นตอนนี้ จะเน้นแผนการปิดการขายให้มากที่สุด
- ขั้นตอนในช่วงนี้ ต้องวิเคราะห์ว่ากลุ่มเป้าหมายจะสามารถซื้อสินค้าหรือบริการของเราได้จากไหน ลูกค้าชอบชื้อในช่องทางไหน อาจซื้อจากทางเว็บไซต์ออน์ไลนหรือจากหน้าร้านที่มีแบบออฟไลน ควรต้องจัดเตรียมให้ครบตามทางที่ลูกค้าสะดวก เมื่อทำการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าได้ก็เริ่มใช้ช่องทางที่วิเคราะห์ มาใช้ทำการเตรียมให้บริการแก่ลูกค้าเช่น การทำเว็ปไซต์ขายออนไลน การพัฒนาหน้าร้าน การพัฒนารูปแบบให้บริการจัดซื้อจัดส่ง เป็นต้น โดยควรทำในหลายช่องทางเน้นทำการบริการที่มากกว่าความคาดหวังของลูกค้า
4 การใช้งาน (Usage) เมื่อผู้บริโภคซื้อแล้วเริ่มใช้สินค้าหรือบริการของเรา ในขั้นตอนนี้เราจะต้องพยายามทำให้ลูกค้าพบว่าสิ่งที่เขาได้รับนั้น เป็นไปตามที่เขาคาดหวังหรือเกินกว่าที่คาดหวังไว้ เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการใช้งานสินค้าเรา ต้องมีการเตรียมในเรื่องบริการหลังการขายที่เหมาะสม การให้ข้อมูลสินค้าได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว การพัฒนาในขั้นตอนนี้ก็จะทำให้เกิดโอกาสที่ลูกค้าจะมีการซื้อซ้ำ (Repurchase) และการบอกต่อ (Advocacy) ได้อีก ในขั้นตอนนี้อาจควรต้องคาดหวังผลจากการขายซ้ำให้มากได้ในขั้นตอนนี้ จะเพิ่มแผนการปิดการขายซ้ำให้มีมากขึ้น
- ขั้นตอนในช่วงนี้ ต้องวิเคราะห์ว่าลูกค้าที่ซื้อสินค้าหรือบริการของเรา จะติดต่อกับเราได้จากช่องทางไหน ลูกค้าชอบติดต่อจากทางเว็บไซต์ออน์ไลนหรือจากหน้าร้านแบบออฟไลน เราควรต้องจัดเตรียมการให้บริการหลังการขายให้มีครบตามทางที่ลูกค้าต้องการและมีความสะดวก เมื่อวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าได้ก็เริ่มใช้ช่องทางที่ได้มาใช้เตรียมให้บริการแก่ลูกค้าเช่น การทำเว็ปไซต์บริการออนไลน การพัฒนาร้านให้มีบริการแนะนำการใช้หรือศูนย์บริการหลังการขาย การพัฒนารูปแบบให้บริการจัดซื้อจัดส่ง การรับประกันและการรับคืนสินค้า เป็นต้น โดยควรมีให้บริการในหลายช่องทางเน้นทำการบริการที่มากว่าความคาดหวังของลูกค้า
5 การซื้อซ้ำ (Repurchase) คือ การที่ลูกค้าที่เคยใช้สินค้าเราเกิดความประทับใจในสินค้าหรือบริการของเรา มีความพอใจชอบและยินดีที่จะกลับมาซื้อสินค้าหรือบริการของเราอีก ซึ่งการที่ลูกค้าจะกลับมาซื้อสินค้าซ้ำได้นั้น ลูกค้าต้องเกิดความประทับใจต่อสินค้าและบริการของเรา ในขั้นตอนการใช้งานที่ผ่านมาด้วยประสบการณ์ที่ดี ในขั้นตอนนี้เราควรต้องคาดหวังผลจากการขายให้มากที่สุด จึงอาจจะเน้นแผนการเชิญชวนให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าซ้ำอีกให้ได้
- ขั้นตอนในช่วงนี้ ต้องวิเคราะห์ว่ากลุ่มเป้าหมายคาดหวังอะไรเพิ่มเติมอีกนอกจากสินค้า ควรที่จะต้องหาความต้องการแฝงที่อาจจะมีได้ นำมาจัดเตรียมบริการให้ครบตามช่องทางที่ลูกค้าสะดวก เมื่อทำการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าได้ก็เริ่มใช้สิ่งที่วิเคราะห์มาใช้ทำการให้บริการแก่ลูกค้าเช่น สอบถามผลการใช้งาน การให้บริการหลังการขาย การให้สิทธิพิเศษบัตรสมาชิก การให้ส่วนลดพิเศษ เป็นต้น ซึ่งควรที่จะมีการจัดทำในหลายช่องทาง เน้นทำการบริการเสริมที่เพิ่มมากกว่าความคาดหวังของลูกค้า
6. การบอกต่อ (Advocacy) คือ การที่ลูกค้าของเรายกระดับมาเป็นผู้ติดตามหรือสนับสนุน เมื่อลูกค้าประทับใจเกิดในสินค้าจนเป็นความจงรักภักดีในตัวสินค้า ลูกค้ากลุ่มนี้นอกจากจะซื้อซ้ำแล้วก็จะเริ่มมาช่วยเราในการประชาสัมพันธ์คุณภาพสินค้าได้อีกทางเช่น เล่าประสบการณ์การใช้งาน การบอกต่อเพื่อนให้มาเป็นลูกค้าเรา และการรอคอยติดตามสินค้าใหม่ที่จะมีของเราต่อไป เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นกลุ่มที่มีโอกาสสูงที่จะใช้สินค้าเราอย่างต่อเนื่อง ควรต้องคาดหวังผลจากการขายในขั้นตอนนี้ด้วย อาจเน้นแผนการให้ลูกค้ากลุ่มนี้เชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายได้มาลองใช้สินค้าบริการของเราให้มากที่สุด
- ขั้นตอนในช่วงนี้ต้องวิเคราะห์ว่าลูกค้าเราในกลุ่มนี้คาดหวังอะไรเพิ่มเติมอีกนอกจากสินค้า ควรที่จะต้องหาความต้องการแฝงที่มี การจัดสิทธฺพิเศษในฐานะลูกค้าชั้นดีมีสิทธิพิเศษ มากกว่าลูกค้าทั่วไปอาจเตียมช่องทางบริการพิเศษสำหรับลูกค้ากลุ่มนี้ การเตรียมบริการแก่ลูกค้ากลุ่มนี้เช่น สอบถามผลการใช้งาน การให้บริการหลังการขาย การให้สิทธิพิเศษบัตรสมาชิกส่วนลด เป็นต้น
จากที่กล่าวมาแล้ว การทำแผนที่พัฒนาของลูกค้า (Customer Journey Mapping) มีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้เราสามารถจัดเตรียมช่องทางการบริการให้มีความเหมาะสมตาม ระดับการพัฒนาลูกค้า (Customer Journey) สามารถใช้ติดตามการทำงานว่ามีความเหมาะสมหรือไม่และครบตามที่วางแผนไว้ไหม อาจเพิ่มหัวข้อการเลือกใช้สื่อในแกนตั้งเพิ่มเติมได้อีกหลายแบบ แผนที่พัฒนานี้จะใช้ช่วยตอบโจทย์การดำเนินงานที่มีความชัดเจน สามารถประหยัดรายจ่ายในการใช้สื่อ สามารถใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธภาพตรงตามกลุ่มผู้รับ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าของกลุ่มเป้าหมาย และพัฒนาไปถึงการเป็นลูกค้าที่จงรักภักดีในสินค้าเราได้ในที่สุด
Customer Journey ขั้นตอนในการพัฒนาลูกค้า
Customer Journey ขั้นตอนในการพัฒนาลูกค้า คือ ขั้นตอนในการกำหนดระดับในการพัฒนาลูกค้าของเรา ที่จะเริ่มตั้งแต่เป็นเพียงกลุ่มเป้าหมายให้มีการพัฒนาจนไปถึงการมาเป็นลูกค้าเราทั้งในรูปแบบสินค้าหรือบริการ กลุ่มที่แบ่งเริ่มติดตามตั้งแต่กลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้เป็นลูกค้าเรา ส่งเสริมให้มีการการค้นหารับรู้ในสินค้าและบริการที่เรามี พัฒนาต่อไปจนถึงการตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการจนมาเป็นลูกค้าของเราแบ่งเป็น
1 การรับรู้คือ (Awareness) คือ ขั้นตอนเริ่มแรกที่เราจะใช้สื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย จะเน้นการให้เห็นหรือรับทราบในการมีสินค้าเราเป็นอันดับแรก ไม่ว่าจะเป็นการค้นหาข้อมูลของสินค้าหรือจากการโฆษณา ในระยะนี้จะเน้นเพื่อเพิ่มอัตราการรับรู้ในวงกว้าง ขั้นตอนนี้สำคัญมากถ้าหากปราศจากการรับรู้ จะทำให้สินค้าไม่เป็นที่รู้จักในกลุ่มเป้าหมายของเรา อาจหวังผลจากการขายได้น้อย เพราะการนำเสนอข้อมูลในขั้นตอนนี้หวังผลเพียงให้มีการทราบถึงสินค้าเริ่มรับรู้และสนใจในสินค้าเรา
2 การเปรียบเทียบ (Evaluation) คือ ขั้นตอนที่กลุ่มเป้าหมายจะทำการค้นหาข้อมูลที่มี มาใช้เปรียบเทียบเพื่อตัดสินใจ ขั้นตอนนี้เริ่มเมื่อกลุ่มเป้าหมายได้รับการรับรู้ในขั้นตอนแรกแล้วเริ่มสนใจสินค้าหรือบริการที่เรามี กลุ่มเป้าหมายก็จะเริ่มค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการจากช่องทางที่เรามีเช่น เอกสารประชาสัมพันธ์สินค้า จากร้านค้าที่มีเปิดบริการ จากเว็บไซต์เรา และยังรวมไปถึงการค้นหาข้อมูลจากที่อื่นในกลุ่มสินค้าเดียวกันด้วย ในขั้นตอนนี้เราจะพบว่าการใช้ Search Engine มาช่วยในการเข้าถึงความต้องการดูข้อมูลรายละเอียดกลุ่มเป้าหมายได้ อาจหวังผลจากการขายได้น้อยเพราะการค้นหาข้อมูลในขั้นตอนนี้ เพราะเมื่อลูกค้าเห็นสินค้าหรือบริการของเราอาจจะยังไม่ได้ต้องการในตอนนั้น แต่ได้ผลในการเริ่มรับรู้และสนใจในตัวเราแล้ว
3 การซื้อใช้ (Purchase) คือ เมื่อกลุ่มเป้าหมายสนใจและอยากที่จะซื้อสินค้าหรือบริการของเราในขั้นตอนที่ผ่านมา ขั้นตอนนี้เราต้องจัดเตรียมการให้บริการที่ดีในสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายต้องการ เพื่อให้เกิดการตัดสินใจในการซื้อสินค้าเราให้ได้ในขั้นตอนนี้ อาจควรต้องดูในการให้บริการในหลายด้าน ที่นอกเหนือจากเพียงตัวสินค้าเช่น การให้ข้อมูลด้านความโดดเด่นสินค้า ความสามารถในการตอยโจทย์และแก้ปัญหาที่มีของลูกค้า การแจ้งสิทธิประโยชน์จากการซื้อ การบริการหลังการขายเช่น รูปแบบการชำระเงิน รวมถึงการบริการอื่นๆ ที่ได้เตรียมไว้ในหลากหลายช่องทาง เพื่ออำนวยความสะดวกช่วยให้กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจซื้อสินค้า และเปลี่ยนจากกลุ่มเป้าหมายมาเป็นลูกค้าให้ได้มากที่สุด ควรต้องคาดหวังผลจากการขายให้มากที่สุดในขั้นตอนนี้ จะเน้นแผนการปิดการขายให้มากที่สุด
4 การใช้งาน (Usage) เมื่อผู้บริโภคซื้อแล้วเริ่มใช้สินค้าหรือบริการของเรา ในขั้นตอนนี้เราจะต้องพยายามทำให้ลูกค้าพบว่าสิ่งที่เขาได้รับนั้น เป็นไปตามที่เขาคาดหวังหรือเกินกว่าที่คาดหวังไว้ เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการใช้งานสินค้าเรา ต้องมีการเตรียมในเรื่องบริการหลังการขายที่เหมาะสม การให้ข้อมูลสินค้าได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว การพัฒนาในขั้นตอนนี้ก็จะทำให้เกิดโอกาสที่ลูกค้าจะมีการซื้อซ้ำ (Repurchase) และการบอกต่อ (Advocacy) ได้อีก ในขั้นตอนนี้อาจควรต้องคาดหวังผลจากการขายซ้ำให้มากได้ในขั้นตอนนี้ จะเพิ่มแผนการปิดการขายซ้ำให้มีมากขึ้น
5 การซื้อซ้ำ (Repurchase) คือ การที่ลูกค้าที่เคยใช้สินค้าเราเกิดความประทับใจในสินค้าหรือบริการของเรา มีความพอใจชอบและยินดีที่จะกลับมาซื้อสินค้าหรือบริการของเราอีก ซึ่งการที่ลูกค้าจะกลับมาซื้อสินค้าซ้ำได้นั้น ลูกค้าต้องเกิดความประทับใจต่อสินค้าและบริการของเราในขั้นตอนการใช้งานที่ผ่านมาด้วยประสบการณ์ที่ดี ในขั้นตอนนี้เราควรต้องคาดหวังผลจากการขายให้มากที่สุด จึงอาจจะเน้นแผนการเชิญชวนให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าซ้ำอีกให้ได้
6. การบอกต่อ (Advocacy) คือ การที่ลูกค้าของเรายกระดับมาเป็นผู้ติดตามหรือสนับสนุน เมื่อลูกค้าประทับใจเกิดในสินค้าจนเป็นความจงรักภักดีในตัวสินค้า ลูกค้ากลุ่มนี้นอกจากจะซื้อซ้ำแล้วก็จะเริ่มมาช่วยเราในการประชาสัมพันธ์คุณภาพสินค้าได้อีกทางเช่น เล่าประสบการณ์การใช้งาน การบอกต่อเพื่อนให้มาเป็นลูกค้าเรา และการรอคอยติดตามสินค้าใหม่ที่จะมีของเราต่อไป เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นกลุ่มที่มีโอกาสสูงที่จะใช้สินค้าเราอย่างต่อเนื่อง ควรต้องคาดหวังผลจากการขายในขั้นตอนนี้ด้วย อาจเน้นแผนการให้ลูกค้ากลุ่มนี้เชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายได้มาลองใช้สินค้าบริการของเราให้มากที่สุด
จากแต่ละระดับที่กล่าวมา จะพบว่าขั้นตอนการพัฒนาลูกค้านั้นมีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยให้เราสามารถจัดกลุ่ม เตรียมแนวทางและช่องทางการบริการได้ง่ายมีความเหมาะสม สามารถตอบโจทย์การซื้อสินค้า ที่เริ่มจากการเปนเพียงกลุ่มเป้าหมายไปถึงปิดการขาย และพัฒนาไปถึงการเป็นลูกค้าที่จงรักภักดีในสินค้าเราได้ในที่สุด
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward