iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
CT51 Process Control and Logistics Management for Mass Customization Manufacturing (MCM)
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ผู้เขียน ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา
บทคัดย่อ
ความต้องการที่หลากหลายของผลิตภัณฑ์ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างโดดเด่นที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ดังนั้นในการวางแผนการผลิตเผื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายเหล่านี้ผู้ผลิตจึงนำระบบกลยุทธ์การที่สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลายและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วซึ่งระบบการผลิตนี้คือ Mass Customization Manufacturing (MCM) ในบทความฉบับนี้ผู้เขียนจะนำเอา กลยุทธ์ของระบบการควบคุมการผลิตที่สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างคล่องตัว (Flexible process control) และระบบการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) ที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพแบบ Mass Customization Manufacturing (MCM) เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับองค์กร
1) บทนำ
การแข่งขันของอุตสาหกรรมนั้นมีการปรับเปลี่ยนไปตามความต้องการของผู้บริโภคมาขึ้นซึ่งเป็นความต้องการที่หลายหลาย เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงลักษณะตลาดนั้นเป็นลักษณะของ World Wide Market ไม่ใช่ Local Market ดังในอดีต จากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและความต้องการที่หลายหลายมากขึ้นทำให้ระบบการผลิตที่เรียกว่า Mass Production Manufacturing (MCP) ที่ต้องผลิตครั้งละมาก ๆ ในรูปแบบเดียวกันไม่สามารถสร้างผลกำไรได้เท่าที่ควร ซึ่งผู้ผลิตจึงได้พยายามหากลยุทธ์ต่าง ๆ มาใช้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ กลยุทธ์นี้เรียกว่า Mass Customization Manufacturing (MCM) เป็นกลยุทธ์การผลิตที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต ผลิตสินค้าผลิตภัณฑ์ได้หลายหลาย และปรับเปลี่ยนได้ง่ายและรวดเร็ว สามารถตอบสนองตามความต้องการลูกค้าเฉพาะกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันในหลายอุตสาหกรรมเช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อาหาร สิ่งทอ สินค้าอุปโภคบริโภคได้นำกลยุทธ์นี้มาใช้เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง และตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ในออกแบบระบบ MCM – Design for Mass Customization (DFMC) (ดังแสดงในแผนภาพที่ 1) จะต้องวางแผนเพื่อรองรับกับความหลากหลายและความต้องการเฉพาะกลุ่มให้มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องคำนึงถึง ความสัมพันธ์ของความต้องการของลูกค้าทั้งในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ ปริมาณความต้องการ ความสามารถในการผลิต ความสามารถในการจัดส่ง ความสามารถในการจัดหาวัตถุดิบ การสื่อสารส่งผ่านข้อมูล การขนส่งและกระจายสินค้านั่นก็คือจะต้องใช้ความสามารถในการบริหารกลยุทธ์ของระบบการควบคุมการผลิตที่สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างคล่องตัว (Flexible process control) และระบบการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) นั่นเอง
แผนภาพที่ 1 ระบบของ Mass Customization Manufacturing
2) การควบคุมการผลิตสำหรับ Mass Customization Manufacturing (MCM)
การควบคุมกระบวนการ MCM นั้นจะต้องเป็นควบคุมและปรับกระบวนการผลิตได้อย่างรวดเร็ว สามารถผลิตจำนวนน้อยได้อย่างคุมค่าการลงทุน สร้างความหลากหลาย และตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างทันที ในอดีตในการวางแผนกระบวนการจะใช้ระบบการส่งแผนข้อมูลทาง Spreadsheets, Grantt/PERT charts หรือ บันทึกต่าง ๆ ซึ่งทำให้การปรับเปลี่ยนแผนการผลิตทำได้ล่าช้า ในปัจจุบันในระบบ MCM ได้นำระบบการส่งข้อมูลโดยใช้ XML-based shop (Extensible Markup Language-base shop) integration exchange file format for MCM ซึ่งได้รับการพัฒนาโดย National Institute of Standards and Technology (NIST) มาใช้ในการปรับเปลี่ยนกระบวนการและเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการผลิตซึ่ง Shop Data File นี้สามารถเชื่อมโยงระบบต่าง ๆ เช่น time-sheets, probability-distribution, unit of measurement, resource, calendar, bill of material, inventory, process plan work, purchase order, schedule maintenance เป็นต้นดังแสดงในแผนภาพที่ 2
แผนภาพที่ 2 กระบวนการผลิต กับการเชื่อมโยงระบบ XML-Based Shop
้ค้าปลีกภาพที่ ม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องอุตสาหกรรมของเล่นเป็นอุตสาหกรรมที่มีความหลากหลาย
3) การจัดการโลโจติสก์สำหรับ Mass Customization Manufacturing (MCM)
ในระบบ MCM ที่สามารถทำการผลิตได้หลากหลาย ผลิตด้วยจำนวนน้อยได้ และตรงตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม จึงต้องมีการปรับปรุงระบบการผลิตโดยเปลี่ยนจาก Mass Production ที่เป็นลักษณะของ Push (ดังแสดงในแผนภาพที่ 3) ที่วางแผนจากการคาดการณ์ หรือพยากรณ์ความต้องการของลูกค้าโดยไม่ได้มองปริมาณความต้องการที่แท้จริงรวมถึงรูปลักษณ์ต่าง ๆ ให้มาเป็น Mass Customization ที่เป็นลักษณะของ Pull (ดังแสดงในแผนภาพที่ 4) ที่เน้นไปยังความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าเป็นหลักทั้งในด้านของปริมาณ และรูปลักษณ์ของการออกแบบ ดังตัวอย่างในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ เช่น โตโยต้า เป็นต้น ดังนั้นจึงต้องมีการนำระบบการจัดการโลจิสติส์เข้ามาช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพ นอกจากจะมีการปรับปรุงระบบการผลิตให้ ยังต้องนำวิธีปฏิบัติที่ดีของการจัดการโลจิสติกส์เข้ามาประยุกต์ใช้โดยเฉพาะการบริหารสินค้าคงคลัง และการขนส่งสินค้าทั้งในด้านของ Inbound และ Outbound ทั้งเพื่อวางแผนในด้าน Lead time ในการป้อนวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต และการขนส่งสินค้าไปยังลูกทั้ง และยังเป็นการลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์อีกด้วย
แผนภาพที่ 3 การจัดการโลจิสติกส์สำหรับ Mass Production Manufacturing
แผนภาพที่ 4 การจัดการโลจิสติกส์สำหรับ Mass Customization Manufacturing
4) สรุป
จากความต้องการที่หลากหลาย ความต้องการเฉพาะกลุ่มทั้งยังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบันทำให้ผู้ผลิตสินค้าจะต้องมีการปรับตัวตามกับพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันเพิ่มตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า และเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยเปลี่ยนวิธีจากการผลิตจาก Mass Production Manufacturing มาเป็น Mass Customization Manufacturing ที่สามารถสร้างความหลากหลายในการผลิตได้ และทั้งยังสามารถปรับเปลี่ยนระบบการผลิตได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งระบบนี้จะต้องอาศัยหลักการพื้นฐานที่สำคัญ 1) หลักการควบคุมการผลิตที่สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างคล่องตัว (Flexible process control) และ 2) ระบบการจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Management) โดยที่ มีการนำระบบ XML-based Shop มาช่วยในกระบวนการผลิต และส่วนการจัดการโลจิสติสก์นั้นได้นำมาช่วยตั้งแต่การวางแผน Inbound จนไปถึง Outbound Logistics รวมถึงการวางแผนลดกิจกรรม Non-Value Added ลด Lead Time ลง และสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า
เอกสารอ้างอิง
Alford, D., Sackett, P., and Nelder, G, 2000, “Mass Customization-An Automotive Perspective,” International Journal of Production Economics, 2000,65:99-110.
Bornney, M.C., Zhang, Z., Head, M.A. Tien, C.C. and Barson, R.J., 1999, ”Are Push and Pull System Really so Different?” International Journal of Production Economics, 59, 53 – 64.
Hart, C.W., and Taylor, J.R., 1996, ”Value Creation Through Mass Customization”, Working Paper, 1996
Kim, I., and Tang, C.S., 1997, “Lead Time and Response Time in a Pull Production Control System,” European Journal of Operational Research, 101, 474-485.
Marsh., P XML-Based System Rejuvenates Chain Store Guide’s Production Process : http://www.thomastech.co.uk/images/pdf/AIIM_Edoc_SeptOct03.pdf
Yucesan, E., and Groote, X.D., 2000, ”Lead Times, Order Release Mechanisms, and Customer Service,” European Journal of Operation Research, 120, 118 – 130.
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
CT51 Supply Chain ต้นน้ำยางพาราในประเทศไทย
ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันชัย รัตนวงษ์
บทนำ
กระบวนการจากต้นน้ำ (Upstream) ของการผลิตยางพารา และเกษตรกรควรเตรียมตัวอย่างไรกับการแข่งขันอุตสาหกรรมยางในอนาคต ระบบ Logistics จะเข้ามามีบทบาทในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้หรือไม่ กระบวนการจากต้นน้ำ (Upstream) ของการผลิตยางพารา ปกติมี 5 ขั้นตอนหลักที่สำคัญ ดังนี้
1. กระบวนการปลูกยางพารา
2. การกรีดยาง
3. การเก็บยาง
4. การรักษาสภาพน้ำยาง
5. การหาปริมาณเนื้อยางแห้ง
ทุกขั้นตอนในกระบวนการต้นน้ำถือเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการผลิตยางแผ่น หรือยางแผ่นรมควัน
คำสำคัญ ห่วงโซ่อุปทาน, ยางพารา
การกรีดยางในระยะ 3 ปีแรก สำหรับต้นติดตา ในระยะ 2-3 ปีแรกของการกรีดต้นยางยังอยู่ในระยะเจริญเติบโต การกรีดยางมากเกินไปจะทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตลดลง การกรีดยางในระยะนี้จึงควรพิจารณาใช้ระบบกรีดที่เหมาะสมดังนี้
- กรีดครึ่งต้นวันเว้นสองวัน ระบบนี้ใช้ได้กับยางทุกพันธุ์ที่เหมาะสม
- กรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน ระบบนี้เหมาะสมกับยางทุกพันธุ์
- กรีดครึ่งต้นวันเว้นสองวันร่วมกับการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางเข้มข้น 2.5 เปอร์เซ็นต์ ใช้กับยางพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่ำในระยะแรกของการกรีด เช่น พันธุ์ GT.1.,PR 107 และ Tier 1 โดยใช้สารเคมีทาใต้รอยกรีดที่ขุดเปลือกกว้าง 2.5 เซนติเมตร ใช้ปีละ 2-3 ครั้ง เมื่อผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นพอสมควรก็หยุดการกรีดยางหลังจาก 3 ปีไปแล้ว สำหรับต้นติดตาในระยะนี้ต้นยางเจริญเติบโตดี ทนทานต่อการกรีดได้ดีกว่าระยะแรกระบบกรีดที่ใช้ควรเป็นดังนี้
- กรีดครึ่งต้นวันเว้นสองวัน เหมาะสำหรับยางบางพันธุ์ที่เป็นโรคเปลือกแห้งได้ง่าย
- กรีดครึ่งต้นวันเว้นวัน เหมาะสำหรับบางพันธุ์ และ กรีดชดเชยเฉพาะในท้องที่ที่มีวันกรีดน้อยกว่า 200 วัน เช่น จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง และนราธิวาส
- กรีดครึ่งต้นวันเว้นสองวันร่วมกับการใช้สารเคมี 2.5 เปอร์เซ็นต์ เหมาะสำหรับยางบางพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่ำและตอบสนองต่อสารเร่งได้ดี ควรใช้เพียงปีละ 2-3 ครั้ง
ส่วนประกอบ |
เฉลี่ยร้อยละ(โดยน้ำหนัก) |
สารที่เป็นของแข็งทั้งหมด |
36 |
เนื้อยางแห้ง |
33 |
สารกลุ่มโปรตีนและไขมัน |
1-1.2 |
สารกลุ่มคาร์โบไฮเดรท |
1 |
เถ้า |
1 |
น้ำ |
64 |
ผิวของอนุภาคยางมีเยื่อหุ้ม (Membrane) ที่ประกอบด้วยไขมันและโปรตีน โดยแต่ละอนุภาคมีอนุมูลลบของโปรตีนอยู่รอบนอก ทำให้เกิดแรงผลักระหว่างอนุภาคยาง ซึ่งมีผลให้น้ำยางสามารถคงสภาพเป็นของเหลวได้ ดังนั้น เมื่อมีการทำลายเยื้อหุ้มอนุภาคหรือมีการสะเทินนอนุมูลลบ จะทำให้อนุภาคยางที่แขวนลอยอยู่ในตัวกลางเกิดการรวมตัวจับกันเป็นก้อน
สารละลายแอมโมเนีย ร้อยละ 0.05 ต่อน้ำหนักน้ำยาง
สารละลายโซเดียมซัลไฟท์ ร้อยละ 0.02 – 0.05 ต่อน้ำหนักน้ำยาง
อุตสาหกรรมการแปรรูปน้ำยางสดเพื่อผลิตเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ การผลิตน้ำยางข้นและการผลิตยางแห้ง น้ำยางสดจากสวนมีปริมาณเนื้อยางเฉลี่ยประมาณร้อยละ 33 ทำให้การขนส่งและการซื้อขายไม่สะดวกนอกจากนั้นยังไม่เหมาะสมที่จะนำไปเข้ากระบวนการผลิตเพื่อทำผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสม่ำเสมอได้ ดังนั้นจึงต้องทำให้อยู่ในรูปของน้ำยางข้นที่มีเนื้อยางอย่างน้อยร้อยละ 60
1) การหาปริมาณเนื้อยางแห้งโดยการวัดจากเมโทรแลค (ไม่แนะนำให้ใช้ในการซื้อขายเนื่องจากมีความคลาดเคลื่อนสูง) ใช้น้ำยาง 1 ส่วน ผสมน้ำ 2 ส่วน เทน้ำยางที่ผสมน้ำแล้วลงในกระบอกตวงจนน้ำยางล้นกระบอกตวง แล้วเป่าฟองบนผิวเหนือกระบอกตวงออก ค่อยๆ จุ่มเมโทรแลค ลงไปจนหยุดนิ่งแล้วอ่านค่า แล้วอ่านค่าซ้ำอีกครั้งหนึ่ง จึงใช้ค่าที่อ่านได้คูณด้วย 3 ผลที่อ่านได้เป็นปริมาณเนื้อยางแห้งกรัมต่อลิตร แสดงว่าในน้ำยาง 1 ลิตร จะมีปริมาณเนื้อยางแห้งเป็นกรัมต่อลิตรเนื้อยางแห้ง สามารถทราบปริมาณเนื้อยางแห้งในการขายน้ำยางสดในครั้งนั้นได้
2) การหาปริมาณเนื้อยางแห้งโดยการชั่ง ให้ชั่งน้ำหนักยาง 50 กรัม โดยเครื่องชั่งชนิดละเอียด เทน้ำยางที่ชั่งแล้วไปใส่ถ้วยอะลูมิเนียม และจับตัวด้วยกรดอะซิติค 2% เมื่อยางจับตัวดีแล้วนำไปรีดให้มีความหนาไม่เกิน 2 มิลลิเมตร ล้างให้สะอาดด้วยน้ำ 2-3 ครั้ง นำยางแผ่นตัวอย่างไปอบให้แห้งในตู้อบอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ประมาณ 16 ชั่วโมง ปล่อยให้เย็นในโถแก้วระบบสูญญากาศที่มีอากาศดูดความชื้นประมาณ 15 นาที นำตัวอย่างยางที่แห้งแล้วไปชั่งด้วยเครื่องชั่งชนิดละเอียดได้แล้วคูณด้วย 2 ผลลัพท์ที่ได้คือเนื้อยางแห้ง
กระบวนการต้นน้ำ (Upstream) ของการผลิตยางพารา ทั้ง 5 ขั้นตอนหลัก รัฐควรมีส่วนสนับสนุนหรือให้ความรู้กับเกษตรกรเพิ่มมากขึ้น เพื่อสร้าง value-added และลดค่าใช้จ่ายลงทำให้เกษตรกรมีโอกาสเพิ่มรายได้มากขึ้น
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
CT51 The global GS1 Traceability Standard ระบบมาตรฐานการสอบย้อนกลับสากล
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เฉลิมชนม์ ไวศยดำรง
ในบทความนี้ผู้เขียนขอนำเสนอข้อมูลมาตรฐานระบบการตรวจสอบย้อนกลับสากล (The global GS1 Traceability Standard ) ที่กำหนดโดย GS1 (เดิมคือ EAN International, www.ean-int.org) ซึ่งเป็นองค์กรระดับชาติที่มีพันธกิจร่วมกับองค์กร Uniform Code Council (UCC), USA โดยมีบทบาทเป็นผู้กำหนดและผลักดันให้ระบบมาตรฐาน EAN.UCC เป็นมาตรฐานสากล ตลอดจนเป็นผู้นำในการร่วมวางมาตรฐานของการเก็บข้อมูลอัตโนมัติ และการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ในอุตสาหกรรมต่างๆ (multi-industry-standards) ปัจจุบันระบบ EAN.UCC มีบริษัทผู้ใช้อย่างแพร่หลายมากกว่า 1,000,000 บริษัท ในกลุ่มประเทศสมาชิก 103 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย โดยมีสถาบันรหัสสากล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ GS1 Thailand (www.gs1thailand.org) เป็นผู้ดูแลในประเทศไทย
เป็นที่ทราบกันดีว่าในกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability Processes) นั้นมี 2 ขั้นตอนที่สำคัญ คือ traced และ tracked ขออธิบายโดยการยกตัวอย่างพอสังเขปดังนี้
การค้นหาแหล่งที่มาของสินค้า หากพบสินค้าที่มีปัญหาที่ปลายทาง (ผู้บริโภคหรือลูกค้า) จำเป็นต้องตรวจสอบย้อนกลับถึงต้นน้ำ (แหล่งผลิตหรือที่มาของวัตถุดิบที่นำมาผลิต) เพื่อวิเคราะห์และหาสาเหตุของปัญหาว่าเกิดขึ้นที่ขั้นตอนใด อาทิ วัตถุดิบ การผลิต การจัดเก็บ การขนส่ง เป็นต้น รวมทั้งการออกมาตรการณ์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำขึ้นอีก
การติดตามแหล่งที่จัดส่งสินค้า เพื่อเรียกคืนสินค้าในกรณีตรวจพบว่าวัตถุดิบที่นำมาผลิต หรือกระบวนการผลิตบางล๊อตการผลิตมีปัญหา ซึ่งอาจเกิดอัตรากับผู้บริโภคหรือลูกค้าได้ จำเป็นจะต้องมีการเรียกคืนสินค้าเฉพาะล๊อตการผลิตนั้นกลับ เพื่อไม่ให้สินค้าที่มีปัญหาถึงมือลูกค้า ซึ่งหากมีลูกค้าฟ้องร้องในขั้นศาล ผู้ผลิตจะสูญเสียทั้งเงินและความน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะหากเป็นสินค้าอุปโภคและบริโภค
จากเหตุการณ์ทั้งสองที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่าระบบการสอบย้อนกลับเป็นเครื่องมือในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า โดยการแสดงที่มาของสินค้าว่ามีแหล่งผลิตมาจากที่ใด ในปัจจุบันเรื่องนี้ได้กลายประเด็นสำคัญที่ผู้ผลิตในประเทศไทยได้เริ่มให้ความสนใจกันอย่างมาก ขอยกตัวอย่างที่กรณีศึกษาที่มีผลกระทบอย่างชัดเจน เช่น กรณีเหตุการณ์โรควัวบ้าระบาดในยุโรป ทำให้เกิดมาตรการในควบคุมอุตสาหกรรมผู้แปรรูปเนื้อวัวต้องแสดงข้อมูลบนฉลากที่ผู้ซื้อสามารถอ่านได้ โดยกำหนดถึงแหล่งที่มาของสินค้าว่ามีการเลี้ยงในประเทศใด ผ่านการชำแหละมาจากโรงฆ่าใด และบรรจุภัณฑ์ผลิตเมื่อใด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค รวมทั้งกรณีการระบาดของโรคไข้หวัดนกในเอเซีย ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมผลิตเนื้อไก่สดแปรรูปทั่วทั้งเอเชีย ในประเทศไทยก็มีการออกมาตรการในการควบคุมการเลี้ยงไก่แบบโรงเรือนปิด และผู้ผลิตเนื้อไก่สดรายใหญ่หลายรายได้มีการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคโดยการประชาสัมพันธ์ถึงมาตรฐานผลิตและแหล่งที่มาของฟาร์มเลี้ยงไก่ที่ปลอดภัยผ่านทางสื่อต่างๆ ทั้งโทรทัศน์และสิ่งพิมพ์ โดยเสียค่าใช้จ่ายเป็นเงินจำนวนมากมหาศาล เพื่อการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าถึงความปลอดภัยของสินค้าตนเอง แต่รัฐบาลยังไม่มีมาตรการในการกำหนดให้ผู้ผลิตทุกรายแสดงข้อมูลลงในฉลากสินค้า จากที่กล่าวมาคงจะเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการสร้างระบบการตรวจสอบย้อนกลับ การเริ่มต้นในการสร้างระบบมาตรฐานการตรวจสอบย้อนกลับสากลนั้นจำเป็นต้องเข้าใจถึงหลักการและมาตรฐานในการจัดเก็บข้อมูลเบื้องต้นดังนี้
จากตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้น สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญในการตรวจสอบย้อนกลับ คือ การระบุตัวตนของผู้ผลิต สินค้า บรรจุภัณฑ์ที่ขนส่ง สถานที่จัดส่งหรือผลิต เพื่อใช้ในการอ้างอิงในระบบฐานข้อมูลระหว่างคู่ค้า ซึ่งจำเป็นต้องมีองค์กรกลางในการกำหนดเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนของข้อมูล ซึ่งท่านผู้อ่านทุกคนเคยสัมผัสมาแล้ว ตัวอย่างเช่น การซื้อน้ำอัดลมจากร้านสะดวกซื้อ ผู้ขายจะใช้รหัสบาร์โค๊ดในการบันทึกการขาย ซึ่งรหัสที่กำหนดด้วยรหัสบาร์โค๊ดก็คือตัวแทนของสินค้านั้นทั่วโลก ซึ่งออกโดยองค์กร EAN UCC โดยเลขหมายนี้จะไม่มีกำหนดการซ้ำ ฉะนั้นหลายเลขมาตรฐานเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับสากล ซึ่งในบทความนี้ขอยกตัวอย่างของการะบุตัวตนที่สำคัญ 3 ประเภท ดังนี้
การระบุตัวตนของสถานที่ตั้ง (Identification of Locations)
เลขหมายประจำตัวตำแหน่งที่ตั้งที่สากล (GLN: EAN•UCC Global Location Number) เพื่อใช้ในการบ่งชี้ตัวตนหรือเป็นเลขหมายประจำตัวขององค์กร บริษัทหรือโรงงาน ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ประกอบด้วยรหัสตัวเลข 13 หลัก ตัวอย่างเช่น 885 1234 00999 1 แต่ละหลักของตัวเลขมีความหมายดังนี้
สามหลักแรกแสดงรหัสประเทศ (885 หมายถึงประเทศไทย)
สี่หลักต่อมาแสดงรหัสบริษัทหรือองค์กร (1234 ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนสมาชิกกับ GS1)
ห้าหลักต่อมาแสดงตัวเลขอ้างอิง (00999) ซึ่งองค์กรผู้ขอเป็นผู้กำหนดเอง ทำให้องค์กรหนึ่งสามารถมีเลขประจำตัวตำแหน่งที่ตั้งได้มากกว่า 1 ชุด เพื่อบ่งชี้สถานที่ตั้งทางกายภาพ หน้าที่ของหน่วยงาน หรือแผนกในองค์กร
และตำแหน่งสุดท้าย (1) แสดง Check Digit เป็นข้อมูลสำหรับตรวจสอบความถูกต้องในกรณีใช้เครื่องอ่านบาร์โค๊ด นอกจากนั้นเลขหมาย GLN นี้ยังเป็นเลขหมายประจำตัวผู้ใช้ EDI ด้วย
รูปที่ 1 ข้อมูลรายละเอียดของเลขหมายประจำตัวตำแหน่งที่ตั้งที่สากล (GLN: EAN•UCC Global Location Number)
รูปที่ 2 การอ้างอิงการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคู้ค้า
ขั้นตอนในการขอเลขหมาย GLN ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ GS1 เพื่อขอเลขหมาย GLN ให้กับองค์กรของท่านได้ ณ สถาบันรหัสสากล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีอัตราค่าสมาชิกต่อเลขหมาย 1,000 บาทต่อปี โดยข้อมูลรายละเอียดของผู้ขอจะถูกบันทึกไว้ในระบบฐานข้อมูลของ GS1 ดังแสดงในรูปที่ 1 ผู้ขอสามารถใช้เลขหมาย GLN นี้ในการอ้างอิงการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคู้ค้าดังแสดงในรูปที่ 2 ทั้งในลักษณะการค้าอิเล็กทรอนิกส์ และการพิมพ์ไว้บนบรรจุภัณฑ์สินค้า หรือบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง อาทิ
เลขหมายประจำตัวรายการทางการค้าสากล (GTIN: Global Trade Item Number) จะใช้บ่งชี้เฉพาะรายการทางการค้าที่ใช้ในการทำธุรกรรมธุรกิจทั่วโลก ซึ่งหมายถึงรายการใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นตัวสินค้าหรือบริการ ที่สามารถใช้ในการอ้างอิงเพื่อจัดเก็บและค้นหาข้อมูลในระบบฐานข้อมูลระหว่างคู่ค้า เช่น ชนิดสินค้า กำหนดราคา การสั่งซื้อ หรือการจัดส่งสินค้า เป็นต้น
เลขหมายประจำตัวรายการทางการค้าจะประกอบด้วยเลขหมายประจำตัวตำแหน่งสากลและชุดรหัสที่ผู้ใช้งานเป็นผู้กำหนดเอง เมื่อได้รับการอนุมัติเลขหมายประจำตัวบริษัทแล้ว โดยบริษัทจะเป็นผู้กำหนดเลขหมายประจำตัวสินค้าให้กับสินค้าแต่ละชนิด รวมทั้งกำหนดข้อมูลรายละเอียดของสินค้านั้นในระบบฐานข้อมูลของ GS1 เช่น ชื่อสินค้า ประเภท ขนาด ราคา หน่วย เป็นต้น ในการกำหนดเลขหมาย GTIN มีขนาดตั้งแต่ 8 – 14 โดยพิจารณาการเลือกใช้ดังรูปที่ 3 ซึ่งมีราคาและค่าใช้จ่ายแตกต่างกันดังตารางที่ 1
รูปที่ 3 การกำหนดเลขหมายประจำตัวรายการทางการค้าสากล (GTIN: Global Trade Item Number)
ตารางที่ 1 อัตราค่าลงทะเบียนแรกเข้าและค่าสมาชิกรายปี
รายได้ต่อปี/ทุนจดทะเบียน |
ค่าลงทะเบียนแรกเข้า
|
ค่าสมาชิกรายปี
|
จำนวนรายการสินค้า
|
ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 1 ล้านบาท |
ยกเว้น |
1,500 |
ไม่เกิน 9 เลขหมาย |
ต่ำกว่าหรือเท่ากับ 1 ล้านบาท |
ยกเว้น |
3,000 |
ไม่เกิน 99 เลขหมาย |
มากกว่า 1 - 50 ล้านบาท |
7,000 |
8,000 |
9999 เลขหมาย |
ระหว่าง 50 - 100 ล้านบาท |
7,000 |
10,000 |
9999 เลขหมาย |
มากกว่า 100 ล้านบาท |
7,000 |
12,000 |
9999 เลขหมาย |
กฎในการกำหนดเลขหมาย GTIN เพื่อระบุเจาะจงสินค้าแต่ละชนิด ไม่ว่ากรณีใดเมื่อเกิดความแตกต่างที่ปรากฏให้เห็นและมีความสำคัญต่อคู่ค้า จะต้องมีการกำหนดเลขหมายขึ้นใหม่ที่แตกต่าง เช่น การรวมหรือแยกบรรจุภัณฑ์ใหม่ การรวมเป็นหน่วยเพื่อการขนย้าย เป็นต้น ดังแสดงตัวอย่างดังรูปที่ 4
รูปที่ 4 ตัวอย่างการกำหนดเลขหมาย GTIN ที่ต้องกำหนดเลขหมายขึ้นใหม่เมื่อมีการรวมหรือแยกบรรจุภัณฑ์ใหม่ การรวมเป็นหน่วยเพื่อการขนย้าย เป็นต้น
การระบุตัวตนของบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง Identification of Logistic Units (pallets)
เลขหมายลำดับบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (SSCC: Serial Shipping Container Code) เป็นเลขหมายสำหรับการบ่งชี้หน่วยบรรจุภัณฑ์ที่รวมขึ้นเพื่อการขนส่งและ/หรือการจัดเก็บ ที่เกี่ยวข้องกับระบบโลจิสติกส์ (Logistics) โดยมีหน่วยของบรรจุภัณฑ์ได้ตามลักษณะการขนส่ง อาทิ พาเลท ตู้คอนเทนเนอร์ เที่ยวรถบรรทุก เป็นต้น ซึ่งเลขหมายลำดับบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งค่าหนึ่งอาจประกอบสินค้ามากหนึ่งชนิด โดยในแต่ละจุดของขนย้ายจะมีการจัดเก็บเลขหมายนี้ไว้ทำให้ทราบการมาถึงและจุดหมายปลายทางในการขนส่งในแต่ละบรรจุภัณฑ์ เช่น ท่าเรือ สถานีขนส่ง คลังสินค้า เป็นต้น โดยเลขหมาย SSCC ประกอบด้วยตัวเลข 18 หลักที่ประกอบด้วยเลขหมายบริษัทและรหัสอ้างอิงในการขนส่ง เพื่อใช้ในการอ้างอิงในระบบฐานข้อมูลที่บันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งนั้นๆ เช่น เลขหมาย GTIN (ชนิดสินค้า) เลขหมาย GLN (จุดหมายปลาย) จำนวน เป็นต้น
รูปที่ 5 การไหลของข้อมูลวัตถุดิบจากต้นน้ำจนถึงปลายทาง
เมื่อท่านผู้อ่านเข้าใจความหมายของเลขหมายทั้ง 3 ชนิดแล้ว ผู้เขียนจะกล่าวถึงการไหลเวียนของข้อมูลเลขหมายที่กล่าวมาในระบบการตรวจสอบย้อนกลับดังแสดงในรูปที่ 5 ซึ่งแสดงการไหลของข้อมูลวัตถุดิบจากต้นน้ำ (Upstream Suppliers) ผ่านกระบวนการผลิต (Production) จนถึงขั้นตอนการกระจายสินค้าสู่จุดหมายปลายทาง (Destination) โดยขอยกตัวอย่างเป็นกระบวนการผลิตน้ำอัดลมเพื่อง่ายต่อการอธิบายดังนี้
โรงงานผลิตน้ำอัดลมแห่งหนึ่ง ได้แก่ GLN 4 สั่งซื้อน้ำตาลจากโรงงานผลิตน้ำตาล 3 แห่ง ได้แก่ GLN1 GLN2 และ GLN3 เพื่อใช้ในการผลิต
มีการรับการขนส่งน้ำตาลทรายจากโรงงานผลิตน้ำตาลจำนวน 4 ครั้ง ได้แก่ SSCC1 SSCC2 SSCC3 และ SSCC4 เพื่อนำมาผลิตสินค้าอัดลมกระป๋อง ได้แก่ GTILN 1 จำนวน 2 ล๊อตการผลิต (lot) โดยล๊อตการผลิตแรกผลิตโดยใช้น้ำตาลของโรงงาน GLN1 และล๊อตการผลิตที่สองผลิตจากน้ำตาลของโรงงาน GLN2 และ GLN3
หลังจากนั้นนำน้ำอัดลมกระป๋อง GTILN 1 ที่ผลิตได้มาบรรจุลงกล่องๆ ละ 50 กระป๋องและกำหนดให้เป็นสินค้าเลขหมาย GTILN 2
จัดส่งสินค้าตามคำสั่งซื้อให้กับลูกค้า ได้แก่ GLN5 และ GLN6 โดยแบ่งการจัดส่งเป็น 3 ครั้ง ได้แก่ SSCC5 SSCC6 และ SSCC7
ซึ่งจากตัวอย่างที่อธิบายมาแล้วจะเห็นว่าในทุกขั้นตอนตั้งแต่การรับเข้าวัตถุดิบ การผลิตสินค้า และการจัดส่ง โรงงานผลิตน้ำอัดลมจะต้องมีการบันทึกข้อมูลในระบบฐานข้อมูลของตนเองโดยละเอียดเพื่อใช้ในการตรวจสอบย้อนกลับในกรณีเกิดปัญหากับสินค้าของตน ซึ่งในการปฏิบัติงานจริงนั้นจำเป็นจะต้องอาศัยเครื่องมือและระบบสารสนเทศมาช่วยในการปฏิบัติงาน ตัวอย่างเช่น บาร์โค๊ด RFID เพื่อช่วยในการกรอกข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลโรงงานเป็นไปอย่างรวดเร็วและถูกต้อง ถึงจุดนี้ผู้อ่านคงเข้าใจภาพรวมของการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับพอสังเขปแล้ว ซึ่งหากสังเกตรอบตัวจะพบข้อมูลเลขหมายเหล่านี้ในลักษณะของบาร์โค๊ดบนบรรจุภัณฑ์ และกล่องที่บรรจุสินค้า นอกจากนั้นยังมีเลขหมายล๊อตที่ยังไม่ได้กล่าวถึง เนื่องจากเป็นข้อมูลสำคัญที่ขาดไม่ได้ในกระบวนการผลิต ที่ใช้ในการเชื่องโยงข้อมูลวัตถุดิบและสินค้าที่ผลิต ซึ่งจะขอกล่าวในโอกาสต่อไป
แหล่งที่มาของข้อมูล www.gs1thailand.org, http://www.ean-int.org/
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
CT51 กรอบการวางแผนบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน: กุญแจสู่ความสำเร็จของการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์สำหรับการขนส่ง (Infrastructure Management Framework (IMF): Key Success in Transportation Logistics System Management)
ลิขสิทธิ์ สำนักโลจิสติกส์
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
โดย ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา
1 บทนำ
จากความต้องการในการที่จะพัฒนาประเทศไทยให้เป็นกลางการคมนาคมและขนส่งในกลุ่มอนุภาคลุ่มน้ำโขง (Greater Mekong Subreigon) ซึ่งประกอบด้วย และการเป็นประตู (Gateway) ในการขนส่งสินค้าระหว่างตะวันออก (ได้แก่ Asia Far East, USA-West Coast, ประเทศต่าง ๆ ในคาบสมุทร แปซิฟิก เป็นต้น) และตะวันตก (กลุ่มทวีปยุโรป, BIMSTEC, ตะวันออกลาง อัพริกา เป็นต้น) ดังนั้นการแข่งในด้านของศักยภาพและประสิทธิภาพรวมถึงการบูรณากรของระบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุนรวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่ช่วยในการขนส่ง (Infrastructure and Supporting System: ISS)[1] ดังแสดงในแผนภาพที่ 1
แผนภาพที่ 1 การวางแผนและบูรณาการระบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบสนับสนุน
อย่างไรก็ตามในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานซึ่งต้องใช้งบประมาณเงินทุนมหาศาล จึงต้องมีการวางแผนที่ดีทั้งในการวางแผนและบริหารงานการก่อสร้าง (Construction Planning & Management) การวางแผนการเงินของโครงการ (Financial Management) การวางแผนสำหรับการบำรุงรักษาหลังจากการก่อสร้าง (Maintenance Planning) การวางแผนในการพัฒนาต่อเนื่อง (Project Development) การเชื่องโยงกับโครงการอื่น ๆ (Project System Integration) ได้แก การวางแผนในการทำขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ การวางแผนในการบริหารโครงสร้างพื้นฐานและทรัพย์สิน (Infrastructure & Asset Management) เพื่อให้สามารถใช้โครงสร้างในมีประสิทธิภาพและเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในอนาคต
ดังนั้นก่อนที่จะมีการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ จะต้องมีการวางกรอบและแนวทางของโครงสร้างให้ดีและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องมีการนำ กรอบการบริหารจัดการบริหารโครงสร้างพื้นฐาน (Framework for Infrastructure Management) เข้ามาประยุกต์ใช้ซึ่งจะกล่าวในเนื้อหาต่อไป
2 ปัญหาสำคัญในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน
ในการบริหารจัดการระบบโครงสร้างพื้นฐานนั้นความยากง่ายและปัญหาส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับข้อมูลพื้นฐานภูมิหลังต่าง ๆ ซึ่งแสดงดังหัวข้อต่อไปนี้
2.1 การเสื่อมสภาพตามอายุของโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งเกิดจากเหตุดังนี้
- เกิดจากอายุ (Aging) ระดับการใช้งาน (Level of Service)
- การเสื่อมสภาพจากธรรมชาติ
- การออกแบบที่ไม่ได้คุณภาพ
2.2 ขาดการวางแผนการบำรุงรักษาที่ถูกต้อง
2.3 ขาดแคลนงบประมาณการบำรุงรักษา งบประมาณในการบำรุงรักษานั้นถือว่ามีความสำคัญไม่แพ้ งบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างซึ่งโดยมากงบประมาณการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานจะวางงบประมาณโดยใช้เงินประกันสัญญา แต่หลังจากนั้นในการซ่อมแซมและบำรุงจะต้องมีการของบประมาณใหม่และการของบประมาณใหม่ในการบำรุงรักษาจะต้องใช้เวลามากถึง 1 – 2 ปี หรือบางครั้งอาจจะมากกว่านั้น ซึ่ง ณ เวลาที่จะได้บำรุงรักษาจริง ๆ สภาพโครงสร้างพื้นฐานก็ได้มีการชำรุดมากกกว่าในขณะที่รายงาน และส่งผลให้ไม่สามารถใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.4 ขาดการรายงานสภาพของโครงสร้างพื้นฐานที่แท้จริง และอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นผลให้สภาพความเสียหายของโครงสร้างพื้นฐานเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว
2.5 ขาดการวางแผนในการบูรณาการโครงสร้างพื้นฐานอย่างมีระบบ ทั้งในด้านการก่อสร้างและการบูรณาการและการเชื่อมโยงระบบเข้าด้วย รวมถึงการประสานงานระหว่างผู้ดูแลรับผิดชอบระบบโครงสร้างพื้นฐานนั้น ๆ ด้วย
แผนภาพที่ 2 สภาพเส้นทางรถไฟของประเทศไทย
จากแผนภาพที่ 2 จะเห็นได้ว่าสภาพของทางรถไฟสายหลักของประเทศที่ใช้ทั้งการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารมีสภาพทรุดโทรม ดังแสดงใน แผนภาพที่ 2-1 การปล่อยให้โครงสร้างทางรถไฟชำรุดดังแสดงในตัวอย่างที่ 2-2 ซึ่งชำรุดเสียหาย ผลจากการปล่อยให้ชำรุดเสียหายจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมสูงบางครั้งเกือบเทียบเท่ากับการสร้างใหม่ และยากที่จะการบริหารจัดการ หรือไม่สามารถบริหารจัดการ ซึ่งก็คือการคิดโครงสร้างพื้นฐานที่เหลืออยู่เป็นซากและรองบประมาณที่จะก่อสร้างใหม่
3 หลักการวิเคราะห์ระบบโครงสร้างพื้นฐาน
จากปัญหาดังที่กล่าวมาในหัวข้อที่ 2 การที่โครงสร้างพื้นฐานขาดการบริหารจัดจะส่งผลกระทบต่ออายุการใช้งานของโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้การใช้งานมีอายุลดลง ก็หมายถึงว่ารัฐจะต้องนำเงินมาเพื่อสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานนั้น ๆ ใหม่แทนที่ของเดิน แทนที่จะนำงบประมาณไปสร้างหรือลงทุนในโครงสร้างพื้นส่วนต่อขยาบหรือโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนเพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นในระบบบริหารโครงสร้างพื้นฐานจะต้องมีกรอบแนวทางในการวางโครงการ ระยะเวลาการใช้งาน ระยะเวลาการบำรุงรักษาที่ถูกต้อง Stark and Nicholls[2] (1972) กรอบในการวิเคราะห์วางแผนการจัดการโครงสร้างพื้นฐานนั้นจะต้องคำนึงถึงหลักการในการแก้ไขปัญหาที่เป็นระบบมีกรอบการวิเคราะห์ซึ่งจะต้องคำนึงถึงปัจจัยในด้าน เทคนิคทางวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์ สังคม การเมือง นอกจากนั้นยังจะต้องมีการคาดการณ์ถึงสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดกับโครงสร้างพื้นฐาน และการแก้ไขปัญหา กระบวนการดังกล่าวสามารถแสดงได้ดังแผนภาพที่ 3
แผนภาพที่ 3 กรอบแนวคิดการวางแผนบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน
4 การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน
การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้โครงสร้างพื้นฐานใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ มีระดับการใช้บริการที่ดี ปลอดภัย ภายใต้มาตรฐานที่ยอมรับ ในงบประมาณที่จำกัด และทำให้โครงสร้างพื้นฐานมีอายุการใช้งานได้ตามการออกแบบตามหลักการของวิศวกรรทโยธา ดังแสดงในตารางที่ 1
อย่างไรก็ตามในการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานนั้นเป็นไปไม่ได้ที่จะมองโครงสร้างพื้นฐานในระบบเดียว เพราะในความเป็นระบบโครงสร้างพื้นฐานจะถูกเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย และแบ่งตามระดับความสำคัญ รวมถึงขอบเขตในการดูแลและเป็นเจ้าของเช่น สนามบิน ท่าเรือ ถนน โดยเฉพาะถนน ที่ได้ถูกแบ่งความรับผิดอยู่ในหลาย ๆ หน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และเอกชน (สัมปทาน) หรือ การแบ่งเป็นระดับนานาชาติ ระดับชาติ จนถึงระดับหน่วยงาน ดังแสดงในแผนภาพที่ 4
ตารางที่ 1 อายุการใช้งานโครงสร้างพื้นฐานตามมาตรฐานวิศวกรรมโยธา
Infrastructure Facility and Components |
Expected Service Life (Year) |
|
Airport |
· Building, Structure, |
Up to 150 years |
· Runway, Taxiways, Aprons |
Up to 50 years |
|
Bridge |
· Decks |
Up to 50 years |
|
· Substructure and Superstructure |
Up to 125 years |
Tunnel |
· For Road Traffic, Water |
Up to 200 years |
แผนภาพที่ 4 ขอบเขตอำนาจหน้าที่ในการการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน
นอกจากการให้ความสำคัญในการจัดสภาพความคงทนแข็งแรงหรือความสมบูรณ์ของโครงสร้างพื้นฐานแล้ว การจัดการการใช้โครงสร้างพื้นฐานก็ยังมีส่วนสำคัญที่จะทำให้โครงสร้างพื้นฐานมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งกระบวนการบริหารจัดการนี้ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1) การให้บริการ; และ ส่วนที่ของ 2) การสนับสนุนการให้บริการ ดังแสดงในแผนภาพที่ 5 จากแผนภาพ จะเห็นได้นอกเหนือจากการจัดการให้โครงสร้างพื้นฐานใช้ได้เต็มประสิทธิภาพในเรื่องของปริมาณการใช้โครงสร้างพื้นฐานแล้ว ยังจะต้องมีฝ่ายสนับสนุนที่ต้องให้ความสำคัญในการของการแก้ไปปัญหา การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทั้งในด้านปริมาณใช้ที่เพิ่มขึ้นและลดลง หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมทางการเมือง ดังแสดงไว้ในแผนภาพที่ 1 ในตอนต้น
แผนภาพที่ 5 ระดับการปฏิบัติในการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน
ที่สำคัญสำหรับประเทศไทยที่กำลังให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการพัฒนาโลจิสติสก์เพื่อเป็น Hub of Asia การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานนั้นยิ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมากโดยเฉพาะการวางแผนการขนส่งและกระจายสินค้าใน GMS และการเป็น Gateway เพื่อเชื่อการขนส่งและขนถ่ายสินค้าระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิก และอินเดียเพื่อส่งสิงค้าไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ดังนั้นนอกจากจะต้องมีการบริหารโครงสร้างพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพแล้วจะต้องมีการวางแผนบูรณาการระบบโครงพื้นฐานต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น สนามบิน ท่าเรือ ระบบขนส่งทางราง การขนส่งผ่านแดน โดยเฉพาะการทำ Multimodal Transportation เช่น และทำให้ การขนส่งสินค้ามีความคล่องตัว ซึ่งการจะทำให้การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการบูรณาการระบบโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญเข้าด้วยกันดังความต้องในการขนส่งสินค้าใน GMS จะต้องมีการวางแผนการจัดกลุ่มเพื่อให้ง่ายในการจัดการทั้งในด้าน เจ้าของ ผู้บริหาร และ ผู้ใช้โครงสร้างพื้นฐานดังแสดงในแผนภาพที่ 6 จึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุดและเพิ่มความสามารถในการแขงขันด้านโลจิสติกส์การขนส่งสินค้าของประเทศไทย
แผนภาพที่ 6 การบริหารจัดการโครงสร้างพื้นของเครือข่ายการขนส่งสินค้า
[1] Glen D’Este, 1996, An event-based approach to modeling intermodal freight system, International Journal of Physical Distribution & Logistics Management, Vol. 26(6), pp. 4 – 15.
[2] Stark, M.L., and Nicholls, R.L., 1972, Mathematical Foundation for Design: Civil Engineering System, McGraw-Hill, New York, 1972
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
CT51 กระบวนการ By Products และ Logistics ทางด้านขนส่งอ้อยออกจากโรงงาน
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันชัย รัตนวงษ์
ระบบ Supply Chain ของอ้อยและน้ำตาลในส่วนของการเก็บเกี่ยวและขนส่งอ้อยป้อนเข้าสู่โรงงานและกระบวนการผลิตอ้อยเป็นน้ำตาลเป็นอุตสาหกรรมการผลิตแบบต่อเนื่อง (Continuous Processes) นอกจากที่จะได้น้ำตาลออกมาล้วยังมีผลผลิตพลอยได้ (By Products) อีกเป็นจำนวนมาก เช่น โมลาส (Molasses) ไฟฟ้าชีวมวล ปุ๋ยชีวภาพ พาร์ติเคิลบอร์ด เป็นต้น นอกจากนั้นสิ่งที่ต้องพิจารณาต่อไปคือ Logistics ทางด้านขนส่งน้ำตาลทรายออกจากโรงงานจนถึงผู้บริโภค
น้ำตาลที่ได้จากกระบวนการผลิตถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์หลักของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ส่วนที่เหลือสามารถนำไปใช้ภายในโรงงานน้ำตาล หรือนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์อื่นได้อีก เรียกว่า ผลผลิตพลอยได้ (By-Products) ดังรูปที่ 1 ตัวอย่างของการนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้แก่
รูปที่ 1 ผลผลิตพลอยได้ (By Product) ของอ้อย
- น้ำจากอ้อย มีประมาณร้อยละ 50 ของน้ำหนักอ้อย ส่วนใหญ่นำไปใช้ในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการผลิตน้ำตาล
- กากตะกอนหม้อกรอง (Filter Mud) ประกอบด้วยน้ำ ไขมัน (Wax) และสารประกอบโปรตีน ส่วนใหญ่จะนำไปใช้เป็นปุ๋ยใส่ในไร่อ้อย หรือนำไปทำเป็นปุ๋ยหมัก หรือนำไปตากแห้งและนำไปเป็นอาหารสัตว์
ที่มา: โรงงานน้ำตาลมิตรผล
รูปที่ 2 การจัดเก็บโมลาสที่มีประสิทธิภาพ
- ผลิตไฟฟ้าชีวมวล (Biomass Power) โรงงานน้ำตาลทั้งหมดมีการใช้กากอ้อยในการผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในกระบวนการผลิตน้ำตาล และโรงงานส่วนใหญ่มีเหลือเพียงพอกับกระบวนการผลิตน้ำตาล และส่วนที่เหลือขายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในโครงการ “ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP)” กากอ้อยหรือชานอ้อยเป็นชีวมวลที่ได้จากโรงงานน้ำตาล โดยอ้อย 1 ตัน เมื่อนำมาผ่านกระบวนการแปรรูปจะได้น้ำตาลทรายประมาณ 100 - 121 กิโลกรัม และจะใช้พลังงานไฟฟ้าในกระบวนการประมาณ 25 - 30 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ใช้ไอน้ำ 0.4 ตัน ในกระบวนการแปรรูปจะมีกากหรือชานอ้อยเป็นวัสดุเหลือจากกระบวนการประมาณ 290 กิโลกรัม ดังรูปที่ 3 ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 100 กิโลวัตต์-ชั่วโมง
(บทความจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน, http://www.eppo.go.th/admin/history/renewable.html)
ที่มา : โรงงานน้ำตาลมิตรผล
รูปที่ 3 การผลิตไฟฟ้าชีวมวลจากกากอ้อย
Logistics ทางด้านขนส่งสู่ผู้บริโภค
ส่วนใหญ่โรงงานอุตสาหกรรมน้ำตาล จะมีกลุ่มของลูกค้า 3 ประเภทหลัก คือ
โควตา ข. เป็นน้ำตาลทรายดิบ ที่ผลิตเพื่อการส่งออกผ่านบริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ
โควตา ค. เป็นน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาว หรือน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ เพื่อส่งออกไปต่างประเทศ ราคาที่ใช้จำหน่ายในส่วนนี้จะใช้ราคาอ้างอิงจากตลาดโลกและบวกส่วนเพิ่มของค่าดำเนินการ (Premium)
ลูกค้าต้องทำการติดต่อโดยตกลงกันในเรื่องปริมาณการซื้อขายและการชำระเงิน แล้วจึงจัดสรรโควต้าน้ำตาลทรายให้กับลูกค้าแต่ละรายให้ถูกต้องตามโควต้าที่ตนเองมีอยู่ เมื่อมีการตกลงซื้อขายแล้วจะต้องมีการทำสัญญาและชำระเงินสดล่วงหน้า
บริษัทจะเป็นตัวกลางในการติดต่อประสานงานกับลูกค้าในการเข้าไปรับน้ำตาลทรายที่โรงงานตามโควต้าของลูกค้าแต่ละราย โควต้าน้ำตาลทรายเหล่านี้จะถูกควบคุมโดยคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล ทำให้ในการขนย้ายน้ำตาลทรายแต่ละครั้งจะต้องมีการขออนุญาตและมีใบอนุญาตขนย้ายน้ำตาล (ก.น.2) ประกอบทุกครั้งในการเข้าไปรับน้ำตาลทรายที่โรงงาน
ลูกค้าในประเทศที่ซื้อเพื่อไปใช้ในอุตสาหกรรมจะนำรถบรรทุกสิบล้อ รถบรรทุกสิบแปดล้อ หรือจะเป็นรถที่ออกแบบสำหรับการขนน้ำตาลทรายโดยเฉพาะ เข้ามารับน้ำตาลทรายที่โรงงาน โดยอาศัยสายพานลำเลียงภายในคลังสินค้า ส่งมาที่รถบรรทุก ดังรูปที่ 4
รูปที่ 4 สายพานลำเลียงภายในคลังสินค้าส่งมาที่รถบรรทุก
ในส่วนการส่งออกน้ำตาลไปต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นน้ำตาลทรายดิบจะใช้การขนส่งหลายรูปแบบ (Multi-modal) โดยตัวแทนจำหน่ายจะส่งรถบรรทุกเข้ามารับน้ำตาลทรายที่โรงงาน การบรรจุน้ำตาลทรายที่จัดส่งจะมีลักษณะเป็น Bulk รถบรรทุกเหล่านี้จะไปที่ท่าเรือกรุงเทพฯ (คลองเตย) หรือ ICD (Inland Container Depot) ลาดกระบัง เพื่อส่งไปที่ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งจัดสรรพื้นที่สำหรับตู้ขนสินค้าน้ำตาลทรายโดยเฉพาะให้อยู่ในพื้นที่ A4 ของท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อที่จะสะดวกในการควบคุมดูแล
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward