iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
ต้นทุนในการขนส่ง (Transportation Cost)
กิจกรรมการขนส่ง มีความสำคัญต่อธุรกิจในปัจจุบันมาก เพราะทุกกระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ จำเป็นต้องมีการส่งต่อวัตถุดิบ สินค้าและบริการ ดังนั้นการขนส่งจึงมีความสำคัญในการทำให้ซัพพลายเชนมีความสมดุล ดังนั้นทุกธุรกิจจึงไม่ สามารถหลีกเลี่ยงต้นทุนของกิจกรรมการขนส่งได้ หากพิจารณาถึงต้นทุนของการขนส่งจะประกอบด้วย
1. ต้นทุนคงที่ (Fixed cost) เป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามปริมาณการขนส่ง เช่น ค่าเช่าสถานที่จอดรถ เงินเดือนพนักงานขับรถ เป็นต้น
2. ต้นทุนผันแปร (Variable cost) เป็นต้นทุนหรือ ค่าใช้จ่ายที่มีการเปลี่ยนแปลงตามปริมาณการให้บริการการขนส่ง เช่น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าซ่อมแซม ค่าน้ำมันหล่อลื่น เป็นต้น
3. ต้นทุนรวม (Total cost) เป็นต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่รวมเอาต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปรเข้าไว้ด้วยกัน ถือเป็นต้นทุนการบริการขนส่งทั้งหมด ทั้งนี้รวมถึงต้นทุนเที่ยวกลับ (Backhauling cost) ด้วย
ในการลดต้นทุนการขนส่งไม่เพียงแต่เป็นการบริหารหรือตัดค่าใช้จ่ายบางส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปเท่านั้น แต่ยังมีวิธีอื่นที่สามารถลดต้นทุนการขนส่งได้ เช่น การใช้พลังงานทางเลือกจากน้ำมันเป็นพลังงานทางเลือกอื่น ๆ การปรับกลยุทธ์ในการขนส่งหรือการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation) ที่เป็นการผนวกรูปแบบการขนส่งมากกว่า 2 รูปแบบขึ้นไปมารวมกัน หรืออาจเลือกใช้กลยุทธ์ศูนย์กระจายสินค้าที่เป็นการรวมศูนย์ที่จุดยุทธศาตร์ต่าง ๆ ที่สะดวกในการกระจายสินค้า
ธุรกิจยังสามารถนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อทำให้การขนส่งมีประสิทธิภาพ คือ ระบบบริหารจัดการการขนส่งสินค้า (Transportation management system; TMS) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการวางแผนการขนส่ง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของธุรกิจการขนส่ง ซึ่งก็คือความรวดเร็วและต้นทุนที่ประหยัดที่สุด องค์ประกอบของระบบ TMS คือ การบริหารการจัดการด้านขนส่ง (Transportation manager) ซึ่งมีหน้าที่ในการวางแผนการดำเนินงานขนส่งและอีกองค์ประกอบหนึ่ง คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง (Transportation optimizer) เพื่อช่วยตัดสินใจในเรื่องการบรรทุกสินค้าและการจัดวางเส้นทางให้มีประสิทธิภาพสูงสุดภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ คลิกที่นี่
LM57 พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ (Fundamentals of Logistics Management) ปี 2557LM57 บทบาทของโลจิสติกส์ที่มีต่อองค์กร
บทบาทของโลจิสติกส์ที่มีต่อองค์กร
โลจิสติกส์มีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินการของแต่ละองค์กรในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการผลิตและปฏิบัติการ (Manufacturing and Operation) โลจิสติกส์มีบทบาทสำคัญต่อการผลิตและการปฏิบัติการ โดยเฉพาะในด้านการจัดหา (Procurement) วัตถุดิบป้อนสายการผลิต การควบคุมสินค้าคงคลั่ง (Inventory Control) ทั้งวัตถุติบ (Raw Material) และสินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) รวมถึงการขนถ่ายวัตถุดิบ และเคลื่อนย้ายสินค้าภายใน (Materials Handling) เพื่อสนับสนุนการผลิตให้เป็นไปอย่างราบรื่นและต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้การผลิตเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้กิจกรรมโลจิสติกส์ เช่น การวางแผนผลิตตารางการผลิต (Production Planning Scheduling) การพยากรณ์ความต้องการ (Demand Forecasting) วัตถุดิบ และการจัดเก็บวัตถุดิบ รวมถึงยังมีบทบาทสำคัญช่วยสนับสนุนการผลิตสินค้าต้วย
2. ด้านการตลาต (Marketing) โลจิสติกส์เป็นกิจกรรมที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการพยากรณ์ความต้องการ (Demand Forecasting) สินค้า การเติมเต็มคำสั่งซื้อ (Order Fulfillment) และการขนส่งสินค้า (Transportation) กิจกรรมโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพจะทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในเวลา และสถานที่ที่ลูกค้าต้องการ ทำให้ลูกค้ามีความพึ่งพอใจสูงสุด
3. ด้านการเงิน (Financial) โลจิสติกส์มีผลกระทุบโดยตรงต่อการเงินขององค์กร เช่น รายได้และการลงทุน โตยการมีสินค้าค้าคงคลังที่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า จะเป็นตัวผลักดันทำให้องค์กรสามารถเพิ่มรายได้ได้มากขึ้น ขณะที่การปฏิบัติงานโลจิสติกส์อื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพยังจะช่วยลดค่าใช้จายในการตำเนินงานขององค์กรไต้อย่างมาก นอกจากนี้ระยะเวลาในการส่งมอบวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปที่สั้นลง ยังมีส่วนช่วยลดปริมาณสินค้าคงคลัง และลดต้นทุนจมที่เกิตจากการจัดเก็บสินค้าคงคลังที่มากเกินความจำเป็นอีกด้วย
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ คลิกที่นี่
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงให้ความสำคัญต่อการรวมประเด็น การพัฒนาด้านโลจิสติกส์เข้าไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ซึ่งกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง” ประกอบด้วย 6 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ
(1) ยุทธศาสตร์การสร้างความเป็นธรรมในสังคม
(2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
(3) ยุทธศาสตร์ความเข้มแข็งภาคเกษตร ความมั่นคงของอาหาร และพลังงาน
(4) ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพ และยั่งยืน
(5) ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม
(6) ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 และ 5 เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบโลจิสติกส์โดยตรงประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน มุ่งพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ด้วยการ
1. ผลักดันการพัฒนาการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เช่น พัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งไปสู่การขนส่งในรูปแบบอื่น ๆ ที่มีต้นทุนการขนส่งต่อหน่วยต่ำ และมีการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและระบบบริหารจัดการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่เชื่อมโยงการขนส่งทุกโหมด การขนส่งในลักษณะบูรณาการทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ และพัฒนาระบบบริหารจัดการรวบรวมและกระจายสินค้าที่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น
2. ปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการโลจิสติกส์ โดยเน้นผลิตบุคลากรด้านโลจิสติกส์ที่มีความเป็นมืออาชีพ พัฒนาระบบและบริหารเครือข่ายธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานและปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสนับสนุนการวิจัย พัฒนา นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาโลจิสติกส์ และยกระดับประสิทธิภาพกระบวนการอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าและการขนส่งสินค้าผ่านแดนและข้ามแดนตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการขนส่งและการกำหนดบทบาทของท่าอากาศยานและท่าเรือหลักของประเทศ
3. พัฒนาระบบขนส่งทางรถไฟ โดยบูรณะปรับปรุงทางรถไฟ ก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายหลัก และจัดหารถจักรและล้อเลื่อน รวมทั้งปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณให้มีความทันสมัย และพัฒนาเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงสู่เมืองต่าง ๆ ในภูมิภาคและกลุ่มประเทศอาเซียน ตลอดจนปรับโครงสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทย
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างความเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม โดยมีกลยุทธ์ด้านการพัฒนาความเชื่อมโยงด้านการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ภายใต้กรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคต่าง ๆ ประกอบด้วยแนวทางสำคัญ ดังนี้
1. พัฒนาบริการขนส่งและโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานสากล เช่น พัฒนาด่านศุลกากรชายแดน ศูนย์เศรษฐกิจชายแดน และการอำนวยความสะดวกการค้าผ่านแดน พัฒนาระบบเครือข่ายและการบริหารเครือข่ายธุรกิจของภาคบริการขนส่งและโลจิสติกส์ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค และรัฐลงทุนนำในโครงการที่มีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศในแต่ละแนวพื้นที่เศรษฐกิจ เป็นต้น
2. ปรับปรุงกฎระเบียบการขนส่งคนและสินค้าที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดจำนวนเอกสารต้นทุนการดำเนินงาน และระยะเวลาที่ใช้ในกระบวนการขนส่งผ่านแดนและข้ามแดน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยและอนุภูมิภาคโดยรวมในด้านการลดต้นทุนค่าขนส่งและโลจิสติกส์
3. พัฒนาบุคลากรในธุรกิจการขนส่งและโลจิสติกส์ ทั้งในด้านทักษะภาษาต่างประเทศและความรู้ด้านบริหารจัดการโลจิสติกส์ และพัฒนาผู้ประกอบการโดยเฉพาะระดับ SMEs รวมทั้งพัฒนาสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการของไทยให้สามารถริเริ่มธุรกิจระหว่างประเทศได้
4. เชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวพื้นที่ชายแดน และเขตเศรษฐกิจชายแดน โดยเชื่อมโยงเครือข่ายการขนส่งเพื่อเชื่อมโยงปัจจัยการผลิต ระบบการผลิต ห่วงโซ่การผลิตระหว่างประเทศ และประตูส่งออกตามมาตรฐานสากล อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ยังมีกลยุทธ์ด้านการพัฒนาการผลิตและการลงทุน ตามแนวพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจ และพัฒนาเศรษฐกิจชายแดน ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ที่จะสามารถสนองตอบการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศได้
