iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
sc การจัดการคลังสินค้า
การจัดการคลังสินค้า ในระบบของการจัดการโลจิสติกส์มีส่วนหนึ่งที่สำคัญในระบบคือ คลังสินค้า ซึ่งจะเป็นส่วนที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพของระบบการจัดการและในทางตรงกันข้ามก็จะเป็นจุดที่ทำให้เกิดต้นทุนของระบบโลจิสติกส์ด้วย หากการบริหารจัดการไม่เหมาะสม ทำให้เกิดต้นทุนโลจิสติกส์ซึ่งเป็นต้นทุนในส่วนที่เกิดกับจุดที่มีคลังสินค้า ต้นทุนโลจิสติกส์ มีส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้นในคลังสินค้าคงคลังซึ่งเราจะเรียกว่า ต้นทุนในระบบคลังสินค้า มีความหมายครอบคลุมถึงต้นทุนต่าง ๆของการจัดการคลังสินค้า ดังต่อไปนี้
1. ต้นทุนการถือครองสินค้าคงคลัง (Inventory Carrying Cost)
2. ต้นทุนการบริหารคลังสินค้า (Warehouse Cost)
3. ต้นทุนการขนส่งสินค้า (Transportation Cost)
เนื่องจากสัดส่วนของต้นทุนการถือครองสินค้าอยู่ในสัดส่วนที่สูงมาก และเป็นต้นทุนที่สามารถบริหารจัดการได้ภายในองค์กร การจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพสามารถลดต้นทุนของผู้ประกอบการอย่างชัดเจนที่สุด
รูปบทบาทของระบบคลังสินค้าในระบบโลจิสติกส์
คลังสินค้าและการจัดการคลังสินค้า ความหมายของคลังสินค้าในมิติโลจิสติกส์ มีดังนี้
1. เป็นสถานที่ใช้ในการเก็บรักษาสินค้าให้อยู่ในสภาพที่ดี และมีคุณสมบัติที่พร้อมจะส่งมอบให้กับบุคคล องค์กร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยบรรลุเป้าหมายแบบ 5 Right คือ1) RIGHT QUALITY คือ การซื้อให้ได้คุณภาพที่ถูกต้อง 2) RIGHT QUANITY คือ การซื้อให้ได้จำนวนที่ถูกต้อง 3) RIGHT TIME คือ การซื้อให้ได้ในเวลาที่ถูกต้อง 4) RIGHT SOURCE คือ การซื้อจากผู้ขายที่ถูกต้อง 5) RIGHT PRICE คือ การซื้อในราคาที่ถูกต้อง
2. หน้าทีที่สำคัญของสินค้าคงคลัง คือ ที่พักและที่เก็บสินค้าหรือวัตถุดิบหรือวัสดุสิ่งของต่างๆ โดยเป็นสถานที่ซึ่งใช้ในการพักสินค้าชั่วคราวจนกว่าจะมีการเคลื่อนย้ายไปสู่ผู้ที่มีความต้องการไม่ว่าจะเพื่อการผลิต หรือเพื่อจำหน่ายจ่ายแจก หรือขาย หรือส่งมอบ ดังนั้นลูกค้าของการจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้าจึงไม่ใช่เพียงแต่ลูกค้าภายนอกเท่านั้น ยังรวมถึงลูกค้าภายในโรงงานอีกด้วย เช่น ฝ่ายการผลิต เป็นต้น
ในการจัดส่งสินค้าให้ผู้รับเพื่อกิจกรรมการขาย มีเป้าหมายหลักในการบริหารและดำเนินธุรกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคลังสินค้าก็เพื่อให้เกิดระบบที่คุ้มกับการลงทุน การควบคุมคุณภาพของการเก็บ การหยิบสินค้า การป้องกันและลดการสูญเสียจากการดำเนินงาน เพื่อให้ต้นทุนดำเนินงานต่ำที่สุด และใช้ประโยชน์เต็มที่จากพื้นที่ที่ได้จัดไว้
การจัดการคลังสินค้าเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการจัดการความสัมพันธ์ของต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงกับปริมาณสินค้าที่จะเก็บในคลัง เพื่อตอบสนองต่อความพึงพอใจของลูกค้า ในอดีตมีความเชื่อที่ว่า คลังสินค้าเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดต้นทุน ไม่สร้างรายได้ให้แก่องค์กร (Cost Center) ซึ่งความเชื่อดังกล่าวเป็นความเชื่อที่ผิด เนื่องจากการจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพจะสามารถช่วยลดต้นทุน โดยเฉพาะต้นทุนในการจัดเก็บ หรือต้นทุนโลจิสติกส์ภายในองค์กรให้ลดลงได้ ซึ่งในที่สุดการลดต้นทุนดังกล่าวจะสร้างความได้เปรียบขององค์กรนั้น นอกจากนั้นการบริหารจัดการคลังสินค้าที่ดี จะสามารถตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าได้มาก เช่นสามารถตอบสนองความต้องการในการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้เร็วขึ้น
--------------------------------------------------------
การจัดการซัพพลายเชนอย่างยั่งยืนในยุคประเทศไทย 4.0
ดร.วัชรพจน์ ทรัพย์สงวนบุญ
บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ภายใต้ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ที่จะพัฒนาประเทศสู่ความ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ในรูปแบบ “ทำน้อย ได้มาก” โจทย์ที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรม คือ จะทำอย่างไรให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ปัจจุบันหน่วยธุรกิจต่างๆ ในซัพพลายเชนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เริ่มมีการนำกลยุทธ์ใหม่ที่เรียกว่า Sustainable Supply Chain Management หรือ การจัดการซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันตลอดซัพพลายเชน สามารถตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยปัจจุบันพบปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการซื้อสินค้า คือ ผู้บริโภคไม่ได้ให้ความสำคัญกับราคาถูกแต่เพียงอย่างเดียว แต่ลูกค้าเริ่มมีจิตสำนึกต่อความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
จากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคที่กล่าวมาข้างต้น การจัดการซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน คือ การบริหารกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบไปจนถึงแหล่งบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต ดังนั้น ธุรกิจจำเป็นที่ต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในซัพพลายเชน อาทิ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต รวมทั้งกิจกรรมโลจิสติกส์อื่นๆ ไม่เพียงแต่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่สามารถส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าและสร้างกำไรให้กับธุรกิจแต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป แต่ธุรกิจจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อเป็นการต่อยอดความคิดจากการจัดการซัพพลายเชนในอดีต โดยมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์กับองค์กรทั้งในเรื่องการเพิ่มกำไร การใช้สินทรัพย์อย่างคุ้มค่า มุ่งหวังในการลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ปรับตัวให้เข้ากับนวัตกรรมที่กำลังเปลี่ยนแปลง โดยต้องพัฒนาและปรับปรุงองค์กรอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการมีชื่อเสียงของธุรกิจให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า
หากธุรกิจต้องการที่จะประยุกต์หลักการการจัดการอย่างยั่งยืน จำเป็นที่ต้องพิจารณา 3 มุมมอง ได้แก่ เศรษฐกิจ (Economic) สิ่งแวดล้อม (Environment) และสังคม (Social) เริ่มจากการกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนตามแนวคิดของ Cetinkayaet al. (2011) ในเชิงสังคม หน่วยธุรกิจต่างๆ ในซัพพลายเชนต้องให้ความสำคัญกับแนวทางในการดูแลสุขภาพและความปลอดภัย รวมทั้งสวัสดิภาพของพนักงาน คู่ค้า รวมไปถึงลูกค้า โดยให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อสังคมให้น้อยที่สุด ในเชิงเศรษฐกิจ ธุรกิจอาจจะกำหนดเป้าหมายในเรื่องรายได้ ต้นทุน กำไร รวมไปถึงคุณภาพของสินค้าและบริการ ประสิทธิภาพ และความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ในเชิงของสิ่งแวดล้อม ธุรกิจจำเป็นต้องคำนึงการลดผลกระทบที่จะเกิดจากกิจกรรมต่างๆ ในซัพพลายเชน เช่น การลดปริมาณมลพิษที่จะปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด อีกทั้งการลดของเสีย และส่งเสริมการนำกลับมาใช้ใหม่ (recycle)
เมื่อธุรกิจสามารถกำหนดเป้าหมายเพื่อตอบโจทย์การจัดการซัพพลายเชนอย่างยั่งยืนแล้ว ธุรกิจจะต้องปรับแนวทางการทำงาน เช่น ในอดีตเคยจัดซื้อด้วยวิธีการเจรจาต่อรองเพื่อให้มีต้นทุนการซื้อต่ำสุด ซึ่งการจัดซื้อดังกล่าวอาจจะเป็นการซื้อจากผู้ขายที่อาจสร้างผลกระทบเชิงลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากผู้ขายต้องหาวิธีการที่ทำให้ต้นทุนของสินค้าต่ำสุด เพื่อให้ขายสินค้าในราคาถูกให้กับลูกค้าได้ ลูกค้าโดยเฉพาะผู้บริโภคจึงมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการจัดการซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน หากผู้บริโภคมีความรับผิดชอบต่อสังคมก็จะเลือกซื้อสินค้าที่สร้างผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ทำให้หน่วยธุรกิจต่างๆ ในซัพพลายเชนตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำจำเป็นต้องปรับตัวให้สามารถสนองตอบความต้องการของลูกค้า ส่งผลให้ซัพพลายเชนมีความยั่งยืนในที่สุด
สำนักโลจิติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ให้ความสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน จึงได้มอบหมายให้บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดการอบรมในหลักสูตร “การจัดการซัพพลายเชนอย่างยั่งยืน” ตามโครงการสร้างนักโลจิสติกส์อุตสาหกรรมมืออาชีพ โดยผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้ารับการอบรมจะได้รับสนับสนุนทุนการอบรมจากสำนักโลจิสติกส์มากกว่าร้อยละ 60 ผู้สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.logistics.kmutt.ac.th
เอกสารอ้างอิง:
Cetinkaya, B., Cuthbertson, R., Ewer, G., Klaas-Wissing, T., Piorowicz, W. and Tyssen, C. The need for sustainable supply chain management. In Cuthbertson, R. (Ed.) Sustainable Supply Chain Management.Springer. London, 2011.
ที่มา http://www.logistics.go.th/en/news-article/bol-article/9385-2017-03-09-02-54-16
การจัดการโซ่ความเย็นในอุตสาหกรรมอาหาร (Food Cold chain)
การจัดการโซ่ความเย็นในอุตสาหกรรมอาหาร (Food Cold chain)
1. โซ่ความเย็น (Cold chain) โซ่ความเย็น เป็นโซ่อุปทานที่มีการควบคุมหรือเลือกใช้สภาวะอุณหภูมิความชื้นสัมพัทธ์ บรรยากาศ สภาพแวดล้อม วิธีการบรรจุหรือบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ แต่ละประเภทตลอดทั้งโซ่อุปทาน จากการเก็บเกี่ยว เก็บรักษา การแปรรูปหรือการบรรจุ ขนส่ง และกระจายสินค้า รวมถงึการบริหารจัดการเวลาดำเนินงานในโซ่อุปทานให้สั้นที่สุดจะสามารถ ยืดอายุการเก็บรักษาและรักษาคุณภาพของสินค้าได้
สำหรับสินค้าเกษตรและอาหาร การจัดการโซ่ความเย็นมีความสำคัญมาก หากมีจุดใดจุดหนึ่งที่ทำให้สภาวะข้างต้นเปลี่ยนแปลงจนอยู่ในช่วงที่ไม่เหมาะสมหรือใช้เวลานานเกิน ไป อาจเกิดอันตรายในด้านความปลอดภัยของอาหารได้การจัดการระบบโซ่ความเย็นที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นช่องทางหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและอาหารซึ่งมีช่วงชีวิตหรือ อายุการเก็บที่จำกัด (Shelf life limitation) ได้ดังนี้
อย่างไรก็ตามระบบโซ่ความเย็นมีข้อจำกัดดังนี้
2. การจัดการโซ่ความเย็นบนพื้นฐานข้อมูลเชิงเทคนิค
สินค้าเกษตรและอาหารจะเกิดการเสื่อมเสีย (Deterioration) ได้ที่อุณหภูมิสูง และ ความชื้นสัมพัทธ์สูงหรือบรรยากาศซึ่งสามารถเร่งกระบวนการเสื่อมเสียได้สินค้าแต่ละชนิด จะมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ความชื้น และบรรยากาศที่ระดับแตกต่างกันไป ในที่นี้จะแบ่งประเด็นการบริหารจัดการระบบโซ่ความเย็นตลอดโซ่อุปทานได้ 4 ด้านคือ
1) การจัดการด้านความปลอดภัยจากจุลินทรีย์ เป็นการควบคุมจำานวนจุลินทรีย์ เริ่มต้นรวมทั้งการลดปริมาณจุลินทรีย์จนถึงระดับที่อนุญาตให้มีได้ในสินค้าในขั้นตอนนี้มัก ใช้เครื่องมือควบคุมกระบวนการผลิตด้วยหลักการควบคุมจุดวิกฤตอันตรายในกระบวนการที่ เกี่ยวข้อง (Hazard Analysis Critical Control Point: HACCP) และหลักปฏิบัติที่ดีในการ ผลิตอาหาร (Good Manufacturing Practices: GMP)
2) การจัดการเพื่อรักษาระดับคุณภาพสินค้าและเพื่อเพิ่มอายุผลิตภัณฑ์ เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อรักษาระดับคุณภาพสินค้าส่งผลให้ยืดอายุของผลิตภัณฑ์เช่น การใช้สารเคมี หรือบรรจุภัณฑ์ในการป้องกันการเสื่อมเสียทางกายภาพเคมีและจุลินทรีย์
3) การจัดการเพื่อ ควบคมุอุณหภูมิ และความชื้น ตลอดโซ่อุปทานสินค้าให้อยู่ในระดับคงที่เหมาะสมตามชนิดผลิตภัณฑ์ ซึ่งอุณหภูมิและความชื้นต่ำระดับที่ี่เหมาะสมและคงที่ตลอด โซ่อุปทานช่วยลดการเติบโตของจุลินทรีย์ รวมทั้งการรักษาระดับคุณภาพทางกายภาพและทางเคมีของผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการเก็บที่นานขึ้น และคุณภาพใกล้เคียงของสด
4) การรักษาระดับคุณค่าทางโภชนาการในผลิตภัณฑ์ เป็นการใช้เทคโนโลยีใน ขั้นตอนต่างๆ ผสมผสานเพื่อลดระดับปฏิกิริยาเคมีที่ยังคงเกิดภายในผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะ ผลิตภัณฑ์สดหลังการเก็บเกี่ยว
sc การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)
การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) คือ การรวบรวม การวางแผน และการจัดการกิจกรรมทั้งหมดที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดหา การจัดซื้อ การแปรรูป และกิจกรรมการจัดการทั้งหมด ที่สำคัญการจัดการโซ่อุปทานยังรวมถึงการประสานงาน (Coordination) และการทำงานร่วมกัน (Collaboration) กับหุ้นส่วนต่างๆในโซ่อุปทานซึ่งจะเป็นผู้จัดส่งวัตถุดิบตัวกลางผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการ
โลจิสติกส์และลูกค้า แก่นสำคัญ คือ การจัดการโซ่อุปทานจะบูรณาการ (Integrate) ทั้งการจัดการอุปสงค์และอุปทาน ซึ่งรวมถึงภายในและภายนอกบริษัท
การจัดการโซ่อุปทานเป็นกระบวนการของการบริหารทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิต กระบวนการสั่งซื้อจนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้าให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุดพร้อมกับสร้างระบบให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลที่ทำให้เกิดกระบวนการทำงานของแต่ละหน่วยงานส่งผ่านไปทั่วทั้งองค์การ การไหลเวียนของข้อมูลยังรวมไปถึงลูกค้า และผู้จัดส่งวัตถุดิบด้วย
รูปกระบวนการโลจีสติกส์โซ่อุปทาน
กระบวนการการจัดการโซ่อุปทาน มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้องค์กรยกระดับความสามารถในการบริหาร เช่น การลดสินค้าคงคลัง การเพิ่มผลิตภาพหรือการลดความสูญเปล่าในกระบวนการทำงาน ส่งเสริมความเติบโตของธุรกิจ เช่น การเพิ่มโอกาสในการออกสินค้าใหม่ให้เร็วขึ้น การเปิดตลาดใหม่ ๆ การสร้างความพอใจแก่ลูกค้ามากขึ้น ส่งเสริมความยั่งยืนของธุรกิจ เช่น การลดต้นทุนธุรกิจ การบริหารเงินทุนหมุนเวียน เป็นต้น
การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)
การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) หรือ การจัดการซัพพลายเชน เกิดขึ้นในช่วงปลายยุคทศวรรษ 1980 และเริ่มนำใช้อย่างแพร่หลายในยุคทศวรรษ 1990 ก่อนหน้านั้นธุรกิจต่างใช้คำว่า “โลจิสติกส์” และ “การจัดการดำเนินงาน (Operations Management: OM)” แทนคำว่าการจัดการโซ่อุปทาน” ทั้งนี้ ก็ได้มีผู้เสนอนิยามของคำว่า “โซ่อุปทาน” ไว้ต่างๆดังต่อไปนี้
- “โซ่อุปทาน คือ การจัดเรียงบริษัท (Alignment of Firms) ซึ่งจะนำผลิตภัณฑ์และบริการเข้าสู่ตลาด” จากหนังสือ Fundamentals of Logistics Management โดย Lambert, Stock, และ Ellram (Lambert, Douglas M.,Jame R.Stock, and Lisa M.Ellram ,1998,Fundamentals of Logistics Management, Boston, MA:Irwin/McGraw-Hill,บทที่14)
- “โซ่อุปทานประกอบด้วยขั้นตอนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกันทั้งทางตรงหรือทางอ้อมเพื่อเติมเต็ม (Fulfill) ความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้ โซ่อุปทานมิได้หมายเฉพาะแค่ผู้ผลิตและผู้จัดหาวัตถุดิบ (Suppliers) เท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงผู้ขนส่งคลังสินค้า, ผู้ค้าปลีกและตัวลูกค้าเองอีกด้วย” จากหนังสือ Supply Chain Management: Strategy, Planning and Operations, Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall, Inc. บทที่1)
- “โซ่อุปทานคือเครือข่ายของสิ่งอำนวยความสะดวกและทางเลือกของช่องทางการกระจายสินค้าหรือบริการที่ทำหน้าที่จัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ การแปรูปวัตถุดิบเหล่านั้นไปเป็นชิ้นส่วนระหว่างการผลิตและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ตลอดจนการกระจายผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเหล่านั้นไปสู่ลูกค้า” จากบทความของ Ganeshan และ Harrison แห่งมหาวิทยาลัย Penn State ที่ชื่อ “An Introduction to Supply Chain Management”
นิยาม การจัดการซัพพลายเชน
มีความพยายามที่จะให้คำนิยามการจัดการซัพพลายเชนอย่างหลากหลาย นิยามหนึ่งที่ได้รับความนิยม และ ถูกอ้างอิงมาก นิยามหนึ่งคือ นิยามของ สภาวิชาชีพชั้นสูงด้านการจัดการซัพพลายเชน (Council of Supply Chain Management Professional) ซึ่งมีพื้นฐานจากงานการศึกษาของ Mentzer et al. (2001) ดังนี้
“Supply Chain Management encompasses the planning and management of all activities involved in sourcing and procurement, conversion, and all logistics management activities. Importantly, it also includes coordination and collaboration with channel partners, which can be suppliers, intermediaries, third-party service providers, and customers. In essence, supply chain management integrates supply and demand management within and across companies. Supply Chain Management is an integrating function with primary responsibility for linking major business functions and business processes within and across companies into a cohesive and high-performing business model. It includes all of the logistics management activities noted above, as well as manufacturing operations, and it drives coordination of processes and activities with and across marketing, sales, product design,finance and information technology.” (Council of Supply Chain Management Professional 2010)
จากนิยามข้างต้น จัดการซัพพลายเชน (Supply Chain Management) คือ การวางแผนและการจัดการทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ การจัดหาวัตถุดิบและปัจจัยนำเข้าทั้งในการผลิตและการดำเนินการ การจัดซื้อจัดหาการแปรรูปและเปลี่ยนรูปวัตถุดิบเหล่านั้นให้เป็นเป็นสินค้า กิจกรรมโลจิสติกส์ทั้งหมด (CSCMP 2010) ดังนั้นนิยามของ CSCMP จึงรวมการจัดการโลจิสติกส์ให้อยู่ในขอบเขตของการจัดการโซ่อุปทาน
กระบวนการการจัดการโซ่อุปทาน มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้องค์กรยกระดับความสามารถในการบริหาร เช่น การลดสินค้าคงคลัง การเพิ่มผลิตภาพหรือการลดความสูญเปล่าในกระบวนการทำงาน ส่งเสริมความเติบโตของธุรกิจ เช่น การเพิ่มโอกาสในการออกสินค้าใหม่ให้เร็วขึ้น การเปิดตลาดใหม่ ๆ การสร้างความพอใจแก่ลูกค้ามากขึ้น ส่งเสริมความยั่งยืนของธุรกิจ เช่น การลดต้นทุนธุรกิจ การบริหารเงินทุนหมุนเวียน เป็นต้น
- การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)
- องค์ประกอบของ การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)
- การไหลเวียนในระบบโซ่อุปทาน (Supply Chain Flow)
- การบริหารโซ่อุปทาน (Supply Chain) ร่วมกันแบบ Collaboration
- ระดับการจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management Level)
- กลยุทธ์ในการจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management Strategic)
-
-
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward