CT52 เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2552
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้รับมอบหมายจากกระทรวงอุตสาหกรรมในการดำเนินภารกิจที่สำคัญ 3 ด้านได้แก่ การบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรแร่ การพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรม ซึ่งในส่วนของการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรมเป็นภารกิจใหม่ที่ได้รับมอบหมายตั้งแต่ปี 2549 เพื่อมุ่งส่งเสริมให้ภาคการผลิตมีการจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการดำเนินการภายใต้แผนปฏิบัติการพัฒนาระบบโลจิสติกส์อุตสาหกรรม 4 ประเด็นหลักประกอบด้วย
(1) การเชื่อมโยงระหว่างองค์กรตลอดโซ่อุปทาน
(2) การปรับปรุงประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภายในองค์กร
(3) การพัฒนาขีดความสามารถด้านโลจิสติกส์
(4) การสร้างปัจจัยเอื้อเพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจของภาคอุตสาหกรรม
กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ได้ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ดำเนินกิจกรรมสำคัญที่เป็นรูปธรรม เช่น การกำหนดและเผยแพร่วิธีการจัดการที่ดีที่สุด (Best Practice) การจัดทำตัวชี้วัดโลจิสติกส์ ได้แก่ ต้นทุนโลจิสติกส์ ซึ่งแสดงในรูปของต้นทุนโลจิสติกส์ต่อยอดขายและดัชนีต้นทุนโลจิสติกส์ การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานโลจิสติกส์ของอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ในสถานประกอบการ โดยให้คำปรึกษาแนะนำให้สถานประกอบการมีการจัดการโลจิสติกส์ที่ได้มาตรฐาน ตลอดจนการสร้างองค์ความรู้แก่บุคลากรด้านโลจิสติกส์โดยการฝึกอบรมและดูงาน การเสริมศักยภาพผู้ว่างงานภายใต้โครงการต้นกล้าอาชีพ นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยดำเนินโครงการพัฒนาเนื้อหาและองค์ความรู้ด้านโลจิสติกส์อุตสาหกรรม พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมสาขาเป้าหมาย เพื่อให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านโลจิสติกส์ โดยผลผลิตประการหนึ่งของโครงการคือ การจัดทำบทความเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ได้แก่ http://logistics.dpim.go.th และ http://www.industry4u.com ในหัวข้อต่างๆ ได้แก่
(1) การกระจายสินค้า
(2) การปรับปรุงประสิทธิภาพในองค์กร
(3) ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพ
(4) Reverse Logistics
(5) Green Logistics
(6) สารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ
(7) แนวคิดโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 15 บทความ จัดทำเป็นรูปเล่ม เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
สนใจบทความคลิกดูได้ตามหัวข้อด้านล่าง
CT52 การจัดการระบบภายในคลังสินค้าน้ำมันหล่อลื่น กรณีศึกษาคลังน้ำมัน AAA
CT52 การจัดการโซ่อุปทานในประเทศจีน: กรณีของบริษัทมัตสึชิตะ (บทความปี 2552)
CT52 แนวทางการลดต้นทุนการก่อสร้างและรักษาสิ่งแวดล้อม “Recycle Construction & Demolition Waste”
CT52 การวางแผนกลยุทธ์การจัดซื้อที่มีประสิทธิภาพกุญแจสำคัญสู่การเพิ่มกำไรผู้รับเหมาก่อสร้าง
CT52 การดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ย้อนกลับของอุตสาหกรรม
CT52 การเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งมอบน้ำตาลให้กับลูกค้ากรณีศึกษา บริษัท น้ำตาลอิสระ จำกัด
CT52 การศึกษาผลกระทบของการประสานงาน การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการออกแบบต่อประสิทธิภาพของโซ่อุปทาน
CT52 การจัดการความเสี่ยงในโซ่อุปทาน
CT52 ระบบโซ่อุปทานรูปแบบใหม่ กรณีศึกษาของอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศบราซิล
CT52 ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลในประเทศไทย
CT52 การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม กรณีศึกษา บริษัท TTT
CT52 การจัดการโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมปูนซิเมนต์
CT52 โซ่อุปทานที่เป็นเลิศเริ่มต้นจากการผสมผสานที่ลงตัว
CT52 รู้จักระบบโลจิสติกส์ทั่วโลกเพื่อมุ่งสู่ตลาดสากล
--------------------------------
ดูบทความอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2552
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” จึงเป็นการนำบทความดังกล่าวที่น่าสนใจจำนวน 15 บทความ จัดทำเป็นรูปเล่ม เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สะดวกสำหรับผู้สนใจในการศึกษาความรู้ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล
--------------------------------
ที่มา
เอกสารเผยแพร่เรื่อง “การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน” ปี 2552
โดย สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่