จะเห็นได้ว่าความพยายามในการกำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์เชิงลึกสำหรับการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ในระยะต่อไปนั้นมุ่งหมายจะสร้าง The Right Strategy ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยอย่างแท้จริง ซึ่งจำเป็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องเข้าใจและเห็นภาพถึงมิติของการแข่งขันธุรกิจในอนาคต (Landscape of Competition) ให้ตรงกันเนื่องจากผู้ประกอบการไทยจะกลายเป็นผู้เล่นบนเวทีการค้าการลงทุนระดับภูมิภาคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ คลิกที่นี่
LM57 พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ (Fundamentals of Logistics Management) ปี 2557พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ (Fundamentals of Logistics Management) รวบรวมและปรับปรุงจากเอกสารที่ สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ภายใต้การนำโดย นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักในยุคนั้น ที่มุ่งให้มีการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและประชาชนในเรื่องของการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน โดยเอกสารเรื่อง พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ (Fundamentals of Logistics Management) ตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งได้มีการจัดทำเอกสารเพื่อประกอบการเรียนการอบรมในกิจกรรมดังกล่าวของสำนักโลจิสติกส์ ต่อมาเมื่อมีการปรับเปลี่ยนองค์กร เอกสารหลายชิ้นไม่ได้มีการนำมาเผยแพร่ต่อ
น้องเชนเห็นว่าเรื่องราวและเอกสารหลายชิ้น เป็นประโยชน์และคงน่าเสียดายหากปล่อยให้หายไป จึงได้รวบรวมนำมานำเสนอผ่านเว็บไซต์ iOK2u ไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้สนใจใช้ศึกษาต่อไป
แนะนำเอกสารโหลดฟรี หนึ่งในเอกสารดีในเรื่องโลจิสติกส์แล
ชื่อหนังสือ Fundamentals of Logistics Management
ชื่อผู้จัดทำ สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ และ บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและ นวัตกรรม มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี
ข้อมูลหนังสือ
หนังสือเล่มนี้ถูกรวบรวมขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการสร้างนักจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนมืออาชีพระดับสากล ประจําปี 2557 ภายใต้การสนับสนุนของ สํานักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวง อุตสาหกรรม ดําเนินงานโดย บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นเอกสาร ประกอบการเรียนของหลักสูตร Fundamental Logistics and Supply Chain Management (การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนระดับปฏิบัติการ) โดย หลักสูตรนี้ได้ถูกออกแบบเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการ จัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน พัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ ทั้งในภาครัฐและเอกชน และยกระดับการจัดการโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพและทันสมัย ซึ่งสอดคล้องกับสภาวะการแข่งขันขององค์กรและซัพพลายเชนในปัจจุบัน อันจะส่งผลต่อระดับการการให้บริการลูกค้าที่ดีภายใต้ต้นทุนจัดการที่เหมาะสม เนื้อหาหลักของหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วย ความหมายของโลจิสติกส์บทบาท ของโลจิสติกส์การจัดการโลจิสติกส์การจัดการสินค้าคงคลัง การจัดการการ ขนส่ง การจัดการคลังสินค้า และการจัดการโลจิสติกส์ไทยกับประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน
1. การจัดการโลจิสติกส์และความหมายของโลจิสติกส์
โลจิสติกส์ (logistics) ความหมาย
บทบาทของโลจิสติกส์ที่มีต่อองค์กร
การจัตการโลจิสติกส์ (Logistics Management)
2. การจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management)
การแบ่งประเภทของคลังสินค้าตามลักษณะสินค้า (Inventory Type)
กิจกรรมในคลังสินค้า (Inventory Activities)
การวางแผนจัดผังพื้นที่ในคลังสินค้า (Inventory Plan)
การพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานในคลังสินค้า (Inventory improving work processes)
การวัดผลการดำเนินงานคลังสินค้า (Warehouse performance measurement)
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการคลังสินค้า (Information technology systems in warehouse management)
การจัดกลุ่มสินค้าคงคลังด้วยระบบ ABC (ABC Analysis)
การหาปริมาณการสั่งซื้อขนาดประหยัด (Economic Order Quantity)
การกำหนดระดับสินค้าคงคลังที่ปลอตภัย (Safety Stock)
3. การจัดการการขนส่ง (Transportation Management)
การขนส่งทางน้ำหรือทางเรือ (Water/Ship Transportation)
การขนส่งทางอากาศ (Air Transportation)
การขนส่งทางรถยนต์หรือทางรถบรรทุก (Truck Transportation)
การขนส่งทางทางรถไฟหรือระบบราง (Rail Transportation)
การขนส่งทางระบบท่อ (Pipeline Transportation)
ต้นทุนในการขนส่ง (Transportation Cost)
การจัดเส้นทางและตารางเวลาในการขนส่ง (Routing and Transportation Scheduling)
การวัดผลการดำเนินงานการขนส่ง (Transportation Performance Measurement)
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการขนส่ง (Information technology systems in transportation management)
การตัดสินใจขนส่งด้วยตนเองหรือจัดจ้าง (Self transportation decision or Outsourcing)
ความเสี่ยงที่เกิดจากการว่าจ้างผู้ให้บริการขนส่ง
4. การจัดการโลจิสติกส์ไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
การจัดการโลจิสติกส์ไทยกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Logistics Management in AEC)
ประเด็น การพัฒนาด้านโลจิสติกส์เข้าไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11
E-Book หนังสือ Fundamentals of Logistics Management ปี 2557
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ คลิกที่นี่
LM57 พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ (Fundamentals of Logistics Management) ปี 2557ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการขนส่งเทคโนโลยีเกี่ยวกับการขนส่งที่สำคัญที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการโลจิกติกส์ซัพพลายเชน หรือที่เรียกว่า ระบบบริหารจัดการงานขนส่ง ซึ่งจะกล่าวในที่นี้ ได้แก่
1. ระบบบริหารจัดการขนส่ง (TMS: Transportation Management System) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการบริหารธุรกิจขนส่ง โดยช่วยในการจัดการระบบงานและเก็บข้อมูลต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิคส์ อีกทั้งครอบคลุมระบบงานต่าง ๆ ในธุรกิจขนส่งตั้งแต่การรับสินค้าจากลูกค้า, รายละเอียดของ ผู้ส่ง-ผู้รับสินค้า, การคุมรถและพนักงานประจำรถ,การกระจายสินค้าและการวางบิล, ประวัติของรถและระบบงานซ่อมบารุง รวมถึงฟังก์ชั่นการออกรายงาน
สำหรับระบบจัดการงานขนส่ง ในท้องตลาดยังเรียกแตกต่างกันไป องค์การที่ให้บริการด้านการตรวจสอบสถานะสินค้าหรือรถขนส่งสินค้าโดยใช้ระบบ GPS เรียกบริการ
ของตนเองว่า Fleet Management System ในขณะที่องค์กรที่สนใจเรื่องการจับคู่ความต้องการขนส่งสินค้ากับรถวิ่งเที่ยวเปล่าในเส้นทางที่สอดคล้องกัน เพื่อหาโอกาสในการใช้รถวิ่งรถเปล่า ซึ่งคิดค่าขนส่งที่ต่ำกว่ามาก เรียกบริการของตนเองซึ่งเป็นบริการ web service นี้ว่า Transport Management System หรือ Fleet Management System ส่วนซอร์ฟแวร์พื้นฐานที่ผู้ประกอบการขนส่งหรือผู้ให้บริการขนส่งจะใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดส่งโดยเฉพาะ มีหน้าที่หลักสาคัญคือ การจัดสรรรถบรรทุก หรือ Fleet Optimization และการจัดเส้นทางเดินรถ หรือ Route Optimization มีชื่อเรียกโดยรวมว่า TMS (Transport Management System)
2. ระบบบริหารจัดการกองรถขนส่ง (Fleet Management System) ระบบนี้คงเป็นระบบเดียวที่มักจะดำเนินการโดยหน่วยงานภายในขององค์กรเอง วัตถุประสงค์หลักของการติดตั้งระบบนี้ก็เพื่อใช้ในการบริหารจัดการรถบรรทุกที่มีจำนวนมากเกินกว่าที่จะบริหารจัดการการด้วยคนโดยไม่มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วย โดยเฉพาะในเรื่องต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้
2.1 การจัดทำตารางการบำรุงรักษา (Maintenance Scheduling) โดยเฉพาะรถบรรทุกซึ่งมักมีกลไกที่ต้องมีการกำหนดการบำรุงรักษาเป็นระยะ ๆ เป็นการดูแลรักษาแบบป้องกัน เพื่อให้มั่นใจในสภาพที่พร้อมต่อการใช้งาน เช่น ระบบไฮดรอลิกและระบบความเย็น เป็นต้น นอกเหนือจากระบบเครื่องยนต์ซึ่งต้องดูแลเป็นปกติอยู่แล้ว
2.2 การควบคุมปริมาณอะไหล่รถบรรทุกเพื่อการซ่อมบำรุง (Vehicle Parts Control, Stock Re-ordering and Inventory Control) หากมีปริมาณรถเป็นจำนวนมากและมีศูนย์ซ่อมบำรุงเป็นของตนเอง จำเป็นต้องมีฟังก์ชันที่ช่วยให้การควบคุมปริมาณอะไหล่คงคลัง และปริมาณการสั่งซื้อสินค้าให้เป็นไปอย่างเหมาะสม พอดี และสอดคล้องกับความต้องการใช้งาน
2.3 (Fleet Administration) เป็นฟังก์ชันในการบันทึกช่วยจำเกี่ยวกับงานทะเบียนรถ การเสียภาษี การขึ้นแผ่นทะเบียนรถ รวมทั้งการบันทึกเก็บประวัติซึ่งเป็นงานประจำที่หลีกเหลี่ยงไม่ได้เช่นกัน
2.4 การควบคุมดูแลระหว่างการใช้งาน (Operation Monitoring) การดูแลยางรถบรรทุก การใช้น้ำมันของรถและ เป็นค่าใช้จ่ายสำคัญซึ่งมีรายการประเภททรานแซกชั่นค่อนข้างมาก การมีฟังก์ชั่นนี้ช่วยให้เกิดการควบคุมดูแลที่เป็นระบบมากขึ้น
3. ระบบการวางแผนและเส้นทางการเดินรถ (Vehicle Routing & Planning) เป็นอีกระบบหนึ่งของการบริหารจัดการการขนส่งที่มีความสำคัญไม่น้อย ซึ่งมีผลต่อเนื่องกับ
การลดค่าใช้จ่ายของค่าขนส่ง กล่าวคือ ช่วยให้การควบคุมการวิ่งของรถและจำนวนเที่ยวรถเป็นไปอย่างมีระบบ ลดจำนวนเที่ยวรถที่ไม่จำเป็น และการจัดเส้นทางการเดินรถที่ประหยัดและคุ้มค่าที่สุด ซอฟท์แวร์ประเภทนี้สามารถช่วยงานใน 2 ด้านหลัก คือ
3.1 การวางแผนระดับกลยุทธ์ ซอฟท์แวร์ประเภทนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อการวางแผนและออกแบบโครงการ การคำนวณ จำนวนรถบรรทุกที่จำเป็นสำหรับโครงการนั้น ๆ การวางแผนเส้นทางและกำหนดการเดินรถ และการวิเคราะห์ต้นทุนค่าขนส่ง
3.2 การวางแผนและอำนวยความสะดวกด้านปฏิบัติการ ซอร์ฟแวร์ประเภทนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในระดับปฏิบัติการ
4. ระบบตรวจหาตำแหน่งและควบคุมการเดินรถ (Vehicle Based System) ระบบนี้ครั้งหนึ่งเคยอาศัยสัญญาณดาวเทียมในการจับทิศทางของตำแหน่งรถในท้องถนนแต่ในปัจจุบันเทคโนโลยี GPRS เข้ามามีบทบาทและมีเครือข่ายที่เกือบจะครอบคลุม อีกทั้งง่ายต่อการนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งนอกเหนือจากการควบคุมคนขับรถและตัวรถที่วิ่งอยู่ในท้องถนนแล้ว ยังสามารถนามาใช้ประโยชน์หลาย ๆ ด้าน เช่น
- ควบคุมดูแลการใช้น้ำมันรถ
- การล็อคตู้คอนเทนเนอร์ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อป้องกันการถูกเปิดระหว่างทาง
- ตรวจสอบความผิดปกติของตัวรถและประสิทธิภาพของรถไปในตัว
- ควบคุมพฤติกรรมคนขับรถ
- ดูแลการเดินรถให้อยู่ในเส้นทางที่ควรจะเป็น และสภาพของท้องถนน
- สามารถรู้ความคืบหน้าของเส้นทางการเดินรถและตรวจสอบได้
- สามารถควบคุมอุณหภูมิ หากมีการติดตั้งกล่องวัดอุณหภูมิในห้องบรรทุก
- การดักฟังการสนทนามีสิ่งบอกเหตุผิดปกติ
5. GPS Tracking System : GPS (Global Positioning System) คือ ระบบบอกพิกัดผ่านทางดาวเทียม ซึ่งโคจรสูงจากพื้นโลกประมาณ 20,000 กิโลเมตร โดยจะทำหน้าที่ส่งสัญญาณให้กับอุปกรณ์ลูกข่ายเพื่อคำนวณ ตรวจสอบ และถอดรหัสสัญญาณที่ได้จากดาวเทียม เพื่อให้ได้พิกัดตำแหน่งและข้อมูลการเคลื่อนที่ของยานพาหนะที่ถูกต้องตลอด24 ชั่วโมง ดังนั้นการนำระบบ GPS Tracking System มาใช้เพื่อช่วยสนับสนุนงานบริหารการใช้ยานพาหนะได้เต็มประสิทธิภาพสามารถนำข้อมูลที่ได้รับมาใช้ในการวิเคราะห์ต้นทุนการใช้ยานพาหนะตามจริงได้ จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ยานพาหนะที่ไม่จำเป็น หรือผิดวัตถุประสงค์ รวมทั้งลดการสูญเสีย และติดตามแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุหรือปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการขนส่ง หรือใช้ยานพาหนะได้อย่างทันท่วงที
อาจกล่าวได้ว่า ระบบนี้ช่วยให้ทราบ “ทุกพฤติกรรมของรถทุกคัน” เสมือนหนึ่งได้นั่งข้าง ๆ คนขับรถทุกคัน ฉะนั้นการทำงานของ GPS จึงสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมากมาย เช่น
- ตรวจสอบตำแหน่งปัจจุบันของรถ และแสดงพฤติกรรมของการใช้งานรถ
- ตรวจสอบสถานะปัจจุบันของรถ เช่น จอดรถ ติดเครื่อง-ดับเครื่อง หรือขับเร็วเกินกำหนด
- แสดงเส้นทางการเดินรถย้อนหลังในแต่ละวัน และแสดงเวลาเมื่อรถผ่านสถานที่ต่าง ๆ
- แสดงเวลาและสถานที่ที่มีการเริ่มใช้งานรถ ขับรถเร็ว จอดรถดับเครื่องจอดรถติดเครื่องทิ้งไว้ การเข้าสถานี และการเข้าไปในพื้นที่หวงห้าม
- สามารถกำหนดตำแหน่งสถานที่สาคัญในแผนที่ และบันทึกเวลาการถึงที่หมายในแต่ละวันได้
- สามารถบริหารเวลาการทำ งานของรถ ทำ ให้ใช้งานรถได้เต็มประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของ GPS Tracking System มีดังต่อไปนี้
- ลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายจากการเดินรถ โดยการประหยัดค่าน้ำมัน และลดค่าใช้จ่ายจากการซ่อมบำรุง อันเนื่องมาจากการออกนอกเส้นทาง การติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้ การขับรถเร็วซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงสามารถตรวจสอบในเรื่องของการลักลอบดูดน้ำมันไปขายของพนักงานขับรถ
- ป้องกันการนำรถไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ ลดพฤติกรรมการใช้งานรถที่ไม่เหมาะสม เช่น การหยุดพักที่นานเกินควร หรือการจอดรถโดยติดเครื่องเป็นระยะเวลานาน
- เพิ่มความปลอดภัยในทรัพย์สิน และช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้ความเร็วที่ไม่เหมาะสม
- บริหารเวลาการทำงานของรถได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ใช้งานรถได้เต็มประสิทธิภาพ และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเดินรถให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- สามารถตรวจสอบคุณภาพการจัดส่งได้ตลอดเวลา (โดยอาศัยอุปกรณ์วัดอุณหภูมิในรถยนต์) สินค้าที่ลูกค้าได้รับจึงมีคุณภาพสูง
- สามารถตรวจสอบพฤติกรรมของคนขับรถแต่ละคน (จากหมายเลขประจำตัวคนขับ) จึงสะดวกในการควบคุมดูแลและขอความร่วมมือจากพนักงานขับรถ
- เพิ่มคุณภาพในการบริการลูกค้า และการแข่งขันทางธุรกิจอุปกรณ์ฮารด์แวรที่จำเป็นซึ่งเราเรียกกันว่า “กล่องดำ” เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ทางานร่วมกับดาวเทียมบอกพิกัด GPS ซึ่งมีความสำคัญโดยสามารถรายงานข้อมูลการใช้งานรถ เช่น ตำแหน่งของรถในเวลาต่าง ๆ ทั้งเส้นทางการเดินรถ เวลาที่มีการเริ่มใช้งานและ/หรือหยุดใช้งาน ความเร็วในการใช้งานรถ และการจอดรถติดเครื่อง โดยข้อมูลการใช้งานต่าง ๆ จะเก็บไว้ในหน่วยความจำของกล่องดำซึ่งสามารถถ่ายทอดข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อนำมาประมวลผลโดยโปรแกรมใช้งานภาษาไทย เพื่อให้ผู้ควบคุมสามารถตรวจสอบพฤติกรรมการใช้งานรถ และหาวิธีปรับปรุงเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานรถโดยสามารถติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมเพื่อควบคุมถึงส่วนต่าง ๆ ในรถได้ เช่น
- อุปกรณ์วัดระดับน้ำมันในถังเชื้อเพลิง (Fuel Level Device) เพื่อวัดระดับน้ำมันในถังน้ำมัน
- อุปกรณ์วัดระดับอุณหภูมิภายในรถบรรทุก (Temperature) เพื่อวัดระดับอุณหภูมิในรถห้องเย็น
- อุปกรณ์ระบุหมายเลขประจำตัวพนักงานขับรถ (Driven ID)
- อุปกรณ์วิเคราะห์อุบัติเหตุ (Expedient Analyzer)
ประโยชน์ที่ได้จากอุปกรณ์กล่องดำ ได้แก่
- การแสดงข้อมูลทั้งแบบเรียลไทม์ และแบบย้อนหลัง สามารถแจ้งเตือนไปที่สำนักงานเมื่อเริ่มใช้งานรถ ความเร็ว การจอดรถดับเครื่อง-ติดเครื่องทิ้งไว้ การเข้าสถานีหลัก หรือสถานีย่อย หรือเข้าพื้นที่หวงห้าม รวมไปถึงสรุปพฤติกรรมการใช้รถได้อีกด้วย
- ความสามารถกำหนดตำแหน่งสถานที่สาคัญในแผนที่ และบันทึกเวลาการถึงที่หมายในแต่ละวันได้ ด้วยข้อมูลแผนที่ประเทศไทยระบบ Digital Vector ที่มีความละเอียดสูงถึง 1:4000 และ 1:20000
รูปแบบราบงานสรุปเพื่อการวิเคราะห์ ได้แก่
- รายงานสรุปการใช้รถที่ละเอียด เช่น รายงานการใช้รถประจำวันรายงานการขับรถเร็วเกินกำหนด รายงานการจอดรถติดเครื่องทิ้งไว้ ฯลฯ โดยนำเสนอในรูปแบบของตาราง และสามารถทำการส่งข้อมูลออกจากระบบ (Export File) โดยแปลงให้อยู่ในรูปแบบ Excel เพื่อปรับแต่งเพิ่ม ลดหัวข้อ ตามความต้องการได้
- รายงานสรุปในรูปแบบของกราฟเส้น กราฟแท่งสี และกราฟวงกลมแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ทำให้สะดวกและง่ายในการพิจารณาพฤติกรรมที่อยู่ในความสนใจนอกจากนี้ยังช่วยประหยัดเวลาสำหรับผู้บริหารในการตรวจสอบรถจำนวนมาก ๆ
- สามารถทำการพักข้อมูลด้วยระบบความจุสำรอง ในกรณีออกนอกพื้นที่เครือข่าย สัญญาณสื่อสาร
- สามารถออกแบบและพัฒนาชุดอุปกรณ์เสริมได้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ยานพาหนะให้ตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์กร
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ คลิกที่นี่
LM57 พื้นฐานการจัดการโลจิสติกส์ (Fundamentals of Logistics Management) ปี 2557เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward