iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
CT51 การพัฒนาระบบศุลกากร และระบบ การค้าไร้เอกสาร: กรณีศึกษา ประเทศสิงคโปร์ (Development e-Custom & e-Trading System: Case Study Singapore)
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ผู้เขียน ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา
1 บทนำ
เนื่องจากระบบ Paperless เป็นระบบที่มีความสำคัญมากยิ่งขึ้นในปัจจุบัน อีกทั้งยังเพิ่มประโยชน์ให้กับองค์กรหลายๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มความรวดเร็วในการส่งเอกสารการลดการต้นทุนของการใช้ทรัพยากรแรงงาน และการลดต้นทุนการประกอบการต่าง ๆ ที่จะต้องใช้คนในการเดินเอกสาร ดังนั้นการที่องค์กรหรือบริษัทต่างๆ จะเริ่มนิยมหันมาให้ความสนใจกับระบบ Paperless นี้เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวกันมากแล้วการและยังเป็นการช่วยลดการใช้กระดาษในการทำงานและในชีวิตประจำวัน เพื่อความประหยัด สะดวก รวดเร็ว และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างอย่างคุ้มค่า อันจะนำไปสู่การสงวนรักษาทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานระบบการให้บริการผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้องใช้เอกสารในส่วนที่ต้องใช้สำแดงกับเจ้าหน้าที่ในเบื้องต้น เช่น ใบขนสินค้าและบัญชีราคาสินค้า (Invoice) เป็นต้น เราควรมีการเปลี่ยนมาใช้ระบบ Paperless เพื่อช่วยลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากการใช้ประมาณกระดาษที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากการลดปริมาณการใช้กระดาษจะช่วยให้องค์กรมีต้นทุนที่ลดลงแล้ว ยังสามารถเพิ่มความสามารถในการแข่งของประเทศ สามารถเห็นได้จาก การพัฒนาด้าน ประเทศจีนที่มุ่งเน้นในการพัฒนาระบบ e-Customs, e-Port, และ e-Adminของประเทศจีน และ ความสำเร็จของประเทศสิงคโปร์ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบ IT เพื่อให้เป็น Intelligent Island
2 ระบบศุลกากรไร้เอกสารคืออะไร
ระบบการให้บริการผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้องใช้เอกสารในส่วนที่ต้องใช้สำแดงกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรในเบื้องต้น เช่นใบขนสินค้าและบัญชีราคาสินค้า (Invoice) เป็นต้น และมีการนำเทคโนโลยี PKI (Public Key Infrastructure) และการลงDigital Signature (Digital Signature) มาใช้ แทนการลงลายมือชื่อในกระดาษ พร้อมทั่งมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานใหม่ (Process Redesign) เพื่อลดขั้นตอนการให้บริการด้วย ซึ่งจะสามารถทำให้ลดความซ้ำซ้อนในการบันทึกข้อมูล[1] นอกจากนั้น Mr. YounKyong Kang, Deputy Director, E-Business Policy Division, Ministry of Commerce, Industry & Energy, Republic of Korea ได้กล่าวในการประชุม APEC Initiative on Paperless Trade: Asia-Pacific Economic Cooperation ที่เมือง Geneva, Switzerland, 2006 ว่า ระบบ E-Custom (paperless) จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริการจัด และเพิ่มความสามารถในการแข่งขั้น ทั้งภาคธุรกิจ (ธนาคาร, บริษัทประกันภัย, ตัวแทนผู้ขนส่งสินค้า ฯ) และภาครัฐ (กรมศุลกากร กระทรวงพาณิชย์ ฯ) ดังนี้
อย่างไรก็ตามหัวใจในการทำระบบศุลกากรไร้เอกสารนั้นก็คือระบบความปลอดภัยในการส่งเอกสารและการลงนามเอกสาร ดังนั้นในการติดต่อกับศุลกากรด้วยระบบไร้เอกสารจะนั้นจะต้องประกอบด้วย องค์ประกอบที่สำคัญ 2 องค์ประกอบด้วยกัน คือ 1) Public Key Infrastructure (PKI) System; และ 2) Digital Signature
2.1) Public & Private Key Infrastructure (PKI)
Public Key Infrastructure (PKI) คือระบบป้องกันข้อมูลในการสื่อสารผ่านระบบ Paperlessโดยมีหลักการทำงานดังนี้
PKI จะใช้ กุญแจคู่ (Key pairs) ในการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยกุญแจคู่นี้ประกอบด้วยกุญแจส่วนตัว (Private Key) และกุญแจสาธารณะ (Public key) กุญแจทั้งสองจะได้ มาพร้อมกับใบรับรองที่ CA ออกให้ การะบวนการในการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง Public Key & Private Key โดยผ่านการรับรับรอง CA และในการส่งผ่านข้อมูลจะมีการส่งผ่านไปที่ Registration Authority (RA) ได้แสดงดังแผนภาพที่ 1
โดยการเข้ารหัสด้วยกุญแจหนึ่งจะต้องถอดรหัสด้วยอีกกุญแจหนึ่งเท่านั้น กุญแจส่วนตัว (Private key) จะเก็บไว้ที่เจ้าของใบรับรองและกุญแจสาธารณะ (Public key) นั้น CA จะแจกจ่ายให้กับผู้อื่นเพื่อจะได้นำไปใช้ติดต่อกับเจ้าของใบรับรอง ด้วยหลักการของ PKI และการรับรองการใช้กุญแจคู่จาก CA ทำให้การสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีความปลอดภัยและเชื่อถือได้ โดยที่ CA จะออกให้โดย Certification Authority เป็นองค์กรที่เป็นที่เชื่อถือได้ ที่ทำหน้าที่เป็นบุคคลที่สามดำเนินการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ให้กับผู้ทำธุระ กรรมอิเล็กทรอนิกส์
แผนภาพที่ 1 แผนภูมิแสดงระบบป้องกันข้อมูล Paperless
2.2) Digital Signature
อย่างไรก็ตามในระบบ Paperless สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ระบบความปลอดภัยในการรับส่งเอกสาร และที่สำคัญที่สุดก็คือ การรับรองเอกสาร ดังนั้นการรักษาความปลอดภัยของการส่งข้อมูลในระบบ Paperless ซึ่ง SUN Microsystems[2] ได้อธิบายถึงปัจจัยพื้นฐานในการความเรื่องความปลอดภัยของระบบดังนี้ การอนุญาตให้บุคคลผู้มีสิทธ์ในการเข้าใช้ระบบ (User Authorisation) การควบคุมการเข้าถึง (Access Control) การรักษาความลับ (Confidentiality) ความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล (Integrity) และการป้องกันการปฏิเสธความรับผิด (Non - repudiation) นั้น จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการรักษาความปลอดภัย ซึ่งเทคโนโลยีที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ การลงลายมือชื่อดิจิตอล (Digital Signature)
Digital Signature เป็นDigital Signature สำหรับการลงDigital Signatureกำกับข้อความที่ต้องการส่งผ่านระบบ Paperless ผู้ส่งข้อความจะใช้ Private key ของตนในการลง Digital Signature เป็นการรับรองว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งมานั้นเป็นข้อมูลที่ส่งโดยผู้ส่งที่อ้างไว้จริง และ ใช้Digital Signatureนี้ในการตรวจสอบข้อมูลว่ามีการปลอมแปลงในระหว่างขั้นตอนการส่งหรือไม่ เช่น การลงDigital Signatureกำกับ e-paper ซึ่งผู้ส่งจะใช้กุญแจส่วนตัว (Private key) ของตนทำการลงDigital Signatureกำกับe-paperฉบับนั้น และ ผู้รับจะสามารถตรวจสอบความถูกต้องของลายมือชื่อดังกล่าวโดยใช้Public Key ของผู้ส่ง ซึ่งลายมือชื่อของผู้ส่งจะถูกรับรองด้วยองค์กรออกใบรับรอง (Certification Authority: CA) โดยแสดงอยู่ในรูปของ "ใบรับรองดิจิตอล" (Digital Certification) ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าe-paperเป็นของผู้ส่งที่อ้างไว้จริง โดยในการตรวจสอบนั้นผู้รับจะต้องใช้กุญแจสาธารณะ (Public key) ที่อยู่ในใบรับรองของผู้ส่งมาทำการตรวจสอบe-paperที่ส่งมาว่ามาจากผู้ส่งจริง และไม่มีการปลอมแปลงข้อมูลระหว่างขั้นตอนการส่ง ดังแสดงในแผนภาพที่ 2
แผนภาพที่ 2 การแสดงการตรวจสอบ Digital Signature ของการระบบ Paperless
3) กรณีศึกษา: ประโยชน์ การพัฒนาระบบ e-Custom (Paperless) ในประเทศสิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบ IT มาตั้งแต่ในช่วงปี 1980 ดังแสดงในแผนภาพที่ 3 จนในปัจจุบันประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีระบบ IT ชั้นนำของโลก4 อย่างไรก็ตามพื้นฐานของการพัฒนาในการจัดการโลจิสติกส์ของสิงคโปรที่รุดหน้าจนได้รับการจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่มี ความสามารถในการบริหารจัดการโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index: LPI) เป็นอันดับ 1 ของโลก จากการจัดอันดับของ World Bank[3] ในปี 2007
แผนภาพที่ 3 แนวทางการพัฒนาระบบ IT ของสิงคโปร์
Mr. Lee Yow Jinn[4] (2007) ได้สรุปประโยชน์ในการพัฒนาระบบ e-Custom (Paperless) และ e-Trading สำหรับการค้า การนำเข้า และส่งออก โดยมีการเชื่องโยงกับระบบที่เรียกว่า TradeNet ซึ่งจะมีการเชื่อมระบบ e-Custom เข้ากับหน่วยงานที่สำคัญ ๆ เช่น Port of Singapore (PSA), Custom & Excise Department (C&E), Civil Aviation Authority of Singapore (CAAS), และ Singapore Airline Terminal Service (SATS), Trader, Shipper Agent เป็นต้น (ดังแสดงในแผนภาที่ 4)
แผนภาพที่ 4 การเชื่อมโยงระบบ ICT, Paperless & e-Custom ของประเทศสิงคโปร์
จากการพัฒนาและเชื่องโยงระบบดังกล่าวสามารถทำให้สิงคโปร์เพิ่มระดับความมารถในการบริหารจัดการ ประสิทธิภาพในการทำงาน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่ง Mr. Lee Yow Jinn ได้เปรียบเทียบประโยชน์ที่ได้รับในการพัฒนาระหว่างการใช้ระบบปกติที่ ใช้ทรัพยากรบุคคลในการดำเนินการด้านเอกสาร กับการนำระบบ TradeNet มาใช้ดังแสดงในแผนภาพที่ 5
4) สรุป
e-Custom & e-Trading เป็นระบบ ที่จะเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว เพิ่มความถูกต้อง ลดขั้นตอนและกระบวนการต่าง และ ลดค่าใช้จ่าย ต่าง ๆ ให้กับ องค์ของทั้งภาครัฐ และเอกชน นอกจากสามารถเพิ่มความความเร็วยังสามารถยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานโดย การเพิ่มอัตราการ Utilisation ทรัพยากร ทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับระบบการขนส่ง นำเข้า และส่งออกของสินค้า และประสิทธิภาพดังกล่าวนี้จะส่งผลให้เกิด การเพิ่มความสามารถความรวดเร็วและถูกต้องในการเชื่อมโยงติดต่อสื่อสารข้อมูลของประเทศ ซึ่งจะสามารถเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ”Greater Conectivity = Greater Competitiveness” ดังที่กล่าวไว้ในหนังสือ ”The World is Flat” โดย Thomas L. Friedman ดังที่ได้เห็นตัวอย่าง และนโยบายในการพัฒนาประเทศของประเทศสิงคโปร์
[1] http://lcbcustoms.net/index.php?p=faq&faq_id=7&area=1#8
[2] Sun Microsystem, Sun BluePrintsTM Online, Public Key Infrastructure: Overview – August 2001; by Joel Weise – SunPSSM Global Security Practice
[3] http://info.worldbank.org/etools/tradesurvey/mode1b.asp
[4] Lee Yow Jinn, 2007, Overview of Holistic Trade Facilitation and Customers Modernization in Singapore, by International Trade Institute of Singapore (ITIS)
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
CT51 การเพิ่มประสิทธิภาพระบบคำสั่งงานในระบบการผลิต แบบ Mass Customization (Efficient Order and Resource Management in Mass Customization)
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ผู้เขียน ดร. พงษ์ธนา วณิชย์กอบจินดา
บทคัดย่อ
การผลิตแบบ Mass Customization Manufacturing (MCM) เป็นระบบการผลิตที่ต้องการความสามารถในปรับเปลี่ยนระบบการผลิตที่ง่าย และมีความยืดหยุ่นสูง ดังนั้นจึงต้องการระบบการวางแผน และการควบคุมการผลิตที่ดีจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการสั่งซื้อวัตถุดิบ และการบริหารวัตถุดิบที่หลากหลาย และซับซ้อน ซึ่ง Multi-agent systems เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังประสบปัญหาในด้านการ Informational Integration ซึ่งทำให้ระบบการจัดการสั่งซื้อวัตถุดิบ และการบริหารวัตถุดิบไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้นในบทความฉบับนี้ผู้เขียนจึงขอนำเสนอแล้วปฏิบัติที่ดีในการนำ Multi-agent system มาประยุกต์ใช้กับการจัดการสั่งซื้อวัตถุดิบและการบริหารวัตถุดิบใน Mass Customization Manufacturing
1) บทนำ
Mass Customization Manufacturing (MCM) สามารถทำให้ผู้ผลิตสามารถปรับเปลี่ยนจากการผลิตแบบ Mass Production มาเป็นการผลิตแบบ Small Lot ปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้าได้ง่ายและตอบสนองความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่ม และมีต้นทุนในการผลิตที่ถูกลง เหมือนกันผลิตกแบบ Mass Production หัวใจสำคัญของ MCM การทราบข้อมูลความต้องการที่แท้จริง เพื่อจะนำไปวางแผนการปรับเปลี่ยนการผลิต การจัดซื้อ และการวางแผนการขนส่งสินค้าเป็นต้น ซึ่งในการจะทำให้การผลิตแบบ MCM มีประสิทธิภาพ Blecker & Graf (2004) เสนอแนะถึงกุญแจสำคัญ 2 ประการ คือ
Tim et. al (2001) ได้กล่าวว่ากลยุทธ์ทั้ง MAS และ Internet Technology เป็นกุญแจที่สำคัญในการทำให้ MCM ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ Internet Technology จะทำหน้าที่เชื่อมโยงและส่งผ่านข้อมูลในระบบการผลิตที่ซับซ้อนได้อย่างถูกต้องและแม่นยำซึ่งระบบนี้ได้ถูกเรียกว่า Information Logistics ส่วนความซับซ้อนในแง่ของการผลิตก็จะลดลงโดยใช้ MAS
2) ระบบ Internet Based Production สำหรับ Multi-Agent System
ในความหมายของ Internet Technology นั้นได้อธิบายถึง กลุ่มของเทคโนโลยีที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งคือ Package-oriented Transmissions on Heterogeneous Platforms ได้แก่ Particular Protocols, Programming Language, Hardware, และ Software ซึ่งในปัจจุบัน Technology Internet ได้ให้ความสำคัญไปที่การสื่อสารส่งผ่านข้อมูล ภายในหรือระหว่างองค์กร หรือ สำนักงาน มากกว่า แต่อย่างไรก็ตามในอนาคตระบบ Technology Internet ได้กำลังพัฒนาและนำไปใช้กับในระบบโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเรียกว่า Field Area Network (FAN) ระบบนี้จะใช้ในการควบคุมระบบ Network ของ Automation Infrastructure และ Machine Control บน Shop Floor ระบบ FAN จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการผลิตซึ่งจะสามารถช่วยลดต้นทุนในการผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Transaction Cost ในกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนโดยการส่งผ่านข้อมูลต่าง ๆ ด้วยความรวดเร็วและถูกต้อง ไปยัง MAS (Blecker and Graf 2003)
ในการเชื่อมระบบ Internet Technology และ MAS (หรือ เรียกกันอีกชื่อว่า Actor) (ดังแสดงในแผนภาพที่ 1) การเชื่อมโยงระบบในการผลิต ดังแสดงในแผนภาพที่ 1 จะต้องมีการพิจารณาถึง Operation System 3 ประเภทดังนี้
ประเภทที่ 1 Human Actors คือ ส่วนของ ผู้วางแผนงาน และผู้ปฏิบัติงาน
ประเภทที่ 2 Artificial Actor คือ Intelligent Computer System
ประเภทที่ 3 Organisation Actor คือ การ Integrate ทั้ง 2 ระบบเข้าด้วยกันโดยการนำเอาระบบ Manual + Artificial มา Integrate สำหรับการทำงานในระบบการผลิต
แผนภาพที่ 1 Actors ในระบบการผลิต
ค้าปลีกภาพที่ ม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องอุตสาหกรรมของเล่นเป็นอุตสาหกรรมที่มีความหลากหลาย
3) ระบบคำสั่งงานใน Mass Customization Manufacturing
จากที่กล่าวมาในข้างต้นจะเห็นได้ว่า Internet Technology สามารถในการเชื่อมโยงระบบปฏิบัติการ Manual และ Intelligent System เข้าด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ ระบบ Production Planning Control (PPC) ซึ่งก็คือ MAS ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย
แผนภาพที่ 2 Production Planning and Control in Mass Customization Manufacturing
แผนภาพที่ 2 จากการเชื่อมโยงระบบด้วย Internet Technology ที่มีประสิทธิภาพเข้าไปยังหน่วยการผลิตต่าง ๆ ทำให้ผู้ผลิต หรือ หน่วยต่าง ๆ รับรู้ความต้องการของลูกค้าทั้งในเชิงปริมาณ และคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงให้การวางแผนเรื่องระบบการออกคำสั่งในระบบการผลิตสามารถวางแผนการจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความซับซ้อน ทั้งในด้านการจัดซื้อ การวางแผนสินค้าคงคลัง การวางแผนการขนส่งสินค้า รวมถึงการ Transaction ต่าง ๆ ในระบบการผลิต ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนในการผลิต รวมถึงเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้าในที่สุด
4) สรุป
การผลิตแบบ Mass Customization Manufacturing นับว่าเป็นระบบการผลิตที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามการที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธินั้นจะต้องคำนึงถึงต้นทุนการผลิตที่ต่ำอีกด้วย ซึ่งระบบที่จะสามารถลดต้นทุนได้นั้นจะต้องเป็นระบบที่สามารถลดการสูญเสียที่เกิดขึ้นในระบบการผลิต วางแผนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถผลิตจำนวนน้อยได้ ปรับเปลี่ยนการผลิตได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นการวางแผนในการสั่งซื้อ การผลิต การจัดการสินค้าคงคลัง การวางแผนการขนส่ง ซึ่งก็คือต้นทุนโลจิสติกส์นั่นเอง ก็นับว่าเป็นประเด็นสำคัญ ประการหนึ่งดังนั้นเทคโนโลยีที่สำคัญดังกล่าวก็คือ การนำเอา Internet Technology มาประยุกต์ใช้กับการพัฒนา Mult-Agent System เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ในการส่งผ่านข้อมูลเพิ่มความแม่นยำในกระบวนการต่าง ๆ ดังที่กล่าวในข้างต้น อย่างไรก็ตามในปัจจุบันระบบดังกล่าวยังไม่สามารถตอบสนองการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตอย่างคล่องตัวดังนั้นในอนาคตควรจะมีการพัฒนาระบบ Software โดยการ Integrate ให้เหมาะสมกับความต้องการทั้งของผู้ผลิตและลูกค้าเพื่อสนองความความต้องการของทั้งสองฝ่ายเพื่อนำไปสู้ต้นทุนการผลิตที่สามารถแข่งขันได้
เอกสารอ้างอิง
Blecker, Th. and Graf, G. (2003): Multi Agent Systems in Internet based Production Environments – an enabling Infrastructure for Mass Customization, Conference Proceedings MCPC December 2003.
Blecker, Th. and Graf, G.: Efficient Order and Resource Coordination in Mass Customization, in: Proceedings of the 9th International Symposium on Manufacturing and Application (ISOMA) at the 6th Biannual World Automation Congress, Seville/Spain, June 28 - July 1, 2004, S. 1 - 6
Timm, I.J./Woelk, P.-O./Knirsch, P./Tönshoff, H.K./Herzog, O. (2001): Flexible Mass Customisation:Managing its Information Logistics Using Adaptive Cooperative Multi Agent Systems, in: Pawar, K.S.; Muffatto, M. (Ed.): Logistics and the Digital Economy. Proceedings of the 6th International Symposium on Logistics, 2001, pp. 227 - 232.
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
CT51 การเพิ่มผลกำไรด้วยการจัดการสินค้าที่ถูกส่งคืน
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ผู้เขียน ผศ.ดร.สถาพร อมรสวัสดิ์วัฒนา
การแข่งขันที่รุนแรงทางธุรกิจได้ส่งผลให้บริษัท ธุรกิจ และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องกลับมาให้ความสำคัญกับนโยบายการรับสินค้าคืนจากลูกค้า และยินดีคืนเงินค่าสินค้าพร้อมกับค่าใช้จ่ายในการขนส่งเพื่อรับคืนสินค้าจากลูกค้าเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
อย่างไรก็ตาม การรับคืนสินค้าจากบริษัทของลูกค้ามายังโรงงานของผู้ผลิตได้สร้างต้นทุนให้กับโรงงานเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเสียเวลา ค่าใช้จ่ายในการขนสินค้ากลับมา ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบความผิดปกติของสินค้าที่รับคืนมา และต้นทุนค่าเสียโอกาสทางการตลาด นอกจากนี้บางสินค้าอาจมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าในการส่งคืนกลับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สินค้าที่เน่าเสียได้ หรือสินค้าที่เป็นแฟชั่น เช่น เสื้อผ้า เซรามิก ฯลฯ สินค้าที่มีอายุผลิตภัณฑ์สั้น เช่น สินค้าเทคโนโลยี จะถูกจัดในกลุ่มของสินค้าที่เน่าเสียง่าย ซึ่งสินค้าเหล่านี้จะไม่นิยมส่งคืนกลับ แต่จะนำไปจำหน่ายในราคาถูกลงไปเพื่อจูงใจลูกค้า จากข้อมูลของ http://www.rlec.org ของสถาบัน Reverse Logistics Executive Council ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ระบุว่าต้นทุนด้านการส่งสินค้ากลับคืนสามารถคิดได้เป็น 0.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศสหรัฐอเมริกา หรือคิดเป็น 58,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2547 หรือประมาณ 1,900,000 ล้านบาท
แทนที่โรงงานส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับการจัดการการรับคืนสินค้าอย่างจริงจัง กลับเน้นในด้านอื่น ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อ การขนส่ง การผลิต การตลาด แต่การจัดการวางแผนการรับคืนสินค้าเป็นส่วนที่ควรดำเนินการควบคู่ไปด้วย
ระบบโลจิสติกส์แบบย้อนกลับ (Reverse Logistics)
ระบบโลจิสติกส์แบบย้อนกลับ (Reverse Logistics) หมายถึง กระบวนการในการวางแผน การดำเนินการ การควบคุม การไหลของวัตถุดิบ ชิ้นส่วนที่อยู่ระหว่างการผลิต (In-process Inventory) และสินค้าสำเร็จรูป รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากผู้บริโภคมายังผู้ผลิตเพื่อทำการใช้ประโยชน์ หรือการนำไปกำจัดอย่างเหมาะสม หรืออีกนัยหนึ่งระบบโลจิสติกส์แบบย้อนกลับเป็นกระบวนการในการขนย้ายสินค้ากลับจากจุดปลายทางของโซ่อุปทานเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งมีความหมายมากกว่าการนำภาชนะเปล่าหรือวัสดุของบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่ แต่อาจจะรวมถึงการนำสินค้ากลับมาถอดชิ้นส่วน และแปรรูปหรือผลิตใหม่เพื่อสร้างมูลค่าให้มากขึ้น
นอกจากนี้ระบบโลจิสติกส์แบบย้อนกลับยังครอบคลุมถึงการรับคืนสินค้าในกรณีที่สินค้ามีความเสียหาย สินค้าเหลือ สินค้าที่ถูกเรียกคืน หรือสินค้าที่ไม่สามารถจำหน่ายหมดในฤดูกาล รวมทั้งสินค้าในสต็อกที่เก็บไว้เกินความจำเป็นก็ได้
ข้อแตกต่างระหว่างระบบโลจิสติกส์แบบไปข้างหน้ากับระบบโลจิสติกส์แบบย้อยกลับสามารถแสดงดังภาพที่ 1
ที่มา: http://www.rlec.org ของสถาบัน Reverse Logistics Executive Council ประเทศสหรัฐอเมริกา
ภาพที่ 1 ความแตกต่างระหว่างระบบโลจิสติกส์แบบไปข้างหน้ากับแบบย้อนกลับ
จากภาพที่ 1 จะเห็นได้ว่าระบบโลจิสติกส์แบบย้อนกลับจะมีความยุ่งยากในการพยากรณ์จำนวนสินค้าที่ต้องส่งกลับ และจะต้องจัดการส่งคืนสินค้าจากปลายทางหลายจุดไปยังจุดกระจายสินค้าที่มีอยู่เพียงจุดเดียว การวางแผนของเส้นทางการขนส่งสินค้ากลับจะมีความยุ่งยากและซับซ้อนมากกว่า และสินค้าส่วนใหญ่จะมีบรรจุภัณฑ์ที่เสียหาย
การจัดการสินค้าส่งกลับคืนเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการโซ่อุปทานที่ครอบคลุมถึงระบบโลจิสติกส์ย้อนกลับ ในบางครั้งสินค้าที่ได้รับกลับคืนมาจากลูกค้าสามารถนำมาถอดประกอบออก แล้วนำชิ้นส่วนบางประเภทไปใช้งานต่อได้อีก ตัวอย่างเช่น เครื่องซักผ้าที่ใช้ในครัวเรือน ส่วนใหญ่แต่ละครอบครัวจะใช้งานเครื่องซักผ้าไม่เกิน 15 ปี แล้วจึงเลิกใช้งาน ในขณะที่ชิ้นส่วนบางประเภทสามารถใช้งานได้มากกว่า 15 ปี เช่น มอเตอร์ไฟฟ้าที่เป็นชิ้นส่วนสำคัญของเครื่องซักผ้าสามารถใช้งานได้ถึง 25 ปี ดังนั้นหากผู้ผลิตเครื่องซักผ้ารับซื้อเครื่องซักผ้ารุ่นเก่ามา ทำการถอดประกอบชิ้นส่วนเพื่อนำมอเตอร์ไปทำการประกอบเป็นเครื่องซักผ้ารุ่นประหยัดโดยตั้งราคาขายไว้ต่ำกว่าเครื่องซักผ้าที่ใช้มอเตอร์ใหม่ 30% ผู้ผลิตก็สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้าที่รับซื้อคืนมาได้
กลยุทธ์อีกอย่างหนึ่งที่หลายบริษัทใช้กันอย่างแพร่หลายได้แก่การนำสินค้าที่รับคืนมาและยังมีสภาพดีไปจำหน่ายในราคาถูกลงในประเทศอื่น เช่น สินค้าฟุ่มเฟือยหรือสินค้าแบรนด์เนมที่มีตำหนิบ้างจะถูกรวบรวมเพื่อนำมาจำหน่ายในประเทศที่ล้าหลังกว่าในราคาที่ถูกกว่า
การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคสามารถลดต้นทุนด้านการส่งสินค้ากลับคืนได้ เช่น สินค้าที่มีลักษณะเป็นฤดูกาลหรือแฟชั่น หากลูกค้าสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลปริมาณสินค้าคงคลังที่มีอยู่ให้กับทางโรงงานผู้ผลิต ผู้ผลิตจะสามารถผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าในปริมาณที่เหมาะสมได้ ส่งผลให้การส่งคืนสินค้าที่คงเหลือในสต็อกน้อยลงตามไปด้วย
นอกจากนี้การใช้บริการผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ในการไปรับคืนสินค้าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าเนื่องจากสินค้าที่ถูกส่งคืนจะมีปริมาณที่ไม่แน่นอน และอยู่กระจัดกระจายตามสถานที่ต่างๆ ในเวลาที่ต่างกัน หากผู้ประกอบการใช้รถขนส่งของบริษัทไปรับคืนสินค้าจะส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูงมาก การใช้บริการบริษัทรับขนสินค้าที่มีเส้นทางการวิ่งที่ชัดเจนอยู่แล้วจะสามารถลดต้นทุนของบริษัทได้โดยตรง
ที่มา:
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
CT51 การวัดประสิทธิภาพด้วยดัชนีโลจิสติกส์
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ผู้เขียน ผศ.ดร.สถาพร อมรสวัสดิ์วัฒนา
ปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ ส่งผลให้บริษัทธุรกิจและโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องกลับมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการขนส่งและโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าที่อยู่สุดท้ายในโซ่อุปทาน
ธนาคารโลกหรือ World Bank ได้ทำการสำรวจประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศ แล้วนำมาพัฒนาเป็นดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index: LPI) โดยดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ได้พัฒนามาจากข้อมูลจากแบบสอบถามบนเว็บไซต์ที่มีการตอบกลับมามากกว่า 800 บริษัททั่วโลก ซึ่งบริษัทเหล่านี้ได้ทำการประเมินประสิทธิภาพของบริษัทที่ทำการขนส่งสินค้าและบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการทำพิธีการนำเข้าและส่งออกที่ครอบคลุมประเทศต่างๆ จำนวน 150 ประเทศ ตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมโลจิสติกส์
ดัชนีประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ได้ทำการสำรวจตามเกณฑ์ที่สำคัญ 7 เกณฑ์ ดังนี้
ดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์นี้ได้แบ่งเป็นคะแนนจาก 1 ถึง 5 โดยที่คะแนน 1 หมายถึงความไม่มีประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ ในขณะที่คะแนนเต็ม 5 หมายถึงว่ามีประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์เป็นอย่างดี นอกจากนี้ตัวเลขของดัชนีสามารถบอกได้ว่า การที่ดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์มีค่าต่ำลง 1.0 (อาทิ 2.5 กับ 3.5) หมายถึงประเทศนั้นมีระยะเวลาในการนำสินค้าจากท่ามายังคลังสินค้านานขึ้น 6 วัน และมีระยะเวลาในการส่งออกนานขึ้น 3 วัน และยังสามารถบอกได้ว่ามีโอกาสถูกสุ่มตรวจสินค้าที่ท่านำเข้ามากขึ้น 5 เท่า
สำหรับดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศสามารถแสดงได้ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ดัชนีวัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ของแต่ละประเทศ
ที่มา: บทความเรื่อง “The Logistics Performance Index and Its indicators” ของ Jean-Francois Arvis, Monica Alina Mustra, John Panzer, Lauri Ojala, and Tapio Naula ในรายงานเรื่อง Connecting to Compete: Trade Logistics in the Global Economy ของสถาบัน World Bank ปี 2550
จากตารางที่ 1 แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ของ 150 ประเทศทั่วโลก โดยสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ดีที่สุดในโลกด้วยคะแนน 4.19 จาก 5 และประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นอันดับที่ 2 มีคะแนน 4.18 สำหรับประเทศไทยอยู่อันดับที่ 31 ได้คะแนน 3.31 โดยที่ประเทศที่คู่แข่งการผลิตสินค้าที่สำคัญ อย่างประเทศจีนอยู่ในอันดับที่ 30 มีคะแนน 3.32 ประเทศเวียดนามอยู่อันดับที่ 53 ได้คะแนน 2.89
นอกจากนี้ดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์สามารถบอกถึงแนวโน้มของต้นทุนโลจิสติกส์ได้อีก ดังแสดงในภาพที่ 1
ที่มา: บทความเรื่อง “The Logistics Performance Index and Its indicators” ของ Jean-Francois Arvis, Monica Alina Mustra, John Panzer, Lauri Ojala, and Tapio Naula ในรายงานเรื่อง Connecting to Compete: Trade Logistics in the Global Economy ของสถาบัน World Bank ปี 2550
ภาพที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีวัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์กับต้นทุนโลจิสติกส์
ภาพที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนทางตรงของการขนส่งสินค้า (Direct Freight Costs) และต้นทุนที่เกิดขึ้นเมื่อไม่สามารถทำพิธีการออกของและขนส่งสินค้าได้ทันเวลา (Induced Costs) กับดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ (Logistics Performance Index) เมื่อดัชนีวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์มีค่าสูงขึ้น ต้นทุนที่เกิดขึ้นเมื่อไม่สามารถทำพิธีการออกของและขนส่งสินค้าได้ทันเวลาจะมีค่าลดลงอย่างเห็นได้ชัด แสดงให้เห็นถึงระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพจะสามารถช่วยลดต้นทุนในการขายสินค้าได้เป็นอย่างดี
ที่มา: บทความเรื่อง “The Logistics Performance Index and Its Indicators” ของ Jean-Francois Arvis, Monica Alina Mustra, John Panzer, Lauri Ojala, and Tapio Naula ในรายงานเรื่อง Connecting to Compete: Trade Logistics in the Global Economy ของสถาบัน World Bank ปี 2550
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
CT51 การวางแผนการกระจายสินค้าโดยการพิจารณาจำนวนคลังย่อยที่เหมาะสม
ลิขสิทธิ์ © พ.ศ.2551 กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
ผู้เขียน ผศ.ดร.สถาพร อมรสวัสดิ์วัฒนา
ในการบริหารต้นทุนโลจิสติกส์ที่เหมาะสมสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีเครือข่ายครอบคลุมลูกค้าปลายทางทั่วประเทศ อาทิ ร้านสะดวกซื้อ น้ำอัดลม การไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง น้ำมัน เป็นต้น การวางแผนการกระจายสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทางจะมีผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนด้านโลจิสติกส์โดยตรงทั้งในส่วนของต้นทุนการเก็บสินค้าคงคลังและต้นทุนการกระจายสินค้า กล่าวคือ ถ้าบริษัทมีจำนวนคลังย่อยหรือศูนย์กระจายสินค้า (Depots) อยู่เป็นจำนวนมากครอบคลุมเกือบทุกจังหวัด จะส่งผลให้การเข้าถึงกลุ่มของลูกค้ารายย่อยที่กระจายอยู่ทั่วประเทศเป็นไปได้ด้วยความสะดวก รวดเร็ว การขนส่งสินค้าไปยังลูกค้ารายย่อยมีระยะทางใกล้ ส่งผลให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าในภาพรวมทั้งระบบของบริษัทต่ำลง ในทางกลับกัน หากจำนวนคลังย่อยหรือศูนย์กระจายสินค้ามีจำนวนไม่กี่แห่ง การกระจายสินค้าจะต้องนำมาจากคลังที่อยู่ไกลออกไป การเข้าถึงลูกค้าช้าลง และต้นทุนการขนส่งสินค้าถึงลูกค้าจะสูงขึ้น ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนการขนส่งสินค้ากับจำนวนคลังย่อยจะถูกแสดงไว้ในภาพที่ 1
ที่มา: The Handbook of Logistics and Distribution Management โดย Rushton, A., Oxley, J., และ Croucher, P., The Institute of Logistics and Transport. ปี 2543
ภาพที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนการขนส่งสินค้ากับจำนวนคลังย่อย
จากภาพที่ 1 ต้นทุนการขนส่งสินค้าในภาพรวมทั้งระบบจะต่ำลงเมื่อจำนวนศูนย์กระจายสินค้าหรือคลังย่อยมีจำนวนมากขึ้น ในขณะที่ต้นทุนจะสูงขึ้นเมื่อมีจำนวนคลังย่อยหรือศูนย์กระจายสินค้าไม่กี่แห่ง
ในกรณีที่บริษัทมีศูนย์กระจายสินค้าหรือคลังย่อยอยู่เป็นจำนวนมาก จะส่งผลให้ทุกคลังย่อยหรือศูนย์กระจายสินค้าทุกแห่งมีการเก็บสินค้าที่ซ้ำกันหลายประเภท (Duplication of Resources) ส่งผลให้ปริมาณการเก็บสินค้าคงคลังทั้งระบบมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากต้องมีจำนวนสินค้าคงคลังของสินค้าแต่ละชนิดในคลัง ส่งผลให้ต้นทุนสินค้าคงคลังเพิ่มสูงขึ้นตามจำนวนคลังย่อยหรือศูนย์กระจายสินค้าที่เพิ่มมากขึ้นดังแสดงในภาพที่ 2
ที่มา: The Handbook of Logistics and Distribution Management โดย Rushton, A., Oxley, J., และ Croucher, P., The Institute of Logistics and Transport. ปี 2543
ภาพที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนการเก็บสินค้าคงคลังกับจำนวนคลังย่อย
จากภาพที่ 2 ต้นทุนการเก็บสินค้าคงคลังในภาพรวมทั้งระบบจะสูงขึ้นเมื่อจำนวนศูนย์กระจายสินค้าหรือคลังย่อยมีจำนวนมากขึ้น ในขณะที่ต้นทุนการเก็บสินค้าคงคลังจะต่ำลงเมื่อมีจำนวนคลังย่อยหรือศูนย์กระจายสินค้าไม่กี่แห่ง
นอกจากนี้ความต้องการใช้สินค้าแต่ละประเภทไม่เท่ากันในคลังย่อยแต่ละแห่ง บางแห่งอาจจะมีความต้องการสินค้าชนิดหนึ่งสูง และทำให้สินค้านั้นไม่พอจำหน่าย แต่ในคลังย่อยอีกแห่งซึ่งตั้งอยู่อีกบริเวณหนึ่งที่ไกลออกไปไม่มีความต้องการของสินค้าชนิดนี้อยู่เลยส่งผลให้ปริมาณสินค้าคงคลังเหลือเกินความจำเป็นเสมอ
ดังนั้น การพิจารณาหาจำนวนศูนย์กระจายสินค้าที่เหมาะสมต้องคำนึงถึงต้นทุนการกระจายสินค้าในภาพรวม (Total Distribution Costs) ซึ่งจะรวมถึงต้นทุนการเก็บสินค้าคงคลัง ต้นทุนการขนส่ง ต้นทุนการขนถ่ายสินค้า ต้นทุนด้านระบบสารสนเทศที่ใช้ในการบริหารจัดการ ดังแสดงในภาพที่ 3
ที่มา: The Handbook of Logistics and Distribution Management โดย Rushton, A., Oxley, J., และ Croucher, P., The Institute of Logistics and Transport. ปี 2543
ภาพที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนการกระจายสินค้ากับจำนวนคลังย่อย
จากภาพที่ 3 จะเห็นได้ว่าจำนวนศูนย์กระจายสินค้าที่เหมาะสมต้องหาจากจำนวนคลังย่อยที่ทำให้ต้นทุนการกระจายสินค้าโดยรวม (Total Distribution Costs) ต่ำที่สุด ดังนั้น จำนวนศูนย์กระจายสินค้าที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ของแต่ละบริษัท ประเภทของสินค้า และนโยบายของผู้บริหาร
ที่มา: หนังสือเรื่อง “The Handbook of Logistics and Distribution Management” โดย Rushton, A., Oxley, J., และ Croucher, P., The Institute of Logistics and Transport. ปี 2543
--------------------------------
สนใจบทความฉบับสมบูรณ์เพิ่มเติม ดาวน์โหลดที่เอกสารแนบด้านล่าง
สนใจบทความอื่นในชุดนี้คลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT51 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ปี 2551” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 80 บทความ นำมาจัดทำเป็นรูปเล่มเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษากรณีศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2551
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward