iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
Industry4_index ดัชนีชี้วัดการเป็นอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0)
ปัจจุบันอุตสาหกรรมได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงการทำงานไปอย่างรวดเร็ว การให้ความสำคัญที่จะทำการยกระดับขีดความสามารถในองค์กรให้มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันทั้งภายในและภายนอกองค์กร และการที่ประเทศไทยได้กำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศมุ่งให้เป็น ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) เป็นเป้าหมายหลักที่รัฐบาลตั้งใจใช้ในการพัฒนาประเทศ
การเปลี่ยนแปลงด้านนี้ส่งผลกระทบต่องานที่มีใน ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ ภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ ภาคผู้ใช้แรงงาน และงานด้านต่างๆ โดยไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ต่างต้องตื่นตัวและหันมาทำการปรับเปลี่ยนองค์กรเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกที่รวดเร็ว การประยุกต์นำเอาเทคโนโลยีดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่มาใช้ในการทำงาน มีความจำเป็นมากต่ออนาคตอุตสาหกรรมของประเทศไทย
ดังนั้นการยกระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ หรือ อุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Industry) จึงมีความจำเป็นและต้องมีการทำอย่างเป็นระบบและเป็นขั้นตอน เพื่อให้การลงทุนในงานด้านนี้ประสบผลสำเร็จ และเกิดมีประสิทธิภาพสูงสุด มีการพยายามประเมินความพร้อมของอุตสาหกรรมในการที่จะมุ่งปรับปรุงองค์กร ให้ก้าวไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Industry) หรือบางครั้งหมายรวมถึง อุตสาหกรรม 4.0 ทำให้หลายแห่งต่างพยายามส้รางแนวทางหรือมาตรฐานโดยใช้ดัชนีมาเป็นตัวประเมินความพร้อมและโอกาสในความสำเร็จ ซึ่งปัจจุบันมีหลายประเทศที่นำมาใช้ได้ เช่น
ดัชนีอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) ในแต่ละประเทศ
ปัจจุบันมีการพยายามจัดทำดัชนีเพื่อการชี้วัดความพร้อมในการเข้าสู่การเป็นอุตสาหกรรม 4.0 ในแต่ละประเทศ โดยในประเทศไทยได้มีการพัฒนาจัดทำ ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย 4.0 (Thailand I4.0 Index) ซึ่งจัดทำโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปดัชนีในแต่ละประเทศได้ดังนี้
.
---------------------------------
ที่มาข้อมูล
---------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูลระดับการดำเนินการการยกระดับสู่การเป็น อุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Industry)
การยกระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เพื่อก้าวสู่การเป็น อุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Industry) อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของ อุตสาหกรรมทั้งในด้านการผลิตและบริการ ความจำเป็นในการพัฒนาควรต้องทำอย่างเป็นระบบและมีขั้นตอนตามลำดับ เพื่อให้การปรับปรุงองค์กรประสิทธิภาพสูงสุดคุ้มค่าในการลงทุน แบ่งระดับการดำเนินการได้เป็น 3 ระดับ คือ
1) การเริ่มต้น (Initiation) เป็นการวิเคราะห์และประเมินสถานภาพปัจจุบันของผู้ประกอบการ เพื่อให้เข้าใจ สภาพปัญหา และทราบความพร้อมของตนเองในปัจจุบัน
2) การระบุเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Solutioning) จะเป็นการวางแผน (Roadmap) การยกระดับความพร้อม และการจัดหาเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ปัญหาของผู้ประกอบการ
3) การลงมือปฏิบัติและประยุกต์ใช้จริง (Implementation and Operation) จะเป็นการติดตั้งและ ประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยี เพื่อใช้งานจริงในสถานประกอบการ ทำให้เกิดการยกระดับความพร้อมของ ภาคอุตสาหกรรมได้อย่างเป็นระบบ กระบวนการยกระดับความพร้อมนี้ จำเป็น
.
---------------------------------
ที่มาข้อมูล
---------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูลดัชนีชี้วัดความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 ของประเทศไทยและต่างประเทศ
ปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ มีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นมากขึ้น ส่งผลให้กระบวนการผลิตต้องปรับตัวให้การทำงานนั้นมีความยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ง่ายรวดเร็วเพื่อให้การผลิตที่มีของตันนั้นมีประสิทธิภาพสูงสู้คู้แข่งได้ เพราะระดับความสามารถในการทำงานโดยเฉพาะกระบวนการผลิต จะเป็นตัวแปรที่สำคัญและใช้ชี้วัดความสำเร็จขององค์กรในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันไปจนถึงอนาคต การนำระบบการผลิตในยุคดิจิทัลเข้ามาประยุกต้ใช้หรือที่เราเรียกว่าการพัฒนาองค์กรไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 จะเป็นกุญแจสำคัญของอุตสาหกรรม
ปัจจุบันในโลกมีหลายประเทศที่เริ่มตื่นตัวและให้ความสำคัญ ในการยกระดับองค์กรให้มีปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตเดิมสู่ อุตสาหกรรม 4.0 กันมากมายหลายประเทศโดยอาจมีการเรียกที่แตกต่างกันไป แต้ให้สังเกตเป้าหมายที่จะมุ่งเข้าสู่การนำดิจิทัลมาใช้นการบริหารจัดการผลิตและบริการ
ในส่วนของ อุตสาหกรรม 4.0 โดยมีการกล่าวถึงครั้งแรกที่ ประเทศเยอรมัน ซึ่งได้เริ่มประกาศ German standardization Roadmap Industrie 4.0 ในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2448 ต่อมาก็เริ่มมีหลายที่ทีได้กำหนดเป้าหมายและประกาศติดตามมา เช่น จีนได้ประกาศแผน Roadmap ที่เน้นการผลิตยุคใหม่ใช้ดิจทัลมาช่วยในชื่อ Made in China 2567 (2024) เพื่อเน้นการพัฒนากระบวนการผลิตของประเทศจีนโดยเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2448 เพื่อการปรับกระบวนการผลิตในยุคสมัยใหม่ ที่จะมุ่งความสามารถในการแข่งขันการลดต้นทุนทั้งกระบวนการเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ
ในกลุ่มประเทศอาเซียน มีหลายประเทศที่เริ่มกำหนดเป้าหมายสู่การเป็นอุตสาหกรรมดิจิทัล โดยประเทศที่เป็นแนวหน้าในงานด้านอุตสาหกรรม 4.0 คือ ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย รัฐบาลคาดหวังไว้ว่าหากอุตสาหกรรมในประเทศไทยนั้น สามารถยกระดับอุตสาหกรรมไปเป็น 4.0 ได้ หรือสามารถพัฒนาก่อนหลายประเทศก็อาจจะช่วยยกระดับความสามารถในด้านการแข่งขันอุตสาหกรรมกับประเทศต่างๆ ได้โดยไม่ยากนัก
ดัชนีชี้วัดความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 ของประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่
การประเมินความพร้อมอุตสาหกรรมนี้ หลายประเทศใช้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการที่จะริเริ่มดำเนินการและหาจุดก้าวเดิน เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมภาคการผลิตของประเทศตนให้ไปสู่ Industry 4.0 จากตัวอย่าง 3 ประเทศที่ได้กล่าวไปข้างต้น ล้วนตระหนักดีว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมภาคการผลิตสู่ Industry 4.0 ไม่สามารถใช้เวลาเพียงชั่วข้ามคืนให้สำเร็จได้ หากต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ให้เข้าใจชัดเจนถึงแนวคิดของ Industry 4.0 สร้างความตระหนักถึงความท้าทาย และโอกาสที่จะได้รับจากการเข้าสู่ Industry 4.0 ให้เข้าใจร่วมกันใน ทุกภาคส่วนของประเทศ เพื่อจะได้สามารถเตรียมความพร้อมและก้าวไปได้อย่างสอดคล้องกัน.
ที่มาข้อมูล ดาวน์โหลดเอกสารประกอบคลิกที่นี่
---------------------------------
ที่มาข้อมูล
---------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูลIndustry4_index_deu ความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 เยอรมัน (Industry 4.0 Readiness IMPULS) รวมข้อมูล
อุตสาหกรรม 4.0 ของ ประเทศเยอรมันนี ซึ่งถือว่าเป็นต้นตำหรับของคำว่า Industry 4.0 และนำมาเพื่อใช้กำหนดตัวเทียบวัดประเมินความสามารถ และใช้สร้างตัวชี้วัดเพื่อวางแผนไปสู่เป้าหมาย เพราะการกำหนดขอบเขตนิยามที่ชัดเจน จะช่วยทำให้คนทำงานในองค์กรมีความใจในระดับความสามารถของตนเองได้ดีมองไปที่เป้าหมายเดียวกัน และมองเห็นปัญหาแนวทางในการเดินสู่เป้าหมายที่ตรงกันได้ดี
ประเทศเยอรมนีเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 เมื่อปี พ.ศ. 2544 และรัฐบาลเยอรมนีกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์ประเทศ High-Tech strategy 2020 โดยผ่านกระทรวงศึกษาธิการและการวิจัย (Ministry of Educationand Research: BMBF) และกระทรวงเศรษฐกิจและพลังงาน (Ministry for Economic Affairs and Energy: BMWI) โดยมีจุดมู่งหมายเพื่อขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมการผลิตแบบดิจิทัลให้มีความก้าวหน้า โดยการเพิ่มระบบดิจิทัลและการเชื่อมต่อกันระหว่างผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่คุณค่า และแบบจำลองทางธุรกิจ นโยบายที่อยู่ระหว่างการขับเคลื่อนให้สำเร็จภายในระยะเวลา 10- 14 ปี เนื่องจากประเทศเยอรมนีเป็นต้นแบบการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 จึงมีโมเดลการประเมินพัฒนาการด้านอุตสาหกรรมที่ได้รับการพัฒนาจาก องค์กรขั้นนำ ถูกนำไปใช้และอ้างถึงอย่างแพร่หลาย ได้แก่
Industries 4.0 Readiness ของ สมาคมอุตสาหกรรมวิศวกรรมเครืองกล ของประเทศเยอรมนี (VDMA) ซึ่งเป็นสมาคมอุตสาหกรรมเก่าแก่และมีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป
- อุตสาหกรรม 4.0 ของเยอรมัน (Industry 4.0 Readiness Impuls) ของ IMPULS
- ความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0 Readiness) ระดับกลุ่มองค์กร
- ความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0 Readiness) ระดับความพร้อม 6 ระดับ
- อุตสาหกรรม 4.0 ที่ประเทศเยอรมันเลือกใช้
---
- ความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 ของเยอรมัน แบบตรวจสอบ 6 มิติ
- 1. ยุทธศาสตร์และการจัดองค์กร (Strategy and organization)
- 2. โรงงานอัจฉริยะ (Smart factory)
- 3. ขบวนการทำงานที่ดี (Smart operations)
- 4. ผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นอัจฉริยะ (Smart products)
- 5. บริการข้อมูลที่ขับเคลื่อนด้วย (Data-driven services)
--
โมเดลการตรวจสอบความพร้อมสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 (The Readiness Model) เป็นแนวคิดในการที่จะประเมินความพร้อมของตนเอง และใช้ไปเปรียบเทียบบริษัทกลุ่มเดียวกัน หรือบริษัทที่มีความสำเร็จในการเป็นอุตสาหกรรม 4.0
ที่มาข้อมูลอ้างอิง https://www.industrie40-readiness.de/?lang=en
การตรวจสอบความพร้อมสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 จะช่วยให้เราสามารถประเมินตัวเองเทียบกับดัชนีตัวชี้วัดบริษัทที่มีความสำเร็จในด้านอุตสาหกรรม 4.0 เทียบดูว่าเราพร้อมเพียงใรในการที่จะก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 เมื่อเทียบกับมาตรฐานแล้วเราอยู่ในระดับไหน ธุรกิจของเราในตอนนี้อยู่ที่ไหนเมื่อเทียบกับบริษัทอื่นๆ เพื่อใช้ประกอบการวางแผนเพื่อปรับปรุงตัวเองให้สามารถก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 ได้ต่อไป
---------------------------------
ที่มาข้อมูล
---------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูลind4_deu อุตสาหกรรม 4.0 ของเยอรมัน แบบตรวจสอบระดับความพร้อม (Industry 4.0 Readiness)
การตรวจสอบความพร้อมสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0 Readiness) จากที่ผ่านมาได้กล่าวถึงอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) กันมากมาย และเมื่อรัฐบาลไทยได้นำเอาคำว่า 4.0 มาใช้ในการตั้งเป้าหมายในการพัฒนาประเทศ โดยประกาศจะนำพาประเทศและเศรษฐกิจก้าวไปสู่ยุคประเทศไทย 4.0 ทำให้หลายบริษัทหรือหน่วยงานต่างก็แข่งขันกันกำหนดเป้าหมายองค์กรโดยใช้ 4.0 ต่อท้ายกันเต็มไปหมด เกิดปัญหาว่าความเข้าใจในนิยามหรือเป้าหมายในคำว่า 4.0 ที่มีนั้น เป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่มีการกำหนดรูปแบบนิยามคำว่า อุตสาหกรรม 4.0 ไว้ชัดเจนเพียงไร
ในที่นี้จะขอยกแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 โดยอ้างอิงแนวคิดจากของ ประเทศเยอรมันนี ซึ่งถือว่าเป็นต้นตำหรับของคำว่า Industry 4.0 และนำมาเพื่อใช้กำหนดตัวเทียบวัด ประเมินความสามารถ และใช้สร้างตัวชี้วัดเพื่อวางแผนไปสู่เป้าหมาย เพราะการกำหนดขอบเขตนิยามที่ชัดเจน จะช่วยทำให้คนทำงานในองค์กรมีความใจในระดับความสามารถของตนเองได้ดีมองไปที่เป้าหมายเดียวกัน และมองเห็นปัญหาแนวทางในการเดินสู่เป้าหมายที่ตรงกันได้ดี
โมเดลการตรวจสอบความพร้อมสำหรับอุตสาหกรรม 4.0 (The Readiness Model) เป็นแนวคิดในการที่จะประเมินความพร้อมของตนเองและใช้ไปเปรียบเทียบบริษัทกลุ่มเดียวกัน หรือบริษัทที่มีความสำเร็จในการเป็นอุตสาหกรรม 4.0 หลักสำคัญที่ใช้ในการประเมินอุตสาหกรรม 4.0 ในที่นี้ใช้ 6 เรื่อง ได้แก่
1. ยุทธศาสตร์และการจัดองค์กร (Strategy and organization) โดยดูที่การกำหนดยุทธศาสตร์ การจัดโครงสร้างองค์กร และแนวคิดและวัฒนธรรมที่มีในองค์กร ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการเป็นการเป็นอุตสาหกรรม 4.0
2. โรงงานอัจฉริยะ (Smart factory) โดยจะดูองค์ประกอบที่มีในโรงงาน ดูความสามารถในการผลิตมีรูปแบบอย่างไร การใช้เครื่องมือเครื่องจักรช่วยในการทำงานเพียงไร และมีการใช้เครื่องจักรในระดับอัตดนมัติหรือไม่เพียงไร
3. ขบวนการทำงานที่ดี (Smart operations) โดยจะดูแนวคิดการทำงาน ขั้นตอน ขบวนการ และการดำเนินงาน ขบวนการผลิต และผลงานที่ได้ในงาน มีรูปแบบที่ดีเพียงไร ใช้เป็นมาตรฐานสากลหรือไม่ สามารถปรับเปลี่ยนขบวนการให้ใช้เครื่องจักรอัตโนมัติได้ยากง่ายเพียงไร
4. ผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นอัจฉริยะ (Smart products) โดยจะพิจารณาถึงผลงานหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการดำเนินงาน อาจเน้นทางด้านกายภาพเช่น เป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีมีความล้ำหน้าในเทคโนโลยีเพียงไร มีส่วนประกอบที่เป็นงานที่เกี่ยวกับด้าน ICT มากน้อยเพียงไร
5. บริการข้อมูลที่ขับเคลื่อนด้วย (Data-driven services) ดูการบริหารจัดการการใช้ข้อมูลในธุรกิจ ว่าสามารถนำเอาข้อมูลมาใช้ในการทำงานมากน้อยเพียงไร มีการส่งต่อข้อมูลเชื่อมโยงกันได้ต่อเนื่องเพียงไร หากมีการใช้ข้อมูลครบถ้วนตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำก็ถือว่ามีการขับเคลื่อนด้วยข้อมูลที่ดีในทางธุรกิจ
6. พนักงาน (Employees) พิจารณาจากความพร้อมของบุคลากรในองค์กร ในการรับและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพียงไร เพราะปัจจัยหลักในการที่จะดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จของอุตสาหกรรม 4.0 คือ คน เพราะต้องใช้บุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมโดยเฉพาะความรู้ความสามารถในงานด้าน ICT
---------------------------------
ที่มาข้อมูล
---------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูลเว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward