iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
----------------------------------------
@ ลงข้อมูล / เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ
Marketing การเขียน Proposal งานวิจัยการตลาด (market research)
Marketing การเขียน Proposal งานวิจัยการตลาด (market research)
บทที่ 1
- ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
- เขียนคำถามในการวิจัย แปลงวัตถุประสงค์จากประโยคบอกเล่าเป็นประโยคคำถาม ต้องสอดคล้องกับชื่อเรื่องในการวิจัย
- วัตถุประสงค์เขียน 3 ข้อ สอดคล้องกับชื่อเรื่องและคำถามในการวิจัย
- เขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
บทที่ 2
- กรอบความคิด โดยเขียนแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องใต้กรอบแนวคิด
- ทฤษฎี มีผู้อ้างอิงจำนวน 3 คน พร้อมแนบเอกสารข้างท้าย
บทที่ 3
- ระเบียบการวิจัย เช่น เชิงสำรวจ เชิงคุณภาพ เชิงทดลอง วิจัย R&D
- เขียนเป็น Flowchart กระบานการวิจัย
.
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม-------------------------------------------------
Marketing สร้างนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Marketing Coaching Guideline)
คู่มือสร้างนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Marketing Coaching Guideline) จัดทำขึ้นโดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) กระทรวงพาณิชย์ และ สานักงานศูนย์วิจัยและให้คาปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นคู่มือในการพัฒนาศักยภาพเชิงลึกด้านการตลาดของผู้ประกอบธุรกิจ พร้อมแนะแนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหาทางด้านการตลาดให้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจ
คู่มือเล่มนี้มุ่งเน้นในเรื่องของการพัฒนาให้คำปรึกษาเชิงลึก แนวทางการวิเคราะห์จุดเด่นทางด้านการตลาด และขบวนการจุดบกพร่องที่ทำให้เป็นจุดที่ติดขัดในธุรกิจ (Bottle Neck Process) โดยเฉพาะจุดบกพร่องทางด้านการตลาดทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงการวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนารูปแบบการทำธุรกิจ เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางการค้า ตามความเหมาะสมของผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายด้วยการนำเสนอแนวทางการให้คำปรึกษาอย่างเป็นขั้นตอนในรูปแบบที่เข้าใจง่าย
1. บทนำ
- ความคิดสร้างสรรค์ คือ การคิดสิ่งใหม่ / ที่มา Theodore Levitt
- นวัตกรรม คือ การทำสิ่งใหม่ / ที่มา Theodore Levitt
- นักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ คือ นักการตลาดที่มีอัตลักษณ์โดดเด่นมุ่งสร้างความสำเร็จด้วยนวัตกรรมสมัยใหม่
2. สร้างนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ แนวทางการสร้างทักษะของนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์
3. สร้างนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ แนวทางการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
4. สร้างนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ แนวทางการพัฒนาธุรกิจ
“การตลาด” คือ ศิลปะของการทำธุรกิจ ดังนั้น การที่จะหมุนฟันเฟืองของธุรกิจให้ถึงจุดหมายปลายทาง จงสร้างสรรค์หนทางที่ดีที่สุดเพื่อหมุนฟันเฟืองนั้นให้ใกล้ปลายทางได้มากที่สุด
-------------------------------------------------
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดตามได้ที่ลิงค์ด้านล่าง
สร้างนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Marketing Coaching Guideline)
-------------------------------------------------
คู่มือสร้างนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Marketing Coaching Guideline) จัดทำขึ้นโดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) กระทรวงพาณิชย์ และ สานักงานศูนย์วิจัยและให้คาปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU-RAC) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นคู่มือในการพัฒนาศักยภาพเชิงลึกด้านการตลาดของผู้ประกอบธุรกิจ พร้อมแนะแนวทางสำหรับการแก้ไขปัญหาทางด้านการตลาดให้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจ
.
ที่มา กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (DBD) กระทรวงพาณิชย์
ภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------
Marketing 7 สิ่งสำคัญในการวิจัยการตลาด (7 Important Market Research)
การวิจัยการตลาด ตามนิยามของ Philip Kotler ได้ให้นิยามหมายถึง การดำเนินงานอย่างมีระบบเกี่ยวข้องกับการออกแบบ การเก็บรวบรวม การวิเคราะห์ข้อมูล และการรายงาน มีความสำคัญต่อการทำธุรกิจมาก เพราะผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการจะต้องตัดสินใจดำเนินการธุรกิจได้อย่างไร ควรต้องอาศัยข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง มาประกอบการตัดสินใจกำหนดนโยบาย วางแผนจัดองค์การ การกำหนดขั้นตอนปฏิบัติตามแผน และการควบคุมการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้
การวิจัยการตลาดมีข้อดี
- ช่วยชี้แนวทางการผลิตสินค้าหรือบริการ ทำให้ผู้ผลิตรู้ว่าเขาควรผลิตสินค้าอะไรเป็นจำนวนเท่าใด
- ช่วยชี้แนวทางการกำหนดราคาที่เหมาะสม ทำให้ผู้ผลิตรู้ว่าราคาที่เหมาะสมควรเป็นเท่าไร
- ช่วยชี้แนวทางการจัดจำหน่าย ทำให้ผู้ผลิตรู้ว่าจะจัดจำหน่ายอย่างไร ช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสมควรใช้ช่องทางใด
- ช่วยชี้แนวทางการส่งเสริมการตลาด ทำให้ผู้ผลิตรู้ว่าควรส่งเสริมการตลาดอย่างไรควรสร้างสิ่งดึงดูดใจในตัวสินค้าเพื่อให้เกิดการซื้ออย่างไร เมื่อไรเวลาใด
- ทำให้ผู้ผลิตทราบผลการดำเนินงานยอดขายส่วนครองตลาด ต้นทุนและกำไร
- ช่วยให้ผู้ผลิตทราบสารสนเทศเกี่ยวกับการซื้อการขายและความต้องการสินค้า ทำให้ทราบแนวโน้มยอดขายสินค้าแต่ละชนิดมีประโยชน์ในการพยากรณ์ยอดขาย และกำหนดอาณาเขตขาย
- การวิจัยผลิตภัณฑ์ช่วยชี้แนวทางการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์
- การวิจัยโฆษณาช่วยให้สามารถสร้างอิทธิผลต่อความรู้สึกนึกคิดของผู้บริโภคได้
- การวิจัยการส่งกำลังบำรุงทางการตลาดช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้
- ช่วยในการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานขาย
การวิจัยการตลาดที่ดีควรมีสิ่งสำคัญ 7 ข้อ คือ
1. หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) การวิจัยการตลาดที่มีประสิทธิผลต้องใช้หลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ 4 ประการคือ
· มีการสังเกตอย่างระมัดระวัง (Careful Observation)
· มีการกำหนดสมมติฐาน (Formulation of Hypothesis)
· มีการคาดคะแนนผลลัพธ์ล่วงหน้า (Prediction)
· มีการทดสอบ (Testing)
2. ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ (Research Creativity) การวิจัยการตลาดที่ดีสามารถช่วยให้นักการตลาดเกิดการพัฒนาแนวความคิดใหม่ในการแก้ไขปัญหาทางการตลาด
3. ใช้วิธีการที่หลากหลาย (Multiple Methods) ผู้วิจัยการตลาดที่ดีควรใช้วิธีการวิจัย 2-3 วิธี เพื่อให้ผลการวิจัยเกิดความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ไม่ควรไว้วางใจกับการวิจัยวิธีใดวิธีหนึ่งเพียงวิธีเดียว
4. ใช้โมเดลและข้อมูลที่สอดคล้องกัน (Interdependence of Models and Data) ผู้วิจัยการตลาดที่ดีพึงระลึกไว้เสมอว่าจะต้องใช้โมเดลและข้อมูลที่สอดคล้องสัมพันธ์กัน
5. คุณค่าและต้นทุนของสารสนเทศจากงานวิจัย (Value and Cost of Information) ผู้วิจัยการตลาดที่ดีจะเปรียบเทียบคุณค่า (ประโยชน์) ของสารสนเทศจากงานวิจัยจะต้องคุ้มกับต้นทุนเพื่อให้ได้สารสนเทศนั้นมาต้นทุนการวิจัยคำนวณออกมาได้ง่าย ในขณะที่คุณค่าของงานวิจัยยากต่อการคาดคะเนคุณค่าของงานวิจัยขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือ และความเที่ยงตรงของผลการวิจัย และความเต็มใจของฝ่ายจัดการที่จะยอมรับและปฏิบัติตามผลการวิจัยนั้น
6. การตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อสมมติฐานที่เหมาะสม (Healthy Skepticism) ผู้วิจัยการตลาดต้องศึกษาสมมติฐานที่กำหนดโดยผู้จัดการการตลาดเพราะในบางกรณีอาจไม่ถูกต้องเสมอไปเนื่องจากไม่ได้
วิเคราะห์ข้อมูลอย่างลึกซึ้งมาก่อน
7. การวิจัยการตลาดต้องคำนึงถึงจริยธรรม (Ethical Marketing) ผลการวิจัยการตลาดต้องมีประโยชน์ต่อนักการตลาดและผู้บริโภค ดังนั้นการใช้ผลการวิจัยต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม
----------------------------------------
BA 5 Steps to Market Research / 5 ขั้นตอนในการวิจัยตลาด
Marketing 7 สิ่งสำคัญในการวิจัยการตลาด (7 Important Market Research)
Marketing การแบ่งกลุ่มและกำหนดเป้าหมาย (Segmentation Targeting Positioning)
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
----------------------------------------
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------
COVID-19 กับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
สถาณการณ์ COVID มีผลกระทบต่อตลาดอาหารในโลกมาก นับตั้งแต่เราเห็นทิศทางของผู้บริโภคแล้วว่าการบริโภคอาหารพวกมังสวิรัตน์เป็นเทรนที่มีการเติบโตของตลาดมากขึ้นต่อเยื่องทั้งในตลาดอเมริกาและยุโรปรวมถึงเอเชียด้วย ส่วนตัวของสภาพหลัง COVID มาแล้วก็จะเห็นว่ามีการเติบโต ของกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารที่มีความต้องการพวกโปรตีนสารอาหารที่ครบ เพราะว่าคนยังรู้สึกกังวลในเรื่อง COVID อยู่และในสภาวะแบบนี้ คนก็จะมองว่า จะกินอะไรให้เรามีภูมิต้านทาน ที่แข็งแรง เพราะฉะนั้นโปรตีนก็เลยเป็นผลิตภัณฑ์ อันนึงในกลุ่มนี้ที่มีการเติบโตของกลุ่มอาหารของโลก
ผลกระทบ COVID-19 ต่ออุตสาหกรรมอาหารในเอเชีย ก่อนนี้ผู้ผลิตหลักใหญ่เอเชียจะอยู่ที่จีนหรือไต้หวัน แล้วก็ในกลุ่มของอาเซียนเอง ก็เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่ส่งออกไปในทั้งต่างประเทศด้วย ที่นี่มันก็จะมีเรื่องสิทธิ เรื่องของภาษีบ้าง ที่ทำให้กระทบกับการส่งออกของในกลุ่มของอาเซียนบ้างนะคะ แล้วก็แต่ว่า เนื่องจาก COVID เองก็จะมีภาวะของการที่ต้องการ การควบคุม ต้องการมาตรฐาน ในการผลิตอาหารให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น
ผลกระทบ COVID-19ต่ออุตสาหกรรมอาหารของไทย
ของไทยต้องบอกว่าตัวเลขส่งออกของโรงงานอาหารเองก็จะน้อยลงไปกว่าปีก่อนๆนี้เมื่อเทียบกับประเทศของเวียดนาม หรือว่าในอินโดนีเซีย อย่างที่บอกตอนต้น ว่าเรา เจอปัญหาเรื่องลดหย่อนทางภาษีค่อนข้างเยอะ เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการ ของเมืองไทยเอง ก็ต้องแข่งขันในเรื่องต้นทุน ให้ได้กับในกลุ่มของเวียดนาม อินโดนีเซีย
แต่ว่าในกลุ่มของซีฟู้ด จะเป็นตัวที่ได้ผลกระทบหลัก เป็นเป็นกลุ่มแรก ผู้ประกอบการ ทั้งซีฟู้ดของเมืองไทย ก็จะหันไปทางผลิตภัณฑ์ อันอื่นนอกจากกุ้ง หรือปลา ที่ตัวเองผลิตอยู่เพื่อเป็นทางรอดของโรงงานของตัวเอง
ผลกระทบ COVID-19 ต่ออุตสาหกรรมอาหารโลก
ต้องบอกว่าค่อนข้างไปในทางเดียวกัน คือถ้าเรามองว่าอุตสาหกรรมอาหาร ของต่างประเทศ เขาจะใช้เครื่องจักรในการผลิตค่อนข้างมากแล้วก็เป็นลายออโต้ ค่อนข้างมาก แต่ว่าถ้าเกิดในเอเชีย หรือในประเทศไทย ในข้อใดใช้เป็นแรงงานคน ค่อนข้างเยอะ เพราะฉะนั้นในการมาตรฐาน ในการควบคุมเอง ของต่างประเทศ ที่ใช้ เครื่องจักรในการควบคุมมันก็จะคุมได้มาตรฐานความปลอดภัยได้ค่อนข้างสูงกว่า ในประเทศไทยแต่ว่าในอาเซียนแล้ว ก็ถือว่ามาตรฐานต่างๆ ที่เราผ่านมา ก็ยังได้รับการ รับรองจากต่างประเทศค่อนข้างเยอะ แต่ว่าผู้ประกอบการขาย ก็จะค่อนข้างต้อง มีการป้องกันจากแรงงานของตนเองเป็นหลัก แต่ก่อนคนอาจจะมอง ถึงสิ่งแวดล้อม ขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่ง เพราะว่าเทรนเเรื่องสิ่งแวดล้อมมันมาหลายปีแล้ว
แต่เนื่องจากมี COVID เทรนด์เรื่องความปลอดภัยจะขึ้นมามากกว่า เรื่องสิ่งแวดล้อม ตอนนี้บางทีก็จะมองว่าเรายอมเสีย Packaging ในการที่ทำให้ปกป้องอาหาร เราให้ สะอาด มากขึ้น ดีกว่าการไปกันที่ลดตัวปัญหาด้าน Packaging เพื่อสิ่งแวดล้อม
พฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภคภายในประเทศ หลังสถานการณ์ COVID-19
ถ้าในประเทศ ก็จะมองว่าผู้บริโภคเปลี่ยนเนื่องจาก มีการ work from home ก็จะเน้นการที่ทำกับข้าวกินเองที่บ้าน รู้สึกว่าการได้ทำอาหารกินเอง เป็นปลอดภัย ต่อตนเองแล้วก็ต้องบอกว่าอีกอันนึงที่เทรนของทั่วโลกก็ถือว่าการกินอาหารแล้ว
ก็ถ่ายรูปลงโซเชียล เพราะฉะนั้น ทุกคนก็จะมองว่าในวันนี้ ฉันทำอาหารแล้ว ก็ถ่ายรูป ลงโซเชียล ก็คือจะเน้นไปทางด้าน Social ด้วย แล้วก็บางคนก็จะบอกมาว่าฉันทำไมถึงเมนูนี้เกิดขึ้นจากอะไร มีเรื่องราวในการที่จะ
create เมนูซึ่งเป็น signature ของตนเองขึ้นมาบ้าง ซึ่งในกลุ่มของประเทศไทย กลุ่มของพวกคอนดิเมนต์หรือว่าเครื่องปรุงรสต่างๆ ก็จะมีการโตของตลาดมากขึ้น เหมือนกัน เพราะว่าเหมือนกับทุกคนก็อยากเป็นแม่บ้าน ส่วนอาหารในกลุ่มที่บางคนที่ไม่สะดวกในการทำงานบ้าน นิยม delivery ก็เป็น Food delivery ก็ section นั้น เขาก็ยังใช้พวกเครื่องปรุงในการทำอยู่แต่ว่าในอนาคต ถ้าเกิดคนกลับมาทำงานในสภาวะปกติแล้วเลยมองว่าตลาดอาหารพวกเป็น เตรียมมาเป็นแพ็คเสร็จแล้วหรือแพ็คสำเร็จรูปแล้วแค่อุ่นเองตลาด segment นั้นก็จะเป็นอีกกลุ่มนึงที่จะโตขึ้นในอนาคต
พฤติกรรมของกลุ่มผู้บริโภคต่างประเทศ หลังสถานการณ์ COVID-19
ตอนนี้ต้องบอกว่าในเรื่องโลจิสติกส์ของการเดินทางระหว่างประเทศใดประเทศหนึ่งก็ จะเจอว่ามีปัญหาในการในการนำเข้าสินค้าบางอย่างของประเทศไทยในโรงงานใน ประ เทศไทยจะมีการนำเข้าโดยผ่านทางเรือ ก็ผ่านทางแอร์ ก็คือนั่งเครื่องบินมา แต่ในปัจจุบันนี้การที่เราจะชิปของผ่านทางแอร์ ทำให้มันเกิดความลำบากมาก เพราะว่าไฟท์บินจากเดิมมีทุกวัน ตอนนี้มันก็อาจจะเป็นอาทิตย์ละครั้ง ระยะทางในการสั่งซื้อ ในการจัดการวัตถุดิบ ก็จะมีผลในการในการนำเข้าวัตถุดิบต่างๆ พอผ่านวัตถุดิบเข้ามาแล้วการตรวจนำเข้าของด่านของการของประเทศ ไทยเองอยู่แต่ละประเทศก็จะมีการตรวจที่เข้มข้นมากขึ้นเพราะป้องกันการปนเปื้อนของ COVID - 19
ธุรกิจ Delivery มีบทบาทสำคัญในสถานการณ์ COVID - 19
อย่างสมมุติว่าเราอยู่ที่เมืองไทยเราจะเห็นว่าเรามีมอเตอร์ไซค์มี Grab Bike เพราะฉะนั้นในการสั่ง เดลิเวอร์รี่ของเมืองไทย มันก็จะง่าย ค่าขนส่งก็จะน้อย อาจจะไม่กี่สิบบาท ในการขนส่ง และว่าถ้าอยู่ในต่างประเทศแล้ว การขนส่งก็จะไม่ค่อย มี เขาไม่สามารถเรียกเดลิเวอรี่แบบบ้านเราได้ สะดวกขนาดนั้น เพราะฉะนั้นคนก็จะส่วนมากก็จะขับรถไปซื้อสินค้าเป็นอาทิตย์ไป แล้วก็ออกมา ก็เหมือนกับ delivery ของในกลุ่มของ Quick service Restaurant ร้านอาหาร ของต่างประเทศ ก็จะทำได้ไม่ดีเท่ากับของเมืองไทย ฉะนั้นจะเห็นว่าภาพของร้านอาหารในต่างประเทศบางครั้งทำ Take Away อะไรก็จะไม่ได้ ประสบความสำเร็จมากเหมือนอย่างที่เมืองไทยทำ Take Away
ธุรกิจ Delivery ประสบความสำเร็จในไทยมากกว่าในยุโรป
จริงๆแล้วถ้าบอกว่าในยุโรปเอง ส่วนมากก็จะมาทำอาหารเล็กๆน้อยๆ ก็จะซื้อวัตถุดิบ เหมือนกับวันนี้ ทำอะไรก็เป็นมื้อๆไปแล้วก็ Cooking เล็กๆน้อยๆที่บ้าน หรือบางครั้ง ก็ซื้อ เป็นอาหารแล้วก็อุ่นเข้าเตาอบเลยก็เสร็จ ก็คือส่วนมากก็จะเน้นแบบนั้น มากกว่า แต่ว่าของเมืองไทย ต้องบอกว่าเราซื้อข้าวถุงข้าวแกงถุงอะไรอย่างนี้ เป็นอาหารที่เรา กินกันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นการกิน delivery หรือการทำอาหารของไทยค่อนข้างแตกต่างกันต่างประเทศเขาจะรู้สึกว่าการ กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ เสิร์ฟ ทำเสร็จเสิร์ฟกิน แล้วรู้สึกว่ามัน จะเป็นดีต่อสุขภาพ แต่ของไทยรู้สึกว่าซื้อของมา delivery กินแล้วมันไม่ค่อยร้อนมาก ก็ยังโอเค ก็จะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง
พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ในกลุ่ม VEGAN
กระแสของการกินอาหารมังสวิรัติหรือการกิน vegan มีมานานแล้วของในต่างประเทศ เพราะว่าคนเหล่านี้มีความเชื่อว่าการกินอาหารจากพวกผลิตภัณฑ์จากพืชจะช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก แล้วก็ในโครงการของสหประชาชาติเองในเรื่องของ Food Security ก็คือโปรเจคนี้จะเป็นการที่เป็นโครงการที่เพื่อเป็นการมั่นคงทำให้อาหารมีพอสำหรับ ประชากรในโลกดังนั้นเขาก็เลยมองว่าถ้าเกิดเราจะต้องผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงประชากรทั้งโลกแต่การที่ เราผลิตอาหารจากเนื้อสัตว์หรือเลี้ยงวัวมาตัวนึงต้องใช้เวลาตั้งหลายเดือนกว่าจะได้ วัว 1 ตัว แล้วก็ต้องใช้พลังงาน เยอะเหมือนกัน ที่เราอาศัยการทำปศุสัตว์เพียงอย่างเดียวในการที่จะให้สารอาหารพวกโปรตีนกับ ประชากรทำก็จะไม่พอมองถึงการเอาอาหารประเภทโปรตีนจากพืชเข้ามา
ฉะนั้นกระแสพวกนี้ก็จะเริ่มมาจากในยุโรป ก็ในยุโรปเองก็จะมีการมองว่า ในการกินพวก อาหารจากพืชก็จะดีต่อสุขภาพเขาจะมีการกินที่หลายๆ แบบ บอกว่าบางทีก็คุมเน้นไป เลยว่าไม่มีผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์เลยเป็น Pure vegan เลย หรือก็จะมีแบบเป็นไข่เป็นนมได้บ้างแต่ว่าถ้ามาถึงในกลุ่มของเอเชียแล้วเอเชียจะมีผลทางด้านศาสนามาอยู่แล้วว่านัดของคนไทยเราจะมองเรื่องฆ่าสัตว์ตัดชีวิตหรือมองว่า เราไม่ได้ไปฆ่าชีวิตเค้าเพราะฉะนั้นในการกินของคนไทย หรือคนจีนเอง หรือเทศกาลกินเจเอง ก็มีผลทำให้ผลิตภัณฑ์พวก vegan หรือ Plant based เติบโตขึ้นในตลาดของเอเชีย แล้วก็อีกหลักนึง ก็คือว่าตอนนี้สิ่งแวดล้อม จะเป็นกลับ มามีผลอีกอันนึงที่ทำให้คนต้องมามองถึงการกินเพื่ออย่างยั่งยืนด้วย
-------------------------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
การตลาด (Marketing) รวมข้อมูลเพิ่มเติม
-------------------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward