iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
ind4_kor เครื่องมือการประเมินความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 เกาหลีใต้ (Korea Productivity Center :KPC) รวมข้อมูล
KPC Model
ที่ประเทศเกาหลีใต้ ศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งเกาหลี (Korea Productivity Center :KPC) ได้พัฒนาดัชนีการประเมิน KPC model เพื่อใช้เป็นเครื่องมือการประเมินความพร้อมของบริษัทผู้ผลิต เช่น กระบวนการผลิต คุณภาพของสินค้า ต้นทุน เวลา ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเกณฑ์อื่น ๆ (ความเป็นผู้นำกระบวนการและระบบและระบบอัตโนมัติ) ทำหน้าที่เป็น "ตัวบ่งชี้การป้อนข้อมูล" และตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ของ KPC model ซึ่งประกอบด้วยการประเมินใน 4 มิติ และประเด็นย่อย 10 หัวข้อ ดังนี้
ที่มาข้อมูล
---------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
เครื่องมือการประเมินความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 (Industry4 WRD-RA) รวมข้อมูล
ประเทศมาเลเซีย กระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรม มาเลเซีย (Ministry of International Trade and Industry-MITI) ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมมาเลเซีย (Federation of Malaysian Manufacturers FMM) ดำเนินนโยบาย Industry4WRD (Industry4WRD-RA) มีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในภาค อุตสาหกรรม
2. เพิ่มการสร้างรายได้จากภาคอุตสาหกรรม
3. เพิ่มอันดับดัชนีนวัตกรรมโลก
4. เพิ่มจำนวนแรงงานฝีมือในภาคอุตสาหกรรม
โดยยุทธศาสตร์รัฐบาลมาเลเซียจะสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดิจิทัลของผู้ประกอบการ ในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้ยุทธศาสตร์ F.R.S.T ได้แก่
1. ให้เงินทุนและสิทธิประโยชน์ (Funding)
2. สร้างโครงสร้างพื้นฐานและสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม (Infrastructure)
3. กำหนดกรอบนโยบายที่เกี่ยวข้อง (Regulatory)
4. สร้างแรงงานฝีมือ (Skilling)
5. สนับสนุนการเข้าถึงเทคโนโลยีอัจฉริยะ (Smart Technology)
โดยเน้นอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรและส่วนประกอบ อุตสาหกรรมเคมี การบินและอวกาศ และเครื่องมือทางการแพทย์ นอกจากนี้ยังเน้นสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ให้ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและสามารแข่งขันได้
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีมาเลเซียยังได้ย้ำความสำคัญของภาคอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้คิดเป็นร้อยละ 23 ของ GDP และผู้ประกอบการ SMEs ที่มีสัดส่วนถึงร้อยละ 95 ในภาคอุตสาหกรรม มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตของประเทศเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจมาเลเซีย นโยบาย Industry4WRD จะสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมและบริการที่เกี่ยวข้องให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรม มีเป้าหมายผลักดันให้มาเลเซียเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับภาคอุตสาหกรรมอัจฉริยะและภาคบริการที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นประเทศปลายทางที่ดึงดูดอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงพร้อมทั้งเป็นผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยี
แนวคิดในการพัฒนาแผนนโยบาย Industry4WRD (Industry4WRD-RA) ประกอบด้วย
1.การดึงดูดผู้มีส่วนในส่วนเสียในการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ทั้งด้านเทคโนโลยีและการผลิต
2. สร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการพัฒนานวัตกรรม
3. เปลี่ยนภาคอุตสาหกรรมให้พร้อมรับมือกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0
โดย MIT ได้ร่วมมือกับภาคเอกชน (FMM) และภาควิชาการเริ่มพัฒนานโยบายดังกล่าวตั้งแต่ช่วงกลางปี 50 จนเกิดยุทธศาสตร์ F.I.R.S.T โดยรัฐบาลมาเลเซียมีมาตรการสำคัญในแผนนโยบาย ได้แก่ การส่งเสริมการเชื่อมโยงทางดิจิทัลเพิ่มศักยภาพของแรงงาน พัฒนาฝีมือแรงงาน (Talents) สร้างมาตรฐานด้าน Data Integrity มุ่งเน้นการวิจัย การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยมีการจัดตั้งสภา Industry4WRD ประกอบด้วยผู้แทนภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรมและภาควิชาการ เพื่อกำกับและติดตามการดำเนินการตามแผนนโยบาย นอกจากนี้ MITI ได้จัดทำ “Industry4WRD Readiness Assessment Guidelines” สำหรับภาคธุรกิจใช้ในการประเมินความพร้อมของบริษัทฯ และแนวทางในการปรับตัวต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0
การประเมินความพร้อมอุตสาหกรรมของ Industry4WRD (Industry4WRD-RA) เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้บริษัท ประเมินความสามารถและความพร้อมในการนำเทคโนโลยีและกระบวนการของอุตสาหกรรม 4.0 และทำให้บริษัททราบถึงด้านต่าง ๆ ดังนี้ กำหนดสถานะความพร้อมในการนำเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 มาใช้ระบุช่องว่างและพื้นที่ของการปรับปรุงสำหรับการปรับใช้อุตสาหกรรม 4.0 รวมถึงโอกาสสำหรับการปรับปรุงและการเติบโตของผลิตภัณฑ์ การพัฒนากลยุทธ์และแผนที่เป็นไปได้เพื่อดำเนินโครงการปรับปรุงแก้ไข Industry4WRD Readiness Assessment ประกอบด้วยการประเมินใน 3 Building Blocks และประเด็นย่อย 8 Dimensions ดังนี้
1. People มุ่งเน้นไปที่บุคลากรทั้งองค์กร ให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ในการให้พนักงานมีความสามารถเหมาะสมกับงาน
2. Process มุ่งเน้นไปที่ระบบการจัดการในการดำเนินธุรกิจห่วงโซ่อุปทานและวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ และเน้นการดำเนินยุทธศาสตร์ระหว่างพันธมิตรของภาคเอกชนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยความยั่งยืนและการสร้างผลิตภัณฑ์ร่วมกัน
3. Technology มุ่งเน้นไปที่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะสามารถเชื่อมต่อกันแบบอัตโนมัติ โดยวัดในระดับร้านค้าองค์กรและสิ่งอำนวยความสะดวก
ที่มาข้อมูล Ministry of International Trade and Industry
---------------------------------
ที่มาข้อมูล
---------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูลดัชนีความพร้อมของอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (The Singapore Smart Industry Readiness Index: SIRI) ของสิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์ โดย คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจสิงคโปร์ (EconomicDevelopment Board: EDB) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลภายใต้ กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (Ministry of Trade and Industry: MTI) มีหน้าที่ดำเนินกลยุทธ์ เพื่อทำให้ประเทศสิงคโปร์ เป็นศูนย์กลางด้านการทำธุรกิจการลงทุน ในด้านการผลิตที่มีนวัตกรรมและมีขีดความสามารถระดับโลก ได้มีการพัฒนาดัชนีความพร้อมของอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (The Singapore Smart Industry Readiness Index) ร่วมกับ TUV SUD ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการทดสอบการตรวจประเมินและให้การรับรอง และบริการด้านความรู้และเทคนิคอย่างครบวงจรระดับโลก ขึ้นในปี พ.ศ. 2560 และทำการตรวจสอบโดย ผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษา การออกแบบดัชนีความพร้อมอุตสาหกรรมนี้ใช้กับทุก อุตสาหกรรมภาคการผลิตและทุกขนาด ทั้งนี้ได้มีการพัฒนาวิธีการที่เป็นระบบโดยให้เกิดความตระหนักระหว่างทุก ภาคส่วนด้วยภาษาที่เช้าใจร่วมกัน (Common Language) เพื่อช่วยให้แต่ละบริษัทเช้าใจอุตสาหกรรม 4.0 ซัดเจนมากยิ่งขึ้น สามารถระบุถึงโอกาสและประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมที่ตนจะได้รับจากอุตสาหกรรม 4.0 ทำให้บริษัททราบสถานภาพชองตนว่าอยู่ในช่วงการพัฒนาใดชอง Industry 4.0 Maturity และช่วยให้บริษัทมีจุดเริ่มต้น ในการริเริ่มดำเนินการปฏิรูปอุตสาหกรรมทีละชั้นเพื่อบรรลุถึงเป้าหมาย ประเทศสิงคโปร์ มีการออกแบบดัชนีการประเมินครอบคลุมส่วนประกอบหลักชองอุตสาหกรรม 4.0 ใน 3 มิติหลัก และมีประเด็นย่อย 8 หัวข้อ ดังนี้
1) Technology หมายถึง เทคโนโลยีดิจิทัลบ'น'ระบบ Cyber Physical Systems (CPS) ประกอบด้วย ระบบอัตโนมัติ (Automation) การเชื่อมต่อการสื่อสาร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลชองอุปกรณ์และเครื่องจักร (Connectivity) และ ระบบอัจฉริยะในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ วินิจฉัยป้ญหาและการระบุโอกาสที่จะต้องทำการ ปรับปรุง (Intelligence)
2) Process หมายถึง กระบวนการผลิตที่มีการประยุกต้ใช้เทคโนโลยีที่มีการออกแบบและพัฒนาที่ด็ สามารถทำให้เกิดมูลค่าแก่ธุรกิจสูงสุด โดยสามารถบูรณาการและเชื่อมต่อกับทุกกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่ คุณค่าชองบริษัท (Supply Chain) การปฏิบัติการ (Operation) และอายุชองผลิตภัณฑ์ (Product Lifecycle)
3) Organization หมายถึง องค์กรจะต้องมีการปรับโครงสร้าง การวางแผน กลยุทธ์และการบริหารจัดการ (Structure & Management) รวมถึงการเตรียมความพร้อมทักษะที่จำเป็น (Talent Readiness) ชองบุคลากร ใน การที่จะซับเคลื่อนและริเริ่มดำเนินการพัฒนาองค์กรสู่อุตสาหกรรม 4.0
การสร้างสังคม Industry 4.0 ระดับเอเชีย ด้วยแผนพัฒนาประเทศสิงคโปร์ที่ต้องการเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงเช่นเดียวกับเยอรมนีและอเมริกา สิงคโปร์จึงเป็นเจ้าภาพจัดงาน Hannover Messe ซึ่งเป็นงานอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก มาจัดในเอเชียเป็นครั้งแรก ในชื่องาน Industrial Transformation ASIA-PACIFIC 2018 ระหว่างวันที่ 16-18 ตุลาคม 2561 ณ Singapore Expo เพื่อเป็นเวทีการ เรียนรู้ระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในภาคการผลิต การแลกเปลี่ยนกรณีศึกษา การเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือ กลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมงานยังรวมถึงนักเรียนนักศึกษาผู้ซึ่งเป็นอนาคตของสิงคโปร์ต่อไป
สิงคโปร์ยังคงแนวคิดที่ใช้ในการริเริ่มดำเนินโครงการต่างๆ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม นั่นคือ Think Big, Start Small, Act Fast โดยคิดการณ์ใหญ่ให้รอบด้านในหลากหลายมิติ ก้าวข้ามปัญหา และมองผลกระทบที่เกี่ยวข้อง จากนั้นการเริ่มดำเนินการจากขอบเขตเล็กๆ ก่อน และลงมือดำเนินการอย่างรวดเร็วตามขั้นตอน โดยมีการแก้ไขปัญหาและปรับแผนกลยุทธ์ให้ทันเหตุการณ์ ในกระบวนการพัฒนาตัวดัชนีประเมินนี้ก็เช่นกัน คือมีการวางแผนและทำงานเป็นขั้นตอนอย่างเป็นระบบ การกำหนดกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน ทั้งยังสามารถบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาดัชนีความพร้อมของ อุตสาหกรรมอัจฉริยะ หลังจากดัชนีผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว มีการนำร่องทดลองประเมินกับ 300 บริษัทในทุกอุตสาหกรรมและทุกขนาด ทั้งบริษัทข้ามชาติ (Multi-National Corporations) และ SMEs
พร้อมทั้งมีการออกแบบหลักสูตร เพื่อพัฒนาผู้ประเมินความพร้อมอุตสาหกรรมให้มีคุณภาพ และจะเริ่มดำเนินการประเมินผลลัพธ์ บนดิจิทัลแพลตฟอร์มเต็มรูปแบบและเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน (Benchmarks) ในต้นปี 2562 พร้อมจัดให้มีแรงจูงใจสิทธิประโยชน์ (Incentive) และเครื่องมือที่จำเป็นในการขับเคลื่อน Industry 4.0
ที่มาข้อมูล Economic Development Board, Singapore
---------------------------------
สนใจเรื่องราวเพิ่มเติมคลิกที่นี่
ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย 4.0 (Thailand I 4.0 Index)
อุตสาหกรรม 4.0 ได้เข้ามาอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาประเทศ ตามแนวการปฏิวัติประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) ซึ่งเป้าหมายหลักที่รัฐบาลตั้งใจใช้ในประเทศ โดยการเปลี่ยนแปลงที่อาจส่งผลที่ทำให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างต่อภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจ ระบบเทคโนโลยี และโลจิสติกส์ ผู้ใช้แรงงานและผู้ประกอบการขนาดเล็กและใหญ่ต้องตื่นตัวตัวให้ทันตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่เริ่มต้นในมุมมองนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการผลิตที่ทันสมัย การปรับปรุงประสิทธิภาพในทิศทางต่ออนาคตอุตสาหกรรมของประเทศไทย ดังนั้นการยกระดับอุตสาหกรรมสมัยใหม่หรืออุตสาหกรรมอัจฉริยะ สิ่งสำคัญจะต้องมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้ขั้นตอนการดำเนินการนี้เป็นผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน เพื่อให้การสัมมนาสนับสนุนการสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมในด้านระบบอัตโนมัติ ที่มีความสามารถพิเศษสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมการผลิตแบบ 4.0 จำเป็นต้องมีการศึกษาสถานภาพการพัฒนาของภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับการยกย่อง ของการวิจัยและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวางแผนการวิจัยและพัฒนา โดยต้องมีทิศทางที่สอดคล้องกับอุตสาหกรรมของประเทศไทยที่ต้องวางแผนเพื่อเตรียมความพร้อมอื่นๆ การพัฒนา กำลังคน งบดุล จุดประกายในการยกระดับความสามารถด้านการผลิต เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในคุณค่าปจจุบัน ให้ความรู้ความเข้าใจการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ของประเทศไทย
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ภายใต้ ระบบกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และพันธมิตรจากหลายภาคส่วนในอุตสาหกรรม ทำการพัฒนาเพื่อประเมินความพร้อมของอุตสาหกรรมในปัจจุบัน โดยเรียกรูปแบบนี้ว่า ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย หรือ Thailand i4.0 Index
ที่มา https://thindex.or.th/
---------------------------------------------
ข้อมูลเพิ่มเติม
- ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย 4.0 (Thailand I 4.0 Index)
- Industry4_index_thai การยกระดับอุตสาหกรรม 4.0 เส้นทางสู่อนาคตเศรษฐกิจดิจิทัล
- ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย 4.0 มิติหลัก 6 มิติ
- มิติ 1 เทคโนโลยี (เทคโนโลยี)
- มิติ 1 เทคโนโลยีอัตโนมัติ (Automation Technology)
- มิติย่อยที่ 01 ระบบอัตโนมัติในงานการผลิต (Production Automation)
- มิติย่อยที่ 02 ระบบอัตโนมัติในองค์กร (Enterprise Automation)
- มิติย่อยที่ 03 ระบบอัตโนมัติในงานอำนวยความสะดวก (Facility Automation)
- มิติ 1 เทคโนโลยีเครือข่าย (network Technology)
- มิติย่อยที่ 04 การเชื่อมโยงเครือข่ายในงานการผลิต (Production Network)
- มิติย่อยที่ 05 การเชื่อมโยงเครือข่ายในองค์กร (Enterprise Network)
- มิติย่อยที่ 06 การเชื่อมโยงเครือข่ายในระบบอำนวยความสะดวก (Facility Network)
- มิติ 2 การดำเนินงานที่ชาญฉลาด (Smart Operation)
- มิติย่อยที่ 07 ระบบอัจฉริยะในงานการผลิต (Smart Production)
- มิติย่อยที่ 08 ระบบอัจฉริยะในองค์กร (Smart Enterprise)
- มิติย่อยที่ 09 ระบบอัจฉริยะในงานอำนวยความสะดวก (Smart Facility)
- มิติ 3 ระบบไอทีและข้อมูลสารสนเทศ (IT System & Data Transaction)
- มิติย่อยที่ 10 การบูรณาการภายในองค์กร (Internal Integration)
- มิติย่อยที่ 11 การบูรณาการภายนอกองค์กร (External Integration)
- มิติ 4 ตลาดและลูกค้า (Market & Customers)
- มิติย่อยที่ 12 การวิเคราะห์การตลาด (Market Analysis)
- มิติย่อยที่ 13 วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle)
- มิติ 5 กลยุทธ์และองค์กร (Strategy & Organization)
- มิติย่อยที่ 14 การบริหารจัดการจากบนลงล่าง (Top-down Managements)
- มิติย่อยที่ 15 กลยุทธ์ในด้านอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0 Strategy)
- มิติย่อยที่ 16 การทำงานร่วมกันระหว่างบริษัท (inter-company Collaboration)
- มิติ 6 ทุนมนุษย์ (Human Capital)
- มิติย่อยที่ 17 การส่งเสริมการเรียนรู้บุคลากร (Workforce Learning)
- ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย 4.0 มิติย่อย 17 มิติ
- ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระดับ KPIs
- ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระดับ Band ความพร้อม
-
-
- ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย 4.0 มิติ โครงการตัวอย่าง
- มิติ 1 เทคโนโลยีอัตโนมัติ (Automation Technology) ตัวอย่างโครงการ
- มิติ 1 เทคโนโลยีเครือข่าย (network Technology) ตัวอย่างโครงการ
- มิติ 2 ระบบอัจฉริยะในการทำงาน (Smart Operation) ตัวอย่างโครงการ
- มิติ 3 ระบบไอทีและธุรกรรมข้อมูล (IT System & Data Transaction) ตัวอย่างโครงการ
- มิติ 4 การบริหารและจัดการข้อมูลตลาดและลูกค้า (Market & Customers) ตัวอย่างโครงการ
- มิติ 5 การบริหารและจัดการกลยุทธ์และองค์กร (Strategy & Organization) ตัวอย่างโครงการ
- มิติ 6 การพัฒนาบุคลากรทุนมนุษย์ (Human Capital) ตัวอย่างโครงการ
-
-
-
- ต้นทุนค่าใช้จ่ายที่มีในงานองค์กร 10 หมวด
- ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย 4.0 ตัวชี้วัดประสิทธิภาพ KPIs
- ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระดับความพร้อม 6 ระดับ
- โครงการส่งเสริมเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมให้ก้าวสู่ อุตสาหกรรม 4.0
- ขั้นตอนดำเนินการการยกระดับความพร้อมอุตสาหกรรม 3 ขั้นตอน
- ประโยชน์จากการอ่านด้วย Thailand i4.0 Index
-
-
-
- e-book ind4 nstd ดัชนีชี้วัดระดับสภาพความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย 4.0 (Thailand I 4.0 Index)
- e-book ind4 moi วินิจฉัยองค์กรตามหลักการอุตสาหกรรม (Industry 4.0 Check-Up Guideline)
- e-book ind4 dpim นาฬิกาประเมินความพร้อมของสถานที่ประกอบพื้นฐานพื้นฐาน สู่อุตสาหกรรม 4.0
-
-
---------------------------------------------
สนใจข้อมูลเรื่องราวเพิ่มเติม คลิกที่นี่
ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมอุตสาหกรรมไทย 4.0 (Thailand I 4.0 Index)
---------------------------------------------
ที่มาข้อมูล
---------------------------------------------
สนใจข้อมูลเรื่องราวอุตสาหกรรม 4.0 เพิ่มเติม คลิกที่นี่
อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูล---------------------------------------------
การยกระดับอุตสาหกรรม 4.0 เส้นทางสู่อนาคตเศรษฐกิจดิจิทัล
เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ
ที่มา https://iok2u.com/article/industry/industry4-index-thai-all
ปัญหาและความสำคัญ
ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีพัฒนาอย่างรวดเร็ว หลายประเทศต่างมุ่งสู่อุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งนำโดยเทคโนโลยีอัจฉริยะ เช่น โรบอทส์ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบอัตโนมัติ ประเทศไทยเองก็เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนี้ จึงได้ริเริ่มแผนพัฒนา "Thailand i4.0" โดยจัดทำระบบวิเคราะห์และประเมินธุรกิจสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตในชื่อ ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมอุตสาหกรรม 4.0 สำหรับประเทศไทย (Thailand i4.0 Index) การดำเนินการในเรื่องนี้จะมีผลดีอย่างมากต่อการขับเคลื่อนองค์กรในภาคอุตสาหกรรม ให้มีสามารถประเมินตัวเองหาจุดอ่อนและช่องว่างในการพัฒนาตัวเองให้ก้าวสู่ การเป็นอุตสาหกรรม 4.0 และเป็นการยกระดับมาตรฐานของอุตสาหกรรมช่วยทำให้โรงงานอุตสาหกรรม ช่วยให้ผู้ประกอบการมีองค์ความรู้ดวามเข้าใจในเรื่องการปรับปรุงองค์กรให้เป็นมาตรฐานเพิ่มขึ้น ทราบจุดอ่อนข้อบกพร่องหรือช่องว่างที่มีในการทำงานว่าจะต้องปรับปรุงองค์กรของตนในด้านใด และควรเริ่มปรับปรุงด้านใดก่อนควรใช้กลยุทธ์อย่างไร เพื่อให้ก้าวไปสู่องค์กรแห่งยุคอุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย 4.0 มิติหลัก 6 มิติ
.
ภาพดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมอุตสาหกรรมไทย (Thailand i4.0 Index)
ที่มา https://www.nstda.or.th
ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมของอุตสาหกรรมไทย (Framework of Thailand i4.0 Index) แบ่งเป็น 6 มิติหลัก (Dimensions) และ 17 มิติย่อย ได้แก่
มิติ 1 เทคโนโลยี (Technology) ความพร้อมของระบบการผลิต ระบบบริหารและธุรการ ขององค์กร และระบบการจัดการ Facilities ที่เป็นแบบ เทคโนโลยีอัตโนมัติ (Automation Technology) และ เทคโนโลยีเครือข่าย (network Technology) ที่เชื่อมต่อกันแบบไร้รอยต่อ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติตั้งแต่ การควบคุมการผลิต การจัดการสถานที่และองค์กร และเชื่อมต่อทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน ได้แก่
เทคโนโลยีอัตโนมัติ (Automation Technology) เชื่อมต่อกันแบบไร้รอยต่อ มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิตแบบอัตโนมัติ ตั้งแต่การควบคุมการผลิตการจัดการสถานที่และองค์กร และเชื่อมต่อทุกภาคส่วนเข้าด้วยกัน ได้แก่
มิติย่อยที่ 01 ระบบอัตโนมัติในงานการผลิต (Production Automation)
มิติย่อยที่ 02 ระบบอัตโนมัติในองค์กร (Enterprise Automation)
มิติย่อยที่ 03 ระบบอัตโนมัติในงานอำนวยความสะดวก (Facility Automation)
เทคโนโลยีเครือข่าย (network Technology) การนำระบบเครือข่ายมาใช้ช่วยในการทำงาน ทำการเชื่อมโยงการส่งข้อมูลในองค์กร เช่น เชื่อมโยงระบบการผลิต เชื่อมโยงระบบบริหารธุรการขององค์กร และเชื่อมโยงระบบช่วยในการทำงานเสริม (Facilities) มุ่งผลสำเร็จให้ระบบมีความสามารถเชื่อมโยงการทำงานเกิดเครือข่ายการส่งข้อมูลทั้งระบบแบบไร้รอยต่อ สามารถแสดงผลข้อมูลเพื่อตอบสนองการทำงานได้ทั้งระบบในเวลาทันที ระบบเครือข่ายประกอบด้วย ความพร้อมของระบบการผลิต ระบบบริหารธุรการขององค์กร และระบบการจัดการ Facilities ในการทำงาน ได้แก่
มิติย่อยที่ 04 การเชื่อมโยงเครือข่ายในงานการผลิต (Production Network)
มิติย่อยที่ 05 การเชื่อมโยงเครือข่ายในองค์กร (Enterprise Network)
มิติย่อยที่ 06 การเชื่อมโยงเครือข่ายในระบบอำนวยความสะดวก (Facility Network)
มิติ 2 ระบบอัจฉริยะในการทำงาน (Smart Operation) ส่งเสริมการใช้ระบบควบคุมการทำงานแบบอัจฉริยะมาช่วยในการทำงาน ทำการสั่งการระบบให้เกิดการทำงานที่รวดเร็ว ยกระดับความสามารถในองค์กร เช่น ระบบการผลิตอัตโนมัติ ระบบอัจฉริยะในการจัดการบริหารงานธุรการขององค์กร และระบบอัจฉริยะช่วยในการทำงานเสริม (Facilities) มุ่งผลสำเร็จให้ระบบที่มีการทำงานแบบชาญฉลาด บริหารจัดการและปรับเปลี่ยนได้ในตัวระบบเอง มีการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลสามารถดำเนินการทำงานไปในทางเดียวกันอย่างคล่องตัวเชื่อมโยงการทำงานเกิดเครือข่ายการส่งข้อมูลแบบไร้รอยต่อ สั่งการทำงานระบบได้โดยอัตโนมัตและในเวลาทันที ได้แก่
มิติย่อยที่ 07 ระบบอัจฉริยะในงานการผลิต (Smart Production)
มิติย่อยที่ 08 ระบบอัจฉริยะในองค์กร (Smart Enterprise)
มิติย่อยที่ 09 ระบบอัจฉริยะในงานอำนวยความสะดวก (Smart Facility)
มิติ 3 ระบบไอทีและธุรกรรมข้อมูล (IT System & Data Transaction) การบูรณาการระบบและการจัดการภายในองค์กรและระหว่างองค์กร การบูรณาการโครงสร้างภายในองค์กร โดยเชื่อมต่อกระบวนการต่างๆ แบบแนวตั้งหรือแบบปิรามิด และการเชื่อมต่อกันระหว่างห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ได้แก่
มิติย่อยที่ 10 การบูรณาการภายในองค์กร (Internal Integration)
มิติย่อยที่ 11 การบูรณาการภายนอกองค์กร (External Integration)
มิติ 4 ตลาดและลูกค้า (Market & Customers) การบริหารและจัดการที่เกี่ยวข้องความต้องการของตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการจัดการตลอดช่วงอายุของผลิตภัณฑ์ การรวบรวมและจัดการข้อมูลเชิงพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายและสภาพตลาด เพื่อการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจการออกแบบและวางแผนวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ได้แก่
มิติย่อยที่ 12 การวิเคราะห์การตลาด (Market Analysis)
มิติย่อยที่ 13 วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle)
มิติ 5 กลยุทธ์และองค์กร (Strategy & Organization) กระบวนการทำงานและการนำพาองค์กรจากผู้บริหารไปสู่พนักงาน การวางแผนและพัฒนาขององค์กรสู่ Industry 4.0 โดยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารและการร่วมมือกับพันธมิตรภายนอก การบริหารจัดการทางกลยุทธ์และโครงสร้างการบริหารงานขององค์กร ได้แก่
มิติย่อยที่ 14 การบริหารจัดการจากบนลงล่าง (Top-down Managements)
มิติย่อยที่ 15 กลยุทธ์ในด้านอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0 Strategy)
มิติย่อยที่ 16 การทำงานร่วมกันระหว่างบริษัท (inter-company Collaboration)
มิติ 6 ทุนมนุษย์ (Human Capital) การบริหารและจัดการทางทรัพยากรบุคคลขององค์กร การพัฒนาความสามารถและศักยภาพของพนักงานด้วยกระบวนการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับทิศทางในปัจจุบันและอนาคต มู่งสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ ได้แก่
มิติย่อยที่ 17 การเรียนรู้ของพนักงาน (Workforce Learning)
ประโยชน์ที่ได้ การยกระดับอุตสาหกรรม "Thailand i4.0" คาดว่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทย ดังนี้
- เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทำให้ธุรกิจไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
- กระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างงานใหม่และเพิ่มรายได้ให้กับประเทศ
- พัฒนาคุณภาพชีวิต ประชาชนจะได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น
- ลดความเหลื่อมล้ำ โอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยีและการศึกษาจะกระจายอย่างทั่วถึงมากขึ้น
- รักษาสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีใหม่ ๆ จะช่วยลดมลพิษและทรัพยากรธรรมชาติ
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยยังเผชิญกับหลายอุปสรรคที่ท้าทายหลายด้าน เช่น
- การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ แรงงานไทยส่วนใหญ่ยังมีทักษะที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรม 4.0
- โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่ล้าหลัง ประเทศไทยยังมีโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่ไม่เพียงพอ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน
- การเข้าถึงแหล่งเงินทุน ผู้ประกอบการไทยหลายรายยังมีปัญหาในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อลงทุนในเทคโนโลยีใหม่
- กฎระเบียบที่ไม่เอื้ออำนวย กฎระเบียบบางอย่างยังไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0
แนวทางการขับเคลื่อน เพื่อให้แผน "Thailand i4.0" บรรลุเป้าหมาย ควรต้องมีการขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วน ดังนี้
- ภาครัฐ สนับสนุนด้านเงินทุน พัฒนากฎระเบียบ และสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล
- ภาคเอกชน ลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ พัฒนาทักษะแรงงาน และสร้างนวัตกรรม
- ภาคการศึกษา พัฒนาระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม 4.0
- ประชาชน เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยี และสนับสนุนสินค้าและบริการของไทย
บทสรุป
ความรู้และการทำความเข้าใจเกี่ยวกับงาน อุตสาหกรรม 4.0 จะใช้เพื่อจัดทำรายงานประเมินระดับความพร้อมองค์กรในงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล มีจุดมุ่งหมายวางแผนจัดการควบคุมกลยุทธ์ยกระดับการทำงานสู่ อุตสาหกรรม 4.0 พิจารณาที่โครงสร้างต้นทุนและปัจจัยแห่งความสำเร็จ ใช้กำหนดแผนการพัฒนาบูรณาการระบบ (System Integrators) ให้เหมาะสมกับองค์กร ตอบโจทย์กลยุทธ์ในการยกระดับอุตสาหกรรม
การยกระดับอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่การเป็น อุตสาหกรรม 4.0 เป็นสิ่งจำเป็น สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของไทยไปสู่ยุคดิจิทัล จำเป็นต้องมีการร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนแผนนี้ให้บรรลุเป้าหมาย ผลลัพธ์ที่ได้ จะทำให้ประเทศไทยมีเศรษฐกิจที่มั่นคง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และสิ่งแวดล้อมได้รับการรักษาควบคู่ร่วมกันไปอย่างยั่งยืน
.
.
---------------------------------------------
สนใจข้อมูลเรื่องราวเพิ่มเติม คลิกที่นี่
ดัชนีชี้วัดระดับความพร้อมอุตสาหกรรมไทย 4.0 (Thailand I 4.0 Index)
---------------------------------------------
ที่มาข้อมูล
---------------------------------------------
สนใจข้อมูลเรื่องราวอุตสาหกรรม 4.0 เพิ่มเติม คลิกที่นี่
อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) รวมข้อมูล---------------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward