iok2u.com แหล่งรวมข้อมูลข่าวสารเรื่องราวน่าสนใจเพื่อการศึกษาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้
WIM การวิเคราะห์แบบ XYZ โดยจัดแบ่งค่าตามที่เลือกกำหนด (XYZ Analysis)
การวิเคราะห์แบบ XYZ (XYZ Analysis) คือ การจัดแบ่งการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การค่าที่เลือกค่าที่สนใจมากำหนดในการวิเคราะห์ บางครั้งอาจดูคล้ายกับแนวทางการวิเคราะห์แบบ ABC แต่การวิเคราะห์แบบ XYZ จะมีการเลือกตัวแปรที่หลากหลายกว่า โดยส่วนใหญ่ตัวแปรที่เลือกใช้จะพยายามจำแนกข้อมูลที่สนใจตามความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก
เป้าหมายของ การวิเคราะห์ XYZ คือ ความพยายามที่จะจัดให้มีวัสดุหรือผลิตภัณฑ์เพื่อตองสนองการใช้งานของตนให้เหมาะสม (การบริโภค) จะช่วยจัดการมูลค่าที่เกิดจากการราคาซื้อขายที่ผันผวนไม่สม่ำเสมอให้เกิดความคงที่ มักใช้ในการจัดทำกลยุทธ์เพื่อหาการจัดเก็บสินค้าที่ดีที่สุด
ตัวอย่าง การวิเคราะห์แบบ XYZ เช่น ตามความแปรปรวนของการใช้งาน
X มีความแปรปรวนน้อยมาก คือ การใช้วัสดุ X มีลักษณะการใช้งานที่ไม่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความต้องการผันผวนเพียงเล็กน้อยมีรอบการใช้ในระดับคงที่ การจัดการสำหรับวัสดุกลุ่มนี้ในอนาคตโดยทั่วไปสามารถคาดการณ์ได้ค่อนข้างง่านและได้ผลที่ดี
Y มีความแปรปรวนบางส่วน คือ การใช้วัสดุ Y มีลักษณะการใช้งานที่เริ่มจะไม่คงที่ หรือมีความแปรปรวนเป็นระยะๆ เมื่อใช้วัสดุ Y จะสังเกตเห็นแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงไปมาเช่น การใช้งานเพิ่มขึ้นหรือลดลงชั่วขณะหนึ่งหรือมีลักษณะของความผันผวนตามฤดูกาล ต้องเริ่มมีการจัดการสำหรับวัสดุในกลุ่มนี้ เพื่อที่จะสามารถคาดการณ์ใช้งานที่แม่นยำยิ่งขึ้น
Z มีความแปรปรวนมากที่สุด คือ การใช้วัสดุ Z ไม่ได้ีการใช้เป็นประจำ การใช้งานจึงมีความแปรปรวนเกิดความผันผวนขึ้นได้ ในกรณีเหล่านี้เรามักจะสังเกตช่วงเวลาที่ไม่มีการบริโภคเลย
ขั้นตอน การวิเคราะห์แบบ XYZ
- กำหนดรายการที่เกี่ยวข้องที่สนใจจะศึกษา ควรเน้นการตอบสนองลูกค้าหรือผู้บริโภคเป็นหลัก
- คำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์การแปรผัน ของแต่ละรายการเพื่อนำมาใช้ในการจัดกลุ่ม
- จัดเรียงรายการโดยการจัดทำกลุ่มตามเพิ่มค่าสัมประสิทธิ์การแปรผันที่กำหนด
- นำเสนอผลโดยการแสดงภาพกราฟิกแบ่งออกเป็นช่วง X, Y และ Z
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------
WIM การวิเคราะห์เพื่อจัดการสินค้าคงคลัง (Analysis for Inventory Management)
การจัดการสินค้าคงคลัง (Techniques for Inventory Management) สามารถดำเนินการได้ในหลายวิธี โดยการจัดการที่เหมาะสมในสินค้าคงคลังในเบื้องต้นควรที่จะต้องมีการจัดกลุ่มวัสดุหรือสินค้าคงคลัง เพื่อให้ง่ายในการกำหนดแผนงานและการจัดการดูแล โดยที่พบการวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุอาจมีหลายวิธีเช่น
- WIM การวิเคราะห์จัดกลุ่มด้วยระบบ ABC (ABC Analysis)
- WIM การวิเคราะห์จัดแบ่งตามฤดูกาล ขึ้นอยู่กับความต้องการตามฤดูกาล (SOS Analysis)
- WIM การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามความถี่ในการใช้ (FSN Analysis)
- WIM การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามความสำคัญกับการผลิต (VED Analysis)
- WIM การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามมูลค่าราคา (HML Analysis)
- WIM การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามระยะเวลาในการส่งมอบ (SDE Analysis)
- WIM การวิเคราะห์แบบ XYZ โดยจัดแบ่งค่าตามที่เลือกกำหนด (XYZ Analysis)
- WIM การวิเคราะห์โดยการใช้แบบ ABC ร่วมกับแบบ XYZ (ABC & XYZ Analysis)
- WIM การวิเคราะห์โดยการใช้หลักการพาเรโต (Pareto 80/20)
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------
การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management) คือ การจัดการบริหารสินค้าคงคลังให้มีการจัดเก็บไว้ในระดับที่เหมาะสม ความสามารถในการแข่งขันในด้านโลจิสติกส์จะให้ความสำคัญในงานด้านการบริหารจัดการคลังสินค้า โดยถึอเป็นหัวข้อหลัก 1 ใน 3 เรื่องที่งานด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานต้องทำก่อน เพราะหากธุรกิจที่ทำมีการเก็บสินค้าในคลังไว้มากเกินความจำเป็น ก็จะทำให้เกิดการสูญเสียที่มากทั้งในรูปของเงินทุนที่ต้องเสียดอกเบี้ย (Interest) เสียค่าเก็บรักษา (Inventory Carrying costs) เสียค่าเสื่อมมูลค่า (Depreciate ) และมีค่าใช้จ่ายในการดูแลอื่น ๆ อีกมามาย
แต่ธุรกิจส่วนใหญ่ในอดีตต่างก็เลือกที่จะจัดเก็บและยอมที่จะเสียค่าใช้จ่าย เพื่อให้มีสินค้าไว้บริการหรือส่งมอบลูกค้าได้ทันทีเมื่อถึงเวลาที่ลูกค้าต้องการ เพราะถ้าหากมีสินค้าคงคลังน้อยไป ไม่สามารถตอบสนองได้เพียงพอกับความต้องการลูกค้า ก็จะเกิดความเสียหายขึ้นต่อกิจการสูญเสียโอกาสในการทำรายได้ อาจต้องสูญเสียลูกค้าเพราะไปที่อื่นแทนแล้ว หรือขาดวัสดุในการผลิตจนการผลิตอาจจะหยุดชะงักลง รวมถึงลูกค้าขาดความน่าเชื่อถือเกิดปัญหายอดขายที่หายไป
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
- WIM ประเภทของสินค้าคงคลัง (Type of inventory)
- WIM บทบาทของสินค้าคงคลัง (Inventory)
- WIM หน้าที่ของสินค้าคงคลัง (Functions of Inventories)
- WIM ต้นทุนในการบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory management costs)
- WIM ระบบการควบคุมและตรวจนับวัสดุคงคลัง (Inventory control and counting system)
- WIM เทคนิคการจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management Techniques)
- WIM การวิเคราะห์เพื่อจัดการสินค้าคงคลัง (Analysis for Inventory Management)
การจัดหมวดหมู่วัสดุคงคลัง
- WIM การจัดกลุ่มสินค้าคงคลัง (Types of Inventory)
- WIM ระดับการบริการลูกค้า (Service Level)
- WIM วัสดุคงคลังที่เก็บสำรองเพื่อความปลอดภัย (Safety Stock)
- WIM การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการวัสดุคงคลัง (Decisions regarding inventory management)
- WIM การวางแผนความต้องการวัสดุ (Material requirements planning: MRP)
- WIM ระยะเวลาถือครองสินค้าคงคลัง (Inventory Turnover)
- WIM การบริหารสินค้าคงคลังที่จัดการโดยผู้ส่งมอบ (Vendor Managed Inventory: VMI)
- WIM ปัจจัยที่กำหนดขนาดของสินค้าคงคลัง (Factors determining inventory size)
-
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------
ต้นทุนวัสดุคงคลัง ค่าใช้จ่ายที่จ่ายเพื่อให้ได้วัสดุหรือวัสดุหรือสินค้านั้นมา (Item cost) ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ประกอบด้วย ราคาวัสดุหรือวัสดุหรือสินค้า ค่าขนส่ง ค่าประกัน ค่าธรรมเนียมต่างๆ และค่าภาษีศุลกากร เป็นต้น
- ค่าใช้จ่ายในการปรับตั้งเครื่องจักรใหม่ (Capacity-Related Cost) เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่เครื่องจักรจะต้องเปลี่ยนจากการทำงานหนึ่งไปทำงานอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเกิดการว่างงานชั่วคราว วัสดุคงคลังจะถูกทิ้งให้รอกระบวนการผลิตที่จะตั้งใหม่ เกิดค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องจักรใหม่นี้จะมีลักษณะเป็นต้นทุนคงที่ต่อครั้ง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดของล็อตการผลิต ถ้าผลิตเป็นล็อตใหญ่มีการตั้งเครื่องใหม่นานครั้ง ค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องใหม่ก็จะต่ำ แต่ยอดสะสมของวัสดุคงคลังจะสูง ถ้าผลิตเป็นล็อตเล็กมีการตั้งเครื่องใหม่บ่อยครั้ง ค่าใช้จ่ายในการตั้งเครื่องใหม่ก็จะสูง แต่วัสดุคงคลังจะมีระดับต่ำลง และสามารถส่งมอบงานให้แก่ลูกค้าได้เร็วขึ้น
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------
WIM เทคนิคการจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management Techniques)
เทคนิคการจัดการสินค้าคงคลัง (Inventory Management Techniques) วิธีการบริหารจัดการสินค้าคงคลังเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยในการทำธุรกิจให้ประสบความสสำเร็จ เพราะการจัดการสินค้าคงคลังที่ดีจะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้มาก ในปัจจุบันอาจยังไม่มีวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการสินค้าคงคลัง เราควรมีการจัดแบ่งกลุ่มสินค้าเพื่อจัดการ อาจหลัก หลักการพาเรโต (Pareto: 80/20) มาช่วยในการจัดแบ่งกลุ่ม ก่อนที่จะเลือกวิธีในการวางแผนการจัดการ การจัดการจะมีวิธีการจัดการที่มีความแตกต่างกันไปตามลักษณะปัญหาในงานของแต่ละบริษัท เทคนิคที่จะช่วยปรับปรุงการจัดการสินค้าคงคลังควรเลือกที่จะมานารถตอบโจทย์ความต้องการได้ดีที่สุด เทคนิคการจัดการสิงนค้าคงคลังมีหลายวิธีเช่น
- ตั้งระดับขั้นต่ำ (Set Par Levels) คือ การจัดการสินค้าคงคลังแบบง่ายที่สุด โดยตั้งค่าระดับขั้นต่ำสำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยกำหนดเป็นจำนวนเงินขั้นต่ำของผลิตภัณฑ์ที่ต้องอยู่ตลอดเวลา เมื่อสต็อกสินค้าคงคลังลดต่ำลงกว่าระดับที่กำหนดไว้ จะรู้ว่าถึงเวลาที่ต้องสั่งซื้อมาเติม
ดูเพิ่มเติม WIM การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามความถี่ในการใช้ (FSN Analysis)
- การจัดลำดับเข้าก่อนออกก่อน (First-In First-Out, FIFO) คือ การจัดการสินค้าคงคลัง แบบกำหนดตามอายุสินค้า โดยกำหนดให้สินค้าที่เก่าสุด (เข้ามาก่อน) ได้รับการส่งออกก่อน (ขายออกก่อน) สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เน่าเสียง่าย
ดูเพิ่มเติม
- จัดการความสัมพันธ์ (Manage Relationships) คือ ส่วนหนึ่งของการจัดการความสัมพันธ์ที่ดีกับซัพพลายเออร์ การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับซัพพลายเออร์ การสื่อสารที่ดี ให้ผู้จัดจำหน่ายรู้เมื่อคุณคาดหวังยอดขายจะเพิ่มขึ้นเพื่อให้สามารถปรับการผลิตได้ทัน หรือให้จ้งให้เราทราบเมื่องานช้ากว่ากำหนดการเพื่อให้สามารถจัดการแก้ไขได้
ดูเพิ่มเติม
- การวางแผนฉุกเฉิน (Contingency Planning) พิจารณาว่าความเสี่ยงอยู่ที่ใด และเตรียมแผนฉุกเฉินไว้อย่างไร จะตอบสนองอย่างไร จะทำอะไรในการแก้ปัญหา และจะมีผลกระทบต่อส่วนอื่นๆ ของธุรกิจอย่างไร
ดูเพิ่มเติม WIM การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามความสำคัญกับการผลิต (VED Analysis)
- การตรวจสอบเป็นประจำ (Regular Auditing) การตรวนับจัดทำรายงานจากคลังสินค้าเพื่อทราบสต็อกสินค้า มีหลายวิธีในการทำเช่น
* การตรวจนับสินค้าคงคลัง (Physical Inventory) การตรวจนับสินค้าคงคลัง เป็นการปฏิบัติคือการนับสินค้าคงคลังทั้งหมดของคุณพร้อมกัน ธุรกิจส่วนใหญ่จะทำแบบนี้ในช่วงสิ้นปี เพราะเกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีและการจัดการด้านภาษีรายได้ประจำปี
* ตรวจสอบจุด (Spot Checking) ในกรณีที่ทำการนับสินค้าคงคลังเต็มรูปแบบในช่วงสิ้นปี มักประสบปัญหามีสินค้าจำนวนมาก บางแห่งอาจใช้วิธีการตรวจสอบเป็นระยะตลอดทั้งปี โดยเลือกการนับสินค้าและเปรียบเทียบ กำหนดช่วงระยะเวลาที่จะทำการนับและเลือกสินค้าที่จะนับสลับเปลี่ยนหมุนเวียนกัน บางแห่งเลือกเฉพาะการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหาหรือสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวเร็ว
* การนับตามรอบ (Cycle Counting) บางแห่งใช้การนับรอบเพื่อตรวจสอบ การนับเป็นรอบโดยการแบ่งส่วนนับและกระทบยอดรวมตลอดปี การนับอาจเป็นแบบนับทุกวันนับทุกสัปดาห์หรือนับทุกเดือน การนับเพื่อตรวจสอบสินค้าตามกำหนดหมุนเวียน มีวิธีการกำหนดระยะเวลารอบในการนับแตกต่างกันไป ตามหลักที่ใช้พิจารณาว่าจะนับรายการใดเมื่อไร โดยทั่วไปรายการที่มีมูลค่าสูง สินค้าที่มีปัญหาหายง่าย จะถูกกำหนดให้นับบ่อยขึ้นเป็นพิเศษ
ดูเพิ่มเติม WIM การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามมูลค่าราคา (HML Analysis) และ WIM การวิเคราะห์โดยการใช้หลักการพาเรโต (Pareto 80/20)
- การจัดลำดับให้ความสำคัญ ABC (Prioritize ABC) การแบ่งกฏเกณท์ในการจัดกลุ่มสินค้าเพื่อใช้กำหนดระยะเวลาในการนับสินค้า เนื่องจากสินค้าบางอย่างต้องการความสนใจมากกว่าสินค้าอื่นๆ จึงมีการใช้การวิเคราะห์ ABC เพื่อจัดลำดับความสำคัญของสินค้าที่มีการเก็บ แยกออกเป็นสินค้าที่ต้องได้รับความสนใจมากถึงน้อยตามกลุ่มเช่น หมวด A ต้องการความสนใจเป็นประจำ เนื่องจากผลกระทบสูง หมวด C มีการกำกับดูแลน้อย เนื่องจากมีผลกระทบที่เล็กลง
ดูเพิ่มเติม WIM การวิเคราะห์จัดกลุ่มด้วยระบบ ABC (ABC Analysis) และ WIM การวิเคราะห์โดยการใช้แบบ ABC ร่วมกับแบบ XYZ (ABC & XYZ Analysis)
- การพยากรณ์ที่ถูกต้องแม่นยำ (Accurate Forecasting) การจัดการสินค้าคงคลังที่ดีจะต้องมาจากการคาดการณ์ความต้องการที่ถูกต้องของการวางแผน ต้องไปสร้างความสามารการคาดการณ์ที่ถูกต้องให้ดียิ่งขึ้นเพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่ต้องมีการเก็บสต๊อคสินค้ามากเกินความจำเป็น
ดูเพิ่มเติม
- พิจารณาความสามารถในการจัดส่งสินค้า (Consider Dropshipping) คือ การพิจารณาว่าชัพพลายเออร์ของเรามีความสามารถในการจัดส่งสินค้าเพียงไร
ดูเพิ่มเติม WIM การวิเคราะห์จัดแบ่งวัสดุตามระยะเวลาในการส่งมอบ (SDE Analysis)
- Materials Requirements Planning (MRP) เป็นระบบที่ใช้สำหรับบริหารจัดการวัตถุดิบเพื่อจัดการและวางแผนความต้องการวัตถุดิบต่างๆ ในองค์กร โดยมีการนำระบบ ERP มาช่วยในการควบคุมแผนการสั่งซื้อ, การส่งมอบสินค้า, การจัดการสินค้าคงคลัง และวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต และ ไปที่อุตสาหกรรมการผลิต และการรวมระบบงานหลักทุกอย่างในองค์กรเข้ามาเป็นระบบเดียวกัน
ดูเพิ่มเติม
- The EOQ (Economic order Quantity) เป็นการจัดการวัสดุเพื่อให้มีวัสดุและสินค้ารองรับงานผลิตและการตลาด ทั้งการบริการลูกค้าที่ดีและมีต้นทุนสินค้าคงคลังรวมที่อยู่ระดับต่ำสามารถทำได้หลายวิธีการ ขึ้นอยู่กับลักษณะของความต้องการสินค้า ทรัพย์ยาองค์กร ความพร้อมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องการจัดการชัพพลายเชน ตลอดจนลักษณะของกระบวนการผลิตสินค้าประกอบเข้าด้วยกัน นอกจากนั้นความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หรือ ระบบ ERP ยังช่วยให้การสร้างระบบการจัดการสินค้าคงคลังมีความหลากหลายมากขึ้น ทำให้ผู้บริหารสามารถเลือกใช้ระบบที่เหมาะสมกับกิจการของตนได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน
ดูเพิ่มเติม
- Just -in-time (JIT) เป็นเทคนิคในการลดต้นทุนการบริหารคลังสินค้า ทำอย่างไรที่จะจัดการให้ต้นทุนการสต็อกสินค้าต่ำที่สุด ซึ่งก็มีการประยุกต์ใช้ ”ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี” ที่เรียกว่า Just in time(JIT) ผลิตในปริมาณและเวลาที่ต้องการด้วยความพอดีไม่ขาดไม่เกิน โดยมุ่งเน้นให้ผลิตเป็นสินค้าได้พอดีกับความต้องการทั้งปริมาณและเวลา โดยมีวัตถุประสงค์หลักก็คือลดความสูญเสีย และลดต้นทุนที่เกิดขึ้นจากสินค้าคงคลัง และลดงานระหว่างกระบวนการต่างๆที่เป็นข้อเสียของกระบวนการผลิตแบบคราวละมากๆ จนต้องสต็อกสินค้าส่วนเกินเอาไว้จนเกิดต้นทุนเพิ่มโดยไม่จำเป็น
ดูเพิ่มเติม
การควบคุมการจัดการสินค้าคงคลังที่ดี จะช่วยประหยัดรายจ่าย เพิ่มโอกาสทางการค้า และความสามารถในการบริการลูกค้าที่ดี
ที่มาภาพและรวบรวมโดย www.iok2u.com
ดูข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่อง คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง คลิกที่นี่
WIM คลังสินค้าและการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง (Warehouse & Inventory management)
-------------------------------------------------
เว็บไซต์ www.iok2u.com นี้เกิดมาจาก แรงบันดาลใจในภาพยนต์เรื่อง Pay It Forward โดยมีเป้าหมายเล็ก ๆ ที่กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่เข้าเรียนสัมมนาหรืออบรมในแต่ละครั้ง จะนำความรู้มาจัดทำเป็นบทความอย่างน้อย 3 เรื่อง เพื่อมาลงในเว็บนี้
ความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาทำการถ่ายทอดต่อไป และหวังว่าจะมีคนมาอ่านแล้วเห็นว่ามีประโยชน์นำเอาไปใช้ได้ หากใครคิดว่ามันมีประโยชน์ก็สามารถนำไปเผยแพร่ต่อได้เลย โดยอาจไม่ต้องอ้างอิงที่มาหรือมาตอบแทนผู้จัด แต่ขอให้ส่งต่อหากคิดว่ามันดีหรือมีประโยชน์ เพื่อถ่ายทอดความรู้และสิ่งดี ๆ ต่อไปข้างหน้าต่อไป Pay It Forward