-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
การจัดการโลจิสติกส์ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการโซ่อุปทาน เพื่อช่วยในการวางแผน การสนับสนุน การควบคุมการไหลของวัตถุดิบและสินค้าให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล และการเก็บรักษาสินค้าหรือการบริการ และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดสุดท้าย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
ความสำคัญอันดับแรกของการจัดการระบบโลจิสติกส์ในระบบธุรกิจ คือ การสร้างประโยชน์จากเวลาและสถานที่ หรือการสร้างคุณค่าโดยการนำสินค้าจากต้นกำเนิดไปสู่สถานที่ ที่มีความต้องการ หน้าที่นี้ก็คือ การนำสินค้าจากแหล่งที่ถูกต้องในรูปแบบ จังหวะเวลา คุณภาพ และปริมาณด้วยต้นทุนที่พอเหมาะไปสู่สถานที่ที่ถูกต้อ’
พันธกิจของการจัดการโลจิสติกส์ คือ การวางแผน การดำเนินงานและประสานการดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ ที่มุ่งบรรลุผลในด้านการตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยการนำเสนอบริการและคุณภาพในระดับที่เหนือกว่า ด้วยต้นทุนการดำเนินที่สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลุ่มกิจกรรมหลักโลจิสติกส์
จากรูปองค์ประกอบของระบบ โลจิสติกส์มีหลายกิจกรรม คือ การพยากรณ์อุปสงค์ การวางแผน การผลิต การจัดซื้อ บรรจุภัณฑ์ การเคลื่อนย้ายภายในองค์กร การผลิต คลังสินค้า การขนส่ง การกระจายสินค้า การบริการลุกค้า เป็นต้น ทุกกิจกรรมในโลจิสติกส์ต้องทำงานอย่างต่อเนื่อง และเกี่ยวข้องกันเป็นกระบวนการ การวัดผลงานการดำเนินงานในกระบวนการของบริษัททั้งหมด
รูปองค์ประกอบของระบบโลจิสติกส์
การแบ่งขอบเขตของโลจิสติกส์ เป็น 2 กลุ่มกิจกรรมหลัก ดังต่อไปนี้
1. การจัดการวัสดุ (Material Management) หรือโลจิสติกส์ขาเข้า (Inbound Logistics) หรือโลจิสติกส์เพื่อการผลิต (Manufacturing Logistics) จะสนับสนุนในการผลิตเป็นหลัก มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องคือ เป็นการศึกษาอุปสงค์ของพื้นที่จัดเก็บและการเคลื่อนย้ายของวัตถุดิบ สินค้า ชิ้นส่วน บรรจุภัณฑ์ ที่ต้องจัดซื้อ จัดหา เพื่อการผลิต รวมถึงต้นทุนและการบริการ เพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มในกิจกรรมทางเลือกที่ดีที่สุด
2. การจัดการการกระจายสินค้า (Physical Distribution Management) หรือโลจิสติกส์ขาออก (Outbound Logistics) จะสนองความต้องการในการขาย และการตลาดเป็นหลัก มีหน้าที่หลักคือ การจัดการคลังสินค้า และการขนส่ง โดยคลังสินค้าจะต้องมีโครงสร้างพื้นฐาน อุปกรณ์ต่างๆ ระบบการจัดการคลังสินค้าและโครงสร้างบริหารจัดการ ส่วนงานขนส่งจะเกี่ยวข้องกับการเลือกพนักงาน ที่มีทักษะ รูปแบบการขนส่ง วิธีการขนส่ง และมูลค่าจากการทำงาน
การให้บริการโลจิสติกส์สำหรับผู้ให้บริการจากภายนอก (LSP,3PL) ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ จากรูปของกิจกรรมของ
โลจิสติกส์ระหว่างประเทศมีความเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย ตั้งแต่ผู้ขายปัจจัยการผลิต (Suppliers) ผู้ซื้อ (Buyer) โดยมีกิจกรรมหลักในโลจิสติกส์ คือการขนส่งทั้งทางบก (รถไฟ และ รถยนต์) ทางเรือและทางอากาศ ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ และผู้ให้บริการจัดเก็บสินค้า (Storage)
รูปกิจกรรมโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ
ส่วนในประเทศไทยมีขอบเขตของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ซึ่งต้องเกิดจากความร่วมมือระหว่างเอกชนและรัฐบาล ซึ่งในภาคเอกชนประกอบด้วย ผู้ขายปัจจัยการผลิต ผู้ผลิตหรือโรงงานแปรรูป (Factory) ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก จนถึงผู้บริโภค สถาบันการเงิน ผู้รับประกันภัย ส่วนภาครัฐบาลจะประกอบด้วย กระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กรมศุลกากร โดยมีปัจจัยแวดล้อมสนับสนุนคือ กฎระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์ ผู้ประกอบการโลจิสติกส์ บุคลากรในงานโลจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐานคือ ท่าเรือ สนามบิน รางรถไฟ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมโลจิสติกส์ที่ขนส่งผ่านทั้ง ทางรถไฟ ทางรถยนต์ ทางน้ำ และทางเส้นท่อ ทั้งในระดับพื้นที่ภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งกิจกรรมโลจิสติกส์หลักได้แก่ การจัดซื้อ การผลิต การจัดส่ง การจัดการสินค้าคงคลัง และกิจกรรมอื่นๆ ทั้ง 15 กิจกรรม โดยการดำเนินงานจะเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงิน การประกันภัย ซึ่งทุกกิจกรรมจะดำเนินการผ่านกระบวนการในโลจิสติกส์ ในปัจจุบันจึงเกิดรูปแบบธุรกิจการให้บริการด้านโลจิสติกส์ขึ้น เรียกว่า ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์จากภายนอก (The Third Party Logistics Services Provider : 3PL หรือ LSP)
ที่มา
-
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
รูปแบบการชำระเงินระหว่างประเทศ (International Methods of Payment)
รูปแบบการชำระเงินระหว่างประเทศ (International Methods of Payment) ในงานการซื้อขายสินค้า การส่งออกและนำเข้า จะต้องมีการตกลงกันในเรื่องวิธีชำระเงินค่าสินค้า นั้นเป็นเรื่องที่ขาดเสียไม่ได้ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออก และปัจจุบันการชำระเงินในการส่งออก-นำเข้านิยมใช้กันอยู่ 4 ประเภท ซึ่งแต่ละวิธีจะมีความได้เปรียบและเสียเปรียบที่แตกต่างกันประกอบด้วย
1. การชำระเงินแบบจ่ายล่วงหน้า (Advance Payment) เป็นวิธีการซื้อขายโดยผู้ซื้อมีการชำระเงินไปก่อน ผู้ซื้อ/ผู้นำเข้าต้องจ่ายเงินค่าสินค้าให้แก่ผู้ขาย/ผู้ส่งออกก่อน หลังจากนั้นผู้ส่งออกจึงจะทำการจัดส่งสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ วิธีนี้ผู้ซื้อ/ผู้นำเข้าจะเป็นฝ่ายที่มีโอกาสเสียเปรียบแก่คู่ค้า ในเรื่องการไม่ได้รับสินค้า, ได้รับของช้า, ได้รับไม่ครบ ฯลฯ เพราะเงินจ่ายไปแล้วยากที่จะต่อรองผู้ขายได้ดีพอ
2. การชำระเงินแบบเปิดบัญชีระหว่างกัน (Open Account) เป็นวิธีการซื้อแบบเชื่อเครดิตหรือลงบัญชีไว้ก่อน โดยผู้ขาย/ผู้ส่งออกจะทำการจัดส่งสินค้าไปยังผู้ซื้อ/ผู้นำเข้าก่อน และเมื่อได้สินค้าแล้วค่อยเก็บเงิน หรือชำระเงินภายหลังตามกำหนดที่ได้ตกลงกันไว้ กรณีนี้ผู้ซื้อและผู้ขายต้องมีความเชื่อใจกัน หรือเป็นบริษัทในเครือ วิธีนี้ ผู้ขาย/ผู้ส่งออกจะเป็นฝ่ายที่เสียเปรียบแก่คู่ค้า ในเรื่องการไม่ได้รับเงิน, ได้รับเงินช้า, ได้รับไม่ครบ ฯลฯ เพราะส่งสินค้าไปแล้วยากที่จะต่อรองผู้ซื้อได้ดีพอ
3. การชำระเงินแบบตั๋วเงินเพื่อการเรียกเก็บ (Bills for Collection) ใช้กฎ urc 522 เป็นวิธีการชำระเงินที่ผู้ขายใช้ให้ ธนาคารเป็นผู้ดำเนินการเรียกเก็บเงิน หรือใช้บริการให้ธนาคารช่วยเรียกเก็บเงินแก่ผู้ซื้อ/ผู้นำเข้า โดยที่ผู้ขาย/ผู้ส่งออกเมื่อทำการจัดส่งสินค้า ก็จะจัดเตรียมเอกสารที่จำเป็นต่างๆ ส่งไปเรียกเก็บเงินเอาแก่ผู้ซื้อ/ผู้นำเข้า โดยใช้ธนาคาร (Remitting Bang) เป็นตัวกลางในการเรียกเก็บเงิน และ/หรือส่งมอบเอกสาร ในกรณีนี้ธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบเพราะทำหน้าที่เป็นตัวแทนตามเก็บเงินเท่านั้น หากผู้ซื้อไม่จ่าย ทางผู้ขายก็ต้องดำเนินการติดตามเงินด้วยตัวเอง
4. การชำระแบบเลตเตอร์ออฟเครดิตที่มีเอกสารประกอบ (Letter of Credit, L/C) วิธีการชำระเงินนี้มักเรียกย่อว่า L/C เป็นการชำระเงินที่มีธนาคารเข้ามารับรองการชำระเงินให้แก่ผู้ส่งออก/ผู้ขายว่า โดยในขั้นต้นธนาคาร (Issuing Bank) ผู้ออก L/C จะต้องได้รับเงินค้ำประกันจากผู้ซื้อมาวางเงินไว้ก่อน เมื่อได้รับเงินจากผู้ซื้อก็จะทำการแจ้งเปิด L/C ไปที่ผู้ขาย เพื่อยืนยันว่าธนาคารรับจะจ่ายเงินค่าสินค้าดังกล่าวให้ผู้ขายแน่นอน เมื่อผู้ขายปฎิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด ในกรณีทั้งสองฝ่ายต้องดูในเรื่องเอกสารให้มีความถูกต้อง การส่งสินค้าและทำเอกสารควรให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ เพราะจะมีการยึดข้อมู,ตามเอกสาร L/C เป็นหลักในการเบิกจ่าย ธนาคารส่วนใหญ่จะมีผู้ชำนาญในเรื่องการกรอกเอกสารให้บริการในการจัดทำเอกสาร L/C โดยมีค่าใช้จ่ายบ้างเล็กน้อย
.
ที่มา
-
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
.
ที่มา
-
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
Logistics คืออะไร
โลจิสติกส์ (Logistics) เป็นคำที่มีการกล่าวถึงกันอ
โลจิสติกส์เริ่มมีการนำมาใช
.
ที่มา
-
รวมรวมข้อมูลภาพ
- www.iok2u.com
-------------------------------------
การบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
-------------------------------------
LM57 การกำหนตระดับสินค้าคงคลังที่ปลอดภัย (Safety Stock)
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ คลิกที่นี่
LM57 พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ (Fundamentals of Logistics Management) ปี 2557ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward