iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
CT51 Logistics and Supply Chain ในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมกาแฟ กรณีศึกษา บริษัทเนสกาแฟ
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันชัย รัตนวงษ์
Manufacture/Factory
สำหรับการขนส่งจาก จุดรับซื้อไปส่งยังโรงงานของทาง Nestle ซึ่งอยู่ ณ จังหวัดฉะเทริงเทราดังรูป 1 นั้น จะทำการ Outsource ให้แก่บริษัทฯขนส่งท้องถิ่นดำเนินการให้
รูป 1 โรงงาน Nestle ซึ่งอยู่ ณ จังหวัดฉะเทริงเทรา
โรงงาน Nestle ที่ฉะเทริงเทรานั้นจะทำการผลิตปีละ ประมาณ 120 เมตริกตัน โดยในโรงงานจะทำการผลิตเพียงแค่ Nest Café “Red Cup”เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ดังรูป 2
รูป 2 ผลิตภัณฑ์ Nest Café Red Cup
กระบวนการผลิต
Flow Chart ดังรูปที่ 3 แสดงกระบวนการผลิตภายในโรงงาน
รูป 3 แสดงกระบวนการผลิตภายในโรงงานฉะเทริงเทรา
โดยรายละเอียดของขั้นตอนต่างๆมีดังนี้
1) แบบหยาบ
2) แบบหยาบปานกลาง
3) แบบละเอียด
4) แบบละเอียดมาก โดยใช้เครื่องบดมาตรฐาน เรียกว่า motorized grinders ซึ่งการบดเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์
หลังจากกระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อย สินค้าจะถูกเก็บในคลังสินค้าและพร้อมกระจายสู่ลูกค้า
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
CT51 Logistics and Supply Chain ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษาบริษัท Western Digital
ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
โดย ผศ.ดร.วันชัย รัตนวงษ์
การประกอบอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย มีมานานกว่า 30 ปี โดยในระยะเริ่มต้นเป็นการประกอบชิ้นส่วนครบชุดสมบรูณ์ ที่นำเข้าจากต่างประเทศเพื่อทดแทนการนำเข้า ขณะนี้ประเทศไทยสามารถผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสนองความต้องการในประเทศและสามารถส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศเป็นจำนวนมาก
ฮาร์ดดิกส์ เป็นผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความสำคัญต่อภาคการส่งออกของประเทศ นอกจากจะนำรายได้เข้าประเทศแล้ว ยังสร้างความน่าเชื่อถือให้กับนักลงทุนต่างชาติ ที่มีการย้ายหรือจัดตั้งฐานการผลิตฮาร์ดดิกส์มายังประเทศไทย จึงทำให้ประเทศไทยถูกจัดว่าเป็นฐานการผลิตฮาร์ดดิกส์ที่สำคัญของโลก รวมทั้งเป็นข้อดีของกระบวนการทางด้าน Supply chain ในเรื่องของการที่มีวัตถุดิบหรือสินค้ารองรับการผลิตในประเทศได้มากขึ้น โดยที่ลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าวัตถุดิบและต้นทุนการจัดเก็บ และจะทำให้ Supplier ที่เป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ เข้ามาตั้งโรงงานผลิตวัตถุดิบในประเทศไทยมากขึ้น ด้วยการที่ฮาร์ดดิกส์เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความสำคัญต่อการส่งออกในลำดับต้นๆของประเทศไทย ทางผู้จัดทำจึงให้ความสนใจ และมุ่งประเด็นที่จะศึกษาถึงกระบวนการทางด้าน Supply chain และกระบวนการผลิตที่เริ่มตั้งแต่ ต้นน้ำ ซึ่งก็คือการนำวัตถุดิบมาแปรรูปในการผลิต จนกระทั่งถึงปลายน้ำ คือ วัตถุดิบนั้นสำเร็จออกมาเป็นตัวสินค้า โดยกรณีศึกษาที่ทางผู้จัดทำได้หยิบยกขึ้นมา เป็นกรณีศึกษา คือ บริษัท Western Digital ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำทางด้านการผลิตฮาร์ดดิกส์ ที่มีฐานการผลิตอยู่ที่ประเทศไทย โดยได้อธิบายภาพรวมของกระบวนการ Supply chain และกล่าวถึงรายละเอียดที่สำคัญของกระบวนการ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1. ขั้นตอนการส่งมอบวัตถุดิบ
2. กระบวนการผลิต
3. กระบวนการขนส่งและส่งมอบสินค้า
Model นี้ ได้อธิบายถึง กระบวนการ Supply chain เบื้องต้น ของบริษัท WD ซึ่งอธิบายขั้นตอน ตั้งแต่การ Production Planning และ การเรียกหรือสั่งสินค้า วัตถุดิบ เข้ามาจัดเก็บในคลังสินค้า ก่อนที่จะส่งไปประกอบ เพื่อที่จะผลิตสินค้าออกมา เป็น Finished Goods จากนั้น ก็จะส่งไปจัดเก็บที่คลังสินค้า เพื่อที่จะรอ Packing เพื่อที่จะรอการจัดส่งโดยทาง Outsource คือ Geo Logistics จากนั้นสินค้าก็จะถูกส่งต่อไปยังคลังสินค้าของการท่าอากาศยาน และทาง Airline ที่ได้รับการเลือก ก็จะไปติดต่อไปยังคลังสินค้าเพื่อรับสินค้าและจัดส่งไปยังเส้นทางของแต่ละ Hub ต่อไป เพื่อเติมเต็ม Stock สินค้าของแต่ละ Hub ให้มีปริมาณสินค้าที่เพียงพอต่อการจัดจำหน่ายต่อไป โดยที่ถ้า ปริมาณสินค้าของแต่ละ Hub ลดลง ทาง Hub ก็จะติดต่อทางโรงงาน เพื่อการสั่งผลิตต่อไป
หมายเหตุ ในกรณีสินค้ามีการเปลี่ยนแปลง Model ทางโรงงานก็จะเรียกสินค้าตกรุ่นกลับโรงงาน เพื่อที่จะทำการ Rework และทำการผลิต Model ใหม่ต่อไป โดยที่ค่าใช้จ่ายในการขนส่งทั้งหมด และ HDD ที่จะต้องถูก Rework จะเป็นของทางโรงงานผู้ผลิตทั้งหมด ซึ่งทางโรงงานจะได้รายได้ก็ต่อเมื่อ HDD ที่ถูกจำหน่ายแล้วเท่านั้น และภายในระยะเวลา 3-6 เดือน ถึงจะมีการปรับเปลี่ยนรุ่น HDD หนึ่งครั้ง
รายละเอียดที่สำคัญของกระบวนการ มี 3 ส่วนดังนี้
1. ขั้นตอนการสั่งซื้อและส่งมอบวัตถุดิบ การสั่งซื้อวัตถุดิบ จะขึ้นอยู่กับจำนวนของสินค้าที่อยู่ใน Hub โดยใช้ระบบ (Vendor Management Inventory : VMI) ในการบริหารจัดการ เพราะถ้าสินค้าใน Hub ลดลงถึงจุดที่ต้องมีการเติมเต็มสินค้า ทางHub จะส่งข้อมูล Online มายังบริษัท เพื่อทำการสั่งซื้อและผลิต ส่งกลับไปยังHub เพื่อให้ทันต่อความต้องการ วัตถุดิบที่นำมาประกอบฮาร์ดิกส์ นั้นมีทั้งวัตถุดิบที่นำเข้ามาจากต่างประเทศและสามารถผลิตได้ในประเทศไทย โดยชิ้นส่วนหลักและมีความสำคัญ จะผลิตในประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ โดยจะมี Supplier ซึ่งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรรมนวนคร และนิคมอุตสาหกรรมในบริเวใกล้เคียง ทำหน้าที่ส่งวัตถุดิบให้กับ Western Digital ในระบบการสั่งวัตถุดิบที่ Western Digital ใช้ติดต่อกับ Supplier ทาง Online โดยแต่ละ Supplier จะมีโรงงานที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากที่ตั้งของบริษัท ทั้งสาขาที่นวนครและอยุธยา ในกรณีที่ Supplier ไม่สามารถส่งสินค้าได้ทันตามกำหนดหรือตามต้องการ ทาง Western Digital ใช้ระบบ QBR: Quarterly Business Review ในการควบคุมคุณภาพของ Suppliers และมีการจัด Ranking Score ในการประเมิน และหาก Suppliers รายใดไม่สามารถดำเนินการได้ตามข้อตกลง Western Digital จะทำการลดยอดการสั่งซื้อวัตถุดิบจาก Supplier เจ้านั้น AVL: Approval Vendor List และเมื่อได้รับวัตถุดิบจาก Suppliers จะเก็บวัตถุดิบไว้เพื่อรอการผลิต 2 ขั้นตอน คือ
(1) จะทำการเก็บวัตถุดิบไว้ที่โรงพักสินค้า โดยสำรองไว้ก่อนการผลิต 12 ชั่วโมง ก่อนที่นำเข้า line การผลิต
(2) ส่วนการส่งวัตถุดิบเข้า line การผลิตแล้ว จะสำรองไว้เป็น Buffer 2 Hours
ในส่วนของวัตถุดิบที่มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศในเรื่องของการนำวัตถุดิบเข้าประเทศ และการดำเนินพิธีการศุลกากรขาเข้า จะเป็นหน้าที่ของบริษัท GEO Logistics ที่จะทำการผ่านพิธีการและขนส่งวัตถุดิบ มายังโรงพักสินค้าของบริษัท Western Digital ซึ่ง GEO Logistics ถือว่าเป็น Business Partner ของ Western Digital
2. กระบวนการผลิตและกรรมวิธีการผลิต Western Digital ใช้ระบบ IT มาบริหารจัดการโดยระบบ MPS (Material Planning Schedule) ซึ่งเป็น Software Supply Chain ของบริษัท SageTree Inc. ภายใต้ผลิตภัณฑ์ SageQuest ซึ่งจะมีโมดุลต่างๆ ประกอบด้วย procurement, production planning, production analysis, product quality, logistics and customer service ในขั้นตอนของกระบวนการผลิต สามารถผลิตฮาร์ดดิกส์ได้ 100,000 ชิ้นต่อวัน โดยทำงานตลอด 24 ชั่วโมง แบ่งการเข้างานเป็น 2 กะ บริษัท Western Digital ได้ให้ความสำคัญต่อกระบวนการผลิตที่เน้นในเรื่องของ ความสะอาด เนื่องจากการผลิตฮาร์ดดิกส์ ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่นำมาประกอบฮาร์ดดิกส์ ส่วนใหญ่จะไวต่อสิ่งปนเปื้อนต่างๆหรือฝุ่นละออง ซึ่งสิ่งปนเปื้อนเหล่านี้เป็นอุปสรรคในการผลิตฮาร์ดดิกส์ ในกระบวนการผลิตจึงให้ความสำคัญกับเรื่องของความสะอาดเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ในกระบวนการผลิตได้มีการผลิตสินค้าแบบที่เป็นสินค้าที่มีความต้องการที่หลากหลาย และเป็นจำนวนมาก (Mass product)และ การผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อของลูกค้าแต่ละราย (Make to order)
3. กระบวนการขนส่งและส่งมอบสินค้า เนื่องจากฮาร์ดดิสก์ที่ผลิตได้นั้นเป็นสินค้าที่ส่งออกทั้งหมด ทางบริษัท Western Digital จึงได้ทำการจ้าง Out source เพื่อมาดูแลในเรื่องของการขนส่งสินค้าให้กับบริษัท Western Digital คือ บริษัท GEO Logistics ซึ่งบริษัท GEO Logistics ได้ตั้งสำนักงานอยูในโรงพักสินค้า(Warehouse) ของบริษัท Western Digital ที่ตั้งอยู่ห่างจากโรงงานผลิตที่นวนคร ไปประมาณ 2 กิโลเมตร เนื่องจากมีการผลิตสินค้าเสร็จและรอการบรรจุทุกๆชั่วโมง ซึ่งการบรรจุและขนส่งเป็นจำนวนเท่าไหร่ต่อวันนั้น ทาง Western Digital จะเป็นผู้ออกใบ Invoice หรือทำการส่งข้อมูล Online มาให้กับทาง GEO ซึ่งมีหน้าที่ความรับผิดชอบของ GEO Logistics คือ นำสินค้าที่ได้รับคำสั่งจาก Western Digital มาติด Bar code ที่สินค้าทุกชิ้น จากนั้นจึงทำการบรรจุลงกล่องใหญ่ 1 กล่อง ใน 1กล่องจะสามารถบรรจุสินค้าได้ 12 ชิ้น และทำการติดBar code ที่กล่องใหญ่ อีกครั้ง เมื่อครบตามจำนวน ก็จะทำการบรรจุลง Pallet รัดด้วยพลาสติกเพื่อป้องกันความเสียหายกับตัวสินค้าอีกครั้งและติด Bar code จากนั้นจึงทำการบรรจุเข้าตู้คอนเทนเนอร์ เมื่อสินค้าเต็มตู้แล้ว ทำการ Seal ที่ตู้คอนเทนเนอร์ และถ่ายรูป Seal ระบุชื่อคนขับรถ ชนิดของสินค้า จำนวนของสินค้า หมายเลข Seal จากนั้นจึงทำการเคลื่อนย้ายสินค้าโดยใช้รถบรรทุกของบริษัท GEO ที่มีการติดตั้งระบบ GPS เพื่อติดตามการขนส่งสินค้า ป้องกันการออกนอกเส้นทาง นอกจากนี้ยังมีการจัดรถติดตามรถบรรทุกคันนั้นๆ ตลอดเส้นทางด้วย และหากสัญญาณ GPS ขาดหายไป และทางศูนย์ของ GEO Logistics ไม่สามารถติดตามได้ ทางศูนย์ของ GEO Logistics จะส่งเฮริคอร์ปเตอร์ ออกไปสำรวจ หารถบรรทุก ที่บรรทุกสินค้านั้นๆ เนื่องจากฮาร์ดดิกส์ เป็นสินค้าที่มีมูลค่าสูง จึงต้องให้ความสำคัญในเรื่องการักษาความปลอดภัยเป็นพิเศษ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการลักลอบขนสินค้า และในกรณีที่คนขับรถถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ เรียกเพื่อขอตรวจค้น คนขับรถไม่สามารถลงจากรถได้จนกว่า คนขับรถจะทำการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของ บริษัท GEO เสียก่อน สินค้าทุกชนิดที่ออกจากโรงงานจะถูกลำเลียงไปยัง คลังสินค้าที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ ซึ่งสินค้าของบริษัท Western Digital ถูกจัดอยู่ในประภทของสินค้าที่มีมูลค่าสูง จึงต้องจัดเก็บที่คลังสินค้าที่เป็นคลังสินค้าเก็บของมีค่า เมื่อถึงที่คลังสินค้าที่ท่าอากาสยานกรุงเทพ เจ้าหน้าที่ของบริษัท GEO จะเป็นผู้ตรวจหมายเลข Seal ชนิดสินค้า จำนวนสินค้า ว่าตรงตามจากการที่ได้รับการแจ้งจากทาง GEO ที่นวนครหรือไม่ เมื่อตรวจความถูกต้องของสินค้าทั้งหมดแล้ว จึงทำการชั่งน้ำหนักสินค้า และจัดทำเอกสารการส่งออกทั้งหมด เพื่อดำเนินพิธีการศุลกากร จากนั้นจึงนำสินค้าเข้าเก็บที่โรงพักสินค้าของแต่ละสายการบิน ที่ทาง GEO ทำการติดต่อไว้ ซึ่งหน้าที่ของ บริษัท GEO จะหมดลงเมื่อสินค้าได้จัดเก็บไว้ที่โรงพักสินค้าของสายการบิน
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
CT51 Logistics และ Supply Chain กระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมน้ำตาลในประเทศไทย
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันชัย รัตนวงษ์
การเก็บเกี่ยวอ้อยในประเทศไทยมีการใช้เครื่องจักรน้อย แม้ว่าจะมีประสิทธิภาพการทำงานได้สูงกว่า เนื่องจากยังมีข้อเสียคือมีเศษดินติดไปกับส่วนโคนอ้อย โดยเฉพาะเมื่อตัดในขณะที่ดินเปียกอยู่ เครื่องตัดมักจะถอนอ้อยติดขึ้นไปทั้งกอ ทำให้สิ่งสกปรกติดไปด้วย ส่งผลให้ค่าพิวริตี้ (Purity) ของน้ำตาลต่ำ ดินและสิ่งสกปรกที่ติดมากับอ้อยทำให้เครื่องจักรกลในกระบวนการสกัดน้ำตาลสึกหรอ อาจจะต้องมีการหยุดเครื่องจักรกลางคันทำให้ทางโรงงานเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น อ้อยที่ตัดแล้วต้องรีบส่งเข้าโรงงานทันที อ้อยที่ค้างอยู่จะเสียทั้งน้ำหนักและคุณภาพตามระยะเวลาที่ค้างและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลผลิตน้ำตาลต่ำ การค้างอ้อยอาจจะเกิดขึ้นในไร่หรือบนรถบรรทุกที่ติดคิวหน้าโรงงาน ดังนั้นอาจจะป้องกันความเสียหายได้โดยการประสานงานและร่วมมือระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานร่วมกันวางแผนการส่งอ้อย จะสามารถลดคิวหน้าโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรงงานบางโรงขณะนี้ลงไปช่วยชาวไร่อ้อยไม่ว่าจะเป็นการปลูก คัดเลือกสายพันธุ์ การอบรมให้ความรู้และอื่นๆ กระบวนการสร้างพันธมิตรอย่างนี้ที่ทำให้ธุรกิจมีความยั่งยืนเราเรียกได้ว่าเป็น Supply Chain หลังจากนั้นชาวไร่จะนำส่งอ้อยป้อนเข้าสู่โรงงานเพื่อนำไปสู่การผลิต ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 กระบวนการผลิตน้ำตาล
กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายดิบ
ขั้นตอนการเตรียมอ้อยป้อนลูกหีบเป็นจุดสำคัญอันดับแรกของขบวนการผลิตน้ำตาลทรายจะต้องดูแลใกล้ชิดเพราะเป็นจุดที่ช่วยสกัดน้ำอ้อยหรือน้ำตาลออกจากจากอ้อยได้มากที่สุด โดยการแปรรูปอ้อยให้อยู่ในสภาพที่ชุดลูกหีบสามารถสกัดน้ำอ้อยหรือน้ำตาลจากอ้อยได้อย่างสะดวกราบรื่นและอย่างมีประสิทธิภาพสูง ชาวไร่จะได้เงินมากเงินน้อยอยู่ในขั้นตอนนี้เนื่องจากโรงงานจะวัดค่าความหวานหรือปริมาณน้ำตาลที่มีอยู่ในอ้อย (Commercial Cane Sugar: CCS) สำหรับการผลิตน้ำตาลทรายดิบจะใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ประกอบด้วยขั้นตอนการผลิต 5 ขั้นตอน ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายดิบ
หรือมากกว่า ลูกหีบชุดหนึ่งๆ ใช้ลูกกลิ้ง 3 ลูก เพื่อช่วยจับยึดอ้อยที่ป้อนเข้ามาและคายออกไป และช่วยสกัดน้ำอ้อยระบายลงรางรับน้ำอ้อย
1. การหีบสกัดน้ำอ้อย (Mill) ในขั้นตอนนี้อ้อยมีลักษณะเป็นฝอยหรือเป็นเส้นยาวละเอียดพอควร การเตรียมอ้อยป้อนชุดลูกหีบจะมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับที่ดี ถ้าเซลล์อ้อยถูกทำลายให้แตกได้ประมาณร้อยละ 80-85 เครื่องมือที่ใช้สกัดน้ำอ้อยโดยทั่วไป ได้แก่ ชุดลูกหีบล้วนๆ แต่บางโรงงานอาจใช้เครื่องสกัดน้ำอ้อยแบบใหม่ เรียกว่า ดิฟฟิวเซอร์ (Diffuser) แต่โรงงานน้ำตาลทั่วไปยังนิยมใช้ชุดลูกหีบล้วนๆ ซึ่งติดตั้งเป็นแถวต่อเนื่องกัน แถวหนึ่งอาจประกอบด้วยชุดลูกหีบ 4-5 ชุด
2. การเพิ่มอุณหภูมิและทำใส (Clarification) จากการสกัดน้ำอ้อยจะได้น้ำอ้อยที่เรียกว่าน้ำอ้อยรวม เหตุผลที่จะต้องแยกเอาผงกากอ้อยออกจากน้ำอ้อยก่อนนำไปเข้ากรรมวิธีทำให้ใส คือป้องกันไม่ให้เกิดสีของน้ำอ้อยเพิ่มขึ้นขณะผสมกับน้ำปูนขาวเพราะในกากอ้อยมีสารแซคคาเรติน เมื่อสัมผัสกับด่างหรือน้ำปูนขาวจะละลายออกมาในน้ำอ้อยและทำปฏิกิริยากับเหล็กเกิดสีคล้ำขึ้น การป้องกันระดับความเป็นกรดด่าง (pH) ของน้ำอ้อยหลังจากการผสมกับน้ำปูนขาวและผ่านหม้อทำน้ำร้อน ก่อนเข้าถังพักใสน้ำอ้อยมิให้ pH ลดลง ซึ่งถ้าระดับความเป็นกรดด่างของน้ำอ้อยในถังพักใสเปลี่ยนแปลงจากระดับที่กำหนดไว้ จะทำให้ตะกอนสิ่งบริสุทธิ์ที่แยกตัวจากน้ำอ้อยกลับละลายตัวได้อีก ทั้งนี้เพราะผงกากอ้อยมีน้ำอ้อยที่ติดค้างอยู่ ทำให้มีเกลือฟอสเฟตซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดอยู่ด้วยจะละลายออกมา เมื่อถูกความร้อนสูงถึงจุดเดือดของน้ำอ้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ผงกากอ้อยติดเข้าไปเป็นส่วนประกอบของตะกรันในเครื่องมือผลิตที่ใช้ความร้อน เช่น ชุดหม้อต้ม และหม้อเคี่ยว เป็นต้น การมีผงกากอ้อยเข้าไปเป็นส่วนประกอบของตะกรัน ย่อมทำให้ตะกรันนั้นมีสมบัติเป็นฉนวนความร้อนยิ่งขึ้น จึงเป็นเหตุให้สิ้นเปลืองพลังงานความร้อนและกำลังการผลิตตกต่ำลง การแยกผงกากอ้อยออกจากน้ำอ้อยจะช่วยแยกฟองอากาศ มีผลทำให้การตกตะกอนช้าลงหรือไม่ตกเลย หน่วยงานที่ทำหน้าที่สกัดน้ำอ้อยนี้จำต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดอย่างใกล้ชิดไม่ให้มีจุลินทรีย์ซึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดการสูญเสียคุณภาพของน้ำอ้อย ส่วนกากอ้อยที่ผ่านจากลูกหีบชุดสุดท้ายจะถูกป้อนเป็นเชื้อเพลิงให้กับเตาหม้อน้ำ โดยมีการควบคุมคุณภาพกากอ้อยที่ออกจากลูกหีบชุดสุดท้ายไม่ให้มีความชื้นเกินร้อยละ 4 ทั้งนี้เพราะการทำให้ความชื้นกากอ้อยต่ำทำให้ประสิทธิภาพการเผาไหม้ของเตาหม้อน้ำสูงขึ้น
3. การต้มระเหยน้ำอ้อย (Evaporation) น้ำอ้อยรวมที่ผ่านตะแกรงแยกผงกากอ้อย จะถูกผ่านกรรมวิธีแยกสิ่งสกปรกออกมา เทคโนโลยีที่ใช้ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายแบบต่างๆ กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายดิบ จะใช้กรรมวิธีแยกสิ่งไม่บริสุทธิ์ออกด้วยการทำให้ตกตะกอน ซึ่งในที่นี้จะอาศัยปฏิกิริยาทางเคมีและฟิสิกส์โดยไม่มุ่งหวังการฟอกสีโดยตรง เริ่มด้วยการผ่านน้ำอ้อยเข้าหม้ออุ่นน้ำอ้อยให้มีอุณหภูมิประมาณ 55 องศาเซลเซียส ที่ไม่ใช้อุณหภูมิสูงก็เพื่อลดสีที่เกิดขึ้นจาการสลายตัวของน้ำตาลในน้ำอ้อย น้ำอ้อยอุ่นจะเข้าผสมกับน้ำปูนขาวซึ่งใช้ความเข้มข้นของปูนขาวอยู่ในช่วง 46 - 84 กรัมต่อลิตร การผสมไม่ควรใช้เวลานานเกิน 3 นาที เพราะถ้านานกว่านี้อาจทำให้เกิดสีได้ หรือเกิดปฏิกิริยาทำให้ได้สารอื่นขึ้นมาเพิ่มเติมและทำให้มีกากน้ำตาลมากขึ้น โดยทั่วไปแล้วจะมีการนำตัวอย่างน้ำอ้อยจากหีบทดลองมาผสมกับน้ำปูนขาวให้ได้ระดับ pH ตามที่กำหนดไว้ แล้วจึงส่งผ่านเข้าหม้อต้มน้ำอ้อยให้เดือด (อุณหภูมิประมาณ 102 - 105 องศาเซลเซียส) แล้วนำไปผสมกับสารรวมตะกอน แล้วผ่านเข้าถังระบายไอ (Flash Tank) เพื่อแยกไอหรือฟองอากาศหรือก๊าซที่มีอยู่ในน้ำอ้อย ไม่ให้ไปติดรบกวนกับการตกตะกอนในถังตกตะกอน กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาว จะทำให้น้ำอ้อยบริสุทธิ์ได้โดยการเพิ่มเติมกรรมวิธีฟอกสีน้ำอ้อย โดยการฟอกสีน้ำอ้อยด้วยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งได้จากเตาเผากำมะถัน หรือใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จากฟลิวก๊าซ (Flue Gas คือไอเสียที่ออกมาตามปล่องไฟ เป็นก๊าซที่ได้จากการเผาไหม้ของน้ำมันและอากาศ อาจมีความร้อนหลงเหลืออยู่บ้าง) ในปล่องเตาหม้อน้ำโดยให้ผ่านเครื่องฟอกก๊าซ เพื่อแยกผงเถ้าและเขม่าออกก่อน ทั้งสองวิธีนี้ยังคงใช้ปูนขาวและความร้อนในการทำน้ำอ้อยให้บริสุทธิ์
4. การเคี่ยว (Crystallization) น้ำเชื่อมที่ได้จากชุดหม้อต้มจะส่งเข้าไปถังพัก ในการผลิตน้ำตาลทรายดิบโดยทั่วไปน้ำเชื่อมจะถูกป้อนเข้าหม้อเคี่ยวโดยตรง ยกเว้นในกรณีที่ต้องการน้ำตาลทรายดิบคุณภาพสูงและเพื่อเพิ่มความสะดวกในการเคี่ยวและปั่นแยกเม็ดน้ำตาล จะมีการทำน้ำเชื่อมให้บริสุทธิ์เฉพาะ การแยกสารไม่บริสุทธิ์จำพวกสารของแข็งแขวนลอย ซึ่งเป็นต้นเหตุให้น้ำเชื่อมขุ่นมัวและมีความหนืดสูง น้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสูญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาลและกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสคิท (Messecuite)
5. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) แมสคิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) การแยกเม็ดน้ำตาลอาศัยการทำงานของหม้อปั่นน้ำตาลซึ่งมีหลายแบบหลายชนิด โดยทั่วไปหม้อน้ำตาลมักจะทำด้วยเหล็กอ่อนหรือเหล็กกล้าหรือโลหะผสมนิเกิลหรือเหล็กกล้าไร้สนิม มีรูที่ข้างหม้อเป็นแถวสำหรับระบายกากน้ำตาลขณะหม้อปั่นทำงาน โดยกากน้ำตาลจะแยกตัวจากแมสคิทด้วยแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง ทิ้งเม็ดน้ำตาลให้ค้างบนตะแกรงหม้อปั่นแล้วลอดผ่านแผ่นโครงรองรับตะแกรงซึ่งอยู่ระหว่างแผ่นตะแกรงกับผนังด้านข้างของตัวหม้อปั่นออกไปปะทะกับถังหุ้มหม้อปั่น รวมตัวกันไหลออกจากช่องระบายกากน้ำตาลหลังหม้อปั่น การล้างเม็ดน้ำตาลและการลำเลียงเม็ดน้ำตาลทรายออกจากหม้อปั่นแตกต่างกันตามชนิดของน้ำตาลทราย (น้ำตาลทรายเอบีหรือซี) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลดิบที่ได้จะถูกนำไปจัดเก็บในที่จัดเก็บ เพื่อจำหน่ายหรือทำน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลรีไฟน์ต่อไป
กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาว
การผลิตน้ำตาลทรายขาวโดยใช้น้ำตาลทรายดิบเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ประกอบด้วยขั้นตอนการผลิต 5 ขั้นตอนการผลิตเช่นเดียวกัน ดังรูปที่ 3
รูปที่ 3 กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลรีไฟน์
โรงงานน้ำตาลโดยทั่วไปมีขั้นตอนกระบวนการผลิตน้ำตาลทราบดิบ น้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลรีไฟน์ที่คล้ายคลึงกัน แต่แตกต่างกันที่ชนิดของเครื่องจักร จำนวนของเครื่องจักร และเทคโนโลยีของเครื่องจักร ซึ่งทำให้ได้ความสามารถในการผลิต (Productivity) ระยะเวลา พลังงานและทรัพยากรที่แตกต่างกัน ดังนั้นในขั้นตอนกระบวนการผลิต โรงงานหลายโรงงานได้พยายามศึกษาถึงต้นทุนของค่าการผลิต ต้นทุนค่าขนส่งและต้นทุนค่าบริหารการจัดการ และรวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตในแต่ละขั้นตอน โดยให้สามารถวัดเวลาและประสิทธิภาพในแต่ละขั้นตอนของการผลิตให้ได้เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องชี้วัด สิ่งนี้เป็นหัวใจของกิจกรรมโลจิสติกส์ นอกจากนี้ยังมีส่วนของการผลิตที่เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ และกระบวนการส่งออกของโรงงานน้ำตาลซึ่งผู้เขียนคงสรุปให้ในครั้งหน้าต่อไป สิ่งที่สำคัญของ Logistics และ Supply Chain ไม่จำเป็นจะต้องเป็นอ้อยเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น ข้าว ยางพารา และอื่นๆเช่นกันที่สามารถพัฒนา Supply Chain ให้เข้มแข็งได้
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
CT51 Logistics และ Supply Chain ต้นน้ำของอุตสาหกรรมน้ำตาลในประเทศไทย
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันชัย รัตนวงษ์
ปัจจุบันประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลทรายรายใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ประมาณ 4.3 ล้านเมตริกตัน โดยมีบราซิลเป็นอันดับหนึ่งของโลกซึ่งถือเป็นคู่แข่งที่สำคัญของประเทศไทย นอกจากนั้นยังมีออสเตรเลียที่กำลังเป็นคู่แข่งที่สำคัญของประเทศไทยตามมา ทั้งนี้เนื่องจากทั้งบราซิลและออสเตรเลียมีระดับเทคโนโลยีการผลิตและความก้าวหน้าในด้านการวิจัยและพัฒนาด้านอ้อยและน้ำตาลทรายอยู่ในระดับสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทยและประเทศคู่แข่งอื่น ๆ ขณะที่ประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลทรายรายใหญ่อีกหลายประเทศ เช่น กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ต่างได้รับการสนับสนุนการส่งออกจากรัฐบาล จนสามารถส่งน้ำตาลทรายออกขายในตลาดโลกได้ในราคาต่ำ ทำให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยที่เคยมีความได้เปรียบในด้านต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า กำลังสูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดโลกไปทุกขณะอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยสามารถยืนหยัดและแข่งขันในตลาดโลกได้ จึงจำเป็นต้องมุ่งเน้นการพัฒนาตลอดกระบวนการ ทั้งทางด้านอ้อยและน้ำตาลทราย ทั้งนี้กระบวนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์สำหรับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายก็เป็นส่วนสำคัญยิ่งส่วนหนึ่งที่จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน เพื่อให้มีการวางกลยุทธ์การดำเนินงานและการควบคุมกระบวนการ รวมทั้งการขนส่งมีประสิทธิภาพ ด้วยต้นทุนที่ประหยัด และการป้องกันการขาดวัตถุดิบระหว่างการผลิต โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพด้านการจัดการทุกด้านระหว่างการจัดคิวอ้อยเข้าโรงงาน ตลอดจนกระบวนการจัดการสินค้าระหว่างการผลิต การจัดการสินค้าสำเร็จรูป การจัดเก็บและการขนส่งน้ำตาลทรายเพื่อการจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศล้วนมีผลต่อต้นทุนและการแข่งขันทั้งสิ้น
ประเทศไทยมีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยประมาณ 6 ล้านไร่ มีโรงงานผลิตน้ำตาลทรายดิบทั้งหมด 49 โรงงาน กระจายเกือบทุกภูมิภาคของประเทศ โดยปกติโรงงานผลิตจะเลือกใกล้กับแหล่งวัตถุดิบหรือแหล่งเพาะปลูกเป็นหลัก เพื่อทำให้ต้นทุนขนส่งต่ำและทำให้ค่า Logistics Cost ต่ำตามไปด้วย และอีกประการหนึ่งสังเกตว่าอ้อยมีวงจรชีวิต (Life Cycle) ที่ค่อนข้างสั้น รวมทั้งค่าความหวาน (CCS) ของอ้อยมีการเปลี่ยนแปลงลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อมีการตัดอ้อย ดังนั้นเมื่อเกษตรกรตัดอ้อยแล้วต้องรีบนำอ้อยเข้าสู่โรงงานการผลิต มิฉะนั้นอ้อยจะสูญเสียค่าความหวาน (CCS) อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกษตรกรจะได้รับเงินเพิ่มมากขึ้น มิใช่แต่เพียงน้ำหนักของอ้อยเท่านั้นที่ป้อนเข้าสู่โรงงานแต่ต้องพิจารณาจากค่าความหวาน (CCS) ของอ้อยขณะที่มีการหีบอ้อยในครั้งแรก โดยค่า CCS ต้องได้ตามเกณฑ์มาตรฐานที่สำนักงานอ้อยและน้ำตาลเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้เพราะอ้อยมีหลากหลายพันธุ์ซึ่งค่าความหวานของแต่ละพันธุ์ก็แตกต่างกันไป เช่นเดียวกันการใช้พลังงานเพื่อทำให้อ้อยเคี่ยวเป็นน้ำตาลทรายดิบก็แตกต่างกันไป ถ้าค่าความหวานของอ้อยต่ำกว่ามาตรฐานการใช้พลังงานเพื่อเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาลทรายดิบก็จะมากกว่าปกติ ดังนั้นโรงงานจึงพิจารณาผลตอบแทนในรูปของ CCS และน้ำหนักควบคู่กันไป สังเกตว่าเกษตรกรที่ตัดอ้อยด้วยตนเองจะมีรอยบาดแผลของอ้อยเฉพาะที่โคนอ้อยเท่านั้น ดังนั้นกระบวนการสูญเสียความหวานค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับการตัดโดยใช้รถตัดดังรูป เพราะอ้อยจะถูกตัดให้เป็นท่อนๆ ดังนั้นอ้อยจะมีบาดแผลค่อนข้างมากทำให้อ้อยสูญเสียความหวานอย่างรวดเร็ว ดังรูปที่ 1
รูปที่ 1 แสดงการตัดอ้อยโดยใช้เครื่องจักร
การตัดด้วยวิธีนี้ส่วนใหญ่เกษตรกรต้องนัดหมายกับโรงงานและอยู่ใกล้โรงงานมากๆ เพื่อให้หีบอ้อยอย่างรวดเร็ว มิฉะนั้นราคาอ้อยที่เกษตรกรได้รับจะเสียเปรียบอย่างมาก แต่ข้อสังเกตที่สำคัญนอกเหนือจากที่กล่าวในข้างต้น คือกระบวนการหน้าโรงงานที่ต้องมีการจัดระบบคิว บางโรงงานรถบรรทุกต้องรอหน้าโรงงานถึง 2 วัน จึงสามารถนำอ้อยเข้าหีบได้เนื่องจากมีรถมาคอยเข้าคิวเป็นจำนวนมาก ดังรูปที่ 2 เกษตรกรจะได้รับผลกระทบโดยตรงทั้งน้ำหนัก และค่า CCS ที่ลดลง รวมทั้งเงินที่ได้รับลดลงเช่นเดียวกัน จึงต้องมีการดูแลเป็นอย่างดีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมด้วยกันทั้งสองฝ่าย
รูปที่ 2 แสดงการรอคอยของรถบรรทุกก่อนเข้าหีบ
ถึงตรงนี้หลายท่านอาจสงสัยว่าประเด็นที่กล่าวมาทั้งหมดเกี่ยวข้องกับ Logistics อย่างไร ขอเรียนว่าLogistics Cost ประกอบไปด้วย 4 ส่วนที่สำคัญคือ 1) Transportations Cost 2) Inventory Cost 3) Warehouse Cost และ 4) Administration Cost ดังนั้นประเด็นการวางแผนให้โรงงานใกล้กับแหล่งวัตถุดิบจึงเป็นการลดค่าขนส่งอย่างเห็นได้ชัด สังเกตว่าโรงงานผลิตน้ำตาลไม่มีโกดังเก็บอ้อย (วัตถุดิบ) เหมือนกับโรงงานทั่วไป จึงไม่มี Warehouse Cost เหลือเฉพาะค่าการจัดการเท่านั้น ซึ่งก็คือระบบคิวหน้าโรงงานที่ต้องมีการจัดการที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาระบบ Logistics ให้เพิ่มมากขึ้น
การเก็บเกี่ยวและขนส่งอ้อยเป็นสิ่งสำคัญที่เกษตรกรจะต้องปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้ค่าตอบแทนสูงสุด ขณะนี้ได้มีการซื้อขายอ้อยตามคุณภาพ โดยวัดความหวานเป็น CCS เกษตรกรจะต้องดูว่าอ้อยของตนแก่พอดีหรือยัง โดยดูจากอายุอ้อยและสุ่มวัดค่าความหวานด้วยเครื่องมือวัดอย่างง่าย คือ รีแฟคโตมิเตอร์ ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นค่าบริกซ์ของน้ำอ้อยและสุ่มวัดจากต้นอ้อยประมาณ 3-5 ลำ/แปลง วัดความหวานของน้ำอ้อยบริเวณส่วนโคน กลาง และปลาย ถ้าค่าบริกซ์ที่วัดได้มีความแตกต่างกันไม่เกิน 2 ก็แสดงว่าอ้อยแก่สามารถเก็บเกี่ยวได้ เกษตรกรต้องวางแผนตัดอ้อยให้สอดคล้องกับแผนของโรงงานที่จะส่งอ้อยด้วย โรงงานต้องเตรียมความพร้อมเรื่องอุปกรณ์ แรงงาน การขนส่งอ้อยให้ไปถึงโรงงานเร็วที่สุด ดังรูปที่ 3 และจะต้องประสานงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไร่ของโรงงานปริมาณอ้อยที่ตัด กล่าวคือตัดอ้อยตามใบสั่งของฝ่ายโรงงาน เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กับรถบรรทุกอ้อย และความสามารถในการหีบอ้อยของโรงงาน เพื่อที่จะได้ผลผลิตอ้อยสด ส่งโรงงานซึ่งจะเป็นผลดีทั้งชาวไร่และโรงงาน เพราะต่างได้ผลตอบแทนสูงตามระบบการแบ่งปันผลประโยชน์เป็น 70 : 30 ระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาล
รูปที่ 3 แสดงการขนส่งจากไร่อ้อยถึงโรงงาน
เนื่องจากอ้อยเป็นวัตถุดิบสำหรับโรงงานทำน้ำตาล การเก็บเกี่ยวอ้อยจึงต้องสัมพันธ์กับการเปิดหีบอ้อยซึ่งจะเปิดหีบเฉพาะในช่วงที่มีอ้อยแก่มีความหวานสูงและในช่วงดังกล่าวจะต้องมีปริมาณในการป้อนโรงงานโดยไม่ขาดสาย เกษตรกรและโรงงานจึงต้องร่วมมือเพื่อผลประโยชน์ทั้งสองฝ่ายโดยการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ เช่น
วิธีที่ดีที่สุดที่ใช้สำหรับการตรวจการสุกของอ้อยก็คือการวิเคราะห์น้ำตาลชูโครสในน้ำอ้อยโดยการสุ่มตัวอย่างอ้อย 8-10 ลำจากในไร่ แบ่งลำอ้อยออกเป็นสามส่วนด้วยสายตา คือ ส่วนโคน ส่วนกลาง และส่วนปลาย ทำการเจาะเอาน้ำอ้อยในแต่ละส่วนมาหยอดลงบนแผ่นกระจกของเครื่องรีแฟรคโตมิเตอร์ (Hand Refractometer) เปรียบเทียบค่าทั้งสามเป็นอัตราส่วนต่อกัน ถ้าอัตราส่วนทั้งสามใกล้เคียงกันก็นับว่าอ้อยสุกแก่เต็มที่ วิธีการนี้แม้เป็นวิธีที่ดีแต่ต้องสิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่ายมาก ยังไม่ได้มีการปฏิบัติแพร่หลายในหมู่เกษตรกร ก่อนที่จะมีการตัดอ้อยจะมีการริดใบออกแล้วตัดลำต้นชิดดินด้วยมีดหรือจอบ การตัดชิดดินนอกจากจะได้น้ำหนักและน้ำตาลเพิ่มขึ้นแล้วยังทำให้หน่อที่จะแตกใหม่เป็นอ้อยตอแข็งแรงและมีขนาดใหญ่อีกด้วย เมื่อตัดลำต้นออกแล้วจะตัดยอดตรงจุดหักธรรมชาติ คือจุดที่ยอดหักเมื่อเหนี่ยวใบยอด การตัดเอาส่วนยอดยาวเกินไป ส่วนยอดของอ้อยจะมีแป้งหรือสารประกอบประเภทคาร์โบไฮเดรตอื่นอยู่ด้วย ทำให้การเคี่ยวน้ำตาลตกผลึกได้ยาก หากโรงงานรับซื้อโดยการวัดค่า CCS การไว้ยอดยาวจะทำให้เกษตรกรเสียเปรียบเพราะน้ำหนักของยอดที่ยาวออกไปจะไม่คุ้มกับค่า CCS ที่จะได้ นอกจากนี้ไม่ควรมีการเผาอ้อยก่อนตัดถ้าไม่จำเป็น แม้จะเป็นการสะดวกในการเข้าไปตัดอ้อย เนื่องจากอ้อยไฟไหม้จะมีคุณภาพด้อยกว่า แต่ถ้าตัดส่งโรงงานช้าจะทำให้ทั้งน้ำหนักและคุณภาพจะลดลงอย่างรวดเร็ว ดังรูปที่ 4
รูปที่ 4 แสดงการตัดอ้อยสดและอ้อยไฟไหม้
การเก็บเกี่ยวอ้อยอาจจะใช้เครื่องจักรซึ่งยังมีการใช้น้อยในประเทศไทย แม้ว่าจะมีประสิทธิภาพการทำงานได้สูงกว่า แต่ยังมีข้อเสียคือไม่สามารถตัดอ้อยทิ้งได้ มีเศษดินติดไปกับส่วนโคนอ้อยด้วยโดยเฉพาะเมื่อตัดในขณะที่ดินเปียกอยู่ เครื่องตัดมักจะถอนอ้อยติดขึ้นไปทั้งกอ ทำให้อ้อยมีสิ่งสกปรกติดไปด้วย ยังผลให้ค่าความบริสุทธิ์ (Purity) ของน้ำตาลต่ำ ดินและสิ่งสกปรกที่ติดมากับอ้อยทำให้เครื่องจักรกลในกระบวนการสกัดน้ำตาลสึกหรอ อาจต้องหยุดเครื่องจักรกลางคันทำให้ทางโรงงานเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น อ้อยที่ตัดแล้วต้องรีบส่งเข้าโรงงานทันที อ้อยที่ค้างอยู่จะเสียทั้งน้ำหนักและคุณภาพตามระยะเวลาที่ค้างและเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลผลิตน้ำตาลต่ำ การค้างอาจจะเกิดขึ้นในไร่หรือบนรถบรรทุกที่ติดคิวหน้าโรงงาน ดังนั้น การประสานงานและร่วมมือระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานร่วมกันวางแผนการส่งอ้อยจะสามารถลดคิวหน้าโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรงงานบางรายขณะนี้ลงไปช่วยชาวไร่อ้อยไม่ว่าจะเป็นการปลูก คัดเลือกสายพันธุ์ การอบรมให้ความรู้และอื่นๆ กระบวนการสร้างพันธมิตรอย่างนี้ที่ทำให้ธุรกิจมีความยั่งยืนเราเรียกได้ว่าเป็น Supply Chain หลังจากนั้นชาวไร่จะนำส่งอ้อยป้อนเข้าสู่โรงงานเพื่อนำไปสู่การผลิตดังรูปที่ 5 ซึ่งจะนำเสนอกระบวนการผลิตต่อไป
รูปที่ 5 แสดงการเทอ้อยเข้าสู่โรงงาน
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
CT51 Outsourcing และ Offshoring ยาวิเศษต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจริงหรือไม่
ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ศิวณัส อรรฐาเมศร์
ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ความเจริญก้าวหน้าของระบบการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศและเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก ได้มีการพัฒนาทางด้านโครงสร้างพื้นฐานของการเชื่อมต่อส่งถ่ายข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต และมีการใช้อีเมล์อย่างกว้างขวาง การพัฒนาเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้การค้าและการลงทุนระหว่างทวีปทั่วโลกขยายตัวอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง ประเทศที่พัฒนาแล้วได้มีการย้ายฐานการผลิตสินค้าไปยังประเทศที่มีค่าแรงที่ถูกกว่าเพื่อลดต้นทุนในการผลิตลง
ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ความเจริญก้าวหน้าของระบบการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ และเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก ธุรกิจการเดินเรือถือเป็นธุรกิจหลักธุรกิจหนึ่งที่ส่งเสริมและเร่งให้เกิดการขยายตัวในการค้าขาย การขนส่งสินค้า และวัตถุดิบระหว่างทวีปต่างๆ ทั่วโลก (Global Trade) นอกจากนั้น การนำระบบการจัดส่งสินค้าผ่านทางตู้ขนส่งสินค้า (Container) มาใช้อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นทางเรือหรือทางบก ได้ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในขั้นตอนการขนส่งสินค้า ไม่ว่าจะเป็นการนำสินค้าใส่เข้าตู้ การจัดเรียงตู้บนเรือบรรทุกสินค้าหรือรถขนส่ง การขนย้ายตู้จากทางเรือมาทางบก หรือจากทางบกไปทางเรือ นอกจากนั้นยังรวมไปถึงการเดินเอกสารระหว่างกรมศุลกากรของประเทศต่างๆ การตรวจติดตามการเดินทางของสินค้าในแต่ละตู้ก็เป็นไปอย่างชัดเจน ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารก็ได้พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด ได้มีการพัฒนาทางด้านโครงสร้างพื้นฐานของการเชื่อมต่อส่งถ่ายข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต และมีการใช้อีเมล์อย่างกว้างขวาง
การพัฒนาเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้การค้าและการลงทุนระหว่างทวีปต่างๆ ทั่วโลกขยายตัวอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง ประเทศที่พัฒนาแล้วได้มีการย้ายฐานการผลิตสินค้าไปยังประเทศที่มีค่าแรงที่ถูกกว่าเพื่อลดต้นทุนในการผลิตลง ไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทเครื่องนุ่งห่ม รวมไปถึงรองเท้า ที่ย้ายฐานการผลิตไปจีน สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ย้ายฐานการผลิตไปไต้หวันและมาเลเซีย หลังจากที่ย้ายฐานการผลิตไปประเทศที่มีค่าแรงถูกแล้ว ก็จะมีการขนส่งสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้วกลับมาขายยังประเทศของตัวเอง ถ้ามองในแง่ของธุรกิจแล้ว ค่าใช้จ่ายของการขนส่งสินค้าข้ามทวีปถือว่าถูกมาก เพราะสามารถขนส่งมาทางเรือเป็นล็อตใหญ่ๆ ได้ ซึ่งในบางอุตสาหกรรมอย่างเช่นเครื่องนุ่งห่มมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งอาจคิดเป็นไม่ถึงสองเปอร์เซ็นต์ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ซึ่งถ้าเทียบกับต้นทุนในรูปตัวเงินในด้านแรงงานที่สามารถลดลงได้ถือว่าคุ้มมากกว่า ดังนั้นบริษัทส่วนใหญ่ที่มีขีดความสามารถในด้านการลงทุนต่างพากันปิดโรงงานในประเทศของตัวเองและย้ายฐานการผลิตไปประเทศที่ค่าแรงถูกกว่า
อย่างไรก็ตาม การย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศต่างๆ สามารถที่จะแบ่งแยกออกได้เป็นสองกรณีหลัก คือการย้ายฐานการผลิตเพื่อที่จะทำการผลิตสินค้ารองรับการบริโภคของประเทศหรือภูมิภาคนั้นๆ โดยตรง และการย้ายฐานการผลิต เพื่อไปอาศัยค่าแรงที่ถูกกว่าและส่งสินค้ากลับมาขายในประเทศของตนเอง
การย้ายฐานการผลิตในประเภทแรกนั้น ผู้เขียนเห็นด้วยว่า เป็นกลยุทธ์ที่ทำให้บริษัทได้เปรียบหลาย ประการคือ การที่สามารถใช้คนท้องถิ่นมาทำการผลิตทำให้ได้เปรียบในเรื่องต้นทุนค่าแรงที่ต่ำกว่า นอกจากนั้น บริษัทเหล่านี้ยังสามารถจัดหาวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาใช้ในการผลิตเพื่อลดต้นทุนได้อีกทางหนึ่งข้อดีอีกประการหนึ่งคือ การที่บริษัทมีแหล่งผลิตที่ใกล้ชิดกับผู้บริโภคจะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วกว่าการมีแหล่งผลิตที่ไกลออกไป บริษัทที่ใช้กลยุทธ์นี้และประสบความสำเร็จอย่างกว้างขวาง เช่น บริษัท P&G และ ยูนิลิเวอร์ ที่ย้ายฐานการผลิตมายังเอเชีย และผลิตสินค้าป้อนให้ลูกค้าในประเทศต่างๆ ในเอเชีย บริษัทที่มีกลยุทธ์ลักษณะนี้อาจมีการตั้งศูนย์กลางในการผลิตสินค้าประเภทต่างๆ แยกย้ายกันไปในภูมิภาค เพื่อได้ประโยชน์จาก Economy of Scale และจากค่าแรงที่ถูกกว่าไปพร้อมกัน เช่น อาจมีการผลิตสบู่ในประเทศหนึ่ง และส่งไปขายต่อในประเทศต่างๆ ทั่วเอเชีย ในขณะเดียวกัน สินค้าแชมพูก็มีศูนย์กลางการผลิตในอีกประเทศหนึ่ง และถูกส่งไปตอบสนองความต้องการในประเทศอื่น การย้ายฐานการผลิตลักษณะนี้ทำให้บริษัทได้รับประโยชน์จากแรงงานที่ถูกกว่า การมีต้นทุนที่ถูกลงจากการมีการผลิตขนาดใหญ่ การมีต้นทุนวัตถุดิบที่ถูกเนื่องจากใช้วัตถุดิบท้องถิ่นในการผลิต รวมไปถึงการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าท้องถิ่นได้รวดเร็วกว่าด้วย
ส่วนการย้ายฐานการผลิตในประเภทที่สอง ซึ่งเป็นการย้ายฐานการผลิตเพียงเพื่อหวังค่าแรงราคาถูกจากแหล่งอื่น ผู้เขียนมองว่าบริษัทต้องมีความระมัดระวังในการจะกำหนดใช้กลยุทธ์นี้ เพราะสิ่งที่บริษัทได้มาอาจไม่คุ้มกับสิ่งที่บริษัทต้องเสียไป การมีระยะเวลาการขนส่งที่ยาวขึ้นถือเป็นผลเสียอีกอย่างหนึ่งที่บริษัทต้องนำมาพิจารณาด้วย การขนส่งสินค้าทางเรือจากประเทศในแถบเอเชียไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปใช้เวลายี่สิบกว่าวันถึงหนึ่งเดือน การที่สินค้าค้างอยู่บนเรือเป็นเดือนถือว่าบริษัทต้องเสียเงินเพิ่มในการถือครองสินค้านานขึ้น เพราะถ้าบริษัทสามารถที่จะตั้งโรงงานผลิตใกล้กับแหล่งบริโภคได้แล้ว บริษัทสามารถที่จะขายสินค้าให้ผู้บริโภคได้ทันทีหลังจากที่สินค้าผลิตเสร็จ ต้นทุนในการถือครองสินค้าสามารถคำนวณได้จากมูลค่าของสินค้าและอัตราดอกเบี้ยที่บริษัทต้องเสียไปจากการกู้ยืมเงินมาถือครองสินค้านั้น ผลเสียในด้านที่สองนั้นคือ การที่บริษัทมีโรงงานอยู่ไกลจากแหล่งบริโภค จะมีผลทำให้วงจรของการผลิตจนถึงการจัดส่งให้กับผู้บริโภคคนสุดท้าย หรือที่เราเรียกว่า Cycle Time ยาวขึ้น ผลเสียของการมี Cycle Time ที่ยาวเกินไปคือ การตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงของตลาดจะเป็นไปได้ช้ามาก ตัวอย่างเช่น ถ้าบริษัทต้องการจะขายสินค้าในเดือนมิถุนายน บริษัทจะต้องผลิตสินค้าให้เสร็จก่อนเดือนพฤษภาคม เพื่อให้ทันในการจัดส่งลงเรือซึ่งใช้เวลาเป็นเดือน การมี Cycle Time ที่ยาวนั้นนอกจากจะมีผลกระทบโดยตรงต่อกระบวนการที่ต่อเนื่องกันโดยตรงแล้ว ยังมีผลกระทบต่อกระบวนการก่อนหน้าอื่นๆ อีกด้วย เช่น การออกแบบสินค้าก็ต้องมีการออกแบบก่อนเดือนพฤษภาคมเพื่อให้แน่ใจได้ว่ามีการผลิตเสร็จทันก่อนเดือนพฤษภาคม ถ้าเราเทียบกับบริษัทที่มีแหล่งผลิตอยู่ใกล้กับผู้บริโภคแล้ว จะสามารถเลื่อนการตัดสินใจและกำหนดกระบวนการต่างๆ ให้เข้าไปใกล้ในวันขายได้มากขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเวลาจากการรอสินค้าขนส่งมาทางเรือเป็นเดือนตามตัวอย่างนี้ สินค้าสามารถที่จะออกแบบในเดือนพฤษภาคม และเริ่มผลิตในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม หลังจากผลิตเสร็จสามารถนำออกขายในเดือนมิถุนายนได้ทันที ทำให้ลดต้นทุนการถือครองสินค้าไปในตัว ถ้าสินค้านั้นมีความต้องการมากกว่าการผลิตแรกเริ่มเดิมทีที่คาดไว้ ก็สามารถที่จะผลิตเพิ่มและจัดส่งออกสู่ตลาดได้ทันที ในขณะที่บริษัทที่มีแหล่งการผลิตอยู่ไกลออกไป ต้องบวกเวลาในการขนสินค้าเข้าไปอีกหนึ่งเดือน ซึ่งกว่าที่จะทำการผลิตเสร็จและจัดส่งมาเพิ่มเติม ลูกค้าอาจไม่ต้องการสินค้าแล้วก็เป็นได้
การย้ายฐานการผลิตไปยังแหล่งที่มีแรงงานราคาถูกกว่า อาจมีความเหมาะสมในกรณีที่ความต้องการสินค้ามีการเปลี่ยนแปลงไม่บ่อย สินค้าไม่ได้อิงกับ Fashion และ Trend ความนิยมในสินค้าไม่ได้รับผลกระทบจากการขนส่งสินค้าที่ยาวนาน นอกจากนั้น การย้ายฐานการผลิตไปใกล้กับแหล่งการบริโภคเพื่อขายให้กับคนในท้องถิ่นโดยตรงจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคในท้องถิ่นได้ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการย้ายฐานการผลิตเพื่อมุ่งเน้นแรงงานราคาถูกอย่างเดียวนั้นอาจสร้างผลเสียมากกว่าผลดี ถ้าความต้องการของสินค้านั้นมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยและเร็ว ธุรกิจจะต้องนำต้นทุนในเรื่องของเวลา Cycle Time ที่ยาวขึ้น การถือครองสินค้าที่ยาวนานขึ้น และความสามารถในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดที่ลดลงมาร่วมวิเคราะห์ด้วย เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าการย้ายฐานการผลิตจะสร้างประโยชน์ให้กับบริษัทมากว่าผลเสียที่จะตามมา
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward